ขอสอบถามเรื่องอาการวูบในตอนที่นั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 2 ธันวาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เราเป็น
    1 นั่งๆ อยู่ ไฟดับพรึบ ลืมตา มันนนไม่ดับอ๊ะ

    2 นั่งๆอยู่ พรึบ ยืน หลังผู้หญิงคน หนึ่ง เขาสวดมนต์ อยุ่ในถ้ำ สะดุ้งเลย

    3 และ นอนสมาธิเลย มีบางอย่างเกิดขึ้น พรึบ ตัวไปอยู่ ติดหลังตัวเองเลย เฮ้อ เป็นเหมือนกัน อาการวูบ

    พักนี้งานเยอะ สาราพัดข้ออ้างเลย บางที นั่งๆอยู่ เลื้อยไปเรื่อย แฮะๆ
    อาศัย ทำอะไรก็ กำหนดลมหายใจ เลย ไม่ว่า เดิน นั่ง ยืน ขับรถตอนนี้ทำบ่อยเลยตอนขับรถ เพราะอยู่กับรถมากกว่าที่อื่น
    สู้ สู้ คะ
     
  2. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    เวลาจะวูบ ก่อนนั่งสมาธิพกไฟฉายกับGPS ด้วยสิครับยุค3G อภิญญาใหญ่จะได้ไม่หลงทาง วูบมาเที่ยวหาผมด้วยนะครับ
     
  3. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ไม่เอา กลัวกลับไม่ถูก 555+
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2012
  4. ปัญฺญาวโร

    ปัญฺญาวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +923
    งั้นก็พกiphone หรือ andriod ก็ได้เพราะมี app flash และ app gps 555
     
  5. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ดูก่อนท่านนักปฎิบัติธรรม

    ธรรมนี้แสดงเพื่อหากเรือมีอยู่จะฝึกอภิญญาเดินผิวน้ำทำไม ซึ่งสิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นการลงทุนที่ขาดทุนราวกับลงทุนพัฒนาทีวีจอภาพ แล้วมีทีวีLCD เกิดมา เจ๊งกันระนาว

    ธรรมใดเพื่อการหลุดพ้น ไม่ถอยหลังกลับ คือ ประหารกิเลสต่างหากน่าลงทุน

    เช่นเดียวกัน หากเงินเหลือ คือ ปฎิบัติถึงการถอยหลังไม่มีแล้ว คือโสดาบันขึ้นไป
    จะลงทุนในกิจการเสริมเพื่อวิหารธรรมเพื่อประโยชน์ศาสนาเราเห็นดีด้วย
     
  6. กาลีนะ

    กาลีนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +4,297
    เข้ามาโพสนี้ ... ความรู้เพียบเลย .. แต่ดิฉันเพิ่งศึกษารู้สึกงงในคำศัพท์หลาย ๆ คำที่ใช้กัน อ่านเกือบทุกโพส แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าหมายความว่ายังไง .. เพราะตนเองก็อยากทำมั้งเหมือนกัน .. แต่เพิ่งกำลังเริ่มและหาข้อมูล .. ไม่รู้ว่าดิฉันเข้าใจถูกไหมนะคะ

    1. การฝึกสมาธิเราต้องเริ่มจากการทำทานเพื่อสละกิเลส
    2. เราต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์เพื่อชำระล้างจิตใจ
    3. เราต้องหมั่นเจริญภาวะนาเพื่อให้เกิดความนิ่งในจิตใจ
    4. ฝึกสมาธิด้วยการ เดิน นั้ง นอน

    .... แล้วการ ฝึกมรณานุสติ กับ ฝึกกสิน ผลที่ได้มันเหมือนกันไหม๊คะ ... ตามที่เข้าใจ

    มรณานุสติ คือ การระลึกถึงความไม่เที่ยงของสังขารเพื่อให้เกิดการละวางไม่ยึดติดในทุกอย่าง ผลสุดท้าย คือ ความว่างเปล่า

    กสิณ คือ การเพ่ง ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ฝั่งลึกลงในทุกสติ จนเกิดเป็นสมาธิ คือ การมีอยู่ของสิ่งนั้น (ส่วนนี้ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจ ความรู้น้อย)

    ... อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกไหม๊ .. เพราะอ่านมาหลายกระทู้แล้วเริ่มงงสับสน ไม่รู้ว่าตัวเองจะเริ่มจากตรงไหนดี

