การใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 10 มีนาคม 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ู^
    ^
    ลุงสงสัยอ่านมากไป นึกคิดจนความคิดนั้นตกผลึกแล้วนะ

    ก็ดูดีนะที่ พยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของฌาน(ความเพ่ง)

    แต่ควรระวังไว้ด้วยว่า อย่าเอาไปปนกับฌานที่เป็นของพราหมณ์

    ลุงพูดแต่คำว่า ใช้ฌานเป็นบาทมิได้หมายความว่า เจริญสมถะไปจนได้ฌาน
    เมื่อได้ฌานแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเอง


    พอดีอ่านเพียงคร่าวๆ ไม่กล้าอ่านมาก เพราะคำถามเยอะ

    ถ้าจะใช้ฌานเป็นบาทฐาน จำเป็นต้องฝึกสมถะ จนรู้จักความเพ่ง(ฌาน)นั้น

    พวกเธอจงเพ่งฌาน อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี่เป็นอนุสาสนียของเรา(พระพุทธพจน์)

    ถามว่า ถ้าทำสมถะแล้วไปไม่ถึงฌาน แล้วจะเกิดประโยชน์อะไร?

    เมื่อได้ฌานแล้ว ปัญญายังไม่เกิด ต้องญาณเกิดก่อนปัญญาเกิดที่หลังครับ(พระพุทธพจน์)

    เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า เพราะข้อความต่อมา มีคำถามอีกเยอะ เพราะที่พูดนั้น จากสุตะ จินตะทั้งนั้น.

    ลุงน่าจะไปรับผิดชอบหน่อยนะ ที่รับรองนู๋นิ-วอนไว้ที่ทู้ธรรมภูตอะ

    V
    v

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็ดีแล้วหละอ่านน้อยๆ หน่อย อ่านมากมันจะไปยึดตำราเข้ามันจะเสียหาย

    ก็สงสัยว่าฌานของพราหมณ์มันต่างกันตรงไหน

    กระทู้ บุคคลทั่วไป 3 คน พอดีมันว่างก็เข้าไปอ่านแล้วก็เห็นด้วยก็อนุโมทนาไปก็เท่านั้นเอง ทำไมจะต้องไปรับผิดชอบด้วย
    เพราะไม่ได้ไปคิดเอง ไม่ได้โต้แย้งใดๆ ความจริงก็ไม่อยากแตะ
    V
    V
    ถามว่า ถ้าทำสมถะแล้วไปไม่ถึงฌาน แล้วจะเกิดประโยชน์อะไร?
    V
    ได้อธิบายไปแล้วหน้า ๑ ไปอ่านเอง โพตส์ที่ ๒๐

    ก็ขอให้ท่านงอกงามในธรรมของท่านเถอะเล่นไม่ยาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2013
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    รบกวน คุณ ลุงหมาน ช่วยขยายความตรงจุดนี้ด้วยครับ..ลักษณ์นี้เป็นการวิปัสสนาในชีวิต
    ประจำวันแบบลืมตา หรือว่าใช้ตอนหลับตาก็ได้ สำหรับบุคคลที่ไม่ชอบนั่งสมาธิเป็นพิธีการมากมายหรือต้องใช้กำลังสมาธิที่สูงหรือเปล่าครับ.
    ส่วนตัวมองว่าเป็นวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีที่ได้ผลเหมือนกัน..และวิธีการนี้จะเด่นตรงใช้กำลังระดับ ขณิกสมาธิ..เท่านั้น..หรือยังไง.ขอบคุณครับ.
     
  4. vitcho

    vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    สุขกวิปัสสโก

    คือคำตอบของ ลุงหมาน ในบุคคล ที่ไม่มี ฌาณ ก็ ทำ วิปัสสนา ได้............

