ซูกระแท้ว....แซวกระทู้....

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย raming2555, 14 เมษายน 2014.

  1. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    เป็นเรื่องที่พายุถามเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับข้อสงสัยตรงนี้ครับ
    หลวงพ่อฤษีท่านกล่าวไว้ชอบแล้วจริงๆ
    แล้วเหตุที่ท่านกล่าวเช่นนี้ มีที่มาที่ไปของเหตุแห่งจิตด้วยครับ
    เพียงแต่การอธิบายออกไปดังๆนั้น เป็นการสุ่มเสี่ยงมาก ผมจึงไม่พูดถึงเรื่องตรงนี้ครับ ...
    หลวงพ่อท่านก็กล่าวแต่วิธีการ และผลที่จะเกิดขึ้น ท่านไม่อธิบายสาเหตุเช่นกันครับ...
    นี่คือภาค2ของกระทู้หลงทางที่เคยบอกไว้ว่า ไม่กล้าเล่านั่นเอง
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
  3. The eyes

    The eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,641
    ขอบพระคุณท่านป๋าที่ยังทำให้งงต่อไป...(อันนี้แซวนะคะ) คือดิฉันมักพิจารณาตัวเองเสมอ ว่าจริงๆแล้วชีวิตต้องการอะไร (อันนี้คือพิจารณาและนึกมานาน)ไม่เคยได้รับคำตอบว่า พระนิพพานเลย มีแต่คำตอบคือ อิสระภาพ จากทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งใครหลายๆคนจะบอกว่า นั่นคือพระนิพพาน (แต่ใจยังค้าน) สงสัยไม่มีบุญพอ ในเมื่อแต่ละท่านว่าไว้ เราเป็นแค่เด็ก(แก่)ธรรมดา จึงขอเดินตาม เอาน่าพระนิพพานก็พระนิพพาน .(อันนี้ไม่ได้ล่วงเกินนะคะ) รึพระนิพพานจะอยู่เกินเอื้อมถึง ใจจึงยังไม่ปราถนา แต่ก็พยายามปฎิบัติเพื่อให้ได้ไป

    สรุป อาจเพราะบุญวาสนาไม่มีพอ เลยเกิดขึ้นที่ความสงสัย แต่อย่างไรก็จะพยายามไปตามทางต่อไป (ได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เพราะหลงทางบ่อยมากๆ)

    ขอบพระคุณค่ะ
     
  4. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    เรื่องการปรารถนาพระนิพพานนั้น เดี๋ยวนี้พูดกันจนเฝือไปหมดแล้ว เสมือนว่าพระนิพพานนี้เป็นสวนสนุกอย่างหนึ่ง ที่ใครๆก็อยากไปอยู่รวมกันเสียที่นั่น จะเป็นที่ที่มีแต่ความสุข หาความทุกข์ไม่ได้เลย
    คือเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา...

    พระนิพพานนี้ พระท่านกล่าวว่า เป็นการดับไม่มีเชื่้อ ทุกข์ดับ สุขก็ดับ อนิจจังดับ นิจจังก็ดับ อัตตาดับ อนัตตาก็ดับ ไม่ว่างดับ ว่างก็ดับ ไปด้วย

    เรื่องนี้เป็นของยาก หาไม่ได้ด้วยแรงปรารถนาแต่อย่างเดียว ต้องปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสมควร ปฏิบัติให้ยิ่ง ให้ต่อเนื่อง อย่างยาวนาน แม้จะหวังก็หวังไม่ได้ แม้จะไม่หวังก็ยังไม่ได้

    อย่าว่าไปถึงพระนิพพานเลย ทุกวันนี้นั้น เอาลำพังเพียงแต่ไม่ให้ตกนรก ก็ยังนับว่ายากแล้ว ดังนั้น ที่กล่าวกันถึงพระนิพพานอย่างเลื่อนลอยเพ้อฝันนั้น เห็นทีที่จะได้ไปคงเป็นอบายภูมิเสียโดยมาก เนื่องเพราะนิพพานกันเพียงที่ปาก ศีลมีเพียงที่ปาก ธรรมก็มีเพียงที่ปาก พุทธก็เป็นเพียงที่ปาก หาได้กระทำลงที่จิตไม่...

    ยุคสมัยนี้มีสื่อออนไลน์เป็นอันมาก ผู้คนล้วนมากด้วยพุทธวจนะ แต่หาผู้จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ แม้ครูบาอาจารย์จะเพียรอบรมสั่งสอนสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญจำเป็น เหล่าปุถุชนก็เพียรหาช่องทางหลีกเลี่ยง จะไปคว้าจับเอาแต่สิ่งหลอก สิ่งล่อ สิ่งลวง เสียโดยมาก

    คนก็คิดเอาง่ายๆท่องแต่ว่าฉันจะเอานิพพานๆๆๆๆ...ท่องอยู่อย่างนี้ อยากอยู่อย่างนี้ แต่หาได้ทำความเพียรเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายปลายทางไม่...ความอยากอย่างนี้นี่เองที่พญามารชอบมาก ...

    บ่นมากก็น่ารำคาญ มาเอาเรื่องที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ก่อนที่ท่านจะพูดว่าให้จิตนึกถึงนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อสิ้นลมปราณไปจากชาตินี้แล้ว ย่อมมีโอกาสเข้าถึงพระนิพพานได้ แม้ว่าเข้าไปถึงพระนิพพานในชาตินี้ ก็ยังเป็นผู้มีหวัง ไปทำความเพียรต่อในเทวโลก พรหมโลก ต่อไป...ท่านว่าไว้อย่างนี้...
     
  5. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    ท่านกล่าวไว้ทำนองนี้ว่า...
    เหล่าพระโยคาวจรทั้งหลาย(หมายถึงผู้ปฏิบัติเพื่อหวังความหลุดพ้น)
    ท่านให้รักษา ศีล 5 หรือศีล 8 และกรรมบท 10 เป็นปกติ
    ท่านให้ทรง พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เป็นปกติ
    ท่านให้บำเพ็ญ บารมี 10 ประการให้ครบถ้วน สม่ำเสมอ
    ท่านให้ระลึกไว้เสมอว่า เราจะมีความตายเป็นแน่แท้ เราจะรอดพ้นความตายไปไม่ได้ นี่คือมรณานุสติ
    ท่านให้ระลึกไว้เสมอว่า ร่างกายนี้เป็นของสกปรก เป็นของน่ารังเกียจ เป็นที่อยู่ของโรค เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง นี่คือ กายคตานุสติ
    ท่านให้ระลึกไว้เสมอว่า เมื่อร่างกายนี้หมดลมปราณลงเสียแล้ว ก็จะเน่าเปื่อยผุพังย่อยสลายหายไป เป็น อนิจจัง คือเป็นของไม่เที่ยง
    ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป
    จนในท้ายที่สุด ก็เป็นอนัตตา คือว่างเปล่า สลายหายไปหมด
    ตรงนี้เป็นอสุภกรรมฐาน ควบวิปัสสนาญาณเบื้องต้น...
    จากนั้นท่านจึงให้ระลึกไว้เสมอว่า มนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี แม้จะมีความสุขอยู่บ้าง ก็เป็นสุขที่เจือไปด้วยทุกข์ทั้งสิ้น หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ หากยังต้องเกิดอีกเมื่อใด ความทุกข์ย่อมยังคงมีอยู่ ดังนั้นแล้ว การเกิดในภพภูมิใดๆ ไม่ว่าจะมนุษย์โลกก็ตาม เทวโลกก็ตาม พรหมโลกก็ตาม จะไม่มีสำหรับเราอีกต่อไป...

    เมื่อนั้นแล้วท่านจึงให้จิตนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ว่า ข้าพเจ้าขอถือเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี้ก็คือ อุปสมานุสติกรรมฐาน นั่นเอง....

    ...........................................................
    เมื่อเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธ์ มีจิตอ่อนโยนด้วยพรหมวิหาร 4 มีจิตในตั้งมั่นแน่วแน่ในบารมีทั้ง 10 ประการ
    มี มรณานุสติกรรมฐาน กายคตานุสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน วิปัสสนาญาณ และมีอุปสมานุสติกรรมฐาน ตั้งมั่นในใจไว้สม่ำเสมอ เป็นปกติดีแล้ว
    บุคคลเยี่ยงนี้ จึงหวังพระนิพพานได้ หากแม้ไม่คาดหวังก็ย่อมมีทางเข้าถึงได้ แม้จะหวังพระนิพพานบ้างไม่หวังพระนิพพานบ้าง ก็ย่อมมีโอกาสเข้าถึงได้ หรือแม้จะหวังก็ไม่ใช่ ไม่หวังก็ไม่ใช่ในพระนิพพาน ก็ยังเป็นผู้มีโอกาสเข้าถึงได้...

    ต้องทำแบบนี้ครับ ... ไม่ใช่ท่องปาวๆแต่ฉันจะเอาพระนิพพาน ...ฉันจะเอาพระนิพพาน...ฉันเบื่อร่างกายนี้แล้ว..ฉันเบื่อร่างกายนี้แล้ว...
    พวกนี้ไม่ใช่หรอกครับ พวกนี้มันไอ้พวกคนบ้า แล้วก็อยากอวดว่าตัวเองเป็นผู้มีจิตเข้าถึงพระนิพพาน ความจริงแล้วมันบ้ามาก แล้วก็มีความทุเรศเต็มอัตราศึก ...

    คนเขาจะเอาดีเขาไม่มานั่งพูดพล่ามทำเพลงหรอกครับ ...
    สูดลมหายใจได้ ลืมตาตื่นขึ้นมาเขาซัดกันเลย...
    เคยได้ยินไหมครับว่า...
    จะทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามสติกำลัง...
    ที่ใจ ที่กายนี้ จรดลงไป ที่นี้ที่เดียว...ไม่ใช่ทำที่ปาก...

    พวกที่ชอบพูดอวด อ้างคำครูบาอาจารย์มา แล้วเที่ยวไปข่มคนโน้นทีคนนี้ที หรือบางคนก็แสร้งทำเป็นถ่อมตนเพื่อให้ผู้อื่นนิยมชมชอบสรรเสริญ พวกนี้มันเป็นจริยาของสัตว์นรกทั้งสิ้น ไม่ใช่นิสัยของพระโยคาวจร ไม่ใช่นิสัยของผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ...
    อยู่ใกล้ด้วย คบหาด้วย ได้ยินได้ฟังอยู่ ก็จะทำให้พลอยแปดเปื้อนโสโครกตามไปด้วย..
    คำสั่งสอนของครูบาจารย์ท่านยังมีอยู่ ต้องฟัง ฟังแล้วต้องจำให้ได้ จำได้แล้วต้องเอาไปถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ...ถ้าสักแต่ว่าฟัง สักแต่ว่าดู มีตาเป็นตากระทู้ มีหูเป็นหูกะทะ อย่างนี้ก็หวังอเวจีมหานรกได้เพียงอย่างเดียว ไม่มีที่อื่น...

