ลักษณะของจิตหลุดพ้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 6 เมษายน 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    <u>ข้อเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร ข้อมูลที่นำมาลงนั้นอยู่ที่ http://dungtrin.com/sati/chapter11.html ส่วนเรื่องเต็ม ๆ นั้นสามารถอ่านได้ที่ http://dungtrin.com/sati/index.html</u>

    <font color=green>ลักษณะของจิตหลุดพ้นเป็นยังไง เรารู้ได้เองได้อย่างไร เชิญอ่านได้เลยครับ</font>

    <b><font color=blue>ลักษณะของจิตหลุดพ้น</font></b>

    จิตหลุดพ้นคือจิตที่ไม่มีความอยากเสพกาม ไม่มีความอยากเสพฌาน และไม่มีความหลงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวเป็นตน ดังนั้นจิตหลุดพ้นต้องมีลักษณะตั้งมั่น เพราะถ้าไม่ตั้งมั่นก็ไม่ชื่อว่าหลุดพ้นจากความครอบงำของกามและความฟุ้งซ่าน จิตหลุดพ้นต้องมีลักษณะแยกเป็นอิสระ มีฐานะเป็นผู้รู้ ผู้ดูสภาวธรรม เพราะถ้าไม่แยกต่างหากออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดูสภาวธรรม ก็ไม่ชื่อว่าหลุดจากการครอบงำของสภาวธรรม

    อาการ "แยกออกมา" เหมือนต่างฝ่ายต่างแยกกันอยู่นั้น ไม่ใช่หมายถึงจิตลอยเป็นดวงๆออกมาอยู่นอกร่างกายจริงๆ แต่จะเป็นประสบการณ์ภายในเหมือนรู้เห็นตามปกติโดยไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งใด เพราะมีลักษณะของสติและสัมปชัญญะมั่นคง เห็นกายใจอย่างที่มันเป็น คือเกิดดับในทางใดทางหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งล้วนปรากฏเป็นเครื่องรู้ เครื่องอาศัยระลึก มีชีวิตอีกแบบ อีกมิติหนึ่ง สมดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเสมอในทุกหมวด ทุกบรรพของมหาสติปัฏฐานสูตรคือ...

    เธอย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือเข้าไปตั้งสติว่ากาย เวทนา จิต ธรรมมี ก็เพียงสักว่าเอาไว้รู้ เพียงสักว่าเอาไว้อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฐิเข้าอิงอาศัย และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    <b><font color=blue>วิธีกำหนดรู้</font></b>

    พระพุทธองค์ให้แนววิธีรู้ไว้คือ เมื่อจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    เพื่อที่จะรู้ว่าจิตหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น ก็ควรพิจารณาเป็นลำดับว่ายังยึดอะไร หรือเกาะยึดด้วยความไม่รู้ลักษณะตามธรรมชาติอันใด ตรงจุดนี้มีบัญญัติเฉพาะอยู่คำหนึ่งที่ควรอ้างอิงถึง คือคำว่า "เปลื้องจิต"

    คำว่าเปลื้องจิตคือการปลดปล่อยจิตจากสิ่งที่เคยเกาะยึดไว้ เพื่อเป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆ ตัวอย่างที่เคยศึกษากันมาก็เช่นเราเข้าถึงปฐมฌานก็เพื่อปลดปล่อยจิตจากการเกาะกุมของกามราคะ เรียกว่าเป็นการใช้ปฐมฌานในการเปลื้องจิตจากกามราคะ หรือเมื่อเห็นตามจริงว่าเราทึกทักว่าสิ่งใดเที่ยง เช่นนึกเอาว่าหน้าตาต้องไม่แก่ ความรักต้องไม่จืดจาง พอมันแสดงความแก่ แสดงความจืดจาง ก็ทุรนทุรายหรืออย่างน้อยเป็นทุกข์ทางใจ อันนั้นแสดงถึงโมหะ ความหลงผิด ยึดมั่นอยู่ว่าของรักของหวงต้องเที่ยง เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย รับรู้แบบตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมฟ้องความไม่เที่ยงอันเป็นของจริง ความยึดมั่นแบบหลงผิดว่าเที่ยงย่อมถูกเบียดตกไป นี่คือการเปลื้องจิตจากความหมายมั่นว่าเที่ยง ด้วยปัญญาพิจารณาเห็นจริงอย่างปราศจากโมหะว่าสรรพสิ่งย่อมเสื่อมลงเป็นธรรมดา

