กระบวนเรือพระราชพิธี สุดยอดมรดกทางวัฒนธรรม

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 7 มิถุนายน 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>กระบวนเรือพระราชพิธี สุดยอดมรดกทางวัฒนธรรม</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] -->แม้จะเป็นเพียงการซ้อมใหญ่ครั้งแรกของกระบวนเรือพระราชพิธีฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ก็เป็นภาพที่ตื่นตาตื่นใจ เป็นความทรงจำที่สุดแสนวิเศษสำหรับพสกนิกรชาวไทย รวมทั้งชาวต่างประเทศ


    ที่ได้มีโอกาสร่วมชมความงดงามยิ่งของมรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลกของประเทศไทย ด้วยเอไอเอส เซเรเนดได้มอบโอกาสพิเศษให้ลูกค้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ด้วย
    ภายในงานนี้ยังมี อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้บรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของพระราชพิธีพยุหยาตราชลมารคในอดีต รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรือพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่ง อ.เผ่าทอง กล่าวว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นริ้วกระบวนที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ โดยทางน้ำ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธี เช่น อัญเชิญพระพุทธรูป พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน การแปรพระราชฐานเสด็จฯ ไปยังหัวเมือง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ เป็นต้น
    "สันนิษฐานว่ากระบวนพยุหยาตราชลมารคนั้น มีตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเริ่มจากการที่พระร่วงได้นำเรือออกไปลอยกระทงหรือกระทำพิธี "จองเปรียง" ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามเพ็ญเดือนสิบสอง และมีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯ ในสมัยต่อๆ มา สำหรับกระบวนเรือพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีนี้ กองทัพเรือจัดเป็นชุดกระบวนใหญ่ใช้เรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วกระบวน ความยาวของกระบวนกว่า 1,200 เมตร โดยมีฝีพายถึง 2,200 นาย แล่นออกเป็นเรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง 22 ลำ เรือประตูหน้า เรือพิฆาต เรือกลองใน และกลองนอก เรือตำรวจใน และตำรวจนอก เรือคู่ชัก เรือตำรวจตาม เรือแซง และเรือประตูหลังที่อยู่ท้ายสุดขบวน"
    ทั้งนี้ การเคลื่อนกระบวนเรือจะควบคู่ไปกับการเห่เรือ พร้อมด้วยเครื่องประโคม จนเกิดเป็นวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่งคือ "กาพย์เห่เรือ" สำหรับกาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประพันธ์โดยนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ขับร้องโดย ร.อ.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ รักษาราชการหัวหน้าแผนกเรือพระที่นั่ง ผู้รับราชการในกองทัพเรือนานถึง 25 ปี และเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นฝีพายเรือพระที่นั่งมาตั้งแต่ครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ซึ่งกาพย์เห่เรือนี้ประกอบด้วย 3 บท คือบทสรรเสริญพระบารมี โดยบรรยายถึงพระบารมีและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บทชมกระบวนเรือเป็นการชื่นชมความงามของเรือแต่ละลำ และบทชมเมือง ซึ่งจะเป็นการอรรถาธิบายถึงความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมของบ้านเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากได้เต็มอิ่มกับความงดงามวิจิตรของกระบวนเรือที่โลดแล่นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาอย่างสง่าสาม สอดประสานกับการขับกล่อมกาพย์เห่เรืออันไพเราะเสนาะคุ้งลำน้ำเจ้าพระยา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ปวงชนชาวไทยจะได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของไทยไปอีกจนชั่วลูกหลานเลยทีเดียว
    ล้อมกรอบ / เรือพระที่นั่ง
    เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือเป็นรูปหงส์ลงรักปิดทอง ประดับกระจก พื้นเรือสีดำ น้ำหนัก 15.6 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 44.70 เมตร ลึก 0.90 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร ฝีพาย 50 นาย นายเรือ 2 นาย พายที่ใช้เป็นพายทอง พลพายจะพายในท่านกบิน และถือเป็นธรรมเนียมว่า ถ้าจะเปลี่ยนท่าพายธรรมดาจะต้องรับพระบรมราชานุญาตเสียก่อน
    เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบันเป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6 แทนลำเดิมซึ่งสร้างในรัชกาลที่ 4 โขนเรือปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญานาค 7 เศียร พื้นเรือสีเขียว น้ำหนัก 15.36 ตัน กว้าง 2.95 เมตร ยาว 42.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 นาย นายท้าย 2 นาย
    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ หัวเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก พื้นเรือสีชมพูน้ำหนัก 7.7 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 45.50 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 1.46 เมตร ฝีพาย 61 นาย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งที่จัดสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ มีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์เทียบเท่าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พื้นเรือสีแดงชาด น้ำหนัก 20 ตัน กว้าง 3.20 เมตร ยาว 44.30 เมตร ลึก 1.10 เมตร ฝีพาย 50 นาย นายท้าย 2 นาย 888888888888888888888888888888888888888888888888888
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...