กระแสแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย oatthidet, 31 มกราคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การนำจิตเข้าไปไว้ในกายเป็นสิ่งที่ทำให้จิตไม่ปรุงแต่ง

    สิ่งที่มีอยู่ภายนอกเมื่อเห็นแล้วก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นของคู่โลก

    หาสาระแก่นสารก็ไม่ได้ แต่ในจิตยิ่งหยุดยิ่งเห็น เห็นถึงสิ่งที่ทำให้เราเกิด

    เราจะนอนหรือจะตื่น เราก็ต้องเข้าออกตรงนี้ จะเกิดหรือจะตายก็เข้าออกตรงนี้เหมือนกัน

    อันกระแสแห่งกาลเวลา ประกอบด้วย อดีต ปัจจุบัน อนาคต

    เมื่อได้เห็นตรงนี้ จะทำให้เกิดสังเวชถึงการมีชีวิต มันช่างเป็นทุกข์จริงๆ

    วนเวียนอยู่ในกระแสแห่งกาลเวลา แต่หากหยุดไม่ตามกระแสแห่งกาลเวลาก็จะเห็น

    เห็นสิ่งที่คนทั่วไปเขาเป็นกัน เห็นเหตุที่คนทั่วไปเขาคิดกัน และ ทำกันไปจนเกิดเป็นความทุกข์กาย ทุกข์ใจ

    และหากยังวนเวียนอีกคงหาที่สิ้นสุดไม่ได้

    พระพุทธเจ้าได้ค้นพบหนทางที่จะหลุดพ้นจากกระแสแห่งกาลเวลา และ ได้ประกาศให้มนุษย์ได้นำไปปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น ผู้ที่ศัทธาจะพบหนทางนั้นได้ด้วยตัวเอง

    ก้าวผ่านกระแสแห่งกาลเวลา เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน สถานที่"ว่าง"จากทุกสิ่ง ไม่มีแม้แต่การเกิด แก่ เจ็บ ตายที่นำไปสู่ความเป็นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

    เมื่อได้พบพระศาสนาและได้พบธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศไว้ จึงควรรีบปฎิบัติตามธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนโดยเร็ว อย่าได้ปล่อยให้เวลานั้นล่วงเลยไปอย่างไร้คุณค่า

    ธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนนั้นเป็นไปเพื่อการเห็นจิต โดยมีสมถะ และ วิปัสนา ทั้งสองสิ่งนี้เพื่อทำลายความลังเลสงสัยที่มีอยู่ในกระแสแห่งกาลเวลาให้หมดสิ้นไป

    เมื่อเห็นจิตแล้วมุ่งเข้าไปในจิตดั่งคำว่า"ในภายใน"ในจิตนี้เองที่เราจะเกิดจะตาย จะตื่นจะนอน ก็เข้าออกตรงนี้ และ หลุดพ้นก็ตรงนี้

    วิชชาที่มีอยู่ ที่สอนกันอยู่ก็เพื่อให้เห็นจิต ไม่ว่าจะสอนให้จิตยึดลมหายใจ ยึดความรู้สึก ยึดนิมิต ยึดผัสสะ หรือ ยึดจิตโดยตรง ก็เพื่อให้เห็น"จิต"ด้วยกันทั้งนั้น

    การปฎิบัติ ผู้ปฎิบัติต้องเข้าใจในจริตของตัวเองเสียก่อน อันจริตนั้นเป็นด้วยการปฎิบัติด้วยสิ่งนี้มาแล้วหลายชาติ จนเกิดเป็นความเคยชินของจิต

    เมื่อเข้าใจในจริตของตัวเองแล้วก็มุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่อการปฎิบัติ ในการปฎิบัตินั้นไม่ควรตั้งใจมุ่งมั่นจนเกินไป หรือ หย่อนยานจนเกินไป มั่นปฎิบัติด้วยความเป็นิตย์ ปฎิบัติบ่อยๆ

    และหนทางที่ผมได้กล่าวนั้นจะเกิดกับผู้ที่ศัทธาในพระพุทธศาสนาได้ด้วยตนเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง หลุดพ้นเอง

