ถามเรื่องสมาธิคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เด็กใหม่คับ, 11 พฤศจิกายน 2007.

  1. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    จำอารมณ์ไม่ได้อ่ะคับ แต่ที่รู้พอหายใจไม่ออก มันก็เริ่มจุกแน่นขึ้นมาเรื่อยๆ
    แล้วก็มันบีบรัดทีหัว(ขอบอกว่ามันเจ็บมาก-*-บีบหัว) ละก็หูจะค่อยๆดับ
    ในที่สุด---ผมทนเจ็บไม่ไหวก็ผ่อนลงมา ละก็หายใจออก
    อ้อ พอผ่อนมามันก็หอบอ่ะคับ เหมือนเพิ่งออกกำลังกายเหนื่อยๆหายใจไม่ทันอย่างนั้นเลย
     
  2. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ก็ท่านเล่นเอาจิตจับที่ศูนย์กลางกาย กำหนดจิตดูลมหายใจตรงนั้น
    มันก็เลยจุกนะสิ ทำแบบสบายๆ ดูลมเฉยๆ ยิ้มนิดนึง ไม่ต้องเพ่ง
    การเพ่งใช้กับกสินเท่านั้นครับ.
     
  3. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    มีอีกวิธีหนึ่ง ทดลองดูนะครับคุณ kuro คือกำหนดลมหายใจเหมือนกัน
    แต่เป็นกายภายนอก กล่าวคือ กำหนดลมหายใจที่หายใจออกมา เรียกว่า
    กายนอกกาย การกำหนดดูลมในขันธ์เรียกกายภายใน
    กายภายนอก กำหนดจิตอยู่ห่างจากจมูกที่หายใจออกมา ประมาณเหนือริมฝีปากบน วิธีนั้ไม่ค่อยมีคนใช้ ยกเว้นเราที่อยู่ในป่า จะใช้ทุกวิธีที่ทำให้จิตสงบ
    ระงับ แต่มีในตำราด้วยนะครับ และท่านไม่อธิบายด้วย ซึ่งท่านจะยกมาอธิบาย
    เฉพาะลมหายใจเข้า ซึ่งมีลำดับที่เหมือนกันครับ.
     
  4. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    พี่ๆตอบไป
    หมดแล้ว เลยได้เเต่โมทนา ล้อเล่นน่ะครับโมทนาจ้า
    อาการตรงนั้นณานยังหยาบ และเป็นอาการทางกายต้องปฎิบัติบ่อยๆอย่าไปสนใจมัน
    จะได้เข้าสู่ความดียิ่งขึ้นครับ ตั้งกำลังใจเด็ดเดี่ยวไปเลยจะตายช่างมันขอมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แต่รับรองภาวนาตายไม่มีถึงตายก็ไปสุคติใช่ไหมครับ(good)
     
  5. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    มาให้กำลังใจครับ การฝึกมโนมยิทธิสำคัญที่ความศรัทธาและต้องตัดความลังเลสงสัยให้เด็ดขาด จะไปดูได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนนี้ครับ ให้ส่งใจไปตามที่ครูฝึกนำ เมื่อเริ่มต้นฝึกใหม่ๆ สิ่งที่เราเห็นอาจไม่ถูกต้องตามจริงทั้งหมด คือถูกบ้างผิดบ้าง แจ่มชัดบ้าง มืดมัวบ้าง ให้วางเฉยไว้ก่อน อันนี้เกิดจากจิตของเราเองที่ยังไม่บริสุทธิ์พอ ยังมีการปรุงแต่งมากอยู่ หรือเรียกได้ว่ากำลังของวิปัสสนาญาณในการชำระจิตยังอ่อนอยู่ครับ เรื่องมโนมยิทธินี้ ผมคงให้คำแนะนำได้เล็กน้อยเพราะไม่ได้ฝึกมาโดยตรง แต่ในเว็บนี้มีเก่งๆ หลายท่าน ลองขอคำแนะนำดูครับ


