'กลาโหม' จ่อใช้พื้นที่ 'การท่าเรือ' ตั้งรพ.สนามรับคลัสเตอร์คลองเตยยอดพุ่งกว่า 300 ราย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 3 พฤษภาคม 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    3933a1471f41c16b37d3f8c18d60c830c4e56cc959c81823143aa981b304b705.jpg

    จากกรณีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงงกลาโหม มีความห่วงใยในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ขยายเป็นวงกว้างและพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้้น โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อเตรียมการรองรับ หากทีการแพร่ระบาดในชุมชนจำนวนมาก เป็นการลดภาระด้านสาธารณสุขในระบบ ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรแพทย์และเตียงรับผู้ป่วย


    56c8bc8cf49b6caba012ca2427397d0f98a3105fc10e7227e5389252c1f33a85.jpg

    ล่าสุด กระทรวงกลาโหม พิจารณาแล้วเห็นว่า ชุมชนคลองเคยและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีสภาพแออัดและประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กรณีพบการติดเชื้อฯ หากไม่นำเข้าสู่ระบบสาธารณสุขโดยเร็วและทันเวลา จะส่งผลให้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จนเกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขดังนั้น จึงขอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการใช้อาคารโกดังสเตเดียมเพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยใช้ศักยภาพและสถานที่ที่มีพร้อมอยู่แล้ว เพื่อช่วยเหลือประชาชน และเป็นไปตามบัญชาของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉึกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการปฏิบัติและสนับสนุน การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป

    ซึ่งการตรวจเชิงรุก พบว่า มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 5-10% ที่โรงพยาบาลจุฬา มีผู้ป่วยปอดอักเสบจากชุมชนคลองเตยที่มารักษาตัวมากขึ้นในระยะนี้ดังนั้นจะต้องมีการร่วมกันทำงานทุกฝ่ายเพื่อควบคุมการติดเชื้อเพื่อไม่ให้กระจายวงกว้างออกไปและนำผู้ป่วยในชุมชนออกมารับการรักษา แต่จะเป็นปัญหาที่ท้าทายมากๆ ทั้งจำนวนประชาชนจำนวนมาก พื้นที่ที่กว้างขวาง และประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ และเด็กจำนวนมาก

    ทั้งนี้พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด เขตคลองเตย ในการระบาดระลอกเดือน เมษายน 2564 มีทั้งสิ้น 304 ราย แบ่งเป็นผู้อาศัยในแหล่งชุมชนแออัด 193 ราย ส่วนอีก 111 ราย อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น คอนโด หอพัก เป็นต้น โดยผู้ติดเชื้อ 12 ชุมชนในเขตคลองเตย ประกอบด้วย


    ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย มีประชากรประมาณ 5,000 คน พบติดเชื้อ 7 คนคิดเป็น 0.14%
    ชุมชนพัฒนาใหม่ มีประชากรประมาณ 1,469 คน พบติดเชื้อ 78 คนคิดเป็น 5.31%
    ชุมชนวัดคลองเตยใน 2 มีประชากรประมาณ 2,028 คน พบติดเชื้อ 14 คนคิดเป็น 0.69%
    ชุมชนร่มเกล้า 2 มีประชากรประมาณ 2,170 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.09%
    ชุมชนแฟลต 1-10 มีประชากรประมาณ 10,490 คน พบติดเชื้อ 6 คนคิดเป็น 0.06%
    ชุมชนแฟลต 11-18 มีประชากรประมาณ 3,797 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.05%
    ชุมชนแฟลต 19-22 มีประชากรประมาณ 2,050 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.10%
    ชุมชนล็อค 1-2-3 หรือชุมชนร่มใจไพรินแดง มีประชากรประมาณ 8,325 คน พบติดเชื้อ 8 คนคิดเป็น 0.10%
    ชุมชนล็อค 4-5-6 มีประชากรประมาณ 1,736 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.12%
    ชุมชน 70 ไร่ มีประชากรประมาณ 9,685 คน พบติดเชื้อ 37 คนคิดเป็น 0.38%
    ชุมชนหมู่บ้านมั่นคง มีประชากรประมาณ 278 คน พบติดเชื้อ 3 คน
    ชุมชนริมคลองวัดสะพาน มีประชากรประมาณ 1,150 คน พบติดเชื้อ 17 คนคิดเป็น 1.48%

    โดยทาง กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ชุมชนคลองเตยมีความเป็นอยู่แออัด แยกกักตัวได้ยาก และส่วนใหญ่ทำงานอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร และมีอาชีพที่ไม่สามารถ Work Form Home ได้ หากควบคุมการระบาดของคลัสเตอร์ดังกล่าวไม่ได้ อาจทำให้สถานการณ์ระบาดแย่ลงดังนั้นรัฐจึงควรเร่งจัดให้มีการกักตัวหรือสังเกตอาการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยนี้เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดโควิดที่วัดสะพาน ระหว่างรอนำส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นการแยกผู้ติดเชื้อ และดูแล

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐออนไลน์ https://siamrath.co.th/n/240886
     

แชร์หน้านี้

Loading...