กรรมฐานเบื้องต้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    กรรมฐานเบื้องต้น



    ?temp_hash=3ce2ed620fff4f020f2fc3afbe4c481a.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาคปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท

    หน้าต่างที่ ๒ / ๒.




    [กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]

    กุลบุตรควรชำระศีล ๔ อย่างให้หมดจดก่อน.
    ในศีลนั้นมีวิธีชำระให้หมดจด ๓ อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว ๑ ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย ๑.
    จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือวัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔.
    จริงอยู่ กุลบุตรใดพึงกล่าวว่า เรารักษาศีลอยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้นจักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์ ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง.
    สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่บำเพ็ญธรรม คืออภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
    เรื่องนี้ควรให้พิสดาร.
    เพราะเหตุฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.
    เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความกังวล) อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่างที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
    ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น คือ
    อาวาส ๑ ตระกูล ๑ ลาภ (คือปัจจัยสี่) ๑ คณะ
    (คือหมู่) ๑ การงาน (คือการก่อสร้าง) เป็นที่
    คำรบห้า ๑ อัทธานะ (คือเดินทางไกล) ๑
    ญาติ ๑ อาพาธ ๑ คัณฐะ (คือการเรียนปริยัติ) ๑
    อิทธิฤทธิ์ ๑.
    กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนี้แล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.

    ------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑- องฺ.ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๒๑/หน้า ๑๕-๑๖.
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]


    กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑

    ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑.


    บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง.
    จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น.
    แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์.
    อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
    เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
    ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.
    ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้.
    ส่วนความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่าด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]


    อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.
    จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ ๕ อย่าง]


    ในอธิการว่าด้วยการเรียนกรรมฐานนั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้ :-


    ภิกษุนั้นควรเป็นผู้มีความประพฤติเบา สมบูรณ์ด้วยวินัยและมรรยาทเข้าไปหาอาจารย์ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว พึงเรียนกรรมฐานมีสนธิ ๕ ในสำนักของอาจารย์นั้นผู้มีจิตอันตนให้ยินดี ด้วยวัตรและข้อปฏิบัติ.
    ในคำว่า กรรมฐานมีสนธิ ๕ นั้น สนธิมี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียน ๑ ปริปุจฉา การสอบถาม ๑ อุปัฏฐานะ ความปรากฏ ๑ อัปปนา ความแน่นแฟ้น ๑ ลักษณะ ความกำหนดหมาย ๑.
    ในอุคคหะเป็นต้นนั้น การเรียนกรรมฐาน ชื่อว่าอุคคหะ. การสอบถามกรรมฐาน ชื่อว่าปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐาน ชื่อว่าอุปัฏฐานะ. ความแน่วแน่แห่งกรรมฐาน ชื่อว่าอัปปนา. ลักษณะแห่งกรรมฐาน ชื่อว่าลักษณะ.
    มีคำอธิบายว่า ความใคร่ครวญแห่งสภาพกรรมฐานว่า กรรมฐานนี้มีลักษณะอย่างนี้. ภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐานซึ่งมีสนธิ ๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก ทั้งไม่ต้องรบกวนอาจารย์ให้ลำบาก. เพราะฉะนั้น ควรเรียนอาจารย์ให้บอกแต่น้อย สาธยายตลอดเวลาเป็นอันมาก.
    ครั้นเรียนกรรมฐานซึ่งมีสนธิ ๕ อย่างนั้นแล้ว ถ้าในอาวาสนั้นมีเสนาสนะเป็นต้นเป็นที่สบายไซร้ ควรอยู่ในอาวาสนั้นนั่นแล. ถ้าในอาวาสนั้นไม่มีเสนาสนะเป็นที่สบายไซร้ ควรบอกลาอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปัญญาอ่อน ควรไปสิ้นระยะโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง. ถ้าเป็นผู้มีปัญญากล้าก็ควรไปแม้ไกล (กว่านั้น) ได้แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์แห่งเสนาสนะ ๕ อย่าง เว้นเสนาสนะที่มีโทษ ๑๘ อย่าง แล้วพักอยู่ในเสนาสนะนั้น ตัดปลิโพธหยุมหยิมเสีย ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว บรรเทาความเมาอาหาร ทำจิตให้ร่าเริงด้วยการอนุสรณ์ถึงคุณพระรัตนตรัย ไม่หลงลืมกรรมฐานแม้บทหนึ่ง แต่ที่เรียนเอาจากอาจารย์ พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้.
    ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ มีความสังเขปเท่านี้.
    ส่วนความพิสดาร นักศึกษาผู้ต้องการกถามรรคนี้ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน ๘ อย่าง]