    ไปอเวจีมหานรกแล้วก็ให้รู้จักละอายกับพระเทวฑัต ว่าพระเทวฑัตนี่เลวแสนเลว ทรยศเนรคุณคิดร้ายต่อพระพุทธเจ้าถึงเพียงนี้ ท่านยังได้ 5 ในอภิญญา 6 ท่านยังทำความเพียรจนสำเร็จได้ แต่พวกเรานี้ ดีแต่ปาก เก่งแต่ปาก จะหาสัก 1 ในอภิญญา 6 ก็ยังไม่ได้ เกิดมาก็เสียชาติเกิด เกิดเปล่า ตายเปล่า เป็นแต่เพียงโมฆะบุรุษ ไปอเวจีมหานรกนี่ก็สมควรแล้ว แต่ว่าหากจะมียิ่งไปเสียกว่าอเวจีมหานรกก็สมควรได้รับเกียรตินั้น เพราะพระเทวฑัตแม้ว่าจะเลวแสนเลว ก็ยังมีความดีที่ทำความเพียรได้ถึง 5 ในอภิญญา 6 เราเสียอีก ทำอะไรได้บ้าง ตายไปเจอพระเทวฑัต ก็สมควรจะละอายต่อหน้าท่านด้วย...

    ได้เกิดมาแล้วในพระพุทธศาสนา ได้พบคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้พบครูบาอาจารย์ ที่ท่านทรงคุณธรรมขั้นสูงแล้ว แต่กลับยังไม่เอาดี ยังแถไปแถมาอยู่อย่างนี้ ไม่มุ่งมั่นหาทางดับทุกข์ให้ได้ แบบนี้จะเกิดมาทำไม...

    ครูบาอาจารย์ท่านลำบาก แบกสังขารเอาไว้ อบรมสั่งสอน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันนึงหลายๆรอบ ทั้งอัดเทปไว้ ทั้งบันทึกเป็นตำรา จนป่านนี้ยังค่อยเห็นจะมีใครเอา มีแต่จะเอาบ้าเอาบอกันไปหมด มันก็สมควรโดนด่าแล้ว จะเอาแต่จักรพรรดิ์ จะเอาเศรษฐีนวโกฎิ จะเอาวงบุญพิเศษ จะเอาทิพยสมบัติ ทิพยอำนาจ ฯลฯ ไอ้ที่จะเอาที่ไม่เอาเนี่ย ไม่เห็นมี มีแต่พวกจะเอา จะเอา...หัดเอาไอ้ที่ไม่เอาบ้างสิ...
     
  6. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    ที่โพสมานี่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะด่าใคร ว่าใคร ขอให้ถือว่าคนแก่อยากจะระบายความในใจ หรือระบายตามสั่ง
    นานๆทีก็ระบายออกมาสักทีหนึ่ง ไม่ใช่จะเอาแต่ตลกเฮฮา บ้าๆบอๆไปเสียทุกเรื่อง
    แต่ไม่ได้จะว่าใคร...
    ว่าไว้ให้เป็นเครื่องเตือนสติเตือนใจ...
    โพสนี้จะไม่ลบ..โพสอื่นจะลบก็ลบไป...โพสนี้ห้ามลบ...
    เพราะเป็นโพสที่ตั้งใจด่า...ด่าตัวเองด้วย...ไม่ใช่ด่าคนทั่วไปเท่านั้น ตัวเองก็โดนด่ามาด้วยแบบนี้...
     
  7. pegaojung

    pegaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +9,448
    เข้ามารับคำด่าค่ะ ^_^
     
  8. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    แตน...
    เจ้าโผล่มาได้ยังไงเนี่ย...
    วันๆเห็นแต่อยู่หน้าเฟส...
    เวปพลังนี่ก็ไม่ค่อยได้เข้าแล้วนี่นา...
    :boo::boo::boo:
     
  9. The eyes

    The eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,641
    "ได้เกิดมาแล้วในพระพุทธศาสนา ได้พบครูบาร์อาจารย์ ที่ท่านได้พบคุณธรรมขั้นสูงแล้ว แต่ยังไม่เอาดี ยังแถไปแถมาอยู่แบบนี้ แล้วอย่างนี้จะเกิดมาทำไม? "

    สาธุค่ะ เป็นประโยชน์ที่โดนใจ ไม่ขอแก้ตัวใดๆ กราบขอบพระคุณค่ะ
     
  10. pegaojung

    pegaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +9,448
    ก็ยังล่องลอยแว๊บบบไปแว๊บบบบมาบ้างค่ะ
    สะดุดคำด่าเลยโผล่หน้ามารับนิดนึง ^^
    (smile)dencee


     
  11. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    กราบเรียนท่านระมิ้ง

    สวัสดีท่านระมิ้ง
    ติดตามอ่านมานานสำหรับกระทู้นี้แต่ไม่ได้มา...สนทนาด้วย...พอดีเปลี่ยนชื่อใหม่..เลยถือโอกาสเข้ามาเยี่ยมคาราวะ...ต่อไปอาจจะสนทนากัน..บ่อยขึ้น...มีในมงคล ๓๘ คบบัณฑิตเป็นมงคล...หวังว่าท่านระมิ้งคงไม่ขัดข้องนะครับ._/\_
    ****
    มงคล ที่ ๒ คบบัณฑิต
    มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ฉบับทางก้าวหน้า
    คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    ผ้าที่ห่อหุ้มของหอม
    ย่อมพลอยหอมตลบอบอวลตามไปด้วยฉันใด
    ผู้ที่คบบัณฑิต
    ก็ย่อมพลอยได้รับความรู้ ความสามารถ
    และความดีตามบัณฑิตไปด้วยฉันนั้น
    บัณฑิต คือใคร ?
    บัณฑิต คือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ ทำให้มีความเห็นถูก ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
    - เป็นผู้รู้ดี คือรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
    - เป็นผู้รู้ถูก คือรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
    - เป็นผู้รู้ชอบ คือรู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป
    บัณฑิต อาจเป็นใครก็ได้ เช่น อาจเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก อาจเป็นชาวไร่ชาวนา อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจเป็นญาติของเรา ฯลฯ แต่ไม่ว่า จะเป็นอะไรก็ตาม จะต้องเป็นผู้มีจิตใจผ่องใส และดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือเป็นคนดีนั่นเอง
    คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผู้ที่เรียนหนังสือจนได้รับปริญญานั้น คือบัณฑิต ความจริงแล้วนั่นเป็นเพียงบัณฑิตทางโลกเท่านั้น ยังไม่ใช่บัณฑิตที่แท้จริง เพราะผู้ที่ได้รับปริญญาแล้วถ้าความประพฤติไม่ดีอาจไปทำผิดติดคุกติดตะรางได้ แต่บัณฑิตที่แท้จริงย่อมเป็นผู้ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบแต่ความดี ความถูกต้อง ความสุจริต สามารถป้องกันตนให้พ้นจากคุกจากตะราง แม้กระทั่งจากนรกได้
    “บัณฑิตมิใช่ผู้มีเพียงปริญญา
    แต่คือผู้อุดมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา”
    *****
    กราบเรียนท่านระมิ้ง
    ตามลิ้งที่คุณ supatorn นำมา ข้างต้น กระผมสงสัย ดังนี้ครับ.
    ๑. เรื่อง การภาวนา "นิพพานสุขัง"(อ่านว่า นิพพานะสุขัง)
    ๑.๑ ถาม ในส่วนเครื่องผูก...(ระลึก) .........(ในระดับสมาธิ เรียกว่า วิตก-วิจาร)
    คือเป็นเครื่องผูก.....จิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว...."นิพพานสุขัง"(อ่านว่า นิพพานะสุขัง) ..ไม่ฟุ้งซ่านในอดีต-อนาคต...มีผลทำให้เกิดสมาธิ...มีจิตเบาสบาย(ปิติ-สุข)..เป็นการทรงอารมณ์ปัจจุบัน(อุเบกขา)..และ..ถ้าทำได้ตลอด..ก็คือการ"ทรงญาณ"นั่นเอง...เช่นเดียวกับการภาวนา "พุทโธ" ....จะมีผลให้จิตสงบเหมือนกัน...ต่างกันเพียงความหมายคำ-ประโยค....ใช่หรือไม่?...อย่างไรครับ?
    ๑.๒ ถาม ในส่วนเครื่องปรุงหรือความหมายของคำ-ประโยค ในส่วนของความหมายคำว่า "นิพพานสุขัง" และคำว่า "พุทโธ"เป็นเพียงสมมติ...ถือเป็นส่วน สังขารและสัญญาขันธ์ เป็นแต่เพียงโน้มน้าวจิตไว้ในส่วนของกุศล....เท่านั้น....ไม่ได้นำมาเป็นส่วนตัดกิเลสเหมือนข้อ๒....ประโยชน์คือ...หากคราวใดจิตไม่ได้อยู่ในความโปร่งเบา(สมาธิ) เครื่องปรุง จะช่วยรักษาจิตไว้ให้อยู่ในส่วนของกุศลจิต....ใช่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    ๑.๓ เมื่อทรงอารมณ์ตามข้อ ๑.๑ และข้อ๑.๒ คือยังไม่มีข้อ ๒. (ภาคปัญญา) หากมรณาในขณะใดๆเป็นปัจจัยเข้าสู่แดนสุคติภูมิได้ตามระดับบุญกรรมที่สั่งสมมาเช่น...ทาน...ศีล...ภาวนา... ใช่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    ๒ เรื่อง การพิจารณากาย....การพิจารณาความตาย
    ถาม การพิจารณากาย....การพิจารณาความตาย...เปรียบเสมือน....ปัญญา...ซึ่งเป็นตัวตัดกิเลส....ถ้ามีพื้นฐานตาม ข้อ ๑.๑ โดยตลอดต่อเนื่องแล้วย่อมพิจารณาได้ตามสภาพ....ด้วยความโปร่งเบาของจิต...หากทำสม่ำเสมอ....เมื่อคราวใกล้จะมรณา...(จิตเปลี่ยนภพ)...จิตย่อมจะรวมใหญ่...เหลือแต่เพียง ชวนจิต(ชะวะนะจิต)...ที่จะนำไปเกิด..ตามกฎกรรม...หากเคยชินคือ..ทรงอารมณ์ตามข้อ ๑.๑ และข้อ ๒. แล้วไว้ได้...จะสามารถตัดกิเลสได้..(เข้าใจจากอ่านตามลิ้งข้างต้น) .....เนื่องจากไม่ใช่จากการนึกปรุงตามอวิชชา...เพราะได้รู้สภาพตามความเป็นจริง(ตัวเองกำลังประสบในขณะนั้นคือใกล้ตาย)บนฐานแห่งสมาธิตามที่ปฏิบัติไว้อย่างสม่ำเสมอตามข้อ ๑.๑...ในขณะจิต..ที่กำลังจะเปลี่ยนภพ..นั้น...เข้าใจอย่างนี้ถูกหรือไม่? ....อย่างไรครับ?
    ๓ เรื่องศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗
    ถาม เป็นการกำหนดขอบเขตการประพฤติตนตามแต่สถานะ...เพื่อไม่ให้จิตเดือดร้อนวุ่นวาย..จากภัยอันเกิดแต่การล่วงละเมิดขอบเขตความดีคือศีล..อันจะมีวิบากทุกข์ร้อนต่อไปและจะเป็นผลสืบให้...ไม่สามารถทำข้อ ๑. ได้ตลอด ผลสืบเนื่องไปข้อ ๒ จะไม่สามารถพิจารณาบนพื้นฐานสมาธิได้. ใช่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    ๔ เรื่อง...การทรงพรหมวิหาร
    ถาม การทรงพรหมวิหาร...เพื่อเป็นเครื่องช่วยพยุงศีลให้สามารถรักษาไว้ได้...ใช่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    *****************************************
    ถามสรุป.
    องค์บริกรรม จิตระลึก เป็นเครื่องผูก
    ปัญญาถูก พินิจกาย สัจจะเห็น
    ศีลช่วยสงบ ระงับภัย ใจชุ่มเย็น
    พรหมวิหาร เป็นเครื่องช่วย ศีลดำรง.?

