สนทนาธรรม นิมิตกรรม รู้ชะตาอดีต เปลี่ยนปัจจุบัน ชีวิตพลิกผันสู่ความเจริญ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย บุญธริย์ฎา, 12 กันยายน 2013.

  1. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    19 ก.ย.2556 วันพระ ขึ้น15ค่ำ เดือน10 [ไหว้พระจันทร์]

    วันนี้เป็นวันพระ ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา
    1.สมาทานศีล
    2.ขอขมาพระรัตนตรัย
    3.สวดมนต์
    4.สมาธิ ภาวนา
    5.แผ่เมตตาอุทิศบุญ
    6.อธิษฐานจิต
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่สร้างกุศล นะค่ะ
     
  2. 9monsiri

    9monsiri สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +12
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ 9monsiri อ่านข้อความ
    สวัสดีค่ะ เกิด 1 พ.ย. 2509 เวลา 12.15 เที่ยงวันค่ะ อยากทราบเรื่องงานค่ะ จะหางานใหม่ทำจะหาได้ไหมค่ะ และเมื่อไหร่ค่ะ ขอบคุณค่ะ
    ขอบคุณนะค่ะ แต่ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่นะค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  3. Parichatpl

    Parichatpl สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
    เกิดวัน พฤ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2531 เวลา 00.17
    อยากทราบเกี่ยวกับการเรียนจะผ่านไปด้วยดีมั้ย ขอบพระคุณมากคะ
     
  4. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    ธรรมะก่อนนิทรา

    ตำนานพระคาถาอุณหิสสะวิชะยะ

                        สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จขึ้นไปจำพรรษาโปรดพุทธมารดาตลอด ๓ เดือน ในดาวดึงส์เทวโลก ประทับบนพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้ต้นปาริฉัตร อันเป็นที่ประทับนั่งของสมเด็จอมรินทราธิราช จอมเทพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทรงแสดงเทศนาสัตตปากรณ์ คือ พระอภิธรรมเจ็ดคำภีร์ แก่ทวยเทพเทวดา มีพระสิริมหามายาเทพธิดา พุทธมารดา เป็นประธาน             ครั้งนั้น มีเทพบุตรตนหนึ่งนามว่า “สุปติฏฐิตะ” เทพบุตรตนนี้ได้เสวยทิพยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แวดล้อมด้วยนางฟ้ามากมายเป็นบริวาร นางฟ้าเทพอัปสรเหล่านั้น บำรุง บำเรอ ขับร้อง ทำเพลงกล่อม สุปติฏฐิตะเทพบุตร เป็นนิจกาล

                            ถามว่า เทพบุตรตนนี้ ทำอะไรไว้ จึงได้เกิดเป็นเทพบุตร?

                      ตอบว่า ในครั้งก่อนเมื่อเป็นมนุษย์ในชาติสุดท้าย เทพองค์นี้ได้บริจาคทานอันเป็นวัตถุต่างๆ แก่ผู้มีพระคุณ และสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เมื่ออาสันนะจิตใกล้มรณกรรมได้ระลึกถึง กุศลผลทานที่ได้ทำ ครั้นสิ้นชีวิตจึงได้อุบัติเป็นเทพบุตรเสวยสวรรค์สมบัติ มาช้านาน

                     ธรรมดาไม่ว่าเทวดา หรือมนุษย์ ที่มีความเป็นอยู่สบาย มักหลงละเลิงลืมแก่ ลืมตาย    ไม่คิดถึงอนิจจังของสังขาร สุปติฏฐิตะเทพบุตรตนนี้ก็เช่นกัน หารู้ไม่ว่า ในอีก ๗ วันจะถึงอายุขัย คือ จะจุติ (ตาย) จากเทวดึงส์เทวสถาน

                    มีเทพบุตรตนหนึ่งนามว่า “อากาสจารี” เทพบุตรตนนี้หยั่งรู้ซึ่งสังขาร แห่งเทพยดาทั้งหลาย คือ รู้ว่าเทพยดาตนใดจะสิ้นอายุขัย หรือจุติ ครั้งนั้นอากาสจารีเทพบุตร เห็นสุปติฏฐิตะ หลงมัวเมา อยู่ในทิพยสมบัติ โดยไม่ทราบว่า ตัวจะจุติภายใน ๗ วันพลัดพรากจากสวรรค์สมบัติ และนางอัปสรแสนสวย ด้วยความรักเพื่อน จึงไปสู่วิมานของสุปติฏฐิตะเทพบุตร และบอกความนั้นตลอดบอกว่า เมื่อจุติจากสวรรค์แล้ว จะไปบังเกิดในอเวจีมหานรกถึงหมื่นปี พ้นจากอเวจีมหานรกแล้ว จะไปบังเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คือ เป็นรุ้ง เป็นแร้ง เป็นเต่า เป็นปู เป็นหมู เป็นหมา เป็นเป็ด เป็นไก่ เป็นวัว เป็นควาย เป็นแพะ ครั้นพ้นจากกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว จะไปเกิดเป็นตนแต่ไม่เหมือนคนทั้งปวง จะวิปริตผิดมนุษย์ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา เช่นหูหนวก-ตาบอดเป็นต้น

