การดำรงสมาธิจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจาฉบับพุทธวจน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 5 มีนาคม 2015.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    การดำรงสมาธิจิตเมื่อถูกเบียดเบียนทางวาจาฉบับพุทธวจน | snappytux.com อ้างอิง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึง
    กล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ :-
    ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
    ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
    ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
    ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
    ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน

    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ
    เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน,
    เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล
    มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่,
    จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้นอยู่
    และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันเป็นจิตไพบูลย์
    ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง
    มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเนียกอย่างนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาสีมา เป็น
    สีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า
    “เราจักเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่”
    ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่
    ได้แลหรือ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
    เพราะเหตุไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูป
    ไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้ ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใคร ๆ จะ
    เขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฏอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
    ลำบากคับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !”

    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในบรรดา
    ทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหา ๕ ประการนั้น
    เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใด
    ประการหนึ่งอยู่
    เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า
    “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป
    เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา
    ไม่มีโทสะในภายในอยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยัง
    บุคคลนั้นอยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิต
    ไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์
    แล้วแลอยู่” ดังนี้.
    (คือมีจิตเหมือนอากาศ อันใคร ๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฏ
    ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น).
    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล...
    มู. ม. ๑๒/๒๕๔, ๒๕๖/๒๖๗, ๒๖๙.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.3 KB
      เปิดดู:
      49

แชร์หน้านี้

Loading...