    ก็ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ มีมนสิการวิธีดังต่อไปนี้ :-
    คือ การนับ การตามผูก การถูกต้อง การหยุดไว้ การกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความหมดจดและการเห็นธรรมเหล่านั้นแจ่มแจ้ง.
    การนับนั่นแล ชื่อว่าคณนา. การกำหนดตามไป ชื่อว่าอนุพันธนา. ฐานที่ลมถูกต้อง ชื่อว่าผุสนา. ความแน่วแน่ชื่อว่าฐปนา. ความเห็นเห็นแจ้ง ชื่อว่าสัลลักขณา. มรรค ชื่อว่าวิวัฏฏนา. ผลชื่อว่าปาริสุทธิ. การพิจารณา ชื่อว่า เตสัญจ ปฏิปัสสนา.


    [อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก] บรรดามนสิการวิธีมีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า ๕ ไม่ควรนับให้เกินกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง.
    เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า ๕ จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสคับแคบ ดุจฝูงโคที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า ๑๐ ไป จิตตุปบาทก็พะวงอยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อมหวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ.
    เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษเหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้าๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก.
    จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือกตวงเต็มทะนานแล้วบอกว่า ๑ จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย จึงบอกว่า ๑-๑.
    ในคำว่า ๒-๒ เป็นต้น ก็นัยนี้.
    กุลบุตรแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏพึงจับเอาส่วนนั้น แล้วพึงกำหนดลมที่กำลังผ่านไปๆ ตั้งแต่ต้นว่า ๑-๑ ไป จนถึงว่า ๑๐-๑๐ เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะที่กำลังผ่านออกและผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.
    ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้าๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็วๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง นายโคบาลผู้ฉลาดเอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพดไปสู่คอกแต่เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้วๆ ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า ๑-๒ เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบตลอดราตรี ๓ ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็นหมู่ๆ. นายโคบาลนั้นย่อมนับอย่างรวดเร็วทีเดียวว่า ๓-๔-๕-๑๐ เป็นต้น.
    แม้เมื่อกุลบุตรนี้นับอยู่โดยนัยก่อนอย่างว่ามาแล้วนี้ ลมอัสสาสะและปัสสาสะย่อมปรากฏสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว. ลำดับนั้น เธอรู้อยู่ว่า ลมอัสสาสะและปัสสาสะย่อมสัญจรไปมาอย่างรวดเร็ว แล้วไม่ถือเอาลมภายในและภายนอก พึงกำหนดเฉพาะลมที่มาถึงช่องๆ เท่านั้น นับอย่างเร็วๆ ทีเดียวว่า
    ๑-๒-๓-๔-๕
    ๑-๒-๓-๔-๕-๖
    ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗
    ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘
    ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙
    ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๑๐.
    เพราะว่าในกรรมฐานที่เนื่องด้วยการนับ จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ด้วยกำลังแห่งการนับเท่านั้น ดุจการหยุดเรือไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยอำนาจที่เอาถ่อค้ำไว้ฉะนั้น. เมื่อเธอนับอยู่เร็วๆ อย่างนี้กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นดุจว่า ดำเนินไปไม่ขาดสาย. เวลานั้น ครั้นเธอรู้ว่า กรรมฐานดำเนินไปไม่ขาดสายแล้ว อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็วๆ ตามนัยก่อนนั่นแล.
    เมื่อเธอส่งจิตเข้าไปพร้อมกับลมที่เข้าไปภายใน ฐานภายในถูกลมกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยมันข้นฉะนั้น. เมื่อนำจิตออกมาพร้อมกับลมที่ออกมาภายนอก จิตย่อมส่ายไปในอารมณ์มากหลายในภายนอก. แต่ภาวนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งสติไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้อง เจริญอยู่เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็วๆ ตามนัยก่อนนั่นแล.
    ถามว่า จะพึงนับลมอัสสาสะและปัสสาสะนั่น นานเท่าไร?
    แก้ว่า พึงนับไปจนกว่าสติที่เว้นจากการนับจะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ คือลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เพราะว่าการนับ ก็เพื่อจะตัดวิตกที่พล่านไปในภายนอก แล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์คือลมอัสสาสะและปัสสาสะเท่านั้น.
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดลมหายใจเข้าออก]

