ถามเรื่องสมาธิคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เด็กใหม่คับ, 11 พฤศจิกายน 2007.

  1. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    สวนใหญ่จะเป็น เกี่ยวกับพระ(พระเครื่อง รูป )>>ถ้าบางองค์ก็ไม่รู้สึกอะไรแต่ที่มีอาการก็จะเปนพระอรหันส่วนมากที่จะร้องไห้ น่ะคับที่จะร้อง รู้สึกดีใจ ผมก็อธิบายไม่ค่อยถูก แต่อย่างอื่นก็ไม่มีอาการอะไรเลย มีอะไรที่พอจะแนะนำก็ช่วยผมหน่อนนะคับ
     
  2. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่ๆคับ ผมมีความรู้สึกใหม่คับ คือปกติจะได้ยินเสียงเหมือนหูอื้อ แต่ตอนนี้มันเหมือนไม่มีเสียง แต่ก็ยังได้ยินเสียงพัดลม แล้วเหมือนทั้งตัวเหลือแค่ ผม กับ ลมหายใจ บางครั้งก็ไม่มีลมหายใจ แต่พอคิดอย่างงี้เมื่อไหร่ ลมหายใจจะกลับมาเหมือนเดิม รู้สึกนิ่ง สงบกว่าเดิม แล้วมันแนบติด หนึบๆ เหมือนอะไรก็ไม่รู้ แปลกดี ไม่ทราบว่าอาการอย่างงี้คืออะไร สมาธิผมถึงขั้นไหนแล้ว ว่าจะไปฝึกมโนมยิทธิ ที่บ้านสายลม จะช่วยให้พัฒนาขึ้นมั้ย
     
  3. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    ผมไปซอยสายลม ฝึกครึ่งกำลังน่ะคับ ครูฝึกเป็นรุ่นคุณป้าคุณยายได้แล้วมั้งที่มาฝึกให้ผม (เฉพาะห้องผมนะ) ผมก็สงสัยว่ามันหายใจไม่ออกเนี่ยทำไงดีเลยถามครูฝึก ครูท่านก็ไม่พูดอะไรมาก บอกอย่างเดียวว่า ตายไวๆก็ดีได้ไปนิพพานเลย สรุปคือจะตายให้มันตายไปเลย -*-
     
  4. Dawn

    Dawn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +41
    ผมก็มีอาการคล้ายๆกันครับ

    เริ่มนั่งสมาธิมาได้ประมาณหนึ่งเดือน นั่งทุกวัน วันละประมาณ 1-2 ชม. ช่วง ตี 3 - ตี 5 ที่บ้าน (ไม่มีห้องพระ) รู้สึกปวดหัว ทั้งขณะนั่ง และในเวลาปกติ บางครั้งเป็นทั้งวัน และอีกอย่างคือ จะรู้สึกหนักบริเวณดั้งจมูก เหมือนเราใส่แว่นตาอันหนาๆ อาการหนักดั้งจมูกนี้ ผมสังเกตว่า จะเป็นโดยเฉพาะเวลาที่ทำสมาธิ หรือเวลาปกติตอนที่เราเพ่งจิตกับอะไรบางอย่าง ก็จะเป็นเหมือนกัน ผมเคยทดลองดู ไม่ได้นั่งสมาธิประมาณ3-4 วัน อาการหนักดั้งจมูกนี้ก็หายไป พอกลับมาเริ่มนั่งสมาธิอีก ก็เป็นอีก ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับว่าผมเป็นอะไร และควรจะทำอย่างไร
     
  5. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    เหมือนไม่มีเสียงแต่ยังได้ยินเสียงอยู่ และไม่รู้สึกรำคาญหรือสนใจในเสียงที่ได้ยิน เป็นอาการที่เรียกว่าจิตสงัด คือสงัด(คลาย)จากอารมณ์ภายนอกครับ และจากอาการที่เล่ามาก็เรียกว่าเข้าสู่อัปนาสมาธิแล้วครับ เมื่อลมหายใจหายไปให้พยายามทรงความรู้สึกอยู่อย่างนั้น นิ่งรู้ อย่าให้เกิดความลังเลหรือสงสัยใดๆ ถ้าทรงไว้ได้ อารมณ์จะแนบแน่นละเอียดขึ้นไปกว่านี้อีกครับ

    จะไปฝึกมโนมยิทธิที่บ้านสายลม ก็เป็นการฝึกอีกทางหนึ่ง ผลที่ได้จะทำให้เกิดความรู้สึกศรัทธาใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นครับ แต่คุณเด็กใหม่ต้องปรับการวางอารมณ์ให้เบากว่านี้ อย่าติดในกายหรือลมหายใจ ส่งอารมณ์ไปตามที่ครูฝึกนำ(ใช้กำลังศรัทธานำหน้ากำลังสมาธิครับ)

