พระพุทธองค์ทรงสัพพัญญูรู้แจ้งด้วยอะไร?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 28 มีนาคม 2010.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    สัพพัญญู หากแปลความหมายตามศัพท์ตรง ก็แปลได้ว่า เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง รู้ธรรมะทั้งปวง ซึ่งลักษณะการดังกล่าวคือคุณสมบัติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    ถ้อยคำดังกล่าว โดยความหมายนั้น จึงมักทำให้คนเกิดคำถามขึ้นนานัปการ อาทิเช่น<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าสัพพัญญูรู้แจ้งทุกประการจริงหรือ?<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้ารู้แจ้งทุกประการในทางธรรมะอย่างเดียว หรือรู้ทางโลกด้วย?<O:p></O:p>
    และที่สำคัญทรงสัพพัญญูได้ด้วยสิ่งใด?<O:p></O:p>
    เมื่อคำถามบังเกิดจึงต้องขอหยิบยกเรื่องราวในพระสูตรมาศึกษาดังต่อไปนี้ก่อน...<O:p></O:p>
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่กุฎาคารศาลาในป่ามหาวันเขตเมืองเวสาลี ครั้งนี้พระองค์ได้เสด็จเข้าไปยังอารามของปริพพาชกผู้หนึ่งนาม วัจฉะในเวลาเช้าก่อนที่จะเสด็จไปบิณฑบาต และการที่เสด็จเข้าอารามนี้ก่อน เพราะเห็นว่าเวลายังเช้าเกินไป ครั้นมาถึงวัจฉะปริพพาชก ซึ่งเห็นว่ามาไกลแล้ว ได้เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ส่วนตนนั่งลงบนอาสนะที่ต่ำกว่า แล้วกราบทูลว่า<O:p></O:p>
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญูรู้ทุกอย่างมีปกติเห็นธรรมะทั้งปวงทรงปฏิปทาญาณทัสนะ ไม่มีส่วนที่เหลือว่า เมื่อเราเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ญาณทัสนะย่อมปรากฏแก่เราเสมอติดกันไปไม่ขาดสาย (เป็นสัพพัญญูทุกขณะ ทุกอิริยาบถ) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนผู้กล่าวดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้จริงหรือ คนเหล่านี้ไม่ได้กล่าวตู่พระองค์จริงหรือ หรือว่าเขาเหล่านั้นกล่าวถูกต้องแล้ว...?”<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ ชนที่กล่าวว่าพระสมณโคดมเป็นสัพพัญญูทุกขณะ ทุกอิริยาบถ ดังที่ท่านได้ยินมานั้น เขาไม่ได้กล่าวตามที่เรากล่าวไว้ เขากล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ไม่เป็นจริง<O:p></O:p>
    วัจฉะปริพพาชกจึงทูลถามต่อ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าจะพึงกล่าวเช่นไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามถ้อยคำของพระองค์ ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำไม่เป็นจริง”<O:p></O:p>
    เมื่อได้ฟังดังนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบดังนี้...<O:p></O:p>
    ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะผู้ได้วิชชาสามดังนี้แล จึงจะเป็นการกล่าวตามที่เราได้กล่าวมาแล้ว ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติได้เป็นอันมากคือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมาก ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัปเป็นอันมาก ว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น มีอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้เกิดในภพโน้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยทุกข์ เสวยสุขอย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกชาติได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้...<O:p></O:p>
    ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้ากายแตกเขาเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาตนรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้า แต่ตายกายแตกเขาเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์<O:p></O:p>
    ดูกรวัจฉะ เราทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์แล้วว่าพระสมณโคดมเป็นเตวิชชะผู้ได้วิชาสาม จึงจะเป็นการกล่าวตามคำที่เรากล่าวมาแล้ว...(ข้อความดังกล่าวมีอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 13 หน้า 237)<O:p></O:p>

    จากข้อความดังกล่าวนี้ ได้ให้ข้อคิดได้เป็นอย่างดีว่า คำว่า สัพพัญญู’ หมายความว่าอะไร และเหตุใดพระพุทธองค์จึงได้เป็นสัพพัญญู แต่ก็เป็นการยากที่จะเข้าใจได้ง่าย สำหรับท่านผู้อ่านที่อ่านเพียงข้อความในที่นี้ เท่านั้นจึงขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้...



