แนะนำวิธีเข้าณาน 4 ได้คล่องให้ผมที

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย butwanna, 11 เมษายน 2014.

  1. butwanna

    butwanna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +45
    เมื่อก่อนผมเคยเข้าได้แต่ไม่คล่อง แต่เดียวนี้รู้สึกว่าจะหายไป อย่างมากก็ได้แค่มือชาเท้าชา เท่านั้นแล้วก็หลับไปทุกที อยากถามท่านผู้รู้ท่านที่ฝึกเข้าณาน4 จนคล่องช่วยแนะนำทีคับ ขอบคุณคับ
     
  2. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ขอประทานโทษ ก่อนจะไปฌาน 4 ไม่ทราบว่า ฌาน 1 2 3 คล่องหรือยังครับ ? ควรให้ข้อมูลไว้ด้วย เผื่อท่านสมาชิกผู้เชี่ยวชาญดัานฌานสมาบัติในเว็บบอร์ด ซึ่งมีหลายท่านทีมีความชำนาญอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องรูปฌานและอรูปฌาน จะไดัให้คำแนะนำได้ตรงจุดต่อไปครับ
     
  3. butwanna

    butwanna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +45
    ผมรู้และเคยเข้าถึง แต่โดยปกติแล้ว จะหายไปเองโดยธรรมชาติ ตามกระแสของโลก ท่านคนไหนมีข้อปฎิบัติ ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้หายไป และครองได้ทุกเวลาที่ต้องการช่วยแนะนำผมที
     
  4. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ฌานโลกีย์ก็มีเสื่อมตามธรรมดา ถ้าเป็นโลกุตตระก็จะไม่เสื่อมละ

    ทีนี้กายสบายไม่เหน็ดเหนื่อยเกินไป สำรวม ไม่โลดโผน การงานไม่ครั้งค้าง มีศีลก็ย่อมเป็นฌานได้ตามปกติ

    เทคนิคที่เข้าฌานลึกเร็วก็เหลือตาขึ้นด้านบน ลมเจ็ดฐาน สามฐาน ท้อง อก ปลายจมูก
     
  5. butwanna

    butwanna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอบคุณคับ
     
  6. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    เมื่อก่อนเข้าได้แปลว่าเคยเข้าได้แล้ว
    วิธี recall ก็คือกลับไปนั่งทบทวนว่าตอนก่อนนั้นเราวางตัว วางใจ วางอารมณ์ อย่างไร
    การกิน การอยู่ การปฏิบัติ ในช่วงนั้น เราทำอย่างไร
    ทำอย่างที่เราเคยทำ เดี๋ยวมันก็ได้เหมือนที่เคยทำ

    มีสองเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ ก็คือ
    1.มันเป็น skill ไม่ใช่ knowledge แปลว่า มันต้องการการลงมือทำ เพื่อให้เกิดผล ให้เกิดการเรียนรู้
    2.ความแคล่วคล่องว่องไว ของ skill จะมาจากการทำซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เท่านั้น

    เพราะฉนั้น
    ถ้าเป็นเรื่องของการปฏิบัติ จะมีสองเรื่องที่เราต้องทำ ก็คือ
    1.ลงมือทำให้สม่ำเสมอ
    2.ถ้าทำแล้วติด ให้ถามผู้รู้ หรืออ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องเอา ได้คำตอบแล้วก็รีบกลับไปทำต่อตาม ข้อ 1

    จริงๆเรื่องการปฏิบัติมีเท่านี้แหละครับ

    ส่วนเรื่องผลของการปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับเลเวล ที่เก็บข้ามภพข้ามชาติกันมาของแต่ละคนด้วย
    เรื่องของการบรรลุธรรม เราสามารถเสมอกันได้ที่การบรรลุธรรม
    แต่เรื่องอ๊อปชั่นเสริมนี่ตามกันยากหน่อย
    ทำเหมือนกันเป๊ะ 10 คน ผลที่ได้จะเสมอกันเป๊ะทั้ง 10 คน เป็นไม่มี
     
  7. Fmfot8iy

    Fmfot8iy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +72
    เป็นไปตามนั้นครับ
     
