"อานาปานสติ" ฉบับหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมกรรมดี, 27 ตุลาคม 2015.

  1. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697

    การนั่งที่นิยมมี ๓ แบบ
    คือ นั่งขัดเพชร นั่งขัดสมาธิ เท้าซ้ายทับเท้าขวา และนั่งเรียงขา

    ลองนั่งเรียงขาดู หมายถึง นั่งแบบให้เท้าขวาหรือซ้าย ตามสะดวก วางมาข้างหน้า อีกข้างวางไว้ด้านใน ไม่ให้เท้าทับกันหรือซ้อนกัน


    การนั่งท่านี้จะทำให้นั่งได้นาน และหลังตรง คอตรง เวทนาเกิดน้อย และไม่รุนแรง

    ส่วนมือก็วางตามปกติ
     
  2. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ที่คุณเอกวีร์แนะนำ
    พอทำ เหมือนมันจะเป็นสมาธิแบบไม่น้อมจิตไป ตอนนี้ยังเข้าลึกด้วยสมาธิแบบนี้ไม่ได้
    ตอนทำรูปแบบตามที่แนะนำคือให้ระลึกไตรลักษณ์ลงไปกำกับ มันฟุ้งไปน้อยมาก แทบไม่มีไม่มี มีแค่แว๊บพุทโธ แว๊บรู้ลม (รู้แบบว่ามันคือลม เหมือนไปหมายว่ามันคือลม) แล้วก็แว๊บรู้ลมแบบกลางๆ แบบไม่มีคำพูด สังเกตหน่อยนึงตอนมันแว็บหลุดไป แล้วจะไปขึ้นตัวใหม่ จะเห็นคล้ายๆมีอะไรคว้าหรือมั่นไว้ ลองไม่ให้มันคว้าดูแต่ก็ทำไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าทำถูกทางไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2015
  3. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    สาธุพระคุณเจ้า ตอนนี้นั่งวางเรียงขา แต่ไม่ทราบว่ามือวางตามปกติ ควรวางที่หัวเข่า หรือวางทับไว้ตรงกลางตักหรือตรงแข้งดีคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 พฤศจิกายน 2015
  4. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    อาตมาใช้ วางมือทั้งสองคว่ำบนหน้าแข้งหน้าสุด โดยปลายนิ้วมือทั้งสิงแตะพื้น

    วางแบบสบาบๆ และเป็นกึ่งๆค้ำยันไม่ให้ตัวเอียงไปข้างหน้า หรือเอียงไปข้างหลัง
     
  5. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    จะระลึกถึงไตรลักษณ์ คุณต้องมีนามรูปเป็นอารมณ์

    จะเห็นนามรูป ต้องรู้จักลักษณะเฉพาะตัวของสภาวะธรรมนั้นๆ ว่าต่างจากสมมุติบัญญัติอย่างไร

    ทีนี้การจะแยกปรมัตถ์ออกจากสมมุติ ต้องอาศัย ปัญญา สติ และความเพียร

    การจะเห็นสภาวะธรรม หรือ กำหนดได้แม่นยำ ต้องอาศัยอินทรีย์ที่สงบ ตั้งมั่นดีแล้ว

    คำว่าตั้งมั้นในพุทธศาสนา หมายถึง สมาธิจิต หรืออีกนัยคือ นิวรณ์ไม่ได้ช่องเป็นเหตุให้หยั่งรู้ตามจริง

    ก็ต้องเริ่มที่ไตรลักษณ์ดี หรือ ทบทวนกุศลสมาธิ หรือ กุศลระดับสีลดี ก็ลองพิจารณาดูตามสมควร

    ธรรมะพุทธองค์ไม่โกรกชัน ข้ามขั้น แต่ลาดลุ่ม ไปตามลำดับขั้นตอน
     
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    อานาปานสติ รู้ในระดับบัญญัติ ลมเข้าและออก บริเวณจุดกระทบ

