อยากทราบวิธีระงับตัณหาทั้ง 3 อย่างครับ มีทางใดบ้าง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 18 มกราคม 2014.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    คือผมเป็นคนชอบหาของนู่นๆนี่ๆ หาของพวกหนังสือหรือข้อความ ซึ่งเป็นภาวะตัณหา อยากทราบถึงวิธีการทำให้เบาลงอ่ะครับ

    รวมถึงวิภาวตัณหา กับ กามตัณหา ด้วยก็ดีครับ

    ขอบคุณมากนะครับ :cool:
     
  2. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    อริยสัจ เริ่มต้นด้วยทุกข์ ดูว่าเราทุกข์อะไรอยู่ ทุกข์จริงรึเปล่า
    อริยมรรค เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ดูว่าเรามีความเชื่อ ความชอบ นิสัยแบบไหน
    ทิฏฐิเหมือนหางเสือเรือ มีไว้ควบคุมทิศทางไปของเรือ อยากเปลี่ยนนิสัย ก็ต้องเปลี่ยนทิฏฐิ เปลี่ยนความเชื่อ ความชอบ นิสัยให้เป็นที่เราต้องการ
    ศีล คือ การเริ่มรู้จักควบคุมตนไม่ให้เบียดเบียนตน เดินเส้นทางใหม่ ไม่เดินทางเก่า
    สมถะ คือ การเริ่มยับยั้งใจตนให้อยู่ในรูปแบบที่เรากำหนด
    วิปัสสนา คือ การเฝ้าดูความชั่วของตน ของใจตน ที่เกิดขึ้น ไม่สนผู้อื่น

    ทุกสิ่งสำคัญที่ก้าวแรก ก้าวทีละก้าว ก้าวช้าๆ แต่ก้าวแล้วไม่ถอยหลังกลับ
     
  3. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    ตัณหา คือ ความอยาก
    ก่อนอยาก ก็ต้องเพลิดเพลินในสิ่งที่ทำก่อน
    เพราะเราไม่เห็นโทษของความเพลิดเพลินในสิ่งที่ทำ จึงได้ทำลงไป
    และทำต่อไปจนเป็นความเคยชิน จนติดเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว

    ้ถ้าไม่อยากติดอะไร ก็ค่อยๆ ลดความเพลิดเพลินในสิ่งที่ทำลง
    แต่ต้องอาศัยกำลังสติ ระลึกถึงโทษของมันบ่อยๆ ตนเตือนตนบ่อย ๆ
    แรกๆ ทำลงไปเสร็จแล้วค่อยนึกได้ ทำบ่อย ๆ จนเคยชิน
    ก็จะระลึกได้ตอนกำลังลงมือทำ และก่อนจะทำได้สำเร็จ
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ข้อแรก...คุณต้องรู้จักรูปร่างหน้าตาของตัณหา 3 อย่างชัดแจ้งก่อน
    ข้อสอง...เมื่อรู้จักมันแล้ว ก็ต้องรู้จักโทษของมัน โดยพิจารณาให้เห็นแจ้งด้วยใจ
    ข้อสาม...เมื่อรู้จักโทษของมันแล้ว เมื่อใดที่ตัณหา 3 เกิด สัมปชัญญะจะเตือนว่าสิ่งที่เกิดนี้คือตัณหา 3 ใจจะปฏิเสธและละออกจากความต้องการนั้นๆ เองค่ะ

    หลักในการพิจารณาตัณหา 3 พิจารณาตามอริยสัจสี่นั่นเอง

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  5. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ทำอาณาปานสติ ครับ นั่ง รู้ลมหายใจ และก็ปฏิบัติ มรรค องค์แปด ช่วยได้
     
  6. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ใช้ปัญญาพิจารณาสัจจะ
    ถ้าไม่ได้ก็ใช้ สติและสมาธิ
    ถ้าไม่ได้ก็ใช้ ศรัทธาและความเพียร เช่น กินอาหารมื้อเดียว ,นอน 4 ชม. เป็นต้น

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  7. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34

    สภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตนั้นล้วน เิกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเสมอ

