พระติดอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ยอมแก้

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย โกยเถอะกาม, 13 กันยายน 2007.

  1. โกยเถอะกาม

    โกยเถอะกาม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2007
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +10
    พระที่ติดอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ยอมแก้ ตายไปจะพบผลกรรมอะไรครับ
     
  2. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ถ้าเอาแบบเกิดมาไม่ทำบุญอะไรเลย
    บวชเสร็จสังฆาทิเสสแล้วสึก
    ตายทันทีแล้วนึกถึงกรรมสังฆาทิเสสนั้น
    ก็ไปอเวจีจ้ะ

    แล้วถ้าคิดว่านรก-สวรรค์ไม่มี
    การเวียนตายเกิดไม่มี
    เห็นทำการสังฆาทิเสสมีคุณ
    ก็ไปโลกันต์จ้ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2007
  3. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ รอผู้รู้มาช่วยชี้แนะ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าถึงจะปลงอาบัติก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่บาปนะครับ เพราะบาปเกิดขึ้นที่ใจ เมื่อคนเราทำบาปใดด้วยเจตนาแล้ว บาปนั้นก็จะติดตัวคนผู้นั้นไป การปลงอาบัติเป็นเพียงการบอกกล่าวการกระทำที่ไม่ดีของตนให้กับเพื่อนสหธรรมมิกที่บวชเป็นพระด้วยกัน เพื่อตนจะได้สำรวมระวังต่อไปไม่กระทำกรรมไม่ดีเช่นนั้นๆ อีกน่ะครับ

    วินัยของพระสงฆ์หมวดสังฆาทิเสสมีดังนี้ครับ เราเป็นฆราวาสแต่รู้ไว้อาจจะได้ประโยชน์บ้างครับ:-

    บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=564 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=4>สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๑.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๘.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๒.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๙.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๓.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๑๐.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๔.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถ้อยคำพาดพิงเมถุน


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๑๑.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๕.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๑๒.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๖.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">สร้างกุฏิด้วยการขอ


    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">๑๓.


    </TD><TD vAlign=top width="47%">ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="6%">๗.


    </TD><TD vAlign=top width="40%">สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น

    ปล.ฆราวาสบางคนไม่รู้บางทีไปใช้งานพระอย่างกับว่าเห็นท่านเป็นคนงานของตนไปซะงั้น ถ้าท่านไม่ทำอะไรให้ก็อย่าไปโกรธท่านล่ะครับ เพราะว่าจริงๆแล้วมันเป็นการผิดวินัย ถ้าพระจะทำอะไรๆหรือทำงานรับใช้ฆราวาสน่ะครับ
    </TD><TD vAlign=top align=right width="7%">


    </TD><TD vAlign=top width="47%">


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2007
  4. VickiesII

    VickiesII เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +491
    ได้รับกรรมแบบไหน ไม่ทราบครับ

    แต่ที่ได้เห็นหลายๆคน ไม่แก้ พอออกไปจะทำมาหากินไม่ขึ้น

    ต้องกลับมาบวชอีกรอบ แล้วแก้กัน ซึ่งสามารถทำได้นะครับ

    ก็เคยเห็นที่วัด ชากสมอ(สุขใจดี) จ.ชลบุรี ซึ่งจัดปริวาสทั้งปี

    มีคนมาขอเจ้าอาวาสบวชเพื่อแก้ตัวนี้โดยเฉพาะ แล้วก็สึกทันทีก้มีครับ
     
  5. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    อาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท

    สิกขาบทที่ ๑
    (ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน)

    เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกษุเสยยสกะถูกพระอุทายีแนะนำในทางที่ผิด ให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ความทราบถึงพระผุ้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน พระเสยยสกะรับเป็นสัตย์ ทรงติเตียนพระเสยยสกะเป็นอันมาก แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนโดยเจตนา ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติสังฆาทิเทสส (อาบัติที่ต้องให้สงฆ์เกี่ยวข้องในกรรมเบื้องต้นและกรรมอันเหลือ คือสงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ).
    <CENTER>อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)</CENTER>
    สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝัน เกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่เป็นอัพโพหาริก (ไม่ควรกล่าวว่า มีเหมือนอย่างเทน้ำหมดแก้วแล้ว น้ำก็ยังคงมีติดอยู่เล็กน้อย แต่ไม่ควรกล่าวว่า มี) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยพิสดารแล้ว กล่าวถึงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ ๑. เพราะฝัน ๒. ภิกษุไม่มีเจตนาจะทำให้เคลื่อน ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวด้วยเหตุใด ๆ) ๕. ภิกษุมีเวทนากล้า และ ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
    <CENTER>วินีตวัตถุ
    (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
    </CENTER>
    ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๑ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสบ้าง ไม่ต้องบ้าง ตามควรแก่กรณี.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๒
    (ห้ามจับต้องกายหญิง)</CENTER>
    เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วกล่าวถึงวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายีว่างดงาม มีเตียงตั่งฟูกหมอน น้ำดื่มใช้ตั้งไว้ดี มีบริเวณอันกวาดสะอาด. มนุษย์ทั้งหลายพากันไปชมวิหารมากด้วยกัน. พราหมณ์ผู้หนึ่งพาภริยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้พราหมณ์เดินหน้า ภริยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภริยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหนึ่ง เลยถือโอกาสจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธ ติเตียนเป็นอันมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือลูบคลำอวัยวะใด ๆ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
    ครั้นแล้ว ได้มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่างละเอียด และมีข้อแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ คล้ายคลึงกับสิกขาบทที่แล้ว ๆ มา ลงท้ายด้วยแสดงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งพระศาสดาทรงวินิจฉัย ไต่สวนชี้ขาดด้วยพระองค์เอง อันเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ประมาณ ๒๐ เรื่อง.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๓
    (ห้ามพูดเกี้ยวหญิง)</CENTER>
    เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องสตรีหลายคนพากันไปชมวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายี ซึ่งเลื่องลือกันว่างดงาม พระอุทายีก็ถือโอกาสนั้นพูดจาพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น. หญิงบางคนที่เป็นคนคะนองไม่มีความอาย ก็ยิ้มแย้ม ซี้ซิก คิกคัก พูดล้อกับพระอุทายี. ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ก็ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน ทำนองชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด แล้วแสดงถึงอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) สำหรับภิกษุผู้พูด มุ่งอรรถ มุ่งธรรม มุ่งสั่งสอน ผู้เป็นบ้า และผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงไต่สวนวินิจฉัยชี้ขาด รวม ๑๒ เรื่อง.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๔
    (ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม)</CENTER>
    เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าถึงหญิงหม้ายคนหนึ่งผู้มีรูปร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลนั้น สั่งสอนจนเกิดความเลื่อมใสแล้ว เธอปวารณาที่จะถวายผ้านุ่งห่ม อาหารที่นอนที่นั่งและยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรือชักชวนหญิงนั้น ให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่า เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นางหลงเชื่อ แสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลาย แสดงอาการรังเกียจ. นางจึงติเตียนพระอุทายี. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวน ติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายข้อความในสิกขาบทอย่างละเอียด พร้อมทั้งแสดงถึงการไม่ต้องอาบัติ โดยลักษณะ ๓ คือ ๑. พูดให้บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น รวม ๗ เรื่อง ซึ่งพระผู้มีพระภาคไต่สวนชี้ขาดว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๕
