ปาปการี ผู้มีปกติทำบาปหมายความว่าอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    คำว่า ปาปปารี ผู้ซึ่งกระทำบาปอยู่เสมอ หรือ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้มีปกติทำบาป

    หรือทำบาปอยู่เป็นปกติ หมายถึงผู้ที่กระทำบาปมีประการต่างๆ

    คือ ไม่ใช่เพียงทำอย่างเดียวแหรือทำคร้งเดียว

    แต่หมายถึงทำบาปหลายอย่าง และทำอยู่บ่อยๆ เรื่อนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง


    บาปการีติ นานปฺปการสฺส ปาปสฺส กตฺตา.

    คำว่า เมื่อนึกถึงขึ้นมาว่า เราได้ทำบาปไว้ ก็เร่าร้อน เศร้าหมอง

    หมายความว่า เมื่อนึกขึ้นมาแล้วก็เร่าร้อนนั้น เป็นการเร่าร้อนเพราะ กรรม

    ซึ่งการเร่าร้อนแบบนี้เป็นการเร่าร้อนไม่มาก แต่ถ้าเป็นการเร่าร้อนเพราะ วิบากให้ผลในอบายภูมิ

    คือเมื่อตายไปสู่ทุคติแล้ว จะเร่าร้อนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
     
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    เมื่อทำบาป ผลที่จะได้รับทุกครั้งคืออะไร

    อนึ่ง โดยธรรมดาของมนุษย์นั้น โดยสันดานย่อมรู้สึกหรือสำนึกได้ว่า อะไรดี อะไรไม่ดี แม้ไม่มีใครสอนก็รู้ได้

    ส่วนสัตว์เดรัจฉานย่อมไม่มีทางรู้สึกได้เลย เพราะมนุษย์นั้นอย่างน้อยก็คิดเป็น ว่าการฆ่า การลักขโมยนั้นไม่ดี

    เพราะรู้สึกได้จากตนเอง ว่า ถ้ามีใครมาฆ่าหรือมาลักของเราไป เราก็จะบอกได้ว่านั้นเป็นการกระทำที่ไม่ดี

    และไม่ชอบใจอย่างยิ่ง หรือมีความโกรธแค้น สามัญสำนึกเช่นนี้มีกันทุกคน ไม่ว่าคนดีหรือชั่วก็ตาม

    แต่เพราะสันดานเห็นแก่ตัวมีมาก มีการยึดมั่นตัวตนอย่างมืดบอดที่สุด

    ฉนั้น จึงไม่รู้สึกว่า การฆ่าหรือการลักของๆคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี

    และเมื่อทำบ่อยๆ และได้รับประโยชน์จากการทำนั้นๆ พอใจชอบใจในผลของการกระทำความชั่วนั้นๆ

    จึงเกิดความมืดบอดไม่รู้สึกว่า ตนเองได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีเป็นบาป

    เพราะเขาจะคิดในแง่ของประโยชน์ที่เขาจะพึงได้ จากการกระทำบาป




    ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วทุกครั้งที่ตนทำบาป หรือทำสิ่งไม่ดีนั้น

    ในจิตใจส่วนลึกจะมีความรู้สึกขัดแย้ง ระหว่างความดีกับความชั่ว

    จะรู้สึกไม่สบายใจ หรือจิตใจขุ่นมัวทุกครั้งที่ทำ

    ความทุกข์อันนี้จะสะสมอยู่ในสันดาน คือจิตใต้สำนึก หรือในภวังคจิตอยู่ตลอดเวลา

    อันความทุกข์ที่สะสมไว้นี้ คือ ความเศร้าหมองของใจ บาลีว่า โสจติ หรือ ตปฺติ
     
  3. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    โสจติ หรือ ตปฺติ ความเศร้าหมอง

    เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทำ และครั้นแล้วสักวันหนึ่งมันก็แสดงฤทธิ์ออกมาให้เห็นชัดเจน แม้ในขณะมีชีวิตอยู่

    ความฌศร้าหมองหรือทุกข์ที่สะสมไว้ จะแสดงอาการออกมาให้เห็นอยู่เสมอ

    ในเวลานอนจะมีแต่ฝันร้าย

    เป็นคนอารมณ์เสียง่าย ในเวลาถูกขัดใจ ประสพสิ่งที่ไม่พอใจ ในเวลาพลัพรากสิ่งที่เป็นที่รัก

    บังคับตนเองให้ทำอะไรตามเหตุผลได้ยาก หรือถูกชักจูงได้ง่าย

    เวลาเกิดเจ็บป่วย ก็อ่อนแอ กลัวตาย มีวิตกกังวลมาก และเป็นคนเจ้าอารมณ์เห็นได้ชัด

    จะเกิดความคิดซ้ำซาก อดคิดไม่ได้ เมื่อคิดแล้วก็ไม่สบายใจ กลุ้มใจ หวาด กังวล

    เวลาจะตาย จะไม่มีแม้นายเดียวที่จะตายด้วยความสงบสุข



    ที่มา นรก
     
  4. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    วิธีแก้ก็มีศีลมีความจริงใจเสียแต่วันนี้ มีศีลปิดอบายภูมิละ มะต้องกลัวนะครับน้าๆ
     
  5. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ....
    หมายความว่า การรักษาศีลทำให้เกิดความสุข....