                 สุปติฏฐิตะเทพบุตร ไดฟังอากาสจารีเทพบุตรบอกกล่าวดังนั้นแล้ว ก็ตระหนกตกใจกลัวเป็นอย่างยิ่ง ประดุจมฤชาติ เห็นพยัคฆ์อยู่ตรงหน้า มีกายสั่นไหวทุรนทุรายด้วยมรณภัย จึงคิดว่า “ใครหนอจะเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า” และบัดนี้บุพนิมิตแห่งการจุติ ๕ ประการ ของเทพยดาก็ปรากฎแล้วคือ

    ๑. ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับองค์เหี่ยวแห้งโรยรา

    ๒. ผ้านุ่งผ้าห่มเศร้าหมอง

    ๓. เหงื่อไคลไหลชโลมกาย

    ๔. ที่นั่งที่นอนร้อนยิ่งนัก

    ๕. ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรมคร่ำคร่า

                  สุปติฏฐิตะเทพบุตร มีจิตสับสนตึงเครียดระส่ำระส่าย จึงคลาไคลไปสู่สำนักสมเด็จอมรินทราธิราช จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ และขอพระราชทานให้ช่วยเหลืออย่าได้ตกอเวจีมหานรกเป็นต้น สักโก ตัง สุตฺวา เอวมาหะ สมเด็จอมรินทราธิราช(ท้าวสักกะหรือพระอินทร์) ได้สดับถ้อยคำของสุปติฏฐิตะเทพบุตรจนตลอดแล้ว ตรัสว่า “ดูกรท่านผู้มีเกียรติ เรานี้แม้เป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นนี้ เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์โลกก็จริงแล แต่จะห้ามกันผลแห่งบาปกรรม ความชั่วช้าสามานย์ ของมนุษย์ เทวดาไม่ให้ตกนรก ไม่ให้เป็นเปรต และสัตว์เดรัจฉานหาได้ไม่ ยกเว้นแต่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระเมตตา มหากรุณาธิคุณ แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรสุปติฏฐิตะเทพบุตร ท่านจงไปจัดแจงแต่งเครื่องสักการะบูชา ธูปเทียนดอกไม้ของหอม ให้เหมาะสม เราจะพาท่านไปเฝ้า พระบรมศาสดา ผู้มหากรุณาธิคุณ ซึ่งประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้ต้นปาริฉัตร ที่ว่าราชการของเรา แล้วกราบทูลมูลเหตุแด่พระองค์ เห็นว่าน่าจะได้เป็นที่พึ่ง อันประเสริฐ”

                  เมื่อสมเด็จอมรินทราธิราช นำพาสุปติฏฐิตะเทพบุตร เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเฉพาะพระพักตร์ และกราบทูลความดังกล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้แจงแสดงถึงบุพกรรมอันเป็นบาปอกุศล ของสุปติฏฐิตะเทพบุตร      ว่าได้ทำบาปกรรมอะไรไว้ในปางก่อนจึงต้องจุติจากสวรรค์ แล้วตกลงนรกเป็นต้น

                  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้สดับเทวบัญชาของสมเด็จอมรินทราธิราช ทูลอาราธนา จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา แสดงบุพกรรมของสุปติฏฐิตะเทพบุตรดังนี้

                           ๑. เทพบุตรตนนี้ในกาลอันไกล ได้เกิดเป็นคน ประกอบอาชีพเป็นพรานล่าเนื้อ ตั้งหน้าฆ่าสัตว์ ไม่เลือกชนิด มาเลี้ยงชีวิตครอบครัว ทำลายสัตว์ไร้ความปราณี ผลบาปกรรมนี้แหละจะซัดส่งจากสวรรค์ให้ลงไปทนทุกขเวทนาสาหัสในอเวจีมหานรก สิ้นกาลประมาณหมื่นปี พ้นจากอเวจีมหานรกแล้ว จะเกิดเป็นรุ้ง เป็นแร้ง หมักหมมด้วยคาวเลือด และน้ำเน่าจากศพสัตว์

                     ๒. สุปติฏฐิตะเทพบุตรตนนี้ เมื่อพ้นจากชีวิตรุ้ง แร้งแล้ว จะเกิดเป็นเต่า เป็นปูนั้น เพราะชาติก่อน เกิดเป็นมนุษย์ ทำบาปเลี้ยงชีพด้วยแสวงหาไข่เต่ามาขายเลี้ยงชีพ ผลกรรมนี้ต้องชดใช้

                        ๓. ข้อที่ว่า สุปติฏฐิตะเทพบุตร จะไปเกิดเป็นหมูนั้นเพราะแต่ปางก่อนเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก แต่เต็มไปด้วยความตระหนี่ครอบง่ำในสันดานไม่ทำบุญสุนทรทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้าอนาถา ถ้าพระภิกษุมายืนบาตร ถึงหน้าบ้านเรือน ข้าวสุกสักหนึ่งทัพพี ก็ไม่ได้ตักบาตร ซ้ำบางที่ก็บริภาสด่าทอผู้ทรงศีลโดยอาการต่างๆ ซ้ำร้ายยังโกงภาษีที่พึงเสียแก่รัฐบาล เป็นคนเห็นแก่ตัวจัด ด้วยอกุศลกรรมนี้ จึงทำให้เกิดเป็นหมู อยู่ในที่สกปรกให้เขาฆ่า และมีอายุสั้นชาติแล้วชาติเล่า