    พระโยคาวจร ครั้นมนสิการโดยการนับอย่างนั้นแล้ว พึงมนสิการโดยการตามผูก. กิริยาที่หยุดพักการนับแล้วส่งสติไปตามลมอัสสาสะและปัสสาสะติดต่อกันไป ชื่อว่าการตามผูก. ก็แลการส่งสติไปตามนั้น หาใช่ด้วยอำนาจการไปตามเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด (แห่งลมอัสสาสะ) ไม่.
    จริงอยู่ นาภี (สะดือ) เป็นเบื้องต้นแห่งลมออกไปภายนอก หทัย (หัวใจ) เป็นท่ามกลาง นาสิก (จมูก) เป็นที่สุด. ปลายนาสิกเป็นเบื้องต้นแห่งลมเข้าไปภายใน หทัยเป็นท่ามกลาง นาภีเป็นที่สุด.
    ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้นไปตามเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด (แห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ) นั้น จิตที่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นไปเพื่อความกระวนกระวาย และเพื่อความหวั่นไหว.
    เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
    เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายใน เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายนอก.๑-
    เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร เมื่อมนสิการโดยการตามผูก ไม่พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อนึ่งแลพึงมนสิการด้วยอำนาจการถูกต้อง และด้วยอำนาจการหยุดไว้ เพราะว่าไม่มีการมนสิการเป็นแผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการถูกต้องและหยุดไว้ เหมือนกับด้วยอำนาจแห่งการนับและการตามผูก. แต่พระโยคาวจรเมื่อนับอยู่ในฐานที่ลมถูกต้องแล้วๆ นั่นแหละชื่อว่ามนสิการด้วยการนับและการถูกต้อง.
    พระโยคาวจร เมื่อหยุดพักการนับในฐานที่ลมถูกต้องแล้วๆ นั้นนั่นแล ใช้สติตามผูกลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น และตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ท่านเรียกว่ามนสิการด้วยการตามผูก การถูกต้องและการหยุดไว้.
    ใจความนี้นั้น พึงทราบด้วยข้ออุปมาเหมือนคนง่อยและคนรักษาประตูที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา และด้วยข้ออุปมาเหมือนเลื่อยที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา.
    ____________________________
    ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๖๙/หน้า ๒๔๙.
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า]


    บรรดาข้ออุปมา ๓ อย่างนั้น ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้ามีดังต่อไปนี้ :-



    เปรียบเหมือนคนง่อยไกวชิงช้า ให้แก่มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่ แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั้นนั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำดับ ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด
    ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอันเข้าไปผูกไว้ด้วยอำนาจสติแล้วโล้ชิงช้าคือลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่ด้วยสติ ในนิมิตนั้นนั่นเองส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก ในฐานที่ลมถูกต้องแล้วซึ่งพัดผ่านมาและผ่านอยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่านั้น.
    นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนคนง่อย.
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู] ส่วนข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตูมีดังต่อไปนี้ :-
    คนรักษาประตูจะไม่สอบสวนบุรุษทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกพระนครว่า ท่านเป็นใคร? มาแต่ไหน? จะไปไหน? หรือว่า ในมือของท่านมีอะไร?
    ความจริง พวกมนุษย์ผู้เดินไปทั้งภายในและภายนอกพระนครเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนรักษาประตูนั้น แต่เขาย่อมสอบสวนเฉพาะคนผู้มาถึงประตูแล้วๆ เท่านั้น แม้ฉันใด ลมที่เข้าไปข้างในและลมที่ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เป็นหน้าที่ของภิกษุนี้ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นหน้าที่ก็เฉพาะแต่ลมที่มาถึงช่องแล้วๆ เท่านั้น.
    นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู.
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [การกำหนดลมหายใจเปรียบเหมือนเลื่อย]

