เรื่องเด่น กรรมฐานพิจารณากระดูก (ครูบาบุญชุ่มมหาโพธิสัตว์)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 13 กรกฎาคม 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=b000ff9e1479d4b22d76549aaf5438d9.jpg

    ?temp_hash=b000ff9e1479d4b22d76549aaf5438d9.jpg




    อารมณ์กรรมฐานโดยพิจารณาอัฐิ

    มีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่งอยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสารนี้ หากนำมากองรวมกัน คงกองใหญ่เป็นภูเขาทีเดียว หากแยกกันก็กระจัดกระจายอย่างที่เห็น กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกเข่าไปอีกทางหนึ่ง กระดูกข้อเท้าไปทางอื่น กระดูกข้อนิ้วเท้าก็กระจัดกระจายไปทางอื่น กระดูกทุกส่วนแยกออกจากกันไปคนละที่คนละแห่ง แล้วก็ผุพังกลายเป็นดินเป็นจุลไป ท่านก็น้อมพิจารณาเข้ามาในกายแห่งตนว่า

    “เอวงฺธมฺโม เอวงฺอนตฺติโต”


    ยกกระดูกสามร้อยท่อนเป็นกรรมมัฏฐานให้เห็นชัดแจ้งในสังขารรูปนาม

    ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้ไม่ดีไม่งามเป็นอสุภะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนา
    พิจารณาสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่ใช่ของเขาสักอย่าง

    เห็นความเกิดความดับของรูปนามสังขารดังนี้แล้วก็ยกจิตขึ้นสู่ยถาภูตญาณทัศนะ
    เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงทุกอย่าง
    บังเกิดความเบื่อหน่ายในกองสังขารทุกข์ทั้งหลายอยากจะพ้นไปจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หาทางที่จะหลุดพ้นไปจากสังขารทั้งหลาย
    แล้ววางเฉยต่อสังขารทั้งหลายไม่ติดข้องยินดีในสังขารทั้งหลาย
    แล้วมองเห็นอริยะสัจจะธรรมทั้งสี่ให้เห็นแจ้งชัดว่านี้คือทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ได้ประสบพบสิ่งที่ไม่ได้รักก็เป็นทุกข์ได้ พลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ อยากได้อันใดไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์
    จึงพึงกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้แล้วให้รู้เหตุที่ให้เกิดทุกข์คือสมุทัยทำให้ เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ความอยากได้ทั้งสามคือ กามตัณหาในกามอารมณ์ทั้งหลาย ภาวะตัณหา ตัณหาในภาวะน้อยใหญ่ ความมีความเป็นทั้งหลาย วิภาวะตัณหา ตัณหาในความไม่อยากมีอยากเป็น ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากตัณหาทั้งสามนี้ เมื่อดับตัณหา ความอยากได้ก็ดับทุกข์ทั้งปวง ตัณหาขะยังสัพพะ ทุกขัง ชินาติ ดับตัณหาได้ชนะทุกข์ทั้งปวง

    แล้วก็มาพิจารณานิโรธ ความดับทุกข์วิราคะไม่ติดข้องด้วยราคะตัณหา ปราศจากไปแล้ว ปฏิสัคโค ความสลัดออกแห่งตัณหาทั้งหลาย นิโรธ ความดับสนิทไม่เหลือ อาจโย มีอาลัยขาดแล้ว วัฏฏะปัจเฉโต ตัดวัฏฏะทั้งสามขาดแล้ว คือกิเลสวัฏฏะ กรรมะวัฏฏะ วิปากวัฏฏะทั้งสามนี้แล นิโรโธติได้ชื่อว่าความดับทุกข์คือพระนิพพานแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญาใน วิปัสสนาญาณต่อไป ถึงมรรค คือหนทางอันดับทุกข์ คือมรรคมีองค์แปด คือ

    ๑. สัมมาทิฏฐิ
    ๒. สัมมาสังกับโป ความชอบดำริ
    ๓. สัมมาวาจา ความพูดวาจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันโต มีการงานอันชอบ
    ๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ
    ๖. สัมมาวายาโม มีความเพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ มีระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจชอบ





    88%E0%B8%A1%20%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B9%8D%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3_Page_1(1).png

    พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร





    ดังนี้ได้ชื่อว่ามรรคมีองค์แปดคือเป็นหนทางอันประเสริฐไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ทางนี้เป็นทางให้ถึงซึ่งความดับแห่งกองทุกข์ในวัฏฏะทั้งหลาย เราพึงทำภาวนาให้รู้แจ้งแล้ว น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ดับความเห็นผิดทั้งหลายอันเป็นปุถุชนอันแน่นหนาไปด้วยกิเลส แล้วน้อมจิตเข้าสู่โลกุตรภูมิแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แล้วมาพิจารณาดูมรรคธรรมที่เราได้บำเพ็ญมาตลอดสืบเนื่องติดต่อกันไม่ขาดสาย รู้ความไม่เที่ยงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความจางคลายความกำหนดยินดีในสัพพนิมิตสังขารทั้งหลาย รู้ความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ทุกลมหายใจเข้าออก รู้ความสลัดคืนในกองสังขารทั้งหลายหายใจเข้าออก อยู่น้อมจิตเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ตลอดจึงได้ชื่อว่าเจริญมรรคญาณ ต่อไปให้พิจารณาความดับทุกข์ทั้งหลายเป็นนิโรธญาณผละญาณ แล้วก็ถึง ปัจเจกขณาญาณ พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายเป็นมรรคะสมังคี คือว่าธรรมทั้งหลายมารวมลงกันในที่เดียวคือสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละธรรมห้า โพชฌงค์เจ็ด อัฐฐังคิกะมรรคะทั้งแปดมาลงรวมกันที่เดียวได้ชื่อว่ามรรคสมังคี แล้วก็น้อมเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แจ้งแล้วให้รู้แจ้งตามสภาวะธรรมที่เป็นจริง แล้วก็มาพิจารณาดูว่าเราได้รู้แจ้งในธรรมหรือยัง ถ้าไม่รู้แจ้งตราบใดก็ละกิเลสไม่ได้ ถ้าตรัสรู้แจ้งแล้วกิเลสธรรมทั้งหลายก็ละได้เองโดยอัตโนมัติไม่ต้องสงสัยเลย ในมรรคผลนิพพานมีจริงทุกอย่างถ้าเราทำจริงต่อมรรคธรรมเราก็จะถึงความดับ ทุกข์ วันหนึ่งเราก็มาพิจารณาดูว่าเราละกิเลสได้เท่าใด เหลืออยู่เท่าใด ดูพระอริยะบ้างก็พิจารณาบ้าง พิจารณาว่ากิเลสมีเท่าใดตัดขาดเท่าใดสุดแล้วแต่บุญวาสนา ปัญญาของใครของมัน ท่านที่มีปัญญาแก่กล้าจึงจะพิจารณาได้ ถ้าบรรลุมรรคขั้นต้นก็มีการตัดกิเลสสังโยชน์ได้สามคือสักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นเห็นผิดในกาย วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรมดับไป สีลัพพัตปรามาสความถือศีลไม่มั่นคงลูบคลำศีลก็ดับไป ถ้าได้ถึงสกิทาคาก็กระทำให้ความโลภราคะ โทษะ โมหะ ส่วนที่หยาบๆดับไปถ้าได้ถึงอริยมรรค ที่สามคือพระอนาคามี คือผู้ไม่กลับมาอีก ก็ตัดกิเลสสังโยชน์ได้อีก สองคือกามราคะ ความยินดีในกามราคะดับอย่างสนิท ปฏิฆะความโกรธแค้นพยาบาท ดับสนิท ตรงกับคติธรรมคำสอนของท่านครูบาศรีวิชัยให้เป็นคติว่า อู้ร้อยคำบ่เท่าผ่อครั้งเดียว