                  ๔. พ้นจากกำเนิดหมูแล้ว ไปเกิดเป็นหมา ด้วยเทพบุตรตนนี้ ครั้งเป็นมนุษย์ เมื่อหลายหมื่นปีก่อน เป็นคนอันธพาลสันดานหยาบ ลักเล็กขโมยใหญ่ งัดแงะนิสัยกระด้างขัดแข็ง เบียดเบียนสัตว์ติฉินนินทาว่าร้าย สมณชีพราหมณ์ผู้ทรงศีล อิจฉาริษยายุยงส่อเสียดเพื่อนบ้านให้แตกสามัคคี ไม่เคารพยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ลบหลู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยบาปอกุศลกรรมนี้ จึงต้องไปบังเกิดเป็นหมาห้าร้อยชาติ

                          ๕. ครั้นพ้นจากชาติหมาแล้ว เทพบุตรตนนี้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์เข็ญใจ แต่มีศรัทธา เที่ยวชักชวนชาวบ้านให้ไปฟังธรรมครั้นพระขึ้นธรรมาสน์กำลังแสดงธรรมชายผู้นี้หาฟังธรรมโดยความเคารพไม่กลับชักชวน คนอื่นสนทนา ด้วยเรื่องต่างๆเสียงดังลั่นกลบเสียงที่แสดงธรรม ด้วยผลแห่งอกุศลกรรมนี้ จึงส่งให้เทพบุตรตนนี้ต้องเกิดเป็นคนหูหนวก ๒ ชาติ

                     ๖. ครั้นเมื่อพ้นจากคนหูหนวกแล้ว ก็ไปบังเกิดเป็นคนตาบอดอีกหนึ่งชาติด้วย เหตุว่า เทพบุตรตนนี้เมื่อเป็นมนุษย์ในกาลก่อน เป็นคนมีฐานะทางเศรษกิจดีแต่เป็นคนลืมตน ชอบดูถูกดูหมิ่น คนที่มีทรัพย์น้อยกว่าตน ขาดความเคารพ ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เห็นสมณชีพราหมณ์ ยาจกเข็ญใจ เหมือนไม่ใช่คน เช่นเมื่อพระไปบิณฑบาตรหน้าเรือนตน ก็กระทำเหมือนไม่เห็น จะให้ก็ไม่พูด จะไม่ให้ก็ไม่พูด เมินเฉยเสีย ด้วยอกุศลกรรมนี้ สุปติฏฐิตะเทพบุตร ต้องชดใช้หนี้กรรม เป็นคนตาบอดอีกหนึ่งชาติ

                   ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเทศนาบุพกรรมเก่าของสุปติฏฐิตะเทพบุตรจบลง ท้าวมัฆวาน         อมรินทราธิราช จึงกราบทูลถามสิ่งอันพอเป็นที่พึ่ง แก่สุปติฏฐิตะเทพบุตรมีหรือไม่

                   สมเด็จพระบรมศาสดา จึงตรัสพระคาถา “อุณหิสสวิชัย”ให้ทวยเทพผู้ประสงค์จะเจริญอายุ และด้วยพระคาถานี้ ที่สุปติฏฐิตะเทพบุตรได้สดับ และปฏิบัติตน ทั้งที่รู้ว่า ๗ วันจะจุติ ก็สามารถมีชนมายุยืนอยู่ในสวรรค์ ได้อีกหนึ่งพุทธันดร

                   ท่านสาธุชนทั้งหลาย ฟังแล้ว จงทำอุตสาหะ จดจำ ท่องบ่นสาธยายกันเถิด จะทำให้เกิดมีอายุวัฒนาถาวร ต้องไม่ถึงแก่ความตายด้วยอกาลมรณะ คือ ยังไม่ถึงตายในเวลาอันไม่สมควร

    อุณหิสสะวิชะยะคาถา (ท่องนะโม 3 จบ)

    อัตถิ อุณะหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร สัพพะสัตตะหิตัตถายะ ตัง ตะวัง คัณหาหิ เทวะเต ปะริวัชเช  ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะวา สัพพัสะมา มะระณา มุตโต ฐะเปตะวา กาละมาริตัง ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร ตัสเสวะ อานุภา    เวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนัง คะรุง ปะเรสัง เทสะนัง สุตะวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะ ตีติคำแปล พระคาถาอุณหิสสวิชัย มีดังนี้

