กรมศิลป์พบประติมากรรมดินเผา “อสูร” เนินโบราณสถานวัดพระงาม

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 สิงหาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b89be0b98ce0b89ee0b89ae0b89be0b8a3e0b8b0e0b895e0b8b4e0b8a1e0b8b2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b894.jpg
    นักโบราณคดี เผยขุดพบ ประติมากรรมดินผา “อสูร” ขนาดใหญ่ บริเวณเนินโบราณสถานวัดพระงาม จ.นครปฐม

    น.ส.ปิยนันท์ ชอบศิลประกอบ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 2 จ. สุพรรณบุรี กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 2 จ. สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการ โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาโบราณสถานวัดพระงาม จ. นครปฐม สร้างขึ้นสมัยวัฒนธรรมทวาราวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 11-16 เพื่อทำการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมทวาราวดีของเมืองนครปฐมโบราณ ให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้เอาไว้ รวมทั้งป้องกันการถูกทำลายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของ จ. นครปฐม ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 นักโบราณคดี ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ทำการขุดเปิดพื้นที่บริเวณเนินดินขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งโบราณสถาน ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดทางรถไฟ เป็นครั้งแรก พบ โบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้น นับเป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ นำไปสู่การหาข้อมูลทางโบราณคดีประกอบการศึกษาค้นคว้า

    สำหรับโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดพบ ประกอบด้วย พระพิมพ์ดินเผา 2 พิมพ์ คาดว่าจะเป็น พิมพ์ มหาปาฏิหาริย์ และอีกพิมพ์ เป็น รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง ซึ่งเคยพบมาแล้ว ที่วัดพระเมรุ และแหล่งโบราณคดี ใน จ. นครปฐม พร้อมกันนี้ยังพบ อิฐสลักลวดลาย อิฐที่เป็นริ้ว เทคนิคพิเศษ และอิฐจารึก อักษรมอญโบราณ และที่น่าสนใจ ของการขุดค้นครั้งนี้ เป็น ประติมากรรม ดินเผา รูปอสูร ขนาดใหญ่ สังเกตเบื้องต้นจากเขี้ยวที่อยู่ทางด้านขวาของประติมากรรม ในการขุดพบชิ้นส่วนกระจายอยู่ไม่ห่างกัน ซึ่งนำมาประกอบเข้ากันเป็นรูปร่างได้เกือบสมบูรณ์ ทั้งส่วนหน้า ลำตัว บั้นเอว ส่วนเข่า

    นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วน พระพุทธรูปหินสีเขียว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ นักโบราณคดีจะทำการคัดแยกโบราณวัตถุ และนำมาทำการศึกษาเปรียบเทียบหาข้อมูลศิลปกรรมของโบราณวัตถุ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การศึกษายุคสมัยของโบราณสถานได้ จากนั้น จะมีการทำทะเบียนโบราณวัตถุ แต่ละชิ้น เพื่อนำส่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เพื่อทำการอนุรักษ์ ต่อไป

    “ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ขุดค้น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีคนทำการสำรวจ และพบโบราณวัตถุ ที่วัดพระงามแห่งนี้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อาทิ พระพุทธรูปสำริด กวางหมอบ ธรรมจักรพระพิมพ์ดินเผา และเศียรพระพุทธรูปดินเผาที่มีความงดงาม ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า แรกสร้างพื้นที่ตั้งโบราณสถานแห่งนี้ เคยเป็นสถูปรูปทรงแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สมัยทวาราวดี ขนาดความกว้าง 40×45 เมตร อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากร ขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีได้เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งสร้างความชัดเจนในการศึกษาแหล่งเนินดินที่ตั้งโบราณสถานของวัดพระงามเพิ่มขึ้น” นักโบราณคดี กล่าว
    b89be0b98ce0b89ee0b89ae0b89be0b8a3e0b8b0e0b895e0b8b4e0b8a1e0b8b2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b894-1.jpg
    b89be0b98ce0b89ee0b89ae0b89be0b8a3e0b8b0e0b895e0b8b4e0b8a1e0b8b2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b894-2.jpg