    ... ส่วน เรื่อง "ถอดจิต" ที่หลายท่านกล่าว ดิฉันก็เกิดความสงสัยขึ้นมาคะ ว่า "คนที่ไม่เคยฝึกจิตแต่เกิดอาการเหมือนวิญญาณหลุดออกจากร่างได้ไหม พบเจอสิ่งที่เราเรียกว่า ผี เจ้าที่ เทวดา ได้ เขาเรียกรวมว่า มีฌาณ 4 ได้ไหม๊คะ ( แต่ถ้าเกิดอาการแบบนี้ ดิฉันจะเห็นตัวเองเป็นเด็กอายุประมาณ 9 ขวบคะ ) ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวแต่หลายครั้ง และ ควบคุมไม่ได้ อาการแบบที่ 2 ในข้อความที่คุณ พรานทะเลโพสไว้อะคะ "

    ... แต่ทุกวันนี้ดิฉันก็นั้งสมาธิไม่เคยได้คะ ได้แค่พิจารณาธรรมในชีวิตประจำวันเท่านั้น คือ ทำงานไปด้วยพิจารณาไปด้วย .. แต่ตอนที่เกิดอาการแบบนี้บ่อย ๆ เป็นมาตั้งแต่เด็กคะจนถึงวัยทำงาน แต่ช่วงนี้ไม่เป็นคะ .. มีแค่อาการหูอื้อเวลาสวดมนต์ บางครั้งสวดไปก็วูบไปทั้งที่พนมมือสวดมนต์อยู่ .. เคยลองทำสมาธิแบบที่คุณอินทบุตรบอก แต่นอนสมาธินะคะ ไม่ถึงสองนาทีมันดับวู๊บไปเลยคะรู้สึกมันยาวนานมากแต่พอได้สติมันแค่ไม่ถึงครึ่งก้านธูปเลย ยังสงสัยอยู่ว่าเราหลับรึเปล่านะ .. ได้แต่สงสัยไม่รู้จะถามใครดี .. มาเจอกระทู้นี้เข้าก็ขอคำชี้แนะด้วยนะคะ ขอแบบเข้าใจง่าย ๆ นะคะ เพราะดิฉันเป็นคนขี้สงสัยคะ
     
  7. ปัญฺญาวโร

    ปัญฺญาวโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +923
    ต่างกันครับ มรณานุสติ เป็นวิปัสนากรรมฐาน
    คือน้อมมาพิจารณา ความไม่เที่ยง ทุกข์ ความไม่มีตัวตน
    ส่วน กสิณ เป็น สมถกรรมฐาน คือน้อมใจสู่สมาธิ


    สมถะและวิปัสนาควรทำคู่กันถึงจะดี เพราะสมถะต้องอาศัยการปล่อยว่างเรื่อง ร่างกาย วิปัสนาก็ต้องอาศัยความสงบของสมถะ

    ส่วนเรื่องถอดจิตยังพ้นวิสัยที่ผมจะอธิบาย
     
  8. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตอบท่าน กาลีนะ

    สำหรับกรณีของท่านกาลีนะนั้น ผมคงไม่สามารถบอกอะไรเป็นพิเศษได้ครับ เพราะไม่ใช่ทางที่ผมปฏิบัติผ่านมาในชาติปัจจุบันนี้ ก็ขออนุญาตแนะนำแค่พื้นฐานเบื้องต้นกว้างๆ เท่านั้นแล้วกัน...

    ในการปฏิบัติธรรมนั้น เรามักจะนิยมแยกออกเป็น 2 อย่าง คือ สมถะ กับ วิปัสสนา

    สมถะภาวนา คือ การเอาจิตไปจับในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เป็นอารมณ์เดียว จนเกิดความ นิ่ง สงบ ไม่สัดซ่ายใดๆ จิตจะมีกำลังมาก อยู่ในสิ่งที่จับไว้
    อันนี้คือ การนั่งสมาธิเข้าฌาน หรือ การฝึกกสิณ
    การชำนาญในสมถะกรรมฐานนี้ จะสามารถทำให้เกิดอภิญญา ความสามารถพิเศษได้
    แต่การปฏิบัติสมถะแบบบริสุทธิ์ เพียงอย่างเดียว ไม่ทำให้พ้นทุกข์ ไม่ทำให้เป็นพระอริยเจ้าได้ครับ ดังเช่นสมัยพุทธกาล อุทกดาบส อาจารย์ของพระพุทธเจ้าสมัยก่อนท่านตรัสรู้ ก็เป็นผู้ที่ได้ฌานสมาบัติ 8 แต่ทั้งนี้ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป

    ส่วนวิปัสสนา คือ การที่จิตเห็นสภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริง ก็คือ สิ่งใดผ่านมาให้จิตเห็น จิตก็เห็นสิ่งนั้น เห็นการเกิดดับ เปลี่ยนแปลง เห็นการที่จิตเปลี่ยนสิ่งที่มันดูไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ตามการทำงานปกติของมัน ซึ่งอันนี้จะตรงกันข้ามกับสมถะ เพราะสมถะนั้น จะต้องเห็นแค่สิ่งๆ เดียว ไม่เกิดดับ ไม่เปลี่ยนแปลง

    ในการปฏิบัติจริงแล้ว แล้วแต่จริตของแต่ละบุคคล บางคนชอบทางสมถะ ก็สามารถฝึกสมถะไปควบคู่กับวิปัสสนาก็ได้ หรือบางคน ไม่ติดใจในเรื่องฤทธิ์ต่างๆ ก็ใช้การวิปัสสนาล้วนๆ เลยก็ได้

    ถ้าผู้ที่มีพื้นฐานกำลังทางสมถะดี ก็จะเป็นบาทฐานที่มั่นคงสำหรับการวิปัสสนา จะเห็นสภาวะต่างๆ ได้ชัดเจน
    แต่ก็ต้องระวัง การหลงติดในสมถะ ซึ่งจะเป็นได้สองอย่าง

    อย่างแรก คือ การติดฤทธิ์ จะทำให้ยิ่งหลงคิดว่า เรานั้นมีตัวตน เช่น การเห็นอดีตชาติ แต่เห็นแล้ว แทนที่จะพิจารณาด้วยธรรมะ ว่า สิ่งนั้น คือ สิ่งที่เป็นอดีตไปแล้ว กลับไปยึดติดกับมัน ไปเคียดแค้นศัตรูในอดีตบ้าง ไปหลงรักชอบ ในผู้ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นคู่ของเราในชาตินี้บ้าง ทำให้ก่อกรรมใหม่ไม่หยุด นอกจากจะไม่พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว ยังเป็นการผูกตัวเองเข้ากับวัฏฏะสงสารให้แน่นขึ้นไปอีก

    อย่างที่สอง คือ การติดสุข ตัวนี้จะละเอียดมาก นักปฏิบัติหลายๆ คน (รวมถึงตัวผมเองด้วยเมื่อก่อน) คิดว่า ความสุข สงบ โล่ง โปร่ง เบา คือ ตัวจิตของเรา แต่จริงๆ แล้วคือ โดนมันหลอกเอา ไปติดกับดักของมัน
    ทำให้ปฏิบัติธรรม ไม่ได้ต้องการเพื่อรู้เห็นธรรมะ ไม่ได้เพื่อการเอาออก แต่เป็นเพื่อการเอาเข้า เอาสภาวะโล่ง ว่าง เอาความสุขเข้าตัว เพื่อจะเสพสภาวะเหล่านี้... ก็ยังไม่พ้นความมีตัวตน และ ยังไม่พ้นความทุกข์
    ข้อนี้ผมขอไม่พูดในรายละเอียด เพราะเจอสภาวะเหล่านี้ได้ตั้งแต่ชั้นอุปจารสมาธิ จนถึงฌานระดับต่างๆ แต่หากมีผู้ใดสงสัย ก็ PM มาแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ครับ

    สำหรับเรื่อง การรักษาศีลบริสุทธิ์ จะทำให้เกิดการรบกวนในสมาธิน้อยลง ทำให้ฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น ใจนิ่งขึ้นครับ
    ถามว่าถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ฝึกได้ไหม ก็ฝึกได้ แต่มันจะมีอะไรมารบกวนในการทำสมาธิเยอะครับ
    อีกอย่างหนึ่ง เพิ่มเติมจากศีลบริสุทธิ์แล้ว การงดเว้นเนื้อสัตว์ ก็จะทำให้การรบกวนในสมาธิน้อยลง สมาธิรวมได้ง่ายขึ้น เช่นกันครับ