    (ห้ามชักสื่อ)</CENTER>
    เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย. สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูดสรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิง. พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาบิดาของเด็กหญิง เขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้ พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.
    สมัยนั้น ธิดาของหญิงผู้เคยเป็นโสเภณีคนหนึ่ง มีรูปงาม น่าดู น่าชม, สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบล จึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จัก ทั้งก็มีลูกคนเดียว ลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้. สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายี ขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จักจึงยอมยกให้. สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเดียว ต่อมาก็เลี้ยงดูแบบทาสี.
    เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปเกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้. นางจึงต้องกลับสู่กรุงสาวัตถี.
    เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ ๒ เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ. มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้. พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไป เป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.
    เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้ว และถูกรุกรานไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้น และหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็พากันติเตียน สาปแช่งพระอุทายี. ส่วนหญิงที่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.
    ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
    ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่อสำเร็จความใคร่ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด เพื่อสำเร็จความประสงค์ชั่วขณะหนึ่ง ก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. ไปด้วยกิจของสงฆ์ ของเจดีย์ หรือของภิกษุไข้ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ ไม่ต้องอาบัติ แล้วได้แสดงตัวอย่างที่เกิดเรื่องขึ้น ๗ เรื่องเกี่ยวกับสิกขาบท่นี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยชี้ขาด.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๖
    (ห้ามสร้างกุฎีด้วยการขอ)</CENTER>
    เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวแคว้นอาฬวีให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ (ในที่ซึ่งไม่มีใครจับจอง) เป็นของจำเพาะตน (เพื่อประโยชน์ของตนเอง) เป็นกุฎีไม่มีประมาณ (ไม่กำหนดเขตแน่นอน) ด้วยการขอเอาเอง (คือขอของใช้รวมทั้งขอแรง) กุฎียังไม่เสร็จ พวกเธอก็มากไปด้วยการขอ เช่น ขอคน ขอแรงงาน ขอโค ขอเกวียน ขอพร้า ขอขวาน เป็นต้น ก่อความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอันมาก ถึงกับเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า ก็พากันหวาดบ้าง สะดุ้งกลัวบ้าง หนีบ้าง ไปทางอื่นบ้าง หันหน้าหนีไปทางอื่นบ้าง ปิดประตูบ้าง เห็นโค สำคัญว่าเป็นภิกษุ ก็พากันหนีบ้าง.
    ท่านพระมหากัสสปจาริกไปสู่แคว้นอาฬวี พักที่อัคคาฬวเจดีย์ ไปบิณฑบาตก็พบมนุษย์ทั้งหลายพากันหวาดสะดุ้ง หลบหนี เมื่อกลับมาถามภิกษุทั้งหลาย ทราบความแล้ว พอพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปสู่เมืองอาฬวี ก็กราบทูลให้ทรงทราบ จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ตรัสเทศนาสั่งสอนไม่ให้เป็นผู้มักขอ ทรงเล่านิทานประกอบถึง ๓ เรื่อง แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ เป็นที่อยู่จำเพาะตนด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง พึงทำให้ได้ประมาณ คือยาวไม่เกิน ๑๒ คืบ กว้างไม่เกิน ๗ คืบ ทั้งต้องให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อน. ภิกษุทั้งหลายพึงแสดงที่ ซึ่งไม่มีใครจองไว้ ที่มีชานรอบ ถ้าภิกษุให้ก่อกุฎีด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง ในที่ซึ่งมีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อนก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และอธิบายถึงลักษณะการไม่ต้องอาบัติไว้ ที่มีลักษณะอันไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน และภิกษุผู้ทำเป็นบ้าหรือเป็นต้นบัญญัติ.
     