    ลองสังเกตุอย่างนี้ดูนะครับ เมื่อใดมีสติระลึกได้ว่า ขณะนี้ มีความอยากขึ้น อย่างเช่น อยากได้หนังสือเล่มนี้จัง
    ก็ให้มีสติระลึก ถึงความ อยากนั้น แล้วละ อารมณ์อยากนั้น (ซึ่งอารมณ์อยากเป็น อกุศล พระพุทธองค์ให้รีบละ
    อกุศล) แล้วเกาะอยู่ที่ ลมหายใจ (อย่างนี้เจริญกุศล ให้จิต) เป็นการตัดอาหาร ของ ราคะ โทสะ โมหะ โดย
    ตรงเลยครับ อารมณ์ที่เป็น อกุศลจะ สั้นลง ทุกขณะ ฝึก อย่างนี้จนเห็นชัดขึ้น บ่อยขึ้น เป็นการเจริญสติที่เป็น
    สัมมาสติด้วย ละนันทิด้วย เจริญอานาปานสติด้วย

    ทำอย่างนี้จะได้อะไร
    -จะได้สัมมาสติ เป็นสติที่เป็นกลาง ไม่เพ่ง อยู่ที่อารมณ์ของอกุศล
    -เมื่อเกิดสัมมาสติ ให้มีสติไประลึกรู้ที่ ลมหายใจ เป็นผลให้เกิดสัมมาสมาธิ
    -เมื่อเกิดสัมมาสมาธิ จิตจะตั้งมั่น เป็นอุเบกขา น้อมไปเพื่อเห็นไตรลักษณ์ภายในจิต
    -เมื่อจิตเห็นไตรลักษณ์ ซ้ำๆ อยู่อย่างนี้ จิตก็จะรู้แจ้ง ถึงความไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    -เมื่อเหตุปัจจัยภายในพร้อม ก็ ละสักกายทิฐิได้ ละตัวนี้ได้ ก็คือละความเห็นผิดว่าเราเป็นตัวตนได้
    ก็ถึงซึ่งความเป็นโสดาบัน

    แล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันจน วางความยึด ในขันธ์ 5ได้ จนถึงความหลุดพ้นได้เลย_ แต่หากเราเจริญอย่างนี้ไป
    แม้ไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ ก็พ้นอบายภูมิได้ เพราะขณะที่เราจะตาย เมื่อเกิดทุกข์ หรือ ความกังวลใดๆ ขึ้นที่จิต
    จะถูกละด้วยสติที่เราฝึกมาอย่างนี้ จิตจึงเป็นกุศล ผลก็คือ สุคติเป็นที่ไป _ แต่ผมเชื่อว่า ปฏิบัติอย่างนี้ แล้ว
    เดินตามมรรคมีองค์8 แล้วเอาจริง ทำจริง มรรคผลนิพพานก็หวังได้ในชาตินี้เลย
     
  8. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    หาวิธี ที่ทำให้ ดับซึ่งสันตะติความสืบต่อของความคิด ให้ทรงสภาวะให้ได้อย่างน้อย 1ชั่วโมงขึ้นไป และเกิดญาณหยั่งรู้กิจสี่ญาณสาม รู้ปฏิสัมภิทาญาณ รู้ปฏิจจสมุปบาท
     
  9. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +628
    วิธีการ คือ พิจารณาอาการ 32 ให้แจ่มชัดจนเกิดนิพพิทาญาณเบื่อหน่ายรูปตนเองและผู้อื่น เมื่อได้นิพพิทาญาณแล้ว ยกจิตยกอารมณ์ขึ้นเพ่งตรงดั้งจมูกหัก คล้ายเพ่งกสิน แต่เน้นปักจุดตรงดั้งจมูกหักเท่านั้น อย่าสูงเกิดกว่าจุดนี้ จะเป็นอันตราย ต่ำกว่าจุดนี้ก็ไม่มีประโยชน์อันใดัเลย ทำจากนาทีเป็นชั่วโมง จาก ชั่วโมงเป็นวัน จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี อยู่ที่ความเพียรและตั้งใจมั่นของแต่ละคน ว่ามีมากน้อยเท่าใด วิธีนี้ อย่างเร็ว 7 วัน อย่างกลาง 7เดือน อย่างช้า 7 ปี เชิญมาพิสูจน์เถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...