    คุณ kurochang ยังมีปัญหาเรื่องหายใจไม่ออก ต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกเพื่อปรับสภาพการหายใจให้แผ่วเบาและอารมณ์จิตให้ละเอียดขึ้น ที่จริงอยากอธิบายมากกว่านี้แต่ก็กลัวจะทำให้ไขว้เขวและสงสัยมากยิ่งขึ้น กลายเป็นผลเสียไป อย่าเคืองครูฝึกเลยครับ ถ้าเกิดตายในขณะจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ก็เป็นสิ่งประเสริฐที่นักปฏิบัติเรามุ่งหวังครับ

    อาการปวดหัวและรู้สึกหนักบริเวณดั้งจมูกนี้เกิดจากการที่เราใช้กำลังในการเพ่งมากเกินไป ถ้าเราใช้กำลังเพ่งมากเกินไปจะเกิดความเครียดขึ้นในสมองและระบบประสาท อันนี้เกิดอันตรายได้ครับ การเพ่งนั้นเหมือนกับเราเอามือจับ(กำ)แก้วน้ำอย่างแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าแรงเกินไปแก้วน้ำก็แตกได้ ดังนั้นควรลดกำลังในการเพ่งลง ปรับอารมณ์ให้สบายๆ อย่ามุ่งมั่นตั้งใจเกินไปครับ
     
  6. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666

    ลองเปลี่ยน ลดจาการเพ็งมอง
    เป็นเฝ้าสังเกตุ แทน ..
    อาการ จะลดลงไปเอง นะค่ะ
    คุณมา ถูกเส้นทาง เพียงแต่ อาจจะตั่งใจมากเกินไป
    บ้างที ต้อง ผ่อน ..ยึดสายกลาง

    ให้กำลังใจนะค่ะ
     
  7. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    ต้องขอบคุณพี่วิมังสาและพี่ๆอีกหลายๆท่านที่คอยให้คำแนะนำผมมาโดยตลอด ทำให้ผมได้สมาธิถึงขั้นอัปนาสมาธิ แต่ก็คงขอรบกวนพี่ๆต่อไปเรื่อยๆ
     
  8. Dawn

    Dawn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +41
    ขอบคุณมากครับ

    สำหรับคุณวิมังสาและคุณแคท ที่กรุณาให้คำแนะนำ ผมมีประสบการณ์แปลกๆเหมือนกัน วันหน้าจะมาสอบถามครับ
     
