แม้กระทั่งในชาติสุดท้ายที่จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็จะขอเป็นผู้หญิง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 25 สิงหาคม 2012.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    พระอารยตารามหาโพธิสัตว์แห่งความกรุณาในร่างของ สตรี ทรงกำเนิดมาจากน้ำพระเนตรของพระอวโลกิเตศวร เมื่อคราวที่พระองค์ทรงพระกันแสงขณะทอดพระเนตรเห็นสรรพสัตว์ตกอยู่ในทุกขเวท น
    า มีดอกบัวดอกหนึ่งผุดขึ้นจากน้ำพระเนตร เมื่อดอกบัวบานออก องค์กรีนตาราทรงปรากฏพระวรกายขึ้น และตรัสแก่พระอวโลกิเตศวรว่าจะทรงเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะช่วยพระองค์ในการนำพา สรรพสัตว์ให้ข้ามทะเลวัฏสงสารไปยังอีกฟากฝั่งแห่งปัญญา

    หากสัตว์ทั้ง หลายยังไม่หลุดพ้น ไม่ว่าพวกเขาจะเวียนว่ายตายเกิดไปอีกกี่กัลป์ พระองค์ก็จะยังคงอยู่ในสังสารวัฏเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ พระองค์จึงทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงเกิดศรัทธาในการปฏิบัติเพื่อหนทาง แห่งการบรรลุธรรม ทรงสร้างปาฏิหาริย์แห่งการตื่นรู้ให้ผู้หญิงมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ด้วยการตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าจะพัฒนาโพธิจิตให้ไปสู่ความหลุดพ้นด้วยกายภาพของผู้หญิงในทุกภพทุก ชาติ แม้กระทั่งในชาติสุดท้ายที่จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็จะขอเป็นผู้หญิง”

    พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ - ที่มา เสถียรธรรมสถาน
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>




    ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร
    พระสูตรมหายาน
    ภาษาอังกฤษแปลจากต้นฉบับเดิม ในภาษาธิเบต จีน ญี่ปุ่น และชิ้นส่วนภาษาสันสกฤต​
    บทนำ
    ตามที่ข้าฯได้สดับมา สมัยที่พระพุทธองค์ประทับ ณ สวนเชตวัน ของอนาถปิณฑิกะเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนจิต แห่ง แคว้นโกศล และพระนางมัลลิการ เพิ่งทรงหันมานับถือคำสอนของพระศาสดาได้ไม่นาน และขณะนี้ทรงสนทนากันอยู่
    "มหาราช ศรีมาลาเทวี ธิดาของเรานั้น มีปรีชาฉลาดลุ่มลึก หากเธอได้เฝ้าพระพุทธองค์ เธอคงสามารถเข้าใจพระธรรมได้โดยไม่ยากนัก และแน่นอน เธอคงได้เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ โดยปราศจากข้อสงสัย"
    พระเจ้าปเสนจิต ตรัสกับพระนางมัลลิกาว่า
    "เราจะส่งข่าวเพื่อให้เธอเกิดความสนใจ"
    พระนางมัลลิกาน้อมรับว่า
    "ถูกแล้ว สมควรทีเดียว เพคะ"
    พระเจ้าปเสนจิตและพระนางมัลลิกา จึงทรงร่างพระราชสาสน์สรรเสริญพระบารมีอันไพศาลมิรู้จบของพระพุทธองค์ และทรงมอบให้จันทร์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ เดินทางไปสู่พระราชวังเมืองอโยธยา และเข้าเฝ้าพระนางศรีมาลาฯเมื่อถวายพระพรและรับพรแล้วจึงได้ทูลเกล้าฯถวายพระราชสาสน์
    บทที่ 1 ขจัดความสงสัยทั้งปวง
    1 สรรเสริญพระบารมีอันไพศาลของพระตถาคตเจ้า
    พระนางศรีมาลาฯทรงยกพระราชสาสน์ขึ้นเหนือเศียรเกล้า ทรงระลึกถึงพระราชบิดา และพระราชมารดาโดยคราวะและยินดี เมื่อทอดพระเนตรความในพระราชสาสน์แล้ว ทรงเปล่งวาจาว่า "พระราชสาสน์มีความหมายเป็นมงคลยิ่ง" แล้วทรงยอพระราชสาสน์ขึ้นจบพระเศียรเปี่ยมด้วยความปีติและตรัสแก่มหาอำมาตย์จันทร์ ทั้งข้าราชบริพารอื่นว่า
    "กล่าวกันว่า พระสุรเสียงของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีผู้ใดเทียบในโลก ถ้าจริงเช่นนั้น ข้าฯ ขอรับใช้พระองค์ หากแม้พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของชาวโลกด้วยพระเมตตาของพระองค์ ขออัญเชิญพระพุทธองค์เสด็จมาโปรดข้าพระองค์ด้วยเทอญ"
    ทันใดนั้น พระพุทธเจ้าทรงปรากฏพระองค์อยู่ในอากาศ ณ เบื้องหน้าและพระนางทรงได้เห็นทิพยกายของพระพุทธเจ้าประทับลอยอยู่ ณ ที่นั้น มีฉัพพรรณรังสีบริสุทธิ์โดยรอบ พระนางศรีมาลาฯ พร้อมข้าราชบริพารต่างพากันน้อมก้มประนมกร และพระนางตรัสสรรเสริญพระผู้ทรงเป็นครูสอนที่ประเสริฐสุด
    "พระพุทธองค์ ผู้ทรงมีพระกายและฉัพพรรณรังสีอันหาที่เปรียบมิได้ ข้าฯ ขอถวายสักการะแด่พระโลกนาถ ผู้หาที่เปรียบมิได้
    "พระกายและพระญาณของพระองค์มิอาจหยั่งได้ พุทธภาวะของพระองค์ไม่มีวันสูญสลาย สมควรยิ่งที่จะระลึกถึงพระองค์เป็นสรณะพระมุนีเจ้า ด้วยอุปายะอันเปรียบมิได้ พระองค์ทรงชนะกิเลสทั้งในกายและจิต ข้าฯ ขอสักการะพระธรรมราช ผู้ทรงเข้าถึงในภูมิ โดยปราศจากความเสื่อม
    "พระองค์ผู้ทรงไว้ด้วยธรรมกาย ผู้ทรงหยั่งถึงในญาณ ข้าฯ ขอสักการะพระธรรมราช ผู้ทรงเข้าถึงในภูมิ โดยปราศจากความเสื่อม
    "พระองค์ผู้ทรงไว้ด้วยธรรมกาย ผู้ทรงหยั่งถึงในญาณ ข้าฯ ขอสักการะพระองค์ผู้ทรงเข้าถึงพุทธภาวะอันประเสริฐสุด
    "ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้ทรงเป็นนิรันดร์ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้หาที่เปรียบมิได้ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ ผู้ทรงมีธรรมชาติอันมิอาจเทียบได้ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้ทรงมีพระกายอันหาขอบเขตมิได้
    "ขอพระองค์โปรดพระราชทานความคุ้มครองแก่ข้าฯ ขอพีชะแห่งโพธิจงถึงซึ่งความสมบูรณ์โดยเร็ว ขอพระมหามุนีพระราชทานพรแก่ข้าฯ ทั้งในปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ"
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "เทวี ในอดีตชาติของพระนางนั้นตถาคตได้นำทางให้พระนางได้ปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ และในอนาคตชาติตถาคตจะคอยดูแลพระนางเช่นกัน" พระนางศรีมาลาฯ จึงกราบทูลว่า "กุศลที่ข้าฯ ได้บำเพ็ญแล้วทั้งในปัจจุบันชาติและอดีตชาติ ด้วยกุศลนั้น ขอให้ข้าฯ ได้เฝ้าพระตถาคตเจ้า และขอพระองค์ได้โปรดช่วยข้าฯ ด้วย"
    จากนั้น พระนางศรีมาลาฯ พร้อมข้าราชบริพารทั้งปวง ประคองอัญชลีน้อมถวายสักการะแทบเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระราชทานพุทธทำนาย ท่ามกลางธรรมสภาว่า พระนางศรีมาลาฯ จะทรงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    "เทวี ด้วยปัจจัยแห่งกุศลกรรมที่พระนางได้ทรงสร้างสม โดยการสรรเสริญคุณของพระตถาคตเจ้าในจำนวนกัปป์อันนับไม่ถ้วน พระนางได้ครองบรรลังก์ท่ามกลางทวยเทพ แลมนุษย์ทั้งหลาย และในทุกขาติ พระนางจะได้เฝ้าตถาคตเสมอ เช่นเดียวกับที่พระนางสวดสรรเสริญ ณ เบื้องหน้าตถาคต พระนางจะได้สรรเสริญต่อไป และพระนางจะได้มีโอกาสถวายเครื่องสักการะต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันนับประมาณมิได้
    "เมื่อเวลาผ่านไป 20,000กัปป์ พระนางจะได้ตรัสรู้เป็นพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธสมันตปราปต์ ในสมัยนั้น พุทธเกษตร ของพระนางจะปราศจากมารร้ายทั้งปวง ยิ่งกว่านั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายจะบำเพ็ญอยู่ในกุศลกรรมบถทั้ง 10 ประการ สรรพสัตว์เหล่านั้นย่อมปราศจากความเจ็บไข้ ความชรา หรือความกังวลใจ แม้ชื่อของอกุศลกรรมบถจะไม่มีการเอ่ยถึง
    "ผู้ใดที่อุบัติในพุทธเกษตรนั้น จะมีความสุขยิ่งกว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นปรนิมิตวัสวติน มีรูปวรรณะงดงาม มีอายตนะสมบูรณ์ และมีความสุขอยู่ในประการทั้งปวง
    "พระเทวี สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่อุบัติขึ้นในพุทธเกษตร ย่อมอยู่ในมหายานด้วย และเช่นเดียวกัน พระเทวี ในสมัยนั้น ผู้ที่ได้สร้างสมบารมีจะได้อุบัติในพุทธเกษตร"
    เมื่อพระนางศรีมาลาฯ ทรงได้ยินพุทธพยากรณ์ ทั้งทวยเทพและมนุษย์ อันประมาณมิได้ ต่างพากันปรารถนาที่จะไปเกิดในพุทธเกษตรและพระผู้มีพระภาคทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า พวกเขาทั้งหลายจะได้ไปเกิดในพุทธเกษตรนั้น