    ส่วนข้ออุปมาเหมือนเลื่อย ควรทราบจำเดิมแต่ต้นไป.
    สมดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
    นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
    ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ
    เมื่อบุคคลไม่รู้ธรรมทั้ง ๓ ประการ ย่อมไม่
    ได้ภาวนา (ภาวนาย่อมไม่สำเร็จ).
    นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
    ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ
    เมื่อบุคคลรู้ซึ่ธรรม ๓ ประการ ย่อมได้ภาวนา.
    ถามว่า ธรรม ๓ ประการเหล่านี้จะไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวและธรรม ๓ ประการเหล่านี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ แลพระโยคาวจรจะทำประโยคให้สำเร็จ ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างไร.
    แก้ว่า เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมปรากฏด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ และเขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป ทั้งฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน (ความเพียรในการตัดต้นไม้) ย่อมปรากฏ และเขาย่อมให้ประโยค (กิริยาที่ตัดต้นไม้นั้น) สำเร็จได้.๑-
    นิมิตคือสติเป็นเครื่องเข้าไปผูกไว้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เปรียบเหมือนฟันเลื่อย. ภิกษุนั้นตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ย่อมไม่ใฝ่ใจถึงลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานย่อมปรากฏ และภิกษุนั้นย่อมให้ประโยคสำเร็จได้ ทั้งบรรลุคุณพิเศษด้วย เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกต้นไม้ เขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ทั้งฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานย่อมปรากฏ และเขาย่อมทำประโยคให้สำเร็จได้ ฉะนั้น.
    ____________________________
    ๑- บาลีที่มาเดิม มีศัพท์ว่า วิเสสมธิจฺฉติ. ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๔/หน้า ๒๕๗.

    คำว่า ประธาน ความว่า ประธานเป็นไฉน?
    กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมควรแก่การงาน, นี้เป็นประธาน.
    ประโยคเป็นไฉน? ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป, นี้เป็นประโยค.
    คุณพิเศษเป็นไฉน? ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมหมดสิ้นไป, นี้เป็นคุณพิเศษ.
    ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และธรรม ๓ ประการเหล่านี้จะไม่ปรากฏ ก็หามิได้, จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน, ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ, และพระโยคาวจรทำให้ประโยค (การหมั่นประกอบภาวนา) สำเร็จได้ ทั้งได้บรรลุคุณพิเศษด้วย.
    ภิกษุใด เจริญอานาปานัสสติให้บริบูรณ์ดี
    อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
    ไว้แล้ว, ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือน
    พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้นแล.๒-
    ____________________________
    ๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๓๘๖/หน้า ๒๕๗.

