ใครเคยตายมาแล้วบ้าง อดีตชาติจำได้ไหม เขาตายกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สาสนี, 19 มีนาคม 2016.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ช้าก่อนนะครับ

    เวทนามันเป็นของกลางๆ มีอยู่แล้ว แต่อุปาทานไปฉวยเอา นี่ซิ

    ฉะนั้น เวลาฝึก มันยังหลงได้วันยังค่ำครับ

    จนกว่าจะสุดทาง

    คำว่ารู้แล้วไม่หลง จะว่าไป มันก็ยังหลงอยู่ดีครับ

    มีแต่ รู้เท่าทันครับ ที่ไม่หลง

    แต่หากหลง ก้ให้ฝึกรู้เท่าทันไว้ จนกว่า จะรู้เท่าทันจริงๆ

    จึงจะเรียกว่า รู้ตามความเป็นจริง


    ฉะนั้นแล้ว
    การฝึกอย่างต่อเนื่อง เนืองๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ
    แต่ต้องฝึกได้อย่างถูกต้องด้วย



    หากลงสติปัฏฐานได้อย่างถูกต้อง

    มันมีความต่าง ของตัวชี้วัดง่ายๆครับ

    ลองดูในบทนี้ครับ
    แม้เราไม่ใช่บรรชิต.....................

    อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร

    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้
    อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน
    คือ
    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่าเราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑

    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑

    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑

    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๑

    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว
    ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑



    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑

    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
    เป็นทายาทของกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม
    เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑


    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑


    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑


    บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส
    เป็นอริยะ คือ อุตริมนุสธรรม
    อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ
    ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว
    จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ
    นี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ฯ


    ...............................................



    หากเริ่มเดินสติปัฏฐานได้นะครับ แม้ยังไม่สุดทาง

    ข้อที่ 10 มันจะเริ่มเกิดขึ้น แม้ยังไม่ใช่ ญาณทัสนะกำจัดกิเลสอย่างสมบูรณ์

    ญาณทัศนะมันจะเริ่มเกิดกับผู้เดินสติปัฏฐาน


    หากเราบอกว่า เราภาวนาแบบ สุขวิปัสโก จะไม่เห็น นรก สวรรค์
    อันนี้มันจะเป็นเพียงข้ออ้างของกิเลส
    มันฟ้องว่า
    ยังเพียรปฏิบัติ ไม่ถึงที่ ยังเป็นแต่การท่องจำจากตำรา และ คิดเดาเอาเฉยๆ
     
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    พระสูตรที่ยกมานี้ อธิบายเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย อิงอาศัยกัน (ดิน น้ำ พืชและปัจจัยอื่น) ไม่อาจสรุปว่า วิญญาณเป็นตัวสร้างภพ ได้ ประหนึ่ง คนเรายึดมั่นแต่ข้าว เอาต้นข้าวสาลีปักในดินที่มีน้ำชุ่มหล่อเลี้ยง อาศัยแสงแดดและอุณหภูมิ คนมีกิเลสปรารถนาแต่เมล็ดข้าวสาลี เพ่งแต่ต้นข้าวสาลีเป็นสำคัญแต่ความจริงแล้ว ธรรมชาติที่ข้าวสาลีงอกงาม มีองค์ประกอบหลายอย่างเป็นปัจจัย และต้องนับว่าเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นธรรมชาติอย่างนั้นเอง แต่ที่คนเรายกหรือจดจ่อกับข้าวสาลีเป็นสำคัญเพราะกิเลสตัณหา

    ความ จริง ดิน น้ำ พืชและปัจจัย จะมีความอยากถูกกินหรือไม่อยากถูกกิน อย่างนั้นหรือ ดังนี้ ตัณหานั้นแหละ ก่ออุปาทาน อุปาทานก่อภพ

    ตราบ ใดคนมีชีวิต ขันธ์ ๕ ก็มีอยู่ ก็อิงอาศัยเป็นปัจจัย ไม่อยากให้วิญญาณงอกงามก็อย่าไปอุปาทานขันธ์ ๕ คือ ทำลายตัณหา เพราะมีพระสูตรที่พระพุทธองค์กล่าวไว้แล้ว ตัณหาคือนายช่างผู้สร้างเรือน (ก่อภพ) เมื่อหมดเชื้อภพก็จะไม่ถูกสร้าง อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิดขึ้น