    เรื่องนี้ข้อมูลจากเสถียรธรรมสถานและวชิรยานสายธิเบต ตั้งขึ้นมาให้อ่านวินิจฉัย ไม่ได้โฆษณาชวนเชื่อใดๆทั้งสิ้นครับ เห็นเป็นข้อมูลที่แปลกดี จริงหรือเท้จควรใช้วิจารณญาณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2012
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    ขอแจมด้วยนิดหน่อย ถ้าไม่ถูกใจก็ขออภัยไว้ ณโอกาศนี้ด้วยครับ เท่าที่ประสพการณ์ และได้ยินมา พระโพธิสัตว์ ย่อมเกิดเป็นได้ทั้ง หญิงและชาย เมื่อบารมีเต็ม แล้ว เป็นปรมัตถบารมี ในส่วน ที่จะเกิดเป็นหญิง คงหมดไป คงเกิดเป็นผู้ชาย ตั้งแต่ พระพุทธเจ้า อุบัติ ขึ้นมาในโลก ไม่รู้กี่ ล้านๆ พระองค์มาแล้ว ยังมิเคย ได้ยิน เป็นพระพุทธเจ้า เลย มีแต่ออกบวชเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า เป็นภิกษุณี ไม่ว่าหญิงหรือชาย เมื่อเจริญ สมาธิกรรม ฐาน ไปเกิดเป็นพรหม ๑ ถึง ๑๖ ชั้น ย่อมไม่มีเพศ ทั้งหญิงและชาย มีเฉพาะแค่ เทวดา เท่านั้น กับคนและสัตว์ ภพภูมิต่างๆ ไม่ว่าชาติใดภาษา ใด

