กลเม็ดธรรมะสำหรับผู้นำมือใหม่ 2

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย คงธรรม, 25 กันยายน 2004.

  1. คงธรรม

    คงธรรม บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    "การตำหนิ/ตักเตือน" เป็นสิ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องรู้ และต้องทำ อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ไม่ทำ เพราะการตำหนิหรือตักเตือนที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้ปั_หาต่างๆ อันร้ายแรงถูกพอกพูนเกิดขึ้นตามมาในอนาคตได้...

    ดังนั้นการตำหนิที่ดีควรมีวิธีการดังต่อไปนี้
    1. ตำหนิในเหตุอันควร หมายถึง เมื่อใดที่มีผู้ทำพฤติกรรมอันใดที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน หรือต่อองค์กรทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เช่น "ทำผิดกฏเกณฑ์/กฎระเบียบ", "มาสาย", "ขาดงาน", "ทุจริต", "ยุยงให้เกิดความแตกแยก", "ทำงานผิดพลาด/ล่าช้า" เป็นต้น
    2. ตำหนิในสถานที่อันควร หมายถึง เวลาที่ตำหนิควรจะทำให้เป็นส่วนตัว ถ้าคุยกันเพียงลำพังจะเป็นการดีที่สุด เพราะเนื่องจากถ้าตำหนิต่อหน้าผู้อื่นอาจก่อให้เกิดความอับอาย ความโกรธแค้นเกิดขึ้น แล้วในระหว่างที่ตำหนิผู้อื่นอยู่นั้นพยายามอย่าให้ผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือมีเหตุอื่นใดมารบกวนชัดจังหวะ เพราะต้องการให้เห็นว่าผู้นำให้ความสำคั_มากกับเรื่องนี้มาก
    3. ตำหนิด้วยวาจาอันควร หมายถึง เวลาตำหนิให้ตำหนิที่การกระทำ และตำหนิให้จบไปที่ละเรื่อง ไม่ใช้อารมณ์ โดยบอกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นว่าคืออะไร ถามว่าได้ทำจริงหรือไม่? เมื่อเป็นความจริงจึงบอกถึงข้อเสียที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นตามมาในด้านต่างๆ เช่น องค์กร, ผลงาน, ตัวผู้ทำผิดเอง เป็นต้น ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย เป็นคำด่า/คำว่า/คำดูถูกเหยียดหยาบ/ก้าวก่ายไปว่าคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น "โง่", "มีปั__าเพียงเท่านี้", "จะไปทำอะไรกิน", "ครอบครัวถึงไม่มีจะกิน" เป็นต้น
    4. ตำหนิแล้วทำโทษตามควร หมายถึง ต้องพิจารณาดูแล้วลงโทษตามความรุนแรง/ร้ายแรงของพฤติกรรม เช่น ตำหนิอย่างเดียว, ลงบันทึกไว้, พักงาน, ย้ายแผนก, ตัดเงิน, ไล่ออก เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าเป็นเหตุร้ายแรง ผู้นำจำเป็นต้องมีการติดประกาศให้ผู้อื่นได้รับทราบว่าได้ลงโทษผู้กระทำผิดอย่างไรโดยทั่วกัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นทำผิดซ้ำอีก
    5. ทำโทษแล้วให้แก้ไขปรับปรุง หมายถึง แม้ว่าจะลงโทษเบาหรือหนักเพียงไรก็ตาม ในทุกครั้งผู้นำจำเป็นต้องบอกถึงพฤติกรรมอันถูกต้อง อันควร และข้อดีที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมอันควร เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความหวังดี ให้ผู้นั้นได้รับรู้ และรู้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ทำผิดอีก

    "ผู้นำที่ดี ควรมีทั้งพระคุณ และพระเดช มิใช่มีแต่พระคุณเท่านั้น และควรมีให้เท่าๆ กันอย่างเป็นสายกลาง ไม่ใจดีเกินไป ไม่เผด็จการเกินไป"
     

แชร์หน้านี้

Loading...