  6. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    <CENTER>สิกขาบทที่ ๗
    (ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่)</CENTER>
    เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ครั้งนั้น คฤหบดีผู้เป็นอุปฐาก (บำรุง) พระฉันนะ ขอให้พระฉันนะแสดงที่ให้ ตนจะสร้างวิหารถวาย. พระฉันนะให้ปราบพื้นที่ ให้ตัดต้นไม้ที่ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นการก่อความสะเทือนใจ มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติ และทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่. ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปแสดงที่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท โดยละเอียด ส่วนลักษณะการไม่ต้องอาบัติ คงเป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๖.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๘
    (ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล)</CENTER>
    เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตร (ผู้เป็นบุตรแห่งมัลลกษัตริย์) ได้บรรลุพระอรหัตตผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำอีก. ต่อมาท่านปรารถนาจะทำประโยชน์แก่คณะสงฆ์ โดยเป็นผู้จัดเสนาสนะ (เสนาสนคาหาปกะ มีหน้าที่จัดที่พักให้พระที่เดินทางมา) และเป็นผู้แจกภัตต์ (ภัตตุทเทสกะ มีหน้าที่จัดภิกษุไปฉันในที่นิมนต์ ในเมื่อทายกมาขอพระต่อสงฆ์) จึงกราบทูลความดำริของท่านแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และทรงแสดงความเห็นชอบด้วยที่จะให้ท่านทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่ทั้งสองนั้น.
    จึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ ให้สงฆ์เชิญพระทัพพะก่อนแล้ว ให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศขอความเห็นชอบในการสมมติ พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้แจกเสนาสนะ และแจกภัตต์ เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงเป็นอันสงฆ์ได้สมมติ (หรือแต่งตั้ง) แล้ว.
    พระทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่มาด้วยดี ครั้งหนึ่งถูกภิกษุพวกพระเมตติยะ และภุมมชกะ (สองรูปนี้เป็นหัวหน้าของกลุ่มภิกษุผู้มักก่อเรื่องเสียหาย) เข้าใจผิดหาว่าท่านไปแนะนำคฤหบดีผู้หนึ่ง มิให้ถวายอาหารดี ๆ แก่พวกตน ซึ่งความจริงคฤหบดีผู้นั้น ไม่เลื่อมใส และรังเกียจด้วยตนเอง. จึงใช้นางเมตติยาภิกษุณีให้เป็นโจทก์ฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ในข้อหาต้องอาบัติปาราชิกเพราะข่มขืนนาง.
    พระพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์ ไต่สวน ได้ความว่าเป็นการแกล้งใส่ความ จึงให้สึกนางเมตติยาภิกษุณี. พวกภิกษุผู้ใช้ออกรับสารภาพแทน ก็ไม่ทรงผ่อนผัน กลับทรงเรียกประชุมสงฆ์ ติเตียนหมู่ภิกษุผู้คิดร้าย ใส่ความฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. โจทด้วยเข้าใจผิดในภิกษุผู้บริสุทธิ์ ว่าไม่บริสุทธิ์ ๒. โจทภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์จริง ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๙
    (ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติ)</CENTER>
    เล่าเรื่องภิกษุ พวกพระเมตติยะ และภุมมชกะชุดเดิม แกล้งหาเลส โจทพระทัพพมัลลบุรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล คือเห็นแพะตัวผู้เป็นสัดด้วยแพะตัวเมีย ก็นัดกันตั้งชื่อแพะตัวผู้ว่า พระทัพพมัลลบุตร ตั้งชื่อแพะตัวเมียว่า เมตติยาภิกษุณี แล้วเที่ยวพูดว่า ตนได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรได้เสียกับนางเมตติยาภิกษุณีด้วยตาตนเอง.
    ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระทัพพมัลลบุตร ได้ความว่าเป็นการอ้างเลส ใส่ความ จึงมอบให้สงฆ์จัดการไต่สวนภิกษุพวกที่อ้างเลสใส่ความ เมื่อพวกเธอรับเป็นสัตย์จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามอ้างเลสใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
    ต่อไปเป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และคำอธิบายลักษณะไม่ต้องอาบัติ เป็นอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๘.