    ยังมีเพศหญิงชาย อยู่ อย่างบางตำแหน่ง เมื่อหมด บุญ วาสนา คนหรือเทวดา นางฟ้าองค์ ไหนก็ตาม ได้เลื่อนชั้น ไปเป็น หัวหน้าเทวดา หรือพรหม ชั้นนั้นๆ อย่าง ตำแหน่ง พระอินทร์ ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ หัวหน้าเทวดา ทุก พรหม ทุกชั้น เป็น ตำแหน่ง กลาง ทั้ง หมด คล้ายตำแหน่ง ในเมืองมนุษย์ พระมหากษัตย์ เมื่อหมด อายุ องค์อื่นก็มาทำหน้าที่แทน เหมือน ร.๑ ถึงร.๙ แบบเนี้ย ถ้าพูด ถึงเรื่องนี้ คุยเป็นวันก็ไม่จบครับ ในปัจจุบันนี้ ยังมีพระโพธิสัตว์ ที่มีบรามีเต็มแล้ว เรียงคิว เป็นแสนๆพระองค์ ไม่ว่าเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย ผลสุดท้าย ชาติสุดท้าย ต้องบริจาค ลูกเมีย ให้เป็นทาน เหมือนพระเวสสันดร เหมือนกันหมด ทุกๆพระองค์ ไม่งั้นก็หมดสิทธิ์ ที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า

    แนวทางเดินมีไว้แล้ว มันเป็นกฎตายตัว ของพระโพธิสัตว์ ที่จะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า บารมีต้น เริ่มศึกษาเรียนถูกเรียนผิด ไปที่ต่ำบ้างสูงบ้าง หมุนเวียนกันไป เป็นสิ่งต่างมากมาย ทั้งคนและสัตว์หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป บารมี ตรงไหนยังไม่ได้สร้างก็ต้องไปสร้าง ไม่ใช่ชาติเดียว แต่ละอย่างๆ ไม่รู้กี่พันกี่หมื่นชาติ เกิดเป็นทุกอย่าง อย่างเล็กไม่เกิน นกกระจอก นกกระจาบ อย่างใหญ่เกิด ไม่เกินกว่าช้าง บารมีกลางก็เช่นกัน บารมีสุดท้าย นี่เข้มแข็ง ไปที่ต่ำยาก จะทำอะไรก็ดีไปหมด เหมือนหลวงปู่หลวงพ่อต่างๆ จะเป็นหญิงชาย ฆราวาส ไปไหนมาไหน ก็จะมีบริวารห้อมล้อม หน้าหลัง บางชาติ ก็ต้องไปเกิด เป็นฤาษี นับชาติไม่ถ้วน รวมแล้ว ก็มีดังนี้


