วิธีเลื่อนฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 22 มกราคม 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=551 align=center bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cc6600 height=22>หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑๐ : วิธีเลื่อนฌาน</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffcc33 height=22>โ ด ย : พระอริยคุณาธาร สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffef><TABLE cellPadding=3 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD vAlign=top>
    การเลื่อนฌาน คือก้าวหน้าไปสู่ฌานชั้นสูงกว่า ถ้าท่านผู้ปฏิบัติไม่ใจร้อนเกินไปเมื่อฝึกโดย
    ขั้นทั้ง ๕ ในฌานขั้นหนึ่งๆ ชำนาญแล้ว การก้าวไปสู่ฌานขั้นสูงกว่า จะไม่ยากเลย และไม่ค่อย
    ผิดพลาดด้วย

    ขอให้ถือหลักของโบราณว่า "ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ" ไว้เป็นคติเตือนใจเสมอๆ วิธีการ
    ที่จะเลื่อนฌานได้สะดวกดังใจนั้น อยู่ที่กำหนดหัวเลี้ยวหัวต่อของฌานไว้ให้ดี คือขั้นต่อไปจะ
    ต้องละองค์ฌานที่เท่าไร และองค์ฌานนั้นมีลักษณะอย่างไร ?ดำรงอยู่ได้ด้วยอะไร ? ดัง
    ที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วในตอนก่อนๆ เมื่อกำหนดรู้แจ่มชัดแล้ว พึงกำหนดใจไว้ด้วยองค์ที่
    เป็นปฏิปักษ์ กับองค์ที่ต้องละนั้นให้มาก เพียงเท่านี้จิตก็เลื่อนขึ้นสู่ฌานชั้นสูงกว่าได้ทันที
    เมื่อเข้าถึงขีดขั้นของฌานชั้นนั้นแล้ว พึงทำการฝึกหัดตามขั้นทั้ง ๕ ให้ชำนาญ แล้วจึงเลื่อน
    สู่ชั้นที่สูงกว่าขึ้นไป โดยนัยนี้ตลอดทั้ง ๔ ฌาน

    เพื่อสะดวกแก่การกำหนดหัวต่อของฌานดังกล่าวแล้วแก่ผู้ปฏิบัติ จึงขอชี้หนามของฌาน
    ให้เห็นชัดโดยอาศัยพระพุทธภาษิตเป็นหลัก ดังต่อไปนี้

    พระบรมศาสดาตรัสชี้หนามของฌานไว้ว่า
    เสียง เป็นหนามของ ปฐมฌาน
    วิตก = ความคิด, วิจาร = ความอ่าน เป็นหนามของ ทุติยฌาน
    ปีติ = ความชุ่มชื่น เป็นหนามของ ตติยฌาน
    ลมหายใจ เป็นหนามของ จตุตถฌาน ดังนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา....ธรรมะไทย....
     
  2. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673
    อนุโมทนา ลมหายใจเป็นหนามของณานที่4 อธิบายได้สั้นและกระชับมาก
     
  3. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    "พระบรมศาสดาตรัสชี้หนามของฌานไว้ว่า
    เสียง เป็นหนามของ ปฐมฌาน

    วิตก = ความคิด, วิจาร = ความอ่าน เป็นหนามของ ทุติยฌาน
    ปีติ = ความชุ่มชื่น เป็นหนามของ ตติยฌาน
    ลมหายใจ เป็นหนามของ จตุตถฌาน" ดังนี้

    ที่สุดของที่สุดของคำอธิบายวิธีการเลื่อนฌาน สั้นแต่แจ่มแจ้งชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยอ่านมา

    นี่คือคำอธิบายของบรมครู
     
  4. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    ขอเทียบเคียงอารมณ์ที่เคยรู้สึก ผิดถูก ขออภัยด้วย อย่าปรามาสผมเลยครับ เพิ่งจะมาเทียบนี่แหละครับ สาธุ

    วิตก = ความคิด, วิจาร = ความอ่าน เป็นหนามของ ทุติยฌาน

    เพระฉะนั้น อนุสติที่มีการภาวนาจะได้สูงสุดแค่ปฐมฌาน เช่น พุทธานุสติ ธรรมนุสติ สังฆานุสติ ฯลฯ ที่ใช้คำภาวนา เพราะถ้ายังภาวนาอยู่ จะไม่ก้าวหน้าขึ้น หรือ เข้าสู่ฌานที่ 2 หรือ ทุติยฌานได้ จำเป็นต้องละเสีย

    ปีติ = ความชุ่มชื่น เป็นหนามของ ตติยฌาน

    การมีอารมณ์เอกกัคคตา อารมณ์นิ่งสงบจิตไม่ฟู เป็นอารมณ์ที่ไม่มีปีติชุ่มช่ำในใจ ไม่มีความดื่มด่ำในใจ ถ้าบุคคลใดยังติดอยู่ก็จะไม่สามารถเจริญอารมณ์จิตตนขึ้นไปได้ จำเป็นต้องตัดเสีย จึงจะได้ฌาน3 หรือ ตติยฌาน


    ลมหายใจ เป็นหนามของ จตุตถฌาน

    .....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2008
  5. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ขออนุญาติ อธิบายเพิ่มเติมครับ

    "เสียง เป็นหนามของ ปฐมฌาน"

    หมายความถึง ในปฐมฌาณ ไม่ยินดียินร้ายในเสียงที่ได้ยินครับ เฉยๆ ไม่ใส่ใจในเสียง แม้จะได้ยินอยู่ก็ตาม


    "ลมหายใจ เป็นหนามของ จตุตถฌาน"

    หมายความว่าเมื่อเข้าถึง ฌาณ4 จะไม่สามารถบังคับควบคุมกะบังลมให้หายใจเข้าออกได้อีกต่อไป
    กะบังลมหยุดการพอง-ยุบเหมือนถูกเบรค เพราะจิตถอนจากการควบคุม ทั้งๆที่มีสติรู้ตัวอย่างชัดเจนที่สุด

     
  6. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ปรกติแล้ว คนในเว๊ปนี้ส่วนมาก นั่งๆไปก็จะเข้าสมาธิลึกไปเองเรื่อยๆอยู่แล้วครับ

    เราหันมาดู "สติ" กันดีกว่า ..สติตัวนี้แหละ เป็นตัวรู้ว่าเราเปลี่ยนลำดับ เปลี่ยนสถานะของจิตไปแล้ว

    เมื่อ...มันก็เหมือนกับ เราตั้งใจ ปล่อยวาง ..เรื่อยๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...