กรรมฐานทรุดตัวลง (จิตตก) จะแก้อย่างไร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 17 พฤษภาคม 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    กรรมฐานทรุดตัวลง (จิตตก) จะแก้อย่างไร

    ต่อไปนี้ก็จะพูดกรรมฐานยากๆ สักหน่อย เอา
    ไหมกรรมฐานยาก วันนี้มีคนมาถามหลายคนว่า
    ๑. เวลานี้กำลังใจมันตก คำว่าตกก็หมายความ
    ว่าเจริญกรรมฐานทรุดตัวลงไม่เจริญขึ้น
    ๒. กำลังใจเศร้าหมอง
    ไอ้ตกหรือเศร้าหมองก็อันเดียวกัน เหมือนกัน
    ก็รวมความว่าอาการกำลังใจตกก็ดี เศร้าหมอง
    ก็ดี ถ้าพูดให้ฟังนี่มันไม่ยาก แต่ว่าถ้าใครไม่
    โดนเข้าจริงๆ ไม่รู้สึกว่ายาก โดนเข้าจริงๆ จะ
    รู้สึกว่ายากมาก เพราะการแก้ตนเองนี่แก้ยาก

    ถ้าถามว่าทำไมถึงรู้
    อาตมานะโดนมาหลายวาระกว่าจะถึงวันนี้นะ
    โดนมาหลายแบบหลายวาระเลย
    เวลาโดนเข้าจริงๆ มันไม่รู้สึกมันแย่จริงๆ มันตี
    ไม่ขึ้น เพราะกำลังใจเรามันทรุดไปเอง
    ถามว่าประคองตัวมาได้ยังไง
    ก็อยู่เกณฑ์ที่ว่าแพ้มันบ้างชนะบ้าง แต่ว่าไม่
    ยอมแพ้เลย วันนี้แพ้วันหลังถ้าจิตใจดีหน่อยก็
    เอาชนะนิดหนึ่งก็เอา วันหนึ่งมีเวลา ๒๔ ชั่วโมง
    ชนะแค่ ๒ นาทีก็เอา ใช่ไหม คือให้มีเวลาชนะ

    วิธีชนะทำอย่างไรมันก็ไม่ยาก แต่ว่ามันยาก
    อยู่นะ มันยากอยู่ตรงปรับปรุงใจตนเอง
    คือถ้าเวลาไหนกำลังใจดีขึ้นมาให้ใช้เวลานั้น
    อย่าใช้เวลาแน่นอน กำหนดรู้ลมหายใจเข้า
    ออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า
    หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก
    ถ้าอยากจะภาวนาด้วยก็ภาวนาตามชอบใจสัก
    ๑ นาที ๒ นาที ๓ นาทีก็ตาม แค่ใจสบาย ถ้าจิต
    เริ่มฟุ้งซ่านเลิกเลย อย่าฝืน ถ้าฝืนแล้วจะเสีย
    ทำอย่างนี้บ่อยๆ กำลังใจจะค่อยดีวันละน้อยๆ
    วันหนึ่งทำได้ประเดี๋ยวเดียวพอใจแล้ว
    จงอย่าคิดว่าเมื่อก่อนๆ เราทำได้ตั้ง ๑๐ นาที
    ๒๐ นาที ๓๐ นาที ต่อวาระ เวลานี้เราได้นาที
    สองนาทีไม่ไหว อันนี้ไม่ถูก

    ให้ถือว่าวันนี้เราไม่ยอมแพ้ทั้งวัน เวลา ๒๔ ชั่ว
    โมง มันจะชนะ ๒๓ ชั่วโมงกับ ๕๐ นาที ก็เป็น
    เรื่องของมัน เราขอชนะ ๑๐ นาที แล้วก็ไม่ใช่
    ชนะครั้งเดียว ครั้งละ ๑ นาที ๒ นาทีก็ตามเรา
    ชนะให้ได้นิดหน่อย ต่อไปจิตก็จะมีอารมณ์ชิน
    เพราะกรรมฐานนี่มีกิเลสมารเป็นของสำคัญ
    ที่เรากล่าวกันว่า ขันธมาร ความจริงขันธมาร
    มีกำลังไม่มาก ไอ้ขันธมารนี่อาการป่วยไข้ไม่
    สบายนี่กำลังไม่มาก มันทรุดตัวประเดี๋ยวเดียว
    ก็ทรงตัวได้

    แต่ กิเลสมาร มีความสำคัญมาก กิเลสคือ
    ความเศร้าหมองของจิต เป็นอารมณ์ร้ายที่เข้า
    มาครอบงำจิต ....
    ช่วงนี้แหละหนัก ฉะนั้นจึงค่อยๆ
    ย่องตีมันทีน้อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณณา
    จารย์ที่ท่านใช้กันก็มีผลนะ
    คือว่าจะป่วยไข้ไม่สบายอย่างไรก็ตาม
    จะมีอารมณ์กลุ่มแบบไหนก็ตาม
    เพื่อต้องการให้กรรมฐานของเราไม่เสื่อม ถ้า
    เวลาจังหวะมันว่างนิดหนึ่งเราเริ่มภาวนาทันที
    จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดินก็ได้ จะได้นาที
    ครึ่งนาทีก็พอใจ หรือว่าภาวนา พุท เข้า โธ ออก
    เพียงแค่ ๒-๓ ครั้งจิตเคลื่อนก็ใช้ได้
    อย่างนี้กรรมฐานเดิมที่ทรงไว้จะไม่เสื่อม
    ต่อไปเมื่อกิเลสทรุดตัวกรรมฐานจะทรงตัวตา
    มเดิม ต้องปฏิบัติตามนี้นะ

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี
    ลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    ***********************************************

     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

    [​IMG]
    ๔. วิตถตสูตร

    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือ
    สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง คือ ศรัทธาเป็นไฉน
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
    ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่ากำลัง คือ ศรัทธา ก็กำลัง คือ วิริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ... ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ วิริยะ
    ก็กำลัง คือ สติเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
    สติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวชั้นเยี่ยม ระลึกตามแม้สิ่งที่ทำแม้คำที่พูดไว้
    นานได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สติ ก็กำลัง คือ สมาธิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติย-
    *ฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
    ว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี
    อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่ากำลัง คือ สมาธิ ก็กำลัง คือ
    ปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
    ประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
    เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๔
     

แชร์หน้านี้

Loading...