    พระโพธิสัตว์ในขั้น ปัญญาธิกะ บารมี เกิดมาสร้างบารมี ๔ อสงขัย กำไลยแสนมหากัป ศรัทธาธิกะ บารมีเกิดมาสร้างบารมี ๘ อสงขัย กำไลแสนมหากัป ถ้า วิริยาธิกะ บารมี เกิด มาสร้าบารมี ๑๖ อสงขัย กำไลแสน มหากัป พระโพธิสัตว์ มี ๓ ชั้น นี้ เท่านั้น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้ว ก็มี ๓ แบบ ปัญญาธิกะ บารมี ศรัทธาธิกะ บารมี และวิริยาธิกะ บารมี ตอนที่มาสร้างบารมี จะลงมา ในลัษณะไหน หญิงหรือ ชาย เป็นสัตว์ หรือเป็นคน ถ้าบารมีส่วนไหน ไม่เต็มก็ต้องไปเกิด สร้างให้เต็ม ในแต่ละอย่าง บางคน หรือ บางองค์ บอกเกิดมาแต่ละชาติ ทำได้นิดเดียว พวกนี้ขยันเกิด ขยันตาย มันต้องไปเป็นครู อาจารย์ มันต้องขยัน ทุกอย่างครับ แค่นี้ก่อน ครับผม :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2012
  3. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    2 มหาทศปณิธาน
    จากนั้น เมื่อพระนางศรีมาลาฯ ทรงสดับพุทธพยากรณ์เกี่ยวกับพระนางเองจากพระโอษฐ์พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางทรงประนมพระหัตถ์น้อมสักการะ และทรงตั้งมหาทศปณิธานว่า
    1 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้าฯ จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อแรกว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้เกิดความคิดใดอันเป็นการละเมิดศีล
    2 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สองว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้เกิดความคิดใดอันเป็นการไม่เคารพต่อครูผู้สอน
    3 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สามว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้มีความโกรธ ความมุ่งร้ายแก่สรรพสัตว์
    4 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สี่ว่า ข้าฯ จักไม่มีความริษยาในความเจริญรุ่งเรือง และในบารมีของผู้อื่น
    5 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่ห้าว่า ข้าฯ จักไม่มีความมักได้ แม้จะได้อาหารจากการบิณฑบาตเพียงเล็กน้อยก็ตามที
    6 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่หกว่า ข้าฯ จักไม่สะสมสมบัติเพื่อตัวข้าฯ เอง แต่จะใช้จ่ายเพื่ออนุเคราะห์คนยากไร้ และอนาถา
    7 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่เจ็ดว่า ด้วยปัจจัย 4 แห่งการเป็นพุทธมามกะ ข้าฯ จักใช้เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยมิใช่ชักชวนให้หันมานับถือพุทธศาสนาเพื่อผลประโยชน์แห่งข้าฯ ข้าฯ จักมุ่งชักชวนสรรพสัตว์สู่พุทธธรรม โดยไม่หวังลาภสักการะ อย่างไม่ท้อถอย
    8 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่แปดว่า ในอนาคตเมื่อข้าฯ ได้ประสบกับสรรพสัตว์ ผู้ขาดเพื่อน ถูกจองจำ เจ็บไข้ อยู่ในความลำบาก ยากจนและทนทุกข์ ข้าฯจักไม่ละทิ้งเขาแม้ชั่วขณะ จนกว่าเขาจะได้รับความช่วยเหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อได้เห็นเขาทนทุกข์ ข้าฯ จักช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยเหล่านั้น เมื่อเห็นเขามีสุขแล้ว ข้าฯ จึงจะจากไป
    9 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่เก้าว่า เมื่อข้าได้เห็นผู้ประกอบมิจฉาชีพ เช่น พ่อค้าสุกร ผู้ละเมิดพระธรรม และพระวินัย อันทรงแสดงแล้วโดยพระตถาคตเจ้า ข้าฯ จักไม่วางเฉย ไม่ว่าข้าฯ จะอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล เขตหรือแคว้น จักทำลายสิ่งที่ควรทำลาย และทำนุบำรุงสิ่งที่พึงทำนุบำรุง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยการทำลายแลทำนุบำรุง พระธรรมอันประเสริฐจึงจะสถิตในโลกได้ ทวยเทพและมนุษย์ย่อมคงอยู่ และมารร้ายย่อมมลายหายไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกงล้อพระธรรมจักรเริ่มเคลื่อนแล้ว ย่อมจะได้หมุนต่อไป
    10 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สิบว่า เมื่อได้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐแล้ว ข้าฯจักมิมีวันลืมแม้เพียงชั่วขณะความคิด เหตุใดหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หากแม้บุคคลลืมพระธรรมอันประเสริฐได้ เขาย่อมลืมมหายาน และหากเขาลืมมหายาน เขาย่อมลืมบารมี เมื่อลืมบารมีก็จะปล่อยวางมหายาน ข้าแต้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโพธิสัตต์มหาสัตว์ ผู้ยังไม่มั่นใจมหายาน ย่อมละเลยในการปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐและหมกมุ่นอยู่กับความฟุ้งซ่านของตน ก็ย่อมเข้าสู่การบรรลุสภาพจิตวิญญาณที่ยังไม่พร้อมเช่นปุถุชนทั่วไป ข้อนี้ ข้าฯ เห็นว่าเป็นข้อด้อยและเป็นอันตรายยิ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าฯ ได้เห็นว่าบารมีนั้น ยังประโยชน์แก่ข้าฯอย่างมหาศาล และยังประโยชน์ต่อพระโพธิสัตต์ทั้งหลายในอนาคตในการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ และข้าฯขอยึดมั่นในปณิธานนี้ เพื่อการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้น
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าฯขอยึดมั่นในมหาทศปณิธานเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น ขอพระธรรมาจารย์จงทรงเป็นพยานแก่ข้าฯ เถิด แม้ว่าข้าฯ จะตั้งปณิธานเหล่านนี้เฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ สรรพสัตว์บางพวกที่มีบารมีเพียงเล็กน้อยอาจคิดแย้งว่า "มหาทศปณิธานเหล่านี้ยากในการปฏิบัติ" เกิดความสงสัยและความลังเลใจในข้าพระองค์ โดยความคิดเช่นนั้น เขาย่อมมีอันตราย และมีความยากลำบากเป็นเวลานาน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์ในการช่วยบุคคลเหล่านี้ ข้าฯ ขอพระราชทานสัจพรจากพระผู้มีพระภาค ณ โอกาสนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสัจจะแห่งการตั้งมหาทศปณิธานนี้ หากจะเป็นจริงตามปณิธานของข้าฯ ไซร้จงบังเกิดดอกไม้โปรยปรายเป็นสายฝนลงมาตกต้องมนุษย์ทั้งหลายและขอเสียงดนตรีทิพย์จงดังขึ้นให้ได้ยินกันทั่วไป"
    เมื่อพระนางศรีมาลาฯ รับสั่งถ้อยคำเหล่านี้ ดอกไม้ได้โปรยปรายลงมาต้องบริษัททั้งหลาย และต่างได้ยินเสียงดนตรีทิพย์บรรเลงกันโดยทั่ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เทวี เป็นเช่นนั้น ทันทีที่เทวีขอ สัจพรก็เกิดขึ้น (ตามคำอธิษฐาน) และมิใช่ด้วยเหตุอื่น" ข้าราชบริพารทั้งหลายที่ติดตามต่างได้เห็นปรากฏการณ์อันเป็นอัศจรรย์ ต่างพากันหมดความสงสัย และประสบความชื่นบานเป็นที่ยิ่ง ข้าราชบริพารทั้งปวงพากันอธิษฐานขอติดตามรับใช้พระนางศรีมาลาฯ และพระพุทธองค์พระราชทานพุทธทำนายว่า พวกเขาจะได้ติดตามพระนางไปตลอด​
     
  4. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    คนที่จะไปเป็นครูสอนเขายังสนใจในเพศตนเองอีกหนอ

    หากยังยึดติดในเพศตนเองอย่าว่าจะไปเป็นพระพุทธเจ้าเลย

    แม้แต่พระอริยเจ้าก็ยังเป็นไม่ได้
     
  5. Nonimage

    Nonimage Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +49
    เพี้ยนจัด! “ธรรมชโย”อ้างเห็น“สตีฟ จ็อบส์”หลังตายเกิดเป็นเทพกึ่งยักษ์ คุณเป็นคนตั้งกระทู้นี้แล้วบอกว่า ท่านเพี้ยน

    แต่ที่คุณตั้งกระทู้นี้น่ะ มันเพี้ยนมาก เป็น สัทธรรมปฎิรูป
    ศึกษาพระไตรปิกฎไหมครับ

    อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิตยโพธิสัตว์
    พระนิตยโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
    เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    ไม่เป็นคนบ้า
    ไม่เป็นคนใบ้
    ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    ไม่เป็นสตรีเพศ
    ไม่ทำอนันตริยกรรม
    ไม่เป็นโรคเรื้อน
    เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
    อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
    แต่ว่าแม้จะเป็นผู้หญิงถบรรลุ อรหันตร์ผลยังอยู่ได้นะครับ
     
  6. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    เรื่องนี้ข้อมูลจากเสถียรธรรมสถานและวชิรยานสายธิเบต ตั้งขึ้นมาให้อ่านวินิจฉัย ไม่ได้โฆษณาชวนเชื่อใดๆทั้งสิ้นครับ เห็นเป็นข้อมูลที่แปลกดี จริงหรือเท้จควรใช้วิจารณญาณครับ ถ้าสงสัยลองไปถามแม่ชีศันสนีย์ดูละกันนะครับ ส่วนผมขอสงวนวาจาครับ และเรื่องที่คุณว่าผมไม่ได้โพสต์ครับผมโพสต์เรื่องสตีฟจอบขอพูดบ้างครับ ส่วโพสต์นี้http://palungjit.org/threads/เพี้ยน...ีฟ-จ็อบส์”หลังตายเกิดเป็นเทพกึ่งยักษ์.354979/ ที่คุณว่า คุณโบ๊ตโพสต์ครับ โปรดมีสติครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2012
  7. จอกแหน