    แต่ว่าเวทนา มันห้ามไม่ได้ ถ้าห้ามได้พระอนาคามีและพระอรหันต์(บางประเภททั้งสองระดับ) จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติทำไม่

    ที่ ว่า ไม่ร่วมหลงปรุงก็ไม่มีเวทนา ตามกระบวนการแล้ว ผัสสะปุบก่อภพปับ ก็หมายความว่า เวทนามันเกิดก่อนแล้ว ... เร็วมาก สิ่งต่่างๆ มันเร็วมากใครจะห้ามมันทัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2016
  3. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    รูป คือ กาย ครับ ที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เป็น นามครับ อันนี้ คือ รูปนามในขันธ์ ๕ แยกไว้ชัดเจน ส่วนวิญญานนั้น อาศัย นันทิราคะ คือ ความกำหนัด ความยินดี ความพึงพอใจ เข้าไปปรุงแต่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร จึง งอกงามไพบูลย์ ตัวรู้นี้ คือ รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่า รูปนาม ล้วนเป็นเพียง ธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ถูกปรุงแต่งขึ้นมาโดย ธาตุ ๔ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ สิ่งของ เรา เขา เพียงแต่สมมุติขึ้นมา มีสภาวะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่นี้ รุ้แล้ว ใช่ไหม อะไรเป็นเหตุ นันทิราคะ คือเหตุ เมื่อ เหตุดับ ผลก็ดับ มหาสติปัฎฐานนั้น เป็นทางที่จะแยกให้เห็นรูปนามตามความเป็นจริง ได้อย่างชัดเจนที่สุด.
     
  4. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าเชื่อมโยงกันได้ตลอดสายค่ะ ไม่เชื่อก็ถามคนที่เรียนนักธรรมดูซิค่ะ (วิชาเรียนกระทู้ธรรม) ไม่ว่าจะเป็นเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด ไม่มีขาดตอนสามารถเชื่อมโยงกันได้หมด
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้า ศึกษาธรรม เพื่อเป็น ฮายีน่า หัวเราะชอบใจ อุ้ยเชื่อมโยงได้

    อุ้ยเหมือนที่เรา รู้มา(มุขนี้) ตรงกับ สูตรนั้น(มุขนัยนั้น) สันติ!! นรกเรียกพี่



    ธรรม ของคนที่ แยกธาตุแยกขันธ์ ได้ จะรู้ว่า บัญญัติเป็นเพียง

    "อุบาย" "กระตุ้น หลอกให้เด็ก" ลงมือปฏิบัติเข้ามา ปฏิบัติเข้ามา

    ส่วนคนที่ เห็นฐีติจิต ฐีติวิญญาณแล้ว จะไม่ เก่งกระเด้ง ไปตาม
    มุขนัยต่างๆ เพราะทราบชัดว่าเป็น เพียงอุบาย ที่ประทังแก่ เวทนา
    ของผู้ข้องเยี่ยงสัตว์ตามชั้นตามภูมิ หรือ เพื่อ ฮายีน่า !!!

    อธรรมวาที ก็ยังฟังได้ กราบได้ ถวายภัตราหารได้ ...ถ้าเห็น ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ
    ธรรมวาที ก็ฟังได้ กราบได้ ถวายภัตราหารได้ ...ถ้าเห็น ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ

    ส่วนพวก เด็กหัดภาวนา ยังภาวนาไม่เป็น หรือ เป็น ฮายีน่า(หมาหัวเราะ
    พยักหน้าหงึกๆ ทำท่าว่า รู้ทั่วถึงธรรม ) ก็เลือกฟังแต่ ที่เขาว่าตามๆกัน
    ไปว่า ใช่ แล้วเลือกข้าง อุปทานรับประทาน ตั้งสำนัก กวาดสัทธรรมทิ้ง !!
     