    ในพระคัมภีร์ มีกล่าว ไว้ว่า พระนิพพาน มีการเข้า ถึง ได้ 2 แบบ
    1.เจโตวิมุตติ
    2.ปัญญาวิมุตติ

    พึง ศึกษา กันให้ถ่องแท้ และ ไม่พึง ต่อต้านกัน หาก ตนเองยังไม่ ช่ำชองว่า มีในคำสอน ในพระไตรปิฎกจริง มีคน จำนวนไม่น้อย ที่ ชอบกล่าวว่า ให้ ทำสมถะมากๆ เพื่อให้จิตสงบ แล้ว ค่อยมา พิจาณา วิปัสสนา มัน ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ใน คัมภีร์ พระไตรปิฎก มี มากกว่านั้น แน่นอน การ เข้าไป ดู สภาวะ แห่งรูป นาม ตรงๆ เลย ก็ ทำได้ และ สามารถ พา จิตให้เห็นธรรมได้เช่นกัน จนบรรลุ ถึง สภาวะ นิพพานได้

     
  5. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
    เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย
    ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อม
    เสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้ ฯ
    ........................................
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม
    พยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์
    ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมี
    วิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะ
    และวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    เธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่นสงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
    ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การเจริญวิปัสสนานั้นเราสามารถที่จะทำได้ตลอดเวลา และทุกกิริยา ไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน ยืน การงานที่ทำในชีวิตประจำวัน มีสติตามระลึกรู้ในกิริยาบทนั้นๆ

    สำหรับผู้ต้องการทำฌานนั้นต้องใช้สมาธิระดับอัปปนาสมาธิจึงจะเข้าถึงปฐมฌาน เป็นฌานเบื้องต้นอันมีองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เมื่อฌานสูงขึ้นไปตามลำดับ องค์ฌานก็จะถูกละไปตั้งแต่จตุตถฌานเป็นต้นไปจนเหลือเพียง อุเบกขา กับเอกัคคตา (เมื่อละ สุขเวทนา อุเบกขาเวทนาก็เกิดขึ้นมาแทน) สำหรับผลของการทำสมาธินั้นเพื่อละนิวรณ์ ๕ ก็จะได้ ฌาน อภิญญา และถ้าฌานยังไม่เสื่อมตายไปจะได้ไปเกิดยังพรหมโลกตามฌานที่ตนได้ ฌานเหล่านั้นไม่สามารถที่จะทำลายอนุสัยกิเลสโดยเป็นสมุทเฉทได้จึงยังต้องเกิดอยู่

    ขณิกสมาธินั้นจะมีขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนา ถ้าเลยไปถึงอุปจารสมาธินั้นไม่ได้เพราะเป็นสมาธิที่เฉียดฌานเข้าไปแล้ว พร้อมที่จะยกจิตขึ้นสู่อัปปนาสมาธิเป็นการทำฌานไปแล้ว ฉะนั้นการทำวิปัสสนานั้นต้องอยู่ในชั้นขณิกสมาธิเท่านั้น ผลของการเจริญวิปัสสนา ก็เพื่อจะประหาณอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องมีอวิชชานุสัยเป็นต้น เพื่อก้าวเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2013
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สุขกวิปัสสโก คือผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌาน หรือผู้ที่ไม่ได้อาศัยฌาน เรียกว่าเจริญวิปัสสนาล้วนๆ

    1. เจโตวิมุตติ นั้น เป็นการหลุดพ้นด้วยใจ คำว่าพ้นอันนี้ไม่ได้หมายความว่าพ้นแล้วพ้นเลย คือเปรียบเหมือนกับหินทับหญ้า เพราะกิเลสทั้งหลายถูกกดทับไว้ยังไม่ได้ประหาณโดยเป็นสมุทเฉท

    2. ปัญญาวิมุตติ นั้น เป็นการหลุดพ้นด้วยปัญญา คำว่าพ้นอันนี้หมายถึงพ้นแล้วพ้นเลย ก็คือเป็นการประหาณกิเลสเป็นสมุทเฉทนั่นเอง
    การเจริญสมถะนั้นเขามีบัญญัติเป็นอารมณ์ มีการเพ่งกสิณ เป็นต้น