                    “อันว่าธรรมะ ที่จะห้ามกันมรณะภัยทั้งหลาย ชื่อว่าอุณหิสสวิชัยประเสริฐยิ่งนัก มีอยู่เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สรรพสัตว์. ดูกร ท่านสุปติฏฐิตะเทพบุตร และเทวดาทั้งหลายบรรดาที่ประชุมในที่นี้ ท่านจงเล่าเรียน จดจำ สาธยาย และกระทำตามพระธรรมที่ชื่อว่า อุณหิสสวิชัย ซึ่งอาจห้ามกันเสียซึ่งอกาลมรณะ ทั้งอาจล่วงพ้นจาก อาชญาของบ้านเมือง มนุษย์ อมนุษย์ ไม่อาจปองประทุษร้ายได้ ไฟปกติ ไฟฟ้าก็ไม่อาจเผาพลาญได้ ช้าง เสือ สัตว์ทั้งหลายอื่นที่มีพิษ ไม่ว่างูเล็ก งูใหญ่ ตะขาบ แมงป่อง แมลงพิษทั้งหลาย ก็ไม่อาจทำอันตรายจะไม่ตายเมื่อไม่ถึงเวลา ย่อมพ้นจากมรณกรรมทั้งปวง ยกเว้น กาลมรณะ คือ ถึงเวลา กายทรุดโทรมแก่สิ้นไป ตามไตรลักษณ์ ด้วยอานุภาพแห่ง พระอุณหิสสวิชัยนี้ขอให้ สุปติฏฐิตะเทพบุตร และทวยเทพทั้งหลาย จงมีความสุขทุกเมื่อ จงสมาทานศีลให้บริสุทธิ์ แล้วประพฤติธรรมให้สุจริต คือ มีกาย วาจา ใจ หรือ กายกรรม๓ วจีกรรม๔ มโนกรรม๓ ให้สุจริตไม่ผิดธรรม ด้วยผลสมาทานศีล ประพฤติธรรม ขอความสุขจงมีแก่ท่านทั้งหลายในทุกกาลทุกเมื่อ อนึ่งพระอุณหิสสวิชัย ผู้ใดเขียนไว้ก็ดี นึกอยู่ในใจก็ดี ทำสักการะบูชาก็ดี ท่องบ่นทรงจำไว้ก็ดี หรือได้สวดภาวนาเช้า-ค่ำก็ดี หรือได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนาอันผู้อื่นสำแดงก็ดี ล้วนล้วนสามารถคุ้มครองป้องกัน อกาลมรณะ ไม่ต้องตายในวัยเด็ก วัยหนุ่ม วัยสาว และมีอายุยืนยาวถึงแก่เฒ่า มีสติไม่หลงตาย.
     
  5. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    เทวภูมิ 6 -1.จาตุมหาราชิกา

    เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖) แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์

    ๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง

    จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์

    ๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช         เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา  ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก

    ๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช          เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้

    ๓. ท้าววิรูปักษ์            มหาราช          เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก

    ๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช    เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ

         (ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ)

          ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔

          พระเจ้าพิมพิสาร เอง แม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้

          ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช

     

    เทวดาที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของ ท้าวจาตุมหาราช

    ๑. ปัพพตัฏฐเทวดา                  เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่

    ๒. อากาสัฏฐเทวดา                 เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ

    ๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา          เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย

    ๔. มโนปโทสิเทวดา                เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ

    ๕. สีตวลาหกเทวดา                เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น

    ๖. อุณหวลาหกเทวดา             เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น

    ๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา         เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์

    ๘. สุริยเทวปุตตเทวดา             เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์

     

    ยักษิณี              นางยักษ์

    ยักษ์                 มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึง อมนุษย์ พวกหนึ่ง เป็นบริวารของ ท้าวกุเวรตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัง มีเขี้ยวโง้ง ชอบกินมนุษย์กิสัตว์ โดยมามีฤทธิ์ เหาะได้ จำแลงตัวได้

    เทวดา              หมู่ เทพ ชาว สวรรค์ เป็นคำรามเรียกชาว สวรรค์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง

     

    เทวดาตามที่อยู่อาศัย

    ๑. ภุมมัฎฐเทวดา         เทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน บ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ถือว่าที่นั้น ๆ เป็นวิมานของตน

    ๒. รุกขเทวดา              เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ

                                        ๒.๑ มีวิมานอยู่บนต้นไม้ ถ้าอยู่บนยอดต้นไม้              เรียก รุกขวิมาน

                                                                                ถ้าอยู่บนสาขาของต้นไม้     เรียกสาขัฏฐวิมาน

                                        ๒.๒ อยู่บนต้นไม้แต่ไม่มี วิมาน (ที่อยู่ของเทวดา)

    ๓. อากาสัฏฐเทวดา     เทวดาที่มีวิมานอยู่ในอากาศ

         ในธรรมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถา แสดงเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา มี 2 จำพวก โดยจัด

          รุกขะเทวดา อยู่ในจำพวก ภุมมัฎฐะเทวดา เทพารักษ์ เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

     

    เทวดาที่มีใจโหดร้าย

    ๑. คันธัพโพ คันธัพพี  ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ               ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ที่เรียกว่า นางไม้   หรือแม่ย่านาง

                                                  หรือ คนธรรพ       ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่นทำให้เกิดเจ็บป่วย หรือ

                                                   หรือ คนธรรพ์      ทำ อันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่นำไม้นั้นมาใช้สอย อยู่ในความ

                                                                               ปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพะเทวดา นี้สิงอยู่ในไม้นั้นตลอดไป  

                                                                               แม้ใครจะตัดไปใช้สอยอย่างใด ๆผิดกับ รุกขเทวดา ที่อาศัยอยู่ตามต้น

                                                                              ไม้ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นนั้นไปต้นอื่น

    ๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี   ได้แก่ เทวดาภุมภัณฑ์                         ที่เรียกกันว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติต่าง ๆเช่นแก้วมณี   

                                                                                        และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีพวกล่วงล้ำ ก็ให้โทษต่าง ๆอยู่ใน

                                                                                        ความปกครองของ ท้าววิรุฬหกะ

    ๓. นาโค นาคี               ได้แก่ เทวดานาค         ได้แก่เทวดานาค  มีวิชาเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องในโลกมนุษย์ บาง

                                                                            ทีก็เนรมิตเป็นคนสัตว์ต่าง ๆ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก อยู่ในความ