  9. *จอมขมังเวทย์*

    *จอมขมังเวทย์* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +280
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=713 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]หลักการทำสมาธิเบื้องต้น
    จิตของคนทั่วๆ ไปที่ไม่เคยทำสมาธินั้น ก็มักจะมีสภาพเหมือนม้าป่าพยศที่ยังไม่เคยถูกจับมาฝึกให้เชื่อง มีการซัดส่ายไปในทิศทางต่างๆ อยู่เป็นประจำ การทำสมาธินั้นก็เหมือนการจับม้าป่านั้นมาล่ามเชือก หรือใส่ไว้ในคอกเล็กๆ ไม่ยอมให้มีอิสระตามความเคยชิน เมื่อตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ม้านั้นก็ย่อมจะแสดงอาการพยศออกมา มีอาการดิ้นรน กวัดแกว่ง ไม่สามารถอยู่อย่างนิ่งสงบได้ ถ้ายิ่งพยายามบังคับ ควบคุมมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดิ้นรนมากขึ้นเท่านั้น
    การจะฝึกม้าป่าให้เชื่องโดยไม่เหนื่อยมากนั้นต้องใจเย็นๆ โดยเริ่มจากการใส่ไว้ในคอกใหญ่ๆ แล้วปล่อยให้เคยชินกับคอกขนาดนั้นก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ลดขนาดของคอกลงเรื่อยๆ ม้านั้นก็จะเชื่องขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่แสดงอาการพยศอย่างรุนแรงเหมือนการพยายามบีบบังคับอย่างรีบร้อน เมื่อม้าเชื่องมากพอแล้ว ก็จะสามารถใส่บังเหียนแล้วนำไปฝึกได้โดยง่าย
    การฝึกจิตก็เช่นกัน ถ้าใจร้อนคิดจะให้เกิดสมาธิอย่างรวดเร็วทั้งที่จิตยังไม่เชื่อง จิตจะดิ้นรนมาก และเมื่อพยายามบีบจิตให้นิ่งมากขึ้นเท่าไหร่ จิตจะยิ่งเกิดอาการเกร็งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นจะหมายถึงความกระด้างของจิตที่เพิ่มขึ้น (จิตที่เกร็งจะเป็นจิตที่กระด้าง ซึ่งต่างจากจิตที่ผ่อนคลายจะเป็นจิตที่ประณีตกว่า) แล้วยังจะทำให้เหนื่อยอีกด้วย ถึงแม้บางครั้งอาจจะบังคับจิตไม่ให้ซัดส่ายได้ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าจิตมีอาการสั่น กระเพื่อมอยู่ภายใน
    เหมือนการหัดขี่จักรยานใหม่ๆ ถึงแม้จะเริ่มทรงตัวได้แล้ว แต่ก็ขี่ไปด้วยอาการเกร็ง การขี่ในขณะนั้นนอกจากจะเหนื่อยแล้ว การทรงตัวก็ยังไม่นิ่มนวลราบเรียบอีกด้วย ซึ่งจะต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับการขับขี่ของคนที่ชำนาญแล้ว ที่จะสามารถขี่ไปได้ด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลายอย่างสบายๆ ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่มีอาการสั่นเกร็ง
    หลักทั่วไปในการทำสมาธินั้น พอจะสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
    1.) หาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำสมาธิให้มากที่สุดก่อนที่จะทำสมาธิ เพื่อจะได้ประหยัดเวลาไม่ต้องลองผิดลองถูก และไม่หลงทาง ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ หรือเข้าใจผิด นอกจากนี้ยังป้องกันความฟุ้งซ่านที่อาจจะเกิดขึ้นจากความลังเลสงสัยอีกด้วย
    2.) เลือกวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด แล้วลองทำไปสักระยะหนึ่งก่อน ถ้าทำแล้วสมาธิเกิดได้ยากก็ลองวิธีอื่นๆ ดูบ้าง เพราะจิตและลักษณะนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีที่เหมาะสมของแต่ละคนจึงต่างกันไป บางคนอาจจะเหมาะกับการตามดูลมหายใจ ซึ่งอาจจะใช้คำบริกรรมว่าพุทธ-โธ หรือ เข้า/ออก ประกอบ บางคนอาจจะเหมาะกับการแผ่เมตตา บางคนถนัดการเพ่งกสิณ เช่นเพ่งวงกลมสีขาว ฯลฯ
    ซึ่งวิธีการทำสมาธินั้นมีมากถึง 40 ชนิด เพื่อให้เหมาะกับคนแต่ละประเภท แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมากที่สุด ก็คืออานาปานสติ คือการตามสังเกต ตามรู้ลมหายใจเข้าออกนั่นเอง (ดูรายละเอียดได้ในเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ในหัวข้อวิธีแก้ไขนิวรณ์ 5/อุทธัจจกุกกุจจะ และในเรื่องอานาปานสติสูตร ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ) เพราะทำได้ในทุกที่ โดยไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ใดๆ เลย ทำแล้วจิตใจเย็นสบาย ไม่เครียด
    [​IMG]3.) อยู่ใกล้ผู้รู้ หรือรีบหาคนปรึกษาทันทีที่สงสัย เพื่อไม่ให้ความสงสัยมาทำให้จิตฟุ้งซ่าน
    4.) พยายามตัดความกังวลทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นออกไปให้มากที่สุด โดยการทำงานทุกอย่างที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะทำสมาธิ หรือถ้าทำสมาธิไปแล้ว เกิดความกังวลถึงการงานใดขึ้นมา ก็ให้บอกกับตัวเองว่าตอนนี้เป็นเวลาทำสมาธิ ยังไม่ถึงเวลาทำงานอย่างอื่น เอาไว้ทำสมาธิเสร็จแล้วถึงไปทำงานเหล่านั้นก็ไม่เห็นเสียหายอะไร ถ้าแก้ความกังวลไม่หายจริงๆ ก็หยุดทำสมาธิแล้วรีบไปจัดการเรื่องนั้นๆ ให้เรียบร้อยก่อนก็ได้ ถ้าคิดว่าขืนนั่งต่อไปก็เสียเวลาเปล่า เมื่องานนั้นเสร็จแล้วก็รีบกลับมาทำสมาธิใหม่