    (ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๑ ถึงที่ ๙ เรียกว่าปฐมาปัตติกะ คือต้องอาบัติตั้งแต่ลงมือทำครั้งแรก ส่วนสิกขาบทที่ ๑๐ ถึง ๑๓ เรียกยาวตติยกะ สงฆ์ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ขืนดื้อดึงจึงต้องอาบัติ).
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๑๐
    (ห้ามทำสงฆ์ให้แตกกัน)</CENTER>
    เริ่มเรื่อง เล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ, พระกฏโมรกดิสสกะ, พระที่เป็นบุตรของนางปัณฑเทวี และพระสมุทรทัตชักชวนให้ทำสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอไปในทางเคร่งครัดยิ่งขึ้น ๕ ข้อ ซึ่งเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคคงไม่ทรงอนุญาต และตนจะได้นำข้อเสนอนั้นประกาศแก่มหาชน. ข้อเสนอ ๕ ข้อ คือ
    ๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้าน ต้องมีโทษ
    ๒. ภิกษุพึงถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ผู้ใดรับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องมีโทษ
    ๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือผ้าหรือเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามที่ต่าง ๆ บ้าง นำมาซักและปะติดปะต่อเป็นจีวร) จนตลอดชีวิต ผู้ใดรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ต้องมีโทษ
    ๔. ภิกษุพึงอยู่โคนไม้จนตลอดชีวิต ผู้ใดเข้าสู่ที่มุง (ที่มีหลังคา) ต้องมีโทษ
    ๕. ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสัตว์ ผู้ใดฉัน ต้องมีโทษ
    ภิกษุเหล่านั้นเห็นมีทางชนะก็ร่วมด้วย พระเทวทัตจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลข้อเสนอทั้งห้าข้อนั้น.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า, ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้าน ก็จงอยู่ในละแวกบ้าน. ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต, ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์, ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกกุล ก็จงใช้ผ้าบังสุกุล, ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ก็จงรับคฤหบดีจีวร, เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน (ที่มิใช่ฤดูฝน), เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงจะให้ภิกษุบริโภค).
    พระเทวทัตดีใจ จึงเที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตข้อเสนอที่ดีของตน ทำให้คนที่มีปัญญาทรามบางคนเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก. แต่คนที่เข้าใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทัต ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระเทวทัต รับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุพากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน เมื่อภิกษุอื่นห้ามปราม ไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) เพื่อให้เธอเลิกเรื่องนั้นเสีย ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขากบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. สงฆ์ไม่สวดประกาศ ๒. เธอละเลิกเสียได้ ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๑๑
    (ห้ามเป็นพรรคภวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน)</CENTER>
    เนื่องมาจากสิกขาบทที่ ๑๐ คือภิกษุโกกาลิกะ เป็นต้น สนับสนุนพระเทวทัต ว่าไม่ควรติเตียนพระเทวทัต พูดเป็นธรรม เป็นวินัย ต้องด้วยความพอใจของตน. ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุพวกที่สนับสนุน ภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกันนั้น. ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้ความจริงแล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามสนับสนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน ถ้าห้ามไม่ฟัง ให้ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
    ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ ก็คล้ายกับสิกขาบทที่ ๑๐ มีเพิ่มภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน มีเวทนากล้า อีก ๒ ข้อ.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๑๒
    (ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก)</CENTER>
    เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้น พระฉันนะ ประพฤติอนาจาร (ความประพฤติอันไม่สมควร) ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว กลับว่าติเตียน. ภิกษุทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนและทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำตนเป็นผู้ว่ายาก ถ้าไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
    "ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๑๐.
    <CENTER> </CENTER><CENTER>สิกขาบทที่ ๑๓
    (ห้ามประทุษร้ายสกุล คือประจบคฤหัสถ์)</CENTER>
    เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุไม่สำรวมที่ชื่อว่าเป็นพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นพระเจ้าถิ่นอยู่ในชนบท ชื่อว่ากิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี.
    มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่านมาพัก ณ ชนบทนั้น เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง เหมือนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร. แต่อุบาสกผู้หนึ่ง (เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง) เห็นเข้า จึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่าง ๆ
    ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) ให้เธอละเลิก ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติเหมือนสิกขาบทที่ ๑๑.