                                                                            ปกครองของ ท้าววิรูปักขะ

    ๔. ยักโข ยักขนี            ได้แก่ เทวดายักษ์        พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าวเวสสุวรรณ

     

    อาการเกิดของเทวดา   ถ้าได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากกพอ ก็ไปเกิดในวิมานของตนเองพร้อมกับมีบริวาร ไม่ต้องเป็น

                                        บุตรธิดาหรือเทวดารับใช้ของผู้ใด

                                        กล่าวไว้ในอรรถกถาบางแห่งเป็นพิเศษ          เทวบุตร คือ บุรุษ ที่เกิดบนตักของเทวดา

                                                                                                                เทวธิดา คือ สตรี ที่เกิดบนตักของเทวดา

                                                                เทวดาสตรี      
     ถ้าเกิด ในที่นอน  จัดเป็นปริจาริกา (นางบำเรอ)

                             ถ้าเกิด ข้างที่นอน จัดเป็น พนักงานเครื่องสำอาง

                                                      ถ้าเกิด กลางวิมาน จัดเป็น คนใช้
     
  6. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    2.ดาวดึงส์

    ๒ ดาวดึงส์ (สรรค์ชั้นที่ ๒)     

               แดนแห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ ท้าวสักกะ หรือที่เรียกว่า พระอินทร์ เป็นใหญ่สุด เมื่อพระอินทร์องค์หนึ่งสิ้นบุญ จุติ ไป ก็มีพระอินทร์อีกองค์หนึ่งเกิดสืบแทนกันไป ดาวดึงส์ เป็นคำบาลีแปลว่า ๓๓ บางทีก็เรียก ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ๓๓ เหมือนกัน

     

                ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากกุศลธรรมในอดีต บริโภคอาหารอันละเอียดสุขุม ชนิดที่เป็น สุธาโภชน์ (ผู้บริโภคอาหารทิพย์) อารมณ์ที่ได้รับจึงล้วนมีแต่ อิฏฐรมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และไม่มีความเจ็บป่วย ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้ชาย มีความเป็นหนุ่มอยู่ในวัย ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงมีความเป็นสาวอยู่ในวัย ๑๖ ปี สวยงามตลอดไปจนตาย มิได้มีความชรา เทวดาผู้หญิงไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ เว้นแต่ ภุมมัฏฐเทวดา บางองค์ที่ยังมีประจำเดือน และครรภ์เหมือนมนุษย์ความเป็นอยู่ของเทวดาในเทวโลกนี้ เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์โลก มีการไปมาหาสู่กันและเบียดเบียนกัน มีความรักใคร่ ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน สมบัติของเทวดาเหล่านั้น มีความยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งบริวาร วิมานและ อิฎฐรมณ์ ต่าง ๆ สุดแต่กรรทที่ตนได้กระทำไว้

     

            โกสิยเทวราช คือ พระอินทร์  เรียก ท้าวโกสีย์ บ้าง ท้าวสักกเทวราช บ้าง

                เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์ มี ๒ พวก

                            ๑. ภุมมัฏฐเทวดา         ได้แก่ พระอินทร์ และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร เทวอสุรา

                                                                           ๕ จำพวก

                            ๒. อากาสัฏฐเทวดา     ได้แก่ พวกเทวดาที่อยู่ในวิมานลอยไปกลางอากาศ

     

                            เทพ     เทพเจ้า             เทวดา

     

    เทพ ๓

    ๑. สมมติเทพ               เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร

    ๒. อุปปัตติเทพ            เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาใน กามาวจรสวรรค์ และ พรหม ทั้งหลาย เป็นต้น

    ๓. วิสุทธิเทพ               เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ทั้งหลาย

         สุขาวดี             แดนที่มีความสุข เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน
     
  7. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    3.ยามา

    ๓. ยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓)

                แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี ท้าวสุยามเทพบุตร ปกครอง ตั้งแต่ภูมิยามานี้ขึ้นไปตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดา ภุมมัฏฐเทวดา อาศัยอยู่ มีแต่พวก อากาสัฏฐเทวดา พวกเดียว ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากเป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ที่อยู่ของพวกที่รักษา อุโบสถในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มากแต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ เทพชั้นยามยามาไม่ปรากฏว่าได้ลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์
     
  8. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    4.ดุสิต

    ๔. ดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔)

                แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี ท้าวดุสิตเทวราช ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา เป็น ภพ สุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดและตรัสรู้ในมนุษย์โลก

                ทิพย์     เป็นของเทวดา             วิเศษ    เลิศกว่าของมนุษย์
     
  9. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    5.นิมมานรดี

    ๕. นิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕)

                แดนแก่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มีท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช ปกครองเทวดาชันนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว  กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป

     

                พระพุทธเจ้าตรัสว่า

                กัมมัง เขตตัง               กรรม               เป็นเหมือนนา

                วิญญาณัง พีชัง                        วิญญาณ          เป็นเหมือนพืชที่หว่านลงในนา

                ตัณหา สิเนโห              ตัณหา              เหมือนยางเหนียวมีอยู่ในพืช อันจะทำให้พืชนั้นปลูกงอกงามขึ้นได้