    ***************************
    ทั้งหมดเป็นความเข้าใจจากอ่าน...ผิดถูกอย่างไร...โปรดชี้แนะด้วยครับ_/\_
    ส่วนเรื่องการปฏิบัติ....ถ้าเห็นตรง....การเดินทางเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะเดิน...ด้วยจุดหมายสุดท้ายคือ นิพพานัง ปรมังสุขัง...เอวังฯ
    _/\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    แซวๆ ก็ง่ายๆ ดูอย่างเรื่องตาอะไรที่ตกปลาอยู่ประจําแล้วไม่สบายใกล้ตายที่หลวงพ่อไปเยี่ยมวันแรกให้ภาวนาพุทโธน่ะ(ถ้าจําไม่ผิด)แล้วให้บริจาคเงินให้พระ๔องค์ ๒๐บาท พอวันที่สองท่านไปเยี่ยมอีกคราวนี้ให้ภาวนา นิพพาน พอตายไปก็ไปอยู่นิพพานเลย ยอมรับว่ายิ่งศึกษามากก็ยิ่งสงสัยมาก เลยยิ่งเลวมาก ค่ะ :'(
    สาธุธรรมค่ะ
     
  13. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    สวัสดีครับ ท่านขุนวัง น่าจะเป็นขุนกวีนะครับ แต่งกลอนแต่ละที มีความชำนาญมิใช่น้อยครับ
    คำถามแต่ละคำถามก็บ่งบอกได้ถึงปัญญาและการศึกษาในหัวข้ออรรถข้อธรรมมาเป็นเวลานานมิใช่น้อย แต่แนวทางการปฏิบัติ จะติดๆขัดๆไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เหตุมันก็มีอยู่นะครับ เวลาก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง...ผมจะค่อยๆตอบไปทีละประเด็นนะครับ ประเด็นไหนหวาดเสียว ก็ขอให้ท่านที่ยังไม่ปฏิบัติอย่างจริงๆจังๆ อย่าพึ่งเอาไปเผยแพร่บอกกล่าวนะครับ เพราะสุ่มเสี่ยงจะเอาไปอธิบายต่อแล้ว พากันเข้าใจผิด จะเป็นบาป เป็นกรรมไปเปล่าๆ ....


    ๑.๑ ถาม ในส่วนเครื่องผูก...(ระลึก) .........(ในระดับสมาธิ เรียกว่า วิตก-วิจาร)
    คือเป็นเครื่องผูก.....จิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว...."นิพพานสุขัง"(อ่านว่า นิพพานะสุขัง) ..ไม่ฟุ้งซ่านในอดีต-อนาคต...มีผลทำให้เกิดสมาธิ...มีจิตเบาสบาย(ปิติ-สุข)..เป็นการทรงอารมณ์ปัจจุบัน(อุเบกขา)..และ..ถ้าทำได้ตลอด..ก็คือการ"ทรงญาณ"นั่นเอง...เช่นเดียวกับการภาวนา "พุทโธ" ....จะมีผลให้จิตสงบเหมือนกัน...ต่างกันเพียงความหมายคำ-ประโยค....ใช่หรือไม่?...อย่างไรครับ?




    คำบริกรรม ท่านอาศัยให้เป็นเครื่องผูกจิต จริงครับ
    ไม่ว่าจะพุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ พุทธังสรณังคัจฉามิ ฯลฯ เป็นเครื่องผูกจิต
    คำบริกรรมนี้เป็นสัญญา สัญญานี้ยังเป็นสมมติ และแน่นอนว่า ย่อมไม่เที่ยง...
    ยังเป็นวิตก วิจาร เมื่อยังมีคำบริกรรมเหล่านี้ มีความปีติ ความสุข อย่างอ่อนๆ และทรงอารมณ์เป็นหนึ่งได้ในลักษณะอ่อนๆ ผู้ภาวนายังรู้สึกได้ไม่ชัดเจนนัก

    มาถึงตรงนี้อยากจะบอกว่า ท่านขุนวัง ถามคำถาม ด้วยความสับสน คือคำถามจะข้ามไปข้ามมา ปนเปกันไป เพราะผู้ถามก็งง คนผ่านมาอ่านก็งง คงยังสงสัย แต่จะสงสัยแบบงงๆ

    จะตอบแบบไม่ให้งง ก็ต้องตอบแบบเล่าให้ฟัง แล้วถามกลับบ้าง เพื่อให้ผู้ถามซึ่งมีปัญญามาก ได้ขบคิด พิจารณาให้เกิดความเห็นเป็นลำดับไป

    ธรรมดาของการบริกรรม พุทโธ หรือ นิพพานสุขงฺ ก็ตาม เมื่อเข้าเขตปฐมฌาณ เริ่มทรงตัวแล้ว คำบริกรรม จะหายไป ... ดังนั้นถ้าท่านขุนวังจะใช้คำว่า ทรงฌาณ อันนี้ การจะทรงฌาณได้ ต้องเข้าเขตฌาณได้ก่อน เมื่อเข้าเขตฌาณได้ คำบริกรรมก็หายไป ดังนั้นแล้ว การทรงฌาณ จะไม่มีคำบริกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วครับ ไม่ว่าจะทรงฌาณ 1,2,3หรือ4 ตรงนี้ไม่มีคำบริกรรมแล้วครับ ...คำบริกรรม เหล่านี้ หายไปก่อนเข้าเขตฌาณ...

    คำบริกรรมเหล่านี้หายไปไหน ?
    ในเมื่อบริกรรมไปจนเข้าเขตฌาณแล้ว คำบริกรรมเหล่านี้หายไป ดังนั้นเราจะบริกรรมคำว่าอะไรก็ได้ ขอให้จิตรวมเข้าสู่ฌาณได้ก็พอแล้ว ใช่หรือไม่?

    คำบริกรรมเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ ... คำบริกรรมเหล่านี้เข้าไปหลอมรวมกับจิต เพราะคำบริกรรมเหล่านี้ จะเป็นตัวสัญญา ถ้าไม่ใช่สัญญา ย่อมจะอาศัยมาผูกจิตให้อยู่กับที่ไม่ได้...
    เมื่อคำบริกรรมเป็นสัญญาที่หายไปรวมอยู่ภายในจิต คำบริกรรมที่แตกต่างกันจึงให้ผลที่แตกต่างกันครับ
    เหตุเพราะว่า คำบริกรรม เหล่านี้ มีความหมายในตัวเอง จากสัญญา คือความจำได้ ว่าพุทโธ ก็เกิดความรู้ใหม่ว่า พุทโธแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้ตรงนี้ จะกลับกลายเป็นสัญญา ย้อนกลับเข้ารวมในจิตอีกที บางคนอาจจะเรียกว่า สัญญาซ้อนสัญญา ก็พอจะได้ครับ นี่เป็นลักษณะที่ท่านขุนวัง เป็นอยู่ แต่สำหรับชาวบ้านทั่วๆไป พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า เขารู้อย่างนั้น ซึ่งก็ถูก คือ ถูกของชาวบ้านเขา แบบชาวบ้าน

    การรู้ว่าพุทโธ คือ พระพุทธเจ้า จะแปลไปเป็นสัญญา หลอมรวมไปอยู่กับจิตเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คำบริกรรมที่ต่างกัน สร้างสัญญาใหม่ที่ต่างกัน และผลสืบเนื่องในความหมายของสัญญาก็แตกต่างกันไป เช่น สัมมาอรหัง ชาวบ้านจะนึกถึงพระอรหันต์ ชาวเมืองจะนึกถึงว่าพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง นะมะพะทะ คือธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างนี้เป็นต้น...