    การปฏิบัติธรรมหรือการฝึกกรรมฐาน เราต้องพยายามรักษากำลังใจของเราให้มั่นคง เรื่องกำลังใจนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ถ้ากำลังใจตก ความเพียรถดถอย ก็อย่าให้ศรัทธาเสื่อมนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2008
  6. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ยังไม่ถึงฌาน 1 ครับ แต่ก็ใกล้แล้วครับ อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอาการของปิติ(มีหลายลักษณะ) ให้ประคับประคองอารมณ์ ทรงความรู้(นิ่งรู้หรือรู้อยู่เฉยๆ) จิตจะเดินเข้าสู่ความสุข จะเกิดความรู้สึกอิ่มเอิบอยู่ภายในใจ(จะต่างจากอาการของปิติ)พร้อมทั้งจิตจะมีความสงบนิ่ง แนบแน่นกว่าเดิม พยายามทรงความรู้สึกนี้ไว้ให้มั่นคง จนมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกันหรือที่เรียกว่าเอกัคตารมณ์ก็จะถึงฌาน 1 แล้วครับ

    สิ่งที่ต้องระวังตอนนี้ก็คือ อย่าเข้าไปเล่นกับอาการของปิติต่างๆ ที่เกิดขึ้น (อาการของปิติบางอย่างชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจเป็นอย่างยิ่ง) เพราะจะทำให้สะดุดหยุดอยู่แค่นี้ จิตจะไม่เดินเข้าสู่ความสุข

    ขอให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปครับ
     
  7. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    การเจริญอรูปฌานต้องอาศัยกำลังของฌาน 4 เป็นฐานครับ และต้องเป็นฌาน 4 เต็มขั้นด้วย มีความชำนาญ(วสี) สามารถอธิษฐานเข้าออกได้ตามกำหนดเวลา การฝึกกำลังหรือบำเพ็ญตบะในฌาน 4 จะอธิษฐานเข้าออกตั้งแต่ 1 ถึง 3 วัน แต่เข้าใจว่าผู้ที่มีกำลังแก่กล้าจะสามารถอธิษฐานจิตให้ทรงอยู่ในฌานได้นานกว่านี้ครับ

    ฌาน 4 นี้จะไม่ได้ยินเสียงและไม่รับรู้ความรู้สึกใดๆ ทางกายแล้วครับ จิตจะนิ่งดิ่งอยู่เช่นนั้นจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนดก็จะถอนออกมาเองครับ

    ให้ศึกษาทำความเข้าใจตามหนังสือของท่านเป็นหลัก ส่วนผมความชั่วยังมากมี กิเลสยังมากมาย ไม่สามารถเป็นอาจารย์ใครได้ครับ พอให้คำแนะนำได้บ้างตามที่รู้ แต่ที่สำคัญที่สุดเมื่อศึกษาทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นแล้วก็วางตำราเสีย แล้วเร่งลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รักษากำลังใจให้มั่นคงเป็นปกติ รักษาอารมณ์ให้เกาะเกี่ยวอยู่กับกรรมฐานที่เราปฏิบัติให้ได้ตลอดเวลาที่เรามีสติตื่นอยู่ครับ

    ไม่น่าจะถูกครับ เรื่องของปรัชญาบางทีก็ไม่สามารถเป็นไปได้ตามหลักแห่งธรรมชาติ อย่างที่กล่าวมาแล้ว การเจริญอรูปฌานต้องอาศัยฌาน 4 เป็นฐาน จึงไม่สามารถทำอรูปฌานให้เกิดขึ้นก่อนแล้วมาทำรูปฌานทีหลัง
     
  8. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    การกำหนดจิตหรือการเจริญสติโดยใช้คำภาวนา(คำบริกรรม)ว่า เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา หรือ ภาวนาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม เป็นอนุโลมปฏิโลมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็เป็นกรรมฐานกองหนึ่ง เรียกว่า กรรมฐาน 5 คือกำหนดลักษณะ 5 อย่างในร่างกายของเรานี้เป็นอารมณ์หรือเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ

    ในเบื้องต้นให้ภาวนาคำเหล่านี้ไปเรื่อยๆ กลับไปกลับมา(อนุโลมปฏิโลม) โดยมีสติกำกับ มีใจจดจ่ออยู่กับคำภาวนาเหล่านี้ไม่ให้พลั้งเผลอ เป็นลำดับไป อย่าให้สลับกัน หรือตกหล่นคำใด จนกว่าจิตจะสงบลง เลิกส่ายแส่ไปตามความรู้สึกนึกคิดต่างๆ และตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์แนบแน่นลงไป จิตก็จะละคำภาวนาไปเอง เมื่อจิตละคำภาวนาแล้วก็อย่ากลับไปยึดหรือกลับไปกำหนดคำภาวนาอีก แต่ให้พยายามทรงความรู้สึกสงบนิ่ง(สมาธิ)อยู่เช่นนั้นครับ

    เมื่อฝึกจนสติและสมาธิมีกำลังมั่นคงพอแล้ว ต่อไปจึงค่อยกำหนดเฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นอารมณ์(ตามที่ชอบ) เช่น กำหนดคำว่า เกสา ๆ หรือ ผม ๆ ไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งกำหนดนึกถึงผมที่อยู่บนศรีษะของเรา จนกว่าจะเกิดเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็สามารถเจริญให้เกิดฌานได้เช่นกัน

    อีกทางหนึ่งคือกำหนด(พิจารณา)ให้เห็นว่าเป็นของไม่สวยไม่งาม เป็นของสกปรก ถ้าเราไม่สระผม ไม่ทำความสะอาดเป็นเดือนเป็นปีมันจะมีสภาพเป็นเช่นไร อันนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย จางคลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเรา

    กรรมฐานกองนี้กองเดียว สามารถเดินได้แต่ต้นจนจบเลยครับ ไม่ต้องเปลี่ยนอารมณ์กรรมฐานไปกองอื่นเลย มีประโยชน์มาก เป็นกรรมฐานกองใหญ่ครับ

    ขอให้เจริญก้าวหน้าในธรรมครับ
    ขออนุโมทนา
     
  9. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    พรุ่งนี้จะหาโอกาสเข้ามาตอบให้ครับ
     
  10. Gafy

    Gafy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +24
    คุณวิมังสาครับ ผมอยากถามว่าเวลาที่ผมนั่งสมาธิผมก็ภาวนาไปเรื่อยๆนะ บางครั้งเกิดความรู้สึกว่าตัวฟู สั่นจากภายใน บางครั้งก็ฟูมาก บางทีก็ฟูน้อย บางวันก็มาเป็นช่วงๆเบาๆ บางวันก็ไม่รู้สึกอะไรเลย ผมเข้าใจว่าเกิดปิติตามตำราเล่มเขียวของหลวงพ่อฤษีนะครับ ผมก็ภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ บางครั้งมันจะฟูมากขึ้น แต่บางครั้งมันจะลดลง แต่ผมก็พยายามไม่สนใจอาการนี้เท่าไร เพราะเคยมีคนบอกว่าอย่าไปสนใจ แต่บางครั้งอาการมันไม่เกิดผมเข้าใจว่า วันนั้นผมคงสมาธิไม่ดีหรือเปล่า คิดเอาเองนะ คือว่างงๆ ระหว่างที่ทำก็พยายามขอบารมีสมเด็จองค์ปฐมตลอด บางทีนึกถึงครูบาอาจารย์ที่ไหนได้ก็ขอมั่วไปหมดฟุ้งซ่าน ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรต่อไป เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าต่อไปครับ ช่วยแนะนำที
     
  11. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    ใช่เลยครับผมกำหนดดูลมที่ท้องยุบพองๆ แล้วก็ดิ่งลงไปเรื่อยมันก็เลยจุก -*-
    ขอบคุงคับ
     