    ส่วนการเจริญวิปัสสนานั้นเขามีรูปมีนามเป็นอารมณ์ มีสติระลึกรู้ จะเห็นได้ว่า สมถะกับวิปัสสนานั้นต่างกันที่อารมณ์

    การจะบรรลุธรรมที่เป็นพระอริยะได้นั้น พระองค์ตรัสไว้ชัดเจนเลยว่ามีหนทางเดียว คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่มรรคมีองค์ ๘
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากพิจารณาอยู่เนืองนิด จิตจะเกิดความนิ่งสงบได้จริง

    แต่จะเกิดความนิ่งสงบในเวลาที่รวดเร็ว แต่หากฝึกฝนบ่อยๆก็จะนิ่งสงบได้นานขึ้น

    แต่ไม่อาจเทียบเท่ากับการฝึกนั่งกรรมฐาน ที่นิ่งสงบกว่า และ ลึกกว่า

    แต่การพิจารณานั้น หาใช่ว่าจิตจะต้องนิ่งสงบจนถึงที่สุด จนเป็นอารมณ์เดียว

    เพราะอารมณ์เดียว จิตจะไม่มีแบ่งออกเป็นสอง ไม่สามารถพิจารณาอะไรได้

    การพิจารณา ต้องมี สติ๑ สัมปชัญญะ๑ จึงจะได้ผล หาใช่หนึ่งเดียว

    สาธุครับ
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อ๋อ.....เหรอ
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ^
    ^
    ก็บอกลุงแล้วว่าไม่อยากอ่าน
    ดันให้ไปอ่าน ก็เห็นสัญญาเต็มๆ ตามตำรา จึงอดถามไม่ได้
    คิดว่ายังไม่ได้อธิบายไว้ นะ เพราะไม่รู้จักฐานที่เพ่งไว้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
    ได้แต่หลอกตัวเองไปวันๆมากกว่าว่า สงบแล้ว สงบแล้ว ก็มันไม่ถึงฌานนั่นเอง

    ลุงทำไมถึงต้องรับผิดชอบ ที่เห็นด้วยกับนู๋นิวอนนั้น
    เพราะโดยมารยาทที่ดีงาม หรือ ที่เรียกว่าสังคมคุณภาพออนไลน์ จึงต้องรับผิด

    เมื่อคนเค้าถกธรรมกันอยู่ ฝ่ายจขกท.กำลังถูกโจมตีด้วยวาทะผิดๆเพื่อชี้นำ
    ลุงก็เข้าไปอวยซะงั้น ทั้งๆที่ต้องดูคำชี้แจงแถลงไขของจขกท.ก่อนใช่หรือไม่?
    แบบนี้อีกหน่อยเดกรุ้นใหม่พากันเห็นแก่ได้แบบนี้ ศาสนาจะเหลืออะไร?
    เพราะเห็นว่า เป็นพวก"ส.ว."ด้วยกัน อย่าทำตัวให้เด็กมันถอนหงอกได้

    เอาละเข้าเรื่องที่ให้ไปอ่านมาคร่าวๆดีกว่า
    ลุงพูดได้ไงอะ ถามจริง

    "สำหรับผู้ทำวิปัสสนา เป็นไปด้วยอำนาจของปัญญา ซึ่งมีสติเป็นตัวเริ่มต้น
    การทำวิปัสสนานั้นก็เพียงใช้สมาธิเริ่มต้น คือ ขณิกสมาธิ เท่านั้น"

    ^
    ^
    ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยสมถะหรือวิปัสสนาานั้น เริ่มด้วยสติทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?
    แล้วการทำวิปัสสนานั้น ใช่เพียงขณิกสมาธิเริ่มต้น?
    อ้าวไม่ใช่เริ่มต้นจากสติปัฏฐานก่อนหรือ?
    ถ้าไม่มีฐานที่ตั้งของสติแล้ว จะไปเอาขณะแห่งสมาธิมาจากไหน?
    แล้วรู้จักหรือเปล่าหละ? ขณะแห่งสมาธิ หรือ ที่เรียกว่าขณิกสมาธิหนะ มีสภาวะธรรมอย่างไร?