    ต้องอย่าลืมว่า เวลาที่เราเริ่มต้นฝึกนี้ เรายังเป็นปุถุชนอยู่ การฝึกของเราทั้งหลายนี้ เป็นการอาศัยสัญญา เพื่อไปจากสัญญา ยังต้องอาศัยสมมติ เพื่อไปหาวิมุติอยู่นะครับ จู่ๆมาเลยจะตัดสัญญา จะทิ้งสมมติ จะเอาวิมุติอย่างเดียวเลย มันไม่ได้อย่างเด็ดขาดครับ
    องค์ภาวนานี้ก็เป็นแต่เพียงสมมตินะครับ คำบริกรรมก็เป็นสมมติ วิธีการปฏิบัติภาวนาในเวลานี้ที่เราทำๆกันอยู่ ก็เป็นสมมตินะครับ ที่ผมกำลังพิมพ์กำลังอธิบายอยู่นี้ ก็ยังเป็นสมมติด้วยกันทั้งหมด แต่ว่าเราจะอาศัยสมมติ เพื่อไปหาวิมุติ ดังนั้นเวลาเราพูดคุยกันในสิ่งสมมุติ อย่าพึ่งเรียกหาวิมุตินะครับ เพราะว่าจะคุยกันไม่รู้เรื่อง คือถ้าวิมุติเมื่อไร พวกเราทุกคนนี่จะปิดปากเงียบกันหมด มันไม่ต้องสื่อสารกัน ไม่มีอะไรอีก

    เมื่อจิตเข้าสู่อุเบกขารมณ์ หรือเอกัตคตารมณ์ คืออารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว ตรงนี้มีคำอธิบายที่ทำให้งงกันพอสมควรกับคำว่า จิตกับกายและอารมณ์แยกออกจากกัน จิตจึงนิ่งอยู่โดดๆอย่างนั้น...
    เราก็จำกันมาแบบนี้แหละครับ ผมก็จำมาเหมือนกัน แต่พอเวลาทำเข้าจริงๆมันก็ใช่นะครับ แต่มันก็ไม่ตรงเสียเลยทีเดียว คือ จิตแยกจากอารมณ์ภายนอก เป็นลักษณะคล้ายๆจิตหดตัว เข้าไปภายใน เหมือนเรามีกล่องใบใหญ่ แล้วข้างในมีกล่องใบเล็กซ้อนๆกันอยู่ พอเราเริ่มเปิดกล่องใบใหญ่เข้าไปดู เราจะเห็นอีกกล่องนึงวางอยู่ภายใน แล้วเราก็เปิดกล่องที่อยู่ภายในออกดูแล้วก็เห็นอีกกล่องนึง...จนไปถึงกล่องใบสุดท้าย เราเปิดเข้าไปดู แล้วไม่เห็นกล่องอะไรอีก เราก็เอาตัวเข้าไปอยู่ในนั้น แล้วปิดฝาลงมาเสีย เราจะไม่เห็นกล่องภายนอกอื่นๆอีก...

    แต่เราไม่ได้เอากล่องใบสุดท้ายยกออกมาแยกจากกล่องอื่นๆเลย ให้สังเกตว่าเวลาเราถอยจากฌาณ4ค่อยๆออกมา เราจะสัมผัส สุข ปีติ วิตก วิจาร ทุกอย่างยังอยู่กันครบ นี่แสดงว่าจริงๆแล้ว ที่เรามาฝึกสมถะกันนี่ คือการทำจิตให้หดตัวเล็กลง เล็กจนถึงที่สุด ที่อารมณ์ทั้งหลายเข้าไม่ถึงได้นั่นเอง....ชักพอจะคุ้นๆแล้วไหมครับว่านี่เข้าด้วยเรื่องของอะไร...พอจะคุ้นๆกับหลักการของวิชชาธรรมกายที่หลวงพ่อสดท่านสอนไหมครับ หลักการดำเนินไปของการฝึกจิตในทางสมถะ ทำแบบนี้ครับ ...

    คำบริกรรมที่ใช้เมื่อครั้งเริ่มต้น มันอยู่ในกล่องใบสุดท้ายนี่แหละครับ เพราะว่ามันคือสัญญา ในกล่องสุดท้าย ที่เอกัตคตารมณ์ นี่ท่านแปลว่า อารมณ์เป็นหนึ่ง ตรงนี้อย่าลืมนะครับว่า อารมณ์เป็นหนึ่งนี่หมายถึง ยังมีอารมณ์อยู่นะครับ จิตยังไม่ได้พ้นไปจากสภาพสมมติแต่อย่างใด เพียงแต่ไปเกาะไว้กับอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ ยังมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่ครบถ้วนนะครับ เมื่อสัญญายังอยู่รวมกับจิตอยู่ คำบริกรรมใดๆที่ท่านเลือกไว้แต่ต้น จึงให้ผลต่อจิตของท่านได้ครับ...

    เรื่องแบบนี้พวกพราห์ม พวกฤษี เห็นมาก่อนเจ้าชายสิทธัตถะเสียอีกนะครับ ท่านเหล่านั้น จึงพากันตัดวิญญาณ ตัดเวทนา ตัดสัญญา ตัดสังขาร ในขั้นของอรูปฌาณ นี่เอง...
    อรูปฌาณ4นี่ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี่เฉียดนิพพานแค่เส้นด้ายเท่านั้นนะครับ อีกนิดเดียวเท่านั้น ก็มาพลันฉิบหายแห่งความดีลงเสียก่อน...

    ไอ้อีกนิดเดียวที่ว่านี่ก็คือ สิ่งที่หลวงพ่อฤษีท่านพูดท่านสอนนี่แหละครับ คือการไม่ยินดีในการเกิดในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ด้วยเห็นว่าทั้ง3ภพนี้ ยังไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ในที่สุดก็ต้องเสื่อมสลายไปจนหมด ไม่มีสิ่งใดน่ายินดี น่าให้ยึดติดได้เลย...พิจารณาเพียงเท่านี้แล้ว เข้าฌาณไปจนสุดอีกครั้ง อาศัยกำลังใจที่ไม่สนใจใยดีในการเกิดใดๆอีก แล้วกลับลงมาพิจารณาใหม่อีกรอบว่า ที่ที่มีความสุขเสมอด้วยพระนิพพานไม่มี พระนิพพานนี้ไปพ้นเสียจากการเกิดทั้งปวง พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ขึ้นชื่อว่าสุขอื่นเสมอด้วยพระนิพพานไม่มี พิจารณาเพียงแค่นี้ แล้วกลับเข้าฌาณไปจนสุดอีกรอบ ถอยออกมา จบกิจกันแค่นี้แล้วนะครับ....

    ฟังแล้วเหมือนง่าย แต่ว่าเพียงแค่นี้ ทำกันเป็นอสงไขยกัปป์เลยนะครับ นี่เป็นสายฤษีครับ เป็นวิถีแห่งฤษีจะพึงทำกันได้ ไม่ต้องอาศัยปัญญามาก แต่อาศัยกำลังมาก เหมือนหัวกระสุนมนๆ ไม่แหลมคมเหมือนเข็ม แต่ได้กำลังอัดจากดินปืน ก็สามารถทะลุทะลวง สิ่งต่างๆไปได้ โดยไม่ต้องวิจัย วิจารณ์ให้มากมายวุ่นวายไป....

    แตกต่างกันอย่างมากกับการเจริญทางมหาสติปัฎฐาน 4 เพราะการเดินฌาณแบบนั้น ทำไม่ได้ทุกคนครับ แต่มหาสติปัฎฐาน 4 ทำได้ทุกคน ไม่อิงจริต ไม่อิงวาสนา ศรัทธาจะเกิดจากปัญญา ความแตกฉานในหัวข้ออรรถข้อธรรมจะละเอียดลึกซึ้ง แยกย่อยได้เป็นลำดับ ชัดเจน หากไม่มีกำลังฌาณหนุนพวกนี้คือ สุกขวิปัสสโก แต่หากว่ามีกำลังฌาณหนุน พวกนี้คือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือแจ้งทั้งในหมวดสมถะภาวนา อภิญญาฌาณ และแจ้งทั้งในหัวข้ออรรถ ข้อธรรม สามารถอธิบายโดยย่อได้ โดยพิศดารได้ เลือกธรรมให้เหมาะต่อผู้สดับรับฟังได้เข้าถึงเฉพาะตนได้...

    นี่ข้อ ๑.๑ ข้อเดียวนะครับ จะค่อยๆทะยอยมาตอบ ทีละประเด็น เพราะเป็นประเด็นที่มีผู้สงสัยมามากด้วยกัน ผมเองก็เคยสงสัยมาก่อนตอนรุ่นๆ ก็ได้อาศัยฝึกฝนตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่ง ฝึกทุกอย่าง เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยและคำตอบคำสอนทั้งหลายของครูบาอาจารย์ จนทุกวันนี้ยังไม่เคยได้อ่านพระไตรปิฏกเหมือน คุณน้องพายุเลย...
    ดังนั้นฟังแล้วก็อย่าไปใช้อ้างอิงที่ไหนนะครับ เพราะผมไม่เคยได้เทียบเคียงกับคำสอนในพระไตรปิฏก จึงจะเอาแน่เอานอนกับผมไม่ได้ นี่เป็นการตอบจากการฝึก ฝึกแล้วฝน ฝนแล้ว ก็พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำแล้วทำซ้ำ ย้ำไปย้ำมา จนบัดนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะดีอะไรนะครับ ก็ยังฝึกอยู่นี่แหละครับ ฝึกมันที่กายที่จิตอยู่นี่แหละครับ ยังหาความดีของตัวเองไม่เจอ น่ากลัวว่าจะต้องฝึกไปยันลมหายใจสุดท้ายนี่แหละครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  14. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    สวัสดีครับท่านระมิ้ง...ขอบพระคุณที่กรุณาตอบครับ.


    _/\_ขอบคุณในชม

    เรื่องกวีตอนสมัยเรียน...ไม่ได้เรื่องเหมือนกันทำพอผ่านไปได้...ชอบแต่เล่น...เพิ่งฝึกหัดมาไม่นานในเวบนี้เป็นแห่งแรก.......กวีลองผิดลองถูกมาเรื่อย....อาศัย internet ท่าน...เรียนรู้ระเบียบวิธี...จนบัดนี้ก็ยังไม่ชำนาญอะไรมาก...ยังมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก...แล้วแต่สถานะการณ์ในขณะนั้นๆ...เช่นเรื่องกลบทต่างๆ...เป็นต้น.
    ขอบพระคุณที่กรุณาตอบคำถามอันสับสน ....ด้วยเรียนรู้ศึกษาเอาจากตำรา....มิได้มีวาสนาจะพบครูอาจารย์แนะนำสั่งสอนโดยตรง...แบบท่านระมิ้ง...อาศัย...ตำราพระอริยท่านเขียนไว้...พระไตรปิฎกบ้าง....วิสุทธิมรรคบ้าง....ฯลฯ...แล้วเทียบเคียงการปฏิบัติ....ถูกบ้างผิดบ้างพอได้ระดับหนึ่ง....ยังมีภาระอีกหลายที่ต้องสะสาง....
    คำถามต่อไปนี้สำหรับคำตอบ จะมุ่งถามเฉพาะข้อสงสัย ในคำตอบของข้อ ๑.๑ เท่านั้น สังเกต จะมี [] อยู่ในข้อคำถาม ...และไม่เกี่ยวข้องกับคำถามที่ถามไปแล้ว(สังเกตข้อคำถามจะไม่มี [] )ซึ่งยังไม่ได้ตอบ
    ........................................................................
    คำถามสำหรับคำตอบของท่านระมิ้ง ในข้อ ๑.๑ ข้อเดียว
    [๑] คำบริกรรมนี้เป็นสัญญา ...วิตก วิจาร เมื่อยังมีคำบริกรรมเหล่านี้ มีความปีติ ความสุข อย่างอ่อนๆ และทรงอารมณ์เป็นหนึ่งได้ในลักษณะอ่อนๆ ผู้ภาวนายังรู้สึกได้ไม่ชัดเจนนัก [๑]
    กระผมเองโดยมากในชีวิตประจำวัน...ก็ทรงอยู่ในอารมณ์์นี้แหละครับ....เว้นแต่มุ่งปฏิบัติ..หรือ...ออกวิเวก...ป่าเขา...ก็พยายามทำให้ยิ่งขึ้น.