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    อยู่กับปัจจุบันที่ดีสุดครับ
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ปัจจุบันก็ยังอยู่ในกระแสนะครับ แต่หากเข้าในจิตถึงจะเข้าใจครับ เพราะจะเห็นกระแสครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ไม่ใช่ครับปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกระแส มันไม่มีอย่างอื่นนอกจากปัจจุบัน
    อดีตและอนาคตมันอยู่ในความคิด เพราะความต่อเนื่องกันของรูปและ
    นามทำให้เหมือนกับว่ามันมี อดีตและอนาคตแต่ความจริงมันมีแค่เวลา
    นี้ ที่นี่เท่านั้น ความจริงจะคิดว่าเวลามันเคลื่อนไป แต่ความจริงขันธ์ 5
    ต่างหากที่มันเคลื่นที่ไปเป็นกระแสผ่านเวลา ในขณะปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2011
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การที่จิตจับความรู้สึกก็เป็นปัจจุบัน และ การที่จิตไม่จับความรู้สึกก็เป็นปัจจุบัน

    ที่ผมกล่าวว่าปัจจุบันยังอยู่ในกระแสก็ด้วยเหตุนี้ครับ

    ที่พระอริยสงค์หลายๆรูปได้กล่าวไว้ว่าให้อยู่กับปัจจุบัน หมายถึงการที่จิตไม่จับความรู้สึกครับ

    แต่หากคุณbluebaby2เข้าใจว่าการที่จิตไม่จับความรู้สึกเป็นปัจจุบัน ผมก็เห็นควรครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2011
  6. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    เรากำลังอยู่ในกาลเวลา ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจิตเพื่อหยุดจิต เพื่อออกจากเวลาสู่ "อกาลิโก"

    เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้ครับ แต่ตรงจริตนั้นยกเว้นท่านที่เดินสายสติปัฏฐาน ๔ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้กรรมฐานแก้จริตก็ได้ครับ (ตามความเข้าใจนะครับ)

    อนุโมทนาครับ
     
  7. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    275
    ค่าพลัง:
    +263
    สาธุ อนุโมทนาธรรมครับ อกาลิโก........... มีคนเห็นแนวเดียวกันด้วยแฮะ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ยังไม่เกิด ใครเป็นผู้ไปเห็นได้ ทั้งหมดเกิดจากจิต ย่นใจไปเห็นรูป กับนาม ดับอาการจิตไป เกิดอาการใหม่ขึ้นแทน ดับกิเลสไป จิตหลุดพ้น รวมกระแสจิตเป็น 1 รวมสภาวะกับจิตแท้(มันก็แท้ทั้งนอกทั้งในนี่แหละหว้า) ไม่มีนอกในกลายเป็น 1 จิต 1 ใจ ผมก็ว่ามันติดกิเลสอยู่ดีแหละครับ ฆ่ากิเลสยังไงให้จิตหลุดพ้นกันดี มีครูบาอาจารย์หลายท่านก็หลายวิธี วิธีฆ่าแบบดุ้นๆเห็นๆนี่ก็มีมีใน สมาธิและวิปัสนา (ผมค่อนข้างจินนาการเว่อๆไปมากทุกวันนี้เวลาปฏิบัติน้อยลงทุกทีๆสาธุได้แต่เอาใจช่วยไปวันๆ ทำไปเท่าที่ทำได้) ขอให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์กันเสียที สาธุครับ

    กิเลสนี่คล้ายเชื้อโรค ติดคนนู้นทีคนนี้ที กิเลสมีปริมาณบางคนมากบางคนน้อย กิเลสเกิดเป็นดับเป็น กิเลสมีอนูเล็ก จำนวนนับเป็นหลัก กิ เคลื่อนที่ครอบคลุมจิตไม่ให้รวมกับ จิตแท้แบบอิสระ พอรวมหน่อยซักพักมันก็มาบัง คล้ายจอกแหนหนาเตอะแหวกออกเห็นน้ำใสแป๊บเดี๋ยวมันก็กลับมาปิดน้ำใหม่ ตัวที่ทำให้กิเลสมีเชื้อท่านเรียกอวิชชา ยิงไปที่อวิชชาก็คือ เห็นไตรลักษณ์ รวมความการเห้นไตรลักษณ์คือการเห็นสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริง รวมให้เห็นตามความเป็นจริงเพื่อความเบื่อหน่าย รวมความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายออก รวมความคลายออกเพื่อความดีดออก รวมความดีดออกเพื่อรวมเป็นจิต 1 ไม่รู้ว่าจะจินตนาการทันรึเปล่านะครับ เจริญธรรมยิ่งๆขึ้นไปจวบถึงบทอันเกษมครับ เห้นจิตรู้ว่าหลุดยังไงทำยังไงแต่ยังกลั้วใจอยู่ในโลกน่าอายแท้ๆ อนาถตัวเองจริงๆ