  8. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ไม่ทราบว่าตรงนี้คือสิ่งที่คุณเจ้าของกระทู้ตอบในสิ่งที่ผมถามไปหรือเปล่า? ถ้าอย่างนั้น ขอถือเสียว่าคุณเจ้าของกระทู้ได้ตอบที่ถามไปนะครับ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผม ที่จะต้องมาสานต่อความเห็นที่ค้างคาไว้ต่อไป

    มาถึงเรื่องที่เจ้าของกระทู้ได้ถามไว้ คุณบอกว่าเคยเข้าได้และเข้าถึงมาแล้ว จึงขอเสนอแนะวิธีการที่ชาวบ้าน ชาวช่องเขาใช้กันโดยทั่วๆไปนะครับ แต่ได้ผลดีทีเดียว

    1.ถ้าคุณเจ้าของกระทู้แน่ใจและมั่นใจว่าเคยเข้าถึงฌานในระดับที่ต้องการมาแล้ว ยังจำอารมณ์ของฌาน นั้นๆ ได้หรือไม่?

    1.1 หากจำได้ ก็พยายามเรียกความจำนั้นกลับมา และนำจิตของคุณไปตามทางของสิ่งที่จำได้นั้น จนเข้าถึงจุดหมายปลายทางตามที่ต้องการ ครั้งแรกอาจช้าหน่อย ส่วนครั้งต่อไปก็จะคล่องขึ้น พยายามเข้าไปให้ถึงจุดนั้นให้บ่อยๆ จากนั้น ไปดำเนินการตามข้อ 2

    1.2 หากจำไม่ได้ ให้ตั้งต้นฝึกใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งเดินทางเข้าไปถึงจุดที่ต้องการ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา หากเข้าไม่ถึง ก็ทำเรื่อยไป จนเข้าไปถึงในที่สุด เมื่อไปถึงแล้ว ก็พยายามเข้าไปให้ถึงเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไป จนกระทั่งจำอารมณ์ของจุดที่ไปถึงนั้นได้อย่างขึ้นใจ จากนั้น ไปดำเนินการตามข้อ 2

    2.เมื่อสามารถเข้าถึงระดับฌานตามที่คุณเจ้าของกระทู้ต้องการ ด้วยความคล่องตัวแล้ว ตรงจุดนี้กล่าวได้ว่า คุณเจ้าของกระทู้ มีความคล่องในการเข้าฌาน ดังนั้น ขั้นตอนต่อไป จะต้องฝึกในเรื่องของความคล่องตัวในการทรงฌาน นั่นคือความสามารถในการเข้าถึง การดำรงอยู่และการออกจากฌาน กล่าวคือสามารถกำหนดเวลาปฏิบัติการให้สั้นหรือยาวได้ดังใจ
    ความคล่องในการทรงฌาน ฝึกได้โดยในระหว่างที่จิตยังดำรงอยู่ในฌาน ก็ต้องพยายามแช่อยู่ในนั้นเป็นเวลานานๆ ก่อนในตอนแรก จากนั้นก็ลองเข้าฌานโดยอยู่ในฌานเป็นระยะเวลาสั้นๆ สลับกับการอยู่ในฌานเป็นระยะเวลายาวนาน ทำไป ทำไป ซ้ำๆซากๆ อย่างนี้ จนเกิดเป็นความสามารถในการกำหนดเวลาการทรงฌานอย่างแม่นยำได้ในที่สุด

    เมื่อทำได้ตามข้อ 1. และข้อ 2. แล้ว กล่าวได้ว่าคุณเจ้าของกระทู้จะมีความคล่องตัวในการเข้าฌาน และความคล่องตัวในการทรงฌาน เรียบร้อยแล้ว จากนั้น จึงไปปฏิบัติตาม ข้อ 3.