    5.) ก่อนนั่งสมาธิถ้าอาบน้ำได้ก็ควรอาบน้ำก่อน หรืออย่างน้อยก็ควรล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อนจะทำให้โล่งสบายตัว เมื่อกายสงบระงับ จิตก็จะสงบระงับได้ง่ายขึ้น
    6.) ควรทำสมาธิในที่ที่เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ไม่พลุกพล่านจอแจ
    7.) ก่อนนั่งสมาธิควรเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาช้าๆ โดยยึดจิตไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งในเท้า ข้างที่กำลังเคลื่อนไหว เช่น ปลายเท้า หรือส้นเท้า โดยควรมีคำบริกรรมประกอบ เช่น ขวา/ซ้าย ฯลฯ) หรือสวดมนต์ก่อน เพื่อให้จิตเป็นสมาธิในระดับหนึ่งก่อน จะทำให้นั่งสมาธิได้ง่ายขึ้น
    8.) การนั่งสมาธินั้นควรนั่งในท่าขัดสมาธิ หลังตรง (ไม่นั่งพิงเพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย) หรือถ้าร่างกายไม่อำนวย ก็อาจจะนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ นั่งบนพื้นที่อ่อนนุ่มตามสมควร ทอดตาลงต่ำ ทำกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย อย่าเกร็ง (เพราะการเกร็งจะทำให้ปวดเมื่อย และจะทำให้จิตเกร็งตามไปด้วย) นั่งให้ร่างกายอยู่ในท่าที่สมดุล มั่นคง ไม่โยกโคลงได้ง่าย มือทั้ง 2 ข้างประสานกัน ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะกันเบาๆ วางไว้บนหน้าตัก หลับตาลงช้าๆ หลังจากนั้นส่งจิตไปสำรวจตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้ทั่วทั้งตัว เพื่อดูว่ามีกล้ามเนื้อส่วนใดที่เกร็งอยู่หรือไม่ ถ้าพบก็ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้หายเกร็ง โดยไล่จากปลายเท้าทีละข้าง ค่อยๆ สำรวจเลื่อนขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงสะโพก แล้วย้ายไปสำรวจที่ปลายเท้าอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน จากนั้นก็สำรวจจากสะโพก ไล่ขึ้นไปจนถึงยอดอก แล้วสำรวจจากปลายนิ้วมือทีละข้าง ไล่มาจนถึงไหล่ เมื่อทำครบสองข้างแล้ว ก็สำรวจไล่จากยอดอกขึ้นไปจนถึงปลายเส้นผม ก็จะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ทั่วร่างกาย จากนั้นหายใจเข้าออกลึกๆ สัก 3 รอบ โดยมีสติอยู่ที่ลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบปลายจมูก พร้อมกับทำจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายลงเรื่อยๆ หลังจากนั้นจึงเริ่มทำสมาธิตามวิธีที่เลือกเอาไว้
    9.) อย่าตั้งใจมากเกินไป อย่าไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนั้นวันนี้จะต้องได้ขั้นนั้นขั้นนี้ เพราะจะทำให้เคร่งเครียด จิตจะหยาบกระด้าง และจิตจะไม่อยู่กับปัจจุบัน เพราะมัวแต่ไปจดจ่ออยู่กับผลสำเร็จซึ่งยังไม่เกิดขึ้น จิตจะพุ่งไปที่อนาคต เมื่อจิตไม่อยู่ที่ปัจจุบันสมาธิก็ไม่เกิดขึ้น
    ให้ทำใจให้สบายๆ ผ่อนคลาย คิดว่าได้แค่ไหนก็แค่นั้น แล้วค่อยๆ รวมจิตเข้ามาที่จุดที่ใช้ยึดจิตนั้น (เช่นลมหายใจ และคำบริกรรม) แล้วคอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนั้น (เช่น ความหยาบ/ละเอียด ความยาว ความลึก ความเย็น/ร้อน ของลมหายใจ) จิตก็จะอยู่ที่ปัจจุบัน แล้วสมาธิก็จะตามมาเอง ถ้าฟุ้งซ่านไปบ้างก็คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของจิต อย่ากังวล อย่าอารมณ์เสีย (จะทำให้จิตหยาบขึ้น) เพราะคนอื่นๆ ก็เป็นกันทั้งนั้น เมื่อรู้ตัวว่าฟุ้งออกไปแล้ว ก็ใจเย็นๆ กลับมาเริ่มทำสมาธิใหม่ แล้วจะดีขึ้นเรื่อยๆ เอง
    10.) ใหม่ๆ ควรนั่งแต่น้อยก่อน เช่น 5 - 15 นาที แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 20, 30, 40, ... นาที ตามลำดับ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจค่อยๆ ปรับตัว เมื่อนั่งไปแล้วหากรู้สึกปวดขาหรือเป็นเหน็บ ก็ขอให้พยายามอดทนให้มากที่สุด ถ้าทนไม่ไหวจริงๆ จึงจะขยับ เพราะทุกครั้งที่มีการขยับตัวจะทำให้จิตกวัดแกว่ง ทำให้สมาธิเคลื่อนได้ และโดยปรกติแล้วถ้าทนไปได้ถึงจุดหนึ่ง เมื่ออาการปวดหรือเป็นเหน็บนั้นเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว อาการปวดหรือเป็นเหน็บนั้นก็จะหายไปเอง และมักจะเกิดความรู้สึกเบาสบายขึ้นมาแทนที่ ซึ่งเป็นอาการของปิติที่เกิดจากสมาธิ