  6. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ใช่ค่ะ แต่วิญญาณที่เป็นผู้รู้ ที่รับรู้ทางตาผ่านจักขุประสาท ถ้ามีไม่วิญญาณเข้ามารู้ก็คงไม่สามารถบอกได้ว่าที่รับรู้คืออะไร ที่เขาเรียกว่า จักขุวิญญาณ แล้วที่จริงอุปาทานขันธ์ 5 ก็คือ นามรูป จึงมีสฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน เป็นลำดับกันมา ซึ่งถ้าตราบใดนามรูปยังที่เป็นเหตุยังไม่ดับ สฬายตนะ ผัสสะ ย่อมมีต่อเนื่องกันมาย่อมเป็นผล และพระอริยบุคคลหลายท่าน ๆ จะกล่าวไว้ตรงกับพระพุทธเจ้าค่ะว่า เวทนา เป็นตัวสำคัญในการออกจากวงจรปฏิสมุปบาท คือ เกิดเวทนา แล้วให้วางเฉยอุเบกขา ก็เป็นการตัดภพชาติได้ค่ะ ส่วนนามรูปจะดับอย่างไร ถ้าไม่ดันไปภพชาติโสกะปริเทวะ แล้ว ไม่เกิดวงจรไปหาอวิชชาตัวเป้งก็ไม่สนับสนุนอีก รู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ปรุงแต่งเป็นสังขาร นามรูปก็ดับไปน่ะ

    ส่วนวิญญาณเจริญงอกงามก็งอกงามไปทางกิเลสตัณหาที่ทำให้ก่อภพ เพราะวิญญาณเจริญงอกงามก็จะรับรู้ไปในทางที่หลงผิด แต่เวทนานี้เป็นเพียงแต่ว่าไม่ให้เราก่อกรรมทางกายวาจาใจ เมื่อเราอุเบกขาวางเฉยเวทนาได้บ่อย ๆ ใจก็สุขสงบเป็นสัมมาสมาธิ จึงทำให้เรารู้ในภายในได้ถึงปัญญาที่ตามจริงค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2016
  7. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    เห็นอย่างไรค่ะ บอกลักษณะการเห็นวิญญาณฐิติมาหน่อยซิค่ะ เผื่อจะได้รู้ได้ว่าตนเองนั้นเคยเห็นบ้างหรือเปล่า ว่าตัวนี้คือ วิญญาณฐิติ เห็นว่าเป็นที่อยู่ของภพภูมิ มี 7 ประการ แสดงว่า วิญญาณฐิติ นี้คือ กรรมที่ทำเป็นอาจิณ เพื่อให้เราได้ไปเกิดภพภูมิที่ตั้งไว้ว่า ฐิติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2016
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถามมาแบบนี้ มันก็ แบเบอร์(สำนวนสนุ๊กเกอร์ ผีลาย) มันเฉลยว่า

    ผู้ถาม ไม่เคยสัมผัส การปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการบรรเทา เบาบาง
    กิเลส ตัณหา อุปทาน

    พอไม่เคยสัมผัส การปฏิบัติเข้าไปเห็น " รส " แห่งธรรม มันก็
    เลย อยากได้ ธรรมะปะผุ ธรรมะแบบฮายีน่า อุ้ยพูดเหมือนกัน
    อุ้ยใช้ำคำพูดนี้ สำนวนนี้ นี่เอง สมอ้างว่า ตรัสรู้หนทางสิ้นกิเลส

    กรรม นะระกะ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การเสวนาธรรม จะไปเอาวิธี defensive แบบ วิธีการเรียนแบบ ฝาหรั่ง ไม่ได้ นะฮับ

    คนละเรื่อง นะระกะ เรียก พี่อย่างเดียว

    เว้นแต่ จะกำหนดรู้ ความพอใจที่เกิด ที่ดับ อันเกิดจากการได้ สมาทานการก๊อปปี้
    ก็จะอีกเรื่องหนึ่ง
     
  10. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    แล้วที่จริงแล้ว ฐิติภูตัง คือ อะไรกันแน่ ค้นดูในกูเกิ้ล
    1.ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น

    เปรียบเหมือน ฐิติภูตัง คือ จิตดวงเดิม ที่มีอยู่ เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ---->

    2.ฐีติภูตัง = ส่วนซึ่งเกิด (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมี สังขาร ..อุปาทาน ภพ ชาติ) แล้วตั้งอยู่ (เช่นนั้น)...ไม่เกี่ยวกับ เป็นจิตดั้งเดิม ที่ไม่มีอวิชชาน่ะ แต่ประการใดครับ

    ส่วนในพระไตรปิฏกที่เคยอ่านและจดบันทึกไว้ ทรงตรัสว่า วิญญาณฐิติ ภูมิที่ตั้งแห่งวิญญาณ มี 7 ประการ อานนท์ ภิกษุผู้รู้ถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ ของวิญญาณฐิติ 7 และ อายตนะ 2 และอุบายสลัดออกจากวิญญาณฐิติ 7 และ อายตนะ 2 นี้ตามเป็นจริง ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ

    ขอเชิญผู้รู้กล่าวคำขานไขค่ะ
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก็ย้ำไปหลายหนแล้ว การ สนทนาธรรม ไม่ใช่เพื่อ การบรรญัติ นิยาม แลคเชอร์

    ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ คืออะไร คนปฏิบัติได้ ก็จะ เข้าไปรู้ ไปเห็น

    แล้วก็ สำทับไปร้อยเที่ยวแล้วว่า เห็น ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ มันก็แค่ เริ่มต้นภาวนา
    ยังไม่ได้ถึง ซึ่งการบรรลุ ฮา อะไรทั้งสิ้น ยังต้องภาวนาอีก " แสนกัปป "

    กล่าวไปขนาดนี้แล้ว พวกฮายีน่า ก็ยัง ไม่สะดุ้งสะดิ้ง เฝ้าถามหา "ส่วนการบรรยายผล"


    "ส่วนการบรรยายผล" นักปฏิบัติเขาจะเว้นไว้ ....... เพราะ คนที่ปฏิบัติ เขาย่อม
    รู้เฉพาะตนว่า ไปถึงไหน

    "ส่วนการบรรยายผล" คนมีธรรมเขาจะเว้นไว้ .... เพราะ ศาสนา เป็นเรื่อง กล่าวแต่ มรรค

    ศาสนาใดมีมรรค ศาสนาย่อมมี ..... ( ฮายีน่า มันไม่ปฏิบัติ มันอยากทราบ ส่วน
    บรรยายผล ไปตั้งที่ เท้าหน้าขวาสฟิงค์--จิตยิ้มจานลาย )

    สาสนัง คำสอน มันเป็นเรื่อง พูดแต่ มรรค ผล เขาละกัน ไม่ต้องกล่าวถึง


    เว้นแต่ ปฏิบัติมานานนนนน ป้อแป้ๆ ....อันนี้ คนที่ รู้ชัดในผล เขาก็จะ
    ประกาศสะเทือนสามภพ ว่า ท่านรู้ ท่านเห็น .......เพื่อ ชาร์จแบตเตอรี่ ให้
    คนป้อแป้ ไปบึ๊ดจำบึ๊ด( บรรยายผล แต่เพื่อ มรรค )
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อะอึ๊ม !!

    แล้ว สังเกตไหม ผมเขียนว่า " ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ "

    พอไปค้น อากู๋ ไม่มีเว้ยเฮ้ย เขามีแต่ "ฐีติภูตัง" หรือ "วิญญาณฐีติ"

    นี่ถ้าเสวนาไป เสวนาไป เอ๊ะ ชักเอะใจ ก็จะ

    ฮั่นแน่ " คำนี้ไม่มี แล้วก็ บรา..บรา.. "

    หรือไม่ก็ อนุโลมไปทื่อๆ ไม่รู้แปลว่าอะไร แล้วยังพยายามจดจำ หาคำบรรยาย ไปใช้






    ฮิววววววววววววววววววววววววส์ เชยระเบิดระเบ้อ ฮะเอ่อ
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ลอง อ่านพลางๆ ท่านผู้รู้ ท่าน อธิบายไว้

    .................................

    โอวาท ของ หลวงปู่เสาร์

    มีอยู่เพียงสั้นๆ

    ท่านพูดเป็นปริศนาว่า

    .....เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิด....


    พอถามว่า จิตฟุ้งซ่านหรือไงท่านอาจารย์
    ท่านจะตอบว่า ถ้ามันเอาแต่นิ่ง มันก็ไม่ก้าวหน้า
    ลองฟังดูซิ นักปฏิบัติทั้งหลาย
    เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิดจิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร
    อ้าว.. ถ้ามันเอาแต่นิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า
    ... เอ้าไปนอน นั้งคิด นอนคิด
    ความหมายของโอวาทครูบาอาจารย์ให้แตก
    ถ้าตีโอวาทของครูบาอาจารย์ใหเเตกแล้ว
    .. เราจะได้หลักในการปฏิบัติ สมาธิภาวนาอย่างถูกต้อง
    อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เสาร์ ฝากไว้สั้นๆแต่เพียงแค่นี้