    จิตหลุดพ้นมีลักษณะเป็นอิสระเฉพาะตัวที่รู้สึกได้จากประสบการณ์ภายใน เมื่อหมั่นพิจารณาว่าขณะใดจิตยังยึด หรือยังหลงผิด ก็จะเห็นความอึดอัดไม่เป็นอิสระจากลักษณะยึดและลักษณะหลงผิดนั้นๆ แต่ถ้าไม่พิจารณา แม้กำลังยึดมั่นหรือหลงผิดรุนแรง โมหะจะทำหน้าที่บดบัง ปิดหูปิดตาไม่ให้รับรู้ความจริงใดๆทั้งสิ้น

    ความหลุดพ้นเป็นเปลาะๆนั้น ไม่มีเครื่องหมายหรือคะแนนบอกแบบนับแต้มให้รู้ได้ว่าใกล้เต็มร้อยหรือยัง แต่จะมีลักษณะหนึ่งของจิตค่อยๆปรากฏอยู่ในประสบการณ์ภายใน คือความรู้สึกว่าง ความพรากออกมาจากแรงเหนี่ยวของกายใจและโลกทั้งปวง เมื่อปฏิบัติธรรมวันต่อวัน ความว่างชนิดนี้จะยิ่งขยายวงกว้าง ทำให้ปลอดโปร่งโล่งใจ เป็นสุขเนียนประณีตขึ้นเรื่อยๆโดยไม่อิงอาศัยเหยื่อล่อใดๆเลย

    และด้วยความรู้สึกว่างดังกล่าวนี้เอง เมื่อเกิดเส้นใยยึดมั่นใดๆเสียดแทรกแปลกปลอมขึ้นมา ก็ย่อมปรากฏให้เห็นชัด ทำให้รู้ตัวว่ายังไม่พ้นจากความยึดมั่นแบบนั้นๆ ก็เป็นหน้าที่ที่ต้องตระหนัก ต้องยอมรับว่าจิตยังถูกยื้อยุดฉุดรั้งไว้ได้อยู่ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยแยบคายเพื่อเปลื้องจิตให้ตรงประเด็น ก็จะรู้สึกถึงความอ่อนกำลังยึดเหนี่ยวทีละน้อย จนวันหนึ่งเหมือนขาดสูญไปจากจิต เป็นสัญญาณบอกความเข้าใกล้ลักษณะทิ้งความเห็นกายใจเป็นตัวเป็นตนเข้าไปทุกที
     
  2. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    อนุโทนา ด้วยคน ค่ะ
     
  3. jeds22

    jeds22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +498
    ใครเป็นคนเขียนครับ ภูมิธรรมสูงจริงๆ
     
  4. mahingsa

    mahingsa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +18
    การทำให้จิตหลุดพ้น มีผลอย่างไรต่อการนิพพานครับ

    ควายน้อย อยากรู้
     
  5. James Bond

    James Bond สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +20
    Dear Khun Thanan,
    Sadhu Anumotana krub,
    Want to share more from Luangpu Mun for additional details.
    22 พระอภิธรรมปรมัตถสังคหะ