    11.) การทำสมาธินั้น เมื่อใช้สิ่งไหนเป็นเครื่องยึดจิต ก็ให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า ตัวเราทั้งหมดไปรวมเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ อยู่ที่จุดยึดจิตนั้น เช่น ถ้าใช้ลมหายใจ (อานาปานสติ) ก็ทำความรู้สึกว่าตัวเราทั้งหมดย่อส่วนเป็นตัวเล็กๆ ไปนั่งอยู่ที่จุดที่รู้สึกว่าลมกระทบอย่างชัดเจนที่สุด เช่นปลายรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือริมฝีปากบน เป็นต้น ให้ทำความรู้สึกที่จุดนั้นเพียงจุดเดียว ไม่ต้องเลื่อนตามลมหายใจ เหมือนเวลาเลื่อยไม้ ตาก็มองเฉพาะที่จุดที่เลื่อยสัมผัสกับไม้เพียงจุดเดียว ไม่ต้องมองตามใบเลื่อย ก็จะรู้ได้ว่าตอนนี้กำลังเลื่อยเข้าหรือเลื่อยออก เมื่อจิตอยู่ที่จุดลมกระทบเพียงจุดเดียว ก็จะรู้ทิศทาง และลักษณะของลมได้เช่นกัน
    12.) ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็อย่าตกใจ อย่ากลัว อย่ากังวล เพราะทั้งหมดเป็นเพียงอาการของจิต พยายามตั้งสติเอาไว้ให้มั่นคง ตราบใดที่ไม่กลัว ไม่ตกใจ ไม่ขาดสติ ก็จะไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้น ทำใจให้เป็นปรกติ แล้วคอยสังเกตสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ถ้าเห็นภาพที่น่ากลัวปรากฏขึ้นมา หรือรู้สึกว่าได้สัมผัสกับสิ่งที่น่ากลัวใดๆ ก็ตาม ให้แผ่เมตตาให้สิ่งเหล่านั้น แล้วคิดว่าอย่าได้มารบกวนการปฏิบัติของเราเลย ถ้าไม่หายกลัวก็นึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เป็นที่พึ่งทางใจ แล้วพยายามอย่าใส่ใจถึงสิ่งที่น่ากลัวนั้นอีก ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ตั้งสติเอาไว้ หายใจยาวๆ แล้วค่อยๆ ถอนจากสมาธิออกมา เมื่อใจเป็นปรกติแล้วถึงจะทำสมาธิใหม่อีกครั้ง สำหรับคนที่ตกใจง่าย ก็อาจนั่งสมาธิหน้าพระพุทธรูป หรือนั่งโดยมีเพื่อนอยู่ด้วย ก่อนนั่งก็ควรสวดมนต์ไหว้พระก่อน แล้วอธิษฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครอง
    13.) ถ้าจิตไม่สงบ ก็ลองแก้ไขตามวิธีที่ได้อธิบายเอาไว้ในเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ซึ่งได้อธิบายเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว
    14.) เมื่อจะออกจากสมาธิ ควรแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายก่อน โดยการระลึกถึงความปรารถนาให้ผู้อื่น และสัตว์ทั้งหลายมีความสุขด้วยใจจริง จากนั้นก็อุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการทำสมาธินั้น ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (ระลึกให้ด้วยใจ) แล้วหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก 3 รอบ พร้อมกับค่อยๆ ถอนความรู้สึกจากสมาธิช้าๆ เสร็จแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้น บิดเนื้อบิดตัวคลายความปวดเมื่อย แล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้นยืนช้าๆ
    15.) เมื่อตั้งใจจะทำสมาธิให้จริงจัง ควรงดเว้นจากการพูดคุยให้มากที่สุด เว้นแต่เพื่อให้คลายความสงสัยที่ค้างคาอยู่ในใจ เพราะการคุยกันนั้นจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน คือในขณะคุยกันก็มีโอกาสทำให้เกิดกิเลสขึ้นมาได้ ทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น และเมื่อทำสมาธิก็จะเก็บมาคิด ทำให้ทำสมาธิได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการคุยกับคนที่สมาธิน้อยกว่าเรา นอกจากนี้ ควรเว้นจากการร้องรำทำเพลง การฟังเพลง รวมถึงการดูการละเล่นทั้งหลาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มกามฉันทะ ซึ่งเป็นนิวรณ์ชนิดหนึ่ง (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ) อันเป็นอุปสรรคต่อการทำสมาธิ[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC] [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=713 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999 height=4></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=16 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=713 align=center border=0><TBODY><TR><TD height=43>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT] ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่จอมขวังเวทแนะนำได้ถูกต้องเลยคับ แต่ข้อ8
    8.) การนั่งสมาธินั้นควรนั่งในท่าขัดสมาธิ หลังตรง
    ผมว่าไม่จำเป็นคับ จะท่าไหนก็ได้ โดยปกติผมใช้ท่านั่งพิงคับ ถ้าหลังตรงแล้วเมื่อยและจะรู้สึกปวดได้ง่าย ในตอนแรกๆผมนอนทำเอาคับเพราะสามารถทำได้นาน สำหรับผม ผมคิดว่าจะท่าไหนก็ได้แต่ต้องเน้นท่าที่สบายที่สุด จึงขออธิบายให้เกิดความเข้าใจสำหรับผู้ฝึกใหม่ที่เข้าใจผิดว่าทำสมาธิต้องนั่งยืดตัวนานๆ ถ้าเข้าใจอย่างงี้อาจจะลดกำลังใจในการปฎิบัติ ที่ผมเขียนมานี้ไม่ได้จะบอกว่าตัวเองเก่งหรืออวดรู้แต่อย่างใด แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ฝึกใหม่ทุกท่าน
     