    คำถาม จะถามในข้อ [๕]
    [๒]คำว่า ทรงฌาณ[๒]
    [๓] คำบริกรรม เหล่านี้ หายไปก่อนเข้าเขตฌาณ[๓]

    คำถามข้อ ๒,๓...เราบริกรรมภาวนา..."พุทโธ"...ตลอดลมหายใจเข้าออก...หากว่าอารมณ์ไม่เคลื่อนไปที่อื่น..มีจิตเบาสบาย...และ...ยังภาวนาอยู่โดยตลอด....อย่างนี้เรียกว่า ทรงฌาน...หรือไม่อย่างไร..ครับ ....ขออนุญาตยกพระธรรมเทศนาของพระราชพรหมยาน....มาบางส่วนตามลิ้งนี้ครับ
    (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=47249ยกมาบางส่วน)....ที่เราสอนกันว่า จงทรงอารมณ์อยู่ใน อาณาปานุสสติกรรมฐาน พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ถ้าใช้คำภาวนาก็ใช้คำว่า พุทโธ ทรงอารมณ์ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าเป็นพระเก่ามีกำลังใจดี ถ้ามีความเข้มแข็งก็จะสามารถได้ ทิพจักขุญาณ ถ้าหากว่าวิสัยทิพจักขุญาณไม่มี ถ้าเราทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้เป็นปกติ เพียงแค่อย่างเลวเดือนเดียว อย่างเลวที่สุด 3 เดือน จิตเราก็ทรงก็ทรงฌาน

    คนที่มีจิตทรงฌานเขามีอารมณ์สงบ
    ไม่มีความฟุ้งซ่าน
    ไม่มีความทะเยอทะยาน
    ไม่มีความรักในระหว่างเพศ
    ไม่มีความโลภในทรัพย์สิน
    ไม่มีการอิจฉาริษยา
    ไม่ระแวงบุคคลอื่นใดว่าจะเป็นศัตรูกับเรา
    ไม่มีความมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

    นี่จิตเพียงเท่านี้ ขอท่านจงพยายามทำให้ได้ มันก็ไม่ยากนัก .....

    โปรดอ่านต่อ ...
    แสดงกระทู้ - วิธีการทรงอารมณ์จิตให้เป็นฌาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) • ลานธรรมจักร )
    ....แสดงว่าการทรงฌานนี้...องค์บริกรรมยังอยู่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    ....ถ้าองค์บริกรรมไม่อยู่ในการทรงฌาน....องค์บริกรรมจะอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ ใช่หรือไม่ครับ?
    ....และจิตทรงฌาน คืออารมณ์สงบ ยังคงอยู่ แม้ไม่มีคำบริกรรม...ใช่หรือไม่ครับ?
    [๔] บริกรรมคำว่าอะไรก็ได้ ขอให้จิตรวมเข้าสู่ฌาณได้ก็พอแล้ว ใช่หรือไม่? [๔]
    ตอบ ใช่ครับ....อย่างในอดีต....ฤาษีก่อนพุทธกาล...เข้าใจว่าท่านคงยังไม่รู้จักคำว่า"พุทโธ"...หรือ"นิพพานสุขัง"...ท่านก็ยังทำความสงบจิตใจได้เป็นต้น.
    [๕]สัญญาซ้อนสัญญา ก็พอจะได้ครับ นี่เป็นลักษณะที่ท่านขุนวัง เป็นอยู่[๕]
    ถาม ยกมาจากข้อ[๑] ถามว่า เมื่อปฏิบัติตามข้อ [๑] ยังจัดว่าเป็นสัญญาซ้อนสัญญา อยู่หรือไม่ ?

    [๖]เมื่อจิตเข้าสู่อุเบกขารมณ์ หรือเอกัตคตารมณ์ คืออารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว[๖] และ
    [๗]จิตกับกายและอารมณ์แยกออกจากกัน จิตจึงนิ่งอยู่โดดๆอย่างนั้น[๗]
    ถาม คือสักว่ารู้ ใช่หรือไม่? คือ อารมณ์ อัพยากฤต ใช่หรือไม่? คือ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ใช่หรือไม่?
    (ยกมาบางส่วนจาก สัมมาสมาธิ - วิกิพีเดีย)
    ลักษณะของสัมมาสมาธิ



    1. จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
    2. เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
    3. เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน
    4. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
    จากข้อสัมมาสมาธิข้างต้น...ในระดับจตุตถฌาน นี้ยังมี เวทนา สัญญา สังขาร อยู่หรือไม่?...อย่างไรครับ?
    [๘]จิตแยกจากอารมณ์ภายนอก เป็นลักษณะคล้ายๆจิตหดตัว เข้าไปภายใน เหมือนเรามีกล่องใบใหญ่ แล้วข้างในมีกล่องใบเล็กซ้อนๆกันอยู่ พอเราเริ่มเปิดกล่องใบใหญ่เข้าไปดู เราจะเห็นอีกกล่องนึงวางอยู่ภายใน แล้วเราก็เปิดกล่องที่อยู่ภายในออกดูแล้วก็เห็นอีกกล่องนึง...จนไปถึงกล่องใบสุดท้าย เราเปิดเข้าไปดู แล้วไม่เห็นกล่องอะไรอีก เราก็เอาตัวเข้าไปอยู่ในนั้น แล้วปิดฝาลงมาเสีย เราจะไม่เห็นกล่องภายนอกอื่นๆอีก[๘]
    ถาม ข้อนี้เป็นการเปรียบเทียบว่า
    กล่องนอกสุด = คืออุปจารสมาธิ...ยังรับผัสสะ...คิดปรุงอยู่ ใช่หรือไม่?
    ระดับอัปปนาสมาธิ
    กล่องที่ 1 = ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 2 = ทุติยฌาน (ปีติ สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 3 = ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?

    กล่องที่ 4 = จตุตถฌาน (เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 5 = ปัญจมฌาน (เอกัคคตา,อุเบกขา) ใช่หรือไม่?
    คำบริกรรมที่ใช้เมื่อครั้งเริ่มต้น มันอยู่ในกล่องใบสุดท้าย[๙]
    ถาม กล่องสุดท้าย คือกล่องที่ 4 หรือกล่องที่ 5 ครับ ตามความหมายข้างต้น อย่างไรครับ?
    [๑๐]สัญญาในกล่องสุดท้าย[๑๐] และ
    [๑๑]ที่เอกัตคตารมณ์[๑๑] และ
    [๑๒]อารมณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ ยังมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่ครบถ้วน[๑๒]
    ถาม เวทนา สัญญา สังขาร ในกล่องใบสุดท้ายนี้แสดงในรูปแบบไหนครับให้พอทราบได้ว่าเป็น เวทนา สัญญา สังขาร ครับ...?
    *******************************************
    คำถามสำหรับข้อ ๑.๑ ข้อเดียวครับ.....ขอบพระคุณในแสงสว่างครับ
    *******************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  15. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    ***ที่ง่ายเพราะคุณตาท่านมีบุญดีได้พบผู้รู้จริง...และแนะนำให้เห็นจริงได้..แสดงว่าคุณตาเคยสั่งสมบุญเอาไว้..อันเป็นเหตุให้พบผู้รู้จริงนั้น..การภาวนา "ภาวนา นิพพาน พอตายไปก็ไปอยู่นิพพานเลย" เมื่อผู้รู้จริงแนะนำกำกับอารมณ์อยู่นั้นย่อมทำถูกทาง...และสามารถรวบรัด...เข้าสู่แดนเกษมได้...แต่สำหรับเราๆ...ท่านๆ...ทำเองจะง่ายปานนั้นเชียวหรือ.
    ***ที่กระผมศึกษาเพราะว่า....เหมือนเรือวิ่งไปในมหาสมุทรอันกว้าง...หากถือหางเสือเรือ..
    ไม่ถูกตรงแล้ว...โอกาสหลงไม่ถึงฝั่งมีมาก.....ยิ่งเมื่อศึกษาแล้วไม่ปฏิบัติโอกาสถึงฝั่งไม่มี.....ทำให้เกิดความสงสัยมาก....พอสงสัยทวีมาก...วุ่นวายมาก...พอวุ่นมาก...จิตไม่สงบ....พอจิตไม่สงบ...หากิเลสเข้ามาเติมกดทับ..เปลี่ยนอารมณ์ให้เพลิดเพลิน...จากการสุมกิเลส....ก็เลยยิ่งห่างๆๆๆๆๆ....จนเผลอตัวผิดศีล....สุดท้ายก็บัวแล้งน้ำ...