    (พึงสังเกตว่า ตั้งแต่สิกขาบที่ ๑๐ มา ถึงสิกขาบทที่ ๑๓ ที่เรียกว่ายาวตติยกะนั้น ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง จึงต้องอาบัติ).
     
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขออนุโมทนาครับคุณอักขรสัญจร ที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมครบถ้วนครับ เรื่องวินัยนี่บางทีก็คล้ายๆกฎหมายนะครับเนี่ย จะวินิจฉัยว่าใครทำผิดหรือถูกพระธรรมวินัยรึเปล่านี่ก็ยากใช่เล่น ในสมัยพุทธกาลยังมีพระอุบาลีที่เป็นเอตทัคคะในด้านทรงพระวินัยเลยล่ะครับ (เฮ้อ......บางทีฆราวาสรู้วินัยแค่นิดหน่อยไม่ค่อยละเอียดอ่อน ก็ไปนึกว่าพระท่านทำผิดพระวินัยซะแล้ว.......)
     
  8. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ถ้ารู้จักตำรวจที่เคยจับพระสึกจะเข้าใจดีเลยครับ
    โทษไม่ถึงปาราชิกแล้วไปจับท่านสึกนี่ดวงกุดตลอดชีวิต
    ตายไปแล้วจะยังไงต่อก็ไม่รู้
     
  9. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เห็นด้วยกับคุณอักขรสัญจรนะครับ สื่อนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญเลยที่สร้างบาปโดยไม่รู้ตัวนะครับ บางทีก็ประโคมข่าววิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆ พอคนได้อ่านข่าวก็ไปวิพากษ์วิจารณ์ บางคนก็ด่าว่าพระเสียๆหายๆตามไปด้วย บ้างก็ปรุงแต่งเสริมเติมใส่ไข่กันเข้าไปอีก ทำให้เกิดการสร้างกรรมเป็นหมู่คณะขนาดใหญ่โดยไม่รู้ตัวทีเดียว

    สมมติพระรูปที่สื่อเอามาลงที่คนพากันวิพากษ์วิจารณ์กันนั้น ท่านไม่ได้ผิดพระวินัยจริง หรือเป็นผู้มีคุณธรรมสูง ก็เท่ากับว่าสื่อเป็นสาเหตุในการชักนำหมู่คณะขนาดใหญ่ให้พากันทำกรรมที่จะเป็นไปเพื่ออบายภูมิกันเลยทีเดียวครับ (สังเกตได้ว่าหลังๆมานี้หลังจากที่มีข่าวพระออกมามากๆ บ้านเมืองก็มีแต่ความวุ่นวายไม่หยุดไม่หย่อนกันเลยทีเดียวล่ะครับ)

    ปล.เรื่องกรรมนี้ไม่เหมือนการทำสงครามที่พวกมากจะได้เปรียบหรือเหมือนในหนังจีนกำลังภายในหรือพวกนักพลังจิตที่พวกเยอะกว่ากำลังภายในหรือพลังจิตก็มากกว่าเลยครับ ยิ่งคนมากแล้วพากันทำกรรมที่ไม่ดี เวลาจะรับวิบากกรรมก็จะต้องรับเป็นหมู่คณะเช่นเดียวกัน ส่วนคนที่เป็นหัวหน้าชักจูงผู้อื่นให้หลงผิดนี่ก็บาปหนักที่สุดครับ
     
  10. prapisu

    prapisu สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    อยากทราบครับ

    อยากรู้ว่าถ้าสมมุติคนที่ติดสังฆาฑิเลส แต่จำไม่ได้ว่ากี่วัน
    แล้วไม่มีเวลาแก้กรรมเพราะทำกิจอย่างอื่นแล้วปล่อยให้นานจนจำไม่ได้
    แล้วอยากจะแก้ตัวนี้โดยไม่ต้องนับวันที่ทำผิด คือ จะให้เป็นความเห็นของสงฆ์
    หรือ มีบางคนสึีกไปแล้ว อยากแก้กรรมแต่อยู่ได้ไม่นาน เพราะติดธุระเกี่ยวกับงานต่างๆ แต่อยากจะแก้กรรมจะมีวิธียังไงครับ
     
  11. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    <TABLE class=tborder id=post4422695 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 12:56 AM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #11 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->prapisu<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4422695", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Feb 2011
    ข้อความ: 1
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_4422695 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_start -->อยากทราบครับ<!-- google_ad_section_end -->