    จอกแหน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    275
    ค่าพลัง:
    +873
    มาอีกแนวและ..ถ้ายังยึดติดอยู่ในเพศยังคิดจะบรรลุธรรมเป็นพุทธเจ้าอีกหรือ
     
  8. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    เสถียรธรรมสถาน เปิดสักการะพระอารยตาราฯ

    โดย mootie | วันที่ 14 ธันวาคม 2554

    [​IMG]

    มีความเชื่อกันว่าหากตั้งครรภ์ ลูกที่คลอดออกมาจะปลอดภัย ในวันที่ ๓๑ ธ.ค.นี้จะมีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมสวดมนต์ข้ามปี จะอัญเชิญพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ประดิษฐานยังธรรมศาลา เพื่อให้สักการบูชา

    แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน แขวงจร เข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเดือนมิ.ย.๒๕๔๙ ได้รับเชิญให้ไปนำภาวนาในงานประชุมเรื่องการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าเมืองของ องค์การสหประชาชาติ (World Urban Forum ๓) ที่แคนาดา ระหว่างการประชุมฝ่ายจัดการประชุมได้ให้ไปพักที่บ้านของนางฮง เชม ชาวมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้ากองบำรุงกำลังขององค์การสหประชาชาติ และในระหว่างที่พักอยู่นั้นนางฮง เชม เกิดความศรัทธาในแนวทางภาวนาของตน จึงได้มอบ "พระอารยตารามหาโพธิสัตว์" ซึ่งเป็นรูปเคารพโบราณขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ให้นำมาประดิษฐานที่เสถียรธรรมสถาน

    แม่ชีศันสนีย์เปิดเผยว่านางฮง เชม บอกได้รูปเคารพนี้จากร้านขายของเก่าในแคนาดาที่รับซื้อมาจากมิชชันนารีชาว แคนาดาที่เดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่มองโกเลีย และเมื่อศึกษาโดยตรวจสอบจากเศษไม้ที่ติดอยู่ที่พระพุทธรูปด้วยเทคโนโลยีใน การตรวจหาอายุของวัตถุโบราณก็พบว่าพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ที่ได้มานี้มี อายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี หลังจากที่ตนได้รับมาก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ และได้นำไปประดิษฐานในสถูปภายในเสถียรธรรมสถานเท่านั้น เมื่อเดือน ก.พ.พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ทราบว่ามีพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ จึงได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกให้ ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค.ที่ผ่านมา สมเด็จพระคยับเจ ดากริ รินโปเช ผู้ใกล้ชิดองค์ทะไลลามะที่ ๑๔ ก็ได้มาประกอบพิธีเบิกเนตรองค์อารยตารามหาโพธิสัตว์ด้วย

    สำหรับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์นี้ เป็นพระโพธิสัตว์ในร่างสตรีของพุทธศาสนานิกายวัชรยานที่ชาวทิเบตนับถือ ดังเช่นที่ชาวพุทธนิกายมหายานนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม หรือเจ้าแม่กวนอิม มีความเชื่อกันว่าหากตั้งครรภ์ลูกที่คลอดออกมาจะปลอดภัย ในวันที่ ๓๑ ธ.ค.นี้จะมีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมสวดมนต์ข้ามปี จะอัญเชิญพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ประดิษฐานยังธรรมศาลา เพื่อให้สักการะบูชา

    จากเวบเสถียรธรรมสถาน เปิดสักการะพระอารยตาราฯ | Thaihealth.or.th
     
  9. happyokay

    happyokay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +447
    พระโพธิสัตว์กวนอิมองค์ที่หนึ่งท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดและกลายเป็นชายในภูมิของท่าน ณ ตอนนี้ แต่ในปัจจุบันขณะนี้ พระโพธิสัตว์กวนอิมองค์ที่สองกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่บนโลกมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์โลกและปูทางให้สรรพสัตว์ได้เข้าสู่ยุคพระศรีฯ ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่าน
     
  10. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    เทพธิดาตารา หรือพระนางตารา

    พระนางตาราเป็นพระโพธิสัตต์ฝ่ายปัญญา มีอิทธิพลอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายทิเบต

    [​IMG]

    ภาพ: www.exoticindiaart.com







    [​IMG]

    siamdotnet.com



    พระ นางตาราเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศว รโพธิสัตว์แทน





    [​IMG]

    คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตารา เริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากในทิเบต เนปาล และมองโกเลีย เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี

    พระนางตาราได้รับการยกย่องว่า เป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจินตนาการมาจากพระนางสิริมหามายาเทวี

    มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน



    [​IMG]

    กำเนิดและรูปลักษณ์



    ตำนานทางพุทธศาสนามหายานกล่าวว่าพระ นางตาราเกิดจากน้ำตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็นว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็นทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่ ตำนานบางฉบับกล่าวว่า พระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับพระนางตารา จากรังสีธรรมของพระอมิตาภะพุทธะ



    โอม.ตา.รา.ตู.ตา.เร.ตู.เร.เบญจา.อา.ยุ.เค.โซ.ฮา.

    [​IMG]

    ภาพและข้อมูลจาก:mahayana.