    จริงๆแล้วอะไรๆก็เล่นไม่ยากทั้งนั้น ถ้าเล่นด้วยจิตใจที่เป็นธรรม
    และรู้จักวิธีเล่นที่ถูกต้องตรงต่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าหลาย

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ^
    ^
    อย่าเอาของลวงโลกที่เกิดจากตำราว่าไว้มาเป็นเกาะเลย
    ถ้าเป็นพระอรหันต์ โดยไม่ต้องผ่านฌานจริงๆ
    ก็แสดงว่า ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" ไม่มียกเว้น
    ก็เป็นเรื่องมุสาไปสิ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(ปัญญา)ดังนี้.


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    พอเข้าใจที่ คุณลุงหมาน สื่อครับ.มองว่าวิธีที่นำเสนอเป็นวิธีการหนึ่งนะครับ.
    หากพิจารณาหลักการและวิธีการแล้ว.ตลอดเป้าหมายในการไปให้ถึงปลายทาง
    ดังที่ได้นำเสนอมา.ก็ขอบอกว่าเห็นด้วยครับ.และก็เป็นวิธีการที่พระอริยะเจ้าหลาย


    ท่านได้สอนญาติโยมเพราะว่าเข้าถึงง่ายแต่จะเข้าใจและเห็นจริงๆใช่ว่าจะง่ายอย่างน้อย
    ต้องแยกรูปแยกนามได้ถึงจะเดินไปสู่จุดที่จะเจอ''อนุสัยกิเลส''
    และกลุ่มนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็น วิปัสสนึกได้เพราะเผลอไปคิดว่า ความคิดที่ปรุงร่วมจากจิต

    เป็นตัวสติและปัญญาแล้วนำไปพิจารณา.ทำให้ไม่ได้ผลในการประหารกิเลสอย่างแท้จริง
    เพราะด้วยกำลังสมาธิที่ค่อนข้างน้อย ทำให้แยกแยะกิริยาของจิต.หรือเห็นจิตตัวเองได้ยาก
    แต่ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ไปก้าวไปถึง มรรค ผล นิพพานได้เช่นเดียวกัน


    และก็เหมาะสำหรับคนกลุ่มมาก..และเท่าที่อ่านการนำเสนอเพื่อที่จะประหาร
    อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องมีอวิชชานุสัยเป็นต้น เพื่อก้าวเข้าสู่ มรรค ผล นิพพานนั้น

    หากเพียงแต่ต้องเพิ่มเรื่อง..สัจจะในการลดความโกรธ ลดความโลภ ลดความหลง
    ลดความอิจฉาริษยาและเพิ่มความเสียสละต่อตนเองและส่วนรวม
    .มีเมตตาต่อผู้อื่นไม่ว่าคนหรือสัตว์.เพิ่มความยินดีด้วยความเต็มใจ
    กับความสำเร็จของผู้อื่น ประกอบกันร่วมด้วยเป็นเหตุให้เกิดผลแห่ง
    ความละเอียดและความหลุดพ้นจากอกุศลทั้งปวงและก้าวเข้าสู่
    มรรค ผล นิพพาน ได้เร็วขี้น..ไม่งั้นจะไปได้ช้ามาก..

    และแม้ว่าส่วนตัวจะมองเห็นอารมย์อื่นๆที่สามารถวิปัสสนาได้เช่นกัน ประเด็นนี้ความเห็นจะต่างกันอย่างกัน กับคุณ ลุงหมาน .อย่างการวิปัสสนา
    ในอารมย์อุปจารสมาธิหรือช่วงที่จิตเป็นทิพย์ คือกายกับจิตแยกกันชั่วคราวที่ยังเกาะร่างกายได้อยู่นิดหน่อยส่วนตัวใช้คำว่า''อารมย์หยาบ''..


