ถามเรื่องสมาธิคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เด็กใหม่คับ, 11 พฤศจิกายน 2007.

  1. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่ๆคับ คือผมก็ฝึกนั่งมาสักระยะหนึ่งแล้ว พอนั่งไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกสงบมากๆ ก็นั่งได้ประมาณ 1ชม ก็ลองนั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ไม่รู้ทำไมนั่งแล้วรู้สึกเหมือนหลับเลย ปกติฝึกมาก็หลายครั้งแล้วก็ไม่เคยหลับ จะว่าหลับก็ไม่เชิงความรู้สึกมันเหมือน แต่ก็ยังรู้สึกตัว ผมก็ไม่ค่อยมั่นใจแต่ หลับที่ไรมันจะใช้เวลา 2 ชม จากนั่นมันก็ตื่นเองคือผมงงมากๆเลย จึงอยากถามพี่ๆว่าทำไมผมจึงรู้สึกเหมือนหลับ แล้วจะแก้ยังไงให้เป็นแบบเดิม
     
  2. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    เป็นอาการของนักปฏิบัติที่เริ่มเข้าสู่ความสงบมากขึ้นแต่สติมีกำลังอ่อน หรือเรียกว่ากำลังของสมาธิมากกว่ากำลังของสติ บางคนเมื่อเข้าสู่สภาวะนี้(หลับใน)กลับเข้าใจว่าตนเองเข้าถึงสมาธิ(อัปนาสมาธิ)ก็มี เพราะสามารถนั่งได้หลายชั่วโมงโดยไม่รู้สึกอะไรเลย(ทั้งที่จริงแล้วยังเข้าไม่ถึงสมาธิเลย) นานๆ ไปจะยิ่งเข้าสู่สภาวะนี้ได้เร็วขึ้นและอยู่ได้นานมากขึ้น คือนั่งแค่แป๊ปเดียวก็หายไปแล้ว รู้สึกตัวอีกทีเวลาก็ผ่านไป 3 - 4 ช.ม. แล้ว ตอนปฏิบัติใหม่ๆ ผมก็เป็นครับ

    ทางแก้คือต้องเจริญสติให้มากขึ้นอย่าปล่อยให้จิตเข้าสู่ความสงบ โดยเจริญสติอยู่ในการเคลื่อนไหว อย่างเช่น เดินจงกรม หรือฝึกสมาธิเคลื่อนไหวแบบของหลวงพ่อเทียน ซึ่งทำได้หลายวิธี ข้อสำคัญคือไม่ปล่อยให้จิตเข้าไปสู่ความสงบ(หลับใน) เมื่อสติของเรามีกำลังมากขึ้น โดยสังเกตุจากการกำหนดอิริยาบถหรือกำหนดลมหายใจได้ชัดเจนมากขึ้น จึงค่อยฝึกจิตเข้าสู่ความสงบใหม่ ทีนี้ถ้ามันลงไปหลับเหมือนเดิม เราอาจจะได้เห็นการตื่น(ภายใน)ในขณะที่นั่งหลับแล้วจะทำให้เราเข้าใจในอาการที่เราเป็น ยิ่งถ้าสติเรามีกำลังมากขึ้นเราจะได้เห็นขณะที่มันกำลังลงไปสู่สภาวะนั้นด้วย

    ถ้าข้ามพ้นอุปสรรคนี้ไปได้ ก็จะเริ่มเข้าสู่สมาธิที่แท้จริงแล้ว จะรู้สึกได้ถึงความสงบที่ละเอียดแนบแน่นยิ่งขึ้น การจะก้าวข้ามขึ้นสู่สมาธิที่ละเอียดขึ้นไปในแต่ละระดับจะต้องเจออุปสรรคและการแก้ไขเช่นนี้อยู่ตลอดครับ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าความสงบหรือคุณธรรมอันละเอียดปราณีตกว่านี้ยังมีอยู่และพยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

    ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
    ขออนุโมทนา
     
  3. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    ขอบคุณคับ
     
  4. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    อาการแบบนี้..น่าจะเรียกว่า..การเข้าฌานอย่างหยาบนะคะ..เพราะถ้าไม่ถึงฌานจะตัดหลับไม่ได้แน่ ๆ ค่ะ..แต่คุณเด็กใหม่ว่า..คุณยังรู้สึกตัวอยู่...ตามความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว...(ซึ่งยังปฏิบัติไม่ดีพอ....)...คิดว่าคุณเข้าถึงฌานนะคะ...แล้วเวลาคุณคิดว่าคุณตื่นแล้ว...ภาวนาต่อเนื่องเลยรึป่าวค่ะ....แบบว่าภาวนาอัตโนมัติหรือว่าควานหาการภาวนาใหม่...(ความเห็นนี้อาจจะผิดก็ได้ค่ะ...)...ลองสังเกตอาการของตัวเองอีกสักพักนะคะ...พยายามจำอารมณ์เดิม ๆ ไว้ค่ะ...แล้วตามดูจิตค่ะ...นั้นจะช่วยได้มากเลยค่ะ...เพราะการกำหนดรู้จิต..คือการมีสติ..และการมีสติ..จะเป็นการหลับไปไม่ได้ค่ะ...ลองสังเกตดูอีกทีนะคะ...ธรรมรักษาค่ะ...คุณเด็กใหม่
     
  5. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    ภาวนาต่อคับ เมื่อวาน เริ่มทำสมาธิตอนประมาณ2ทุ่ม ไปรู้สึกตัวตอนตี 3 เวรกรรม หลับยาว พอตื่นรู้สึกตัวก็ พุธ โท ไป3ครั้งก็งงตัวเองจะพุทธโททำไมก็เลยเลิก หรือว่าผมทำผิด ผมนอนทำสมาธิเพราะนั่งแล้วปวดขา จากนั้นก็หายใจเข้าพุธ ผ่านจมูก หน้าอก ถึงท้อง จากนั้น ท้อง ขึ้นหน้าอก ขึ้นจมูก โท
    ผมจะลองทำแบบที่พี่วิมังสาบอก คือ เดินจงกรมแต่เดินแล้วเวียนหัว รบกวนพี่ๆ ว่าผม พุธโท แบบนี้ถูกรึป่าว ถ้าผิดจะได้แก้ทัน ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะคับ
     
  6. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    เริ่มทำสมาธิตอนประมาณ2ทุ่ม ไปรู้สึกตัวตอนตี 3 เวรกรรม หลับยาว พอตื่นรู้สึกตัวก็ พุธ โท ไป 3 ครั้งก็งงตัวเองจะพุทธโททำไมก็เลยเลิก หรือว่าผมทำผิด ผมนอนทำสมาธิเพราะนั่งแล้วปวดขา จากนั้นก็หายใจเข้าพุธ ผ่านจมูก หน้าอก ถึงท้อง จากนั้น ท้อง ขึ้นหน้าอก ขึ้นจมูก โท ครับหลับยาว แต่ไม่ได้ทำผิดนะครับ และการกำหนดลมหายใจตามที่บอกมาก็เป็นการเจริญสติที่ถูกต้องด้วย ให้ฝึกเช่นนั้นจนกว่าจะกำหนดเห็นลมชัดเจน คำว่าชัดเจนนั้นมีลักษณะเหมือนกับว่าลมหายใจนั้นเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ปรากฏเป็นลำตลอดสาย ชัดเจนมาก ถ้าได้เช่นนี้แล้วให้กำหนดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น ที่ปลายจมูก(เหนือริมฝีปากบน) ที่กลางหน้าอก หรือที่ท้อง(เหนือสะดือประมาณ 2 นิ้ว) จะปรากฏเป็นลักษณะเหมือนลมพริ้วไหว(หรือลักษณะคล้ายๆ กัน)ตรงจุดที่เรากำหนด ทรงอารมณ์อยู่เช่นนั้นก็จะเข้าถึงอัปนาสมาธิหรือฌานแล้วครับ