    คิดว่า ท่าน nopphakan น่าจะช่วยไขปริศนาหลายๆ อย่างให้ท่านกาลีนะ ได้

    ส่วนเรื่องกสิณ แนะนำว่าให้ลองปรึกษา ท่าน แสนสวาท ดูครับ ท่านนั้นเชี่ยวชาญเรื่องกสิณ ครับ
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    อ้อ จริง ๆ ผมฝึกวิปัสสนาแบบที่คุณอินทรบุตรพูดมาด้วย แต่ไม่ได้กล่าวไปในข้างต้น คือในทุก ๆ วัน ถ้ามีอารมณ์อะไรเข้ามากระทบ เช่น โมโห ผมก็จะดูโทสะหนอ แล้วก็ไม่ไปยึดมัน ทุกข์หนอ เศร้าหนอ ดูแล้วก็ไม่ไปยึดติดเค้า แล้วซักพักเค้าก็จะหายไป คือดูทั้งสุขและทุกข์ครับ พอฝึกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เวลาที่มีอะไรเข้ามากระทบ เราจะมีสติดูจิตแ้ล้ววางลง แล้วไม่ไปต่อยอดหรือยึดมั่นถือมั่นต่อ ผมฝึกวิัสสนามาิคิดว่า น่าจะ 3 ปีได้แล้ว ฝึกแล้วก็รู้สึกได้ว่า เราใจเย็นขึ้น เวลามีใครมาทําอะไรให้เราไม่พอใจ เราก็จะให้อภัยเค้าได้ง่ายขึ้น และไม่ไปทะเลาะกับเค้า ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ครับ ผมอยากให้เพื่อน ๆ ที่กําลังฝึกสมาธิอยู่ให้หันมาฝึกวิปัสสนาด้วย จะดีกับตัวเองมาก ๆ เลยครับ เรื่องวิปัสสนานั้น ผมยอมรับว่า ส่วนใหญ่ผมจะเน้นไปที่ดูจิตซะส่วนใหญ่ เรื่องกายยังไม่ค่อยเข้มข้นเท่าไหร่ แต่จะพยายามปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
     
  10. กาลีนะ

    กาลีนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +4,297
    ขอบคุณทั้งคุณ อินทรบุตร .. กับ คุณปัญญาวโรมากคะ .. ดิฉันจะลองไปทำดูคะ .. ถ้ามีอะไรติดขัดจะขอถามท่านอีกทีนะคะ ...

    .. ทุกวันนี้ดิฉันอาศัยอ่านหนังสือกับเข้ามาดูในโพสคนอื่นเขา .. เพราะทำงานแทบไม่มีเวลาไปไหนเท่าไหร่ อาศัยฝึกก่อนนอนช่วงเช้า .. เริ่มจากทำบุญทำทาน แล้วขยับมาเป็นสวดมนต์ภาวนา จนคิดว่าพอนิ่งได้บ้างแล้วก็อยากต่อด้วยการนั้งสมาธิ .. คงจะลอง ฝึกสมถะกับวิปัสนาดูคะ .. ส่วนตัวนิยมพระสายวัดป่าคะ ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2012
  11. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    คุณกาลีนะ ลองอ่านวิธีปฎิบัติของหลวงพ่อฤาษีครับ
    ว่าชอบแนวทางไหนครับ วิธีบรรลุธรรมที่กระชับสั้นตรง
    สำคัญคือ
    งานหลักมีงานเดียวนะครับ งานประหารกิเลส