  12. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    วันนี้ได้ชุดใหญ่เลย ขอบคุณพี่วิมังสามากครับ รออยู่ตั้งนาน นึกว่าจะไม่มาโปรดผมซะแล้ว
    ขอรบกวนอีกนิด ผมควรจะพิจารณาอะไรรึป่าว หรือทำจิตให้วางเป็นปกติ
    แล้วอาการของผมที่รู้สึกว่ามันดึงลึกลงไป ความรู้สึกลดลงไป เกือบจะไม่มี แต่ก็เหมือนโดนอะไรกั้นเอาไว้ ไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ ไม่ทราบว่าตรงนี้มีวิธีการอย่างไร หรือ ต้องปฏิบัติให้มากอย่างเดียว

    ขอบคุณพี่วิมังสาอีกทีคับ ทีหลังเข้ามาบ่อยๆนะครับ นานๆมาทีแล้วใจเสีย กลัวไม่มีคนแนะนำ
     
  13. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบเจออยู่เสมอสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกภาวนาโดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ คือเมื่อเราเริ่มตั้งเจตนากำหนดรู้ลมหายใจ เราจะค่อยๆ รู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก หายใจสะดุดเป็นช่วงๆ และจะหายใจถี่ขึ้นจนเหนื่อยหอบ บางคนจะรู้สึกเหมือนรูจมูกตีบตันหายใจไม่ได้ จนถึงมีอาการปวดหัว เป็นต้น แต่พอเลิกกำหนดไม่สนใจในลมหายใจ อาการเหล่านี้ก็หายไปด้วย ต้นเหตุนั้นเกิดจากการที่เราเริ่มเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งปกติจะดำเนินไปตามธรรมชาติ ตามสภาวะความต้องการของร่างกาย เมื่อเอาสติเข้าไปจดจ่อ ก็ทำให้เกิดการบังคับควบคุมการหายใจไปด้วย เนื่องจากยังไม่เคยชินหรือไม่รู้วิธีการกำหนดที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการควบคุม บังคับ หรือบีบคั้นลมหายใจเกินไป แต่ที่เกิดเพราะการแทรกซ้อนจากภายนอกก็มีให้เจอได้บ่อยๆ เช่นกัน

    ท่านใดที่เกิดปัญหาให้ลองวิธีนี้ดูครับ เมื่อเราเริ่มต้นปฏิบัติ ให้นั่งสบายๆ อย่าให้เกิดการกดเกร็ง(จะนั่งท่าไหนหรือใช้อิริยาบทอื่นก็ได้) ทำความรู้สึกให้ผ่อนคลายเหมือนกับการพักผ่อนตามปกติธรรมดา หายใจเข้าออกลึก ๆ สัก 2 - 3 ครั้ง แล้วปล่อยลมหายใจให้สบาย โดยไม่ต้องกำหนดอะไรทั้งสิ้น ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน อย่าให้เกิดความเคร่งเครียดหรือความตั้งใจมากเกินไป(จะใช้เวลามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวเราครับ) เมื่อรู้สึกสบายแล้วค่อยเริ่มกำหนดลมหายใจตามฐานที่เราถนัด โดยกำหนดรู้เหมือนกับการเฝ้าดูอยู่เฉยๆ ปรับความรู้สึกให้สบายๆ ถ้าเกิดอาการขึ้นก็ให้หยุดกำหนดทันที แล้วกลับไปเริ่มต้นหายใจเข้าออกลึกๆ ใหม่ ไม่นานเราก็จะเกิดการเรียนรู้และคุ้นเคยกับการกำหนดลมหายใจที่ถูกต้องเหมาะสมกับเราครับ