    เรื่องของฌานนั้น เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันมากในเว็ป แต่ก็ยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่มากเช่นกัน ฌานจัดเป็นอัปนาสมาธิ แต่อัปนาสมาธิไม่จำเป็นต้องเป็นฌาน ต่างกันที่การกำหนดอารมณ์ ฌานต้องอาศัยการเพ่งอารมณ์(ทั้งรูปและอรูป) ส่วนสมาธิอาศัยการกำหนดรู้ การเพ่งกับการกำหนดรู้ต่างกันอย่างไร ก็ขอเปรียบเทียบง่ายๆ ดังนี้ ถ้าเราเอามือจับแก้วน้ำถือไว้ในมือแบบสบายๆ อย่างนี้เป็นลักษณะของการกำหนดรู้ แต่ถ้าเราเอามือจับ(กำ)แก้วน้ำไว้อย่างแน่นหนามั่นคง อย่างนี้เป็นลักษณะของการเพ่ง ผู้ที่ฝึกจนชำนาญทั้งฌานและสมาธิ จะสามารถสลับเปลี่ยนอารมณ์ไปมาระหว่างฌานและสมาธิได้

    แล้วเราเข้าถึงฌานหรือไม่ ก็ทดลองดูเช่นนี้ก็ได้ครับ เอาแค่กำลังของฌาน 1 (ปฐมฌาน)ก่อน (องค์ของปฐมฌาน มี 5 คือ 1.วิตก 2.วิจารณ์ 3.ปิติ 4.สุข 5.เอกัคตารมณ์ โดยองค์ฌานทั้ง 5 เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์) ลองนั่งภาวนาดูสัก 3 - 6 ช.ม.(อย่างน้อย) จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้ ความรู้สึกตัวปรากฏอยู่อย่างแจ้งชัด มีกระแสวิตกวิจารณ์หล่อเลี้ยง ไม่ปวดไม่เมื่อย แบบสบายๆ ครับ นี่เอาแค่กำลังของฌาน 1 ครับ

    ขอให้การปฏิบัติก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปครับ
    ขออนุโมทนา
     
  7. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    เพิ่มเติมให้อีกหน่อยว่า

    ควรใส่ใจเวลาในชีวิตประจำวัน ให้มากกว่าเดิม พยายามเฝ้าระวังมิปล่อยจิตใจไหลไปตาม อารมณ์กับความยินดียินร้าย ให้ เพียรระลึก ระวัง สติ สงบ ระงับ วิเวก เท่าที่จะทำได้

    หากนิวรณ์ยังมีมาก มักเป็นอุปสักขวางกั้นขณะภวานา เนื่องด้วยเหตุแห่งการสั่งสมอารมณ์ ที่มิเฝ้าระวังรักษาจิตใจ สิ่งที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ คือโทสะ ที่มักมีเค้าเงื่อนมาจาก โลภะ นะครับ
     
  8. siamgirl

    siamgirl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,682
    ค่าพลัง:
    +2,742
    สาธุ
    เราก็ชอบหลับในค่ะ ประจำ ห้าๆๆๆ
    เคยเดินจงกรมอ่ะค่ะ เเต่ทำไม่เป็นกลัวล้ม อ่ะ ที่หลังบ้านมีนิดเดียว กลัวเดินชนรั้ว มีวิธีเดินจกกรมมั้ยค่ะ

