พุทธบริษัทสี่ครบบริบูรณ์ครั้งแรก!..ในการสาธยายประไตรปิฎก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 24 ตุลาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    'พุทธบริษัทสี่ครบบริบูรณ์'ครั้งแรก!..ในการสาธยายประไตรปิฎก

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"พุทธบริษัทสี่ครบบริบูรณ์" ครั้งแรก!....ในการสาธยายประไตรปิฎก</TD></TR><TR><TD vAlign=top>23 ตุลาคม 2550 23:19 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ณ วิหารสาธยายพระไตรปิฎก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม-จันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ณ มณฑลพิธีสนามหลวง ซึ่งเป็นการอ่านพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง


    พุทธศาสนิกชนที่เคยร่วมการสาธยายพระไตรปิฎกอาจจะมองไม่เห็นถึงความแตกต่างของการสาธยายครั้งก่อนๆ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่ไม่เคยร่วมงานไม่ต้องพูดถึง ประเด็นสำคัญของการสาธยายพระไตรปิฎกในครั้งนี้ และน่าถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของวงการพุทธศาสนาของประเทศไทย คือ "พุทธบริษัท ๔ ครบองค์บริบูรณ์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย" กล่าวคือ มี "ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา"
    พระมหาณรงค์ศักดิ์ฐิติญาโณ (ปธ.๔,พธ.บ.M.A,Ph.D,D.Litt,ผศ.) วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กทม. ในฐานะประธานการจัดงานสาธยายประไตรปิฎก บอกว่า ความพิเศษครั้งนี้จะมีการสาธยายประไตรปิฎกให้จบครบทั้ง ๔๕ เล่ม หรือ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตลอด ๒๔ ชม. ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศ และน่าจะเป็นครั้งแรกของโลกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการสาธยายพระไตรปิฎกอย่างมากสุดไม่เกิน ๙ เล่ม และแต่ละครั้งก็สาธยาย ครั้งละ ๗ วัน ๙ วันบ้าง
    นอกจากนี้แล้วความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของพุทธศาสนาประเทศไทยคือ เป็นครั้งแรกที่พุทธบริษัทสี่ครบองค์บริบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา โดยทำหนังสือเชิญภิกษุณีธัมมนันทา หรือ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา และสามเณรีของวัตรดังกล่าวมาร่วมงานด้วย

    "ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นภิกษุณีที่บวชตามพระธรรมวินัยจากประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก เมื่อกลับมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองไทยโดยส่วนแล้วยอมรับว่าท่านเป็นภิกษุณี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระจำนวนไม่น้อยยอมรับภิกษุณีที่บวชจากวัดในไต้หวัน แต่กลับไม่ยอมรับภิกษุณีที่บวชจากประเทศศรีลังกา ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับศรีลังกามาตั้งแต่สมัยอดีต ถึงกับตั้งนิกายของประเทศว่าสยามวงศ์ด้วยซ้ำไป" พระมหาณรงค์ศักดิ์กล่าว
    พร้อมกันนี้พระมหาณรงค์ศักดิ์ ยังบอกด้วยว่า ก่อนที่จะจัดงานมีญาติโยมเสนอแนะว่าการสาธยายพระไตรปิฎกควรจะมีพุทธบริษัท ๔ จึงทำหนังสือนิมนต์เช่นเดียวกับพระ โดยไม่มีใครท้วงติงถึงความไม่เหมาะสม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลึกๆ แล้วคณะสงฆ์บางส่วนยอมรับการมีภิกษุณีในประเทศไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่จะเพิ่มนักบวชในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ยิ่งได้ผู้ที่มีความสามารถทางภาษายิ่งช่วยงานพระพุทธศาสนาได้มากยิ่งขึ้น
    ด้าน ภิกษุณีธัมมนันทาบอกว่าเมื่อปีที่ผ่านมามีการจัดสาธยายพระไตรปิฎกเช่นนี้ ที่พุทธคยา ซึ่งทางอินเดียนับปีที่ผ่านมาเป็น พ.ศ.๒๕๕๐ เร็วกว่าไทย ๑ ปี มีการตั้งเต็นท์รายรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ คณะภิกษุสงฆ์ไทยร่วมกับพระเขมรรับหน้าที่สวดพระวินัย พระพม่าตั้งเต็นท์สวดพระอภิธรรม และพระสงฆ์ศรีลังกาสวดพระสูตร โดยมีโอกาสไปร่วมสวดอยู่ด้วย ๑ วัน

    ในการสาธยายพระไตรปิฎกณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง วัตรทรงธรรมกัลยาณี มีภิกษุณี ๒ รูป รวมทั้งสามเณรีอีก ๑ รูป ร่วมเดินทางทั้งหมด ทั้งนี้ได้รับการต้อนรับจากญาติโยมที่มาร่วมงานเป็นอย่างดี บ้างก็เข้ามาทักทาย บ้างก็สอบถามถึงเส้นทางไปวัตร รวมทั้งกระวีกระวาดถวายอาหารให้เป็นพิเศษ
    "ในพิธีเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รวมพลังชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎกทั้งชุด แม้การเปล่งเสียงอ่านพระไตรปิฎกก็ถือว่าเป็นบุญ เพราะนับเป็นการสืบพระศาสนาได้แบบหนึ่ง และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่พุทธศาสนิกชนรู้จักคำว่าภิกษุณีมากขึ้น" ภิกษุณีธัมมนันทา กล่าว
    บุญสาธยายพระไตรปิฎก
    สวดพระไตรปิฎกใช้สำหรับพระอรหันต์ส่วน การสาธยายพระไตรปิฎกใช้กับบุคคลที่ยังไม่เป็นพระโสดาบัน ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ที่เข้าร่วมสาธยายพระไตรปิฎกจะไม่รับการถวายปัจจัย (เงิน) แต่อย่างใด เพื่อให้ผู้มาสาธยายพระไตรปิฎกได้รับบุญกุศลเต็มที่ การสาธยายพระไตรปิฎกไม่รับบริจาคเงินโดยเด็ดขาด

    ๑.เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพิมพ์พระไตรปิฎกแจกไปทั่วโลก ๒๖๐ ประเทศ สถาบันอื่นๆ และวัดในประเทศไทย ๕๐๐ วัด ในปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๑) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถคงความเป็นเอกราช หลุดพ้นจากอำนาจการยึดครองอธิปไตยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกในเวลานั้น เพราะอานิสงส์ของพระไตรปิฎก ๒.เมื่อบุคคลใดนำเอาพระไตรปิฎกมาสาธยายจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล คือ ได้มรรค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ ในภายหน้า ๓.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกจะช่วยปิดประตูอบายภูมิ ๔ คือ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน ๔.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกแล้วได้น้อมจิตตามพระธรรมอาจบรรลุธรรมชั้นหนึ่งชั้นใด (พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์) ได้ตามอุปนิสัยที่สร้างสมธรรมมา ๕.บุคคลใดที่เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อได้สาธยายพระไตรปิฎกจะกลายเป็นสัมมาทิฐิ ๖.เพื่อมีผลให้ประเทศชาติไม่เกิดภัยพิบัติ ทำให้ประเทศมีแต่ความร่มเย็น และมีสันติสุข ๗.สมัยพุทธกาลค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ฟังพระสงฆ์สาธยายธรรมทุกวัน เมื่อถึงกาล ตกมาตาย ได้ปฏิสนธิเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ๘.มงคลที่๒๖ กาเลนะ ธัมมัสสะวะนังฯ หน้าที่ ๓๘๑ งูเหลือมใหญ่ ฟังพระภิกษุสาธยายพระอภิธรรม เฉพาะ สฬายตนะกถา จิตก็ปิติโสมนัสหรรษา ครั้นทำกาลกิริยาตาย ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ และปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ชื่อ "โสณาชีวก"
    ๙.บุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกและได้ฟังธรรม มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ ด้วยอานิสงส์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับพุทธศาสนิกชนจะได้เจริญบุญกุศล อันเป็นภาวนากุศลส่วนสำคัญนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทย อีกทั้งยังเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่แก่ตนเอง


    เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู
    ภาพฐานิส สุดโต

    -->[​IMG]
    การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ณ วิหารสาธยายพระไตรปิฎก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม-จันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ณ มณฑลพิธีสนามหลวง ซึ่งเป็นการอ่านพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง

    พุทธศาสนิกชนที่เคยร่วมการสาธยายพระไตรปิฎกอาจจะมองไม่เห็นถึงความแตกต่างของการสาธยายครั้งก่อนๆ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่ไม่เคยร่วมงานไม่ต้องพูดถึง ประเด็นสำคัญของการสาธยายพระไตรปิฎกในครั้งนี้ และน่าถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของวงการพุทธศาสนาของประเทศไทย คือ "พุทธบริษัท ๔ ครบองค์บริบูรณ์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย" กล่าวคือ มี "ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา"