    อานาปานสูตร มีคำว่าสลัดคืน รู้ สลัดคืนนี่แหละๆๆๆๆๆ ดูดีดี สลัดอะไรคืนโลกไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2011
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณชินนา

    สติปัฎฐาน 4 ก็เป็นจริตด้วยครับ เพราะหากไม่ตรงกับจริตผู้ที่ปฎิบัติแล้วก็ให้เกิดผลได้ยาก

    สติปัฎฐาน 4 เป็นการตามรู้สภาพความเป็นจริง แต่หากจริตไม่ชอบตามดูจิตชอบที่จะพิสูจน์ อยากรู้ อยากเห็นในสิ่งที่ลี้ลับ หรือ ไม่อยากที่จะรับรู้ความนึกคิด ต้องการที่จะเฝ้าดูอารมณ์เพียงอย่างเดียว

    สติปัฎฐาน 4 จะเห็นก็ต่อเมื่อจิตนั้นทำงาน แต่หากจิตเข้าในเสียแล้วจะตามดูจิตได้อย่างไร จิตเข้าในก็เป็นอารมณ์เดียวไม่ปรุงแต่ง

    สติปัฎฐาน 4 เหมาะกับการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวัน เพราะขณะที่เราใช้ชีวิตประจำวันนั้นเราไม่ได้นั่งกรรมฐาน ฉนั้นการทำกรรมฐานในชีวิตประจำวันก็ต้องทำสติปัฎฐาน 4 ครับ เพื่อให้จิตมีสมาธิอยู่เนืองๆ ดั่งคำว่าเณรน้อยเฝ้าศาลาคอยไล่ไก่

    แต่บางคนไม่ได้ทำ ไม่ได้ตามดูจิตในขณะใช้ชีวิตประจำวัน แต่เขานั่งกรรมฐานบ่อย ก็มีอยู่เยอะ ผลที่ได้ไม่แตกต่างแต่อย่างใดครับ ทั้งหมดเพื่อก่รเห็นจิตเพียงอย่างเดียว

    คุณไม่ยึด

    อันกิเลสเราไปตัด ไปทำลายไม่ได้ เขาเป็นของคู่โลกครับ

    จิตกับใจร่วมกันเมื่อไหร่ก็คือปรุงแต่ง จิต 1 ใจ 1 โดยแท้ไม่ได้รวมกัน

    ผมกล่าวไว้ในกระทู้"ความรู้สึก"แล้วว่าความรู้สึกก็คือใจ

    จิตจับความรู้สึกจึงเกิดปรุงแต่ง คือ จิตจับใจจึงเกิดความรู้สึกปรุงแต่ง

    ความไม่ยึดนั่นแหละทางหลุดพ้นครับ จิตนั้นสอนได้ครับ แต่ใจเราไปบังคับเขาไม่ได้เขาเป็นของเขาอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจึงมุ่งสอนให้เห็นจิต เฝ้าดูจิต เพื่อคลายความอยาก ลดมานะ ละทิฎฐิ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ที่พูดมา มันออกจากสังขารปรุงทั้งปวง ไม่มีธรรมในนั้นเลย
     
  10. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ด้วยความเคารพในธรรมของคุณ ผมขออนุญาตมีความเห็นที่แตกต่าง

    จิตกับใจคือตัวเดียวกัน

    ด้วยประสบการณ์ความรู้จากการที่ผมสังเกตและพิจารณาในจิตของตนเองเพื่อที่จะระงับอารมณ์ที่ขุ่นหมองทั้งปวง จนระงับได้เป็นเรื่องๆไป

    จิตไม่ใช่แค่ผู้รับรู้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถแสดงสิ่งที่เคยรับรู้มาก่อน หรือเพิ่งรับรู้ได้ด้วย การแสดงอารมณ์ก็เช่นกัน

    การรับรู้ของจิต (ขอยกตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับโทสะ) คือ เมื่อมีใครพูดทำให้เราไม่พอใจ ด้วยคำที่ทำให้เราไม่พอใจ นั่นคือสิ่งที่จิตรับรู้และแสดงออกมาในชาติปัจจุบัน เพราะคำที่เรารู้สึกว่าไม่ดีนี้ เรารู้ความหมายในชาติปัจจุบันนี้

