เรื่องเด่น กรมสุขภาพจิตเผย ‘คนที่ช่วยเหลือผู้อื่น’ จะมีค่าความสุขสูงกว่าคนไม่เคยช่วยเหลือใคร

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 ธันวาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8a0e0b8b2e0b89ee0b888e0b8b4e0b895e0b980e0b89ce0b8a2-e0b884e0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b88ae0b988.jpg

    นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า กรมสุขภาพจิตมีนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิตแนวใหม่ โดยมุ่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนไทย 4.0 คือ การเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ด้วยกัน หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนรุ่นเก่าให้เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพคน เป้าหมายคือ คนรุ่นใหม่ต้องเป็นคนที่ไม่อ้วน ไม่เตี้ย เป็นคนอารมณ์ดี มีสติปัญญาดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดแง่บวก และคิดทำประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม (CPR : Creation, Positive, Response to Society) ภายใต้คำขวัญ คนไทย 4.0 “คิดดี คิดให้ คิดเป็น เป็นสุข”และโดยที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งเป็นช่วงที่ทุกคนส่งความสุขถึงกัน ความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา กรมสุขภาพจิต จึงขอเชิญชวนคนไทย ส่งความสุข ต้อนรับปีใหม่ 2562 ด้วย “การให้” โดยมุ่งเน้นการให้ที่มีคุณค่ามากกว่าสิ่งของ ได้แก่ ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ความรัก กำลังใจ และ ให้อภัย รวมถึงการทำงานจิตอาสา ที่จะส่งผลบวกต่อระดับความสุขมากกว่าการให้ในรูปแบบของทรัพย์สินเงินทอง

    ในทางพุทธศาสนาความสุขที่แท้จริงก็คือ การเสียสละ หรือ การเป็นผู้ให้ ขณะเดียวกันมีผลการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการจ่ายเงินเพื่อคนอื่น จะทำให้มีความสุขทางใจมากกว่าการจ่ายเงินเพื่อตนเอง และการให้ในรูปแบบของการเสียสละ เช่น เสียสละเวลาทำงาน จิตอาสา อาสาสมัคร และงานการกุศลต่างๆส่งผลบวกต่อระดับความสุขมากกว่าการให้ในรูปแบบของทรัพย์สินเงินทอง สำหรับประเทศไทยมีข้อมูลการสำรวจดัชนีชี้วัดความสุข ซึ่งเป็นดัชนีที่ถูกจัดทำภายใต้โครงการ “การพัฒนาและทดสอบดัชนีชีวัดสุขภาพจิตคนไทย”พบว่า

    [​IMG] [​IMG]

    “คนที่มีการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาสมีค่าระดับของความสุขสูงกว่าคนที่ไม่เคยช่วยเหลือผู้อื่นเลย ในขณะที่คนเสียสละแรงกายและทรัพย์สินเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน ก็มีระดับค่าเฉลี่ยของความสุขสูงกว่าคนที่ไม่ได้เสียสละแรงกายเช่นเดียวกัน สำหรับสาเหตุที่การให้นำมาซึ่งความสุข ก็เพราะว่าการให้ เป็นการทำให้เราเป็นผู้เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันก็ทำให้เรารู้สึกสบายใจและยกย่องในคุณค่าของตัวเอง รวมทั้ง การให้ นำมาสู่ผลกระทบทางบวก (Positive Externality) ซึ่งเปรียบเสมือนกับการสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่แก่คนอื่นๆ ที่จะเป็นผู้ให้ตามมา ซึ่งจะทำให้คนเหล่านั้นมีความภูมิใจ และพึงพอใจระหว่างกันมากขึ้น” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว


    matichon


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1294657
     

แชร์หน้านี้

Loading...