    ***สำหรับกระผมนี้...เริ่มจากอ่านชอบหนังสือธรรมมะ...พอเกิดความสงบก็ปฏิบัติพอปฏิบัติ...หลังจากการปฏิบัติก็สงสัยว่านี้คืออะไร...อาการอย่างนี้เรียกอะไร...ก็แก้ข้อสงสัยด้วยหนังสือ...ว่าต่อไปทำอย่างไร...ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร...มิได้สงสัยในขณะปฏิบัติ....แต่ก็มีบ้างในการปฏิบัติ....พอเกิดอาการตรงกับที่ศึกษามา...เกิดเอ๊ะว่านี่ชั้นนี้ๆ....อารมณ์ก็เสื่อม...พอศึกษาหาทางแก้...พบว่าการที่เรา...ศึกษาเพียงให้รู้แนวทางเป็นแผนที่เดินทางเท่านั้น...ในการปฏิบัติจริงอย่าสงสัยอย่างนั้น...เป็นนิวรณ์...วัดผลกันที่ใจสงบ โปร่งเบา..มากน้อยเพียงใด..และสามารถปลงวางในสิ่งที่รักชอบได้เพียงใด....ตามกฎ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...ได้อย่างชัดเจน..ลึกถึงระดับความเข้าใจ...อันจะไม่กำเริบสงสัยทวนย้อนขึ้นมาอีกเพียงใด...สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นผลจากการปฏิบัติ ทำให้รู้บัญญัตินั้นๆตามสภาพจริงมิใช่จากสัญญาจากการจำอย่างเดียว...
    สรุป
    ๑ สำหรับปริยัติ-ปฏิบัติ ต้องดำเนินคู่กัน
    ๒ ปริยัติ(การศึกษา)จะไม่นำมาใช้ในขณะปฏิบัติ...ต้องวางปริยัติ-บัญญติ-ก่อน...หลังจากการปฏิบัติแล้วจึงนำผลมาเทียบเคียง....เพื่อทำความเข้าใจ..หากสงสัยวางไว้ก่อนไม่ต้องเดือดร้อนวุ่ยวายหาคำตอบให้ได้ในขณะเดียว...
    ๓ เมื่อเทียบเคียงได้แล้วจะรู้แนวทางดำเนินการปฏิบัติต่อไป_/\_
    ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบ..รสอาหาร.....การปฏิบัติ....คือการชิม แล้วรู้สึกเผ็ด(นาม)....ส่วนปริยัติคือ..ชื่อเรียกแทนนามให้ได้รับรู้และเข้าใจกัน..ที่ว่าอร่อยนั้นเป็นอย่างไร...แม้จะไม่ทั้งหมดของรสอร่อยจากการปฏิบัติก็ตาม...เพราะการอร่อย...เป็นของอันผู้ชิมย่อมรู้เฉพาะตน.....แต่หากรู้เหมือนกันย่อมไม่เกิดความสงสัยใดๆต่อกัน.

    *** ก็เข้าใจนะสำหรับข้อความ ..ในเชิง "ไม่ต้องศึกษามาก...ปฏิบัติให้มาก" แต่ปฏิบัติให้มาก...ปฏิบัติอย่างไรนี้ต้องตั้งหางเสือคือศึกษาให้ถูกตรงก่อน....จะได้ไม่เสียเวลาฝ่าขวากหนาม.....ขอบคุณครับสำหรับข้อคิด supatorn ที่กรุณาฝากแซวมา (^_^ ...จะเครียดไปไหมเนี่ย...._/\_ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  16. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    สมัยก่อนผมก็สงสัยแบบท่านขุนนี่แหละครับ เฮียผมผู้เป็นพหูสูตรก็สงสัยแบบนี้เหมือนกัน ตอนนั้นไปถามแบบนี้โดนด่าเลยครับ ศิษย์รุ่นใหญ่ๆก็จะพากันหาว่าอุทธัจจะ ว่าไปโน่น...
    ส่วนถ้าเจอหลวงพ่อเข้า โดนตะเพิดไปอยู่กับพระเทวฑัตโน่น...
    แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะผมหน้าด้าน ด่ายังไงผมก็ไม่รู้สึก ...
    เรื่องสงสัยนี่ ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ...นักปฏิบัติ สงสัยกันทุกคนนั่นแหละ สำเร็จอรหัตผลโน่นแหละจึงจะสิ้นสงสัย ดังนั้นการสงสัยไม่ใช่เรื่องผิด แต่ว่า เวลาปฏิบัติ ขอให้ระงับความสงสัยนั้นเอาไว้ ชั่วขณะก่อน...แต่ถ้ายามปกติ ก็สงสัยได้ครับ ไม่น่าต้องด่ากันเลยนะครับ...


    ....แสดงว่าการทรงฌานนี้...องค์บริกรรมยังอยู่หรือไม่? อย่างไรครับ?
    ....ถ้าองค์บริกรรมไม่อยู่ในการทรงฌาน....องค์บริกรรมจะอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ ใช่หรือไม่ครับ?
    ....และจิตทรงฌาน คืออารมณ์สงบ ยังคงอยู่ แม้ไม่มีคำบริกรรม...ใช่หรือไม่ครับ?


    ความในข้อนี้ผมว่าท่านขุนทราบดีอยู่แล้วนะครับ คำบริกรรมนี้จะอยู่ในอารมณ์อุปจารสมาธิ คือกำลังจะเข้าเขตปฐมฌาณ ซึ่งการทรงอารมณ์ในระดับนี้ หลวงพ่อท่านให้ใช้งานสำหรับทิพยจักขุญาณเป็นส่วนใหญ่ และเวลาพูดคุยกับคนอื่นท่านให้ทรงไว้ที่ตรงนี้ ว่ากันตามหลักสูตรแล้ว ยังไม่นับว่าเข้าเขตฌาณ เป็นแต่เพียงอุปจารสมาธิ เมื่อเข้าเขตปฐมฌาณไปแล้วจนจตุถฌาณ มีอาการสงบเป็นปกติครับ แต่....
    มีแยกออกเป็นการทรงฌาณเพื่อใช้งาน กับการทรงฌาณเพื่อสะสมกำลังฌาณ อันนี้จะไปตอบในคำถามถัดๆไปของท่านขุน...

    [๔] บริกรรมคำว่าอะไรก็ได้ ขอให้จิตรวมเข้าสู่ฌาณได้ก็พอแล้ว ใช่หรือไม่? [๔]
    ตอบ ใช่ครับ....อย่างในอดีต....ฤาษีก่อนพุทธกาล...เข้าใจว่าท่านคงยังไม่รู้จักคำว่า"พุทโธ"...หรือ"นิพพานสุขัง"...ท่านก็ยังทำความสงบจิตใจได้เป็นต้น.


    ตรงนี้ท่านขุนเข้าใจผิดครับ พวกฤษี ฝึกในแนวตบะ คืออาศัยการเพ่ง แม้มีคำบริกรรม ก็ไม่ได้จับลมหายใจนะครับ ลมหายใจนี่มีแต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงทำครั้งแรกเมื่อทรงพระเยาวัยใต้ต้นไม้นะครับ นั่นเป็นครั้งแรก และเมื่อจะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็ทรงกระทำอานาปาณสติอีกครั้งนะครับ เรื่องการเจริญสติ ไม่มีในฤษีครับ การเพ่งของฤษี เป็นการส่งจิตออกนอก ไปเพ่งวัตถุภายนอก โดยจะบริกรรมหรือไม่บริกรรมก็ได้ ถ้าจะบริกรรมก็มักจะเป็นคำสรรเสริญเทพที่ท่านนับถือ หรือเพ่งไฟก็บริกรรมคำว่า ไฟๆๆๆๆ ไม่มีการจับลมหายใจ ไม่จับที่ฐานกายนะครับ

    [๕]สัญญาซ้อนสัญญา ก็พอจะได้ครับ นี่เป็นลักษณะที่ท่านขุนวัง เป็นอยู่[๕]
    ถาม ยกมาจากข้อ[๑] ถามว่า เมื่อปฏิบัติตามข้อ [๑] ยังจัดว่าเป็นสัญญาซ้อนสัญญา อยู่หรือไม่ ?


    ตราบใดที่ท่านขุนยังฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นสมถะภาวนา หรือวิปัสนาภาวนา ท่านยังอยู่กับสัญญาทั้งหมดครับ จนเมื่อกำลังสมาธิมีเพียงพอ นี่ผมใช้คำว่ามีเพียงพอนะครับ เพราะถ้ามากไป หรือว่าน้อยไป ก็ไม่ได้ พร้อมๆกับกำลังสติที่มีเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นเหมือนสายน้ำ ด้วยกำลังสมาธิ และกำลังสติ มีเสมอกันแล้ว ได้เห็นสภาวะจิตในจิต เมื่อนั้น ท่านจึงจะเห็น สัญญา สังขาร และจิต แยกออกจากกัน

    โดยเห็นสัญญา เป็นสภาวะ ในทางทิพยจักขุญาณจะเห็นเป็นคล้ายๆแก้วกลมๆโปร่งๆ บางเบามากๆ ไม่ได้มีความสว่างไสวอะไร สังขารก็มีลักษณะเดียวกัน แต่ในทางวิปัสสนาจะเห็นเป็นสภาวะ ที่ว่างๆอยู่ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ว่าง เพราะในนั้นบรรจุไปด้วยความทรงจำ ที่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง อารมณ์ ประสบการณ์ต่างๆ ความรู้ ภาษา ซ้อนทับกันจากผิวด้านนอกไปยังผิวด้านในลึกสุดแต่ครั้งกำเนิดดวงจิตในครั้งแรกๆ เรื่องการรื้อสัญญาตรงนี้ ไม่ใช่กิจของสาวกภูมิครับ เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนั่งพิจารณาใน 4 ทิศ ทิศละ 7 ราตรี ก็คือการรื้อเอาสัญญาเดิมทั้งหมดนี้ยกขึ้นพิจารณาครับ สัพพัญญุตาญาณเกิดตอนนี้เองครับ...เรื่องนี้ความจริงไม่อยากเล่าครับ มันเกินกำลังชาวบ้านชาวเมืองจะรับฟังกัน ...เอาเป็นว่าเรื่องสัญญาจบตรงนี้ก่อนนะครับ เพียงแค่จะให้รู้ว่าตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ยังบริกรรมภาวนาอยู่ ยังทรงฌาณอยู่ สัญญายังอยู่ครับ ....

    [๖]เมื่อจิตเข้าสู่อุเบกขารมณ์ หรือเอกัตคตารมณ์ คืออารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว[๖] และ
    [๗]จิตกับกายและอารมณ์แยกออกจากกัน จิตจึงนิ่งอยู่โดดๆอย่างนั้น[๗]
    ถาม คือสักว่ารู้ ใช่หรือไม่? คือ อารมณ์ อัพยากฤต ใช่หรือไม่? คือ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ใช่หรือไม่?