    การแสดงออกของจิต นั่นคือ ความโกรธ เพราะจิตเราผ่านชาติภพมามากมาย ผ่านการรับรู้และเหตุต่างๆ มามากมาย เมื่อโกรธจึงแสดงตามที่มันเคยรู้ ว่าเมื่อโกรธมันจะทำอย่างไร

    อีกทั้ง ความสุขความทุกข์ ความดีความชั่ว และยังมีอีกมากมาย แต่ขอละไว้

    ผมเองก็ปฏิบัติแบบที่เรียกกันว่าการพิจารณาจิตตนเองมานาน (ไม่เช่นนั้นผมจะดับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างไร) แต่ด้วยที่ผมเพิ่งมาเรียนรู้ในหลักธรรมอย่างจริงๆจังๆ จึงเข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า ไอ้สิ่งที่ผมทำอยู่เค้าเรียกว่าอะไร ไอ้สิ่งที่ผมได้ ที่ผมรู้เค้าเรียกว่าอะไร และควรไปอย่างไรต่อ (ยังมีอีกที่ผมไม่รู้ความหมายของสิ่งที่ตัวเองรู้)

    จิตเป็นสิ่งที่มีพลังโดยไม่อาจประมาณได้

    มันสามารถปรุงแต่งตัวเองไปได้หลากหลาย ตามที่จิตเคยสัมผัส เคยรับรู้มาก่อน ดังที่ผมเคยลงข้อมูลไปแล้ว

    การจะทำให้จิตสงบได้นั้น อยู่ที่การรู้จักอบรมจิตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด

    รู้หรือไม่ ว่าเวลาปกติที่ไม่ได้ทำอะไร จิตจะอยู่ที่ไหน
    รู้หรือไม่ ว่าเวลาโกรธ จิตวิ่งไปที่ไหนบ้าง
    รู้หรือไม่ ว่าเวลาเกิดความยินดี พอใจ จิตแสดงตัวอยู่ตรงไหน
    รู้หรือไม่ ว่าเวลาที่เรากำลังจดจ่อกับอะไรบางอย่างอยู่ แต่เรายังรับรู้การสัมผัสจากสิ่งอื่นที่เข้ามากระทบอยู่ได้ด้วย เพราะอะไร

    จิตสามารถขยายขอบเขตการรับรู้ก็ได้ จะลดขอบเขตการรับรู้ก็ได้

    เวลาที่ผมเดินทางออกนอกบ้าน ผมชอบขยายขอบเขตการรับรู้ของจิต ไปพิจารณาถึงการดำเนินชีวิตของสิ่งต่างๆ รอบตัว

    ขอให้คุณลองปฏิบัติและพิจารณาจิตโดยละเอียด ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ดู

    คุณเองก็เป็นผู้ใฝ่ธรรม หรือเรียกว่าใฝ่ในทางดี ย่อมเป็นผู้ที่เจริญ

    ทุกอย่าง ย่อมมีประโยชน์ ต้องมองหาประโยชน์ให้เป็น


    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณsupop

    สิ่งที่กล่าวนั้นใช่เหตุรึไม่ หากจิตไม่จับความรู้สึกจะปรุงแต่งได้อย่างไร

    ข้อสังเกตุ ขณะที่เรานั่งกรรมฐานอยู่นั้น ในขณะที่จิตเป็นอารมณ์ได้เกิดการปรุงแต่งรึไม่

    สิ่งนี้คงชี้ให้เห็นถึงการปรุงแต่งได้นะครับ ไม่ว่าโลภะ โทสะ โมหะ เกิดได้ด้วยการปรุงแต่งทั้งนั้น

    จิตนั้นมีที่อยู่ และเข้าออกอยู่ตลอดในชีวิตประจำวันครับ เวลาที่โกรธจิตมีรูปร่างให้เห็นหากสังเกตุดีๆจะเห็นได้ด้วยตนเองครับ

    แต่จิตที่ไม่ปรุงแต่งจะไม่มีรูปร่าง การรับรู้อย่างอื่นในขณะที่จิตรับรู้สิ่งหนึ่งอยู่ ผมขอยกตัวอย่างนะครับ

    สติเป็นการระลึก แต่ก็มีสัมปชัญญะความรู้ตัวพร้อม ฉนั้นระลึกอยู่แต่ก็รู้อาการสัมผัสด้วย ไม่ว่าจะสัมผัสด้วยทางไหน(สัมผัส หรือ กระทบ)