    3.การขยันหมั่นฝึกซ้อม หากผ่านขั้นตอนตามข้อ 1. และ ข้อ 2. มาแล้ว สำหรับเรื่องของฌานในระดับโลกีย์ นั้นสามารถเสื่อมได้ตลอดเวลา ดังนั้น หากไม่ต้องการความเสื่อมของฌาน ก็ทำได้โดยต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นจะเกิดเป็นความฝืด เรื่องของฌาน หากต้องการฝึกแบบหวังผลจริงๆ ต้องฝึกให้มีความคล่องตัวให้มากๆ คือ คิดถึงปุ๊บ ต้องเข้าไปสู่ฌานในระดับที่ต้องการได้ปั๊บ อย่างนี้ถือว่าใช้ได้

    หากทำตามข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3. ได้แล้ว จะพบว่าฌานที่คุณมีจะไม่เสื่อม ไม่หายไปและครองได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตามที่คุณเจ้าของกระทู้ต้องการได้อย่างแน่นอนครับ

    4.ข้อนี้ เป็นข้อพิเศษ คุณเจ้าของกระทู้ไม่ได้ถาม แต่ขอแถมให้ เรื่องการฝึกฌาน ควรทำการฝึกด้านสติควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดเป็นสัมมาสมาธิ จะได้ไม่พลาดท่าเดินไปในหนทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปฏิบัติเพื่อความดีของผู้ปฏิบัติต่อไป

    สำหรับการฝึกด้านสติ คู่ไปกับการฝึกฌาน ในทางปฏิบัติ จะทำได้อย่างไร ในโอกาสหน้า ถ้าพอจะมีเวลา คงจะได้มาเสวนากับเจ้าของกระทู้เป็นลำดับต่อไป

    ขอจบการเสนอความเห็นในกระทู้ไว้เพียงเท่านี้ครับ

     
  9. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    มีประเด็นที่คุณ Bull_psi ในความเห็นที่ 4 ได้กล่าวไว้ ถึงเรื่องของลม 3 ฐาน ที่จุดสำคัญทั้ง 3 คือท้อง อก ปลายจมูก แต่ไม่ได้อธิบายในรายละเอียดไว้ ผมก็จะขออนุญาตมากล่าวเสริมความเห็นของคุณ Bull_psi ไว้ เพื่อให้เจ้าของกระทู้ได้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นนะครับ

    เรื่องของลม 3 ฐานนี้ เป็นการเจริญสมาธิในด้านของอานาปนสติกรรมฐาน อันว่ากรรมฐานอันนี้ เป็นกรรมฐาน 1 ในกรรมฐานของหมวดอนุสติ จัดเป็น 1 ในกรรมฐาน 40 กอง ที่สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำเอาไว้ สำหรับอานาปนสติกรรมฐานนี้ สามารถคุมกำลังใจให้เข้าถึงฌาน 4 ได้ ซึ่งตรงตามความต้องการของเจ้าของกระทู้พอดี

    มาเข้าเรื่องของการขยายรายละเอียดเรื่องลม 3 ฐาน ตามที่คุณ Bull_psi ได้กล่าวถึงกันครับ จากที่กล่าวไปแล้วว่า เรื่องนี้ เป็นการปฏิบัติเพื่อเจริญด้านอานาปนสติเป็นสำคัญ ดังนั้น การกล่าวถึงลม 3 ฐาน จะเป็นการกล่าวถึงเรื่องความละเอียดของ “ลม” ในการเจริญอานาปนสตินั่นเอง

    เรื่องของลมหายใจในการเจริญอานาปนสตินี้ ต้องระมัดระวัง อย่าไปบังคับให้มันเร็ว มันช้า ให้มันหนัก ให้เบา เพื่อให้เกิดความรู้สึก อย่างนี้ไม่ได้ ต้องปล่อยไปตามปกติของมัน ในการจับสัมผัสความรู้สึกของลม ให้เอาสติเข้าไปจับ วิธีการจับ มีดังนี้ครับ

    1.ถ้ารู้ลมผ่านแค่จมูก หายใจเข้าหรือหายใจออกรู้แค่จมูก แต่รู้ทรงตัวอยู่ได้ จะประมาณ 2 ,3 หรือ 5 นาทีก็ตาม อย่างนี้กล่าวว่าเป็นขณิกสมาธิ เป็นสมาธิเล็กน้อย ในทางปฏิบัติด้านฌาน ยังไม่นับว่าเป็นเครื่องวัด

    2.ถ้าลมหายใจทั้งเข้าทั้งออกรู้กระทบถึงหน้าอกด้วย เข้ากระทบจมูกรู้ กระทบหน้าอกข้างในรู้ เวลาออกกระทบหน้าอกรู้ กระทบจมูกรู้ ได้ 2 จุด ใน 3 จุด ตามที่กำหนดไว้ เมื่อทรงได้ 2 จุดแบบนี้ กล่าวได้ว่าได้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว

    3.ถ้ากำหนดรู้ความสัมผัสของลมเวลาหายใจเข้าที่กระทบจมูก หน้าอก กระทบท้อง (บริเวณประมาณเหนือสะดือ) เวลาหายใจออกกระทบท้อง หน้าอกและจมูก ได้ทั้ง 3 ฐานอย่างนี้กล่าวว่าจิตเริ่มเข้าสู่ฌาน อันมีปฐมฌานหรือ ฌาน 1 เป็นเบื้องต้น เพื่อเป็นทางเข้าสู่ ฌานที่ 2 และ 3 และ 4 ตามที่เจ้าของกระทู้มีความต้องการต่อไป

    ในส่วนนี้เป็นการกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติทางด้านอานาปนสตินะครับ จะเห็นได้ชัดเจนว่าในการปฏิบัติจะต้องประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะเสมอ เพราะต้องใช้สติเข้าไปจับการสัมผัสของลมที่เข้ามากระทบฐานต่างๆ ทั้ง 3 ฐานที่กำหนดขึ้นมานั่นเอง ซึ่งเป็นที่มาของข้อแนะนำในข้อ 4 ตามที่ผมได้เสนอเจ้าของกระทู้ไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า การฝึกฌาน สมควรต้องฝึกด้านสติควบคู่กันไปด้วยเสมอ เพราะการปฏิบัติเพื่อการเจริญฌาน ทั้งในระดับต้นและระดับสูง ล้วนจะต้องมีสติสัมปชัญญะมาประกอบในการเจริญฌานทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ในการมุ่งสู่เป้าหมายในการปฏิบัติ ไม่ให้หลงไปเดินทางผิดพลาดไปเสียจากความดี เรียกว่าปฏิบัติให้เกิดเป็น “สัมมาสมาธิ” ให้ได้นั่นเองครับ

     
  10. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    จิตที่ทรงฌาน 4 จัดว่ามีกำลังมาก หากนำกำลังของจิตที่มี ดังนี้ มาน้อมพิจารณาถึงอริยสัจ 4 พิจารณาถึงไตรลักษณ์ รวมถึงการมีสติรับรู้เวทนาต่างๆ เพื่อให้เห็นกองทุกข์ในแต่ละสรรพสิ่ง จักได้ประโยชน์อย่างมหาศาล
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ระดับฌาน ไม่ได้วัดกันที่ จำนวนจุดที่รู้สึก แต่วัดกันที่ความเป็นหนึ่งเดียวของอารมณ์
     
  12. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ลืมเสนอคุณเจ้าของกระทู้ไปอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกเรื่องฌานจะต้องยึดถือตามหลักอิทธิบาท 4 นะครับ รวมทั้งให้มีพรหมวิหาร 4 กำกับโดยตลอด แล้วฌานที่มีอยู่ก็จะได้ไม่เสื่อม ไม่ถอยหลังและคงอยู่ได้อย่างที่ใจเราต้องการตลอดไป

    มาถึงตรงนี้ ก็คงจะหมดข้อเสนอแนะของผมต่อกระทู้ของเจ้าของกระทู้นะครับ โอกาสหน้าหากมีเวลา จะได้เข้ามาคุยถึงเรื่องการฝึกสติ ควบคู่ไปกับการฝึกฌาน เพื่อประโยชน์ในการทรงฌานต่อไปครับ
     
  13. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    คุณ butwanna ครับ

    ผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่อยากจะแนะนำให้คุณไปอ่านเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการรับรู้ข้อมูลที่ผิดพลาดไป อย่างไรเสีย เรียนรู้จากคำสอนของครูบาอาจารย์โดยตรง จะมีประโยชน์มากที่สุดและตรงทางที่สุดครับ

    ตามภาพประกอบครับ หนังสือ “กรรมฐาน 40” ของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เล่มนี้เหมาะมาก กับเจ้าของกระทู้ ผมเองเท่าที่ในอดีต เคยศึกษากรรมฐานกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี ก็เคยใช้หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือเหมือนกัน

    ในส่วนเรื่องการดูความละเอียดของลม เกี่ยวกับการกำหนดลม 3 ฐานของอานาปนสติกรรมฐาน โดยเอาเรื่องความละเอียดของลม มาเทียบเคียงกับระดับของขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิซึ่งถือว่าความละเอียดของลมในจุดที่สัมผัสได้ทั้ง 3 ฐาน นั้นจิตได้เข้าถึงฌานแล้ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี ท่านก็กล่าวไว้อย่างชัดเจน ในหนังสือดังกล่าว อยู่ในบทเรื่องของอานาปนสตินะครับ ยังไงเจ้าของกระทู้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ต่อไป

    ผมเสนอแนะแหล่งอ้างอิงให้นะครับ เพราะเห็นว่าเจ้าของกระทู้สมควรศึกษาโดยตรงจากคำสอนของครูบาอาจารย์จะดีกว่า เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการรับรู้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ต่อไปครับ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2014
  14. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    อ่านดีๆ อ่านภาพรวมของคำตอบและคำแนะนำทั้งหมดก่อนอีกรอบอย่าพึ่งด่วนตัดสิน..
    วิธีการมันมีหลากหลายวิธีถ้าจะแย้งต้องแย้งในหลักการ
    และแนวทางเดียวกัน..
    .กรณีนี้พูดถึงวิธีการในลักษณะการหายใจแบบ ลม ๓ ฐานเทคนิคที่
    คุณ yooyutแนะนำมาถือว่าถูกแล้ว.
    .ลองพิจารณารูปแบบอีกครั้ง.เด่วจะคุยกันต่อ..
    แล้วจะหลงประเด็นหลงแนวทางได้...



    ส่วนกรณีที่คุณ yooyut แนะนำมีหลักสังเกตุเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
    ในกรณี..บุคคลที่มีจริตอีกแนวทางหรือพอมีทิพยจักขุบ้างเล็กน้อย
    ..ดังคำตอบที่จะแทรกเป็นข้อๆข้างล่างครับ.ตัวหนังสือสีแดงครับ..ส่วนข้อความเดิม
    จะเป็นตัวหนังสือสีดำครับ..


    ปล. เจ้าของกระทู้ลองอ่านดู..ขอบคุณครับ..
     
  15. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    เอาน่า อย่าไปว่ากล่าวอะไรกันมากเลยคุณ เพื่อนๆ กันทั้งนั้น เข้าใจผิด เข้าใจพลาดกัน ก็อธิบาย ก็ชี้แจงกันด้วยเหตุ ด้วยผล แค่นี้ก็น่าจะเข้าที่เข้าทาง


    ขอขอบคุณ คุณ nopphakan ที่ได้ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้ได้อ่านกันครับ ในความเห็นดังกล่าวก็มีเรื่องที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่น่าจะเอามาขยายให้ท่านเจ้าของกระทู้ได้รับทราบเป็นอย่างยิ่ง เช่นเรื่องของ “สีของลมหายใจ” อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเป็นในมุมมองของผู้ฝึกอิทธิวิธีแล้ว จะไม่ได้สนใจเฉพาะสีของลมหายใจเท่านั้น แต่จะแยกแยะกันถึงส่วนประกอบของสีนั้นๆกันเลย ทีเดียว ว่ามีส่วนประกอบเป็นอย่างไร เพื่อเอาสิ่งที่แยกได้ ไปใช้งานต่อไป แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่นอกเหนือไปจากประเด็นของกระทู้นี้ จึงต้องละเว้นไว้ก่อน

    กลับมาคุยกับเจ้าของกระทู้กันต่อ

    ถึง คุณ butwanna ครับ

    มาว่ากันถึงเรื่องของ ฌาน 4 ตามประเด็นของเจ้าของกระทู้ จากที่กล่าวไว้ว่า ฌาน 4 นั้นเป็นของสำคัญ หากเจ้าของกระทู้สามารถทำให้เกิดมีได้ จะยังผลให้เกิดประโยชน์อย่างมาก

    แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทรงฌาน 4 นั้น จะเกิดมีได้ ย่อมต้องอาศัยการฝึกสติควบคู่ไปกับการฝึกฌานด้วย เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ดังนั้น ต่อไปนี้ จะยกตัวอย่างการฝึกฌาน ควบคู่ไปกับการฝึกสติ ว่าจะเอาไปทำอะไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาตัวเองได้บ้าง