    ท่านขุนถามปนกันแล้วครับ ถามแบบนี้ เวลาชาวเมืองจะตอบทีนึงนี่ปวดตับเลยทีเดียวครับ...
    คือเวลาเราเข้าฌาณ ไล่ลำดับฌาณไปนั้น เอาจริงๆคือถ้าเจริญในสมถะ แรกๆ ฌาณจะเข้าเร็วมาก ในสมาธิเราแยกไม่ได้ครับว่าตอนนั้นเราอยู่ฌาณไหน พอเข้าฌาณ4ปั๊บ มันจะดิ่ง วุบ หายไปนิ่งสนิท จนนึกว่าตัวเองหลับ พอจะออกก็ออกมาปั๊บ มันเหมือนเราตื่นขึ้นมา แต่ว่าไม่งัวเงีย ดังนั้นในระหว่างทรงฌาณแบบนี้ ไล่ลำดับฌาณในสมาธิไม่ได้ครับ เราต้องมานั่งลำดับ หลังจากที่เราถอนจากฌาณมาแล้ว ฌาณลักษณะนี้ ที่ข้างต้นผมบอกว่าเป็นการสะสมกำลัง บางท่านเรียกว่าสมาธิตอไม้ บ้างก็ว่าสมาธิโง่ เพราะไม่เกิดปัญญา ที่ไม่เกิดปัญญาก็เพราะ ขาดตัวสติ หรือตัวรู้นี่เองครับ ถ้าเมื่อฝึกสติดีแล้ว ตัวรู้หรือสตินี้ จะตามดูจิต เมื่อเข้าไปสุดที่อุเบกขารมณ์ สติจะเห็นจิตโดดๆอยู่ คือว่างๆ นิ่งๆ โพลงๆอยู่อย่างนั้นครับ ตัวรู้ ตัวนี้จึงคอยดูจิตอยู่ โดยไม่มีการวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ใดๆ เป็นแต่รู้ในความว่าง หรือสภาวะว่างๆของจิตนี้อยู่ ว่างตัวนี้ยังเป็นว่างแบบโลกียะ นะครับ ยังไม่ใช่ว่างแบบโลกุตตระ ดังนั้นจึงแยกอาการของสมาธิเวลาเข้าเขตฌาณได้ว่า มีสติคุมไปด้วย หรือ ดิ่งนิ่งไปอย่างไม่มีสติคุมไป...


    จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
    เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
    เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน
    เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
    จากข้อสัมมาสมาธิข้างต้น...ในระดับจตุตถฌาน นี้ยังมี เวทนา สัญญา สังขาร อยู่หรือไม่?...อย่างไรครับ?


    ความข้อนี้เป็นอย่างนี้ครับ เวทนายังมีอยู่ ท่านขุนต้องทราบว่า เวทนานี้ เป็นความรู้สึกยินดีในสุข ยินร้ายในทุกข์ และไม่ยินดียินร้ายในสุขและทุกข์ เวลาเข้าถึงจตุถฌาณแล้ว เวทนาคือความไม่ยินดียินร้าย อทุกขมสุขเวทนา ตัวนี้ยังอยู่ครับ สัญญา คือความจำได้หมายรู้ยังอยู่ครบครับ เพียงแต่ระงับไว้ ด้วยกำลังฌาณ คือไม่ส่งสื่อออกไปให้สังขารเอาไปปรุงแต่ง เพราะลำพังสังขารเดี่ยวๆ ทำอะไรไม่ได้ ต้องอาศัยเหตุ จากสัญญา จึงจะเอามาปรุงแต่งโดยสังขารได้อีกครั้งหนึ่ง การทรงจตุถฌาณตรงนี้ ระงับกระบวนการทำงานตรงนี้เสียได้ครับ แต่มีข้อยกเว้นว่า หากเจริญสติจนมีกำลังเพียงพอ ที่จะใช้งานฌาณ 4 ได้ ในขณะลืมตาและเคลื่อนไหวแล้ว สัญญา สังขาร ยังคงทำงาน เกี่ยวเนื่องถึงกันได้ครับ แต่การส่งจากสัญญามายังสังขาร ถูกควบคุมโดยสติ ถ้ายกตัวอย่างเดี๋ยวจะอธิบายยาวนะครับ จะยกตัวอย่างเพียงแค่จะหยิบแก้วน้ำ ก็ต้องอธิบายกันสักหนึ่งหน้ากระดาษ เดี๋ยวจะยาวเกินไปครับ เอาเป็นว่า ฌาณ4ในระดับใช้งานต้องมีสติคือผู้รู้ ตามดูจิตในขณะนั้นไว้ตลอดเวลา จึงจะสามารถทำได้ครับ...
     
  17. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    ถาม ข้อนี้เป็นการเปรียบเทียบว่า
    กล่องนอกสุด = คืออุปจารสมาธิ...ยังรับผัสสะ...คิดปรุงอยู่ ใช่หรือไม่?
    ระดับอัปปนาสมาธิ
    กล่องที่ 1 = ปฐมฌาน (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 2 = ทุติยฌาน (ปีติ สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 3 = ตติยฌาน (สุข เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 4 = จตุตถฌาน (เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 5 = ปัญจมฌาน (เอกัคคตา,อุเบกขา) ใช่หรือไม่?


    ข้อนี้โดยทฤษฎีแล้ว ท่านขุนน่าจะทราบดีอยุ่แล้วครับ หากแต่จะตอบก็ตรงเรื่องการปรุงในอุปจารสมาธิครับ ในขณะที่อยู่ในอุปจารสมาธิ ตรงนี้มีอาการจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม และเริ่มมีอารมณ์ทรงตัว มีความเบาสบายบ้างแล้ว ความหงุดหงิดงุ่นง่านจะเบาลง อาการคิดตรงนี้ จะคิดเป็นเรื่องๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมักจะเกี่ยวพันกับคำบริกรรมที่ระลึกไว้คือวิตก เมื่อคิดในเรื่องของคำบริกรรม จึงเป็นวิจารณ์ แต่หากมีอาการปรุงขึ้นมา จิตจะถอยไปเป็นขณิกะสมาธิแทน การถอยเข้าถอยออกในลักษณะนี้จะเร็วมาก จนบางครั้งเราคิดไปว่านี่เรายังอยู่ในอุปจารสมาธิก็มี

    ซึ่งตรงอุปจารสมาธินี้ ความคิดปรุง จะแตกต่างกับการคิดปรุงที่เราๆเข้าใจ พระท่านเรียกว่าการพิจารณา เพราะในขณะนั้น จะมีสติตามรู้ตามดูความคิด และความคิดตรงนั้น แม้อาศัยสัญญาในการพิจารณา แต่ก็ต้องไปจบลงที่ไตรลักษณ์เท่านั้น หาไม่แล้ว จะไม่เป็นการพิจารณา แต่จะเป็นเพียงการคิดฟุ้งปรุงแต่งเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น คือจิตถอยจากอุปจารสมาธิไปแล้วครับ...

    กล่องที่ 4 = จตุตถฌาน (เอกัคคตา) ใช่หรือไม่?
    กล่องที่ 5 = ปัญจมฌาน (เอกัคคตา,อุเบกขา) ใช่หรือไม่?
    คำบริกรรมที่ใช้เมื่อครั้งเริ่มต้น มันอยู่ในกล่องใบสุดท้าย[๙]
    ถาม กล่องสุดท้าย คือกล่องที่ 4 หรือกล่องที่ 5 ครับ ตามความหมายข้างต้น อย่างไรครับ?


    กล่องที่4กับกล่องที่5 เวลาฝึกไปจริงๆผมยังแยกไม่ค่อยออกครับ เพราะอารมณ์ที่เป็นหนึ่ง ในเวลานั้นมันคืออุเบกขารมณ์ และในอุเบกขารมณ์ มันเป็นอารมณ์ว่างๆ ทรงๆตัวอยู่อย่างนั้น อารมณ์เป็นหนึ่งคืออารมณ์เดียว อารมณ์เดียวที่มีเวลานั้นคืออุเบกขารมณ์ครับ และอุเบกขารมณ์เวลานั้นก็คือ อารมณ์ว่าง ซึ่ง 4 กับ 5 นี้ ท่านนักปริยัติท่านมาแยกเอาอีกทีในภายหลังครับ บางท่านก็ว่า กล่องที่ 4 นี้ยังมีความละเอียดอยู่อีก 3 ระดับ แต่บางท่านก็แยกให้ความละเอียดของจิตในระดับที่ 3 มาตั้งชื่อใหม่เป็นกล่องที่ 5 ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติสักเท่าไรนัก ความสำคัญมั่นหมายจริงๆคือ การหาทางเข้าไปประหัตประหารกิเลส ที่หาตัวตนในจิตไม่ได้ง่ายๆ การมานั่งขุดคุ้ยจำแนกแยกออกเพื่อใช้อธิบายให้ผู้อื่นฟังนั้น เวลานั้น ไม่ค่อยมีผู้ใดสนใจ เว้นเสียแต่ได้ประหัตประหารกับกิเลสไปจนสิ้น หรือเกือบสิ้นแล้ว มีเวลาว่างๆ ท่านก็จะมาไล่ลำดับฌาณและตั้งข้อสังเกตเพื่อจำแนกแยกแยะเอาไว้ อย่างนี้ก็พอมีอยู่ครับ...

    [๑๐]สัญญาในกล่องสุดท้าย[๑๐] และ
    [๑๑]ที่เอกัตคตารมณ์[๑๑] และ
    [๑๒]อารมณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ ยังมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อยู่ครบถ้วน[๑๒]
    ถาม เวทนา สัญญา สังขาร ในกล่องใบสุดท้ายนี้แสดงในรูปแบบไหนครับให้พอทราบได้ว่าเป็น เวทนา สัญญา สังขาร ครับ...?


    ท่านขุนจะทราบไหมครับ คำถามท่านคำถามเดียว ผมต้องใช้เวลาทบทวนอยู่กว่า 25 ปีนับจากที่ผมเห็นจิตในจิตและเห็นธรรมในธรรมได้แล้ว...ผมเพียรแล้วเพียรอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า กว่าจะลำดับสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะลำพังรู้ได้เห็นได้ก็เป็นเรื่องยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่การจะอธิบายออกมาให้เป็นภาษาสมมติ ให้คนทั่วๆไปฟังได้ มันยากและผมจนใจจริงๆ จึงต้องใช้เวลาฝึกแล้วฝึกอีกกว่า 25 ปี นี่โชว์โง่ให้ฟัง...

