กับดักของคนเก่ง / Intelligence Trap

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 15 มีนาคม 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    บทความจากคุณ <a href="http://www.aromdee.com"target=_blank>มิสเกรนเจอร์</a>


    มองไปรอบๆ ตัวของเราท่านๆ ดูสิว่า มีคนเก่งๆ (Highly Intelligence) จำนวนมากน้อยเพียงไรในสังคม ครอบครัว หรือที่ทำงานของเรา บางครั้งเราเองก็คงแอบคิด (หรือคิดดังๆ) อยู่เหมือนกันว่าเราก็เป็นคนเก่งคนหนึ่ง หากเราพิจารณาให้ลึกลงไปอีก เราก็จะพบว่าคนเก่งๆ ของเราบางท่าน ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน รวมไปถึงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในบางกรณีอาจจะหนักข้อไปถึง การถูกคนรอบข้างมองว่าเป็นคนเผด็จการ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเอาเสียเลย

    Edward Buono ได้อธิบายกับดักของคนเก่ง หรือ Intelligence Trap ไว้อย่างแยบยลในหนังสือชื่อ Thinking Course

    Buono ได้เปรียบเปรยว่า ความฉลาดของคนเปรียบเสมือนแรงม้าของรถยนต์ (Horse power) แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของรถยนต์คันนั้นๆ ไม่ได้ขึ้นกับแรงม้า แต่กลับขึ้นอยู่กับความสามารถในการขับขี่รถยนต์ (Driving Skill) ของแต่ละบุคคล ความหมายที่แท้จริงที่เขาหมายถึง ณ ที่นี้คือ เมื่อคุณมีความฉลาดแล้ว คุณยังจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการคิด (Thinking Skill) ซึ่งจะนำมาซึ่งการทำงานที่ประสบความสำเร็จหรือประสิทธิภาพที่ดีของผลงาน

    มีข้อสรุป 2 ข้อ ของเขา ที่น่าสนใจดังนี้

    1. ถ้าหากว่าเรามีรถยนต์ที่มีแรงม้าที่ดีอยู่แล้ว เราต้องพัฒนาความสามารถในการขับขี่ของเราให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรถที่มีแรงม้าแรงๆ หากผู้ขับขี่ขาดทักษะในการขับรถนั้นจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อตนเองและผู้อื่น

    เปรียบเทียบไปก็ไม่แตกต่างกับคนที่เกิดมาพร้อมกับมันสมองอันชาญฉลาด แต่ขาดทักษะในการคิด เขาอาจจะไม่สามารถมีโอกาสได้ใช้ความฉลาดของเขาได้อย่างเต็มที่

    2. หากว่าเราบังเอิญมีรถยนต์ที่มีแรงม้าต่ำ เราจะทำอย่างไร เหมือนกันกับความสามารถทางมันสมอง (IQ) ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุกรรมมากกว่าอย่างอื่น Buono เสนอว่าในกรณีนี้ ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางความคิด (Thinking Skill) มีความจำเป็นอย่างมาก

    Buono ยังสรุปต่อไปว่า จากประสบการณ์และงานวิจัยของเขากว่า 25ปี พบว่า คนจำนวนมากที่คิดว่าตนเองเป็นคนที่มีความฉลาดสูง (Highly Intelligence) ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีทักษะทางการคิดที่ดี มีเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการที่เขาได้อธิบายไว้ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

    - คนที่คิดว่าตนฉลาดนั้น มักจะมีมุมมองของตนเองในการมองเรื่องราวต่างๆ และใช้ความฉลาดของตนอธิบายมุมมองของตนเอง ยิ่งคนๆ นั้นฉลาดมากเท่าไร เขาก็ยิ่งอธิบายมันได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และนั่นหมายความว่าคนๆ นี้จะยิ่งเข้าใจผิดๆ ว่า ไม่มีใครคิดหรือตัดสินใจได้ดีกว่าตนเอง และหากนานเข้า เขาก็จะเริ่มไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องสอบถามหาความคิดเห็นของคนอื่นๆ (ก็ในเมื่อคิดเอาเองว่าตนเองคิดได้ดีที่สุดอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องพยายามหาความคิดเห็นที่ต่างออกไปเล่า)

    - ที่มากไปกว่านั้น คนที่คิดว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่นๆ นั้น ก็จะพยายามหาวิธีที่เขาจะสามารถใช้ความฉลาดของตนเองให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเขาจะพยายามเสาะแสวงหาวิธีการที่เร็วที่สุดเข้าสู่ความต้องการของตนเอง (ที่คิดว่าถูกต้อง) โดยการบอกว่าคนอื่นๆ คิดผิดหรือหาวิธีการพิสูจน์ว่าคนอื่นๆ คิดผิด เพื่อจะให้คนอื่นๆ รอบตัวเห็นด้วยกับวิธีคิดของตนเองภายในระยะเวลาอันสั้น

    หากคนเก่งของเรายังไม่รู้ตัวว่าเขาหรือเธอติดกับดักความเก่งของตัวเองเสียแล้ว มันก็ยากยิ่งนักที่จะออกมาจากกับดักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับกลางหรือสูง เขาจะสร้างความลำบากใจให้เพื่อนร่วมงาน เนื่องจากว่าเอาแต่ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จะทำการใดก็อาจจะสำเร็จได้ยาก เพราะคนอื่นรอบตัวก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความคิดเห็น และก็คงอยากได้โอกาสได้แสดงออกถึงความคิดของตนเองเช่นเดียวกัน ที่นอกเหนือไปจากนี้ลูกน้องของคนที่ติดกับดักแบบนี้ ก็จะรู้สึกว่ามีเจ้านายที่เผด็จการ ลูกน้องของเขาอาจเริ่มต้นด้วยการพยายามจะแสดงความคิดเห็น แต่กาลเวลาผ่านไป เขาย่อมเรียนรู้ว่าพูดไปไร้ประโยชน์ เจ้านายไม่ชอบให้คิด ก็จะเริ่มหยุดคิดทีละน้อยจนสุดท้ายก็พาลไม่คิดเสียเลย ลูกน้องบางคนอาจจะถึงกับลาออก และที่สำคัญเราจะหาคนที่จะพยายามบอกเขาหรือเธอให้เข้าใจถึงกับดักที่เขาติดอยู่ก็ดูว่าจะยากยิ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...