กะลาแกะพระราหูอมจันทร์ วัดศีรษะทอง

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย otiger, 2 กรกฎาคม 2020.

  1. otiger

    otiger สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +226
    กะลาพระราหูอมจันทร์ วัดศีรษะทอง
    มีหลายช่างแกะ ที่ได้มานี้ ท่านว่ามาจากวัดศรีษะทอง เก่าเก็บ สังเกตุได้จากกะลาที่แห้งจัด รักแดงเก่าและเศษทองคำเปลวที่ฝังในเนื้อรักแต่เดิม ที่ปัดฝุ่นผงก็ยังติดแนนในเนื้อไม่หลุดร่อน
    หลวงพ่อน้อย คนฺธโชโต วัดศีรษะทอง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ท่านมีวิทยาคมแก่กล้า ด้วยว่าได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากโยมบิดา นามว่า นายมา เป็นหมอรักษาโรคแผนโบราณ ทั้งยังเก่งกาจในเรื่องคาถาอาคม ความอยู่ยงคงกระพัน จนเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านทั่วไป
    หลวงพ่อน้อยสร้างพระราหูอมจันทร์ตามตำรับใบลานจารอักขระขอมลาว กะลาแกะราหูอมจันทร์ และพระราหูกะลาตาเดียว
    หลวงพ่อน้อยจะจาร 2 แบบ แบบสูตรเดียว คือ จารจันทรุปราคา หรือจารสุริยุปราคา อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยจะเริ่มจารตอนพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ที่เริ่มคลายตัวออก
    จารแบบ 2 สูตร คือ จารทั้งจันทรุปราคาและสุริยุปราคา จะจารสูตรไหนขึ้นก่อนก็ได้ เมื่อได้ฤกษ์ดี แล้วจารไปท่องคาถากำกับไปจนจบ จากนั้นนำมาปลุกเสกรวมอีกครั้งหนึ่ง อักขระสูตรจันทรุปราคาที่จารทั้งหมด 14 ตัว และสุริยุปราคามี 16 ตัว
    การสร้างราหูอมจันทร์มาจากความเชื่อในความเป็นอมตะของพระราหู แม้โดนคมจักรของพระนารายณ์ตัดขาดเหลือแค่ครึ่งตัวแต่ก็ไม่ตาย เพราะแอบไปดื่มน้ำอมฤตเข้าไป ขณะที่พระราหูดื่มน้ำอมฤตอยู่นั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์เห็นจึงไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงกริ้วจึงขว้างจักรไปตัดกายพระราหูขาดครึ่ง (แต่ไม่ตาย) พระราหูจึงแค้นและได้จับพระอาทิตย์และพระจันทร์กินอยู่เสมอ กลายเป็นจันทรุปราคาและสุริยุปราคา
    ส่วนการใช้กะลาตาเดียวหรือกะลาไม่มีตา (กะลามหาอุตม์) แกะเป็นรูปราหูอมจันทร์ โบราณว่านำมาบูชาเป็นมงคลแก่ครอบครัว เพราะถือว่ากะลาทั้งสองชนิดมีดีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว นอกจากนี้มีส่วนหนึ่งที่นำกะลาตาเดียวมาเป็นเครื่องรางของขลังโดยแกะเป็นรูปพระราหูห้อยคอ ทั้งรูปราหูอมจันทร์และรูปราหูอมพระอาทิตย์ รวมทั้งการจารอักขระจะไม่เหมือนกัน

    IMG_1756_Original.JPG IMG_1738_Original.JPG IMG_1761_Original.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...