    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
    สาธุ
     
  9. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348

    คุณ siamgirl ค่ะ...การเดินจงกรม..คุณไม่จำเป็นต้องเดินแบบย่อง ๆ ย่าง ๆ ...ตามสูตรเป๊ะก็ได้ค่ะ...คุณสามารถเดินเป็นปกติทั่วไปได้ค่ะ...แต่เดินให้ช้าลงหน่อย..เพราะเราจะใช้สติควบคุมและตามระลึกรู้การเดินของเรา...และถ้าจะให้ดีขึ้นอีกนิด...ขอให้คุณภาวนาพุทโธ...หรือ..ภาวนาตามสายที่คุณสนใจก็ได้ค่ะ...เช่นยุบหนอ พองหนอ...หรือ...สัมมา...อรหัง...ได้ทั้งนั้นค่ะ...แต่ขอให้คุณกำหนดรู้ว่า...เท้าซ้ายหรือเท้าขวาเริ่มเดินก่อน...ตามด้วยการภาวนา...เช่น...ย่างขวา..(พุท)....ย่างซ้าย..(โธ)....แบบนี้นะคะ...ทำไปเรื่อย ๆ นะคะ..เป็นปกติเลยก็ได้ค่ะ...แล้วคุณจะชินกับการเดินแบบนี้ค่ะ...เป็นวิธีฝึกง่าย ๆ ตามสายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำค่ะ...ขออนุโมทนาด้วยค่ะ...
     
  10. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    คุณ v.mut ได้แนะนำถึงการเจริญสติในการรักษาจิตไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์ในชีวิตประจำวัน เพราะอารมณ์ทั้งหลายที่จิตเสพและสั่งสมในแต่ละวันล้วนแต่เป็นปัจจัยของนิวรณ์(เครื่องปิดกั้นความดี)ทั้งสิ้น ในทางตำราแบ่งนิวรณ์ไว้ 5 ประการ แต่ในเนื้อแท้แห่งการปฏิบัติแล้ว อารมณ์ทั้งหลาย(ยกเว้นอารมณ์ของกรรมฐานที่เราปฏิบัติ)ที่ข้องอยู่กับจิต ปรุงแต่งจิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก หรือความนึกคิดในเรื่องต่างๆ ล้วนจัดเป็นนิวรณ์ทั้งสิ้น ถ้าเราปฏิบัติโดยใช้เวลาวันละ 1 - 2 ช.ม.นั่งภาวนา อย่างนี้ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่าเป็นผู้ห่างจากกรรมฐาน ต้องภาวนาตลอดเวลาที่มีสติตื่นอยู่ เราสามารถกำหนดรู้ลมหายใจ(เป็นสภาวะรูปอย่างหนึ่ง)เข้าออก ได้ตลอดทั้งวันแม้ในขณะทำการงานต่างๆ (ยกเว้นการพูดคุย) ซึ่งจะทำให้จิตเราไหลไปตามอารมณ์อื่นๆ น้อยลง ทรงสมาธิอยู่โดยธรรมชาติหรือเรียกได้อีกอย่างว่าทรงอารมณ์เป็นฌาน สำหรับนักปฏิบัติที่ต้องการเดินฌาน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งครับ

    คุณ Rattanaporn ได้แนะนำวิธีเดินจงกรมที่ถูกต้องแล้วครับ การเดินจงกรมจะทำให้เรามีกำลังสติเพิ่มขึ้นได้เร็วและได้สมาธิที่มั่นคงกว่าการนั่ง แต่ถ้าสถานที่เราไม่เอื้ออำนวยหรือไม่ถนัดการเดินจงกรม ผมก็มีวิธีปฏิบัติแนะนำให้ลองฝึกดูครับ เรียกว่าการเดินสติ 3 ฐาน(เป็นวิธีของหลวงพ่อดิเรก วัดภูพระธาตุ จ.เพชรบูรณ์) ปฏิบัติได้ในท่านั่งภาวนาตามปกติ โดยกำหนดจุด 3 จุดในกายเป็นฐานของการเดินสติ เช่น ก้นกบและหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง ให้กำหนดโดยพยายามทำความรู้สึก(ไม่ใช่แค่นึกเอานะครับ) โดยเริ่มจากก้นกบ ไปหัวเข่าซ้าย ไปหัวเข่าขวา วนไปเรื่อยๆ เริ่มฝึกให้ทำช้าๆ (เหมือนเดินช้าๆ) ไปทีละฐาน เมื่อสติมีกำลังและฝึกชำนาญแล้วจึงเร่งให้เร็วขึ้น จะเหมือนเราเดินสติเป็นสายต่อเนื่องเป็นรูปสามเหลี่ยม การฝึกวิธีนี้จะทำให้สติเรามีกำลังสามารถเดินจิต(ลากจิต)ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างได้ ถ้าจิตมีความละเอียดพอจะสามารถกำหนดให้ท่องเที่ยวไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย(ทั้งข้างนอกและภายใน)ได้ เรียกว่าธุดงด์ไปในกายครับ ให้ฝึกสติวิธีนี้ร่วมกับการฝึกภาวนาตามปกติและฐานทั้ง 3 นี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามชอบใจครับ

    ขอให้การปฏิบัติก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปครับ
    ขออนุโมทนา
     
  11. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    ขอบพระคุณค่ะ..คุณวิมังสา...เป็นความรู้ใหม่ทีเดียวค่ะ...การธุดงค์ในกาย...ต้องขอฝึกดูบ้างแล้วหล่ะค่ะ....
     
  12. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่ วิมังสา<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_817245", true); </SCRIPT> คับ ไม่รู้ว่าอย่างงี้ใช่รึป่าว หลังจากพุธโธ ไปเรื่อยๆ ผ่านฐานทั้ง6 อย่างมั่นใจแล้ว กำหนดให้มาอยู่ที่อกจุดเดียว มีความรู้สึกได้ยินเสียงแบบหูอื้อหรือบางครั้งเหมือนเอาหอยมาอังไว้ที่หู มีความรู้สึกเย็นๆเท้า ขา แล้วก็ความสบายเหมือนกับเราวิ่งมาเหนื่อยสุดๆแล้วนอนพักมีคนมานวด ตรงนี้สบายมากจนเผลอปุ๊ปหลับเลย ที่หลับก็ตรงนี้ใช่มั้ยครับ พอพุธโธไปเรื่อยๆ อยู่ๆก็เหมือนตื่นเลย แบบว่าสติมาครบเลย ดีกว่าเราตื่นอีก เหมือนไม่ได้ทำสมาธิเลย ยังกะวิ่งอยู่ เหมือนเราไปอยู่ในอวกาศ
     
  13. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ใช่แล้วครับ ซึ่งที่จริงแล้วจิตมันกำลังเข้าสู่สภาวะที่ละเอียดขึ้นแต่กำลังของสติเราตามเข้าไปไม่ถึง จึงรู้สึกเหมือนหลับไป เมื่อจิตถอนตัวขึ้นมาในระดับที่กำลังสติของเรารู้ได้เราจะรู้สึกเหมือนตื่นขึ้นมาอีกครั้ง บางครั้งอยู่ๆ ก็ลืมตาขึ้นมาเลย และจิตมันจะเข้าๆ ออกๆ จึงเหมือนรู้สึกตัวบ้างไม่รู้สึกตัวบ้าง ถ้าสติเรามีกำลังมากกว่านี้จะทำให้เราสามารถทรงจิตอยู่ในสมาธิที่ละเอียดขึ้นได้ครับ และที่สำคัญอย่าปล่อยจิตไหลตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากสมาธิ จะทำให้เกิดการเผลอสติ ลืมการกำหนดจิตที่ฐานของสมาธิครับ


    เสียงที่เราได้ยินอยู่ในหู แบบเสียงหึ่ง(เป็นความถี่ต่ำๆ) บางทีเสียงจะดังมาก ไม่ต้องตกใจนะครับ เป็นอาการแสดงจุดเริ่มต้นที่จิตกำลังเดินเข้าสู่ภพของจิตครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2007
  14. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ยินดีครับ การธุดงค์ไปในกาย จะทำให้เราได้รู้ได้เห็นอะไรอีกมากมายในร่างกายของเรา และยังเป็นการเจริญให้เกิดปัญญาไปด้วยในตัว ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในรูปนามขันธ์ห้า จนค่อยๆ ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)จากร่างกายของเราได้ เมื่อจิตข้องติดอยู่ในกายน้อยลง จะทำให้การปฏิบัติของเราก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น และสามารถเข้าถึงสภาวะธรรมที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้