    สอนแนวสุกวิปัสโก หลวงพ่อฤาษีสอนมันส์มากครับ

    ไอเดียคือถ้าเร็วได้จะช้าทำไม
     
  12. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ทำได้ดีมากเลยนะครับ คนเราฝึกจนใจเย็น และข่มความโกรธจัดได้ว่า เปนบัณฑิต หรือนักกรรมฐานที่ดี ได้เลยทีเดียว ข้อที่คุณฝึกอยู่นี้ เปนข้อ3 คือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน เน้นเฝ้าดูความรู้สึกที่มากระทบจิต หรือเกิดอารมณ์มีสติกำกับได้ทัน พร้อมทั้้งเหนเวทนา ทุกข์ สุข เกิดขึ้นชัดเจนด้วย เหนแล้วก้ปล่อยวางมันไปอย่างที่คุณบอกนั่นแหละครับ ในภาษาวิปัสสนา ที่เขาบอกว่า กิเลสขาดไป 7 ชาติ ก้คือฝึกตามที่คุณเล่ามานี่แหละ เรื่องกาย นี่เมื่อศึกษาหรือดูมาก ยังไงก้ต้องย้อนกลับมาที่จิตกับเวทนาอยู่ดี
    ถึงดูยังไม่มาก แต่มีทุนถือว่าใช้ได้ ที่เขาให้เราตามดูกาย ก้เพื่อเก็บอารมณ์และเหนอารมณ์ในอริยาบถต่างๆ คนที่เขาเก็บอริยาบถกายได้หมด เขาจะดูแล้วเข้าใจใน เวทนา จิตและธรรม ได้เร็วกว่าคนอื่นมาก เพราะมันเปนพื้้นฐานของสติปัฏฐาน4อย่างดีเลยแหละครับ
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ยิ่งมีสติมากเท่าไหร่ ยิ่งเห็นการทำงานของขันธ์ 5 ตามจริง มากเท่านั้น

    คนเรา สร้างกรรมใหม่ ไม่รู้จักจบสิ้น เพราะว่า เราไม่ทัน การทำงานของขันธ์ 5

    มันปรุงแต่งไปอัตโนมัติ ตามสิ่งที่เราสะสมมา ข้ามภพข้ามชาติ และนิสัยของเราในชาตินี้

    มันหลอกเรามานาน ว่ามันเป็นเรา ว่า ความคิดต่างๆ อารมณ์ต่างๆ รวมทั้ง สุข ทุกข์ ทั้งหลายเหล่านี้เป็นของเรา ว่า กิเลส ตัณหา ต่างๆ เหล่านี้ เราเป็นผู้มีตัวตน สร้างมันขึ้นมาจากใจเรา

    ที่จริงแล้ว มันไม่ใช่ตัวเราเลย สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ก็ไม่ใช่ของเราเลย และ ตัวเราที่แท้จริง ก็ไม่ได้จงใจสร้างมันขึ้นมาด้วย

    แต่การจะเห็นถึงตรงนี้ได้ ต้องเจริญสติ จนเห็นกระบวนการทำงานของมัน ตามความเป็นจริง เท่านั้นครับ

    การเห็นอารมณ์ต่างๆ ก็เป็นปัญญา แต่ให้ท่านลองดูให้ละเอียดลงไปเรื่อยๆ อีก ถึงการเกิด ของอารมณ์ต่างๆ ว่า มันเกิดจากอะไร อะไรคือ เหตุปัจจัยในการเกิด และ การดับ ของมัน ครับ :)
     
  14. LiSaBDoDaYup

    LiSaBDoDaYup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,251
    ค่าพลัง:
    +657
    ตรงนี้ ต้องเพิ่มความแยบคายในการ นมสิการ

    เวลาเราภาวนาแล้ว เรามุ่งจะให้ตรงตามแบบแผน ตรงนี้เราจะรู้สึกว่า
    ทำงานส่วนหนึ่ง แต่ เหมือนละงานอีกส่วนหนึ่ง

    การกล่าวแบบนี้ แปลว่า จงใจดูมากเกินไป

    เวลา ปรารภว่า ดูจิต แต่ กลับปรารภว่า ลืมดูกาย หรือ ลืมดูเวทนา
    หรือ ลืมดูธรรม ให้ พิจารณาจิตขณะนั้นไปตรงๆว่า จิตเกิดอุธัจจะ

    การเล็งเห็นว่า ขาดการพิจารณาอีกส่วนที่เหลือ เป็น กุกกุจจะ รำคาญ
    ใจกลุ้มรุมอยู่

    ถ้า นิวรณ์สองตัวนี้ เรายกพิจารณาบ่อยๆ เราจะเห็นเลยว่า ดูจิตก็รู้กาย
    ไปพร้อมกัน เวทนา และ ธรรม ก็พร้อมกันด้วย

    ********************

    ความแยบคายในการ รู้กาย หรือ รูป

    ตรงนี้ต้อง แยบคายว่า รูป เนี่ยะมันแบ่งเป็นสองอย่างคือ รูป และ อรูป
    ............อรูป เนี่ย ก็คือ รูป