    เวทนา สัญญา สังขาร เวลาเห็นขณะนั้น แบ่งออกเป็นเห็นด้วยกำลังฌาณ อย่างเดียว เหมือนอย่างพวกฤษีท่านเห็นได้ จะมีลักษณะเป็นดวงๆกลมๆ แยกกันอยู่ครับ เช่นเดียวกับจิตก็เห็นเป็นดวงๆอยู่เช่นกัน ต่างกันตรงความทึบแสงโปร่งแสง แต่ก็เป็นไปในลักษณะความบางเบา...
    เวลาดับเวทนา สำหรับฤษีแล้ว ท่านจะเห็นว่า เวทนานี้แม้จะสุขก็ไม่เอา ทุกข์เราก็ไม่เอา ไม่สุขไม่ทุกข์เราก็ไม่เอา หรือจะทั้งสุขทั้งทุกข์เราก็ไม่เอา แล้วก็เพิกนิมิตตรงนั้นทิ้งไปเลยครับ นี่ก็เข้าไปในเขตอรูปฌาณ สัญญา สังขารก็ทำแบบเดียวกัน...

    แต่ถ้าเจริญสติ เข้าเขตมหาสติแล้วนะครับ จะมองเห็น เวทนาเป็นสภาวะ สัญญาเป็นสภาวะ และสังขารเป็นสภาวะ การเห็นรูปนามในขั้นนี้ จะไม่เหมือนในระยะแรกที่เราพูดกันถึงขันธ์ 5 นะครับ เพราะขันธุ์ 5 มีเพียงรูป 1 และนาม 4
    แต่การเห็นในขั้นนี้ ผู้ที่เข้าไปรู้ เป็นนาม ผู้ที่ถูกรู้เป็นรูป ดังนั้น เมื่อสติคือผู้รู้ จึงเป็นนาม เข้าไปเห็น เวทนา สัญญา สังขาร จึงเป็นรูป ในชั้นนี้นะครับ...

    ดังนั้น จิต ที่ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร เวลานี้ เป็นรูป การเห็นจิตในจิต คือเห็นเวทนา สัญญา สังขารที่อยู่รวมกันในจิต เมื่อสติไปเห็นเข้าแล้ว 4 สิ่งนี้จะแยกออกจากกันครับ คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร จะแยกออกจากกัน จากนั้นเวทนาจะดับลงก่อน การดับของเวทนาไม่ใช่เหมือนกับการดับไฟนะครับ แต่เป็นลักษณะของการเห็นแล้วไม่สำคัญมั่นหมายอีกต่อไป เป็นสักแต่ว่าเวทนา จึงจะเหลือสัญญา สังขาร

    เวลาจะละสัญญา สังขารได้ ต้องเห็นกระบวนการเกี่ยวเนื่องของ สัญญาที่ส่งความจำได้หมายรู้นี้ไปยังสังขาร เห็นสังขารปรุงแต่ง แล้วเกิดเวทนา เวทนาเกิดแล้วเห็นอุปทานเกิด เกิดอุปทานแล้วก็เกิดตัณหา เกิดนามรูป การเกิดเหล่านี้ เกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อมหาสติทรงตัวอยู่ โดยมีฐานกำลังของสมาธิประคองตัวไว้ การเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่ จะเห็นอยู่เฉยๆ ไม่วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ ไม่หมายมั่น ไม่มีอะไรใดๆทั้งสิ้น ต้องทำอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่แบบนี้ จนเกิดการเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ตนเห็น เบื่อตรงนี้ถึงจะเป็นนิพพิทาญาณนะครับ...
    ดังนั้นก็มาถึงคำตอบว่า ถ้าเห็นเวทนา สัญญา สังขาร แบบกำลังฌาณของฤษี จะเห็นเป็นรูปเป็นร่างเป็นดวงขึ้นมา แต่ถ้าเห็นด้วยมหาสติ จะเห็นเป็นสภาวะเกิดขึ้น การดับไปก็แตกต่างกัน เพราะดับแบบฤษี จะดับโดยการเพิกเสีย เหมือนกับการหลบหน้ากัน แต่ดับโดยสติ ยังมีขั้นตอนอีกบางประการครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  18. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    **ขอบพระคุณครับ...ที่ตอบคำถามที่สับสน....หวังว่าจะไม่เป็นการรบกวนมากเกินไป...ขออโหสิกรรม มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ_/\_
    **สำหรับคำตอบที่ตอบมา ในข้อ ๑.๑ และ ในคำตอบภาคทวิของข้อ ๑.๑ ...
    ในภาพรวมโมทนา...สาธุด้วยครับ....แม้บางส่วนจะยังไม่เข้าใจ.....แต่ก็ยังไม่เห็นข้อติดขัดในความเข้าใจที่ศึกษาปฏิบัติมา...

    ขอถามนอกเรื่องหน่อยครับ .....ดวงจิตตามภาพ(สมมติว่าสีขาว) มีลักษณะตาม ภาพที่๑.[​IMG] ภาพที่๒.[​IMG] แตกต่างกันอย่างไร? และเป็นกิเลสหรือไม่อย่างไร?...(อย่างไรเป็นกิเลส..อย่างไรไม่เป็นกิเลส?)
    ****และขอเรียนเชิญท่านระมิ้ง....ปุจฉาในหัวข้อถัดไปครับ****

    [​IMG] ดีใจที่ได้พบ..ได้รู้จัก...และได้สนทนาด้วย..ครับ _/\_
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 110845.jpg
      110845.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.8 KB
      เปิดดู:
      363
    • 110846.jpg
      110846.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.9 KB
      เปิดดู:
      496
    • imagesUJSS55ZP.jpg
      imagesUJSS55ZP.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.5 KB
      เปิดดู:
      322
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2015
  19. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,993
    ภาพแรกเป็นจิตของปุถุชนผู้ทรงฌาณครับ
    ภาพที่สองเป็นจิตของพระอริยะเจ้าที่ทรงฌาณครับ
    ............
    ตอบข้อสงสัยท่านขุน กินแรงมากครับ..
    ขอเป็นลม แป๊บนะครับ...
     
  20. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    ขออภัยอีกครั้ง...สำหรับคำถามที่เห็นแก่ได้ของกระผม...เห็นใจท่านระมิ้งที่อุตส่าห์ปฎิบัติมานาน....แต่กระผมมากินแรงซะงั้น....ขออโหสิกรรมอีกครั้ง...แต่โปรดเห็นใจที่การปฏิบัติของกระผมห่างครูบาอาจารย์...เกรงว่าจะเข้ารกเข้าพง...พอดีมาพบท่านระมิ้ง...ผู้เคยใกล้ชิดครูบาอาจารย์..และได้ปฏิบัติมาอย่างโชกโชน.....คือกระผมกลับอ่านทบทวนดูในคำตอบภาคทวิของข้อ ๑.๑...ปรากฎว่ายัง...ไม่เข้าใจ...อีกครับ...ท่านระมิ้ง_/\_...เอาเป็นว่ากระผมวางคำถามไว้ก่อนละกัน.....เกรงจะลืม...
    ไว้ท่านระมิ้งสบายใจเมื่อไหร่ค่อยมาตอบหรือไม่ก็ได้ครับแล้วแต่จะกรุณาครับ..._/\_คำถามมีดังนี้ครับ
    อ้างอิง
    (๑)อุปจารสมาธินี้ ความคิดปรุง จะแตกต่างกับการคิดปรุงที่เราๆเข้าใจ พระท่านเรียกว่าการพิจารณา เพราะในขณะนั้น จะมีสติตามรู้ตามดูความคิด และความคิดตรงนั้น แม้อาศัยสัญญาในการพิจารณา แต่ก็ต้องไปจบลงที่ไตรลักษณ์(๑)
    คำถาม ข้อ(๑)
    ก. ความคิดปรุงในขณะอยู่ในอุปจารสมาธินี้เรียกว่า สังขารฝ่ายมรรค ใช่หรือไม่? ถ้าตอบไม่เป็นอย่างไร?
    ข. สังขารฝ่ายมรรคนี้ มีลักษณะ การพิจารณาด้วยความโปร่งเบา (ไม่ฟุ้ง ไม่หนัก) ไม่มีอาการลังเล มีความฉับไวในการพิจารณาตามกฎไตรลักษณ์ ใช่หรือไม่? ถ้าตอบไม่เป็นอย่างไร?
    ค. สังขารฝ่ายมรรคนี้ เมื่อพิจารณาแล้วรู้ชัดแล้วปลงวางแล้วจะไม่มีความสงสัยอีกในธรรมที่ยกขึ้นมาพิจารณาในขณะนั้น ในขณะเดียวกันสภาพจิตยังทรงความโปร่งเบาอยู่ และและเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการพิจารณาธรรมในหัวข้อถัดไปตามแต่สัญญาจิตจะระลึกขึ้นได้ในขณะทรงสมาธิอยู่นั้น คือ หมุนวนเป็นชุดๆไปในลักษณะเดียวกันนี้ เช่น ยกข้อธรรมขึ้น=>พิจารณา=>จิตเข้าใจแจ่มชัด=>ปลงวาง=>ยกข้อธรรมขึ้น=>พิจารณา=>จิตเข้าใจแจ่มชัด=>ปลงวาง=>ยกข้อธรรมขึ้น=>พิจารณา=>จิตเข้าใจแจ่มชัด=>ปลงวาง=>....เมื่อพิจารณาจนจิตเหนื่อย....จิตจะแสดงอาการขุ่น-ฟุ้ง-หนัก-ล้าเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับฟุ้งซ่าน....(แต่ถ้าฝืนพิจารณาต่อจิตจะเข้าสู่ข้อ(๒)) เมื่อจิตแสดงอาการเหนื่อยเช่นนี้จึงหยุดการพิจารณาทำความสงบในสมาธิเพื่อสะสมกำลัง เป็นลักษณะอย่างนี้ใช่หรือไม่? ถ้าตอบไม่เป็นอย่างไร?
    (๒)การคิดฟุ้งปรุงแต่งเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น คือจิตถอยจากอุปจารสมาธิไปแล้วครับ(๒)
    ถาม ข้อ(๒) ความคิดปรุงนี้เรียกว่า สังขารฝ่ายสมุทัย ใช่หรือไม่? ถ้าตอบไม่เป็นอย่างไร? ....หรือไม่เชิงสมุทัยที่เดียวนัก...ด้วยยังอยู่ในกองกุศลอยู่?

    และขอถามนอกเรื่องอีกนิ๊ดครับ....คือ
    จ. การพิจารณาธรรม ในอุปจารสมาธิ กับ การพิจารณาธรรม ในปฐมฌาน .....มีหรือไม่? ลักษณะต่างกันอย่างไรครับ?
    *************************************************************************************

    _/\_.....ขอบพระคุณในแสงสว่างครับ
    **********************************************************************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2015

แชร์หน้านี้

Loading...