    ลำดับครูบาอาจารย์โดยตรง ของ พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร
    ๑. หลวงปู่ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทราวตากผ้า จังหวัดลำพูน
    ๒. หลวงปู่ครูบาอินทจักร์ วัดวนาราม (น้ำบ่อหลวง) สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
    ๓. หลวงปู่ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน
    ๔. หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
    ๕. หลวงปู่ครูบาน้อย วัดบ้านปง แม่แตง
    ๖. หลวงปู่ครูบาคำแสน วัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    ๗. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (มหาวีระ ถาวโร)
    ๘. หลวงปู่หล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    ๙. หลวงปู่ฤาษีธนะธัมโม วัดถ้ำผาแตก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
    ๑๐. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
    ๑๑. หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วัดสะแก จ.อยุธยา
    ๑๒. พระครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน เป็นพระสหธรรมิก
    ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความดับทุกข์เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านได้ไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์แล้ว ส่วนมากไม่ได้มีโอกาสไปอยู่ด้วย





    ครูบาอาจารย์ภาคอีสาน ที่ท่านได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์
    ๑. หลวงปู่นิล วัดครบุรี จ.นครราชสีมา
    ๒. หลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา
    ๓. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    ๔. หลวงพ่อแสวง วัดถ้ำพระ จ.สกลนคร
    ๕. หลวงปู่คูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา





    ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล

    http://www.dhammajak.net

    ครูบาบุญชุ่มครูบาสายล้านนาสายป่ากรรมฐาน

    หนังสือ ๓๐ พรรษาในร่มเงาพระพุทธศาสนา
    ของพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร

    พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น




    เรียบเรียงโดย : ศักดิ์ศรี บุญรังศรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก
    เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    กายคตาสติสูตร ตอนที่ 2




    bone00.jpg


    การพิจารณา "กายคตาสติ" เป็น "อสุภะ" นี้ ได้ลงต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เริ่มจากศพตายขึ้นอืดพองเขียวน้ำเหลืองไหล แล้วก็เน่าแห้งจนเหลือแต่โครงกระดูก ภาพแรกนี้จะเห็นว่ามีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจจะเป็นพ่อแม่และลูกก็ได้นะ ภาพเหล่านี้อาจจะมีไม่ครบถ้วน แต่ก็เอามาเป็นเพียงตัวอย่าง เพื่อประกอบในการใช้ปัญญาพิจารณาเท่านั้น
    เริ่มต้นหมวดนี้ได้นำภาพการผ่าหัวเข่า โดยเริ่มพิจารณาจากผิวหนังลงไปในเนื้อ แล้วจะเห็นกระดูกเป็นแกนหลักของร่างกาย ภาพนี้ให้เห็นขณะที่ยังไม่ตาย ภาพต่อไปก็จะเข้าถึง "โครงกระดูก" จากคนที่ตายแล้วจริงๆ

    cc01.jpg cc02.jpg


    หมวดพิจารณาโครงกระดูก




    ข้อความจากพระไตรปิฎก (ต่อจากตอนที่แล้ว)
    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด เส้นเอ็นผูกรัดไว้...เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะ เปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...

    (อธิบาย - ภาพนี้มีปริศนา อาจจะทำให้คิดได้ว่า คงที่เดินไปเดินมา หรือนั่งท่านี้ ถ้าเรามองให้ทะลุเนื้อหนังลงไป ก็จะเห็นเป็นโครงกระดูกนั่งอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นหนุ่มงามหรือสาวสวยก็เป็นได้ ส่วนภาพต่อมาก็จะเห็นเป็นสัจจะธรรมจริงๆ หากเห็นภาพหญิงชายที่หลงรักกันเช่นนี้ เราก็มองทะลุปรุโปร่งเข้าไป จะเห็นว่าโครงกระดูกทั้งสองนี้กอดจูบกันแค่นั้นเองนะ)

    bone01.jpg bone02.jpg

    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง

    4791_52538.jpg b059.jpg

    จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ

    b052.jpg drink.jpg

    (ขณะที่ปลงสังขารอยู่นี้ มีภาพตลกๆ มาดูเล่นด้วย ได้ประโยชน์แล้วไม่ซีเรียสด้วยนะ)
    [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้าเป็นท่อน กระดูกเรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกินปีหนึ่ง...เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้

    4791_52539.jpg
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4791_52542.jpg
      4791_52542.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      360
    • 4791_52543.jpg
      4791_52543.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.6 KB
      เปิดดู:
      424
    • 4791_52541.jpg
      4791_52541.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.6 KB
      เปิดดู:
      241
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2018
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    คำสอนหลวงพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร)
    อัฏฐิกะอสุภะกรรมฐาน (หนังสือ "คู่มือปฏิบัติกรรมฐาน" วัดท่าซุง)


    "...อัฏฐิกะอสุภะนี้ ท่านให้เอากระดูกของซากศพเท่าที่พึงหาได้ จะเป็นกระดูกที่มี เนื้อ เลือด เส้น เอ็น รัดรึงอยู่ก็ตาม หรือจะเป็นกระดูกล้วนก็ตาม หรือจะเป็นกระดูกบางส่วนของร่างกาย มีเพียงส่วนน้อยหรือท่อนเดียวก็ตาม เอามาเป็นวัตถุพิจารณา เวลาพิจารณา ท่านให้ภาวนาว่าดังนี้ " อัฏฐิกัง ปะฏิกุลัง " สำหรับ "อุคคหนิมิต" ในอัฏฐิกะอสุภะนี้ จะมีรูปเป็นกระดูกเคลื่อนไหวไปมา สำหรับ "ปฏิภาคนิมิต" นั้นจะมีสภาพเป็นกระดูกวางเฉยเป็นปกติ

    การพิจารณา
    การเจริญอสุภกรรมฐาน ต้องหนักไปในทางพิจารณา เพราะถ้าใช้แต่การเพ่งจำภาพเฉยๆ จะกลายเป็นกสิณไป ในขณะที่เพ่งจำภาพนั้น ท่านให้พิจารณาพร้อมๆ กันไปด้วย โดยพิจารณาตามความรู้สึกที่แท้จริงว่า อสุภ คือซากศพนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียนไม่มีอะไรเป็นที่น่ารักน่าปรารถนาเลย ร่างกายคนและสัตว์ทั้งสิ้น มีสภาพน่าสะอิดสะเอียนอย่างนี้

