พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา คืออะไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อณูธาตุ, 27 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    ดับความคิดดับการปรุงแต่งอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ นี่ พอได้เหตุได้ปัจจัย จะเกิดสภาวะอัศจรรย์ สั่นสะเทือน ไปทั้ง หมื่นโลกธาตุ ทุกภพภูมิ ที่มีจิตเดิมแท้อยู่ เป็นเครือข่ายจิตในอนันตจักรวาล เกิดญาณหยั่งรู้ ดับอวิชชาได้สนิท

    พระอริยะเจ้า พระโพธิสัตว์ เทพ พรหม เทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน วิญญาณทุกภพภูมิ ล้วนมีสิ่งที่ใช้ร่วมกัน นั่นคือจิต(พุทธะ) แต่เราไม่รู้ ต้องเปิดม่าน อวิชา อาสวะกิเลส นั่นจึงรู้ได้ ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา

    ตัวรู้คิดและความคิด เป็นการปรุงแต่ง ตามหลังจิต จิตเลยไปไกลแล้ว ถ้าเปรียบจิตเป็นจรวด ความปรุงแต่งก็เป็นไอที่พ่นออกมา ต้องบรรลุถึงตัวจรวด ก็ แจ้งเอง

    การรู้อดีตและอนาคตโดยการเข้าถึงสภาวะหน่วงเวลาที่มากกว่า ส่วนการรู้อนาคต ถ้าไม่มีเหตุ ปัจจัยแรงๆ เกิดขึ้น ก็แม่นยำ ตรงตามนั้น

    การพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ในฌานมีกำลังอำนาจในการเข้าถึง สั่งเปลี่ยน อนุสัยสันดานเก่าที่นอนเนื่องในเบื้องลึกแห่งจิตใต้สำนึก ถ้าฌานกำลังอ่อน ก็ต้องสั่งซ้ำๆหลายๆครั้งจนกว่าจิตใต้สำนึกจะยอมรับ ละอาสวะกิเลสจนหมดสิ้น

    อุปนิสัยในการบรรลุธรรมง่าย
    เป็นคนเปิดใจไม่มีอคติ ถ้าสิ่งนั้นเป็น สัจธรรม ความจริง ก็ควรยอมรับ
    เป็นคนอ้อนน้อม กราบคนได้ ไหว้คนเป็น ไม่ก้าวล่วงผู้อื่น รู้คุณธรรมชาติ
    เป็นคนเมตตา ต่อสัตว์โลก เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
    เป็นคนมีอุปนิสัยความเป็นกลาง มัชฌิมาปฏิปทา


    สัจธรรมสูงสุดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และวิธีทางดำเนินไป ปัจจุบันมีฝ้าหมอก แห่งกิเลส ตัณหา อวิชชา อคติ เข้าไปบดบัง ทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน แท้จริง แล้วธรรมชาตินั้นมีอยู่ มิติแห่งกาลเวลานั้นมีอยู่ มิติแห่งกาลเวลาที่หน่วงมากกว่าจะครอบคลุมมิติแห่งกาลเวลาที่หน่วงน้อยกว่า อย่างนี้ซ้อนๆกันไป เช่น ภพภูมิต่างๆ มิติแห่งกาลเวลาที่หน่วงมากกว่าสามารถรู้เห็นมิติแห่งกาลเวลาที่หน่วงเวลาน้อยกว่า มิติแห่งกาลแห่งกาลเวลาที่ไม่เคลื่อนที่จะครอบคลุมทุก มิติแห่งกาลเวลา
    การปฏิบัติให้เข้าถึง มิติกาลเวลาแห่งรูปพรหม โดยเพ่งรูปฌาน (ยังมีการปรุงแต่งเป็นรูปอารมณ์ ชั้นสูงสุด มีอายุ ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์)
    การปฏิบัติให้เข้าถึง มิติกาลเวลาแห่งรูปพรหมละนาม โดยเพ่งกำหนดละนาม (ยังมีการปรุงแต่งไม่มีนามเป็นอารมณ์ มีแต่รูปเป็นพรหมลูกฟัก มีอายุ ๕๐๐ มหากัปป์)
    การปฏิบัติให้เข้าถึง มิติกาลเวลาแห่งอรูปพรหม โดยเพ่งอรูปฌาน (ยังมีการปรุงแต่งแม้เพียงเล็กน้อยเป็นอรูปอารมณ์ ชั้นสูงสุด มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์)
    การปฏิบัติให้เข้าถึง มิติแห่งกาลเวลาไม่เคลื่อนไป โดยเพ่งปัจจุบันอารมณ์ ตามจริงที่รับรู้ได้ (ไม่มีการปรุงแต่งอารมณ์ มีอายุ ตลอดกาล)
    ดังนั้นจะเห็นว่า ระดับการปรุงแต่ง มีผลกับภพภูมิที่ไปเกิด สำหรับสภาวะเวลาไม่เคลื่อน หยุดนิ่งแล้ว จะครอบคลุมทุก มิติแห่งกาลเวลา ไม่มีการเกิดดับอีกแล้ว
     