                                เพราะฉะนั้น เมื่อยังมี กรรม วิญญาณ และ ตัณหา อยู่ ก็ยังจะต้องไปเกิด

                                        ในภพต่าง ๆ คือหมายความว่า ยังมีอวิชชา เป็นเครื่องกั้นอยู่ ยังมี ตัณหา

                                         เป็น สังโยชน์ คือเครื่องผูกอยู่
     
  10. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    6.ปรนิมมิตวสวัตตี

    ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖)  

    แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่น นิรมิต (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้

    มีเทพเป็นราชาผู้ปกครองอยู่ ๒ ฝ่าย

    ฝ่าย เทพยดา    ปรนิมมิตรสวัตตีเทวราช ปกครองเทพไม่เป็นมาร

    ฝ่าย มาร (๒)    ปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช (ชื่อเหมือนกัน)

                            หรือ พญามาราธิราช หรือ วสวัตตีมาร ปกครองเทพที่เป็นมาร

    ฝ่ายมาร(๒) หรือเทวปุตตมาร

    เป็น มิจฉาทิฎฐฺ เทวดา ที่ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา มารนี้มีความกลัวเป็นข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งว่าตนจะสิ้นอำนาจครอบครองโลกไม่ประสงค์ให้ใครทั้งนั้นบรรลุ มรรค ผล นิพพานเพราะเมื่อผู้ใดพ้นโลก หมายถึงว่ามีจิตใจพ้นกิเลสดังกล่าว ผู้นั้นก็พ้นอำนาจของมารทั้งยังเป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ เมื่อวันที่ พระพุทธองค์ เสด็จอออกบวช พญามารตนนี้ได้มาปรากฏตัว ยกมือห้ามว่าอย่าออกบวชเลย อีกไม่นานเท่าไรท่านก็จะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงขับไล่ออกไป เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ก็มากระซิบบอกว่า บัดนี้พระองค์ก็บรรลุสัมโพธิญาณดังหวังแล้ว ปรินิพพาน เถอะพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะไม่ ปรินิพพาน จนกว่า พรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมอันประเสริฐ) ของพระองค์จะแพร่หลายมั่นคง ครั้นเมื่อเงื่อนไขทุกอย่างพร้อมแล้ว พญามารจึงเข้ามากราบทูลให้ ปรินิพพาน เท่ากับทวงสัญญาว่าบัดนี้ถึงเวลาที่พระองค์จะปรินิพพานแล้วพระพุทธองค์จึงทรง ปลงอายุสังขาร

     

    พญามาราธิราช จะต้องทำบุญไว้มาก ไม่เช่นนั้นก็จะไม่บังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงนี้ได้ภายหลังละมิจฉาทิฏฐิ และกลับมาเลื่อมใสในพุทธศาสนา

     

    เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นที่รับใช้เนรมิตให้ตามต้องการ เป็นภูมิที่มีความสุขและเพลิดเพลินมากเทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ไม่มีคู่ครองเป็นประจำโดยเฉพาะตน เป็นที่อยู่ของพวกที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นไว้มาก

     

    ปลงอายุสังขาร                        ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ ตกลงพระทัยว่าจะ ปรินิพพาน

    ปลงสังขาร                  ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

    ทุกรกิริยา                     การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่นกลั้นลม อัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ(ลมหายใจออก) และอดอาหาร เป็นต้น เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

                                       

                                        เทวภูมิ หรือ ฉกามาพจรสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้นยังเกี่ยวข้องกับ กามคุณ

    เทวภูมิ ๖ (ฉกามาพจรสวรรค์ ๖)

    ๑. จาตุมหาราชิกา        มีเหมือนมนุษย์

    ๒. ดาวดึงส์                 มีเหมือนมนุษย์

    ๓. ยามา                       มีแต่ กายสังสัคคะ (กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย การเคล้าคลึงร่างกาย)

    ๔. ดุสิต                        มีเพียงจับมือกัน

    ๕. นิมมานรดี              มีเพียงยิ้มรับกัน

    ๖. ปรนิมมิตสวัตตี       มีแต่มองดูกัน

    ในเทวภูมิไม่มีสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อต้องการจะมีม้ารถเทียม ก็จะมีเทพบุตรจำแลง กายของเทวดา เรียกว่าเป็นกายทิพย์ เป็นกายสว่างละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็น อุปปาติกะ คือ ผุดเกิดขึ้น มีตัวตนโตเต็มที่เลย แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ การยที่ไม่ปรากฏแก่ตาคนในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่เจ็บไม่ปรากฏตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก

     

    เทวดาจะจุตุ มี ๔ ประการ

    ๑. อายุขัย         จุติเพราะสิ้นอายุ         

    ได้แก่ เทวดาที่ได้เคยสร้างกุศลมาก็ได้เสวยสมบัติทิพย์จนครบอายุทิพย์ในเทวโลกชั้นที่ตนอยู่นั้น ครั้นหมดอายุแล้วก็จุติ

    ๒. บุญญขัย     จุติเพราะสิ้นบุญ

    ได้แก่ เทวดาที่สร้างสมบุญกุศลไว้น้อย เมื่อกุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้หมดสิ้นลงเสีย แต่ในระหว่างยังไม่ถึงอายุขัย จำต้องจุติไปเกิดที่อื่น เพราะหมดบุญแล้ว