    แต่ในระดับจตุธาตุววัฏฐาน หมายถึงพิจารณา ธาตุ ๔ ที่ลมหายใจ

    ให้รู้ที่อาการปรมัตถ์ คือ สภาวะอาการผลัก หรือ เคลื่อน เป็นสภาวะของธาตุลม

    อาการที่เข้าเย็น ออกร้อน เป็น สภาวะของ เตโชธาตุ

    ก็ในสภาวะธาตุ สามารถใส่ใจโดยความเป็นรูป แตกต่างจาก นามที่กำหรดรู้ เป็นปัญญาแยกรูปออกจากนาม

    เมื่อรูปชัดเจนดีแล้ว นามย่อมปรากฏ ทีนี้จะใส่ใจรูปโดยเป็นสภาวะธาตุที่แตกสลายย่อยยับ แปรปรวนจากสิ่งหนึ่งเป็นสิางหนึ่ง

    ด้วยการกำหนดรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ตัวธรรมชาตินั้นแหละ จะเป็นผู้แสดงความเป็น อนิจจัง อนัตตา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ มีแล้วไม่มีให้รู้

    ไม่ต้องอาศัยคิด ท่อง คาดเดา หรืออนุมานแต่อย่างใด
     
  7. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ถ้ามุ่งสมถะก็พูดกันที่ระดับบัญญัติ

    จะสังเกตุว่ากัมมัฏฐานตนมีคุณภาพหรือยัง ให้สังเกตุที่ความแนบสนิท ในอารมณ์กัมมัฏฐานนั้นๆ

    ไม่หลุดจากอารมณ์ ไปคิด ไปฟุ้ง หรือเผลอไปเสพนิวรณ์ธรรม
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    คุณขาจร ต้องหนักแน่นในการปฏิบัตินะครับ

    ต้องลุยเข้าไปให้ดีๆ ใส่ใจแยบคายให้มากๆ

    ระวัง กรมฐานนกแก้วนกขุนทอง พาตกจากอานาปานสติ กลับมาสู่กายทีเปนนิมิต
    ที่ตั้ง เพื่อไปรู้เยนร้อนออ่นแข็งตึงไหว. แบบนักอภิธรรมจานลายนกแก้วนกขุนทอง

    อานาปารสติที่ไปรู้ ธรรมานุปัสนา ธรรมบรรพะ. ต้องสังเกตุ ปิติปัสสัทธิที่จะปรากฏ
    ในพื้นจิต ไม่มีกระเดิด ย้อนกลับมาคว้า. วิตกวิจารบัญญัติ แล้วกลับไปรู้ลม

    จะไม่ไปไหนเลย. ปฐมฌาณก็หาไม่ได้ สีลก็บรรลัย.

    ทั้งนี้ เยนร้อนออ่นแข็งตึงไหว อันเกิดจากอำนาจอานาปานสติ

    มันจะไปเหนสภาพธาตุ ที่ไม่สังขยามี ตน มารองรับ. จะรู้แบบไม่มีที่ตั้ง
    ไม่รอจุดกระทบ. เพราะว่า. เรากำหนดรู้อกุสลมุลจิต เปนนิมิตอานาปานสติ

    ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ. ซึ่งพลิกนิกหน่อย จะเหนการไหว
    การส่ายการเกาะกุมเปนจุด เปนดวง ที่ไหวยิบๆ. เปนการรุ้ธาตุ

    เทียบอาทิตยาสูตรได้

    ส่วนพวกเอาพนังจมุกเอากาย เอามือ เอาเท้า เอาท้องพองยุบ
    เอากระเพาะ ไปรุ้ธาตุ นั้นโดนกิเลสหลอกให้ตกจากสมาธิ

    ออกมาเปนนักธรรมนกแก้วนกขุนทอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2015
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    และความที่ใข้อกุสลมุลจิตเปนนิมิตของอานาปานสติ จะไม่มีการตกม้าตัวที่หนึ่ง
    ในม้า7พลัด

    ไม่คลาดจากคำสอรพระสารีบุตรในปฏิสัมภิทามรรค

    ไม่บ้าอภิธรรมแบบนกแก้ว อันไร้สามัญผล
     
  10. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    อกุศลมูลจิตคืออะไรครับ
    ที่เข้าใจคือเราใช้วิธีสังเกตจิต โดยมีอานาปานสติเป็นแบล๊คกราวใช่ไหมครับ
    ถ้าเป็นไปได้รบกวน
    ช่วยแนะแบบสั้นๆเข้าใจง่าย พอเอาไปทำได้ก่อน
    ถ้าติดขัดจริงๆเดี๋ยวจะมาถามครับ
    ขอบคุณครับ
    ป.ล.ศัพท์ทางเทคนิกบางอย่าง ผมกลัวไปตีความผิด เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2015
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อกุสลมุล3. คือ. โลภะ โทษะ โมหะ