    คุณ kurochang สงสัยเรื่องหนามของฌาน 4 ซึ่งก็คือลมหายใจนั้น ขออธิบายดังนี้ครับ การเดินจิตเข้าสู่ฌาน 4 (จากฌาน 3 ขึ้นสู่ฌาน 4) จิตจะต้องละการเกาะเกี่ยวอยู่กับลมหายใจ หรืออาการที่จิตยังคงเกาะเกี่ยวอยู่กับการรู้ลมหายใจก็คืออุปสรรคในการเข้าถึงฌาน 4 นั่นเอง ฌาน 4 นั้นจิตจะแยกออกจากการรับรู้ทางกายอย่างเด็ดขาด ไม่มีความรู้สึกหรือไม่รับรู้อาการใดๆ ที่เกิดขึ้นกับกายเราครับ ที่จริงแล้วตรงนี้ไม่มีปัญหาหรอกครับท่านเขียนแสดงไว้ให้เรารู้ตามหลักการเท่านั้น เพราะเมื่อเราปฏิบัติถึงฌาน 3 ลมหายใจจะแผ่วเบาและละเอียดมากอยู่แล้ว การรู้ลมเป็นสักแต่ว่ารู้โดยไม่ต้องอาศัยเจตนาในการกำหนดลมหายใจแต่อย่างใด และเมื่อกำลังของเราถึงแล้วมันจะเดินเข้าสู่ฌาน 4 เอง เราไม่ได้ไปกำหนดละลมหายใจแต่อย่างใดเลยครับ ถ้าถึงฌาน 3 แล้วไม่ยากหรอกครับ

    ในการปฏิบัตินั้น เราต้องเดินมาทีละขั้น โดยเริ่มจากการเจริญสติ(ฝึกสติ)ให้มีกำลังขึ้น ซึ่งในที่นี้ก็คือการกำหนดรู้ลมหายใจนั่นเอง ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสนใจก่อนครับ ไม่สามารถที่จะไปฝึกกำหนดละลมหายใจหรือทำให้ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเพื่อที่จะเข้าถึงฌาน 4 ได้โดยตรงหรอกครับ นอกจากผู้ที่ฝึกได้จนชำนาญ(วสี)แล้วเท่านั้นที่จะกำหนดเข้าสู่ฌานใดก็ได้ตามต้องการ อีกอย่างหนึ่ง การไม่รู้สึกว่ามีลมหายใจหรือไม่มีความรู้สึกทางกาย ไม่ได้หมายความว่าเราเข้าถึงฌาน 4 เสมอไป ตอนผมปฏิบัติใหม่ๆ เกิดอาการอย่างนี้บ่อยๆ แต่ได้แค่อุปจารสมาธิเท่านั้นครับ(ตอนนั้นก็คิดว่าถึงฌานแล้วเหมือนกัน) ขึ้นอยู่กับกำลังสติของเราเป็นหลักครับ เมื่อเราปฏิบัติได้ในระดับที่สูงขึ้นเราจะเข้าใจความแตกต่างได้เองครับ

    ขอให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
     
  14. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    ขอบคุณมากคับ จะพยายามต่อไปคับ...
     
  15. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    เข้าใจถูกต้องแล้วครับ เป็นอาการของปิติ เช่น รู้สึกตัวพองขยายใหญ่ขึ้น(ตัวฟู) ตัวสั่นโยกไปมา ขนลุกซู่ซ่า น้ำตาไหล ฯลฯ การที่บางครั้งเกิดมาก(แรง) บางครั้งเกิดน้อย เกิดแล้วหายไปเป็นช่วงๆ หรือบางครั้งไม่เกิดนั้น อันนี้จะขึ้นอยู่กับความแนบแน่นหรือความมั่นคงและระดับ(ความละเอียด)ในอารมณ์ของสมาธิครับ

    เมื่อปิติเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราเผลอสติลืมการกำหนดในอารมณ์กรรมฐาน ปล่อยจิตให้เข้าไปเล่น(เพลิน)กับอาการของปิติ อาการของปิตินั้นจะแรงขึ้น แต่ถ้าจิตมีความละเอียดและทรงอารมณ์อยู่ในระดับของปิติ อาการของปิติก็จะแสดงออกมาแรงเช่นกัน แต่ถ้าวันไหนเราไม่สามารถทรงอารมณ์ของสมาธิให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงพอ อาการของปิตินั้นก็จะอ่อน หรือเกิดแล้วหายไปเป็นช่วงๆ ครับ ส่วนการที่ปิติไม่เกิดนั้นเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ อารมณ์ของสมาธิยังไม่ถึงหรือไม่ก็เกินขั้นของปิติไปแล้วครับ