    ๓. อาหารขัย จุติเพราะสิ้นอาหาร

    ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่เสวยทิพย์สมบัติ จนลืมบริโภคสุธาโภชนาหารทิพย์อันเป็นปัจจัยแก่กาย และชีวิตถ้าแม้ว่าเขาลืมบริโภคภายหลังสักร้อยครั้งพันครั้ง ก็มิอาจจะซ่อมแซมให้ดีขึ้นมาใหม่

    ๔. โกธพลขัย   จุติเพราะความโกรธ

                ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่มีจิตริษยาหาเหตุพาล มีความโกรธในหัวใจ

     

    จุตินิมิตของเทวดา ๕ ประการ นิมิตล่วงหน้า ซึ่งอุบัติเกิดแก่เทวดาผู้จะต้องจุติ

    จุติ       เคลื่อนจาก ภพ หนึ่งไปสู่ ภพ อื่น ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)

    ๑.    ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับเหี่ยวแห้ง

    ๒.   ผ้าทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์มีสีเศร้าหมอง

    ๓.   มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้

    ๔.   ที่นั่งและที่นอนร้อนดุจมีไฟอยู่ภายใต้

    ๕.  กายของเทวดาเหี่ยวแห้งเศร้าหมองหารัศมีเช่นก่อนไม่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวมือตีน มีความกระวนกระวายใจ
     
  11. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    คำถามท่านพญายม

    สำหรับการไต่สวนดวงจิตวิญญาณเพื่อตัดสินความนั้น พญายมจะตั้งคำถาม 5 ข้อ ให้ดวงวิญญาณตอบโดยมีรายละเอียดดังนี้

    ข้อที่ ๑.พญายมราชจำทำการไต่ถามถึงปัญหาข้อที่ว่า “ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่กระทำความดีทางกาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยว่าการเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยะบาลจะทำการลงโทษท่าน แล้วพญายมราชก็ปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหาที่สองเพื่อว่าดวงวิญญาณนั้นๆ อาจคิดถึงบุญได้ยามเมื่อฟังปัญหาต่อไป

    ข้อที่ ๒. เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่๒ว่า ”ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นคนแก่อายุ แปดสิบ เจ็ดสิบ หรือร้อยปี หลังโก่ง คดงอ ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วท่านรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็นแต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็กล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล ตั้งอยู่ในความประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่านต่อจากนั้นพญายมราชก็จะพูดปลอบใจ และถามปัญหาต่อไป

    ข้อที่ ๓. พญายมราชจะถามว่า “ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่าการเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการกระทำความดียิ่งๆขึ้น เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล้านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชจะพูดปลอบอกปลอบใจและถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป

    ข้อที่ ๔.พญายมราชได้ภามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า “ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด ซึ่งถูกลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดยาพิษเข้าสู้ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิตบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชจะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล เพื่อให้พ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่านพญายมก็พูดปลอบโยนเอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป

    ข้อที่ ๕.พญายามราชก็จะถามปัญหาว่า “ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือเห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวายในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆขึ้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่ความผิดของบิดามารดา ญาติพี่น้อง มิตรสหายหรือเทวดาดลใจแต่เห็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาลก็จะจับผู้ประมาทนั้นมาจองจำ๕ ประการด้วยกัน คือ นำมือข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูด้วยเหล็กแดง นำมือข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง น้ำเท้าข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง นำเท้าข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลางสัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าอยู่ในนรก แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น

    ในการถามปัญหา ๕ ข้อนี้ ท่านจะคอยถามว่า ยามเมื่อมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำบุญทำบาปอะไรไว้บ้าง นอกจากนี้ยังถามว่าเคยเห็นเด็กทารกที่นอนจมกองอาจมหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยรู้สึกสังเวชในการเกิดการเป็นการอยู่ เคยตรึงตรองถึงธรรมการเกิดขึ้นของมนุษย์หรือไม่ ต่อจากนั้นพญายมราชก็จะซักถามต่อไปอีกว่า เคยเห็นคนเจ็บป่วยไม่สบายหรือไม่เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร สังเวชในธรรมของการเป็นการอยู่ของมนุษย์เราหรือไม่ เป็นคติเตือนใจเราเองได้หรือไม่ แล้วถามอีกว่าเคยเห็นคนแก่ชราหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยน้อยกลับมาดูตัวเองหรือไม่ว่าเราเองต้องแก่เหมือนกัน และไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้ เคยได้ตรึกตรองในสัจธรรมความจริงข้อนี้หรือไม่ สุดท้ายก็ถามย้ำอีกว่า แล้วเคยเห็นคนตายไหม เคยคิดหรือไม่ว่าตัวเราเองหรือไม่ว่าตัวเองต้องแก่ชราเช่นนั้นเหมือนกันไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเคยนึกได้เช่นนี้บ้างไหม การที่ท่านถามนี้ก็เพื่อว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยเห็นแล้วพิจารณานึกได้ เกิดความสังเวชในชีวิตบ้าง นับว่าบุคคลนั้นยังมีจิตใจเป็นบุญกุศลยังมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศล เพราะจิตเคยเข้าสู่การพิจารณาสังเวชในธรรมเป็นไปตามที่พระองค์ท่านให้พิจารณา จิตที่พิจารณาถึงธรรมสังเวชเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ นับว่าบุคคลผู้นั้นมีปัญญาและมีจิตระเอียดอ่อน การที่จิตตกอยู่ในธรรมสังเวชนั้นแล จะเป็นบุญแก่จิตรของบุคคลผู้นั้นและนับเป็นบุญมหาสารได้ หากขณะที่องค์พญายมราชไต่สวนเราหมดแล้ว ยังไม่อาจระลึกในสิ่งที่เป็นบุญกุศลได้เลย แน่นอนว่าย่อมมีทุคติภูมิหรือนรกเป็นที่ไป