  11. Dawn

    Dawn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +41
    วิธีที่ผมปฏิบัติไม่รู้ว่าถูกต้องหรือไม่

    คือว่า นั่งท่าขัดสมาธิตามปกติพอนั่งไปได้สักครึ่ง ชั่วโมงหรือเกือบชั่วโมงจะรู้สึกชาที่ร่ายกายท่อนล่างและปวดบริเวณหัวเข่า จนทนไม่ไหวผมจะเปลี่ยนท่า โดยไม่ถอนออกจากสมาธิ แต่จะค่อยๆโน้มตัวลงนอนในท่าตะแคงขวา และทำสมาธิต่อไปได้เลย ซึ่งหลายครั้งพบว่า กำหนดลมหายใจ และเข้าสู่สมาธิละเอียดได้อีก จนตัวเบาสบาย และเกิดอาการจิดออกนอกร่างได้หลายครั้ง (3 ครั้ง) ในรอบ 1 เดือน

    เนื่องจากผมเพิ่งเริ่มทำสมาธิมาได้ประมาณ 1 เดือน ศึกษาตามตำราค่อนข้างมากพอสมควรและทดลองไปเรื่อยๆ บางครั้งก็สับสนเหมือนกันว่าจะใช้สูตรใหนดี ปัจจุบันผมลองใช้วิธีเคลื่อนมือตามแบบของหลวงพ่อเทียน (ประมาณว่าใช้แทนการเดินจงกรม)ก่อนนั่งสมาธิ รู้สึกว่า สมาธิจับได้เร็วขึ้นครับ

    ท่านผู้รู้มีอะไรจะแนะนำ ก็ยินดีมากครับ
    อ้อ ขออนุโมทนากับทุกท่านที่เขียนและตอบกระทู้ครับ
     
  12. Soulmaki

    Soulmaki เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +357
    ผมเป็นคนไม่ทำสมาธิท่านั้งแต่นอนหงายแทนอะครับมันก็ทำได้เหมือนกัน มีอาการคล้ายๆกันกับทุกคนหละครับ รู้สึกชาทั้งตัว แล้วก็จะมีภาพฉากต่างๆเข้ามาวนเวียน ผมก็พยามตัดมันออกไปเรื่อยแต่มันก็มาเรื่อยๆ -*- จนสุดท้ายได้วิธีนี้คือ พูดในใจว่า มันเกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็รู้สึกเบาสบาย บางครั้งเผอหลับ แต่ถ้าสติรู้ทันก็ยังประคองไว้ได้ แต่บางทีก็รำคาญ เสียงพูดในจิตตัวเอง มันถามนู่นถามนี่อยู่เรื่อย มันพูดมากเหลือเกิน มันคือการทำงานของสมองซีกซ้ายแน่ๆเลย ใช่ที่เรียกว่า วิจาร หรือป่าวก็ไม่รู้ อันนี้ควรจะหยุดมันยังไงดีหละครับ....
     
  13. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    คับผมก็เคยเป็นแบบพี่ criiuj เลย พูดในใจไม่หยุด น่ารำคารมาก ผมใช้วิธีกำหนดจุด เช่นพอมันสติแตก(พูดมาก) ก็ให้มันมารวมกันที่จุดใดจุดหนึ่ง ผมใช้หน้าอก นึกไว้อยู่อย่างงั้นไม่ให้มันหลุดไป ไม่ก็นึกว่าเรานอนท่าไหน ก็คิดอยู่อย่างงั้น คราวนี้มันก็ไม่คิดมาก

    แต่ผมชักงงๆ ทำไมเวลาทำสมาธิของผม รู้สึกว่ามันนานกว่าเดิม แถมเวลาน้อยกว่าเดิมอีก เมื่อก่อน เวลาเท่าไหนก็เท่านั้น เดี๋ยวนี้พอจิตว่างๆก็ อาการคิดก็น้อยลง ทำให้บางทีกลัวเกินเวลาไปมาก พอออกจากสมาธิแค่ 10-20 นาทีเอง ไม่รู้จะแก้ยังไงดี
     
  14. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ก็ทำสิ่งแวดล้อให้สงบ อยู่ไปๆ มันก็สงบเองแหละครับ..ไม่มากก็น้อย

    มันมีกระแสดูดไง.. กระแสดูดดดด..ไม่ต้องเจออุปสรรคยาก

    แต่ถ้าเจออุปสรรคเราต้องเพียรระวังมากขึ้น...