    และการวิปัสสนาในอารมย์ฐานกำลังฌาน ๔ ที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดแบบชั่วคราวส่วนตัวเรียกว่า ''อารมย์ละเอียด''
    ซึ่งทั้งอารมย์หยาบและอารมย์ละเอียดต้องอาศัย "ทุกกิริยา ไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน ยืน การงานที่ทำในชีวิตประจำวัน มีสติตามระลึกรู้ในกิริยาบทนั้นๆ "

    เหมือนกันหากมาถึงขั้นที่เริ่่มเห็น''อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง'' และที่สำคัญคือ การรักษาอารมย์ไม่ว่าภายนอกหรือภายในไม่ให้เข้ามากระทบด้วยกำลังสมาธิ
    ระดับปฐมฌานเป็นเบื้องต้น
    .และกลุ่มนี้จะพอสัมผัสกับลักษณะอาการจิตว่าง.จิตสงบและจะทราบลักษณะ
    กิริยาต่างๆของจิตได้เป็นอย่างดี.รวมทั้งอาจมีความสามารถพิเศษ
    ทางจิตด้านต่างๆเข้ามาร่วมด้วย.แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก.


    เพราะเป้าหมายก็คือการ
    ไปถึงปลายทางเหมือนกันวิธีการได้นำเสนอไปแล้วใน #Rep 6 ที่กล่าวมาทั้งหมดเพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า
    ไม่ใช่ว่าการไปถึงปลายทางจะมีวิธีการเดียวอย่าง
    ที่
    คุณ ลุงหมาน ได้นำเสนอ และเน้นในระดับกำลังสมาธิเพียงขณิกสมาธิและพิจารณาในอารมย์อื่นๆไม่ได้.
    แต่หากไม่ว่าในว่าในอารมย์ อุปจารสมาธิและอารมย์ฌาน ๔
    ก็สามารถทำได้.และก็มีคนทำได้และระดับพระอริยะที่
    ทรงอภิญญาก็ทำได้มีมากมาย.ขึ้นอยู่กับจริตแต่ละบุคคล ซึ่งให้ผลและใช้วิธีการบางส่วนร่วมกันแตกต่างกันในเชิงเทคนิค
    เล็กน้อย..และที่สำคัญคือมีปลายทางเดียวกัน..หวังว่าจะเข้าใจที่สื่อนะครับ..

     
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานต่อกายแตก ?).

    ภิกษุ ท.! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี เป็นอย่าง
    ไรเล่า ?

    ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย
    เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติ
    ตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
    เธออาศัยธรรมเป็นกำลังเแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละ
    โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ เป็นธรรม
    มีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธิน-
    ทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมี
    กำลังอ่อน จึงเป็นผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี.

    ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี

    ^

    อริยสาวกกลุ่มนี้ ใช้สังขารธรรมในการพ้นทุกข์
    ส่วนอีกกลุ่ม1 ไม่ใช้สังขาร โดยใช้ ยถาภูตญานทัสสนะ การรู้เห็นตามความเป็นจริงเมื่อครั้นจิตตั้งมั่น(ตั้งเเต่ฌาน1) ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ คือ เห็น จิต เกิดดับ หรือ เรียกว่า การทำงานขันธ์5
    จนเกิด นิพพิทา วิราคะ
    เเต่ถ้ายังดูจิตไม่เป็น ครั้นจิตยังไม่ตั้งมั่น เปรียบเหมือนห่วงน้ำที่คุ่น เค้าจะมองเห็นเเต่สิ่งสกปรกพวกอกุศลวิตก พวก โทสะ โมหะ ฟุ้งซ่าน กุกุจจะ วิจิกิจฉา พวกนี้พวกเดียว เห็นสิ่งหยาบๆ เหมือนเห็น สีน้ำดำๆอะไรพวกนั่น เเต่พอเข้าปฐมฌานปั๊บ อกุศลธรรมทั้งหลายสงัดลง คนที่มองจิตไม่เป็น ศึกษาเเต่อกุศล เค้าจะย้อนกลับมาดูตัวจิตไม่เป็น จะไม่เห็นจิตที่เกิดดับตรงหน้า เเต่จะเห็นเอกัคคตา อารมเป็น1ไม่เกิดดับเเทน คือยึดมั่นถือมั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  14. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    มาดูอีกกลุ่มนึง อย่างที่บอกไป กลุ่มนี้เป็นอริยสาวกพวกที่ ไม่ใช่สังขารในการพ้นทุกข์ คือไม่ต้องคิดไม่ต้องนึก. ไม่ต้องปรุงเเต่งโดยสินเชิง
    คือการเห็นเเจ้งตามจริง เมื่อครั้นธรรมปรากฏ จากจิตตั้งมั่น(ฌาน1_8
    ฉนั่น คำถาม ก็คือ ถ้าจะมาอริยสาวกกลุ่มนี้ได้ บอกใช้ฌาน เเต่เค้าจะไม่ใช่ฌานหรืออย่างไร เเละปัญหาอีกอย่างถ้ายังดูจิตไม่เป็น จบเลย มันจะไม่เห็นการเกิดดับใน องค์ฌาน. ต้องบอกเลยว่า เดียวจะมีปัญหากัน ถ้าอ่านไม่ดี
    ถ้าจะไม่ใช้สังขารเห็นตามจริง(วิปัสสนา)ต้องใช้ฌานเป็นบาทฐานเท่านั่น