    ในเบื้องต้น เราสามารถอาศัยการฝึกสติ เพื่อใช้ในการตามหา “ผู้รู้” ที่เข้าไปยึดถือ ยึดโยงสภาวะต่างๆ เมื่อพบแล้ว ก็ทำการพิจารณา

    อาการที่ “ผู้รู้” เข้าไปยึดถือ ยึดโยง สภาวะต่างๆ เหล่านี้นี่เอง จะเป็นตัวบ่งชี้อย่างสำคัญว่าสภาวะนั้นๆ ไม่ใช่เรา และ เราไม่ใช่สภาวะนั้นๆ เมื่อทำการพิจารณาบ่อยเข้า ก็จะเกิดเป็นความเข้าใจและยอมรับนับถือตามความเป็นจริงของธรรมชาติไปเรื่อยๆ

    การทำอย่างนี้ มีประโยชน์โดยตรงในการฝึกอบรมเรื่องของสักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นของธรรมในหมวดของสังโยชน์ 10 หากลด ละ ความยึดถือในเรื่องนี้ได้ จากน้อยไปหามาก ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการฝึกขั้นต่อไป

    จากที่กล่าวมา เมื่อจิตที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีและขัดเกลามาด้วยฌาน 4 แล้ว กล่าวได้ว่าจิตนั้นจะมีกำลังมาก จิตที่ทรงฌาน 4 ย่อมสามารถตามหา “ผู้รู้” ได้ดีกว่าจิตธรรมดาๆ ที่ไม่เคยผ่านการบ่มเพาะด้วยกำลังของฌานมาก่อน เรียกว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจิตให้มากขึ้นนั่นเอง

    ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายๆเรื่อง ของการนำเอากำลังของจิตที่ทรงฌาน 4 ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตัวเอง ก็ขอนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการแสดงความเห็นในกระทู้นะครับ

    ขอจบการนำเสนอความเห็นเพียงเท่านี้ โอกาสหน้า หากพอมีเวลา จะได้มากล่าวถึงเรื่องของลมหลายฐาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ฌาน 4 เพื่อขยายประเด็นตามที่คุณ
    Bull_psi ได้กล่าวไว้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจาก ลม 3 ฐาน ที่ได้กล่าวไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้นั่นเอง
     
  16. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ถึง คุณbutwannaครับ

    มาว่ากันต่อถึงเรื่องของลม 3 ฐานและลมหลายฐาน ตามที่ได้ติดค้างไว้กันต่อ โดยจะนำมาเชื่อมโยงกับการฝึกของฌาน 4 เพื่อเป็นการขยายความตามความเห็นของคุณ Bull_psi ต่อไปครับ

    เริ่มกันในเรื่องของพื้นฐานเลย คือเรื่องของลม 3 ฐาน ก่อนอื่น ขออธิบายก่อนว่าเพราะเหตุใด ครูบาอาจารย์แต่โบราณ ท่านจึงให้กำหนดฐานของสติลงที่ 3 จุดนี้

    สาเหตุเป็นเพราะว่า เนื่องจากบนร่างกายของมนุษย์เรานี้มีจุดต่างๆมากมาย จุดเหล่านี้เป็นจุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเรื่องตามธรรมดาของสรีระร่างกาย

    จะว่าไปแล้ว ก็เป็นเรื่องเดียวกับเรื่องของจักระตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ตามที่คุณ
    nopphakan ได้กล่าวถึงไว้นั่นเอง

    จุดที่ผมกล่าวถึงเหล่านี้ หากมีการใช้จิตกำหนดสติ ตั้งฐานของสติที่ตรงจุดเหล่านี้เอาไว้ จะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปต่อร่างกายและจิตใจ ตามคุณสมบัติของจุดนั้นๆ

    เรื่องเหล่านี้มีกล่าวถึงในตำรากรรมฐานโบราณ และหนังสือของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ท่านก็มีกล่าวถึงไว้เป็นสำคัญ