    โอวาทของหลวงปู่มั่น
    ฐีติภูตัง

    ฐีติภูตัง มีพระเถระผู้หลักผู้ใหญ่เคยถาม
    ฐีจิภูตังของพระอาจารย์มั่นมายความว่าอย่างไร
    สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันนี่แหล่ะ

    ก็ทูลตอบท่านว่า สวดมนต์ถวายท่าน
    ธัมมัตถิ ตัตตา ธัมมะนิยามะตา เพราะความที่จิต ตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว
    ธัมมะนิยามะตา เพราะความ ที่สภาวะธรรมทั้งหลาย มาหมุนรอบจิต
    คือ

    จิต สงบ นิ่ง อยู่ในท่ามกลาง แห่ง กิเลสและอารมณ์

    แต่

    ไม่มีความหวั่นไหวตามกิเลสและอารมณ์นั้นๆ
    จึงได้ชื่อว่า ฐีติ ภูตัง

    ฐีติ ความตั้งมั่นของจิตโดยธรรมชาติของสมาธิ
    ภูตัง ความไหลไป ความเปลี่ยนแปลงไป ความวิ่งไป
    ของสภาวะธรรมที่ เกิด-ดับ กับจิตอยู่ตลอดเวลา
    อันนี่คือโอวาท ของหลวงปู่มั่น



    โอวาทของหลวงปู่ฝั้น

    ... อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง ...

    ความหมายของท่านตีความหมายว่าอย่างไร
    บางท่านอาจจะว่าไม่ปล่อยให้จิตว่างนี่
    มันจะต้องคิด
    ต้องสวดมนต์
    ต้องท่องอะไรอยู่ไม่หยุดไม่หย่อน
    อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น

    คำว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่างนี้ หมายความว่า
    ให้มีสติกำหนดรู้จิตอยู่ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ทำไมหนอท่านผู้นี้จึงสอนว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่าง
    แล้วให้มีสติกำหนดจิต ท่านเอาความรู้และหลักฐานมาจากไหน

    ในเมื่อมองไปในหลักปริยัติ มีพุทธภาษิตที่ทรงตรัสไว้ว่า

    เอฐะปัสสะติมัง โลกังจิตตัง ราชะระถู ปะมัง ยัตฐะ พาราวิสีรันติ
    ระฐิสังโฆ วิจานะตัง เอจิตตัง สัญญะเมตสันติ โมกขันติ
    มานะปัณฑะนา

    สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้
    อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรง
    ของพระราชา ที่พวกคนเขาหมกอยู่
    แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    ผู้ใดจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    ชัดเจนหรือเปล่า อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง

    คือ มีสติสำรวมจิตอยู่ตลอดเวลา
    ผู้มีสติสำรวมจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร


    นี่หลวงปู่ฝั้นท่านอาศัยหลักฐาน ตามพุทธโอวาทตอนนี้



    ทีนี้ อ่ะอื๊ม ๆ

    หลวงปู่เทศก์

    ... สมาธิในฌานมันโง่
    สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด ...

    สมาธิในฌานจิตสงบนิ่งรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียว
    ความรู้อื่นความเห็นอื่นไม่ปรากฏขึ้น
    เป็นสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌาน
    เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ

    ที่นี่สมาธิในอริยมรรค มันฉลาด
    คือ จิตสงบนิ่งลงไปนิดนึง ความรู้ความคิด
    มันเกิดขึ้นมาฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้งขึ้นมายังกับน้ำพุ
    ที่นี้ในเมื่อความรู้ความคิดมันเกิดขึ้นมาแล้ว
    มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร

    ความคิด คือวิตกใช่ไหมล่ะ
    สติที่รู้พร้อมอยู่ที่ในขณะที่จิตเกิดความคิด
    คือ วิจารใช่หรือเปล่า
    ในเมื่อ จิตมีวิตก วิจาร ปีติและสุขมันก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    สมาธิในวิปัสนานี่อาศัย องค์ฌานคือ
    วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตาเหมือนกัน
    เหมือนกันกับสมาธิในฌานสมาบัติ
    แตกต่างกันโดยที่ว่า สมาธิในฌานสมาบัติไม่เกิดภูมิความรู้
    เป็นแต่เพียงทำจิตให้ละเอียด ละเอียด ละเอียด
    จนกระทั่ง เกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่
    แต่สมาธิในอริยะมรรคนี้ พอจิตสงบนิ่งลงไปปั๊บ
    บางทีก็รู้สึกแจ่มๆ แต่ความคิดมันผุดขึ้นมาผุดขึ้นมา
    ผุดขึ้นมาแบบรั้งไม่อยู่