    หากเราลืมยกว่า อรูปก็คือรูป เราจะเผลอว่า ไม่ได้พิจารณา กรรมชรูป

    กรรมชรูป ก็เป็น รูปที่เกิดจากรรม

    เช่น กรรมที่ส่งให้จิตเศร้าหมอง แววตา กาย การเคลื่อนไหว ก็จะแปรผัน
    ตามกรรมเหล่านั้น เป็นต้น

    *******************

    การฟังธรรมให้มากๆ หมั่น สดับนั้น มีประโยชน์ อย่าไปเชื่อใครต่อใครว่า
    "สัทธรรม" ของพระพุทธองค์อุบัติขึ้นเพื่อให้โทษ การฟังปริยัติแล้วหากมี
    คนบอกว่าระวังนะ มันจะทับจิต มันจะทับการภาวนา มันจะหลอกให้เราเข้า
    ใจว่าสำเร็จ อันนี้เป็นการ กล่าวตู่ สัทธรรมของพระพุทธองค์

    การฟังธรรมมากๆ นั้น ยังไงก็เป็นส่วนดี ยิ่ง มีความเป็น พหุสัจจ (นัยเดียว
    กัน แต่กล่าวใช้คนละคำ ) ที่พระพุทธองค์ทรงร้อยเรียงไว้อย่างดีด้วยแล้ว
    หาก ฟังธรรมมากๆ ก็จะเกิด การร่อน ไม่จับ ไม่ยึด ในสัญญาได้ไปในตัว
    เพราะ สัทธรรมของพระพุทธองค์นั้นแฝงอำนาจของไตรลักษณ์เอาไว้ด้วย

    และอีกอย่าง ที่ต้องพิจารณา

    คนที่มีปริยัติบริบูรณ์ ไม่จำเป็นว่า จะต้องมีปฏิบัติบริบูรณ์ หรือ ปฏิเวธบริบูรณ์
    เพราะว่า สัมมาทิฏฐินั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยอำนาจของสัทธรรม

    และ ปฏิเวธบริบูรณ์ก็ใช่ว่าคนๆนั้นจะมี ปริยัติบริบูรณ์ได้ด้วย ไม่มีหรอกที่
    คนที่บรรลุอรหันต์แล้วจะกล่าวธรรมได้ตรงตามพุทธวัจนทั้งหมด ยิ่งสมัยนี้ยิ่ง
    หายาก นี่ก็บอกในตัวอยู่แล้วว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ไม่ได้ขึ้นต่อกันแบบ
    ตรรกศาตร์ คนที่ ละเมอคิดว่า ตัวเองปฏิบัติจนไม่ต้องสนใจปริยัติ จนเผลอ
    ตำหนิปริยัติ อันนี้เรียกว่า ขุดตัวเอง ยิ่งละเมอในปฏิเวธแล้วดูถูกปริยัติยิ่ง
    ไปกันใหญ่ หากภาวนาเป็นให้ถึงๆ ก็จะเห็นอยู่แล้วว่า มันไม่ได้ขึ้นต่อกัน
    ไม่ได้ก้ำเกินกัน ไม่ได้บอกว่า มีอย่างหนึ่งแล้วจะทำให้มีอีกอย่างหนึ่งไปด้วย

    ดังนั้น ฟังธรรมให้มากๆ ไว้ มีประโยชน์กว่า

    เพียงแต่เมื่อไหร่ มันก้ำเกินกัน ก็เพียงแต่รู้ไปตรงๆว่า สังโยชน์ อนุสัย ที่ไม่
    สิ้นกำลังเล่นงาน พิจารณาตรงๆไปเลย เป็นโอกาสดีอีกต่างหาก เพราะ
    สังโยชน์ และ อนุสัย ใช่ว่า จะหามาพิจารณาได้ง่ายๆ

    โทษะ นี่หาดูได้ง่าย โลภะ นี่ก็หาได้ง่าย โมหะก็มีตลอดแต่เห็นยาก เพราะ
    ตอนโมหะมันเกิด ก็กัดเราอยู่ ..... แต่ขณะที่โมหะเล่นงานหนัก อันนี้มัน
    เป็นจังหวะ ดู สังโยชน์ แล อนุสัย ...................ลองพิจารณาดู เนาะ

    ***********

    สรุปอีกที ความจงใจปฏิบัติ เกิดจากการ ปฏิบัติก้ำเกินปริยัติ โยนิโสมนสิการ
    จึงไม่พอดี เฝ้นธรรมขณะนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...