"กลับสู่ต้นน้ำ" เดินทวนกระแส หาสุขแท้...จากสามศาสดา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 14 มิถุนายน 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    วิทยากรจาก 3 ศาสนา ร่วมพูดคุยให้ความรู้แก่เยาวชน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>การใช้ร่างตัวเองป้องกันผู้อื่นให้รอดพ้นจากการถูกสัมผัสจาก "หมูและหมา" อาจเป็นวีรกรรมพื้นๆ สำหรับคนอื่นๆ แต่สำหรับ "กัส" วนัสนันท์ หมัดมณี กลับเพียงพอแล้วที่จะเอ่ยว่า "เป็นความประทับใจ" ได้อย่างเต็มปาก

    "นอกจากมุสลิมจะห้ามกินและโดนตัวหมู หมาก็ห้ามโดนเหมือนกัน จะผิดหลักศาสนา เพื่อนคนอื่นพอรู้ว่าศาสนาเรามีข้อห้ามเหล่านี้ เขาก็จะเอาตัวมาป้องกันเรา ทั้งๆ ที่เขาเองก็กลัวมันกัด รู้สึกประทับใจมาก จากตอนแรกที่ไม่กล้าจะพูดคุยอะไร ก็เริ่มสนิทกันมากขึ้น" กัส นักเรียนจากโรงเรียนท่าอิฐศึกษา โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เล่าย้อนถึงความรู้สึกดีๆ หลังผ่านการใช้ชีวิตในค่ายร่วมกับเพื่อนๆ นักเรียนจากต่างโรงเรียน เมื่อไม่นานมานี้

    โครงการออกค่าย "กลับสู่ต้นน้ำ" จัดขึ้นโดยเครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นโครงการที่ให้เยาวชนหลากศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ได้มาร่วมทำกิจกรรมตลอดระยะเวลา 5 วัน นับตั้งแต่เดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพฯไปถึงที่หมายภาคเหนือ โดยเริ่มจากการเดินทางขึ้นเหนือเพื่อใช้ชีวิตกับคนในชุมชน เดินสู่ต้นน้ำในหมู่บ้านปกากะญอ ที่บ้านแม่นิงนอก ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อเรียนรู้ปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เสมือนการย้อนรอยของศาสดาของแต่ละศาสนา กลับสู่แก่นแท้ของศาสนาตัวเองจากชีวิตจริง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    จับมือกันไว้ ไปด้วยกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เยาวชนนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกอาจารย์แต่ละโรงเรียนคัดสรรจากการเป็นผู้ที่เคารพและเคร่งครัดในศาสนาของตัวเองเป็นทุนเดิมก่อนแล้ว เพราะจะได้ต่อยอดและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงกลับมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน

    พระมหาปรกฤษณ์ กนฺตสีโล หรือหลวงพี่กบ แห่งวัดดุสิตาราม หนึ่งในคณะกรรมการและวิทยากรผู้ร่วมโครงการ เล่าว่า กระบวนการทั้งหมดของค่ายกลับสู่ต้นน้ำเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ ซึมซับเอาความรู้สึก ก่อนนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาไตร่ตรองวิเคราะห์บนฐานของจิตวิญญาณ (ศาสนา) ที่ศาสดาในศาสนาของศาสนิกต่างๆ เป็นผู้ชี้แนวทางให้ปฏิบัติ

    "กิจกรรมต่างๆ ล้วนนำไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรม เข้าถึงแก่นของศาสนา เช่น กิจกรรมเดินย้อนไปสู่ต้นน้ำที่มาจากลักษณะสำคัญของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ด้วยการพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การพ้นจากความทุกข์ ผู้จัดจึงออกแบบกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญของหลักธรรม วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ในระหว่างการเดินทวนกระแสน้ำเพื่อไปสู่ต้นน้ำ หรือการจัดให้เยาวชนศาสนาละ 1 คน ได้พักในบ้านของปกากะญอหลังเดียวกัน และไปทำงานร่วมกันกับเจ้าของบ้าน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความทุกข์ ความเจ็บปวดเหมือนกัน การอยู่ร่วมกันต้องอาศัยความรัก ความเมตตา การรู้จักลดตัวตนของตนเองเป็นต้น <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    น้องกัส (ซ้าย) และเพื่อน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "การเดินทวนน้ำเปรียบได้อีกอย่างกับการเดินทวนกระแสนิยม ผู้ที่เกิดจำเป็นต้องมีสติ มีสมาธิอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นอาจถูกกระแสน้ำหรือกระแสนิยมเหล่านั้นพัดพาไปได้" หลวงพี่กบอธิบาย

    และหากมองในมุมของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการผ่านกิจกรรมต่างๆ ของ "กัส" บอกว่า "ที่เกิดขึ้นทันทีคือการเปลี่ยนทัศนคติ จากที่มองว่าคนต่างศาสนามีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสนิทสนมได้ ก็ค่อยๆ หมดไป เราเคยมองว่าคนศาสนาอื่นมักชอบมองว่าพวกอิสลามเป็นคนรุนแรง เพราะสิ่งที่พวกเขารับรู้มาเป็นแบบนั้น พอได้พูดคุยกันก็รู้ว่าที่ผ่านมาเราคิดผิด ทั้งหมดเกิดจากความไม่รู้และคิดไปต่างๆ นานา"

    เด็กสาวมุสลิมยังเล่าย้อนถึงความประทับใจว่า "อย่างที่หมู่บ้านที่ไปอยู่เขาจะเลี้ยงหมู เลี้ยงหมา โดยไม่ได้กั้นคอกไว้ เลยพากันเดินไปมา เราก็กลัว เพื่อนก็กลัว แต่เขาก็ยังเอาตัวมาบังๆ ให้เรา เขาบอกว่าถ้าเขาโดนก็แค่เจ็บตัว แต่เรานี่โดนแล้วจะผิดหลักศาสนาเลย ตรงนี้รู้สึกประทับใจมาก"

    ขณะที่ "เมย์" ทนิตา เปลี่ยนพันธ์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ บอกถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวเองว่า ที่เห็นได้ชัดที่สุดเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการใช้จ่าย จากเดิมที่ใช้เงินมาก ต้องขอค่าขนมจากผู้ปกครองเพิ่มเติมระหว่างอาทิตย์บ่อยครั้ง แต่เมื่อได้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ง่ายๆ ของชาวบ้าน ทั้งการกิน การนอน จึงรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้าง เกิดการยับยั้งใจที่จะใช้จ่ายเงิน

    ส่วนเรื่องมุมมองทางศาสนานั้น "เมย์" มองว่า "การได้ทำกิจกรรมร่วมกันในครั้งนี้ ทำให้รู้สึกยอมรับในความต่างและเปิดใจรับรู้เรื่องราวของคนอื่นๆ มากขึ้น"

    สอดรับกับแง่มุมมองถึงความสำเร็จของโครงการ ซึ่ง "หลวงพี่กบ" สะท้อนว่า "จากผลการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมไปแล้ว 1 และ 2 เดือน พบว่าเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะที่มีการนำเอาหลักธรรมต่างๆ มาปรับใช้บ้าง โดยมีพฤติกรรมเด่นชัดในเรื่องที่เยาวชนผู้นั้นได้หยิบยกมาไตร่ตรองด้วยตนเอง"

    [FONT=Tahoma,]หน้า 7[/FONT]

    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...