    คุณทำอานาปานสติ แล้ว สังเกตเหน การเคลื่อน การคว้า. การแล่น
    การโดนย้อม การมียางเหนียว. การมืด การสว่าง. เหล่านี้คืออาการ
    ของจิต ที่มีอกุสลมุล เข้าไปเจือแล้วยกทำการรุ้เหนว่า มันเกิด มันมี
    มันมามันไป. โดยไม่คว้าว่า เรามี เราเปน.

    สามารถยกเหน จับต้องได้ แต่ แยกจาก ผู้สังเกต

    โดยที่ ยังรุ้ลักษณะลมทั้ง6อาการ สลับกัน. ขนานกัน ไม่กำ้เกินกัน
    ไม่มีอะไรหายไป


    ถ้าการรุ้ลมหายไป. ไปในบัญญัติอื่น. จะถือว่าตกอานาปานสติ

    แต่ถ้าจมมหาภูรุป4. จิตผลิกไปทำกสิน. ก้อนุโลม. แต่ตะต้องกำหนดรุ้ด้วย

    แต่ถ้าตกมาบัญญัต รุ้ร้อนเยนอ่อ่นแข็ง. โดยเอากายเนื้อเปรียบเทียบ
    อันนั้นอย่าไปทำ

    ผมจะเรียกแบบ อภิธรรมจานลาย. คือ. ไม่เปนฌาณจิตอะไรเลย
    จมความคิดธรรมดาๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2015
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ลองเอาไปพิสุจน์ดุ


    สิ่งสังเกตุ คือ. ปิติ5 จะต้องโคจรในจิต. พึบพับ. แต่จะจืดๆ ไม่หวือหวา
    จนตกไปทำฌาณฤาษี จะเรียกว่า. มีปัสสัทธิ

    ความแนบแน่น. จะอยุ่ที่เราทำสม่ำเสมอ


    ไม่ใช่นั่งนาน นั่งทน. เดินนานเดินทน ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2015
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    เป็นเช่นนั้น อานาปานสติมี ๑๖ ขั้น

    แต่ที่ภาวนากันในประเทศไทย ส่วนใหญ่ อยู่ที่ ๔ ขั้นแรก

    ในระดับระงับกายสังขาร หมายถึงในระดับสมาธิ หรือ ถึงระดับฌาณ ใช้พอเป็นบาตรฐานแก่วิปัสสนา

    เมื่อสมาธิตั้งมั่น อยู่ในระดับ ก็ไปพิจารณาอาการ ๓๒ ปฏิกูล ฯลฯ หรือขึ้นวิปัสสนาก็ได้
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ข้อความในอานาปานสติบรรพในสติปัฏฐาน
    กล่าวกันในระดับ อานาปานสติ ๔ ขั้น โดยความเป็นรูปกัมมัฏฐาน จึงต่อกัมมัฏฐานอื่นๆ



    อันที่จริงที่ให้ต่อกัมมัฏฐานอื่นๆ เพื่อดับวิปลาสต่างๆ บรรเทาความเห็นผิด

    จึงยกสู่วิปัสสนาภูมิ จะไม่ไปตรงๆ เพราะ จะแห้งแล้ง ทนต่อสภาวะธรรมได้ไม่นาน
     
  15. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    อานาปานสติ

    ขั้นที่ ๑ และ ๒ เป็นเรื่อง กำหนดรู้ลมเข้าออก อาจกำหนดโดยการนับช้า นับเร็ว ฯลฯ เพื่อผูกสติไว้กับลมกระทบ

    ขั้นที่ ๓ เป็นเรื่อง ลมละเอียด มีการรู้ ต้นลม กลางลม ปลายลม สังเกตุธรรมชาติ ยังไม่ใส่ใจความเป็นไตรลักษณ์