    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/qol/detail/9620000082219
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    81-6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888.jpg

    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมศิลปากรเปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานทางโบราณคดีภายใต้โครงการ ‘อนุรักษ์และพัฒนาโบรารสถานวัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งประกอบด้วยการขุดค้นเพื่อทำการศึกษา เคลื่อนย้ายเจดีย์บรรจุอัฐิและจัดทำแบบเพื่อการบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์

    นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า โบราณสถานวัดพระงาม สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี อายุกว่าพันปีมาแล้ว ถูกรบกวนโดยการการก่อสร้างทางรถไฟซึ่งทำลายตัวโบราณสถานประมาณครึ่งหนึ่ง กรมศิลปากรต้องการขุดค้นทางโบราณคดีมานานแล้ว แต่ติดปัญหาเนื่องจากเป็นที่ตั้งของเจดีย์บรรจุอัฐิของคนปัจจุบัน และทุกวันนี้ยังเป็นจุดที่รถไฟวิ่งผ่านตลอดเวลา แนวทางการบูรณะในอนาคตต้องคำนึงถึงหลักวิศวกรรม โดยจะเสริมโครงสร้างโบราณสถานให้มั่นคงเป็นพิเศษ หากปล่อยไปเรื่อยๆ ปัญหาเรื่องความสั่นสะเทือนจากรถไฟอาจทำให้ตัวโบราณสถานทรุดและพังทลายลงมาได้ การบูรณะทั้งหมดคาดว่าใช้เวลาราว 3-4 ปีจึงแล้วเสร็จ

    สำหรับรูปแบบทางศิลปกรรม หลังการขุดแต่งคงสามารถสันนิษฐานได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เบื้องต้นคาดว่าน่าจะคล้ายคลึงกับพระประโทณเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองนครปฐมโบราณ

    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-1.jpg
    อรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ชี้ให้ดูอักษรจารึกบนแผ่นอิฐ

    นางสาวอัจฉรา แข็งสาริกิจ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการทางโบราณคดียังไม่จบ โดยในปีนี้ติดปัญหาเรื่องอัฐิของคนปัจจุบัน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายออกทั้งหมดแล้ว จะมีการดำเนินงานที่ทำให้มองเห็นถึงสถาปัตยกรรมทั้งหมดได้ สำหรับโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ยังเก็บรักษาไว้ที่วัดพระงาม

    [​IMG] [​IMG]
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-2.jpg
    สถูปทวารวดีตั้งอยู่ในวัดพระงาม อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นวัดที่ยังมีการใช้พื้นที่ร่วมสมัย โดยมีการบรรจุอัฐิของคนปัจจุบันซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายออกไปบรรจุในจุดอื่นอย่างเหมาะสมต่อไป

    นายศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดีของห้างหุ้นส่วนจำกัดโบราณนุรักษ์ ผู้ทำการขุดค้นภายใต้การควบคุมงานของสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กล่าวว่า การขุดค้นโบราณสถานแห่งนี้ พบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ อิฐยุคทวารวดี ซึ่งมีแกลบข้าวผสมอยู่จำนวนมาก และขนาดค่อนข้างใหญ่ , พระพิมพ์ดินเผากว่า 20 องค์ ประกอบด้วยปางมหาปาฏิหาริย์ หรือยมกปาฏิหาริย์ เหมือนที่เคยพบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม และพระพิมพ์ปางสมาธิโดยมีฉัตรและเครื่องสูงประกอบ, ชิ้นส่วนประติมากรรมสลักจากหินเนื้อละเอียดสีเขียวอมเทา คาดว่าเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปปางสมาธิ เนื่องจากพบส่วนพระหัตถ์หงาย, จารึกบนแผ่นอิฐ มีอักษร 1 บรรทัด นอกจากนี้ ยังพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมทำจากอิฐอีกจำนวนหนึ่ง