    ข้อนี้อุปมาเหมือนเลื่อย.
    ก็ในข้ออุปมาเหมือนเลื่อยนี้ พึงทราบว่า เหตุเพียงไม่ใฝ่ใจด้วยอำนาจลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ผ่านมาแล้วๆ เท่านั้น เป็นประโยชน์แก่ภิกษุนั้น. กรรมฐานนี้เมื่อภิกษุบางรูป มนสิการนิมิต ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ชักช้าเลย และฐปนากล่าวคืออัปปนา ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌานที่เหลือ ก็ย่อมสำเร็จ. แก่สำหรับภิกษุบางรูปมีจำเดิมแต่เวลามนสิการโดยอำนาจการนับนั่นแล คือตั้งแต่เวลาทำไว้ในใจด้วยอำนาจการนับ เมื่อความกระวนกระวายทางกายสงบไป ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่หยาบดับไปโดยลำดับ กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมเป็นของเบา ร่างกายย่อมเป็นดุจถึงอาการลอยขึ้นไปในอากาศเหมือนภิกษุผู้มีกายกระสับกระส่าย เมื่อนั่งลงบนเตียงหรือตั่งเตียงและตั่งย่อมโอนเอน คดงอไป เครื่องปูลาดย่อมย่นเป็นเกลียว, แต่เมื่อเธอมีกายไม่กระสับกระส่าย นั่งลง เตียงและตั่งย่อมไม่โอนเอน ไม่คดงอ เครื่องปูลาดก็ไม่ย่นเป็นเกลียว, เตียงตั่งเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น,
    เพราะเหตุไร?
    เพราะเหตุว่า กายไม่กระสับกระส่าย ย่อมเป็นของเบาฉะนั้น.
    เมื่อลมอัสสาสะและปัสสาสะที่หยาบดับไปแล้ว จิตของภิกษุนั้นมีนิมิต คือลมอัสสาสะและปัสสาสะที่ละเอียดเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นไป, แม้เมื่อจิตดวงนั้นดับไปแล้ว จิตดวงต่อๆ ไปซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ละเอียดจนละเอียดกว่าจิตนั้น ย่อมเป็นไปนั่นเทียว.
    ถามว่า จิตดวงต่อๆ ไป ย่อมเป็นไปอย่างไร?
    แก้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาซี่เหล็กท่อนใหญ่ตีกังสดาล ด้วยการตีเพียงครั้งเดียว เสียงดังพึงเกิดขึ้น, จิตของบุรุษนั้นซึ่งมีเสียงดัง (หยาบ) เป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, เมื่อเสียงดังดับไป ต่อจากนั้นภายหลัง จิตซึ่งมีเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, แม้เมื่อจิตซึ่งมีนิมิต คือเสียงละเอียดเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว จิตดวงต่อๆ ไปซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต ซึ่งมีนิมิตคือเสียงละเอียดเป็นอารมณ์นั้น ย่อมเป็นไปทีเดียว ฉันใด, จิตซึ่งมีนิมิตคือลมอัสสาสะและปัสสาสะเป็นอารมณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปฉันนั้น.
    แม้ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า๓-
    เปรียบเหมือนบุคคลตีกังสดาล (เสียงดังคือเสียงหยาบ ย่อมกระจายไปก่อน) ดังนี้เป็นต้น.

    ๓- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๖/หน้า ๒๗๙.

    ควรให้พิสดาร.
    เหมือนอย่างว่า กรรมฐานเหล่าอื่นย่อมปรากฏชัดในชั้นสูงๆ ขึ้นไปฉันใด อานาปานัสสติกรรมฐานนี้จะเป็นฉันนั้น ก็หามิได้. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เมื่อภิกษุเจริญๆ ในชั้นสูงขึ้นไป ย่อมถึงความเป็นของละเอียด คือจะไม่ถึงแม้ความปรากฏ.
    ก็เมื่อกรรมฐานนั้นไม่ปรากฏอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ควรลุกขึ้นจากอาสนะ ตบท่อนหนังไปเสีย. ไม่ควรลุกขึ้นด้วยคิดว่า จะพึงทำอย่างไร? เราจักถามพระอาจารย์ หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมแล้ว.
    จริงอยู่ เมื่อเธอให้อิริยาบถกำเริบเดินไป กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นของใหม่ๆ เรื่อยไป เพราะเหตุนั้น ควรนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละ นำกรรมฐานมาจากที่ถูกต้องตามปกติ.
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา]


    ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมาดังต่อไปนี้ :-
    จริงอยู่ ภิกษุนั้นรู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียกอย่างนี้ว่า ชื่อว่าลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน? ไม่มีในที่ไหน? ของใครมี? ของใครไม่มี?
    ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาดูอยู่อย่างนี้ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี, พวกชนผู้ดำน้ำก็ไม่มี, พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านผู้เข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตักเตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    แน่ะบัณฑิต! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา ไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน ไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ? ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ๆ แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.
    ภายหลัง เธอนั่นควรตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจที่ลมถูกต้องโดยปกตินั่นเอง ให้มนสิการเป็นไป. จริงอยู่ ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้กระทบโครงจมูกของผู้มีจมูกยาวผ่านไป, กระทบริมฝีปากข้างบนของผู้มีจมูกสั้นผ่านไป. เพราะฉะนั้น เธอนั่นจึงควรตั้งนิมิตไว้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมกระทบฐานชื่อนี้.
    ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงตรัสว่า๑-
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานัสสติ แก่ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่.
    ____________________________
    ๑- ม. อุป. เล่ม ๑๔/ข้อ ๒๘๙/หน้า ๑๙๖-๑๙๗.
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่นนอกจากอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ, เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ในใจ. เพราะฉะนั้น ในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้จำต้องปรารถนาสติและปัญญาอันมีกำลัง.
    เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้องปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็มก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียดกว่านั้นฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.
    ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ.
    เปรียบเหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากินแล้วพึงนั่งพักที่ร่มไม้, คราวนั้น พวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไปโดยเร็ว.
    ชาวนาผู้ฉลาดประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินตามรอยเท้าโคถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง. โดยที่แท้ เขาจะถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไปยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้น เขาได้เห็นโคเหล่านั้นซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่าน้ำดื่มอาบและกินน้ำแล้ว ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการงานอีกฉันใด.
    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้าและหายใจออก นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ แต่พึงถือเอาเชือก คือสติและประตักคือปัญญาแล้ว ตั้งจิตไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ ยังมนสิการให้เป็นไป. เพราะว่า เมื่อเธอมนสิการอยู่อย่างนั้นต่อกาลไม่นานเลย ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้นจะปรากฏดุจพวกโคปรากฏที่ท่าลงดื่มฉะนั้น.
    ในลำดับนั้น เธอพึงเอาเชือกคือสติผูกประกอบไว้ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วแทงด้วยประตักคือปัญญาตามประกอบกรรมฐานอีก. เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย นิมิตจะปรากฏ.
    อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า ก็นิมิตนี้นั้นย่อมไม่เป็นเช่นเดียวกันแก่พระโยคาวจรทุกรูป. อนึ่งแล นิมิตนั้นย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูปดุจปุยนุ่น ดุจปุยฝ้ายและดุจสายลม ให้เกิดสุขสัมผัส.
    ส่วนวินิจฉัยในอรรถกถา มีดังต่อไปนี้:-
    จริงอยู่ นิมิตนี้ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจดวงดาว ดุจพวงแก้วมณีและดุจพวงแก้ว มุกดา, บางรูปปรากฏเป็นของมีสัมผัสหยาบ ดุจเมล็ดฝ้ายและดุจเสี้ยนไม้แก่น, บางรูปปรากฏเป็นดุจสายสังวาลที่ยาว ดุจพวงแห่งดอกคำและดุจเปลวควันไฟ, บางรูปดุจใยแมงมุมที่กว้าง ดุจช่อกลีบเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ ดุจมณฑลพระจันทร์และดุจมณฑลพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
    ก็แลกรรมฐานนี้นั้นเป็นอันเดียวกันแท้ๆ แต่ปรากฏโดยความต่างกัน เพราะมีสัญญาต่างกัน เหมือนบรรดาภิกษุหลายรูปด้วยกันนั่งสาธยายพระสูตรอยู่ เมื่อภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า พระสูตรนี้ย่อมปรากฏแก่พวกท่านเป็นเช่นไร?
    รูปหนึ่งพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแม่น้ำไหลตกจากภูเขาใหญ่, อีกรูปอื่นพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแนวป่าแห่งหนึ่ง, รูปอื่นพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนรุกชาติที่เพียบพร้อมด้วยภาระคือผลไม้ซึ่งมีร่มเงาเย็น สมบูรณ์ด้วยกิ่ง.
    จริงอยู่ พระสูตรของเธอเหล่านั้นก็เป็นสูตรเดียวกันนั่นเอง แต่ปรากฏโดยความเป็นของต่างกัน เพราะมีสัญญาต่างกัน ฉะนั้น. ความจริง กรรมฐานนี้เกิดแต่สัญญา มีสัญญาเป็นต้นเหตุ มีสัญญาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดยความต่างกัน เพราะมีสัญญาต่างกัน.
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [อุบายสำหรับรักษาอานาปานัสสติกรรมฐานไม่ให้เสื่อม]