    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ...
    หมายความว่า การรักษาศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์

    สิเลนะ นิพพุติง ยันติ .....
    หมายความว่า การรักษาศีล เป็นหนทางให้เข้าสู่นิพพาน

    ตัสมา สีลัง วิโสทะเย ....
    หมายความว่า ทุกคนควรรักษาศีล
     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    อาจิณณกรรม


    อาจียติ ปุนปฺปุนํ กรียตีติ อาจิณฺณํ
    “กรรมใดที่บุคคลสั่งสมไว้กระทำไว้บ่อยๆ
    กรรมนั้น ชื่อว่า อาจิณณกรรม”

    อาจิณณกรรมนี้ ได้แก่กรรมคือการกระทำสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่เสมอ ทำสิ่งที่ดีและไม่ดีนั่นแลอยู่บ่อยๆ สั่งสมสิ่งที่ดีและไม่ดีไว้ในสันดานของตนมากๆ กรรมคือการกระทำสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่เสมอนี้เรียกชื่อว่า อาจิณณกรรม ก็อันว่า อาจิณณกรรมนี้ บางทีท่านเรียกว่า พหุลกรรม ก็มีเพื่อความเข้าใจดีในเบื้องต้นนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบไว้ว่า

    อาจิณณกรรมนี้ เมื่อจะแบ่งออกเป็นฝ่ายใหญ่ๆ ก็แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ อาจิณณกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ๑ อาจิณณกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ๑ ในบรรดาอาจิณณกรรมทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น อาจิณณนกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล พึงเห็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

    ผู้ที่มีใจบาปหยาบช้า กระทำทุจริตต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ก็ตั้งหน้าทำทุจริตกรรมเหล่านั้นอยู่เสมอ เช่นทำทุจริตด้วยกายประกอบปาณาติบาตกรรมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ก็ทำอยู่เสมอ ทำอยู่บ่อยๆ ทำเป็นประจำ หรือทำทุจริตด้วยวาจา กล่าวคำมุสวาทพูดโกหกพกลม และปากร้ายด่าว่าผู้อื่น หรือทำทุจริตด้วยใจ คือมีใจชั่ว ผูกอาฆาตพยาบาทผู้อื่นก็ทำอยู่เสมอ ทำอยู่บ่อยๆ ทำเป็นประจำ พอกพูนทุจริตกรรมไว้ในสันดานของตนมากมาย จนกลายเป็นคนมีสันดานเสีย วันไหนถ้าไม่ได้ทำกรรมอันชั่วช้าเหล่านี้แล้วก็ไม่มีความสบายใจ กรรมชั่วที่พอกพูนไว้เสมอเหล่านี้เอง เรียกว่าเป็น อาจิณณกรรมฝ่ายอกุศล หรือพหุลกรรมฝ่ายอกุศล


    กรรรมนี้ถือว่าเป็นกรรมที่ใหญ่มาก หลุดจากวัฐฐะยาก
     
  7. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    สะกดว่า วัฏฏะ ไม่ใช่ วัฐฐะ --"


    อาจิณณกรรมที่เป็นฝ่ายกุศล พึงเห็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

    อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ
    กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
    ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ
    ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ


    คนที่ทำบุญไว้ เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็บันเทิง ละจากโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิง
    และเมื่อนึกขึ้นมาว่า เราได้ทำบุญไว้ก็บันเทิง
    ในเมื่อไปสู่สุคติแล้วย่อมจะบันเทิงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า


    Here he is happy, hereafter he is happy,
    In both worlds the well-doer is happy;
    Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
    When gone to the state of bliss.
     
