ผลสมาบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 8 พฤษภาคม 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำว่า สมาบัติ หรือ สัมปัตติ นั้นแปลว่า เข้าถึง หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร
    ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง
    เมื่ออารมณ์ของสมาธิที่ยังไม่เข้าระดับฌาน เช่น ขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ
    จนกว่าจะถึง อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแนบแน่น หรือแน่นอน ถือว่าเป็นสมาธิระดับสูงที่มีอยู่ในองค์ฌานนั้นๆ
    ซึ่งถือว่า เป็นผลสำเร็จที่ต้องการในการเจริญสมาธิ นับตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป

    จึงกล่าวได้ว่า ก่อนจะถึงฌาน หรือสมาบัติ ต้องมีสมาธิ ๓ ระดับ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
    ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะเป็นสมาธิขั้นต้น ซึ่งคนทั่วไปอาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน
    ในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี และจะได้ใช้เป็นจุดตั้งตนในการเจริญวิปัสสนาก็ได้
    อุปจารสมาธิ คือ สมาธิเฉียดๆ หรือ จวนแน่วแน่ เป็นสมาธิชั้นระงับนิวรณ์ ๕ ได้
    อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแนบแน่น หรือแน่นอน ถือว่าเป็นสมาธิระดับสูงที่มีอยู่ในองค์ฌานนั้นๆ
    ซึ่งถือว่า เป็นผลสำเร็จที่ต้องการในการเจริญสมาธิ เรียกว่าผลสมาบัติ

    ขอกลับมาย้ำคำว่า ขณิกสมาธิ อีกสักนิดที่ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ
    คำว่า สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา
    ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด
    ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ
    อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส
    ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน
    เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
    รูปฌาน ๔ ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
    ๑.ปฐมฌาน จะประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
    ๒.ทุติยฌาน จะประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
    ๓.ตติยฌาน จะประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
    ๔.จตุตถฌาน จะประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

    รูปฌานอาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบ
    พระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย
    ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภีบุคคล(บุคคลผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท
    คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)

    อรูปฌาน ๔ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
    ๑. อากาสานัญจายตนะ
    ๒. วิญญาณัญจายตนะ
    ๓. อากิญจัญญายตนะ
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เมื่อกล่าวรวมทั้งรูปฌานและอรูปฌานก็หมายถึง "ฌาน ๘" ในปฐมฌานเหมาะแก่การทำวิปัสสนา เพราะมี วิตก วิจาร อยู่

    สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน ๔๐ สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ
    นิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นตัวกิเลสที่ขัดขวางการที่จะเข้าถึงฌานทั้ง ๘ หรือ ๙

    อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ หมายถึง สมาบัติ ๘ กับ นิโรธสมาบัติ ๑ นับรวมกันจึงได้ ๙
    ถ้าหากไม่นับก็หมายถึงเมื่อได้ได้ฌานสมาบัติ ๘ จนชำนาญแล้ว และพอใจที่จะเข้า
    นิโรธสมาบัติก็ได้ตามใจปรารถนา จะเข้าได้ครั้งหนึ่งได้ไม่เกิน ๗ วัน อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อจะสงเคราะห์กับผู้ที่ยากไร้อยู่
    เช่น พระมหากัสสปะ พระสารีบุตร เป็นต้น และการเข้านิโรธสมาบัตินั้นได้จะมีก็เพียง ๒ ท่าน คือ พระอนาคามี และพระอรหันต์เท่านั้น
     
  3. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    "สาธุ"
     
  4. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ^___^
     
  5. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    มีพระอรหันต์จำพวกเดียวที่เข้านิโรธสมาบัติได้
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    มีพวกเดียวที่เข้าสมาบัติได้
    คือ พวกที่ฝึก อรูปญาน
    นอกนั้นหมดสิทธิ์
     
  7. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    เป็นพระโสดาบันได้ จิตก็จะอยู่ในรูปฌาณ 1 2 3 4 บ่อยๆ ในทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าเลยพระโสดาบัน... เป็นพระสกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ จิตก็จะอยู่ในรปฌาณทั้งสี่ อรูปฌาณทั้งสี่บ่อยๆ ในทุกอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าอยากเข้านิโรธสมาบัติ (ถึงพร้อมด้วยความดับทุกข์) ก็เป็นพระอรหันต์ แล้วนั่งสมาธิ ดับทุกข์ทั้งทางกาย ทางใจ ก็เแค่นี้แล...
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    คำสอน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ผลสมาบัติ

    คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
    พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
    นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
    ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
    อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
    ท่านเรียกว่าเข้าฌาน เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
    ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

    นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
    เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
    ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
    อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ;9k
     

แชร์หน้านี้

Loading...