    ในอธิการแห่งอานาปานัสสติกรรมฐานนั้น มีอุบายสำหรับรักษาดังต่อไปนี้ :-
    ภิกษุนั้นควรเว้นอสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านี้ คือ อาวาส ๑ โคจร ๑ การสนทนา ๑ บุคคล ๑ โภชนะ ๑ ฤดู ๑ อิริยาบถ ๑ แล้วเสพสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านั้นนั่นแล มนสิการนิมิตนั้นบ่อยๆ .
    พระโยคีนั้น ครั้นทำนิมิตให้มั่นคงด้วยการเสพสัปปายะอย่างนั้นแล้ว ควรรอคอยความเจริญงอกงามไพบูลย์ บำเพ็ญความเพียรไม่ละทิ้งอัปปนาโกศล ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ ทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ประคองอินทรีย์ให้เป็นไปเสมอ ๑ ฉลาดในนิมิต ๑ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตในสมัยที่ควรเพ่งดู ๑ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ น้อมไปในสมาธินั้น ๑.
    เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวาราวัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นในขณะที่ควรกล่าวว่าอัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป. บรรดาชวนะทั้งหลาย ๔ หรือ ๕ ดวงยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรกชื่อบริกรรม, ที่ ๒ ชื่ออุปจาระ, ที่ ๓ ชื่ออนุโลม, ที่ ๔ ชื่อโคตรภู, ที่ ๕ ชื่ออัปปนาจิต.
    อีกอย่างหนึ่ง ดวงแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ, ที่ ๒ เรียกว่าอนุโลม, ที่ ๓ เรียกว่า โคตรภู, ที่ ๔ เรียกว่าอัปปนาจิต.
    จริงอยู่ ชวนะดวงที่ ๔ เท่านั้น บางทีที่ ๕ ย่อมเป็นไป๑- ไม่ถึงดวงที่ ๖ หรือที่ ๗ เพราะอาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.
    ____________________________
    ๑- โยชนา ๑/๓๓๘ แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ

    ส่วนพระโคทัตตเถระผู้ชำนาญอภิธรรมกล่าวไว้ว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อมถึงที่ ๖ หรือที่ ๗. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย.
    ในชวนจิตเหล่านั้น จิตที่เป็นบุรพภาคเป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌานซึ่งละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ มีความงาม ๓ ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌานทั้งหลายมิวิตกเป็นต้นให้สงบราบคาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌานที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้.
    ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วนนักศึกษาผู้ต้องการความพิสดาร พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสส ชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
    ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้นมีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแลให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่างกล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง, สมาปัชชนะ การเข้า, อธิฏฐานะ การตั้งใจ, วุฏฐานะ การออกและปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้วกำหนดรูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา.
    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูปซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์.
    ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้นจัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรมจัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป. ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
    เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่าเป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลกพร้อมทั้งเทวดา.
    ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับจนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง
    ก็เพราะใน ๓ จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมฐาน แผนกหนึ่งย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง ๓ จตุกกะเหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่นแล.
    บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือโดยอารมณ์และโดยความไม่งมงาย.
    ถามว่า ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร?
    แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้าสมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
    ถามว่า ปีติย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงายอย่างไร?
    แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้นรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา.
    ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
    เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
    เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น. ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้วด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น,
    เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้นเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วด้วยอาการอย่างนี้.๑-
    ____________________________
    ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๘/หน้า ๒๘๑-๒๘๒.

    แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล.
    แต่ในสองบทนี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :-
    พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๓ พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌานทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร.
    ก็บรรดาสองบทนี้ ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิแห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
    สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิตสังขารที่หยาบๆ เสีย. ความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
    อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วยปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรูปทีเดียว, ในจิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร๒- ดังนี้.
    จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
    ____________________________
    ๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๐๙/หน้า ๒๘๓-๒๘๔.
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
    บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
    สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงคือให้ร่าเริง ได้แก่ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก. ในสองบทนั้น ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจสมาธิและด้วยอำนาจวิปัสสนา.
    ถามว่า ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร?
    แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ. เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุตในขณะแห่งสมาบัติ.
    ถามว่า ความบันเทิงย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร?
    แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาอยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วยฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิงอยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าหายใจออก.
    สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่าเมื่อเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้น ความเสื่อม. ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ดำรงจิตไว้เสมอคือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
    สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน คือเมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจากวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน.
    ก็หรือว่าเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้นเปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง), เปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์), จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน), จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย), จากราคะ (ความกำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความกำหนัด), จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ), จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หายใจเข้าและหายใจออกอยู่.
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก.
    จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
    ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
    ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ พึงทราบอนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
    ในลักษณะ ๔ อย่างมีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่าอนิจจัง ได้แก่เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
    ที่ชื่อว่าอนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเองมีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับไม่มี.
    อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่นแล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
    ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
    ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนี้หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.
    ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัดโดยส่วนเดียว ๑.
    บรรดาวิราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่าขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่าอัจจันตวิราคะ. วิปัสสนาและมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้าหายใจออก.
    แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
    ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืออุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่าง คือปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความแล่นไป ๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
    คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่นเป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค.
    จริงอยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่าการสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพานซึ่งผิดจากสังขารนั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
    มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืนคือการแล่นไป เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.
    ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้นๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อปฏินิสสัคคะในภายหลัง หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.
    คำว่า เอวํ ภาวิโต ความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยอาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. กถาว่าด้วยอานาปานัสสติสมาธิ จบ.
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระกรรมฐานประเภทต่าง ๆ ที่นำไปสู่พระนิพพาน คือ อนุสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พรหมวิหาร ๔ และอานาปานัสสติ
    *************
    [พระอานนท์ทูลให้ตรัสบอกกรรมฐานอย่างอื่นแก่พวกภิกษุ]
    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่กำหนดเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นถึงมรณภาพไป เพราะผลแห่งกรรม แต่มากำหนดเพราะความหมั่นประกอบในอสุภกรรมฐานเป็นปัจจัย จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ตถา หิ ปน ภนฺเต ภควา ดังนี้
    เมื่อจะทูลขอพระกรรมฐานอย่างอื่นเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุอรหัตผล จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเต ภควา ดังนี้.
    คำนั้นมีใจความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสบอกการณ์อย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.
    อธิบายว่า จริงอยู่ พระกรรมฐานที่เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่พระนิพพานดุจท่าเป็นที่หยั่งลงสู่มหาสมุทร แม้เหล่าอื่นก็มีมาก ต่างโดยประเภท คือ อนุสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พรหมวิหาร ๔ และอานาปานัสสติ.
    ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจในพระกรรมฐานเหล่านั้น แล้วตรัสบอกพระกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด.
    .......................
    ข้อความบางตอนใน ตติยปาราชิกวรรณนา อรรถกถาวินัยปิฎก มหาวิภังค์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176...
    kelBkjR8SHzpdQRKMYN-aRPIi7MCHzlrD1UlTKFFc2WK&_nc_ohc=mfpXrZlZHHMAX9nVrsY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    Qhm0ur_JMGZ0d3IHJ5Y7h-fkZ8ry2g6eo-QyYBsdzAAk&_nc_ohc=685Hzz-6slUAX-naNrH&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...