    แล้วน้อมภาพนั้นเข้าไปเทียบเคียงกับคนที่มีชีวิตอยู่ โดยคิดแสวงหาความเป็นจริงว่าร่างที่เพริศพริ้งแพรวพราวไปด้วยทรวดทรง และตระการตาไปด้วยเครื่องประดับนั้นความจริงไม่มีอะไรสวยงามเลยภายใต้หนังกำพร้ามีแต่ความโสโครก น่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียนเลอะเทอะโสมมไปด้วยกลิ่นคาวที่เหม็นคลุ้งไปทั่วบริเวณร่างกาย ไม่มีส่วนใดที่จะหาว่าสะอาดน่ารักแม้แต่น้อยหนึ่งก็หาไม่ได้

    เมื่อเทียบกับร่างของผู้อื่นแล้วก็เอามาเทียบกับตนเองพิจารณาให้เห็นชัดว่า เราเองก็เป็นซากศพเคลื่อนที่ เป็นผีเน่าเดินได้ดี ๆ นั่นเอง ซากศพนี้มีสภาพเช่นใดเราเองก็มีสภาพเช่นนั้นที่ยังมองไม่ชัดเพราะหนังกำพร้าหุ้มห่อไว้ แต่ทว่าสภาพที่เลอะเทอะน่าเกลียดโสโครกนี้ใ ช่ว่าจะพ้นการพิจารณาใคร่ครวญของท่านผู้มีปัญญาก็หาไม่

    ความจริงสิ่งโสโครกที่ปรากฏภายในก็หลั่งไหลออกมาปรากฏทุกวันคืน เช่น อุจจาระปัสสาวะ เลือด เสลด น้ำหนอง เหงื่อไคล สิ่งเหล่านี้เมื่อหลั่งไหลออกมาจากร่างกายเราเองผู้เป็นเจ้าของก็ไม่ปรารถนาจะแตะต้องเพราะรังเกียจว่าเป็นสิ่งสกปรกโสโครกความจริงสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ในกายขอ งเราเอง

    ฉะนั้น อสุภ คือ "สิ่งที่น่าเกลียดนี้" มีอยู่ในร่างกายของเราครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว เราก็คือส้วมเคลื่อนที่หรือป่าช้าที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่นั่นเอง ที่ยังไม่ปรากฏแก่ตาชาวโลก ก็เพราะหนังกำพร้ายังหุ้มไว้ ถ้าหนังกำพร้าขาดเมื่อไร เมื่อนั้นแหละความศิวิไลซ์ก็จะสิ้นซากเมื่อนั้น

    สภาพที่แท้จริงจะปรากฏเช่น ซากศพที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ จงพยายามพิจารณาให้เห็นชัดเจนตามความเป็นจริงก่อนพิจารณาต้องเพ่งรูปให้อารมณ์จิตมีสมาธิสมบูรณ์บริบูรณ์เสียก่อน เมื่อพิจารณาเห็นว่าตนของตนเองไม่สวยไม่งามแล้วก็เห็นคนอื่นว่าไม่สวยไม่งามได้ง่ายการเห็นตนเองเป็นความเห็นที่เกิดได้ยากแต่ถ้าพยายามฝึกฝนเสมอ ๆ แล้ว อารมณ์จะเคยชิน

    จะเห็นว่าการพิจารณาตนนี้ง่าย เมื่อเห็นตนแล้วก็เห็นคนอื่นชัด ถ้าเห็นตนชัดว่าไม่มีอะไรสวย เพราะมีแต่ของน่าเกลียดโสโครก เราก็มองเห็นคนอื่นเป็นอย่างนั้น พยายามทำให้ชินให้ขึ้นใจ จนมองเห็นไม่ว่าใครมีสภาพเป็นซากศพ ตัดความกำหนัดยินดีในส่วนกามารมณ์เสียได้แล้ว ชื่อว่าท่านได้ อสุภกรรมฐานในส่วนของ "สมถภาวนา" แล้ว

    การได้อสุภกรรมฐานในส่วนสมถะนี้ เป็นผลได้ที่อยู่ในสภาพง่อนแง่นคลอนแคลน อารมณ์ความเบื่อหน่ายจะเสื่อมทรามลงเมื่อไรก็ได้ เพราะปกติของอารมณ์จิตมีปกติฝักใฝ่ฝ่ายต่ำอยู่แล้ว หากไปกระทบความยั่วยุเพียงเล็กน้อย อารมณ์ฌานเพียงแค่ "ปฐมฌาน" ก็จะพลันสลายตัวลงอย่างไม่ยากนัก

    เพื่อรักษาอารมณ์ฌานที่หามาได้ยากอย่างยิ่งนี้ไม่ให้เสื่อมเสียไป เมื่ออารมณ์จิตหมดความหวั่นไหวนี้ ท่านให้ใช้ "วิปัสสนาญาณ" เข้าสนับสนุน เพื่อทรงพลังสมาธิให้มั่นคง เพราะฌานใดที่ได้ไว้แล้ว และมีอารมณ์วิปัสสนาญาณสนับสนุน ฌานนั้นท่านว่าไม่มีวันที่จะเสื่อมสลาย การเจริญวิปัสสนาญาณต่อจากอสุภฌานนี้ ท่านสอนให้พิจารณาดังต่อไปนี้

    ยกนิมิต "อสุภะ" เป็นวิปัสสนา

    ธรรมดาของ "นิมิต" ที่เกิดจากอารมณ์ของสมาธิ จะเป็น นิมิตของ "อุปจารฌาน" หรือที่เรียกว่า "อุคคหนิมิต" หรือ ขั้น "อัปปนาสมาธิ" ที่เป็นอารมณ์ "ปฐมฌาน" ก็ตาม จะเกิดยืนสภาพตลอดกาลตลอดสมัยนั้นไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วชั่วครู่ชั่วพักก็หายไป ทั้งนี้ก็เพราะจิตไม่สามารถจะทรงสมาธิไว้ได้นานมากนัก จิตก็จะเคลื่อนจากฌาน

    ตอนที่จิตเคลื่อนจากฌานนี่แหละ...ภาพนิมิตก็จะเลือนหายไป ถ้าต้องการเห็นภาพใหม่ ก็ต้องตั้งต้นสมาธิกันใหม่ ถ้าประสงค์จะเอานิมิตเป็นวิปัสสนา เมื่อเพ่งพินิจอยู่ พอนิมิตหายไปก็ยกอารมณ์เข้าสู่ระดับวิปัสสนาโดยพิจารณาว่า นิมิตนี้เราพยายามรักษาด้วยอารมณ์ใจ โดยควบคุมสมาธิจนเต็มกำลังอย่างนี้

    แต่นิมิตนี้จะได้เห็นใจเราจะอยู่กับเราโดยที่เราหรืออุตสาห์ประคับประคองจนอย่างยิ่งอย่างนี้ นิมิตนี้จะเห็นอกเห็นใจเราก็หาไม่ กลับมาอันตรธานหายไปเสียทั้ง ๆ ที่เรายังต้องการ ยังมีความปรารถนา นิมิตนี้มีสภาพที่จะต้องเคลื่อนหายไปตามกฎของธรรมดาฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่มีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมีอันตรธานไปในที่สุดฉันนั้น

    ความไม่เที่ยงของชีวิตที่มีความเกิดขึ้นนี้ มีความตายเป็นที่สุดเช่นเดียวกับนิมิตนี้ ขึ้นชื่อว่าความเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร เป็นสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหมต่างก็มีความไม่เที่ยงเสมอเหมือนกันหมด เมื่อเกิดแล้วก็มีอันที่จะต้องตายเหมือนกันหมด เอาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย

    เมื่อความไม่เที่ยงมีอยู่ความทุกข์ก็ต้องมี เพราะการต้องการให้คงอยู่ยังมีตราบใด ความทุกข์ก็มีอยู่ตราบนั้น เพราะความปรารถนาให้คงอยู่โดยไม่ต้องการให้เสื่อมสิ้นนั้น เป็นอารมณ์ที่ฝืนต่อกฎของความเป็นจริง การทรงชีวิตนั้น ไม่ว่าจะทรงอยู่ในสภาพใด ๆ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ทั้งสิ้น

    เพราะทุกข์จากการแสวงหาอาหารและเครื่องอุปโภคมาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บรบกวน ทุกข์เพราะไม่อยากให้ของรักของชอบใจ แม้ในที่สุดชีวิตที่จะต้องแตกทำลายนั้นต้องอันตรธานไป ความปรารถนาที่ฝืนความจริงตามกฎธรรมดานี้เป็นเหตุของความทุกข์ แต่ในที่สุดก็ฝืนไม่ไหว ต้องแตกทำลาย

    อย่างนิมิต "อสุภะ" นี้เหมือนกัน นิมิตอสุภะนี้เดิมทีก็มีปัญจขันธ์เช่นเรา บัดนี้เขาต้องกระจัดพลัดพรากแตกกายทำลายขันธ์ออกเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่อย่างนี้ ความที่ขันธ์เป็นอย่างนี้ เขาจะมีความปรารถนาให้เป็นอย่างนี้ก็หาไม่ แม้เขาจะฝืนอย่างไร ก็ฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องสลายอย่างนี้

    ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "โลก เป็น อนัตตา" คือไม่มีอะไรทรงสภาพ ไม่มีใครบังคับการสิ้นไปของชาวโลกนั้นเป็นความจริง สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุขทรงสภาพปกตินั้น มี "พระนิพพาน" แห่งเดียว ผู้ที่จะถึงพระนิพพานได้ ท่านปฏิบัติอย่างเรานี้

    ท่านเห็นสังขารทั้งหลายเป็นของน่าเกลียด เห็นสังขารทั้งหลายเป็นแดนของความทุกข์ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความรู้ความคิดสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ท่านไม่ยึดมั่นในสังขารท่านเบื่อในสังขารโดยท่านถือว่าธรรมดาของการเกิดมามีสังขารต้องเป็นทุกข์อย่างนี้ ท่านไม่ปรารถนาการเกิดอีกท่านไม่ต้องการชาติภพใดๆ อีก ท่านหวังนิพพานเป็นอารมณ์

    คือท่านคิดนึกถึงพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์รัก ความเกิด รักสมบัติ รักยศ รักสรรเสริญ ไม่รักแม้แต่สุขที่เกิดแต่ลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ท่านตัด ฉันทะความพอใจในโลกทั้งสิ้น ท่านตัด ราคะ ความกำหนัดยินดีในโลกทั้งสิ้น ท่านพอใจในพระนิพพาน เมื่อทรงชีวิตอยู่ท่านก็ทรงเมตตาเป็น "ปุเรจาริก" คือ มีเมตตาเป็นปกติ ท่านไม่ติดโลกามีสคือสมบัติของโลก
    ท่านที่เข้าพระนิพพานท่านมีอารมณ์เป็นอย่างไร..?
    บัดนี้...เราผู้เป็นพุทธสาวกก็กำลังทรงอารมณ์อย่างนั้น เราเห็นความไม่เที่ยงของสังขารแล้ว เพราะมี "อสุภ" เป็นพยาน เราเห็นความทุกข์เพราะการเกิดแล้ว เพราะมีอสุภเป็นพยาน เราเห็นอนัตตาแล้ว เพราะมีอสุภเป็นพยาน เราจะพยายามตัดความไม่พอใจในโลกามีสทั้งหมดเพื่อได้ถึงพระนิพพานเป็นที่สุด

    จงคิดอย่างนี้ พิจารณาอย่างนี้เนืองๆ ทุกวัน ทุกลมหายใจเข้าออก ท่านจะเข้าถึงนิพพานในชาติปัจจุบัน พระนิพพานเป็นของมีจริง พระนิพพานเป็นสุขไม่มีทุกข์เจือปน ผู้ที่มีจิตผูกพันพระนิพพานเป็นปกติ จะมีความสุขในสมัยที่ทรงชีวิตอยู่ ความสุขนี้อธิบายให้สมเหตุสมผลไม่ได้ เพราะเป็นสุขประณีต สุขยิ่งกว่าความสุขใด ๆ ที่เจือด้วยอามิส

    ท่านที่เข้าถึงแล้วเท่านั้นที่ท่านจะทราบความสุขใจของท่านที่เข้าถึงพระนิพพานได้จริง ขออธิบายวิปัสสนาญาณโดยอาศัยนิมิต "อสุภกรรมฐาน" เป็นบาทไว้โดยย่อเพียงเท่านี้ ขอนักปฏิบัติจงคิดคำนึงเป็นปกติ ท่านจะเข้าถึง "พระนิพพาน" ได้อย่างคาดไม่ถึง...."




    ?temp_hash=30adfe6760a9455fd18c9bb6d3b82c4a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2018
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส



    [๙๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนามยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
    พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ - สมาธิอย่างหนึ่ง.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่า ชื่อว่า เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือสูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ,
    ความเป็นแห่ง เอกคฺโค นั้นชื่อว่า เอกคฺคตา. เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น ไม่ใช่สัตว์ ท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส.
    ในหมวด ๒ บทว่า โลกิโย. วัฏฏะ ท่านกล่าวว่า โลโก เพราะอรรถว่าแตกสลายไป, สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิเนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าโลกิยะ.
    บทว่า โลกุตฺตโร ชื่อว่าอุตตระ เพราะข้ามไปแล้ว, ชื่อว่าโลกุตระ เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก.
    ในหมวด ๓ ชื่อว่า สวิตกฺกสวิจาโร เพราะสมาธิมีวิตกและวิจาร. สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ทำนองนั้น.
    ในสมาธิที่มีวิตกและวิจาร ชื่อว่า วิจารมตฺโต เพราะอรรถว่ามีแต่วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ.
    อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกันกับด้วยวิตกยิ่งกว่าวิจาร.
    ชื่อว่า อวิตกฺกวิจารมตฺโต เพราะสมาธินั้นไม่มีวิตกมีแต่วิจาร.
    แม้ใน ๓ อย่าง อาจารย์บางพวกก็ตัดออกไป. หมวด ๔ หมวดมีอธิบายไว้แล้ว.
    ในหมวด ๖ สตินั่นแลเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงชื่อว่า อนุสติ,
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนุสติ เพราะสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไปบ้าง,
    อนุสติเกิดขึ้นปรารภถึงพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสติ.
    บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระพุทธเจ้ามีพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์.
    ชื่อว่า อวิกฺเขโป เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้นนั่นเอง ไม่ฟุ้งซ่านโดยความเป็นปฏิปักษ์ของความฟุ้งซ่านอันได้แก่อุทธัจจะ.
    อนุสติเกิดขึ้นเพราะปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสติ.
    บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระธรรม มีความที่พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสติเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆานุสติ,
    บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระสงฆ์มีความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสติเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศีลมีความที่ศีลของตนไม่ขาดเป็นต้น.
    อนุสติเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของจาคะมีความที่ตนสละออกไปแล้ว.
    อนุสติเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าเทวตานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศรัทธาเป็นต้น ของตนเป็นอารมณ์ ตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นพยาน.
    ในหมวด ๗ บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิหลายประเภท โดยประเภทมีสมาธิอย่างเดียวเป็นต้นว่า นี้เป็นสมาธิอย่างนี้, นี้เป็นสมาธิอย่างนี้.
    บทนี้เป็นชื่อของปัญญากำหนดสมาธิ. ความเป็นผู้ฉลาดโดยวิธีทำให้สมาธิเกิด เพราะความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ.
    บทว่า สมาธิสส สมาปตติกุสสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ได้แก่ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิที่ทำให้เกิดแล้ว.
    ด้วยบทที่เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการเข้าสมาธิ.
    บทว่า สมาธิสส ฐิติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิที่เข้าแล้วตามความชอบใจด้วยความสามารถสืบต่อกันไป.
    ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการตั้งใจ.
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรนั้นยังอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมด้วยการถือเอานิมิต ย่อมสำเร็จเพียงอัปปนาเท่านั้น, ไม่ยั่งยืน. ส่วนฐานะที่ยั่งยืนย่อมมีได้ เพราะชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิไว้ด้วยดี.
    จริงอยู่ ภิกษุใดข่มกามฉันทะ ด้วยการพิจารณาโทษของกามเป็นต้นไว้ด้วยดีไม่ได้, การกระทำความหยาบช้าทางกายด้วยกายปัสสัทธิให้สงบด้วยดีไม่ได้. บรรเทาถีนมิทธะด้วยความใส่ใจถึง อารัมภธาตุคือความเพียรให้ดีไม่ได้, ถอนอุทธัจจะกุกกุจะด้วยใส่ใจถึงสมถนิมิต ให้ดีไม่ได้, ชำระธรรมอันเป็นอันตรายของสมาธิให้ดีไม่ได้ แล้วเข้าฌาน, ภิกษุนั้นออกจากฌานโดยเร็วทันที ดุจภมรเข้าไปยังที่อยู่อันไม่สะอาด และพระราชาเสด็จเข้าไปสู่อุทยานที่แสนจะสกปรก ย่อมออกไปโดยเร็วพลัน.
    ส่วนภิกษุใดชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิได้ดี แล้วเข้าฌาน, ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานภายในสมาบัติได้ตลอดวันทั้งสิ้น ดุจภมรเข้าไปยังที่อาศัยอันสะอาด, และพระราชาเสด็จเข้าไปยังอุทยานอันเรียบร้อย ย่อมอยู่ได้ตลอดวัน.
    ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
    กาเมสุ ฉนฺทํ ปฏิฆํ วิโนทเย
    อุทฺธจฺจถีนํ วิจิกิจฺฉปญฺจมํ,
    วิเวกปามุชฺชกเรน เจตสา
    ราชาว สุทฺธนฺตคโต ตหึ รเม.
    พระโยคาวจรผู้มีจิตทำความปราโมทย์ในวิเวก
    พึงบรรเทาความพอใจในกามทั้งหลาย ความเคียดแค้น
    ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่และความสงสัยเป็นที่ ๕, ดุจ
    พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่โดยเป็นระเบียบเรียบร้อย
    ทรงพึงพอพระทัย ณ ที่นั้น.
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจรผู้ประสงค์จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน พึงชำระธรรมอันเป็นข้าศึก แล้วจึงเข้าฌาน เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ฉลาดในการยังวิธีนั้นให้ถึงพร้อม แล้วจึงทำสมาธิให้ตั้งอยู่ได้นาน.
    บทว่า สมาธิสฺส วุฏฺฐานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ด้วยการออกตามเวลาที่กำหนดไว้แห่งสมาธิที่เป็นไปแล้วตามความพอใจด้วยการสืบต่อกันไป.
    พึงทราบว่าท่านทำเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสาปิ ธมฺมํ ปุริโส วิชญฺญา - บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมแม้จากผู้ใด.๑-
    ____________________________
    ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๔๗๐

    ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการออกจากสมาธิ.
    บทว่า สมาธิสฺส กลฺลตากุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ.
    ความว่า ความเป็นผู้ไม่เจ็บไข้ ความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า กลฺลตา. ความเจ็บไข้ ท่านกล่าวว่า อกลฺลโก
    แม้ในวินัย ท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลโก๒- - ท่านขอรับ ผมไม่เจ็บไข้.
    ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความไม่เจ็บไข้แห่งสมาธิ ด้วยความไม่มีความปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกของการได้ฌานดังที่ท่านกล่าวไว้ในอนังคณสูตร๓- และวัตถุสูตร และด้วยความปราศจากอุปกิเลสของจิตมีอภิชฌาเป็นต้น, ท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความงามของสมาธิ คือความเป็นผู้ฉลาดในความเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้ คือกิเลส.
    ____________________________
    ๒- วิ. มหาวิภังค เล่ม ๑/ข้อ ๑๕๒ ๓- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๔

    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กลฺลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน เพราะความที่คำว่า กลฺล เป็นไวพจน์ของกัมมัญญตา - ความเป็นผู้ควรแก่การงาน.
    ดังที่ท่านกล่าวว่า ยา จิตฺตสฺส อกลฺยตา อกมฺมญฺญตา๔- - ความที่จิตไม่สมประกอบ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน,
    และว่า กลฺลจิตฺตํ มุทุจิตฺตํ วินีวรณจิตฺตํ๕- - จิตควรแก่การงาน จิตอ่อนโยน จิตปราศจากนิวรณ์.
    ____________________________
    ๔- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๗๕๑ ๕- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๒๖