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->อยากรู้ว่าถ้าสมมุติคนที่ติดสังฆาฑิเลส แต่จำไม่ได้ว่ากี่วัน
    แล้วไม่มีเวลาแก้กรรมเพราะทำกิจอย่างอื่นแล้วปล่อยให้นานจนจำไม่ได้
    แล้วอยากจะแก้ตัวนี้โดยไม่ต้องนับวันที่ทำผิด คือ จะให้เป็นความเห็นของสงฆ์
    หรือ มีบางคนสึีกไปแล้ว อยากแก้กรรมแต่อยู่ได้ไม่นาน เพราะติดธุระเกี่ยวกับงานต่างๆ แต่อยากจะแก้กรรมจะมีวิธียังไงครับ<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุทธันตปริวาส

    สุทธันตปริวาส เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้ ในปัจจุบันนี้นิยมจัดแต่ สุทธันตปริวาส ทั้งนี้ก็เพราะเป็น ปริวาสที่จัดว่าอยู่ในดุลยพินิจของสงฆ์อยู่ในอำนาจของสงฆ์ คือให้สงฆ์เป็นใหญ่ หากคณะสงฆ์จะให้อยู่ถึง ๕ ปีก็ต้อง ยอมปฏิบัติตาม โดยไม่มีทางเลือกและถ้าสงฆ์ให้อยู่ราตรีหนึ่ง หรือสองราตรีแล้วขอมานัตได้ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคณะ สงฆ์ และทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาสนี้มีเงื่อนไขน้อยที่สุดแต่ให้้ความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติมากที่สุดซึ่งภิกษุที่ท่านขอปริวาส ดังคำว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่รู้ที่สุดแห่งอาบัติ ๑ ไม่รู้ที่สุดแห่งราตรี ๑ ระลึก ที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้ ๑ ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งอาบัติ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งราตรี ๑; ข้าแต่ท่าน
    ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปริวาสจนกว่าจะบริสุทธิ์เพื่ออาบัติเหล่านั้นกะสงฆ์(วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒) ซึ่งก็ยังมีข้อกำหนดว่าอยู่ไป เรื่อย ๆ จนกว่าจะบริสุทธิ์ดังนั้นจึงได้แบ่ง สุทธันตปริวาส ออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ คือ

    จุฬสุทธันตปริวาส แปลว่า สุทธันตปริวาสอย่างย่อย คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติหลายคราวด้วยกัน
    แต่ละคราวก็ปิดไว้ แต่ก็ยังพอจำจำนวนอาบัติได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งได้บ้าง จึงขอจุฬสุทธันตปริวาส
    และอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้คณะสงฆ์ก็นิยมสมมติให้อยู่ ๓ ราตรี เป็นเกณฑ์ น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ไม่เป็นไร
    มหาสุทธันตปริวาส คือ สุทธันตปริวาสอย่างใหญ คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติหลายคราวด้วยกัน
    แต่ละคราวก็ปิดไว้ จำจำนวนอาบัติไม่ได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งไม่ได้ จึงขอจุฬสุทธันตปริวาสและอยู่
    ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์โดยการกะประมาณว่าตั้งแต่บวชมาจนถึงเวลาใดที่ยังไม่ต้องครุกาบัติเลย
    เช่น อาจบวชมาได้ ๑ เดือน แต่ต้องครุกาบัติจนเวลาล่วงผ่านไปแล้ว ๕ เดือน ๑๐ เดือนหรือ ๑ ปี แต่จำจำนวน
    ที่แน่นอนไม่ได้เลย จึงต้องขอปริวาสและกะประมาณว่าประมาณ ๑ เดือนนั้นในความรู้สึก ก็ถือว่าบริสุทธิ์และใช้
    ได้ ซึ่งมหาสุทธันตปริวาสนี้ ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะยุ่งยากและกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้



    http://www.watthumpra.com/parivad.html



    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...