    ขั้นที่ ๔ เป็นเรื่อง ระงับกายสังขาร ลมละเอียดมาก จนเหมือนลมหายใจไม่มี

    ในแต่ละขั้น ก็มีรายละเอียด หรือทักษะให้หมายรู้ได้ บ่งบอกถึงคุณภาพของสมาธิแต่ละระดับด้วย

    ในระดับสมาธิก็มีนิมิตให้รู้เป็นเงาคู่กันมา ให้ลองสังเกตุดู

    อานาปานสติแต่ละขั้นนั้น สภาวะธรรมจะเป็นตัวบอกว่า เป็นสภาวะขั้นไหน กายระงับเป็นอย่างไร

    ไม่ใช่เอาตัวเราไปหาสภาวะ กระโดดไปพิจารณาของที่เกินปัญญา
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ที่ยกมา ก็ถูกแล้ว

    ท่านกล่าวเริ่มที่สมาธิ ตรงนี้เอาที่อุคคหนิมิต "ว่าจะปรากฏส่วนไหนก็ตาม พึงถือเอากายส่วนนั้นพิจารณา..."

    พึงทราบว่า ท่านเริ่มที่อาการ ๓๒ หรือ กายคตาสติ มีการบริกรรม ผม ขนเล็บ จนนิมิตขึ้น

    ทีนี้น เวลาสอนกัมมัฏฐาน ท่านให้เริ่มจากหมวดกาย หมายถึง รูปทั้งหมด เพราะพืลิจารณาง่าย

    รู้รูปไม่นาน นามก็ปรากฏ โดยความเป็น ผัสสะ เวทนา วิญญาณ

    กล่าวให้ตรงหมวดก็คือ เวทนา จิต และธรรม ในสติปัฏฐาน
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    กลับมา อานาปานสติ แบบ พระไตรปิฏก กันต่อ

    ต้องอดทน ฟังให้ดีๆ พยายามอย่าไป ฟังคำสอนของสาวก ให้ฟังคำสอน
    ของพระพุทธองค์ เป็นหลักก่อน ถ้าจะฟังคำสอนสาวก ก็ขอให้พิจารณา
    ตามมุขนัย ธรรมเสนาบดี พระสารีบุตรก่อน

    บทที่ว่า อานาปานสติ มี16 ขั้น อันนี้ เกิดจาก อานาปานสติสูตรที่พระพุทธองค์
    ยกออกมาแสดงว่า อานาปานสติ ทำให้ สติปัฏฐาน4 เต็มอย่างไร

    หากดูเผินๆ ก็จะเป็น การตัดออก 4 บท บทละ 4 วรรค

    แต่.....ถ้ากลับไปอ่าน พระไตรปิฏก ที่เป็น พุทธวัจนะ มันไม่เชิงว่า ตัดออก
    เป็นสี่วรรค เพราะในการตัดออกมายกแต่ละครั้ง จะมี "อนุประโยค" กำจัด
    " อภิชญา และ โทมนัสในกาลก่อนๆ เสียได้ " คั่นในสี่วรรค

    กล่าวในเชิงของธรรมปฏิบัติ คือ ในแต่ละวรรคที่ เข้าไปสมาทาน อานาปานสติ
    เพื่อ สติปัฏฐานกองใดก็ตาม จะต้องมีการ " ตัดภพ ตัดชาติ ตัดอกุศลมูล " อยู่
    ด้วย ไม่ใช่ แบ่งเป็น 4วรรค ทำตามขั้นตอน อย่าง เถรส่องบาตร

    ก็เลย งง ว่า ต้องหายใจ 16 ครั้ง แล้ว เซิ้งกระติบไปทีละ ขั้น อันนั้น ปัญญาอ่อน
    แน่นอน อานาปานสติที่ทำไปทีละขั้น นับขั้น นับตอน รับรองว่า ปัญญาอ่อน แน่นอน