  2. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    ในอดีตครั้งก่อนพุทธกาล ได้มีเหล่านักบวช นักพรต ฤาษี ชีปะขาว ต่างๆ ผู้แสวงหาความหลุดพ้นการเวียนว่ายต่ายเกิด ได้เล็งเห็นว่า กิเลส อาสวะ
    เป็นสายใยที่ต่อเชื่อมวัฏฏ สงสาร ให้สืบต่อไป อย่างไม่มีวันจบสิ้น จึงค้นหาวิธีทำลายกิเลส ตัญหา ด้วยวิธีต่างๆ ทรมารทางกายบ้าง ทรมารทางใจบ้าง
    ซึ่งก็ได้ผล ทำให้กิเลสเบาบางในระดับหนึ่ง การบำเพ็ญตบะ โดยฌานสมาบัติ ให้อยู่ในอารมณ์รูปเดียวนานๆ เป็นเอกัคตารมณ์ ซึ่งทำให้เกิด
    ปรากฎการณ์มหัศจรรย์ ข่ม ระงับ กิเลสได้ โดยเชื่อว่าถูกต้องแล้ว ต่อมาได้ค้นพบว่ารูปฌานยังมีกิเลสน้อยนิดคือยังติด ยังปรุงแต่ง
    ในรูปอยู่ จึงได้ทำการละรูปออกไป เป็นอากาสานัญจายตนะ ละต่อไปเป็นวิญญานัญจายตนะ ละต่อไปเป็นอากิญจัญญายตนะ
    ละต่อไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ จนเกือบจะดับสัญญาได้สิ้น ก็เข้าใจว่าถึงที่สุดแล้ว โดยผลของเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ก็ทำให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นสูงสุด มีอายุถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์

    ดังนั้นจะเห็นว่า รูปฌานก็ดี ยังเหลือการปรุงแต่งเป็นรูปแม้จะเป็นเพียงรูปเดียวก็ตาม ส่วนอรูปฌาน ก็เป็นอารมณ์แห่งการละรูป ไปจนถึงเอาความไม่มีอะไร
    เลย เป็นอารมณ์ ซึ่งเหลือเพียงน้อยนิดแห่งการปรุงแต่ง ใกล้ความบริสุทธิ์มาก มาจนถึงสมัยพุทธกาลได้มีมหาบุรุษ มาบังเกิด เพื่อมาตัดห่วงวัฏฏจักร
    ที่เหนียวแน่นแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ให้หลุดพ้นได้ พระองค์ทรงพบว่าสัตว์โลกล้วนติดอยู่ในบ่วงแห่งอุปทาน การปรุงแต่งที่ซับซ้อน ทั้งหลายดุจดั่งสายป่าน
    นับหมื่นนับแสน พันรั้งไว้ องค์พระสัพพัญญุญาณได้ตรัสรู้ อริยสัจธรรมไว้เพื่อโปรดสัตว์ผู้มี ธุลีเบาบาง ปิดบังจักษุ ได้เห็นแจ้ง

    อริยสัจ ๔ ประการ
    ทุกข์ --- ในทางพุทธศาสนา จะแตกต่างจากทางโลก ทุกข์ ก็คือ ทุกข์......สุข ก็คือ ทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สังขาร ทั้งหลายก็คือทุกข์
    สมุทัย -- เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กิเลส ตัญหา อาสวะ มานะ อคติ ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก สังขาร(การปรุงแต่ง)
    นิโรธ --- ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นั่นคือ ดับสังขาร(การปรุงแต่ง) ดับเวทนาโดยเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับตัณหาโดยทำกิเลสให้สิ้นไป
    มรรค -- สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ คือ เห็นชอบ ดำริชอบ
    ---------- สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ คือ ประพฤติชอบ
    ---------- สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ คือ มั่นทำความเพียรชอบ มั่นทำความระลึกชอบ มั่นทำสมาธิชอบ