    ยินดีนะครับที่ได้สนทนาธรรมครับ เพราะสิ่งที่ไม่รู้ก็จะได้รู้ สิ่งที่รู้ก็ได้แบ่งปัน

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  12. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    เวลาที่โกรธจิตมีรูปร่างให้เห็นหากสังเกตุดีๆจะเห็นได้ด้วยตนเองครับ

    แต่จิตที่ไม่ปรุงแต่งจะไม่มีรูปร่าง การรับรู้อย่างอื่นในขณะที่จิตรับรู้สิ่งหนึ่งอยู่ ผมขอยกตัวอย่างนะครับ
    จิต เป็น นามธรรม เวลาโกรธจิตมีรูปร่างอย่างไร
    แต่จิตไม่ได้ปรุงกับไม่มีรูปร่าง คือ อะไร
    ก็รู้ๆอยู่แล้วว่าจิต เป็นนามธรรม
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณongsathit1

    ความโกรธจะมีความรู้สึกของโทสะ หรือ ปฎิฆะเป็นอารมณ์ นอกจากความรู้สึกในอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะมีภาพให้เห็นในสิ่งที่เกิดในห้วงความคิด

    กับจิตที่ไม่ปรุงแต่งมีสภาวะนิ่งเฉย แค่นี้พอจะทำให้เห็น ให้เข้าใจได้นะครับ เพราะหากจะให้ละเอียดกว่านี้การพิมพ์คงไม่เหมาะอาจทำให้มีความเห็นคาดเคลื่อนได้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  14. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ตกลง จิต เป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม
    -ผมว่าจิต เป็น นามธรรมล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต
     
  15. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ยินดีด้วยเช่นกันครับ

    หากจิตไม่จับความรู้สึกจะปรุงแต่งได้อย่างไร

    อย่างนี้ถูกต้องแล้ว

    แต่เมื่อขณะปฏิบัติสมาธิ จิตก็ยังมีการปรุงแต่งตัวเองอยู่ โดยไม่ต้องมีการกระทบจากทางใด แม้กระทั่งความนึกคิด ด้วยความไม่อยู่เฉยของจิตจนเป็นความเคยชิน มันปรุงแต่งของมันเอง

    การปฏิบัติธรรมนั้น ในขั้นต้นจึงเรียกได้ว่า เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้จิต

    เพื่อไม่ให้จิตวิ่งไปที่ไหน หรือไปทำอะไร ให้วุ่นวาย ฝึกให้อยู่กับสิ่งสิ่งเดียว เมื่อจิตอยู่กับสิ่งสิ่งเดียวได้แล้ว จึงทำให้สงบได้ง่าย เมื่อสงบได้แล้ว จึงเห็นจิตได้ชัด

    ส่วนในคำถามของผมนั้น ไม่ได้ลงลึกไปขนาดนั้นครับ

    ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับกายทั้งหมด

    ขณะนี้จิตเราอาศัยกายมนุษย์อยู่ ความสามารถปกติของจิต ก็อยู่ที่ธรรมชาติของมนุษย์ที่จิตอาศัยอยู่นั่นเอง

    อย่าประมาทในการพิจารณากายควบคู่ไปกับการพิจารณาจิต


    อนุโมทนาครับ
     
  16. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287

    ใช่ครับนี่ก็เป็นสิ่งที่ผมสังเกตเห็นเหมือนกัน เวลาเราคิดถึงคนนั้นคนนี้
    ด้วยภาพที่เราสร้างขึ้น เป็นกระบวนการคิดเกือบทั้งหมดของเราเป็น
    แบบนี้ เช่น คนผิวขาว คนผิวดำ คนไทย ชาวต่างชาติ คนรวย คนจน
    จะสร้างภาพขึ้นมาแทนที่จะเห็นตามความเป็นจริงจะมองผ่านภาพที่
    สร้างขึ้นมาแทน ซึ่งมันเหมือนกับเงื่อนไขจากอดีตที่ผ่านมาแล้ว คน
    ที่เกิดอารมณ์โกรธอาจจะมีความคาดหวังว่าคนอื่นต้องทำแบบนั้น
    แบบนี้กับเรา และจะไม่ทำอย่างนั้น อย่างนี้กับเรา ซึ่งมันเป็นภาพชนิด
    หนึ่งที่เราสร้างขึ้น หรือเป็นแนวคิดอย่างหนึ่ง พอมีคนทำในสิ่งที่คาด
    หวังว่าเขาจะไม่ทำเราก็เลยโกรธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...