    ไม่ต้องพูดถึง ทำอานาปานสติ เพื่อสติปัฏฐานเต็ม ทำอานาปานสติเพื่อโพชฌงค์เต็ม
    ได้ในตัวกรรมฐานอานาปานสติอยู่แล้ว แต่กลับ ถูกพวก อยู่อย่างเปลืองข้าวสุก
    ของชนในแว้นแคว้น ลากไป ทำกรรมฐานอื่น อีก ทำอานาปานสติไม่เต็มรอบ อ้าง
    ว่าเต็มรอบ แต่ยัง ทะลึ่งไปเอา กรรมฐานอื่นมา ปะผุอีก


    ถ้ากลับมาดู มุขนัย พระสารีบุตร ก็อันเดิม คือ ให้กำหนดนิมิต ของ อานาปานสติ
    คือ กิเลส อกุศลมูลกิเลส

    ถ้าทำตามนี้ จะรู้เลยว่า หายใจทีเดียว หากการตามระลึกลมหายใจเข้า ลมหายใจ
    ออกในครั้งนั้นเป็นไปเพื่อ การละ สละ สลัดวาง อกุศลมูลกิเลส นั่นย่อมไม่มีการ
    ตกม้าผลัดแรก ไม่มีการต้องไปทำกรรมฐาน อะไรอื่นอีก งานมันจบ
    ครบรอบ อานาปานสติของมันอยู่แล้ว ด้วย ลมหายใจครั้งเดียว

    ทีนี้ ถ้าเป็นไปเพื่อ " กายในกาย " การข้ามอภิชญาโทมนัสในกาลก่อนๆ ในปัจจุบัน
    นั้นหากวางจิตเพื่อ วิหารธรรม ลมหายใจ อานาปานสติเพื่อเห็น "กายในกาย" ทำ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน

    ถ้าเป็นไปเพื่อ " เวทนาในเวทนา " การข้ามอภิชญาโทมนัสในกาลก่อนๆ ในปัจจุบัน
    นั้นหากวางจิตเพื่อ เห็นปิติ ปัสสัทธิ ของจิต ตรงนี้จะจัดเป็นการพิจารณา อานาปาน
    สติเพื่อเห็น "เวทนาในเวทนา" ทำ เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน

    ถ้าเป็นไปเพื่อ " จิตในจิต " การข้ามอภิชญาโทมนัสในกาลก่อนๆ ในปัจจุบัน
    นั้นหากวางจิตเพื่อ เห็นการเผลอไปของปฏิปทา การสมาทานอานาปานสติ ตรงนี้จะจัด
    เป็นการพิจารณา อานาปานสติเพื่อเห็น "จิตในจิต" ทำ จิตานุปัสนาสติปัฏฐาน

    ถ้าเป็นไปเพื่อ " ธรรมในธรรม " การข้ามอภิชญาโทมนัสในกาลก่อนๆ ในปัจจุบัน
    นั้นหากวางจิตเพื่อ เห็นการละ วาง จางคลาย สลัดคืนกิเลส การแยกจิตออกจาก
    การสัดส่าย การไหว อันเกิดจากจิตที่มีอกุศลมูล การสมาทานอานาปานสติ ตรงนี้
    จะจัดเป็นการพิจารณา อานาปานสติเพื่อเห็น "ธรรมในธรรม" ทำ ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน


    อานาปานสติ หากทำถูกต้อง ทำกรรมฐานเดียว พอ ไม่ใช่ว่า จะต้องไปทำกรรมฐาน
    อื่นอีก เพราะอะไร

    เพราะ อานาปานสติ มี นิมิต อุคหนิมิต คือ อกุศลมูลกิเลส

    ก็หาก ยกนิมิต ของอานาปานสติได้ถูกต้อง มี กิเลสสิ้นไป ชำระล้างไป แล้ว
    จะต้องไป ละเมอ สมาทานกรรมฐานอื่นเพื่ออะไร

    เพื่อความโง่ เป็นนักอภิธรรมจานลาย อยู่ในโลกให้เสียข้าวสุก งั้นหรือ !?
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ข้างบนนั้น เป็น สัทธรรมปฏิรูป หน้าที่ ของสัทธรรมปฏิรูปคือ

    แล่นไปสู่การ สมาทานอานาปานสติ แบบ ผิดๆ


    ต่อไปนี้เป็น พระสูตรเดิม

     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ทีนี้ คนที่ใช้ อานาปานสติ เป็น กรรมฐานที่ สมาทานเข้า กำจัดกิเลส