    ปฏิจจสมุปบาท อธิบายถึง การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ

    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี.... เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี....เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี...
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี...เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี...เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี...
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี....เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี...เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี...
    เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี...เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี...ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส
    และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

    ดังนั้นจะเห็นว่า สังขารดับโดยละการปรุงแต่ง.... เวทนาดับโดยเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ.... ตัณหาดับโดยทำกิเลสให้สิ้นไป....
    ทั้งสามสิ่งนี้ พอเป็นที่ตั้งต้นดับได้ ดับที่ใดได้ก็สะเทือนถึงกันหมด

    หมายเหตุ ท่านต้องเข้าใจว่าสัจธรรมคือกฎธรรมชาติ สัจธรรมสูงสุดคือกฎธรรมชาติสูงสุด ธรรมชาติมีหลายระดับ พระพุทธองค์
    ทรงตรัสรู้สัจธรรม แล้วนำมาสั่งสอนท่านต้องใช้ บัญญัติเป็นภาษาเพื่อสื่อความหมาย ชี้หนทางเพื่อบรรลุถึงสัจธรรมอันสูงสุด
    การละอวิชชาโดยการเรียนรู้ ละได้ไม่หมด ไม่เท่าประจักษ์แจ้งเองได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ใช่วิสัย ที่ทุกคนจะทำได้
    ละกิเลส ตัญหาเป็น สมุจเฉทปหาน ก็ไม่ใช่ของง่ายๆ ถ้าไม่อาศัยละการปรุงแต่ง โดย นุปัสนาสติปัฏฐาน ก็คงต้อง ไปต่อเรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2015
  3. moonoiija

    moonoiija เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2014
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +198
  4. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    -------------------------------------------------------------------
    ถามว่า   หลังนิพพาน จิตยังคงอยู่หรือไม่
    1.หลังจากพระอรหันต์นิพพานดับขันธ์แล้วจิตยังคงอยู่หรือไม่ ? ตอบ ๑.หลังจากพระอรหันต์ท่านปรินิพพาน คือดับขันธ์แล้ว ไม่มีจิต  เจตสิกอีกเลย
    2. แสดงว่าหลังจากนิพพานแล้ว จิต ไม่มีแล้ว การรับรู้ย่อมไม่มี ? ตอบ ๒. ไม่มีจิต เจตสิก หรือการรับรู้ใดๆอีกเลย 
    3.วิญญาณขันธ์ไม่ใช่จิต ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ วิญญาณขันธ์คืออะไรและจิตคืออะไร? ตอบ ๓.วิญญาณขันธ์คือจิต จิตคือวิญญาณ  เป็นสภาพรู้แจ้งอารมณ์  

    ตอบแบบนี้เป็นการเห็นผิดอย่างยิ่ง ผู้ไม่รู้จริง ไม่ควรสอนเป็นภัยแก่ตัวเอง และผู้อื่นอย่างมาก ทำให้ดูเหมือนการดับสูญ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงพระพุทธองค์ ไม่ทรงตรัสว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง
    ---------------------------------------------------------
    ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
    เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น
    แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็น

    สิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

    ในวิชาอภิธรรมก็สอนไม่ถูกต้อง นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า แล้วอรูปพรหมก็ว่างเปล่า ไม่ใช่หรือ เหมือนกันหรือ
    -------------------------
    อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ

    ได้แก่ นิพพาน

    ในวิชาอภิธรรมก็สอนไม่ถูกต้อง จิตนั้นมีความเร็ว ชั่วลัดนิ้วมือเดียว แสนโกฐิครั้ง(พุทธองค์ตรัส) ใครจะไปปรุงแต่งทัน จิต(พุทธะ)เป็นอสังขตธรรม ตัดปรุงแต่งออกให้หมด เหลือแต่จิต(พุทธะหรือโลกุตตรจิต)ล้วนๆ

    นั้นคือสภาวะนิพพาน ดั่งที่พระพุทธองค์ตรังไว้ว่า

    ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
    จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
    นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุง
    แต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออก
    ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึง
    ปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็น
    แล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัด
    ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว
    จึงปรากฏ ฯ
    ----------------------------------------------------------
     