    มาถึงตรงนี้ จะพบว่าจุดพื้นฐานทั้ง 3 คือ จมูก อก ท้อง นั้น ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านกล่าวว่า เป็นสามจุด ที่เกิดอานิสงค์มาก เหมาะแก่การเจริญสมาธิ ในขั้นต้น จึงเป็นที่มาของเรื่องที่ท่านสอนเน้นที่จุดทั้ง 3 คือ จมูก อก ท้อง เป็นสำคัญ

    ที่กล่าวถึงนั้น เป็นแค่เรื่องของพื้นฐานอย่างมาก แต่สำหรับผู้ฝึกทางอิทธิวิธี อย่างผมหรืออาจจะเป็นท่านอื่นๆ ในทางปฏิบัตินั้น เราไม่ได้เพ่งกันแค่ลม 3 ฐาน เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องพื้นๆ เกินไป แต่ในความเป็นจริง ผมจะใช้ถึง 12 ฐานเป็นอย่างน้อย

    หากจะถามถึงสาเหตุ ที่แต่ละท่าน ว่ากันถึงลมที่มากกว่า 3 ฐาน ว่าเขาฝึกกันไปทำไมให้ยุ่งยาก? (ผมไปถามเองนั่นล่ะ)

    บางท่านก็จะบอกว่า “ไม่มีอะไร เพื่อความมันส์ สะใจส่วนตัว” (เอาครับเอา เชิญตามสบายครับท่าน -----> yooyut พูดเอาในใจ)

    บางท่านก็จะบอกว่า “ก็อยากจะทำอย่างนี้ เป็นความพอใจส่วนตัว แล้วคุณมาเกี่ยวอะไรด้วย” (หงายเงิบเลยครับ เงิบแท้ๆแน่นอน สำหรับคนถาม เอาไงเอากันครับท่าน -----> yooyut พูดเอาในใจอีกเช่นเคย)

    สำหรับเหตุผลโดยทั่วไปของการฝึกลม 12 ฐานหรือมากกว่า 12 ฐาน นั้น ก็เพื่อที่จะให้เกิดอานิสงค์ด้านความคมชัดของสติในการตามลมไปยังจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นเบื้องแรก จุดยิ่งมาก ย่อมต้องใช้กำลังของสติในระดับสูงตามไปด้วย เป็นการฝึกกำลังของสติได้อย่างดี ผู้ฝึกตามลมได้คล่อง ถึงคล่องมาก จนถึงคล่องอย่างยิ่งยวด สติย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

    นอกจากนี้ ในการเอาจิต ตั้งฐานของสติในแต่ละจุดต่างๆเหล่านี้ ก็จะเกิดเป็นอานิสงค์ในแบบต่างๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะทางของจุดนั้นๆ ต่อไปอีกด้วย

    ทั้งสองเรื่องนี้ เป็นสิ่งสำคัญ ในการฝึกเรื่องลมหลายฐาน ที่เกี่ยวกับการใช้กำลังใจในระดับฌาน 4 มากำกับ

    สำหรับผมแล้ว จะเน้นการฝึกอบรมดูลมตามฐานภายในร่างกายเป็นสำคัญ ไม่เน้นส่งจิตออกนอก เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และไม่มีสาระแต่อย่างใด โดยการมุ่งอบรมสติจากภายใน จะมีประโยชน์มากกว่าในการตามหาตัว “ผู้รู้” เพื่อให้เห็นอาการยึดโยงสภาวะต่างๆ แล้วพิจารณา เป็นการอบรมใจในเรื่องของสักกายทิฏฐิ ต่อไป

    เพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามคำสอนขององค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงเน้นให้ทำการฝึกอบรมสติจากภายใน โดยไม่ให้มีการส่งจิตออกสู่ภายนอก นั่นเอง


    ขอจบการอธิบายขยายความเห็นของคุณ
    Bull_psi ไว้เพียงเท่านี้ก่อน โอกาสหน้า หากพอมีเวลา จะได้มากล่าวต่อว่า ในบรรดาฐานของลมทั้ง 12 ฐาน ที่ผู้ฝึกอิทธิวิธีอย่างผมฝึกกันนั้น มีจุดอยู่ตรงไหนกันบ้าง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการอธิบายความอย่างละเอียดต่อไปครับ
     