    ก่อนที่พญายมราชจะส่งดวงวิญญาณทั้งหลายไปลงนรกนั้น พระองค์จะไต่สวนให้เที่ยงธรรมเสียก่อนว่า ดวงวิญญาณทั้งหลายนั้นเคยทำบุญกุศลอะไรบ้างหรือไม่ หากเคยทำบุญกุศลบ้างพระองค์จะได้ไปส่งไปยังสุคติ แต่หากดวงวิญญาณทั้งหลายเหล่านั้นไม่สามารถระลึกถึงกุศลได้เลย ก็แน่นอนว่าย่อมถูกส่งไปยังนรกชั้นต่างๆตามโทษทัณฑ์ที่ดวงวิญญาณนั้นจะได้รับอย่างสาสม หากผู้ใดได้ประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจ ในดวงจิตก็จะมีความสำนึกในกุศลกรรมนั้น เมื่อถึงวันที่ต้องอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพญายมราช ยามที่ได้ยินคำถามของท่านก็จะสามารถระลึกถึงจิตอันเป็นกุศลของตนได้และยอมได้ไปสู่สุคติภพในที่สุด

    ในด้านของไสยศาสตร์นั้น พระยายมราช นับเป็นเทวะราชาพระองค์หนึ่งที่มีเทพอาวุธอันทรงอานุภาพเปรียบได้กับอาวุธ ปรมาณู ซึ่งมีอานุภาพทำลายล้างสูงสุดเป็นที่เกรงกลัวของทั้งสามภพ นัยตาของพญายม นี้ถือเป็นของที่มีอานุภาพสามารถทำลายล้างสารพัดสรรพสิ่งได้เป็นจุณมหาจุณ เป็นที่เกรงกลัวของภูติผีปีศาจอย่างยิ่ง

    คาถาบูชาพญายม (ท่องนะโม 3 จบ)

    ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ (3 จบ)

    ด้านการอานิสงค์ของการบูชานับถือพญายมราชนั้น เชื่อกันว่าภูติผีปีศาจไม่กล้าระราน ผู้นั้นจะมีตบะบารมีที่น่าเกรงขาม ใครคิดร้ายด้วยทุจริตมิชอบอิจฉาตาร้อน จะแพ้ภัยด้วยตัวเขาเอง นอกจากนี้หากหมั่นบูชาพระองค์ท่านเสมอๆท่านว่าจะห่างไกลจากความป่วยไข้มี อายุยืนนาน หากรับราชการหรือทำมาค้าขายด้วยความซื่อตรงก็จะบังเกิดความเจริญมีความสุขใน ชีวิตยิ่งๆขึ้นไปซึ่งใช้สวดภาวนาป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ใช้ช่วยคนที่อยู่ในภาวะใกล้ตายหรือป่วยหนักที่ยังไม่สิ้นอายุขัย
     
  12. ฟ้าใสใจสะอาด

    ฟ้าใสใจสะอาด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +18
    เกิดวันที่ 16 ตุลาคม 2521 เวลา 9.29 นาที อยากทราบว่าจะมีโอกาสได้บรรจุเป็นข้าราชการอีกหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ
     
  13. supatk

    supatk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +200
    อังคาร 12 ตค 14 ปีกุน 22.11น ทำบุญอะไรเสริมดวงดีครับ ขอบคุณครับ
     
  14. fullner

    fullner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +239
    เสาร์ 27 มค 2533 ปีไหนจะได้รับราชการ
     
  15. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    ปีนี้ดวงคุณไม่ค่อยดีเท่าไหร่ค่ะ การสอบแข่งขันอาจสู้คนอื่นไม่ได้ ปีหน้าก็ต้องระวังนะค่ะ ยังมีเกณฑ์ไม่ค่อยดีค่ะ สวดมนต์ทำบุญมากๆค่ะ
     
  16. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    ปีนี้ให้สวดมนต์ ช่วยทุนการศึกษา ให้ปัญญา ถวายของที่ให้ความสว่างค่ะ ใส่บาตรเป็นประจำ พูดแต่สิ่งดี จะนำโชคมาให้
     
  17. ชธิษา

    ชธิษา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +248
    ศุกร์ 22 มีนาคม 2534 เวลา 04.58 พอมีโอกาสจะเรียนจบภายในปีนี้ไหมคะ
     
  18. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    ดวงของคุณถ้าจะรับราชการไม่ค่อยถูกโฉลกกันสักเท่าไหร่ไม่รุ่งค่ะ
     
  19. บุญธริย์ฎา

    บุญธริย์ฎา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +205
    ต้องขยันอ่านหนังสือให้มากๆเข้าไว้นะค่ะ ดวงคุณยิ่งขยันยิ่งเกิดปัญญาค่ะ
     
  20. ชธิษา

    ชธิษา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +248

    อนุโมทนาบุญ คุณบุญธริย์ฎา
    ขอบพระคุณมากคะ ในคำแนะนำครั้งนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...