    ขอให้สังเกตคำว่า ดูกรวัจฉะเมื่อบุคคลพยากรณ์ว่าพระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ จึงจะเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ฯลฯ’<O:p></O:p>
    และอีกตอนหนึ่งที่ว่า ‘ดูกรวัจฉะ เราเพียงแต่ต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติได้ ฯลฯ’<O:p></O:p>
    เราเพียงแต่ต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯจากข้อความดังกล่าวอ้างมานี้ แสดงให้เห็นว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงสัพพัญญูนั้น ก็เพราะเหตุที่ทรงได้อภิญญา เช่น สามารถระลึกชาติได้ สามารถมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ ปฏิสนธิได้ด้วยทิพยจักษุ และสามารถทำกิเลสในกมลสันดานให้หมดสิ้นไปได้ด้วย ความสามารถที่ว่านี้ เกิดขึ้นได้เพียงแค่พระองค์ ตั้งใจ จะให้เกิดเท่านั้น... ญาณเหล่านั้นจะเกิดทันที แต่ถ้าไม่ต้องการก็ระลึกไม่ได้<O:p></O:p>
    แต่อยากขอให้ท่านสังเกตในข้อ อาสวักขยญาณ นั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้คำว่า ‘เราเพียงต้องการ’ เหมือนของประการแรก ที่ไม่ใช้ก็เพราะการละกิเลสในสันดาน เมื่อละได้แล้ว ความบริสุทธิ์จากกิเลสจะมีอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้อีก เป็นการดับตลอดกาล<O:p></O:p>
    ส่วนญาณข้ออื่นอย่าง บุพเพนิวาสานุสติญาณ, จุตูปปาตญาณ นั้น ไม่ใช่มีอยู่ตลอดเวลา ญาณเหล่านั้นจะเกิดต่อเมื่อตั้งใจจะให้เกิดเท่านั้น...<O:p></O:p>
    ฉะนั้นคำว่า สัพพัญญู ซึ่งหมายถึง การรู้เรื่องราวต่าง ๆ เช่น สามารถจะรู้ถึงอดีตชาติของใครก็ได้ และรู้ทันทีนั้นก็ต่อเมื่อมีความต้องการจะรู้ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงตรัสว่า<O:p></O:p>
    ผู้ที่กล่าวว่า ไม่ว่าจะเดิน ยืน จะหลับหรือตื่น พระองค์จะสัพพัญญูอยู่ทุกขณะ ทุกอิริยาบถนั้น เป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง!’<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่ราวป่าด้านตะวันตก นอกพระนครเวสาลี ในครั้งนั้น สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ได้หลีกออกไปจากธรรมวินัย (สึกจากพระ) ไปไม่นาน และเที่ยวโพนทะนากล่าวโทษพระพุทธเจ้า ในบริษัทต่าง ๆ ในที่ชุมชนต่าง ๆ ณ เมืองเวสาลีว่า<O:p></O:p>
    ญาณทัสนะอันวิเศษอันเป็นของพระอริยะ เป็นธรรมะที่สูงกว่ามนุษยธรรมของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมแสดงธรรมะตามที่นึกเอาเอง พิจารณาตามปฏิภาณของตน แต่ธรรมะที่แสดงนั้นก็ทำให้ผู้ทำตาม พ้นทุกข์ได้?<O:p></O:p>
    พระสารีบุตรที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีไปได้ยินเข้า เมื่อกลับจากการโปรดสัตว์และฉันเสร็จ จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ<O:p></O:p>
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า... ‘สุนักขัตตลิจฉวีบุตรกล่าวเช่นนั้น เพราะเขาเป็นโมฆบุรุษ’ (ผู้ไม่ได้บรรลุมรรคผล) เขาจึงไม่มีญาณที่จะหยั่งรู้ว่าตถาคตมีญาณทัสนะอันวิเศษ ซึ่งเป็นธรรมสูงกว่ามนุษยธรรม และที่เขากล่าวเช่นนั้นก็เพราะความโกรธ (สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ได้เข้าทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้ทิพยโสต แต่พระองค์ไม่ทรงสอน เพราะเห็นว่า เขาไม่มีอุปนิสัยในทางนี้ ถึงจะสอนก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราะความโกรธในเรื่องนี้ จึงได้สึกออกไป)<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระสารีบุตรอีกว่า...ดูกรสารีบุตร เพราะความเป็นโมฆบุรุษ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร จึงไม่รู้ว่าตถาคตเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดี เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นศาสดาเอกของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้จำแนกธรรมะ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ถ้อยคำรับสั่งยืนยันว่าพระองค์ทรงได้อภิญญา 6<O:p></O:p>