    (ผู้ไม่ต้องใช้สังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานต่อกายแตก ?).
    ภิกษุ ท.! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี เป็นอย่าง
    ไรเล่า ?

    ภ ิก ษ ุ ท .! ภ ิก ษ ุใน ก ร ณ ีนี ้ .... เข ้า ถ ึง ป ฐ ม ฌ า น .... เข ้า ถ ึง
    ทุติย ฌ าน .... เข้าถึงต ติย ฌ าน .... เข้าถึงจ ตุต ถ ฌ าน .... แล้วแล อ ยู่.
    เธออาศัยธรรมเป็นกำ ลังแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิรีพละ
    โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ เป็นธรรมมี
    กำ ลังอ่อน ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมา-
    ธินทรีย์ ปัญ ญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพ ราะเห ตุที่อิน ท รีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็น
    ธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็นผู้กายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี.

    ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    กระทู้นี้ มีผู้มีปัญญามากมาร่วมแสดงความเห็นและภูมิธรรม

    โอกาสนี้ของกล่าวเพิ่มเติมว่า
    การเข้าถึงความเป็นอรหันต์ นั้น อาศัยจิตเข้าสู่ ความวิมุตติ วิมุตติมีสองส่วนคือ
    1ปัญญาวิมุตติยา อาศัยกำลังปัญญาประกอบเป็นหลัก
    2เจโตวิมุตติยา อาศัยกำลังจิตประกอบเป็นหลัก
    ทั้งสองส่วนนี้ต้องอาศัยการสั่งสมสร้าง บารมีมากมากจนถึงที่สุด วิมุตติจึงเกิดขึ้นได้

    ตามข้อหนึ่ง จะเป็นอรหัต์สาวกเป็นส่วนมาก อาศัยศรัทธาปัญญา ศึกษาเรียนรู้มามาก เข้าใจมากในพระธรรมและอาศัยนำมาปฏิบัติด้วยการเคร่งในศีล ในธรรม มีสมาธิขั้นต้นแน่วแน่ตั้งมั่นในศีลธรรมตามที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ มีการใช้สมาธิเบื้องต้นกำหนดพิจารณาธรรม ตามปัญญาที่ตนสั่งสมมาด้วยวิริยะ จนที่สุดปัญญาวุมุตติก็เกิดขึ้น เป็นผู้หลุดพ้นทุกข์ได้

    ตามข้อสองส่วนมากเป็นพุทธภูมิ และปัจเจกพุทธภูมิ อาศัยการพัตนาก้าวหน้าทางจิต อาศัยการเข้าไปถึงสมาธิฌาณ อาศัยการเข้าไปถึงปัญญาด้วยวิปัสสนา เกิดปัญญารู้ได้เฉพาะต้น แต่ก็อาจจะต้องอาศัยพระธรรมของพระพุทธองค์ช่วยเป็นแผนที่นำทาง
    เมื่อจิตผ่านการสั่งสมฝึกฝนมามาก จนเต็มกำลัง จิตก็เข้าถึงความหลุดพ้นได้เอง เป็นเจโตวิมุตติ ก็มีเท่านี้ครับ