    พระโพธิสัตว์ดาราขาว ถือกำเนิดพร้อมกับพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ด้วยความเศร้าที่พระอมิตาภะพุทธเจ้าทรงเห็นสรรพสัตว์ลุ่มหลงอยู่แต่ในห้วง ทุกข์ น้ำตาที่ไหลออกมาข้างขวาเป็นพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ข้างซ้ายเป็นดาราขาวโพธิสัตว์ เมื่อโพธิสัตว์ทั้ง 2 องค์บรรลุธรรมแล้วได้เป็นกำลังสำคัญในการโปรดสรรพสัตว์ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ผู้ประทานอายุวัฒนะพระแม่ดาราขาวมีดวงตา เจ็ดดวง ฝ่ามือสองดวง ฝ่าเท้าสองดวง กลางหน้าผากหนึ่งดวง ดวงตาปกติสองดวง พระแม่ดาราขาวได้ชื่อเรียกอีกชื่อว่า พระแม่เจ็ดตา

    [​IMG]

    ภาพ:www.siamdotnet.com

    รูปลักษณ์ดั้งเดิมของพระนางตารามี 2 แบบ คือพระนางตาราเขียวมีผู้นับถือมากในทิเบต และพระนางตาราขาวมีผู้นับถือมากในมองโกเลีย เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการบูชาพระนางตาราพัฒนาขึ้น จึงมีการสร้างภาคโกรธและภาคดุขึ้นมาหลายแบบ เช่น พระนางตาราน้ำเงิน อุครตารา เอกชฎะ ภาคเอกชฎะนี้เป็นภาคดุที่แพร่หลายที่สุด กายสีน้ำเงิน มีตาที่สามบนหน้าผาก ตกแต่งร่างกายด้วยงูและพวงมาลัยศีรษะคน เหยียบอยู่บนร่างของคนตาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระนางตาราในภาคที่เป็นเทพแห่งความรักหรือเทพแห่งการ รักษาโรคอีกด้วย



    [​IMG]

    พระสรัสวดีในศาสนาฮินดู



    นิกายมหายาน

    เกิดช่วงราวศตวรรษต้น ๆ ของคริสต์ศักราช มีเรื่องราวของพระนางสรัสวดี

    กล่าวไว้ว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ให้ความเคารพบูชาพระนางว่า

    เป็นพระมเหสีของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสติปัญญาและความฉลาด

    พระนามของพระสรัสวดีในพุทธศาสนาทรงพระนามว่า เทพธิดาตารา



    ในตำราบางเล่มอธิบายว่าพระอวโลกิเตศวรนั้น พระชายาของพระองค์ ก็คือ

    พระโพธิสัตต์"ตารา"นี่เอง





    [​IMG]

    พระโพธิสัตต์มัญชุศรี

    ภาพจาก:www.mindcyber.com



    [​IMG]

    ภาพ:thejasminefactory.co.uk







    พระนางตาราปางต่าง ๆในทิเบต พระนางตารามีหลายปางคือ



    พระนางตาราขาว ทรงชุดขาวล้วน ถือดอกบัวบาน เป็นตัวแทนของความกรุณา มีพระเนตร 7 ดวง หมายถึงเฝ้ามองสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว

    และทำมุทราไตรลักษณ์



    พระนางตาราเขียว ทรงชุดเขียวล้วนถือดอกบัวตูมสีน้ำเงินออกโปรดสรรพสัตว์ในเวลากลางคืน



    พระนางตาราแดง ทรงสีแดงทับทิม หมายถึงความปราถนาของสรรพสัตว์ที่จะหลุดพ้น

    จากสังสารวัฏ ประทับบนพระอาทิตย์



    พระนางตาราดำ ทรงสีดำ หมายถึงสุญญตา ซึ่งเป็นความสามารถในการข้ามพ้นอวิชชา

    ความเห็นผิดต่าง ๆ





    [​IMG]

    ขอบคุณข้อมูลเบื้องต้นจาก:siamdotnet

    ขอบคุณ devalai.com

    ขอบคุณ
    mblog.manager.co.th
     
  11. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,443
    ค่าพลัง:
    +1,770
    จริงแล้ว พวกนี้เขาไม่มีภพชาติ เป็นการสัมโภคกายมานะครับ คำว่าพุทธเกษตรนั้นมันเป็นกุลโลบาย การตรัสรู้ในโลกมนุษย์ มหายานถือว่าเป็นนิรมานการ ไม่ใช่ชาติภพ นะครับ แต่ก่อน จะบรรลุโพธิจิต ก็ต้องมีภพชาตินะครับ

    สภาวะจริงคือธรรมกายครับ มันไม่เหมือนเถรวาท มหายานจะลงรายละเอียดขั้นลึกกว่าครับ

    แต่เรื่องแบบนี้ เถรวาทบอกว่าฟุ้มเฟือยครับ
     
  12. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,443
    ค่าพลัง:
    +1,770
    มันอธิบายยากนะครับ ถ้าเรายังติดกับว่าว่าชาติภพอยู่นะครับ จะว่าใช่มันก็ใช่นะครับ

    คือจะให้ผมอธิบายสั้น มันก็ไม่เข้าใจนะครันั้นสั้นแล้ว
    ถ้าท่านจะเข้าใจเรื่องมหายานท่านต้องศึกษา เรื่องตรีกาย เรื่องสูญตา วัชรปรามิตาสูตร เบื้องต้นนะครับ มันต้องปรับพื้นกันก่อน ถ้าให้ผมอธิบายพิมพ์ยาวก็ขี้เกียจครับ เพราะพิมพ์ยาวๆไปก็ไม่รู้จะอ่านกันหมดรึเปล่า
     
  13. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของมหายาน พระองค์ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่างชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดย เฉพาะคุรุนาคารชุน(ราว ค.ศ.1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่6-10 มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอเนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะหากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะสรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบกับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้มนุษย์ผู้โชคดีมีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียง อย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายาน แตกเป็นนิกายต่างๆมากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย 1นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน
    2นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ
    3นิกายจิต อมตวาท
    4นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน
    ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซนหรือฌาณ(เสี่ยมจง) นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง) นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง) นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง) แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน
    ลัทธิมหายานถืออุดมคติ 3 ประการ คือ
    1หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษในพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมากพิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาทมหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฏิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะ พ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนยตา ซึ่งมี 2 ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง
    2หลักมหากรุณา ได้แก่การ ตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิ ในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยคนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมิซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมีเพื่อช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ 6 คือ
    2.1ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย
    2.2 ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีล ข้อ นี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์
    2.3 กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อโปรดสัตว์ได้
    2.4 วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย หน่ายระอาในการช่วยสัตว์
    2.5 ธยานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลน เพราะเหตุอารมณ์
    2.6 ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา
    3หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมายโดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วย ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”
     