    ดูกรสารีบุตร เพราะความเป็นโมฆบุรุษ สุนักขัตตะจึงไม่รู้ว่าตถาคตสามารถแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้มากมายเช่น...<O:p></O:p>
    1. คนเดียวทำให้เป็นหลายคนก็ได้ เมื่อเป็นหลายคนแล้ว ทำให้เป็นคนเดียวอีกที<O:p></O:p>
    2. ทำที่มืดให้สว่าง ทำที่ลับให้เปิดเผยก็ได้ ทำสิ่งซ่อนเร้นซึ่งใคร ๆ ไม่เห็นให้คนทั้งหลายเห็นได้<O:p></O:p>
    3. ทำที่สว่างให้มืด ทำการกำบังมิให้คนอื่นเห็นก็ได้<O:p></O:p>
    4. เดินทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขาไปโดยไม่ติดขัด เหมือนเดินในอากาศธาตุก็ได้<O:p></O:p>
    5. ดำลงแผ่นดินแล้วโผล่ขึ้นจากแผ่นดิน เหมือนดำลงในน้ำโผล่ขึ้นมาจากน้ำก็ได้<O:p></O:p>
    6. เดินบนน้ำได้โดยไม่จมเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้<O:p></O:p>
    7. เหาะเหินเดินไปบนอากาศเหมือนนกบินไปในอากาศก็ได้<O:p></O:p>
    8. ลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้<O:p></O:p>
    9. ไปพรหมโลกด้วยกายเนื้อ หรือกายทิพย์ก็ได้<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ดูกรสารีบุตร เพราะความเป็นโมฆบุรุษ สุนักขัตตะจึงไม่รู้ว่าตถาคตนั้นฟังเสียงได้ทั้งสองอย่าง ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ จะอยู่ไกลหรือใกล้ก็ได้ยินด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เกินกว่าวิสัยมนุษย์จะได้ยิน<O:p></O:p>
    ดูกรสารีบุตร เพราะความเป็นโมฆบุรุษ สุนักขัตตะจึงไม่รู้ว่าตถาคตนั้น เมื่อกำหนดใจของสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจของเราแล้ว ย่อมรู้ว่าสัตว์นี้บุคคลนี้มีจิตมีราคะหรือไม่มีราคะ จิตมีโทสะหรือไม่มีโทสะ จิตมีโมหะหรือไม่มีโมหะ จิตหดหู่หรือไม่หดหู่ จิตฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน จิตถึงความเป็นใหญ่หรือไม่ถึงความเป็นใหญ่ จิตเป็นสอุตตรจิตหรืออนุตรจิต (สอุตฺตรํ เป็นจิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่า อนุตฺตรํ เป็นจิตที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า) จิตหลุดพ้นแล้วหรือยังไม่หลุดพ้น<O:p></O:p>
    (*ข้อความที่อ้างมีอยู่ในมหาสีหนาทสูตร พระไตรปิฎกเล่ม 12 หน้า 137)<O:p></O:p>
    ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากวิชชาสามคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ดังที่กล่าวมาในตอนที่แล้ว พระองค์ยังทรงได้อภิญญาอีกสามข้อคือ อิทธิวิธี ทิพยโสต และเจโตปริยญาณอีกด้วย อภิญญาทั้งสามข้อนี้เมื่อพระองค์ประสงค์จะให้เกิดเมื่อไร ก็เกิดได้ทันทีเช่นกันกับอภิญญาอื่น<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    พระพุทธเจ้าทรงสัพพัญญู เพราะทรงมีทศพลญาณ<O:p></O:p>