    ซึ่งนักปฏิบัติบางท่านเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อย่าไปเข้าใจผิด
    บางทีพอจิตสว่างแล้วก็เกิดเห็นโน่นเห็นนี่ทางนิมิตรขึ้นมา
    เมื่อจิตเลิกรู้เห็นนิมิตรแล้วก็มาเกิดภูมิความรู้ความคิดขึ้นมายังกับน้ำพุอีกเหมือนกัน

    นี่เป็นสมาธิในอริยะมรรค
    ซึ่งเรียกว่า สมาธิวิปัสนา เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจถูกต้อง
    ในช่วงใดจิตต้องการสงบนิ่งปล่อยให้นิ่ง
    ช่วงใดจิตต้องการคิดปล่อยให้คิด แต่มีสติกำหนดตามรู้

    ทีนี่ถ้าหากสมาธิถึงขนาดที่เกิดภูมิความรู้ขึ้นมาเองเนี่ยะ
    เราไม่ต้องไปกำหนดอะไรหรอกเขาจะเป็นไปเองของเขา

    จิตของเราจะรู้...เฉยอยู่เท่านั้น
    บางครั้งพอจิตสงบแล้วมันเกิดมีความคิดขึ้นมา ฟุ้ง ฟุ้ง ฟุ้ง
    ฟุ้งขึ้นมา จิตอาจจะแบ่ง ออกเป็นแยกออกเป็น 3 มิติ

    มิติหนึ่ง คิดอยู่ไม่หยุดยั้ง
    อีกมิติหนึ่ง เฝ้าดูงาน
    อีกมิติหนึ่ง ถ้าร่างกายปรากฎ
    จะมาสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย

    ตัวที่คิดอยู่ไม่หยุด เป็นจิตเหนือสำนึก
    ตัวที่เฝ้าดู คือ ตัวผู้รู้ได้แก่ สติ
    ตัวที่หยุดนิ่ง คือ จิตใต้สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน

    ลองไปปฏิบัติดูนะ จะเป็นไปได้มั๊ย อย่างที่ว่านี้
    อันนี้เป็นโอวาทของหลวงปู่เทศก์


    โอวาทของหลวงปู่มหาบัว
    ปัญญาอบรมสมาธิ
    ลักษณะปัญญาอบรมสมาธิ
    ตามความหมายของหลวงปู่องค์นี้มันเป็นอย่างไร
    มันเป็นอย่างนี้ เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปได้นิดนึง
    ความคิด ความรู้ มันผุด ขึ้นมา
    เหมือนกับสมาธิ ในอริยะมรรคของหลวงปู่เทศก์

    ทีนี้ความคิดอันใดที่มี สติ สัมปชัญญะ รู้ทันกันอยู่ โดยอัตโนมัติ
    มันเป็นจิตเดินวิปัสนา

    ทีนี้ จิตดวงนี้ เอาความคิดที่เกิดขึ้นมาเองเป็นอารมณ์จิต
    เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อความคิด ความรู้ มันเกิดขึ้นมา
    สติ สัมปชัญญะ ก็ กำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ
    ความตั้งใจหรือเจตนาจะให้จิตเป็นไปนั้น อย่างไรนั้นไม่มี
    มีแต่ความเป็นเองของจิตโดยธรรมชาติของสมาธิและปัญญา

    ทีนี้

    ในเมื่อเกิดความคิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติมีสติ สติรู้พร้อมอยู่โดยอัตโนมัติ
    สมาธิมันก็ค่อยเด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น เด่นขึ้น
    คือ จิตมันสงบละเอียดลงไปนั้นเอง
    แล้วในที่สุด อารมณ์กับจิต มันจะแยกออกจากกัน
    กลายเป็น สามมิติ ดังที่กล่าวมาแล้ว

    อันนี้ คือ ลักษณะของ ปัญญาอบรมสมาธิ

    ทีนี้

    ความหมาย
    และความเป็นไปของมติของครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วนี้
    จุดมุ่งหมาย อยู่ที่จุดเดียว คือ ความเป็นตรงกัน
    แต่เมื่อท่านพูด ท่านใช้ โวหาร คนละอย่าง