  14. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    พุทธศาสนามหายานในประเทศไทย
    เมื่อประมาณ พ.ศ.290 พุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศอินเดียเข้าสู่แค้วนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติ ขอม มอญ ละว้า และไทย
    ในราว พ.ศ.1200เรียกว่าสมัยศรีวิชัยพุทธศาสนา มหายานได้แพร่หลายจากเกาะสุมาตราเข้า สู่เมืองไชยาทางภาคใต้แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ได้ความจากประวัติศาสตร์และวัตถุที่ขุดได้ใน เมืองไชยา
    ในราว พ.ศ. 1400 เรียกว่า สมัยลพบุรี พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือที่เรียกว่า อาจาริยวาทได้แพร่ขยายเข้าสู่เมืองลพบุรี ทั้งนี้ได้ความจากศิลาจารึกที่ขุดได้ในเมืองลพบุรี
    ในราว พ.ศ.1600 เรียกว่า สมัยเชียงแสนพะพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายเข้าสู่ดิน แดนภาคเหนือของประเทศไทย
    ในราว พ.ศ.1800 เรียกว่าสมัยสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้รับเอาพุทธศาสนา เถรวาทจากประเทศลังกาเข้าสู่แคว้นสุโขทัยเรียกว่าพุทธศาสนาลัทธิลังกา วงศ์และตั้งแต่บัด นั้นเป็นต้นมาประเทศไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ไทยตลอด เรื่อยมาพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปนั้น ตามหลักฐานระบุว่า สร้างโดยพระธรรมทูตของพระ เจ้าอโศกมหาราชแต่หลักฐานและวัตถุโบราณที่ขุดพบส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความ เคยรุ่งเรือง ของมหายานในบริเวณนั้นดังนั้นเป็นที่สันนิธานได้ว่าทั้งเถรวาทและมหายาน ได้รุ่งเรืองใน ดินแดนแถบนี้มาก่อน ความสัมพันธ์ของชาวไทยและจีนมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมา จนถึงสมัยอยุธยาได้มีชาว จีนอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้นแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีวัดทาง ฝ่ายมหายานและพระ สงฆ์เกิดขึ้นแม้ว่าชาวจีนส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนามหายานและนับถือ ลัทธิขงจื้อควบคู่ กันเข้าใจว่าชาวจีนในสมัยนั้นได้ใช้ศาลเจ้าประกอบพิธีตามลัทธิขงจื้อและ ใช้วัดไทยในการ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาแม้ว่าจะเป็นคนละนิกายกัน ในสมัยธนบุรีชาวญวนซึ่งเป็นพุทธ มามกฝ่ายมหายานเช่นเดียวกับจีน และมีวัฒนธรรมคล้ายกันมากได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ สมภาร ญวนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นเป็นวัดแรกบนฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีและ เมื่อ สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวญวนและจีนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นอีกหลายวัดทั้งในกรุงและ นอกกรุง วัดจีนเพิ่งจะเป็นตัวเป็นตนในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5นี้ เองสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชทานสมณศักดิ์สงฆ็นิกายมหานยานเป็นครั้งแรก สมณะศักดิ์ จีนรูปแรกคือ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) สมณะศักดิ์ญวนรูปแรกคือ พระครูคณา นัมสมณาจารย์ (องฮึง)อารามฝ่ายมหายานจีนแห่งแรก คือวัดย่งฮกยี่ ซี่งต่อมาได้รับ พระราชทานนามว่า วัดบำเพ็ญจีนพรต ต่อมาได้มีการสร้างวัดในฝ่ายมหายานที่สำคัญขึ้นอีก หลายวัด ดังเช่นวัดมังกรกมลาวาสวัดจีนประชาสโมสรสำนักสงฆ์อีกหลายแห่งในสมัย รัชกาล ที่ 5 และมหายานฝ่ายจีนนิกายรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ในยุคของเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 6 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ(โพธิ์แจ้งมหาเถระ)ได้มีการสร้างวัดอัน เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติที่ สำคัญขึ้นอีกหลายแห่ง เช่นวัดโพธิ์เย็น วัดเทพพุทธาราม วัดโพธิทัตตาราม วัดโพธิ์แมนคุ ณารามศูนย์กลางคณะสงฆ็จีนแห่งประเทศไทยเป็นต้นพุทธศาสนาฝ่ายมหายานใน ประเทศ ไทยมีอยู่สองนิกาย คือ อานัมนิกาย(ณวน)และจีนนิกาย ธรรมปฏิบัติของสงฆ์มหายานโดย เฉพาะสงฆ์จีนถือปฏิบัติในหลักนิกายลุกจง(นิกายวินัย) นิกายเซียมจง(นิกายวิปัสสนาหรือนิกายเซน)ควบกับนิกายเหี่ยนจง(นิกายเปิด )ซึ่งปฏิบัติทั่ว ไปในวัดจีนมหายานนิกายและมีเฉพาะสังฆารามเดียวเท่านั้นที่มีการเพิ่ม ปฏิบัติในหลักนิกาย มิกจง(นิกายระหัสยานนิกายหนึ่งของวัชระยานทิเบต)เป็นพิเศษคือวัดโพธิ์ เย็นตลาดลูกแก จังหวัดกาญจนบุรีในยุคนี้ได้มีการแปลพระปาฏิโมกข์ฝ่ายมหายานนิกายวินัย ซึ่งถือเป็น ปาฏิโมกข์วินัยที่เคร่งครัดที่สุดเพื่อเป็นหลักปฏิบัติควบคู่กับพระ ไตรปิฎกและโพธิสัตว์สิกขา ของพระสงฆ์มหายานจีนนิกายในที่นี้จะขอกล่าวถึงนิกายหลักที่อยู่ในพุทธ ศาสนามหายาน ในคณะสงฆ์จีนแห่งประเทศไทย
     
  15. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    พุทธศาสนาวัชรยาน
    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แคว้นพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธ ศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคติ นี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระ พุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคล นั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิด เห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมาย ความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวน ที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึง ควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระ โพธิสัตว์
    พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข”ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ(บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป ความ อดทนมี 3 ประเภท
    1 อดทนต่อการต่อต้าน
    2 อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม
    3 อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตน
    ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้3ประเภทพื้นฐาน
    1 ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
    2 ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
    3 ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
    แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น 1 ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ 2 ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ 3 ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

    แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุน นI.คI.h^.น_ ทิเบตเรียก O^.w^บ. ซ๋ลู.ซ๋ดุบ. ในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียน เรื่อง การปฏิบัติตันตระเรื่องคุหยสมัชชตันตระ และมยุรีตันตระซึ่งเป็นตันตระเฉพาะของท่าน ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอนมาอย่างเต็มที่

    การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์ ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการอภิเษก ถึงแม้การปฏิบัติจะดีเพียงไร ก็จะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้น ผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการอภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่า คำสอนวัชระยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยาน มีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียว ต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระเท่านั้นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับ การบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้ เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วย เท่าเปล่าเป็นเดือน
    เป็นที่รู้กันดีในทิเบตว่ามิลาเรปะ ท่านได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่าน ด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระ โดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง การต่อเนื่องของจิตวิญญาณที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยที่การเปลี่ยนชาติภพมิได้ทำให้ระดับจิตที่ได้พัฒนาแล้วลดระดับลง อันเป็นคำสอนการปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในแวดวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการอภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามากเข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษา หรือปฏิบัติตันตระเองได้โดยไม่ผ่านการอภิเษก จากคุรุ
    การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษ หรือ ยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ มีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็น ลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ ด้วยเวลาอันสั้น แต่ คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้ง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด
     
  16. illanzer

    illanzer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +840
    (^_/\_^)
    The message you have entered is too short. Please lengthen your message to at least 20 characters.
     
  17. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    ท่านApisoft Thailand ท่านลองอ่านดูจากเวบนี้ก็ได้ครับhttp://src.ac.th/web/index.php?option=content&task=view&id=964 หรือเวบนี้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเถรวาท-วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ครับมีอะไรเป็นอาจารย์เหมือนกันลองคุยกันเองดูก็ได้ครับ ผมความรู้พอประมาณจบป.6ร.ร.วัด ไม่บังอาจกับอาจารย์มหาลัยทางภาคอีสานอย่างท่านหรอกขอรับ
     
  18. illanzer

    illanzer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +840
    แงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
    ม่ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย เวปนี้สิครับเอามาลงเวปนี้เลยครับท่าน piyaa อิอิ

    นานๆ ทีจะมีผู้มาช่วยพวกเราไขความกระจ่างแจ้ง ต้องกอบโกยมากๆ วะฮ่าฮ่า
     
  19. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    เนื้อหายาวมากครับช่วยไปอ่านในเวบนั้นๆดีกว่าครับ
     
  20. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    <table id="post6601893" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt1" id="td_post_6601893" style="border-right: 1px solid #FFFFFF">ลักษณะของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์

    พระบาทขวา ยื่นออกมาโดยมีดอกบัวรองรับเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการก้าวออกไปทำ ประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ พระบาทซ้าย พับในท่าสมาธิหมายถึงการดำรงสติอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม พระหัตถ์ขวา หงายออกแสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองและความตั้งใจในการทำประโยชน์เพื่อผู้ อื่น พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นเสมอไหล่ถือดอกบัวเป็นการแสดงถึงปัญญาและมหากรุณาที่พร้อมจะเป็นผู้ ให้แก่สรรพชีวิต ลักษณะการถือดอกบัวเป็นการถืออย่างสบายๆ แสดงถึงการถืออย่างไม่ยึดติด

    คติในการทำงานอย่างพระโพธิสัตว์ คือการสั่งสมบารมีโดยการก้าวออกไปทำงานเพื่อความสงบเย็นและเป็นประโยชน์ของ มวลมนุษยชาติ ซึ่งคุณธรรมสำคัญที่ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณมี ๑๐ ประการ ได้แก่
    ๑. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ
    ๒. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ
    ๓. เนกขัมมบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล ๘ ก็เป็นเนกขัมมบารมีได้เช่นกันเพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข
    ๔. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา
    ๕. วิริยบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง มีความพยายามทำตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ
    ๖. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ
    ๗. สัจบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก
    ๘. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งจิตมั่นต่อคำอธิฐาน
    ๙. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกประดุจมารดารักบุตร
    ๑๐. อุเบกขา บารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลางและทำงานโดยใช้หัวใจโพธิสัตว์นำพาสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นความ ทุกข์ และอุปสรรคทั้งปวงไปสู่ความปลอดภัย

    รวมทั้งมีความสุขด้วย สุข ๓ ขั้น อันได้แก่
    สุข ขั้นที่ ๑ สุขง่าย..ใช้น้อย ได้แก่ ไม่หวังให้คนอื่นต้องตามใจเราทุกอย่าง ไม่คบเพื่อนเพื่อหวังผลประโยชน์จากเพื่อน ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่ปรารถนาลาภเพื่อประโยชน์ตน
    สุขขั้นที่ ๒ สุข..เมื่อสร้าง ได้แก่ ไม่กลัวต่ออุปสรรคในการพัฒนาตน ไม่กลัวต่อปัญหาในทุกงาน เตรียมร่างกายให้แข็งแรงเพื่อความไม่ประมาทกลัวต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย และ
    สุข ขั้นที่ ๓ สุข..เมื่อให้ ได้แก่ ให้อภัยเมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสีหรือติเตียนนินทา มีสุขอยู่ในการทำงานโดยไม่ต้องการให้สำเร็จอย่างร้อนรน ไม่ประมาทต่อการดำรงตนจึงไม่กลัวต่อภัยอันตราย
    คุณธรรม ๘ ประการ ของพระโพธิสัตว์
    ไม่มีความถือตัวอวดดี
    ไม่มีความโง่เขลา
    ไม่มีความอาฆาตพยาบาททั้งปวง
    ไม่มีความอิจฉาริษยา
    ไม่มีความคิดเห็นผิดที่ผิด
    ไม่มีความโลภ
    ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
    ไม่มีความยึดติด ความเคลือบแคลงสงสัยทั้งปวง
    </td> </tr> <tr> <td class="alt2" style="border: 1px solid #FFFFFF; border-top: 0px"> [​IMG] [​IMG] [​IMG] </td> <td class="alt1" style="border: 1px solid #FFFFFF; border-left: 0px; border-top: 0px" align="right"> [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...