    อย่างเช่น หากภาวนาจนเกิด อาการยุ๊บยิ๊บ ยุ๊บยับ อาการดันกลางอก
    อาการสัดส่าย แส่ซ่าน เสียว น้ำตาไหล เห็นสภาวะถูกทิ่มแทง ตรง
    ส่วนไหนของกาย เห็นการขัดแข็งแน่น ตึง ตรงส่วยไหนของกาย โดย
    ที่ มีอานาปานสติ เป็น แบ็คกรานด์อยู่ อย่าไป ซื่อจนเซ่อ ไป
    ผลักตกทำกรรมฐานอื่น

    ให้ยก สภาวะ ปิติ5 เหล่านั้น การสมาทานอานาปานสติ เป็นแบ๊คกรานด์
    รู้เฉพาะตน อยู่ ยกทำการเห็น บทที่ว่าด้วย อานาปานสติทำให้ โพชฌงค์
    บริบูรณ์อย่างไรไปเลย

    มันจะถูกต้องด้วยดี หากยัง กำหนดรู้ อกุศลมูลจิต นั่นแหละ ทำให้จิตแส่ส่าย
    แน่น แข็ง ตึงไหว เสียดแทง น้ำหู น้ำตาไหล ตัวจะลอย ตัวจะจม ฯลฯ



    จุดที่ไฮทไลท์ ก็คือ สภาวะ ที่จะระลึกได้ ในขณะที่เห็น ยุ๊บยั๊บ ยิ๊บยับ
    กลางอก(จริงๆ จะต้องไม่มีที่ตั้ง แต่เนื่องจาก สัมปชัญญะบรรพะ จะทำให้
    จิตโคจรกลับมายัง ภูมิมนุษย์ จึงทำให้เกิด การแลอยู่ ยกอยู่ กายเป็นส่วนหนึ่ง
    เวทนาเป็นส่วนหนึ่ง จิตก็เป็นส่วนหนึ่ง -- ตรงนี้ ดูพระสูตร ก็คือ วรรคก่อนหน้า)

    ตรงนี้จะรู้สึกว่า ไม่มี บัญญัติใดๆ แต่กระนั้น ก็ทำงาน ทำหน้าที ไปตามปรกติ

    หากเป็น ฆารวาส ก็ประชุม ตามปรกติ
    หากเป็น กษัตริยาธิราช ก็ รบ ทัพ จับศึก ไปตามหน้าที่
    ฯลฯ

    ถ้าเป็น พระที่ไม่อยู่ในโลกอย่างเปลืองข้าวสุก ก็จะสบาย หนทางกว้างขวาง
    ไม่คับแคบ ทำอะไรไม่สมแก่ความเป็นพระ

    อย่าได้ลังเล สงสัย ตกจาก อานาปานสติ ไปไหน อย่าได้เข้าใจผิดว่า โพชฌงค์ ไม่เกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2015
  20. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ที่ไปดูมา
    ถ้ามีกิเลสอะไรทั่วๆไปเนี่ย
    พอทำอานาปุ๊บมันจางหายไปหมด
    ตอนทำเหมือนรู้ลมไปด้วย รู้จิตไปด้วย สังเกตด้วย จะเห็นมัน นิ่งๆ ไม่ก็มืดๆ บางทีมันเหมือนมีอะไรเคลือบแต่พอรู้ปั๊บก็แยกแล้วหาย ไปมืดๆ เหมือนเดิม
    แต่ก็สติชัดเจน เบาสบาย บางทีมันก็จมไปกับลม บ้าง กับจิตบ้างแต่ก็แว๊บเดียว แต่ส่วนใหญ่จะรู้ไปเท่าๆกันคล้ายวางของไว้สามชิ้นเราก็มองไปพร้อมๆกัน(อุปมาอุปไม)
    บางทีก็ตกไปจากอานา แต่ช่วงหลังๆก็น้อยลง
    ตรงจิตโดนย้อม แล่น คว้า เคลื่อน ตรงนี้ไม่ทราบเป็นอย่างไร ต้องสังเกตยังไงครับ
    หรือไม่ต้องไปสนใจ เห็นยังไงก็ยังงั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...