    พระมหาณรงค์ศักดิ์ฐิติญาโณ (ปธ.๔,พธ.บ.M.A,Ph.D,D.Litt,ผศ.) วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กทม. ในฐานะประธานการจัดงานสาธยายประไตรปิฎก บอกว่า ความพิเศษครั้งนี้จะมีการสาธยายประไตรปิฎกให้จบครบทั้ง ๔๕ เล่ม หรือ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตลอด ๒๔ ชม. ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศ และน่าจะเป็นครั้งแรกของโลกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการสาธยายพระไตรปิฎกอย่างมากสุดไม่เกิน ๙ เล่ม และแต่ละครั้งก็สาธยาย ครั้งละ ๗ วัน ๙ วันบ้าง
    นอกจากนี้แล้วความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของพุทธศาสนาประเทศไทยคือ เป็นครั้งแรกที่พุทธบริษัทสี่ครบองค์บริบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา โดยทำหนังสือเชิญภิกษุณีธัมมนันทา หรือ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา และสามเณรีของวัตรดังกล่าวมาร่วมงานด้วย
    "ดร.ฉัตรสุมาลย์ เป็นภิกษุณีที่บวชตามพระธรรมวินัยจากประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก เมื่อกลับมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองไทยโดยส่วนแล้วยอมรับว่าท่านเป็นภิกษุณี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระจำนวนไม่น้อยยอมรับภิกษุณีที่บวชจากวัดในไต้หวัน แต่กลับไม่ยอมรับภิกษุณีที่บวชจากประเทศศรีลังกา ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับศรีลังกามาตั้งแต่สมัยอดีต ถึงกับตั้งนิกายของประเทศว่าสยามวงศ์ด้วยซ้ำไป" พระมหาณรงค์ศักดิ์กล่าว

    พร้อมกันนี้พระมหาณรงค์ศักดิ์ ยังบอกด้วยว่า ก่อนที่จะจัดงานมีญาติโยมเสนอแนะว่าการสาธยายพระไตรปิฎกควรจะมีพุทธบริษัท ๔ จึงทำหนังสือนิมนต์เช่นเดียวกับพระ โดยไม่มีใครท้วงติงถึงความไม่เหมาะสม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลึกๆ แล้วคณะสงฆ์บางส่วนยอมรับการมีภิกษุณีในประเทศไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่จะเพิ่มนักบวชในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ยิ่งได้ผู้ที่มีความสามารถทางภาษายิ่งช่วยงานพระพุทธศาสนาได้มากยิ่งขึ้น
    ด้าน ภิกษุณีธัมมนันทาบอกว่าเมื่อปีที่ผ่านมามีการจัดสาธยายพระไตรปิฎกเช่นนี้ ที่พุทธคยา ซึ่งทางอินเดียนับปีที่ผ่านมาเป็น พ.ศ.๒๕๕๐ เร็วกว่าไทย ๑ ปี มีการตั้งเต็นท์รายรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ คณะภิกษุสงฆ์ไทยร่วมกับพระเขมรรับหน้าที่สวดพระวินัย พระพม่าตั้งเต็นท์สวดพระอภิธรรม และพระสงฆ์ศรีลังกาสวดพระสูตร โดยมีโอกาสไปร่วมสวดอยู่ด้วย ๑ วัน
    ในการสาธยายพระไตรปิฎกณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง วัตรทรงธรรมกัลยาณี มีภิกษุณี ๒ รูป รวมทั้งสามเณรีอีก ๑ รูป ร่วมเดินทางทั้งหมด ทั้งนี้ได้รับการต้อนรับจากญาติโยมที่มาร่วมงานเป็นอย่างดี บ้างก็เข้ามาทักทาย บ้างก็สอบถามถึงเส้นทางไปวัตร รวมทั้งกระวีกระวาดถวายอาหารให้เป็นพิเศษ
    "ในพิธีเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รวมพลังชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎกทั้งชุด แม้การเปล่งเสียงอ่านพระไตรปิฎกก็ถือว่าเป็นบุญ เพราะนับเป็นการสืบพระศาสนาได้แบบหนึ่ง และเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่พุทธศาสนิกชนรู้จักคำว่าภิกษุณีมากขึ้น" ภิกษุณีธัมมนันทา กล่าว