    เรื่องของปิติจะบอกว่าอย่าไปสนใจนั้นก็คงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะปิติเป็นอาการของจิตที่แสดงออกมาทางกายอันเป็นผลจากการฝึกสมาธิของเราในระดับหนึ่งและเป็นทางที่เราต้องผ่านด้วย แต่ความสนใจของเรานั้นให้อยู่แค่รู้ว่าปิติเกิดขึ้นเท่านั้น อย่าเผลอสติปล่อยจิตให้ไหลไปตามอาการของปิติ เพราะจะทำให้การปฏิบัติของเราไม่ก้าวหน้าสู่ระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นเมื่อปิติเกิดขึ้นแล้วก็ให้ประคับประคองทรงอารมณ์ของสมาธิเอาไว้ โดยกำหนดอารมณ์ของกรรมฐานไปเรื่อยๆ อย่าให้พลั้งเผลอ เมื่อจิตมีความแนบแน่นและมั่นคงในอารมณ์ของกรรมฐานมากขึ้นก็จะเดินเข้าสู่ความสุข แล้วอย่าติดสุขในสมาธินะครับ....

    การอารธนาขอบารมีสมเด็จองค์ปฐมและบารมีของครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือก่อนปฏิบัติภาวนานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วครับ เป็นการช่วยเสริมสร้างกำลังใจของเราได้เป็นอย่างดีครับ

    ขอให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
    ขออนุโมทนา

     
  16. วิมังสา

    วิมังสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +583
    เมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิ การพิจารณาถึงความตายเป็นอารมณ์ตามที่คุณขุนพลแนะนำก็ใช้ได้ดีเช่นกัน จะทำให้เราเข้าสู่ความสงบได้ง่ายขึ้นครับ ยิ่งจิตมีความข้องเกี่ยวหรือยึดติดในกายน้อยลงเท่าใด จิตเราก็จะส่ายแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ น้อยลงไปด้วย อีกทั้งจิตยังมีความละเอียดและเบามากขึ้นด้วยครับ

    การที่รู้สึกว่าจิตดิ่งลึกลงไป ความรู้สึกต่างๆ ทางกายน้อยลง ตอนนี้ถึงเวลาสำคัญแล้วครับ ตั้งสติให้ดี(เมาไม่ขับ) จิตกำลังเดินเข้าสู่อัปนาสมาธิเต็มขั้น อย่าให้มีความลังเลสงสัยในอาการที่เกิดขึ้น เพราะจะทำให้จิตถอนตัวขึ้นมา การที่รู้สึกเหมือนมีอะไรกั้นไว้นั้น ที่จริงแล้วไม่มีอะไรมากั้นไว้หรอกครับ แค่จิตมันยังลงไม่ถึงฐานของสมาธิเท่านั้น อาจเกิดขึ้นจากความสงสัยหรือความละเอียดในอารมณ์สมาธิของจิตยังไม่พอครับ อย่าพยายามบังคับจิตให้มันลงนะครับ จะเกิดการปวดหัวเปล่าๆ แต่เมื่อจิตมีความชำนาญมีความคล่องตัวแล้วจะรวมวูบทีเดียวถึงเลยครับ

    ทำความเพียรให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอนะครับ ไม่งั้นจะเสียผลจากการปฏิบัติที่ควรได้ แล้วต้องกลับไปเดินเริ่มต้นมาใหม่จะเสียเวลาครับ

    อีกอย่างครับ(อันนี้สำคัญมากเช่นกัน) ถ้าจิตรวมลงได้แล้วอย่างเต็มที่ ให้ปล่อยจนกว่าจิตจะถอนตัวออกมาเอง อย่ากำหนดถอนจิตขึ้นมาเองอย่างเด็ดขาด เพราะเรายังไม่มีความชำนาญในการเข้าออกจากสมาธิ อาจเกิดผลเสียตามมาถึงขั้นสมาธิเสื่อม ไม่สามารถเข้าได้อีกเป็นเวลานานเลยครับ

    จะพยายามหาโอกาสเข้ามาให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัยให้ครับ

    ขอให้การปฏิบัติก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปครับ
    ขออนุโมทนา