    เรื่องความเป็นสัพพัญญู นอกจากจะอธิบายมาแล้ว ยังมีอีกหัวข้อหนึ่งที่จะทำให้เราทั้งหลายเข้าใจคำว่า ‘สัพพัญญู’ นั้นมีความหมายอย่างไร และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จากหัวข้อ ทศพลญาณ ที่แปลว่าญาณที่เป็นกำลังของพระตถาคต 10 อย่างที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ที่ว่า...<O:p></O:p>
    ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกำลังฝ่ายใด จึงได้ปฏิญญาอาสภฐานะ (คือฐานะอันประเสริฐสูงสุด) ได้บันลึอสีหนาทในท่ามกลางบริษัท ได้ยังพรหมจักรให้เป็นไปได้ กำลังของตถาคตเหล่านั้นมี 10 อย่าง คือ<O:p></O:p>
    1. ฐานาฐานญาณ ตถาคตย่อมรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ รู้อฐานะโดยความเป็นอฐานะ (รู้อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้)<O:p></O:p>
    2. วิปากญาณ ตถาคตย่อมรู้วิบากของกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะโดยเหตุ ตามความเป็นจริง<O:p></O:p>
    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง<O:p></O:p>
    4. นานาธาตุญาณ ตถาคต ย่อมรู้ชัดซึ่งโลก มีธาตุที่มิใช่ธาตุเดียว และมีธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริง<O:p></O:p>
    5. นานาธิมุตติกญาณ ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติ (อัธยาศัย) ต่าง ๆ กันตามความจริง (ใครมีอัธยาศัยอย่างไร รู้แจ้งหมดตามความจริง)<O:p></O:p>
    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลทั้งหลายมีอินทรีย์ยิ่งและหย่อนตามความจริง (อินทรีย์ = สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)<O:p></O:p>
    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง (สงฺกิเลสํ) ความผ่องแผ้ว (โวทานํ) และความออก (วุฏฐานํ) แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามความจริง (รู้อุปสรรคที่ทำให้เข้าฌานสมาบัติ และสมาธิบรรลุวิโมกข์ และทำอย่างไรจึงสามารถเข้าถึงได้ง่ายรวดเร็ว ออกจากฌานสมาธิสมาบัติได้ง่ายรวดเร็ว)<O:p></O:p>
    8. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก ฯลฯ<O:p></O:p>
    9. จุตูปปาตญาณ ตถาคตย่อมรู้เหตุของหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ ฯลฯ<O:p></O:p>
    10. อาสวักขยญาณ ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ฯลฯ<O:p></O:p>
    ดูกรสารีบุตร เพราะตถาคตมีคำสั่ง 10 ประการเหล่านี้แล จึงได้กล้าปฏิญญาอาสภฐานะ บันลือสีหนาท ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป<O:p></O:p>
    ผู้ใดแลพึงกล่าวถึงเราซึ่งเป็นผู้รู้ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ญาณทัสนะอันวิเศษซึ่งเป็นของพระอริยะ เป็นธรรมะที่สูงกว่ามนุษยธรรมของสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมแสดงธรรมะตามที่นึกเดาเอาเอง พิจารณาเอาเองตามปฏิภาณของตน ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นถ้าไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะไปนรก เปรียบเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วยปัญญา ย่อมหวังจะต้องได้บรรลุอรหันต์ในชาตินี้ฉันใด...<O:p></O:p>
    ผู้ไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่ละทิฐิเช่นนั้น ก็ย่อมหวังได้ว่า...เขาจะต้องไปนรกแน่ฉันนั้น (มหาสีหนาทสูตร 12/140-143)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ครับ เมื่อถึงบรรทัดนี้ ท่านทั้งหลายคงจะทราบแล้วว่า พระพุทธเจ้าของเราทรง ‘สัพพัญญู’ ได้ด้วยสิ่งใด...และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ดูหมิ่นหรือตู่พระองค์ในทางที่ผิด จักต้องได้รับกรรมหนักในนรกภูมิยิ่งกว่าดูหมิ่นพระอริยเจ้าทั้งหลาย อันเป็นอธิกรรมเสียอีก...<O:p></O:p>
    จึงอยากฝากท่านทั้งหลายว่า ยามใดอยู่ต่อหน้าฤาลับหลังพระอริยเจ้า ควรสำรวมจิตใจและร่างกายมิให้ไปหมิ่นแคลนท่านด้วยมิจฉาทิฐิ มิเช่นนั้นจะรับผลกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์...
    http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=34&wpid=0017