  5. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    ธาตุรู้เป็นแม่ธาตุของธาตุทั้งปวงทั่วทั้งแสนโกฐจักรวาล ก่อนที่จะมีสรรพสิ่งต่างๆก่อกำเนิดขึ้น ในห้วงอวกาศ อันเวิ้งว้างไม่มีประมาณ ธาตุรู้เป็นสิ่งเดียวที่หาจุดเริ่มต้นไม่ได้หาจุดจบไม่เจอเป็นตถาตา เป็นอมตะ คงฟ้า คงดิน คงจักรวาล ไม่ว่าสัตว์ทั้งหลาย พืชทั้งหลายล้วนต้องใช้ธาตุรู้ ในการปรุงแต่ง ดำรงชีวิต ต่อเนื่องกันไป อาศัยกันและกัน เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีหนึ่งเหตุหนึ่งผลบ้าง เพราะสองสิ่งนั้นมีสิ่งนี้จึงมีสองเหตุหนึ่งผลบ้าง สามเหตุหนึ่งผลบ้าง สองผลบ้าง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่แปรเปลี่ยน เวลา สถานที่ อุณหภูมิ สิ่งแวดล้อม พระพุทธองค์เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

    จิตวิญญาณ ประกอบด้วย ธาตุรู้ ประสาทรับรู้ ปรุงแต่ง เวทนา สัญญา ก่อให้เกิดอุปทาน (อุปทานคือการยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นนั่น นู่น นี่ ส่วนมากจะมีในสัตว์ทุกภพภูมิ)

    ขันธ์ห้า(ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน )

    รูป จำแนกเป็น หนึ่งรูปหยาบประกอบด้วยของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น สัตว์ พืช สองรูปละเอียดได้แก่ โอปปาติกะ ทั้งหลาย
    เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
    สัญญา ได้แก่ ความจำได้หมายรู้ ผ่านประสบมา
    สังขาร ได้แก่ การคิดปรุงแต่ง
    วิญญาณ ได้แก่ ประสาทรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    หน้าที่ของเราคือล้างอุปทาน ล้างอวิชชา(ความไม่รู้) คืนธาตูรู้ ให้อิสระ สู่ธรรมชาติ ที่เป็นกลาง ไม่ถูกปรุงแต่งใดๆ ก็จะพบความสุขไม่มีประมาณ คีอการไม่ยึดถีอว่าเป็นเราเป็นของของเรา (ธรรมชาติมีหลายระดับตั้งแต่ ระดับกายภาพ ระดับจิควิญญาณ จนถึงระดับไร้การปรุงแต่ง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2015
  6. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    กิเลสตาย จิตไม่ตาย
     
  7. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    อนุโมทนา สาธุครับ ^__^
    ธาตุรู้ ธาตุบริสุทธิ์ สภาวะแห่งการรู้แจ้งเป็นอิสระจากการปรุงแต่งใดๆ
    ไร้ซึ่งตัวตนแห่งทุกข์ทั้งปวง อันสภาพธรรมที่บริสุทธิ์โดยแท้ ...
    นับเป็นสุดยอดแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ^__^
     
  8. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +191
    จิตเดิม พุทธะ ธาตุรู้ ธรรมญาณ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ตถตา อาตมัน

    เซ็นเชื่อว่าสรรพสัตว์มีจิตเดิมแท้ แม้แต่ในมด ปลวก ก็มีจิตเดิมแท้ และสามารถบรรลุธรรมได้ มีธาตุพุทธะอยู่ในตัวทุกคน คล้ายๆ กับศาสนาฮินดู ที่ทุกคนมีอาตมัน สรรพสัตว์ทุกอย่างก็มีอาตมัน สามารถบรรลุถึงโมกษะได้ทั้งเซ็นและฮินดูคล้ายๆ กันมาก ในแง่ของธาตุพุทธะกับอาตมัน ต่างกันแค่ฮินดูมีพระเจ้าแต่เซนไม่มี

    คำถามที่นักศึกษาธรรมถามกันมาก เกี่ยวกับเซน
    ๑.เซ็นเชื่อว่า สามารถบรรลุธรรมได้ ด้วยการเพ่งภายใน จนบรรลุ "ซาโตริ" แต่เถรวาทอ้างมรรคแปด เพื่อบรรลุธรรม?
    ตอบ คนที่มีใจใฝ่ในธรรม มีเมตตา มีอหิงสา คาดว่ามรรคก็เกือบสมบูรณ์แล้ว พอทำการเพ่งก็เพิ่ม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เข้าไป ทำให้มรรคแปดสมบูรณ์ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยบรรลุธรรมได้

    ๒.จิตเดิมแท้ เป็นพุทธะ แล้วกิเลส มาครอบงำตอนไหน? ความเป็นพุทธะมันหลบออกไปได้หรือ?

    ๓.จิตเดิมแท้มาจากไหนล่ะ? แล้วอยู่ดีๆ จิตเดิมแท้บริสุทธิ์ได้อย่างไร ?