    ขอโมทนาทั้งหมดทั้งมวลครับผม
     
  15. chan2

    chan2 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +23
    ใครมีหนังสือฝึกสมาธิแนะนำบ้าง คือไม่อยากจะอ่านในคอม อะปวดตาอ่านได้ไม่นาน
     
  16. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    มีเยอะแยะมากมายครับ ...ให้ค้นดูในเว๊ปนี้ก็มีเยอะแยะครับ
     
  17. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ทำอะไรก้อต้องมีขั้นแรก ขั้นสอง
    ทั้งหมดคือเรื่องประสบการณ์ แต่จริงๆมีของวิปัสสนาญาณอีก ค่อยๆทำไป เอาจิตไว้ที่กลางท้องตามแบบธรรมกาย แต่มองมันเรื่อยไป วิธีที่ผมได้รับการสอนมา มองที่กระจก เรามีตัวตนจิงไหม
    แล้วมองมาที่กลางท้อง ให้เตือนเสมอ ว่าตัวรู้นั้นแลที่จริง แต่ระดับสูง คือ แม้ตัวรู้ต้องตัดใจไม่รับรู้
     
  18. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    พี่ๆคับ แล้วอย่างผมนี่จะไปดูนรกสวรรค์กับเขาได้รึยัง ถ้าได้แล้วทำยังไง
    คือจะไปบ้านสายลมหลายรอบละ แต่ไม่ได้ฝึกสักที อีกนานกว่าจะมีฝึกอีก ขอคำแนะนำฝึกไปพลางๆก่อน รบกวนพี่วิมังสาด้วยคับ คือรู้สึกเหมือนกำลังใจตก ปฎิบัติน้อยลง แต่ตอนนี้จะตั้งใจทำใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2008
  19. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ไม่ว่าจะฝึกสมาธิหรือวิปัสสนาสิ่งที่ต้องละให้หมดไปเสียก่อน ญาณปัญญาจึงจะเกิดได้ชัดเจนก็คือ นิวรณ์ 5 ครับ ส่วนวิธีฝึกก็อาจจะแล้วแต่จริตและความถนัดของแต่ละคนครับ


    <TABLE height=24 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center bgColor=#cccccc background=../../pics/bgtop.gif border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>
    นิวรณ์ 5
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

    กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

    พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

    ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
    ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

    อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

    วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

    นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

    นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

    1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

    พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

    พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

    พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

    เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด

    เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย

    เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

    มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

    คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

    พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

    คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

    คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

    พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

    แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

    3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

    พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

    คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

    หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

    ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

    ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

    ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

    ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

    ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

    ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

    4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
    ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
    เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง หลับตาปี๋ เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด

    ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่
    ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก
    ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้
    *** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น
    *** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่
    *** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน
    *** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

    ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
    พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
    ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

    5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
    ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป


    ที่มา:
    http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate01.php
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    เย้ ในที่สุดก็ได้ฝึกมโนมยิทธิที่บ้านสายลมแล้ว ... หลังจากที่พลาดมา3ครั้ง