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.912307/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    หลบภัย say

    หลักใหญ่ ที่เป็นหลักใจ ท่านเน้นสอนให้พวกเราพ้นทุกข์ มิได้มุ่งเอาคุณวิเศษทั้งหลาย
    ไม่ใช่สาระสำคัญ ควรมุ่งพัฒนาจิต ให้เบิกบาน ไม่มีทิฐิผีมานะในใจตน
    คนทุกคนอยากได้ดี แต่มัวเสียเวลากับสิ่งที่มันไม่จีจัง
    เวลาเกิดในโลกมนุษย์ เป็น นาทีทอง ทุกวินาที จงมุ่งพัฒนาตนเองเพือ
    ประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย

    ชาตินี้ได้เกิดมาเป็นคน ถือว่าเราได้ขึ้นยอดภูแล้ว จะไปต่อ หรือจะลง ต่ำก็คราวนี้
     
  3. kriengkripob

    kriengkripob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,326
    ค่าพลัง:
    +2,048
    อนุโมทนา อิติปิโสภควา พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. ้StreetWise

    ้StreetWise Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +81
    แล้ว เรา ละ จะ บรรลุได้ ด้วย อาราย <<< พระพุทธเจ้าสอนเน้น อันนนี้
    พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ได้ด้วยเหตุปัจจัยใด <<< พระพุทธเจ้าไม่ได้ เน้นให้หาคำตอบ
     
  5. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    พระพุทธเจ้าทรง สอนให้เราพ้นทุกข์ ไม่ยึดมั้น ถือมั้น นี้คือ ปัจจัยที่เป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้า

    การบรรลุธรรมของพระพุทธทรง ทรงบรรลุด้วยความเพียร ศีล สมาธิ ปัญญา
    ......................................................
    หากมีมานะจนบดบังปัญญา ก็คงต้องเวียนว่ายไป ตราบนานเท่านาน
     
  6. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    9. ไปพรหมโลกด้วยกายเนื้อ หรือกายทิพย์ก็ได้<O:p></O:p>


    ตอบ เลือด และ เนื้อไม่สามารถเข้าแผ่นดินสวรรค์ได้

    ต่างความคิดได้ แต่ไม่แตกแยก
     
  7. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,800
    ความรู้ิ่งที่พึ่งพานพบคะ และ อ่านเพื่อได้ความรู้ให้ยิ่ง ยิ่งขึ้นไป
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    เห็นด้วยกับข้อความ
    "หากมีมานะ.....
     