    บุญสาธยายพระไตรปิฎก
    สวดพระไตรปิฎกใช้สำหรับพระอรหันต์ส่วน การสาธยายพระไตรปิฎกใช้กับบุคคลที่ยังไม่เป็นพระโสดาบัน ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ที่เข้าร่วมสาธยายพระไตรปิฎกจะไม่รับการถวายปัจจัย (เงิน) แต่อย่างใด เพื่อให้ผู้มาสาธยายพระไตรปิฎกได้รับบุญกุศลเต็มที่ การสาธยายพระไตรปิฎกไม่รับบริจาคเงินโดยเด็ดขาด
    ๑.เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพิมพ์พระไตรปิฎกแจกไปทั่วโลก ๒๖๐ ประเทศ สถาบันอื่นๆ และวัดในประเทศไทย ๕๐๐ วัด ในปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๑) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถคงความเป็นเอกราช หลุดพ้นจากอำนาจการยึดครองอธิปไตยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกในเวลานั้น เพราะอานิสงส์ของพระไตรปิฎก ๒.เมื่อบุคคลใดนำเอาพระไตรปิฎกมาสาธยายจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล คือ ได้มรรค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ ในภายหน้า ๓.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกจะช่วยปิดประตูอบายภูมิ ๔ คือ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน ๔.เมื่อบุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกแล้วได้น้อมจิตตามพระธรรมอาจบรรลุธรรมชั้นหนึ่งชั้นใด (พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์) ได้ตามอุปนิสัยที่สร้างสมธรรมมา ๕.บุคคลใดที่เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อได้สาธยายพระไตรปิฎกจะกลายเป็นสัมมาทิฐิ ๖.เพื่อมีผลให้ประเทศชาติไม่เกิดภัยพิบัติ ทำให้ประเทศมีแต่ความร่มเย็น และมีสันติสุข ๗.สมัยพุทธกาลค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ฟังพระสงฆ์สาธยายธรรมทุกวัน เมื่อถึงกาล ตกมาตาย ได้ปฏิสนธิเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ ๘.มงคลที่๒๖ กาเลนะ ธัมมัสสะวะนังฯ หน้าที่ ๓๘๑ งูเหลือมใหญ่ ฟังพระภิกษุสาธยายพระอภิธรรม เฉพาะ สฬายตนะกถา จิตก็ปิติโสมนัสหรรษา ครั้นทำกาลกิริยาตาย ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ และปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์ ชื่อ "โสณาชีวก"

    ๙.บุคคลใดได้สาธยายพระไตรปิฎกและได้ฟังธรรม มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ ด้วยอานิสงส์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับพุทธศาสนิกชนจะได้เจริญบุญกุศล อันเป็นภาวนากุศลส่วนสำคัญนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทย อีกทั้งยังเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่แก่ตนเอง

    เรื่อง ไตรเทพ ไกรงู
    ภาพฐานิส สุดโต

    ------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/10/24/j001_164884.php?news_id=164884
    <TABLE align=center><TBODY></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  2. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    ค้างคาวฟังธรรม<O:p</O:p