     
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ส่วนกรณีที่ว่า

    เมื่อเจริญสมถะแต่ไปไม่ถึงฌาณ แล้วจะเป็นอย่างไร
    ขอตอบว่า ความจริง สมาธิสมถะนี่มันหมายถึงฌาณแล้วครับ
    สมถะที่ท่านว่า อาศัยต้องมีสมาธิ จิตตัดวิตกวิจารได้แล้ว จัดว่าความจริงก็หมายถึงฌาณ1 นั้นเองเป็นอย่างน้อย การเข้าถึงสมถะหรือแค่ฌาณ1 ก็ได้ประโยชน์ทางจิตแค่นี้ คือสมาธิจิตตั้งมั่นดี พอสามารถเอาตัวรอดได้ แต่การที่จะก้าวหน้าใน ฌาณสมาบัติตามกำลังของฌาณขั้นสูงนี้ทำไม่ได้ไปไม่ถึงครับ ขาดลงแค่นี้มีได้แค่นี้
    ในกรณีนี้ขอแนะนำให้ว่า หากกำลังจิตของตนไม่มากพอ ก็ให้เปลี่ยนไปเดินปัญญาวิมุตติก็จะเป็นการดีกว่า ซึ่งสามารถกระทำได้ไม่ยากแต่ก็ต้องมีความเพียรในการศึกษาเรียนรู้และหมั่นพิจารณาให้เกิดปัญญาตามแบบปัญญาวิมุตติ

    2 หากได้ฌาณแล้วไปไม่ถึงญาณวิปัสสนา อันนี้ก็ไม่ต่างอะไรมากกับข้อแรก ถึงมาจะสามารถเข้าฌาณสมาบัติได้ แต่เข้าถึงนิโรธสมาบัติไม่ได้เพราะขาดปัญญา เจโตวิมุตติก็ไปไม่ถึงเช่นกัน
    จากตรงนี้ขอแนะนำว่า ให้ท่านศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นให้มาก ในจุดที่ขาดตกบกพร่องอยู่ แล้วท่านนำปัญญาจากตำรา หรือครูอาจารย์มาทบทวนแล้วเจริญสมาธิปรับเปลี่ยนวิธีการ จิตท่านย่อมเข้าสู่ ญาณวิปัสสนาได้ไม่ยาก ย่อมเดินตรงสู่เจโตวิมุตติญาณต่อได้อย่างรวดเร็ว ง่ายกว่าการกลับไปเดินสายปัญญาวิมุตติครับ เพราะจิตท่านมีพื้นฐานทางนี้ดีมากพอสมควรแล้วครับ

    อยู่ที่บารมีที่สั่งสมมาและความเพียรพยายามของท่านครับ สาธุครับ
     
  17. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ถ้าหาก เข้า ออก อนุโลม ปฏิโลม ตั้งเเต่1_4 หรือ 1_8 เห็นการเกิดดับเเบบนี้
    ก็ได้ เเต่จะเห็นยากกว่า การเกิดดับ ในสมาธิเสียอีก จะระเอียดกว่า
    ผู้ที่ทำได้เเบบนี้ ต้องเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตตัวเอง เป็นผู้เข้า ออก สมาธิได้ง่าย คือชำนานในฌานเป็นอย่างดี