    หลวงปู่เสาร์ว่า จิตข้าไม่สงบมีแต่ความคิด
    หลวงปู่มั่น ฐีติภูตัง
    หลวงปู่ฝั่้น อย่าปล่อยให้จิตว่าง
    หลวงปู่เทศก์ สมาธิในฌานมันโง่ สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด
    หลวงปู่มหาบัว ปัญญาอบรมสมาธิ

    ความหมาย มันก็คือ อันเดียวกันนั้นเอง แต่ท่านใช้ภาษาคนละภาษา

    อันนี้ โอวาท ของครูบาอาจารย์ ดังที่กล่าวมานี่

    นักปฏิบัติ ควรจะได้นำไปพิจารณาได้จดจำดำเนิน ตามปฏิปทาของท่าน

    อ่านต่อ ที่นี่ http://palungjit.org/threads/การปฏิบัติภาวนาจิต-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.522295/
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    น้องๆ หนูๆ อย่า งง นะฮับ


    ถ้า น้องๆ หนูๆ คนไหน แยกธาตุแยกขันธ์ ไม่ฉวยจิตเป็นตน
    เพราะกำหนดรู้ความไม่เที่ยงของจิต เป็นภูมิฝึกหัด "จิตตั้งมั่น"
    ได้เนี่ยะ

    จะให้เปลี่ยนคำ ฐีติจิต ฐีติวิญญาณ เป็นคำ ที่ไม่ใช่ภาษามนุษย์เท่าไหร่
    ยัง ถูกต้องเลย เพราะ มันออกมาจาก ภาษาปฏิบัติ

    เช่น เด็กบางคนเขาภาวนาแยกธาตุแยกขันธ์ เขาก็พูดว่า " มันกระโดดๆ "

    บ้างก็พูดว่า " เดี๋ยวจมเดี๋ยวลอย " บ้างก็พูดว่า " ....เอาอีกและ มันวื๊ดๆ "

    บ้างก็พูดว่า " มันไปเกาะที่ตรงนั้น มันไปเกิดที่ตรงนี้ "

    บ้างก็พูดว่า " มันมีช่องว่างมาคั่น " บ้างก็ว่า
    "มันมีอัตตาอุปทานขึ้นมาก่อน มันจึง...."

    จะเห็นว่า ไม่ได้มีอะไรมาก รวมๆคือ อาการพึ่งฝึกเข้าไปวิจัย หรือเห็น
    หรือยกสิกขา ......

    คนไม่ปฏิบัติ ฟังแล้ว อู้ฮู อ้าหา ...แล้วคิดว่า ผลของการเห็นคือสุดยอด !! ปัดโถ่
    เขาพึ่งเริ่มฝึกกัน จะให้บรรยายผลทำเสด็จ...อะไรฮับ
     
  15. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ถ้าใครเห็นจิตว่ามันไม่ว่าง นั้นและถูกทางแล้ว เพราะธรรมชาติของจิตย่อมหยิบฉวยเอาสิ่งต่างๆมาเป็นอารมณ์ ทีนี้ถ้าเรามีสติรู้อยู่ จิตมันจะฉวยเอาสิ่งใดมา เราก็รู้ ไม่เข้าไปปรุงแต่ง ความคิดนั้นก็ดับ เมื่อเรารู้ทันมันเรื่อยๆ จิตมันก็ยอม แต่อีกสักพัก มันก็ไปอีก เพราะจิตมันไม่เที่ยงนั้นเอง.
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ใครหนอ​เป็นผู้เห็นจิต

    แล้วขณะที่เห็นจิตว่างนั้น ถามว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้น ว่างอยู่รึเปล่าหนอ
     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
    ใส่ใจโดยความเป็นขณะต่อขณะ

    ใส่ใจโดยความเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนไป แปรไป​คลาย​เป็นของที่ถูกรู้​ เป็นสภาวะ ไม่ใช่เรื่องราว ความคิดหาเหตุผล หรือ​บัญญัติใดๆ
     
  18. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ช่วยขยายความ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่รู้ด้วยครับ.
     
  19. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ที่ใส่ใจขณะต่อขณะ คือ สันตติ ใช่หรือไม่? อย่างไร?
     
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +697
     

แชร์หน้านี้

Loading...