กทม.ต้องพูดความจริง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8ade0b887e0b89ee0b8b9e0b894e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b888e0b8a3e0b8b4e0b887-e0b982e0b89ee0b8aa.jpg


    กทม.มีข้อมูลอยู่ในมือ น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกิดฝุ่นพิษอันตรายอยู่ตรงไหน จำเป็นต้องแจ้งประชาชนเพื่อให้ป้องกันตนเองและดูแลลูกหลาน


    ********************

    โดย…ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานสถาบันนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะ และอธิการบดี สจล.

    สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจำเป็นต้องพาน้องอิชิ ลูกชายวัย 6 เดือนออกนอกบ้าน ไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล แต่ต้องกลับบ้านด้วยอาการภูมิแพ้อากาศอย่างรุนแรง มีผื่นแดงเต็มหน้า จึงต้องกลับไปโรงพยาบาลอีกรอบ คุณหมอแนะนำให้มีเครื่องฟอกอากาศในห้องนอน พอไปหาซื้อที่ห้างสรรพสินค้าไหนๆ ของก็หมด โทรติดต่อบริษัทก็ยังหาไม่ได้ แถมราคาก็ขึ้นเป็น 2–4 เท่า เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทุกวันนี้คนกรุงเทพฯ พูดเรื่องเดียวกันทุกคนคือ “เป็นห่วงลูก” และหากถามคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างผม ชะตากรรมเราคงไม่ต่างอะไรจากผู้ประสบภัยพิบัติ

    เชื่อว่าวันนี้ กทม.มีเครื่องตรวจสภาพอากาศจำนวนไม่น้อยที่ตรวจวัดฝุ่นได้ตลอดเวลา โดยแจ้งว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปลอดภัย แต่คำถามที่ต้องตอบประชาชนให้ชัดคือ “วัดอากาศ วัดฝุ่น ที่ตรงไหน” เพราะเกิดความไม่ไว้วางใจ จนมีหลายองค์กรเอกชนพยายามหาซื้อเครื่องมือวัดปริมาณฝุ่นคุณภาพดีไว้ใช้เอง เพื่อความมั่นใจ เพื่อป้องกันดูแลคนของตนเอง

    ขณะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.100 ร่วมรณรงค์ทำโครงการ “ร่วมใจต้านภัยฝุ่นพิษ” ให้แก่คนกรุงเทพฯ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) และคณะแพทยศาสตร์ สจล. พร้อมด้วยนักศึกษาจิตอาสา ได้ออกตรวจปริมาณฝุ่นพิษ และแจกหน้ากากกันฝุ่นตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ

    เราพบว่าความหนาแน่นของฝุ่นพิษแปรผันในแต่ละจุด เมื่อตรวจวัดที่สี่แยกถนนพญาไทตัดกับถนนศรีอยุธยา ปริมาณฝุ่น PM2.5 เป็น 30 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่เมื่อเดินไปอีกเพียงไม่กี่สิบเมตรที่ป้ายรถเมล์ประจำทางใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไท ปริมาณฝุ่นพิษเพิ่มขึ้นไปถึง 80 ไมโครกรัม/ลบ.ม. สูงมากเกินระดับปลอดภัยที่ 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. แม้ในวันที่โรงเรียนปิดทำการ พิสูจน์ชัดว่าปริมาณฝุ่นพิษแต่ละที่จะไม่เท่ากัน แม้ห่างกันเพียงไม่กี่เมตร ขึ้นอยู่กับว่าตรวจวัดที่ตรงไหน พอ กทม.แจ้งว่าปลอดภัย แต่ที่จริงมีฝุ่นพิษมากมายในจุดต่างๆ ประชาชนไม่เคยได้รู้

    กลายเป็นว่าจุดเสี่ยงหนักสุดที่ กทม.ละเลยคือ บริเวณป้ายรถเมล์ของ กทม.เอง ที่ปริมาณฝุ่นเกินมาตรฐานถึงจุดอันตราย เพราะว่า 1.อยู่ติดถนนที่มีการจราจรหนาแน่น 2.เป็นจุดปล่อยควันดำของรถเมล์ที่เร่งเครื่องปล่อยฝุ่นพิษ 3.ยิ่งอยู่ในจุดอับ เช่น ใต้สถานีรถไฟฟ้า หรือบริเวณชุมชนหนาแน่น อากาศยิ่งไม่ค่อยหมุนเวียน ฝุ่นพิษยิ่งมากขึ้น 4.เป็นจุดที่รถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก ติดเครื่องยนต์รอผู้โดยสารปล่อยฝุ่นควัน

    ไม่กล้าจินตนาการเลยว่าเด็กกรุงเทพฯ ในวัยเรียนแต่ละคน ตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาล ประถม มัธยม จนจบมหาวิทยาลัย ที่ต้องเดินทางด้วยรถเมล์สาธารณะ หรือต้องเดินบนทางเท้า หรือเดินขึ้นรถไฟฟ้า จะต้องสูดฝุ่นพิษไปเป็นปริมาณมากแค่ไหน เสี่ยงโรคปอด โรคทางสมอง โรคมะเร็ง ถือเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่ยอมรับไม่ได้

    เมื่อเดือน ม.ค-ก.พ.ปีที่แล้ว มีกระแสสังคม และผมก็ชี้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 แต่ กทม.ก็เงียบหายไป จนเกิดวิกฤตฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ คำถามคือ กทม.รู้หรือไม่ หากรู้ ทำไมไม่ชี้จุดเสี่ยงฝุ่นพิษ ไม่บอกมาตั้งแต่ปีที่แล้ว วันนี้อาจไม่เกิดวิกฤตก็ได้ เพราะเมื่อทุกคนรู้ ทุกคนได้ร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา ข้อมูลฝุ่นพิษที่ กทม.มีในมือ น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกิดฝุ่นพิษอันตรายอยู่ที่ตรงไหน จำเป็นต้องแจ้งประชาชนเพื่อให้ป้องกันตนเองและดูแลลูกหลานที่อ่อนไหวต่อฝุ่นพิษเหล่านี้

    กทม.จึงต้องพูดความจริงเรื่องวิกฤตฝุ่นพิษ เพราะข้อมูลมี กทม.ต้องรู้ ทำให้ผมหวนคิดถึงผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านเคยประกาศว่า “รัฐรู้อย่างไร ประชาชนรู้อย่างนั้น” คงต้องนำแนวคิดนี้กลับมาใช้อย่างจริงจังเสียที

    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

    ขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/social/think/579273
     
  2. Buddhist 1711

    Buddhist 1711 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2018
    โพสต์:
    605
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +944
    ถ้ายังไม่มีกฎหมายควบคุมปริมาณรถยนต์ แก้ให้ตายก็ไม่มีหายคับ ประเทศในแถบยุโรป เค้าใช้ขนส่งมวลชนกันมาก รถไม่ติดอากาศดี บ้านผมนราธิวาสสบาย ไม่มีปัญหาแบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2019

แชร์หน้านี้

Loading...