  8. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙

    [๑๙] บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป เพราะเมื่อทำบุญ
    ช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป หากบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่พึง
    ทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการ
    สั่งสมบาปนำทุกข์มาให้ หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญ
    นั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญ
    นำสุขมาให้ แม้คนลามกย่อมเห็นความเจริญตราบเท่าที่บาป
    ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดบาปย่อมให้ผล คนลามกจึงเห็นบาป
    เมื่อนั้น แม้คนเจริญก็ย่อมเห็นบาป ตราบเท่าที่ความเจริญ
    ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดกรรมดีย่อมให้ผล เขาจึงเห็นความเจริญ
    เมื่อนั้น บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อย

    [พอประมาณ] จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาด
    น้ำที่ตกทีละหยาดๆ [ฉันใด] คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละ
    น้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป [ฉันนั้น] บุคคลอย่าพึงดูหมิ่น
    บุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็ม
    ได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้
    ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ภิกษุพึงเว้นบาปดุจพ่อค้า
    มีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นทางที่ควรกลัว ดุจบุรุษผู้ใคร่
    ต่อชีวิตเว้นยาพิษ ฉะนั้น ถ้าที่ฝ่ามือไม่พึงมีแผลไซร้
    บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมซาบ
    ฝ่ามือที่ไม่มีแผล บาปย่อมไม่มีแก่คนไม่ทำ ผู้ใดย่อม
    ประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่
    มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นแหละ ผู้เป็นพาล
    ดุจธุลีละเอียดที่บุคคลซัดทวนลมไป ฉะนั้น คนบางพวก
    ย่อมเข้าถึงครรภ์ บางพวกมีกรรมอันลามก ย่อมเข้าถึงนรก
    ผู้ที่มีคติดีย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน
    อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป ส่วนแห่ง
    แผ่นดินที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว พึงพ้นจากกรรมอันลามกได้
    ไม่มีเลย อากาศ ท่ามกลางสมุทร ช่องภูเขาอันเป็นที่เข้าไป
    ส่วนแห่งแผ่นดิน ที่บุคคลสถิตอยู่แล้ว มัจจุพึงครอบงำ
    ไม่ได้ ไม่มีเลย ฯ
    จบปาปวรรคที่ ๙
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิถีจิตในมรณาสันนกาลมีนิมิต ๓ อย่าง (ยกเว้นพระอรหันต์)
    คือ " กรรม กรรมนิมิ คติมิต " จนถึง จุติจิต และขึ้นสู่วิถีมรณาสันนวิถี ๕ ขณะ
    จุติจิตเป็นจิตดวงสุดท้าย ย่อมนำไป ปฏิสนธิจิต เกิดในภพภูมิใหม่ต่อไป

    บางคนเขาพูดกันเล่นๆ "จุติจิต" เป็น "จิตแจ๊กพ๊อต"
    ได้นิมิต ๓ อย่างมาปรากฎดีก็ได้ไปเกิดในที่ดี
    ได้นิมิต ๓ อย่างมาปรากฎไม่ดีก็ย่อมตกไปในอบายภูมิ

    วัดดวงกันที่ จุติจิต นี่แหละท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y12032746-1.jpg
      Y12032746-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.4 KB
      เปิดดู:
      66
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เพิ่มเติม เรื่อง วิถีจิต ขณะ จุติ ปฏิสนธิ

    ปาฐกถาเรื่อง คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร ตอนที่ ๕
    โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร
    ถาม-ตอบอภิธรรม:กรรมฐาน:อภิธรรมออนไลน์:วิปัสสนา:จิต:พลังจิต:สติปัฏฐาน:สำนักปฏิบัติธรรม:พระพุทธศาสนา:

    ขณะมรณาสันนกาลนี้ ถ้าคนไข้ไม่กลับฟื้นขึ้นมาแล้ว ก็นับว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญอย่างยิ่งของชีวิต เพราะอาจไปมีความสุขอย่างสุดที่จะพรรณา หรือได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสก็ได้

    ดังนั้น เราผู้ซึ่งยังไม่ถึงมรณาสันนกาล ก็เป็นการสมควรยิ่งนักที่ไม่พึงประมาท จะต้องหมั่นกระทำอาจิณกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเอาไว้ จะทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาก็ได้ ถ้ายิ่งศึกษาธรรมะให้มากๆ ก็ยิ่งดี

    ถ้าเดินทางไปยังที่ใดที่หนึ่งในเวลาค่ำมืดเดือนมืด ท่านก็ต้องถือตะเกียงไปด้วย ท่านจึงจะเดินทางไปได้โดยสะดวก แต่ถ้าท่านเดินทางนี้บ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องถือตะเกียงไป ท่านก็จะเดินไปได้ง่ายๆ เกือบจะไม่ต้องคิดด้วยซ้ำว่าตรงไหนเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือตรงไหนจะรกจะคดเคี้ยว มีก้อนอิฐก้อนหินอยู่ที่ไหนอย่างไร ท่านก็สามารถจะก้าวข้ามหลบหลีก และเลี้ยวได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่ต้องอาศัยแสงสว่าง ทั้งนี้เพราะทางเดินนี้เป็นทางเดินสะดวกเสียแล้ว