    นมตถุ สุคตสส ฯ สมมาสมพุทธมตุลํ สสทธมม คณุตตมํ อภิวาทิย ภาสิสสํ อภิธมมตตถ สงคหํ ตตถ วุตตาภิธมมตถา จตุธา ปรมตถโต จิตตํ เจตสิกํ รูปํ นิพพานมีติ สพพถาติ
    บัดนี้จะแสดงพระอภิธรรมปรมัตถสังคหะ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคบรมศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญู ผู้เป็นบรมครูเจ้าได้ตรัสไว้ อันท่านพระอนุรุทธาจารย์นำมาประพันธ์เป็นคาถา 9 ปริเฉทดังต่อไปนี้
    สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง จัดโดยหมวดเป็น 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สงเคราะห์ลงเป็น 3 ประการ คือจิต เจตสิก รูป ฯ วิญญาณขันธ์เป็นจิต เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิก รูปขันธ์แยกเป็นภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนอสังขธรรมนั้นได้แก่พระนิพพาน ซึ่งมีอารมณ์เหี่ยวแห้งด้วยอริยมรรค จิต - อริยผลจิตแล้ว
    จิตแยกเป็น 4 ประเภท โดยภูมิ คือกามาวจรจิต 1 รูปาวจรจิต 1 อรูปาวจรจิต 1 โลกุตตรจิต 1 จิตซึ่งเป็นไปในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในกามภพ 11 คืออบายภูมิ 4 กามสุคติภูมิ 7 ชื่อว่ากามาวจรจิต 54 ดวงจิตซึ่งเป็นไปโดยมากในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในรูปภพชื่อว่า รูปาวจร 15 ดวง จิตซึ่งเป็นไปโดยมากในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในอรูปภพชื่อว่า อรูปาวจรจิต 12 ดวง จิตซึ่งข้ามขึ้นจากโลก คือปัญจุปาทานขันธ์ไม่มีอาสวะชื่อว่า โลกุตตรจิต คือ อริยมรรคคจิต 4 อริยผลจิต 4 เป็น 8 ดวง สิริรวมเป็นจิต 89 ดวง ด้วยประการฉะนี้
    เจตสิก 25 ดวง เป็นธรรมเป็นไปในจิต เกิดกับดับพร้อมกับจิต ซึ่งแจกโดยประเภท และอาการแตกต่างแห่งหมวดธรรม นับได้ 25 ดวงด้วยประการฉะนี้
    ธรรมสังคหะ 6 อาการ คือ เวทนา 6 เหตุ 6 กิจ 6 ทวาร 6 อารมณ์ 6 วัตถุ 6 ด้วยประการฉะนี้
    ฉักกะ 6 คือ วัตถุ 6 ทวาร อารมณ์ 6 วิญญาณ 6 วิถีจิต 6 วิสยปวัตติ 6
    จตุกกะ 4 คือ ภูมิจตุกะ ได้แก่ภูมิทั้ง 4 คือ อบายภูมิ 1 กามสุคติภูมิ 1 รูปาวจรภูมิ 1 อรูปาวจรภูมิ 1 ปฏิสนธิจตุกกะ ท่านจำแนกปฏิสนธิออกเป็น 4 คือ อบายภูมิปฏิสนธิ 1 กามสุคติปฏิสนธิ 1 รูปาวจรปฏิสนธิ 1 อรูปาวจรปฏิสนธิ 1 กัมมจตุกกะ ท่านแสดงกรรมดดยประเภทแห่งกิจ 4 คือ ชนกกรรม 1 อุปฆาตกะกรรม 1 ยังกรรมอีก 4 ประการ คือ ครุกรรม 1 อาสันนกรรม 1 อาจิณณกรรม 1 กตัตตากรรม 1 อธิบายครุกรรมนั้นคือ กรรมหนัก ฝ่ายบุญได้แก่ฌาณสมาบัติ ฝ่ายบาปได้แก่อนันตริยกรรมธรรมทั้ง 5 อาสันนกรรมนั้นได้แก่กุศลกิจและอกุศลกิจที่ทำใกล้เวลามรณะ อาจิณณกรรมนั้นได้แก่กุศลและอกุศลที่บุคคลทำอยู่เนืองๆ กตัตตากรรมนั้นได้แก่กุศลและอกุศลมีกำลังอ่อน ยังกรรมอีก 5 ประการ คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม 1 อุปปัชชเวทนียกรรม 1 อปราปรเวนียกรรม 1 อโหสิกรรม 1
    มรณจตุกกะ ท่านแสดงลักษณะมรณะ 4 ประการ คือ อายุกขยมรณะ 1 กัมักขยะมรณะ 1 อุภยักขยมรณะ 1 อุปัจเฉทกัมมุนามรณะ 1 ชาติทุกข์เป็นเบื้องต้น ชราพยาธิเป็นท่ามกลาง มรณทุกข์เป็นเบื้องปลาย
    รูปสังคหะสังเขป 5 ประการ คือ สมุทเทศนัย 1 วิภาคนัย 1 สมุฏฐานนัย 1 กลาปนัย 1 ปวัตติกนัย 1 อธิบายว่าลักษณะที่แสดงรูปโดยย่อชื่อว่าสมุเทศนัย วิธีจำแนกรูปทั้งปวงโดยส่วนหนึ่งๆ ชื่อว่าวิภาคนัย วิธีแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดรูปมีกุศลากุศลเป็นต้นชื่อว่า สมุฏฐานนัย วิธีแสดงรูปบรรดาที่เกิดดับพร้อมกันเป็นหมู่เป็นแผนกมีจักขุทสกะเป็นต้นชื่อว่ากลาปนัย วิธีแสดงความเกิดเป็นลำดับแห่งภพและกาลของสัตว์ทั้งหลายชื่อว่าปวัตติกนัย
    พิพพานํ ปน โลกุตตร อสงขตํ บัณฑิตกล่าวว่า โลกุตตระธรรมสังขตธาตุ ไม่มีเครื่องปรุงเป็นของบริสุทธ์ ไม่มีเรื่องเกิดและดับ พระนิพพานนั้นเป็นของธรรมชาติอันบุคคลจะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคญาณทั้ง 4 เมื่ออริยมรรคธรรมเกิดขึ้นแล้วจึงเห็นพระนิพพาน เอวิธมปิ พระนิพพานนั้นเมื่อกล่าวโดยสภาพก็มีอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ พระนิพพานนี้จึงเป็นเอกปฏิเวธาภิสมัย ตรัสรู้ได้ในขณะจิตเดียวด้วยประการฉะนี้
     
  6. James Bond

    James Bond สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +20
  7. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    คุณดังตฤณ เป็นคนเขียนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...