    เมื่อครั้งพระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์<O:p</O:p
    ครั้งนั้นพระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวบริษัท ทรงปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า "กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากตา ธมฺมา" ดังนี้เป็นต้น ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้เรื่อยไปตลอด ๓ เดือน <O:p</O:p
    ก็เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจาร (บิณฑบาต) ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า "พุทธนิรมิตนี้จงแสดงธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา" แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีป ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงฉันอันกว้างใหญ่แล้ว <O:p</O:p
    พระสารีบุตรเถระไปทำวัตรแด่พระศาสดาในที่นั้น พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสแก่พระเถระว่า "สารีบุตร วันนี้เราภาษิตธรรมชื่อ (อภิธรรม) เท่านี้, เธอจงบอกแก่ (ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน" <O:p</O:p
    ได้ทราบว่า กุลบุตร ๕๐๐ คน เลื่อมใสยมกปาฏิหาริย์ของพระศาสดา แล้วบวชในสำนักของพระเถระ พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้น ทรงหมายเอาภิกษุ 500 รูปเหล่านั้น <O:p</O:p
    ครั้นตรัสจบแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง แม้พระเถระก็ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นเมื่อฟังอภิธรรมก็ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว ในขณะพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลกนั้นเอง<O:p</O:p
    ได้ยินบุพกรรม (การประกอบกรรมในกาลก่อน) ของภิกษุ 500 รูปนั้นมาว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ท่านเหล่านั้นเกิดเป็น ค้างคาวลูกหนู ห้อยโหนอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง
    เมื่อพระเถระผู้ทรงอภิธรรม ๒ รูป เดินจงกรม แล้วท่องอภิธรรม ค้างคาวเหล่านั้นได้ฟัง จึงถือเอานิมิตในเสียงแล้ว ยังจิตให้เกิดความเพลิดเพลินในเสียงนั้น <O:p</O:p
    ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ความหมาย ว่าอะไรเป็นธรรมฝ่ายดำ อะไรเป็นธรรมฝ่ายขาว ไม่รู้ว่า "เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ" <O:p</O:p
    ด้วยเหตุที่ค้างคาว ถือเอาแต่นิมิตใน เสียงธรรม เท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง แม้พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น<O:p</O:p
    ในกาลจบธรรมเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ แม้พระนางสิริมหามายา ก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
     
  3. lasomchai

    lasomchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,035
    ขออนุโมทนาบุญกุศลด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  4. กองทัพเทพ

    กองทัพเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    468
    ค่าพลัง:
    +2,629
    อนุโมทนา [​IMG]

    พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเอตทัคคะ

    พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
    พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร
    และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    พระปิณโฎลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ
    พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ
    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ
    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส
    พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    พระสุภูมิเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล
    พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา
    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    พระนัทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    พรกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง
    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ
    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา



    พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ

    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา
    พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

    อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ

    ตปุสสะ-ภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4
    พระเจ้ามหานามศากยะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต
    อุคคคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต
    อุคคตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์
    สูรอัมพัฏฐอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
    ชีวกโกมารภัจ เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล
    นกุลบิดาคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคย

    อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ

    นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
    พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา
    นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อนุโมทนา สาธุ

    ขอการสร้างกุศลคงนี้ของพุทธบริษัทสี่ สำเร็จตามประสงค์ด้วยเทอญ
     
  6. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    เฮ้อ ดันกันเข้าไป เบื่อจริง ๆ เลย คนเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเนี่ย
     
  7. poprock

    poprock เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +812
    ตามที่ตรัสว่า ..."ธรรม วินัยที่เราตถาคตบัญญัติไว้ดีแล้ว จักเป็นศาสดาของพวกเธอฯ"

    อนุโมทนา สาธุ๊ _//\\_
     
  8. ตระกูลศักดิ์

    ตระกูลศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +1,371
    กระผม ส.ต.ท.ตระกูลศักดิ์ ไชยแสน ขอร่วมอนุโมทนาบุญอันประเสริฐยิ่งกับทุกท่านที่ได้ร่วมสาธยายพระไตรปิฏกในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมาด้วยครับและรวมถึงทุกท่านที่ยินดีและศรัทธาน้อมจิตน้อมใจเข้าถึงพระรัตนะตรัยด้วยที่ร่วมอนุโมทนากับท่านที่สวดสาธยายพระไตรปิฎกในครั้งนี้ สาธุ...สาธุ..สาธุ..
     
  9. palmcc38

    palmcc38 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +938
    +++

    ขอถามท่านผู้รู้น่ะครับ ผมสังเกตอ่าน พบคำว่า วัตร คำคำนี้มีความหมายคล้าย คำว่า วัด หรือไม่ครับ แล้วเหตุผลอันใด ถึงใช่คำนี้ แล้วคำนี้(วัตร)จะใช้กับเนื้อความที่เกี่ยวกับการกล่าวถึงสิ่งใดครับ ขอขอบคุณครับ
     
  10. p.apichart

    p.apichart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +4,041
    จากพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
    <TABLE><TBODY><TR><TD>วัตร, วัตร </TD><TD>[วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร,</TD></TR><TR><TD></TD><TD>การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR><TD>วัด ๑ </TD><TD>น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์</TD></TR><TR><TD></TD><TD>หรือนักบวชเป็นต้น.</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>วัด ๒ </TD><TD>ก. ตวัดขึ้น เช่น วัดเบ็ด, เหวี่ยงแขนหรือขาไปโดยแรง เช่น</TD></TR><TR><TD></TD><TD>นอนดิ้นวัดแขนวัดขา.</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>วัด ๓ </TD><TD>ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ( วัด ในที่นี้คือ วัด ๑ น. ครับผม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ตุลาคม 2007
  11. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +3,207
    โมทนา สาธุในการสาธยายพระไตรปิฏกในครั้งนี้ด้วยค่ะ :eek:
     
