อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี(ตถาคต)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 24 สิงหาคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [​IMG]
    [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี
    อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี


    ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ
    อุเบกขา ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
    นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ

    ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ
    อุเบกขาที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ
    อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย
    คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ
    คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้
    ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย
    คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ
    คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้
    ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้


    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น
    พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้
    นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้กล่าวแล้ว ฯ


    [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่ พระอริยะเสพ
    ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ฯ


    [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล
    อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า

    นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
    นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ

    เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
    และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
    ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม
    และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑
    ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน หมู่ ฯ


    [๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
    แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า

    นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
    นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
    เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
    และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

    บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
    ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชมไม่เสวยความชื่นชม
    ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม
    เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว
    เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒
    ที่พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ


    [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
    แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า

    นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ
    นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
    เหล่าสาวกของศาสดานั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้
    ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น
    ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง
    ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓
    ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ
    ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๓๐๗/๔๑๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. chotipala

    chotipala Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +89
    พระพุทธเจ้า....เรา.....สุดยอด
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๖๓๗]
    ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
    นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึกอันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ
    ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้

    ม้าที่ ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกันคือ
    ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้

    โคที่ควรฝึก อันอาจารย์ ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ
    ทิศตะวันออก หรือทิศ ตะวันตก หรือทิศเหนือหรือทิศใต้

    แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง๘ ทิศ คือ

    ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้นี้ทิศที่ ๑

    ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒

    ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓

    ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้
    เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔

    ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
    เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕

    ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง
    เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖

    ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่
    เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗

    ย่อมเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธอยู่
    เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก บุรุษที่ควรฝึก
    ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
    _______________
     

แชร์หน้านี้

Loading...