    ขออนุโมทนาครับ
     
  15. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่คับ แล้วสมาธิของผมนี้ถึงฌาน1 รึยัง แล้วทำไงใหถึง ฌาน4คับ
     
  16. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    เด็ก18มาใหม่คับ

    ขอถามผู้รู้หน่อยคับ ว่า เวลาผมนั่งสมาธิ แล้วมัน หายใจไม่ออก เหมือนเอาไม้ท่อนมายัดใส่ตัวจากท้องถึงคออะคับ แล้วก็ที่หูเหมือนมีอะไรบีบใส่หัวไปเรื่อยๆ ถ้ายอมมัน อาการก็หายแล้วก็หายใจออก (บางทีพอให้มันบีบเรื่อยๆเสียงใกล้ๆที่ดังอยู่ก็เหมือนถอยห่างไปเรื่อยๆคล้ายๆรถถอยออกไปจากตัวเรา)
    ผมสงสัยว่า
    1.ณาน4ละเอียดที่เขาว่ากัน คือการที่จิต ออกจากกายแล้ว หรือยังไม่ออก เพราะเคยเห็นในหนังสือเขียนว่า ทรงณาน4 ถ้าจิตออกจะทรงยังไงอะคับ ช่วยอธิบายหน่อยหาอ่านไม่เจอ (จะว่ายึดติดตำราก็ไม่เชิงนะคับ เพราะไม่รู้จะถามใครเพิ่งจะได้เจอเวปแบบนี้)
    2.เวลานั่งแล้วมันหายใจไม่ออกจะตาย มีอะไรมาบีบที่หัวเข้ามาในหูก็เจ็บ จะทำยังไงต่อไปอะคับ (กลัวว่าจะไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะเคยรู้สึกมึนๆหัว )
    ขอบคุณคับ
     
  17. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่ kurochang คับ เวลานั่งแล้วหายใจไม่ออก ลองทำแบบนี้ดูครับ ก่อนที่คนเราจะหลับต้องนอนบนเตียงหลับตาสักพักแล้วจึงหลับ แล้วตอนที่หลับตาเราก็จะคิดถึงเรื่องต่างๆ พุ่งนี้ เมื่อวาน ไปเรื่อยเปื่อยจนหลับ เราก็ใช้จุดตรงนี้ทำสมาธิแทน เพราะก่อนหลับคงไม่รู้สึกปวดหัวใช่มั้ยคับ ก็หยุดคิดเรื่องต่างๆ หายใจเข้าออกแรงๆ3 ครั้ง จากนั้นก็หายใจเข้า พุธ หายใจออกโธ ทำไปสักพักถ้ารู้สึกปวดหัวก็ ไปคิดเรื่องปกติเหมือนตอนก่อนจะหลับที่ไม่รู้สึกปวดหัว จากนั้นก็พุธโธต่อ ถ้าไม่ไหวก็หลับ ฝึกอย่างงี้เรื่อยๆ
    เวลาพุธโธ คิดอย่างเดียวหายใจเข้าออก อย่าไปคิดเรื่องอื่น ถ้าหลุดก็กลับเข้ามาใหม่ ทำใหม่ๆจะรู้สึกเหนื่อย ผมก็เป็น นานคับกว่าจะคล่อง เราก็ทำแบบนี้สับไปสับมา จนร่างกายไม่รู้สึกปวด
    สุดท้ายเราก็ได้เอง
     