    ๔.ยังไม่ได้ปฏิบัติอะไรเลย! จิตเดิมแท้บริสุทธิ์จะมีได้อย่างไร

    ๕.ออกมาจากจิตเดิมแท้ แล้วก็ปฏิบัติเพื่อกลับไปหาจิตเดิมแท้ คล้ายๆ กับอาตมันออกมาจากชีวาตมัน แล้วปฏิบัติเพื่อกลับไปหาชีวาตมันของพระพรหม

    ตอบโดยรวม
    เรื่องของภาษานี่ก็ทำให้สับสนได้เพราะเป็นบัญญัติ แต่ในสภาวะปรมัตธรรมแล้ว จิตเดิม พุทธะ ธาตุรู้ ธรรมญาณ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ตถตา อาตมัน ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน มีมาแต่เดิม และก็อยู่กับสัตว์จนถึงปัจจุบันนี้ แต่เรามักพูดถึงจิตในส่วนที่เป็นจิตสังขาร ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิค ๕๓ ซึ่งตรงนี้(ยกเว้นโลกุตตรจิตที่สลัดจิตสังขารออกได้ชั่วคราว)เป็นส่วนปรุงแต่งไปแล้ว มีความไม่เทียง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ยังขึ้นอยู่กับกฎไตรลักษณ์ แต่ธาตุรู้นั้นมีสภาพเที่ยง ไม่ใช่ รู้บ้างไม่รู้บ้างไม่มีการเกิด ดับ แบบจิตสังขาร

    เป็นเรื่องยากที่จะแยกธาตุรู้ออกจากจิตสังขารได้ในระดับจิตปรกติ ต้องใช้ระดับจิตวิปัสนาญาณไปจับดูถึงจะทันอุปมาได้ว่าเหมือนนกไม่เห็นฟ้า เหมือนปลาไม่เห็นน้ำ แต่พอจะอธิบายได้ว่า ธาตุรู้ของแต่ละคนมีความเหมือนกัน ซื่อตรง เป็นสัจจธรรม เชื่อมโยงถึงกัน สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ไม่มีลักษณะเฉพาะบุคคล แต่จิตสังขารมีลักษณะเฉพาะบุคคล

    ถ้าจิตแต่ละดวงแยกอิสระต่อกันอย่างที่นักอภิธรรมเข้าใจ การเกิดและการดับย่อมมีช่องว่างความต่อเนื่องย่อมขาดช่วง แล้วจิตที่เกิดใหม่จะรับมรดกกรรมของจิตดวงเก่า ได้อย่างไร ถ้าไม่มีสะพานเชื่อม อีกกรณีหนึ่งในสภาวะที่สันตติขาด(จิตสังขารดับ) ในช่วงที่ขาดแล้วก็รู้ว่าขาด สิ่งที่รู้ไม่ได้ขาดไปด้วย รู้ว่าขาดนานเท่าไร ก็รู้ ตรงนี้จึงรู้ว่าธาตุรู้มีความเที่ยง

    ตรงนี้น่าสนใจ
    มีพระสูตรหนึ่งในมหายานที่กล่าวถึงในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเปล่งวาจายืนยันสัจธรรมข้อนี้ไว้ว่า
    "แปลกจริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมดทุกคน ต่างกันแต่เพียงมีผู้รู้กับไม่รู้เท่านั้น"

    พุทธประวัติ เถรวาท หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วทรงมีพระหฤทัยเบิกบานอย่างสูงสุด อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงกับอุทานว่า
    “ เราเมื่อแสวงหานายช่างคือตัณหา ผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสงสาร มิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนไม่ได้อีก ต่อไป ซี่โครงทั้งปวงของท่าน เราหักแล้ว ยอดเรือนเรากำจัดแล้ว จิตของเราถึงวิสังขารคือนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว”

    จิตเดิม ที่อ้างถึงในเถรวาทเรา "ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐนฺติ"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง "

    แต่ผู้รู้เถรวาทตีความไปเป็นสองนัย (ก็งง เลย 555)
    1) เป็นจิตของ อาภัสสรพรหม ที่ลงมากินง้วนดิน เกิดกิเลส แล้วกำเนิดเป็นมนุษย์
    2) เป็นภวังคจิต ก่อนการขึ้นมารับอารมณ์
     
  9. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ด้านตำรามันก็ถูกของมันตามตำรา
    ส่วนด้านของจริงต้องปฎิบัติตามมรรคแปด
    จึงจะรู้จิตเดิมแท้หน้าตามันเป็นอย่างไร...
     

แชร์หน้านี้

Loading...