  12. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ที่สำนัก วัตรทรงธรรมฯ ที่นครปฐม คุณฉัตรสุมาลย์ หรือ ที่สื่อพยายามจะเรียกว่า หลวงแม่ หรือ ภิกษุณี บ้างนั้น เป็นบุคคลแรกที่คิดคำนี้ขึ้นมาครับ

    เนื่องจาก

    ทางสายเถรวาท ถือว่า ภิกษุณี สูญวงศ์ไปแล้ว แต่มีความพยายาม(อย่างมาก) จากหลาย ๆ กลุ่ม โดย อ้างว่า คณะสงฆ์ในประเทศไทย กีดกัน สุภาพสตรีไม่ให้บวชเป็นภิกษุณี บางครั้งก็บอกว่า สิทธิสตรีมีสิทธิไปนิพพานได้ (แล้วเกี่ยวอะไรกับการบวชเป็นภิกษุณีหรือ ?)


    ต้องเข้าใจก่อนว่า สายเถรวาทในบ้านเรา ยึดถือและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพระวินัยสักข้อนะครับ

    ดังนั้นเมื่อ ภิกษุณีสายเถรวาท สูญลงไป ผู้ที่จะอนุญาติให้บวชใหม่ได้ มีแต่ พระพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้นนะครับ !


    คุณฉัตรสุมาลย์ ได้เดินความพยายามอย่างหนัก เมื่อเห็นว่า เคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีไม่ได้ ก็ไปเคลื่อนไหวโดยการ ไปบวชเป็น ภิกษุณีที่ศรีลังกาแทน (มารดาของเธอก็บวชเป็นภิกษุณี ที่ไต้หวัน : ที่ชื่อ คุณวรมัย กบิลสิงห์ ที่แต่งหนังสือ ใครฆ่าพระเจ้าตากนั่นหละครับ )

    ซึ่ง น่าตลกที่ว่า ภิกษุณี(ที่เขาอ้างว่าเป็นเถรวาท) ที่ศรีลังกานั้น ใช้ภิกษุณีจากมหายานไต้หวัน ส่วนภิกษุที่บวชให้มาจาก เถรวาทศรีลังกา (ทำไม ไม่ใช้ มหายานไต้หวันหนอ ? มีความพยายามอะไรกันหนักหนา ต้องเป็นเถรวาทที่ศรีลังกา ) ในเมื่อพระวินัยของทางมหายาน ก็ไม่เหมือนกับ ทาง เถรวาท แล้วจะเข้ากันได้ไหมเนี่ย ?


    ลองไปหาหนังสือ อ่านดู ที่คุณฉัตรสุมาลย์ เขียนก็ได้ครับ จะได้เข้าใจกันลึกซึ้งขึ้นไป เดี๋ยวจะหาว่าผมจ้องจะทำลายอีก
     
  13. เด็กเมื่อวานซืน

    เด็กเมื่อวานซืน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ขยายความนิดครับ

    การบวชภิกษุณีในสมัยพุทธกาล ต้องบวช2ฝ่ายนะครับ คือต้องบวชทั้งในฝ่ายของ ภิกษุณีเอง และ ฝ่ายของภิกษุสงฆ์ ครับ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติกฏนี้เอาไว้ครับ

    มีความพยายามอย่างหนักมาก ที่โจมตีพระพุทธศาสนาเรื่อง การกีดกันสิทธิสตรีนี่หละครับ โดยเฉพาะการบวชภิกษุณีในบ้านเราอย่างที่ผมได้บอกไป

    ผมเชื่อโดยส่วนตัวว่า พระในบ้านเราท่านคงไม่กล้าเก่งเกินกว่าพระพุทธองค์แน่ ๆ ครับ

    ส่วนใครที่ยังไม่เข้าใจ หาว่ากีดกัน ก็ต้องปล่อยไปครับ พระวินัยมีอยู่ ใครจะกล้าเก่งเกินกว่า พระพุทธองค์ก็ต้องปล่อยเขาไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...