    กลฺล ศัพท์ในบทนี้มีความว่าควรแก่การงาน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความคล่องแคล่วแห่งสมาธิด้วยการฝึกจิต โดยอาการ ๑๔ อย่างเหล่านี้ คือ โดยอนุโลมแห่งกสิณ ๑ โดยปฏิโลมแห่งกสิณ ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งกสิณ ๑ โดยอนุโลมแห่งฌาน ๑ โดยปฏิโลมแห่งฌาน ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งฌาน ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌาน ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่กสิณ ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌานและกสิณ ๑ โดยการก้าวไปสู่องค์ ๑ โดยการก้าวไปสู่อารมณ์ ๑ โดยการก้าวไปสู่องค์และอารมณ์ ๑ โดยการกำหนดองค์ ๑ โดยการกำหนดอารมณ์ ๑ หรือโดยอาการ ๑๕ เพิ่มบทว่า โดยกำหนดองค์และอารมณ์ ๑.
    บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ.
    ความว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น อันเป็นโคจรแห่งสมาธิในอารมณ์เหล่านั้น ด้วยการทำความนึกถึงตามความพอใจ เพราะประสงค์จะเข้าฌานนั้นๆ.
    ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการนึกถึง ด้วยการนึกถึงกสิณ.
    อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิด้วยสามารถการแผ่กสิณไปในทิศาภาคนั้นๆ และด้วยสามารถการตั้งไว้นานแห่งกสิณที่ถูกต้องแล้วอย่างนี้.
    บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ.
    ความว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในการทำสมาธิต่างๆ โดยนัยความเป็นอันเดียวกัน ด้วยการน้อมเข้าไปสู่ความเป็นสมาธิสูงๆ.
    จริงอยู่ อุปจารฌานถึงความชำนาญ ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ปฐมฌาน หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา. ปฐมฌานเป็นต้นก็อย่างนั้น ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานเป็นต้น หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, จตุตถฌานย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่อรูปสมาบัติ หรือเพื่อประโยชน์แก่อภิญญา หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, อากาสานัญจายตนะย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่วิญญาณัญจายตนะเป็นต้น หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา.
    ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิในญาณนั้นๆ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
    ก็เพราะปัญญา ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด, ปัญญานั้นไม่ใช่สมาธิ, ฉะนั้น พึงทราบว่า สมาธิ ๗ อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถปัญญานำไปสู่สมาธิ.
    ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน.
    บทว่า สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่องค์ฌานปรากฏแก่ผู้เข้าฌาน.
    บทว่า ฐิติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออก ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่สมาธิแน่นแฟ้นไม่ฟุ้งซ่าน.
    บทว่า วุฏฺฐานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออก ได้แก่ รู้การออกจากนิวรณ์ในปฐมฌาน, รู้การออกจากองค์ในฌาน ๓, รู้การออกจากอารมณ์ในอรูปสมาบัติ, รู้การออกจากความฟุ้งซ่านในลักษณะอันมีประมาณยิ่ง, รู้การออกจากความพอใจของตนในกาลมีที่สุดและในกาลมีกิจที่ควรทำครั้งสุดท้าย.
    บทว่า กลฺลตากุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม ได้แก่ รู้ว่าความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ เพราะจิตสบาย ร่างกายสบาย อาหารสบาย เสนาสนะสบายและบุคคลสบาย.
    บทว่า โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจร ได้แก่ รู้เพื่อทำความกำหนดอารมณ์, รู้เพื่อทำความแผ่ไปยังทิศ, รู้เพื่อความเจริญ.
    บทว่า อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมเข้าไป ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปด้วยการใส่ใจโดยชอบในสมาธินั้นๆ, เมื่ออุปจาระถึงความชำนาญแล้ว ย่อมนำจิตเข้าไปในปฐมฌาน, ย่อมนำจิตเข้าไปในฌานสูงๆ ในอภิญญา ในอรูปสมาบัติและในวิปัสสนา.
    อาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาความแห่งบททั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในสมาธินั้นๆ ด้วยประการฉะนี้.
    หมวด ๘ มีอรรถดังกล่าวแล้ว.
    ในหมวด ๙ บทว่า รูปาวจโร ธรรมเป็นรูปาวจรเป็นไฉน? รูปาวจรเนื่องในรูปาวจรธรรม ดังที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เหฏฺฐโต พฺรหฺมโลกํ ปริยนฺตํ กริตฺวา อุปริโต อกนิฏฺเฐ เทเว อนฺโตกริตฺวา๖- เบื้องล่างทำพรหมโลกให้มีที่สุด เบื้องบนทำเทพชั้นอกนิฏฐ์เป็นที่สุด.
    ____________________________
    ๖- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๘๒๙

    ในข้อนี้มีวจนัตถะดังต่อไปนี้
    ชื่อว่ารูปาวจร เพราะอรรถว่ารูป ได้แก่ รูปขันธ์ย่อมเที่ยวไปในรูปภพนี้, ไม่ใช่กามภพ. เพราะว่าแม้รูปขันธ์ ท่านก็กล่าวว่ารูป ดุจในบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ รูปํ๗- - รูปขันธ์เป็นรูป.
    ____________________________
    ๗- อภิ. ยมก. เล่ม ๓๘/ข้อ ๒๔