    พอเข้าปฐมฌาน ต้องบอกเลยว่ายังไงก็จะไม่เห็นตัวอกุศล มันก็จะสงบสงัดอย่างที่เข้าใจ อารมเป็น1 เเต่เกิดดับ คนส่วนมากสงัดจากอกุศลไม่เห็นอกุศลคนจะรู้สึกไม่ชิน เพราะไม่มีอะไรเกิดดับ ให้เห็นชัดๆ (ตรงนี้ ตัวจิตเองที่กำลังสำคัญอย่างนั้นอยู่ เเล้วจิตมันก็ เกิดดับอีก1ตลบ โทษฐานสำคัญอย่างนี้ )
    ทีนี้ จะมีอีกปัญหา คือ อาพาธในสมาธิ คือเข้าปฐมฌานยังมี นิวรณ์เล่นงาน
    หรือ เข้าฌานที่2 เเต่ยังโดน วิตก วิจาร กลุ่มรุมจิต(ความคิดผุดๆ) ทั้งที่ ฌาน2 ต้องสงัดจาก วิตก วิจารไปเเล้ว เเล้วความคิดผุดๆมาจากไหน ความคิดผุดขึ้นไม่หยุด คือตัว วิตก. วิจาร ซึ่งความคิดผุดๆมันเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการก้าวข้ามไป เพราะต้องทนวิจาร มันบ่นของมัน ถ้าหากสมาธิไม่ดีหลุดออกมาได้เลย
    สาเหตุน่าจะ ใช้มันเป็นเครื่องมือบ่อยๆ ก็เป็นได้
    อย่างเช่น สงัดจากอกุศลเเล้วยังดิ้นลงไปหาอกุศล ไปใช้อกุศลเป็นเครื่ิองมือพ้นทุกข์ เเล้วบอกวิปัสสนา คือถอนออกจากสมาธิ
    ถามว่าทำได้มั้ย นี้มันเกินคอบเขตที่จะไปรู้ . เเต่มันก็ต้องดูอีกว่า เเล้วเวลาอยู่ในปฐมฌาน ขันธ์5ปรากฏเต่งๆนั่น พระองค์ก็ให้ตามเห็น ทำไมไม่เห็น ถ้าไม่เห็นขันธ์ มันก็จะมาสำคัญสิ่งที่หยาบเห็นง่ายคือ อกุศล งั้นถ้าเลือกออกมาเฝ้าดูสิ่ง1 เเต่ยึดไว้อีกสิ่ง1 เเล้วเมื่อไหร่ถึงจะจบหล่ะ ใช่มั้ยหล่ะ
    จึงต้องใช้ ฌานเป็นบาทฐานคือคำตอบสุดท้าย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  18. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ลองอ่านพระสูตรท่อนนี้ดู ท่าน oatthidet มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความ
    ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะ
    ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
    มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา สมาธิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
    ในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
    ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ
    เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
    สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
    ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ธรรมบทนี้กล่าวถึง ผู้ที่เห็นจิต หรือ ตัวตนที่แท้จริงแล้ว

    ว่าอะไรเป็นสิ่งที่จริง และ อะไรเป้นสิ่งที่ลวง

    จิตที่เป็นเอกภพปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปทาน

    ย่อมเห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีการแต่งเติม ตามธรรมที่เกิดขึ้น

    สาธุครับ
     
  20. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    การมีกายเข้าไปพิจารณาหรือไม่
    การเอาณานซึ่งวิปัสสะ
    วิ ปัสสะ นา

    การที่การถือสมถเป็นเรื่องนอกหรือใน

    การเอาจิตไปปัสสะในหรือนอก

    โดยที่ท่านละเวทนาได้แล้วนั้นหรือไม่อย่างไร
    การละเวทนาได้ละตอนไหน
    ละได้หมดละได้น้อยได้มากได้เท่าไร

    ความจริงตามกันมาทั้งสติปัฎฐานทั้งสี่แต่เรายังไม่แยกและแยกไม่ถูกหรือไม่อย่างไร
    คือกายหายไปแต่สี่แล้วมาห้าอะไรมาจนถึงแปด

    ถามจริงหากจิตไม่เที่ยง
    ไม่ว่าง
    ไม่มีอะไรเลย

    บางท่านบอกยังมีอะไรอยู่เช่น
    ความรู้
    ความสึก

    แล้วบอกว่าว่างหรือไม่อย่างไร

    แล้วพิจารณาธรรมจะเที่ยงหรือไม่เที่ยงขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...