     
  17. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    มีเรื่องลืมบอกน่ะคับ ก่อนที่มันจะหายใจไม่ออกน่ะ ผมจับความรู้สึกของลมหายใจไปเรื่อยๆ มันก็รู้สึกดิ่งลงไปเหมือนกัน แต่มันแบบว่า วูบเดียว ฟิ่ว!!!
    ลงไปแล้วก็หยุดหายใจ -*- มันเป็นแบบนี้น่ะคับ
     
  18. maymeaw

    maymeaw สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอโทษค่ะ ขอรบกวนถาม
    คืออยากจะลองฝึกนั่งสมาธิดูค่ะ
    เนื่องจากปกติเป็นคนสมาธิสั้น แล้วก้ออารมณ์แปรปรวน
    หลายๆคนบอกว่าถ้า ฝึกสมาธิจะทำให้เรานิ่งขึ้น แล้วก้อสมาธิมากขึ้น

    แต่พอลองถามเพื่อนที่(เคย)เคร่งพุทธ และนั่งสมาธิ(บ้าง)
    เค้าก้อแนะนำการนั่งสมาธิเสร็จ
    แล้วดันตบท้ายบอกว่า เราเป็นคนกลัวผีนี่จะกล้านั่งรึป่าว
    เพราะแม่เค้านั่งไปนานๆ จะนั่งจนเห็นวิญญาณมารอส่วนบุญรอบตัว - -''
    เค้าเองก้อเป้นคนกลัวผี -*- เค้าก้อหลอน เลยไม่กล้านั่งนาน นั่งรอบละแปปๆ

    เราเองก้อ กลัวง่ะ = = ไม่เคยคิดว่าการนั่งสมาธิ จะเป็นบุญกุศลอะไร
    แค่รู้สึกว่า ถ้านั่งน่าจะทำให้อารมณ์นิ่งขึ้น ทำอะไรได้ดีขึ้น
    แต่เพื่อนบอกว่าสำหรับทางพุทธ การนั่งสมาธิ ถือว่าเป็นบุญกุศลอย่างหนึ่ง
    ยกเว้นแต่ว่า สมาธิ ที่เกิดจากการจดจ่อในการทำงานไรพวกเนี้ย ไม่ได้บุญ (เค้าบอกงั้น)
    เพราะเรา พวกทำไรแบบกำลังอิน จะไม่ค่อยได้สนใจรอบข้าง
    ถึงขนาดไม่ได้ยินคนรอบข้างคุยด้วย - -' โดนตะคอกถึงรู้ว่าเค้าพูดอยู่ด้วย
    ยิ่งเวลาดูทีวี ดูอะไรก้อตามอ่ะ โฆษณา ข่าว หรือละคร
    ถ้ากำลังตั้งใจฟัง ทีวีมันพูดอยู่ พ่อแม่ คุยด้วยนั่งโต๊ะอยู่ด้วยกันมักจะไม่ได้ยิน - -''

    เลยแบบอยากจะลองนั่งสมาธิดูเผื่อจะแก้นิสัยอะไรพวกนี้ได้

    สรุปแล้วคือ นู๋กลัวง่ะ - -''' นั่งแล้วจะเป็นแบบนั้นจิงปะ
     
  19. เด็กใหม่คับ

    เด็กใหม่คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +152
    ผมนั่งมาหลายเดือนละ ยังไม่เจอเลย ถ้าเจอแล้วจะมาบอก
    แต่ไอ้ที่แก้ นิสัยไม่ค่อยสนใจรอบข้าง นั่งสมาธิไม่รู้จะแก้ได้ป่าว
    แต่ถ้าเพิ่มสติ หายแน่นอน แต่ไม่ว่าจะยังไง ทำสมาธิมีแต่ผลดีทั้งนั้น ถือว่าเป็นบุญของเราที่ได้รู้วิธีนั่งสมาธิ ได้พบพระพุทธศาสนา ทำไปเถอะ ดีแน่นอน
     
  20. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    เงียบๆ ยังไงไม่รู้คับ ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...