  18. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ขออธิบายอย่างนี้ครับ สมมติว่าเรานั่งภาวนาสัก 1 ช.ม. ในระหว่างนี้จิตของเราสามารถเดินเข้าสู่สมาธิในระดับต่างๆ ได้ตามกำลังของสติและสมาธิในแต่ละขณะ(เข้าๆออกๆ) อาจเข้าถึงฌาน 1 ฌาน 2 แต่ทรงตัวอยู่ในสมาธิระดับนั้นไม่ได้ ปรากฏความรู้สึกเหมือนเคลิ้มหลับไป(กึ่งรู้สึกตัว)หรือหลับไปเลย(หลับใน) เนื่องจากกำลังของสติเราไม่พอ การทดสอบกำลังของฌาน 1 ผมได้แนะนำไว้แล้วลองดูซิครับ


    การฝึกจิตหรือฝึกสมาธิให้บังเกิดผลนั้น สิ่งสำคัญคือเครื่องมือที่ใช้ในการฝึก ในที่นี้ก็คือ สติและสัมปชัญญะ สติคือการระลึกรู้(กำหนดรู้) สัมปชัญญะคือความรู้สึกตัว(ครอบคลุมสติอีกทีหนึ่ง) แต่เรามักกล่าวสั้นๆ ว่าสติ ถ้าสติมีกำลังมากพอแล้วการฝึกฌานหรือสมาธิจะเป็นเรื่องไม่ยากเลย เพราะทั้งฌานและสมาธิเป็นผลที่เกิดขึ้นจากอำนาจของสติในการควบคุมและรักษาจิตให้เกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ของกรรมฐาน ผลย่อมเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุดีผลย่อมดี เมื่อเหตุถูกต้องผลย่อมถูกต้อง เมื่อเหตุถึงพร้อมผลย่อมเกิด แต่นักปฏิบัติมักจะมุ่งเอาที่ผลมากกว่ามุ่งกระทำที่เหตุ


    ถ้าสนใจเรื่องฌาน ผมแนะนำให้อ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ คู่มือปฏิบัติกรรมฐาน(หน้าปกสีเขียวๆ) เป็นหนังสือเล่มแรกที่ผมอ่านและทำให้ผมเกิดความสนใจในการปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อท่านอธิบายเกี่ยวกับฌานอย่างละเอียด อ่านเข้าใจง่าย ในเว็ปพลังจิตนี้ก็มีครับ


    ณาน4ละเอียดที่เขาว่ากัน คือการที่จิต ออกจากกายแล้ว หรือยังไม่ออก จิตไม่ได้ออกจากกายไปไหนและจะบอกว่าจิตอยู่ในกายก็ไม่ใช่อีก จิตนั้นเหมือนอยู่ในกายแต่ไม่ได้อยู่ในกาย ที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นการเล่นสำนวนนะครับ จิตนั้นอยู่ในภพของจิตเอง และเชื่อมต่อการรับรู้กายเนื้อผ่านกายวิญญาณ(กายทิพย์) อธิบายให้เข้าใจได้ยากสักหน่อย ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติใหม่อย่าพึ่งสนใจตรงนี้เลยครับ เมื่อปฏิบัติถึงระดับหนึ่งจะเข้าใจเอง ส่วนฌาน 4 ละเอียดนั้น ที่บอกว่าจิตแยกจากกาย(อย่างเด็ดขาด)นั้น เป็นการแยกจากการรับรู้ทางกายคือไม่รับรู้ความรู้สึกทางกายครับ ถ้ายังไม่ชำนาญเมื่อเข้าถึงฌาน 4 แล้วจิตมันจะทรงอยู่จนกระทั่งหมดกำลังแล้วจะถอนออกมาเอง ถ้าชำนาญแล้วจะอธิฐานเข้าออกได้ตามเวลาที่เรากำหนดครับ และคำว่าทรงฌานนี้หมายถึงการทรงอารมณ์อยู่ในฌานแต่ละระดับครับ