    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-3.jpg
    ศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดีของห้างหุ้นส่วนจำกัดโบราณนุรักษ์ ผู้ทำการขุดค้นภายใต้การควบคุมงานของสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ขณะยกประติมากรรมดินเผารูปอสูรตนที่ยังไม่พบส่วนศีรษะ

    นายศุภชัย กล่าวอีกว่า การขุดค้นครั้งนี้ ยังพบโบราณวัตถุสำคัญ คือประติมากรรมดินเผารูปบุคคล สันนิษฐานว่าคือ ‘อสูร’ ที่เป็นทวารบาล หรือผู้เฝ้าประตูสถูปเจดีย์ โดยพบจากการเนินดินลึกลงไปราว 6 เมตรบริเวณตะวันออกของฐานสถูปทวารวดี

    “ตอนนี้ยังขุดไม่ถึงบริเวณที่เป็นพื้นใช้งานในอดีต เพราะลึกมาก สำหรับทวารบาลพบชิ้นส่วนต่างๆที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีอย่างน้อย 5 ตน ตนหนึ่งพบลำตัวและศีรษะที่แตกหักออกจากกัน เมื่อต่อเข้ารอยพอดีจะพบว่าศีรษะเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย เช่นเดียวกับตาที่มองเหลือบไปทางซ้าย อีกตนหนึ่งยังไม่พบศีรษะ โดยทั้ง 2 ตนนี้ตอนขุดเจอมีลักษณะพิงกันอยู่ เบื้องต้นฝากทางวัดพระงามช่วยดูแลไว้เช่นเดียวกับโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ” นายศุภชัยกล่าว

    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-4.jpg
    เนินดินโบราณสถานที่วัดพระงาม ถูกทำลายโดยการสร้างทางรถไฟไปราวครึ่งหนึ่ง
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-5.jpg
    ทางรถไฟที่พาดผ่านหน้าวัดพระงาม สร้างแรงสั่นสะเทือนแก่โบราณสถาน โดยกรมศิลปากรเตรียมดำเนินการอย่างรัดกุมในด้านวิศวกรรมเพื่อป้องกันการถล่มระหว่างดำเนินงานทางโบราณคดีที่จะดำเนินต่อไปทั้งการขุดค้น ขุดแต่งและบูรณะ
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-6.jpg
    ประติมากรรมดินเผาคาดว่าเป็นทวารบาลรูปอสูร ภาพนี้คือตนที่สมบูรณ์ที่สุดโดยสามารถนำศีรษะที่แตกหักมาต่อเข้าได้พอดี
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-7.jpg
    ภาพระยะใกล้ มองเห็นรายละเอียดและรูปแบบเครื่องประดับต่างๆ คิ้วเชื่อมต่อ ตาโปน และมีหนวด คล้ายประติมากรรมส่วนหนึ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรีซึ่งนักวิชาการบางรายตั้งข้อสังเกตว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับศิลปะหริภุญไชย
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-8.jpg
    ส่วนหนึ่งของพระพิมพ์ดินเผาซึ่งพบกว่า 20 องค์ ขวาสุดของภาพคือพระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์
    -6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-9.jpg
    อิฐขนาดใหญ่ มีแกลบข้าวผสมในปริมาณสูง บางส่วนมีลวดลายต่างๆด้วย
    6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-10.jpg
    ชิ้นส่วนประติมากรรมสลักจากหินสีเขียวอมเทา สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูป เนื่องจากมีพระหัตถ์หงายและร่องรอยชายผ้าด้านล่าง
    6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-11.jpg
    ชิ้นส่วนจารึกบนแผ่นอิฐ ยังไม่มีการอ่านแปล
    6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-12.jpg
    ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมที่พบบริเวณโบราณสถาน
    6-e0b980e0b8a1e0b895e0b8a3e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b887e0b8b2e0b8a1-e0b980e0b888-13.jpg
    ผังโบราณสถานวัดพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_1646353
     

แชร์หน้านี้

Loading...