    เหตุนี้ผู้ที่มรณาสันนกาลยังมิได้มาถึง ผู้ที่มฤตยูยังไม่ได้เรียกร้องถามหา หรือผู้ที่เห็นภัยร้ายแรงในวัฏฏะ ก็ย่อมไม่ตกอยู่ในความประมาท เขาจะพยายามทำอาจิณกรรมทีเป็นฝ่ายกุศลเข้าไว้ให้ชำนาญ ให้เป็นทางเดินสะดวก

    ทุกๆ คืนก่อนจะนอนก็จะกราบพระ เพื่อรักษาจิตที่กิเลสทั้งหลายได้เข้ามาเกลือกกลั้วอยู่ตลอดวันมาแล้ว ให้สงบระงับเป็นสมาธิ จะตั้งใจอธิษฐานขอให้พ่อแม่พี่น้อง ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง ไม่ว่าศัตรูหรือมิตร ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายจงอย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ขอให้เขาเหล่านั้นมีความสุขความเจริญ

    ขณะจิตก็เป็นสมาธิสะอาดบริสุทธิ์ขึ้น นิสัยเห็นแก่ตัวอันเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งที่ติดมากับสัตว์ทั้งหลาย ก็จะหยุดยั้งลงชั่วขณะหนึ่ง กุศลก็จะประทับลงไว้ในจิต ประดุจฝุ่นละอองสีดำคล้ำทั้งหลายที่เข้ามายึดกับจิตไว้ได้ ถูกฝุ่นละอองสีขาวบริสุทธิ์แม้เพียงเล็กน้อยปะปนเข้าไป ทำให้ความดำคล้ำนั้นไม่มืดมิดสนิทจริงๆ ต่อจากการแผ่ส่วนกุศลแล้ว

    ถ้าทำสมถะหรือวิปัสสนากรรมฐานต่อไปอีกสัก ๑๐ – ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ได้ ก็จะเป็นประโยชน์มากที่สุดทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไม่รู้ว่าผมทำให้กระทู้เป๋หรือเปล่า
    มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร มี ๔ วิถี (ตายทางมโนทวาร)

    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ ภ ภ ภ
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ ภ ภ ภ
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ ภ ภ ภ
    ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ ภ ภ ภ

    ในมรณาสันนวิถี มี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต เป็นอารมณ์แน่นอน กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์
    ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถีนี่แหละ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกภพชาติที่จุติสัตว์นั้นจะไปปฏิสนธิ
    กรรมอารมณ์ กับ คตินิมิตอารมณ์ ทั้ง ๒ นี้ เกิดเฉพาะทางมโนทวาร ส่วน กรรมนิมิตอารมณ์เกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร โดยเฉพาะ

    มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์
    ไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต อารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ แม้แต่อย่างเดียว เพราะท่านไม่ต้องปฏิสนธิอีกแล้ว
    อารมณ์ในมรณาสันนวิถีทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิต อารมณ์ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ คือ

    ๑. ครุกรรม คือ กรรมที่หนัก ทางอกุสล ได้แก่ ปัญจานันตริยกรรม (อนัน ตริยกรรมทั้ง ๕)
    ในทางกุสลได้แก่ มหัคคตกุสล ๙ ถ้าได้ทำกรรมหนักเช่นนี้ ครุกรรมต้องให้ผลก่อน
    อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปปาท และ สังฆเภท

    ๒. อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย มีทั้งทางกุสล และทาง อกุสล
    ถ้าไม่มีครุกรรมแล้ว อาสันนกรรมนี้ต้องให้ผลเป็นอันดับแรก

    ๓. อาจิณณกรรม คือ กุสลกรรม และกุสลกรรมที่ทำอยู่เสมอเป็นอาจิณ
    ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรมแล้ว อาจิณณกรรมนี้ก็ให้ผลก่อน

    ๔. กฏัตตากรรม คือ กุสลกรรม และอกุสลกรรมที่ไม่ครบองค์ของกัมมบถ
    จัดเป็นกรรมเล็กน้อย ถ้าไม่มีกรรมอื่น คือ ๓ อย่างข้างต้นนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ กฏัตตากรรมนี้ให้ผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    เจริญพร

    ลงมาเถิด กุศลทั้งนั้น

    จะได้ใช้เรียนด้วย ^^
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กำลังเรียนอยู่ชั้นนี้ใช่หรือเปล่าท่าน
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ขึ้นจูฬเอก
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2013
  16. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    ท่านเอาปุพการีไปพิจารณาสิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...