    เวลานั่งแล้วมันหายใจไม่ออกจะตาย มีอะไรมาบีบที่หัวเข้ามาในหูก็เจ็บ เข้าใจว่าเป็นสภาวะแทรกซ้อนจากภายนอก(อธิบายยากอีกแล้วครับ) เวลานั่งสมาธิจะรู้สึกแน่นอึดอัดที่หน้าอกหายใจลำบากเหมือนมีของหนักๆ มาทับไว้ ส่วนที่หัวที่ขมับเหมือนมีอะไรบางอย่างมาบีบรัด รู้สึกหนึบๆ หนับๆ อะไรทำนองนี้ ให้ฝึกภาวนาบ่อยๆ โดยพยายามฝึกกำหนดลมหายใจให้แผ่วเบาลง(ไม่ต้องไปสนใจอาการต่างๆ) เมื่อจิตละเอียดขึ้นอาการที่ว่านี้จะรู้สึกเบาลงครับ ไม่เป็นอะไรหรอกครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ ในเวลาปกติ(หรือเข้าไปในบางสถานที่เช่นวัด)เคยรู้สึกหนักหัว มึนๆ หรือหนักบริเวณท้ายทอย หรือรู้สึกขนลุกวูบๆ วาบๆ บ้างไหมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2007
  19. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    เคยคับ แบบว่าบางครั้งก็ร้องไห้เลย แบบว่าห้ามตัวเองไม่ได้...
     
  20. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    คุณ kurochang ครับ แสดงว่าอาการของคุณนี้น่าจะเป็นสภาวะแทรกซ้อนจากภายนอกจริงๆ หรือพูดให้ตรงก็คือมีจิตวิญญานอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นได้หลายอย่างหลายวัตถุประสงค์ อาจเป็นดวงวิญญานของญาติพี่น้องคนรู้จัก หรือคนที่เคยเกี่ยวข้องกันมาแต่เก่าก่อน(บุพกรรม) เจ้ากรรมนายเวร เทพ พรหม ฤาษี หรือครูบาอาจารย์ที่ละอัตภาพร่างกายไปแล้ว เรื่องนี้ผมขอให้ใช้วิจารณานให้มาก อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่ผมหรือใครก็ตามบอกว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ จนกว่าจะรู้ด้วยตัวของคุณเอง(นอกเสียจากว่ามีครูบาอาจารย์ที่คุณนับถืออย่างสนิทใจเป็นผู้ให้คำแนะนำ)

    แล้วควรทำอย่างไรล่ะ ? เนื่องจากคุณเล่ารายละเอียดมาน้อย ตรงนี้ผมคงได้แต่แนะนำให้หมั่นภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้แก่จิตวิญญานนั้น(เข้าใจว่ามีมากกว่าหนึ่ง) วิธีนี้ใช้ได้ผลในทุกกรณีและไม่มีผลเสียแต่อย่างใด แล้วหมั่นสังเกตุอาการทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของตนเอง(เพื่อทำความเข้าใจและเป็นการเจริญสติไปด้วย) อย่างที่คุณบอกมาว่าบางครั้งก็ร้องไห้เลยโดยที่ห้ามตัวเองไม่ได้นั้น จิตคุณรู้สึกอย่างไร เศร้าเสียใจ รู้สึกถึงความทุกข์บางอย่าง หรือไม่รู้สึกอะไรเลย เป็นต้น

    การแผ่เมตตาสามารถทำได้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน(เหมือนการอุทิศบุญ) และทำเมื่อนั่งสมาธิ โดยให้แผ่เมตตาทั้งตอนเริ่มนั่งและหลังออกจากสมาธิครับ

    ไม่จำเป็นต้องกลัวหรือวิตกกังวลกับอาการเหล่านี้แต่อย่างใด เมื่อฝึกสมาธิจนจิตมีกำลังและความละเอียดมากขึ้นก็จะทำให้รู้และเข้าใจสิ่งนี้ได้ด้วยตัวเองครับ

    เป็นกำลังใจให้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...