    อนึ่ง รูปพรหมนั้นมี ๑๖ ชั้น คือ
    พรหมปาริสัชชะ ๑ พรหมปุโรหิต ๑ มหาพรหม ๑
    ปริตตาภา ๑ อัปปมาณาภา ๑ อาภัสสรา ๑
    ปริตตสุภา ๑ อัปปมาณสุภา ๑ สุภกิณหา ๑
    อสัญญีสัตว์ ๑ เวหัปผลา ๑
    อวิหา ๑ อตัปปา ๑ สุทัสสา ๑ สุทัสสี ๑ อกนิฏฐา ๑.
    ที่อยู่กล่าวคือรูปาวจรภพนั้น ท่านกล่าวว่ารูป เพราะลบบทหลัง, ชื่อว่ารูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปนั้น.
    อีกอย่างหนึ่ง รูป คือรูปภพ, ชื่อว่ารูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปภพนั้น.
    จริงอยู่ สมาธินี้เที่ยวไปแม้ในกามภพ แม้เมื่อเที่ยวไปในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่ารูปาวจรภพ เหมือนช้างได้ชื่อว่า สงฺคามาวจร เพราะเที่ยวไปในสงคราม แม้เที่ยวไปในเมืองก็เรียกว่าสังคามาวจร, เหมือนสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบนบกและเที่ยวไปในน้ำ แม้สัตว์เหล่านั้นจะอยู่ในที่ไม่ใช่บก ไม่ใช่น้ำ ก็เรียกว่าเที่ยวไปบนบก เที่ยวไปในน้ำ ฉะนั้น.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ารูปาวจร เพราะยังปฏิสนธิให้เที่ยวไปในรูปคือรูปภพ.
    บทว่า หีโน - เลว ได้แก่ ลามก.
    ภพในท่ามกลางของสมาธิเลวและสมาธิสูง ชื่อว่า มชฺโฌ - มัชฌะ ปาฐะว่า มชฺฌิโม - มัชฌิมะบ้าง. ความอย่างเดียวกัน, สมาธิถึงความเป็นประธาน ชื่อว่า ปณีโต - ประณีต ความว่าสูงที่สุด.
    พึงทราบสมาธิเหล่านั้นด้วยการประกอบไว้.
    ในขณะประกอบฉันทะ วีริยะ จิตตะหรือวิมังสาของสมาธิใดเลว, สมาธินั้นชื่อว่าหีนะ. ธรรมเหล่านั้นของสมาธิใดปานกลาง, สมาธินั้นชื่อว่ามัชฌิมะ. ของสมาธิใดประณีต สมาธินั้นชื่อว่าปณีตะ, หรือสมาธิสักว่าให้เกิดขึ้นก็ชื่อว่า หีนะ, เจริญไม่ค่อยดีนัก ชื่อว่า มัชฌิมะ, เจริญอย่างดียิ่งถึงความชำนาญ ชื่อว่าปณีตะ. อรูปาวจรสมาธิพึงทราบทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วในรูปาวจรสมาธิ.
    พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สุญฺญโต สมาธิ ดังต่อไปนี้
    เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้ว ด้วยอนัตตานุปัสนาของพระโยคาวจรผู้เห็นตามลำดับแห่งวิปัสสนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว โดยความเป็นของสูญในสังขารทั้งหลายที่ไม่มีตัวตน, ฉะนั้นจึงชื่อว่า สุญฺญตา.
    อริยมรรคสมาธิสำเร็จด้วยสุญญตานั้น ชื่อว่าสุญญตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งสุญญตะ.
    จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นไปโดยอาการที่วิปัสสนาเป็นไปแล้ว.
    เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้วด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อนิมิตว่าเที่ยง, ฉะนั้นจึงชื่อว่าอนิมิตตวิปัสสนา.
    อริยมรรคสมาธิสำเร็จด้วยวิปัสสนานั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตสมาธิ. อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากนิมิตที่เที่ยง.
    จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการอันเป็นไปแล้วแห่งวิปัสสนา. เมื่อการออกจากมรรค เกิดแล้วด้วยทุกขานุปัสสนา เพราะวิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความตั้งใจปรารถนา, ฉะนั้นจึงชื่อว่าอัปปณิหิตสมาธิ.
    อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากความตั้งใจปรารถนา.
    เพราะสมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการเป็นไปแล้วด้วยวิปัสสนา.
    พึงทราบว่า แม้ผลสมาธิ ๓ ก็เป็นเช่นนั้น เป็นอันท่านถือเอาด้วยสมาธิ ๓ เหล่านั้น. แต่ท่านไม่ยกประเภทของสมาธิมีสมาธิเลวเป็นต้น เพราะโลกุตรสมาธิเป็นสมาธิประณีต.
    ในหมวด ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุทฺธุมาตกสญฺญาวเสน ด้วยสามารถความสำคัญศพที่พองอืด
    ชื่อว่า อุทฺธุมาตํ เพราะขึ้นอืดด้วยความพองขึ้นพองขึ้นตามลำดับในเบื้องบน ด้วยลมดุจเครื่องสูบลม เพราะหมดชีวิต. การขึ้นอืดนั่นแล ชื่อว่า อุทฺธุมาตกํ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทฺธุมาตกํ เพราะขึ้นอืดน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น.
    สีที่แตกออกเรียก วินีลํ - สีเขียวน่าเกลียด, สีเขียวน่าเกลียดนั่นแล ชื่อว่า วินีลกํ. ชื่อว่า วินีลกํ เพราะสีเขียวน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพ มีสีแดงในที่ที่มีเนื้อสมบูรณ์, มีสีขาวในที่ที่อมหนอง, โดยมากมีสีเขียวในที่ที่มีสีเขียว คล้ายห่มผ้าสีเขียว.
    หนองไหลในที่ที่ผิวแตก ชื่อว่า วิปุพฺพํ, หนองไหลนั่นแลชื่อว่า วิปุพฺพกํ. ชื่อว่า วิปุพฺพกํ เพราะหนองน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น.
    ศพที่คลุมไว้โดยขาดออกเป็น ๒ ท่อน ท่านเรียก วิจฺฉิทฺทํ, ศพขาดเป็นท่อนนั่นแล ชื่อว่า วิจฺฉิทฺทกํ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจฺฉิทฺทกํ เพราะศพขาดเป็นท่อนน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่ขาดกลาง.
    ซากศพชื่อว่า วิกฺขายิตํ เพราะถูกสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นกัดโดยอาการต่างๆ ข้างนี้และข้างโน้น, เมื่อควรกล่าวว่า วิกฺขายิตํ ท่านกล่าวว่า วิกฺขายิตกํ - ซากศพที่ถูกสัตว์กัด,
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิกฺขายิตกํ เพราะซากศพถูกสัตว์กัด น่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    นี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น.
    ซากศพที่กระจายไปในที่ต่างๆ ชื่อว่า วิกฺขิตฺตํ, ซากศพที่กระจายไปนั่นแล ชื่อว่า วิกฺขิตฺตกํ, ชื่อว่า วิกฺขิตฺตกํ เพราะซากศพกระจายไปน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของซากศพที่กระจายไปจากที่นั้นๆ อย่างนี้ คือ มือไปข้างหนึ่ง เท้าไปข้างหนึ่ง ศีรษะไปข้างหนึ่ง.
    ซากศพชื่อว่า หตวิกฺขิตฺตกํ เพราะซากศพนั้นถูกฟันและกระจัดกระจายไปโดยนัยก่อนนั่นแล. บทนี้เป็นชื่อของซากศพที่ถูกฟันด้วยศัสตราที่อวัยวะน้อยใหญ่ โดยอาการเหมือนตีนกาแล้วกระจัดกระจายไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
    ซากศพชื่อว่า โลหิตกํ เพราะโลหิตไหลเรี่ยราดไปข้างโน้นข้างนี้.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เปรอะเปื้อนโลหิตไหลเรี่ยราดไป.
    ซากศพชื่อว่า ปุฬุวกํ เพราะหนอน ท่านเรียกว่า ปุฬุวา, โลหิตกระจายไปบนหนอน.
    บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน.
    กระดูกนั่นแล ชื่อว่า อฏฺฐิกํ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อฏฺฐิกํ เพราะกระดูกน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.
    บทนี้เป็นชื่อของโครงกระดูกบ้าง ของกระดูกชิ้นเดียวบ้าง.

    ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อของนิมิตที่เกิดเพราะอาศัยซากศพที่เป็นอุทธุมาตกะเป็นต้นบ้าง ของฌานที่ได้ แล้วในนิมิตทั้งหลายบ้าง. แต่ในอุทธุมาตกนิมิตนี้ สัญญาที่เกิดด้วยสามารถอัปปนากำหนดเอาอาการที่น่าเกลียด ชื่อว่าอุทธุมาตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญานั้น ชื่อว่าอุทธุมาตกสัญญาวสะ.
    แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
    บทว่า ปญฺจปญฺญาส สมาธี สมาธิ ๕๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่งเป็นต้น.
    [๙๓] พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประเภทของสมาธิด้วยสามารถหมวดหนึ่งเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะแสดงสมาธิโดยปริยายแม้อื่นจึงแสดงปรารภปริยายอื่นว่า อปิจ ดังนี้แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า ปญฺจวีสติ - ๒๕.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิสฺส สมาธิฏฺฐา คือ สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ, สมาธินั้นย่อมมีได้โดยสภาพใด, สภาพเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในสมาธินั้น.
    บทว่า ปริคฺคหฏฺเฐน สมาธิ คือ เพราะสมาธิอันอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น กำหนดถือเอา ฉะนั้น ชื่อว่าสมาธิ โดยสภาพอัน สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา.
    อนึ่ง อินทรีย์เหล่านั้นนั่นแลย่อมเป็นบริวารของกันและกัน และย่อมเป็นอินทรีย์บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์. เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว เพราะเพ่งอารมณ์เดียวด้วยอำนาจสมาธิแห่งอินทรีย์เหล่านั้น, เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเพ่งความไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ,
    พึงทราบว่า ท่านไม่ถืออรรถว่ากำหนดถือเอาความเที่ยง และอรรถว่าไม่แส่ไปไว้ในที่นี้ในภายหลัง เพราะควรบรรลุด้วยการกำหนดถือวีริยพละใหญ่แห่งโลกุตระนั่นเอง และเพราะไม่มีความแส่ไปด้วยความเสื่อมแห่งโลกุตรมรรค.
    ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัวโดยไม่มีกิเลสเกิดขึ้น.
    ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะความไม่หวั่นไหว,
    ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส เพราะพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ หรือด้วยการตัดเด็ดขาด และเพราะน้อมไปในอารมณ์.
    บทว่า เอกตฺตุปฏฺฐานวเสน จิตฺตสฺส ฐิตตฺตา เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว.
    ความว่า เพราะความที่จิตตั้งมั่นโดยไม่หวั่นไหวในอารมณ์แห่งจิต ด้วยสามารถการตั้งมั่นอย่างหนักในอารมณ์เดียว ด้วยการประกอบสมาธินั่นเอง.
    พึงทราบว่า ในคู่ ๘ ท่านกล่าวถึงคู่ ๓ เหล่านี้ คือ
    ย่อมแสวงหา ย่อมไม่แสวงหา คู่ที่ ๑,
    ย่อมถือเอา ย่อมไม่ถือเอา คู่ที่ ๒,
    ย่อมปฏิบัติ ย่อมไม่ปฏิบัติคู่ที่ ๓
    ด้วยความไม่เหลือแห่งจิตที่น้อมไปในท่ามกลาง ความอ่อนแห่งอุปจาระในส่วนเบื้องต้นจากวิถีแห่งอัปปนา.
    พึงทราบบทนี้ว่า ฌายติ ฌาเปติ - ย่อมเพ่ง ย่อมเผาด้วยสามารถอุปจาระ ในวิถีแห่งอัปปนา.
    พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงคู่ ๔ เหล่านี้ คือ เพราะแสวงหา เพราะไม่แสวงหา คู่ที่ ๑, เพราะยึดมั่น เพราะไม่ยึดมั่น คู่ที่ ๒, เพราะปฏิบัติแล้ว เพราะไม่ปฏิบัติแล้ว คู่ที่ ๓, เพราะเผาแล้ว เพราะไม่เผาแล้ว คู่ที่ ๔ ด้วยสามารถแห่งอัปปนา.
    ในบทเหล่านั้นบทว่า สมํ ในบทมีอาทิว่า สมํ เอสตีติ สมาธิ ได้แก่ อัปปนา.
    จริงอยู่ อัปปนานั้นชื่อว่าสมา เพราะสงบ คือยังธรรมเป็นข้าศึกให้ฉิบหายไป.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสมา เพราะเกิดจากความไม่มีความไม่สงบอันเป็นข้าศึก. สมาธิย่อมแสวงหาความสงบนั้น คือย่อมแสวงหาด้วยอัธยาศัย.
    อิติศัพท์เป็นการณัตถะ แปลว่า เพราะเหตุนั้น.
    อธิบายว่า เพราะแสวงหาความสงบ ฉะนั้นจึงชื่อว่าสมาธิ.
    บทว่า วิสมํ เนสติ ความว่า ไม่แสวงหาความไม่สงบอันเป็นข้าศึกของฌานนั้นๆ.
    จริงอยู่ สมาธิอันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นสมาธิอ่อน ชื่อว่าย่อมแสวงหาความสงบ, ไม่แสวงหาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิต้น. สมาธิเป็นกลาง ชื่อว่าย่อมถือเอาความสงบ, ไม่ถือเอาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิมั่นคง.
    สมาธิมีประมาณยิ่ง ชื่อว่าย่อมปฏิบัติความสงบ, ไม่ปฏิบัติความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิใกล้วิถีแห่งอัปปนา.
    บทว่า สมํ ฌายติ เป็นภาวนปุงสกะ. ความว่า เป็นความสงบจึงเพ่ง, หรือเพ่งด้วยอาการสงบ.
    จริงอยู่ สมาธิในวิถีแห่งอัปปนาย่อมเป็นไปโดยอาการสงบ เพราะสงบโดยปราศจากธรรมอันเป็นข้าศึก และเพราะตั้งอยู่ด้วยความเป็นสมาธิเกื้อหนุนอัปปนาอันสงบแล้ว.
    บทว่า ฌายติ มีความรุ่งเรือง ดุจในประโยคมีอาทิว่า ประทีปในพลับพลาเหล่านี้ ย่อมรุ่งเรืองตลอดคืน๙-, และประทีปน้ำมันย่อมรุ่งเรืองตลอดคืน, ประทีปน้ำมันพึงรุ่งเรือง๑๐- ในพลับพลานี้.
    ปาฐะว่า สมํ ชายติ บ้าง ความว่า สมาธิย่อมเกิดด้วยอาการสงบ,
    ปาฐะก่อนดีกว่า เพราะความเป็นคู่ว่า ฌายติ ฌาเปติ - เพ่งความสงบ เผาความไม่สงบ.
    ____________________________
    ๙- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๙๒ ๑๐- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๒๐๑

    อนึ่ง บทว่า ฌาเปติ - เอาความว่าเผา. เพราะว่า สมาธินั้นชื่อว่าย่อมเผาธรรมเป็นข้าศึกด้วยทำให้ไกลกว่า.
    ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิด้วยบทมีอาทิว่า เอสิตตฺตา เนสิตตฺตา - เพราะแสวงหา เพราะไม่แสวงหา เพราะการแสวงหาและการไม่แสวงหาเป็นต้น สำเร็จด้วยอัปปนา.
    บทว่า สมํ ฌาตตฺตา - เพราะเพ่งความสงบ คือ เพราะรุ่งเรืองเสมอ.
    ปาฐะว่า สมํ ชาตตฺตา - เพราะเกิดเสมอบ้าง.
    ความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ เหล่านี้ คือ สมาธิ ๑๖ ด้วยสามารถแห่งคู่ ๘ เหล่านี้, และสมาธิ ๙ มีข้างต้น.
    ก็บทนี้ว่า สโม จ หิโต จ สุโข จา สมาธิ ชื่อว่าสมาธิ เพราะเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและเป็นความสุข ท่านกล่าวเพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งสมาธิอันสำเร็จแล้วด้วยอาการ ๒๕.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า สโม มีความแห่ง สม ศัพท์, หรือ สํ ศัพท์.
    จริงอยู่ สมาธินั้น ชื่อว่า สโม เพราะเว้นจากความไม่สงบอันกำเริบที่เป็นข้าศึก.
    บทว่า หิโต มีความแห่งอธิศัพท์. อธิบายว่า ตั้งอยู่ในอารมณ์ คือให้ตั้งอยู่ด้วยทำความไม่หวั่นไหว.
    ท่านอธิบายว่า ด้วยบททั้ง ๒ ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบและตั้งมั่น.
    บทว่า สุโข ชื่อว่าสุโข เพราะอรรถว่าสงบ.
    แม้สมาธิสหรคตด้วยอุเบกขา ท่านก็ถือเอาด้วยสุขศัพท์ มีอรรถว่าสงบเพราะ ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในความสงบ คือในความสุขอันประณีตและอุเบกขา ท่านกล่าวว่าเป็นความสุขเพราะสงบ.
    ท่านกล่าวสมาธิทั้งหมดไว้ในที่นี้โดยไม่มีกำหนด. จึงเป็นอันท่านกล่าวเหตุของความตั้งมั่นด้วยสุขศัพท์นั้น.
    พึงทราบคำอธิบายว่า เพราะสมาธิเป็นความสงบ, ฉะนั้น สมาธิจึงตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ด้วยประการฉะนี้.
    จบอรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
     

แชร์หน้านี้

Loading...