  17. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    รูปแบบ หรือเป้าหมายแห่งการปฏิบัติ ยิ่งมาก ยิ่งช้า เหมือนว่าทำหลายอย่าง จะให้สำเร็จก็ยิ่งช้า
    ให้ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แนะนำใช้พุทโธแนบชิดลมหายใจ โดยกำหนดไว้ที่จุดสัมผัสเพียงจุดเดียว แนะนำที่ปลายจมูก
    กำหนดแบบแนบชิดนี้ไม่ต้องคำนึงว่าลมเข้าหรือออก ใช้พุทโธที่จุดลมสัมผัส(อย่าตามลม)
    อย่างนี้ผมใช้ปฏิบัติมาแล้วได้ผลเร็วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2014
  18. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ความแตกต่างระหว่างลมไร้ฐานกับลม 3 ฐาน ต่างกันอย่างไร?

    มีท่านสมาชิกผู้อ่านบางท่าน ได้สอบถามเข้ามาว่าการฝึกลมแบบไม่มีฐาน กับลม 3 ฐานหรือลมมากกว่า 3 ฐาน มีความแตกต่างกันในทางการปฏิบัติอย่างไร และอย่างไหนจะดีกว่ากัน ก็ขอนำมาตอบไว้ในกระทู้นี้ด้วย เพื่อความชัดเจนของเนื้อหาในกระทู้นะครับ

    เรื่องของการฝึกตามลมหายใจ ในแบบของอานาปนสติกรรมฐานนั้น การฝึกของครูบาอาจารย์แต่โบราณ จะกำหนดแยกเอาไว้สองแบบ คือ

    1.การกำหนดลมหายใจไว้ โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้ารู้ ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้ว่าหายใจออก หรือถ้ากำหนดรู้เฉพาะ รู้ว่าลมหายใจเข้า หายใจสั้นหรือยาว รู้ว่าลมหายใจออก หายใจสั้นหรือยาว เป็นต้น อย่างนี้เป็นการฝึกในด้านของสติปัฏฐาน กล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานของหลักสูตรสุกขวิปัสสโก

    2.การกำหนดลมหายใจ ที่ต้องกำหนดฐานของลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้า ลมหายใจกระทบจมูก หน้าอก ท้อง เวลาหายใจออก ลมหายใจกระทบท้อง หน้าอก จมูก เป็นต้น อย่างนี้เป็นการฝึกในทางหลักสูตรเตวิชโชและในทางหลักสูตรฉฬภิญโญ ซึ่งครูบาอาจารย์แต่โบราณ จะกำหนดให้มีการวางอารมณ์พื้นฐานของจิตในตอนต้นไว้ในระดับที่สูงกว่าในหลักสูตรสุกขวิปัสสโก เพื่อประโยชน์ในการฝึกขั้นต่อไป


    ผมเคยผ่านการฝึกมาทั้ง 2 แบบ ทั้งลมไร้ฐานและลม 3 ฐาน ตามความรู้สึกแล้วพบว่าการกำหนดลมไร้ฐาน กับลม 3 ฐานนั้น ความคมชัดของจิตในการครองสติแทบจะไม่ต่างกัน ตรงนี้อาจจะเป็นเพราะความเคยชิน ที่ไม่ว่าจะจับลมในแบบใด แบบไร้ฐานหรือแบบ 3 ฐาน จิตก็จะทำการจับฐานของลมไปเองตามอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปกำกับให้ทำ ดังนั้น ผลของความคมชัดของสติจึงไม่รู้สึกถึงความแตกต่างกัน

    อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพิจารณาถึงด้านอานิสงค์ที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ ระหว่างลมไร้ฐาน กับลม 3 ฐาน ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ แม้ว่าทั้งสองอย่างจะสามารถประคองสติได้จริง แต่ว่าลมไร้ฐานนั้น ย่อมไม่เกิดอานิสงค์ต่อร่างกายและจิตใจ เท่ากับลม 3 ฐานหรือมากกว่า 3 ฐาน ตามที่ได้กล่าวไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ ในเรื่องของอานิสงค์จากการฝึกลม 3 ฐานและมากกว่า 3 ฐาน นั่นเอง


    ขอจบการอธิบายเพิ่มเติมเรื่องความแตกต่างของลมไร้ฐาน กับลม 3 ฐาน แต่เพียงเท่านี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...