กฎ5ข้อป้องกันถูกโกงออนไลน์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 กันยายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    'กฎ5ข้อ'ป้องกันถูกโกงออนไลน์

    "กฎ5ข้อ" ป้องกันถูกโกงออนไลน์

    โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทำธุรกรรมการเงินอย่างไรไม่ให้ถูกหลอกจากประดา "ฟิชเชอร์" ทั้งหลาย คือคำถามยอดฮิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อการทำออนไลน์ แบงกิ้ง เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในระยะหลังนี้

    "ฟิชเชอร์" ก็คือพวกที่ใช้วิธีการ "ฟิชชิ่ง" หลอกเอาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ยูสเซอร์ เนม หรือ พาสเวิร์ด กระทั่งหมายเลขบัตรเครดิต ของเราเอาไปใช้ฉกเงินในกระเป๋าของเราไปใช้แทน วิธีการที่แพร่หลายที่สุดและนิยมกันมากที่สุดในหมู่ฟิชเชอร์ทั้งหลายก็คือการทำ "สปูฟด์" เว็บไซต์ ขึ้นมาเพื่อการนี้

    สปูฟด์เว็บไซต์ คือ เว็บไซต์ที่เลียนแบบแทบจะเหมือนทุกอย่างกับเว็บไซต์ที่เราเข้าไปทำธุรกรรมการเงินด้วย ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา ข้อความ กระทั่งยูอาร์แอล หรือชื่อที่อยู่เว็บไซต์ หน้าที่ของมันก็คือคอยดักเอา ยูสเซอร์ เนม, พาสเวิร์ด หรือหมายเลขบัญชี หมายเลขบัตรเครดิตของเราไป

    วิธีการของพวกนี้ก็คือ ส่งอี-เมลมาให้เรา พร้อมกับลิงก์สปูฟด์เว็บไซต์ที่ว่านี้ กับข้ออ้างอีกสารพัดอย่างให้เราคลิกที่ลิงก์ดังกล่าว อย่างเช่นอ้างว่าเกิดความผิดพลาดอะไรบางอย่างในบัญชีหรือธุรกรรมที่เราทำก่อนหน้านี้ อย่างนี้แหละครับ ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้วหลายราย

    ผมมีกฎ 5 ข้อสำหรับป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อคนพวกนี้มาฝากกันครับ

    ข้อแรกสุดก็คือ ให้เชื่อตัวเองไว้ก่อนครับ ถ้ามั่นใจว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิดพลาด การชำระเงินเป็นไปตามขั้นตอนทุกอย่างก่อนหน้านี้ก็อย่าไปเชื่อเมลที่ว่านี้ แต่ถ้าไม่แน่ใจเอาจริงๆ ลองใส่ยูสเซอร์เนม กับพาสเวิร์ด อะไรก็ได้ที่ผิดๆ เข้าไปในเว็บไซต์ที่ลิงก์มาให้เรา ถ้าเป็นเว็บไซต์จริงๆ มันจะบอกเราทันทีว่าเราใส่ยูสเซอร์เนม หรือพาสเวิร์ดผิด แต่ถ้าเป็นสปูฟด์ ไซต์ละก็จะไม่มีอะรเกิดขึ้น มันจะทำเหมือนเราล็อคออนเข้าใช้งานได้แล้ว

    ข้อ 2 ให้ตรวจสอบยูอาร์แอลให้ดีก่อนที่จะใช้งานครับ สิ่งหนึ่งที่แน่ๆ ก็คือ เจ้าพวกนี้ไม่สามารถก๊อปทุกอย่างของเว็บไซต์จริงๆ มาได้ ได้แต่เลียนแบบให้ใกล้เคียงที่สุด เช่น paypal.com ก็ใช้เป็น paypa1.com (ใช้เลข1 แทนตัว l) หรือ www.citibank.com ก็ใช้เป็น www.citibenk.com (เปลี่ยนตัว a เป็นตัว e) เป็นต้น

    พวกที่แนบเนียนกว่านั้นก็คือ พวกที่เพิ่มบางอย่างเข้าไปในยูอาร์แอลเดิม เช่น www.yourbank.com/ จะถูกเปลี่ยนเป็น www.yourbank.com:login&mode=secure/ เป็นต้น

    กฎข้อ 3 ก็คือ จำไว้ให้ขึ้นใจเลยว่า สถาบันการเงินจะไม่ติดต่อคุณผ่านทางอี-เมล เพื่อขอให้ยืนยันยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ด ครับ อี-เมลของพวกฟิชเชอร์บางรายให้เบอร์โทรศัพท์มาให้ติดต่อไป แล้วก็บอกให้บอกยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ด หรือรหัสเอทีเอ็ม/เครดิตการ์ดผ่านทางโทรศัพท์ อย่าไปเชื่อครับ ไม่มีแบงก์ไหนทำอย่างนั้นแน่นอน