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    อมตะมาตั่งแต่ 2010นะฮะ
    พี่ศรีของเวไนยส้ตว์
     
  10. _อจินไตย_

    _อจินไตย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    แล้วที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงเพื่อโปรดพุทธมารดาล่ะท่านถอดกายละเอียดไปหรอแล้วกายหยาบท่านเอาไว้ไหน เมื่อวันเทโวโลหนะชนทั้งหลายที่เห็นท่านคือกายละเอียดหรอ ขอโทษนะท่านได้ยินได้ฟังมาจากไหนหรอจากอาจารย์ไหนหรือตำราไหนหรือท่านมีญาณหยั่งรู้หรอ
     
  11. wutthik

    wutthik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    347
    ค่าพลัง:
    +493
    " สัตว์โลกทุกชนิดล้วนไปเกิดก่อนตาย "
     
  12. GenerationXXX

    GenerationXXX เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +2,161
    อธิบายเพิ่มเติมแล้วกันครับ เคยสงสัยเหมือนกันว่าพระโพธิญาณจะเกิดขึ้นได้เหมือนกับเราเรียนหนังสือ เมื่อเวลารู้มากขึ้นได้ปฎิบัติทดลองฝึกฝนอะไรก็แล้วแต่สุดท้ายจะได้เป็นความชำนาญในสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเคยเข้าใจว่าการบำเพ็ญบารมีก็เพื่อสะสมความรู้ความเข้าใจมากเข้าจนตรัสรู้มีญาณเป็นสัพพัญญูได้

    แต่เปล่าเลย ที่เคยเข้าใจแบบนั้น ผิดหมดทุกอย่าง สัพพัญญุตาญาณไม่ใช่เกิดได้ด้วยเหตุแห่งการเรียนรู้แบบนี้เลย ดังนั้นจึงไม่ใช่ญาณที่จะเทียบเคียงด้วยกำลังอภิญญาได้เลย คนละประเภท

    เหตุผลเพราะถ้าเป็นญาณลักษณะเดียวกันที่เมื่ออาศัยกำลังสมาธิถึงฌาน ๔ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ ป่านนี้คงมีคนทำได้ถึงสัพพัญญุตาญาณมากมายแล้ว แต่เพราะวิธีทำคนละอย่าง ผลคนละเรื่องกัน ทางเดินที่เป็นเหตุจริง ๆ เกิดจากอะไร

    คำตอบก็มีอยู่แล้วคือการบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ทำไมจึงต้อง ๓๐ เพราะความบริสุทธิ์ของจิตนั้น มีหลายระดับ แม้แต่ความบริสุทธิ์สิ้นอาสวะ ก็แตกต่างกัน แม้จะไปที่พระนิพพานเดียวกัน สำหรับพระพุทธเจ้านั้น ต้องชำระจิตใจจนบริสุทธิ์หมดจด หมดสิ้นทุกอย่างภายในใจ แม้อุปทานที่เป็นนิสัยก็ไม่เหลือ ตรงนี้ที่สาวกทำไม่ได้ มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงทำได้

    ญาณหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นของที่เกิดได้ยากยิ่ง หาที่เปรียบมิได้ มิใช่ด้วยกำลัง แต่ด้วยความพิเศษที่แม้ผู้ใดในวัฎฎสงสารจะมีอำนาจที่สุด ก็ไม่อาจจะมีญาณทัศนะนี้ให้เกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า !!!
     
  13. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,800
    เราได้คาถานี่มาแบ่งปันนะ
    ตอนค้นบทความนี้...
    พุธโธ ธัมโม สังโฆ . อัปปมาโน
    ปัด ตัด. ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา...
     
  14. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +289
    อะไร อะ
     
  15. CharnK

    CharnK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,453
    พุทธวิสัยเป็นอจินไตยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...