    ในความรู้สึกส่วนตัว รู้สึกผิดหวังนิดหน่อย
    ออกจากบ้าน 8.30 ไปถึงที่นั้นก็9โมงกว่าๆ คนเยอะดีจิงๆ ก็ไปถวายสังฆทานแล้วก็ ไปนั่งเล่นเดินเล่นนิดหน่อย ก็เข้าไปในตึกพระกรรมฐาน มองไปมองมา อีกตั้งนานกว่าจะฝึก ก็เลยเดินไปที่ชั้น2 เห็นว่างดี ก็เลยเข้าไปนั่ง พอนั่งไปสักพักรู้สึก ลืมอ่านป้าย พอออกไปดู ห้าม ผู้ฝึกใหม่เข้าห้องญาน8 อ้าว เข้าไปแล้วทำไงได้ ก็มานั่งตรงบันใดแทน ซักพักเห็นคนเอาถาดดอกไม้ขึ้นไปชั้น3 เราก็เอามั้ง ไปขอมา พอขึ้นมาข้างบน เห็นตู้เงินค่าไหว้ครูก็หยอดก่อนเลย แล้วก็ไหว้พระ เอาดอกไม้ไปวาง พอวางเส็ด มองขึ้นไปเห็นป้าย 1 เตียมดอกไม้...... 2 ยกถาด นะโม3จบ 3. กราบ อ้าว เวนกรรม ผมทำย้อนหมดเลย โถ่วันนี้เป็นอะไร อะไรมันบังป้ายไว้นี้ ทุกป้ายเลย แต่ก็ไม่เป็นไรไหว้ก่อนหลังก็น่าจะเหมือนกัน เวลา 12 ก็ได้เข้าห้องเล็ก ห้องผมมีอยู่ 15 คน ครูฝึกก็เริ่มเลย ท่องนะมะพะธะ ไปเรื่อยๆ คราวนี้แปลก ปกติจะหูอื้อ แบบที่เคยเขียนไปแล้ว แต่วันนี้มีเสียงเหมือนไมค์หอน เสียงแหลม บาดใจดี พอจับภาพพระพุทธเจ้า ภาพแรกที่เห็น ก็เป็นเหมือนในรูปเปะเลย นั่งเก้าอี้ ครูฝึกก็ถามถึงรองเท้า คนอื่นตอบเป็นสีทอง เป็นแก้ว ผมตอบเป็นเพชร แล้วครูก็ถามว่า หัวเข็มขัดเป็นไง คนอื่นตอบ กลม บ้าง เหลี่ยม บ้าง ผมตอบกลม หลังจากที่ถาม ถึงพระพุทธเจ้าจบ ก็บอกให้ไปจุฬมนี พอนึกปุ๊บ ภาพก็ปรากฏ คือเป็นเจดีย์สีขาว ครูถามว่าสีอะไร คนอื่นตอบสีแก้ว สีเพชรหมด อ้าว เห้ย ตกลงที่เดียวกันรึป่าว ครูถามบอกมีกี่ประตู คนอื่นตอบ4 ผมตอบ 8 อ้าว พอครูบอกให้เข้าไปข้างใน ครูถามมีคนเยอะมั้ย คนอื่นบอกเยอะไปหมด แต่ผมไม่เห็นใครเลย ภาพที่ผมเห็นคือ ที่พื้นมีมอก บนอากาศจะมีแสงสีชมพูอ่อนๆคล้ายดอกไม้ วิ่งจากพื้นขึ้นมา เหมือนบังไฟพญานาค สวยมาก จากนั้นครูก็บอกให้เชิญพ่อแม่มา ผมเห็นไม่ค่อยชัดเลย ในตอนนั้นปวดขาอย่างแรง ปวดมากๆ ไม่ไหวเลย สังขารนี้ พอจบเรื่องพ่อแม่ ก็ไปนิพพาน ตอนนิพพานเริ่มไม่มั่นใจละ ไปดูวิมานพระพุทธเจ้า เห็นเป็น คล้ายๆวัดผสมเจดี คือมี เจดีอยู่ตรงกลาง แล้วมีวัดมาต่อ 4 ด้าน ครูก็บอกให้เข้าไปดูข้างใน กว้างมากๆ ประมาณสุวรรณภูมิ แบบไม่มีของไม่มีคน ตรงกลางมีพระพุทธเจ้านั่งอยู่ ผมกราบเส้ดทำไรเส็ด ก็ไปดูวิมานเรา โห วิมานเรา เล็กยังกะกระต้อบ มีประตู4บาน เข้าไปก็เห็นประตูอีกบานเลย เห้ยไมมันเล็กจังวะ เล็กแค่ไหน เล็กเหมือนอยู่ในลิฟ ครูก็ถามว่า มีต้นไม้ป่าว ผมก็เห็นเป็นสีเขียวๆ เหมือนของจริง ของคนอื่นเขาเป็นแก้วกันหมด อะไรกัน พอครูถามว่ามีสระมั้ย ก็มีสระแคบๆรอบกระต้อบ แต่มันสะบายไอตอนนอนนิซิ เล็กแค่ไหนแต่นอนสบาย พอจบก็ไปไหว้หลวงพ่อ จากนั้นก็ออกจากสมาธิ ในห้องผมมีคนบอกว่าไม่เห็นอะไรเลยอยู่ 2 คน ครูก็ถามว่า นึกว่าเห็นป่าวละ นึกว่าเห็นก็เห็น อ้าวเห้ย เริ่มไม่มั่นใจแล้ว แล้วตกลงเราเห็นหรือไม่เห็น ที่ผมบอกผิดหวังก็ตรงนี้แหละ คือมันน่าจะแน่นอนกว่านี้ ถึงเราไม่นึก ก็น่าจะเห็นซิ มันต้องแบบนี้ถึงพอจะพิสูจน์ได้ ตกลงที่เราเห็นนั่นมันจริงไม่จริง ผมเลยอยากรู้ประสบการณ์ของพี่ๆว่าเหมือนแบบนี้ป่าว แล้วตกลงผมฝึกสำเร็จรึป่าว หรือ คิดไปเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...