    กฎข้อที่ 4 เว็บไซต์ของพวกฟิชเชอร์ส่วนหนึ่งมักจะมีหน้าต่างแบบ ป๊อป อัพ ขึ้นมาให้เรากรอกยูสเซอร์ เนม หรือ พาสเวิร์ด หรือ รหัสบัตรเครดิตต่างๆ อย่าไปทำตามครับ ถ้าอยู่ดีๆ มีหน้าต่างใหม่ผุดขึ้นมา ให้ทำอย่างนี้แน่ใจได้เลยว่าไอ้เจ้านี่หลอกชัวร์

    ข้อสุดท้าย อย่าไปไว้ใจอี-เมลใดๆ ที่ไม่ได้ส่งมาถึงคุณโดยตรง แต่ใช้คำทำนองว่า "ถึงลูกค้า" หรือ "เรียนผู้ใช้บริการทุกท่าน" แทนที่จะเป็นชื่อเรา

    ทั้งหมดนี้อาจช่วยเราให้รอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของคนพวกนี้ได้ครับ

    -------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01tec06220950&day=2007-09-22&sectionid=0143
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขอเพิ่มเติมครับ

    สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ


    1.บัตรประชาชน
    ควรเก็บบัตรประชาชนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมาก อีกทั้งการนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ ต้องเขียนบนสำเนาบัตร(ย้ำ เขียนบนรูปสำเนาบัตรประชาชน) ว่าใช้เพื่อทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

    ปัจจุบันนี้ บัตรประชาชนปลอมระบาดมาก เพียงแต่ตัวฟร้อน ไม่สามารถที่จะทำเหมือนกับฟร้อน ของกรมการปกครองได้ แต่ก็ใกล้เคียงมาก หากไม่สังเกตุก็จะไม่ทราบ อีกทั้งจะมีรูปที่ซ่อนไว้คือตัวอักษรและตรากรมการปกครอง ก็มีลักษณะที่แวววาวเช่นเดียวกัน

    2.ควรหมั่นตรวจสอบรายการทางบัญชีของบัญชีที่เรามีทุกประเภทบ่อยๆ ข้อย้ำว่าต้องบ่อยๆ ถ้าตรวจสอบบัญชีได้ทุกวันจะเป็นการดีมาก และควรเก็บรักษาสมุดบัญชีต่างๆให้ดี

    3.เรื่องของชื่อและรหัสผ่าน ที่ใช้ในเรื่องของออนไลน์ แบงค์กิ้ง ต้องเก็บเป็นความลับสุดยอด ให้ระวังเรื่องการบอกสิ่งเหล่านี้มากๆ

    4.หากมีผู้ที่โทรศัพท์ หรืออีเมล์เรื่องข้อมุลส่วนตัว ประการแรกต้องถามชื่อ - นามสกุลของผู้โทร.มา พร้อมทั้งถามเบอร์โทรศัพท์ ,โทร.มาจากที่ไหน วันและเวลา ส่วนข้อมูลส่วนตัวก็ไม่ต้องบอกให้เขาทราบ เราควรโทร.กลับไปตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล

    5.เลขบัตรเครดิต ปกติจะมีอยุ่ 16 ตัว คือ 1111 2222 3333 4444 จะมีเลขอีก 3 ตัวด้านหลัง เลขนี้เป็นเลขที่สำคัญมากๆ ห้ามบอกใครโดยเด็ดขาด เป็นเลขที่ใช้ในการตัดบัญชีบัตรเครดิตครับ
    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณทั้ง 2 คนนะจ๊ะได้ความรู้จริง ๆ จะเก็บไปไว้ใช้นะ
     
  4. ปลา เจนจิรา

    ปลา เจนจิรา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +15
    ปัจจุบันนี้คนไทยมีความงทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ก็ทำให้คนไทยเกิดความโลภ
     
  5. VickiesII

    VickiesII เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +491
    ปัจจุบันนี้ บัตรประชาชนปลอมระบาดมาก เพียงแต่ตัวฟร้อน ไม่สามารถที่จะทำเหมือนกับฟร้อน ของกรมการปกครองได้ แต่ก็ใกล้เคียงมาก หากไม่สังเกตุก็จะไม่ทราบ อีกทั้งจะมีรูปที่ซ่อนไว้คือตัวอักษรและตรากรมการปกครอง ก็มีลักษณะที่แวววาวเช่นเดียวกัน

    เรื่องนี้ขอแจ้งครับ บัตรประชาชนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีปลอมครับ

    แต่มันเป็นของจริง ออกจากทางราชการจริง แต่ชื่อในบัตรไม่จริง

    ผมเห็นมากับตากับเพื่อนผมที่ทำอาชีพผิดกฏหมาย บางอย่างมันเล่าให้ฟังถึงกับอึ้งเลยก็มี เพราะเอกสารที่มันทำมาทั้งหมดเป็นของจริง แต่คนในชื่อไม่มีตัวตน แต่รูปน่ะรูปจริง

    เพราะคนในราชการนี่แหล่ะรู้เห็นเป็นใจ. . .
     

แชร์หน้านี้

Loading...