กัลยาณมิตร คืออย่างไร ? (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 14 พฤศจิกายน 2017.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,306
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    A3255324.jpg

    กัลยาณมิตตตาธรรม - กัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตตตาธรรม คือความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม “กัลยาณมิตร” มิได้หมายถึงเพียงผู้เรียกกันว่า เพื่อน หรือมิตร หรือสหาย คำว่าเพื่อนนั้นมีทั้งที่เป็นเพื่อนดี เพื่อนไม่ดี เพื่อนสนิท เพื่อนไม่สนิท เพื่อนแท้ เพื่อนเทียม

    กัลยาณมิตร มีความหมายว่า ดี งาม เป็นมงคล เมื่อนำไปประกอบเข้ากับคำใดคำหนึ่ง ก็ทำให้คำนั้นมีความหมายเป็นพิเศษขึ้นด้วยความดีมีมงคล เช่น กัลยณปุถุชน หมายถึง สามัญชนผู้ยังมิใช่อริยบุคคลที่มีใจมุ่งดีปรารถนาดีเป็นพิเศษเป็นมงคล

    กัลยณจิต หมายถึง จิตที่มีความมุ่งดีปรารถนาดีเป็นพิเศษเป็นมงคลแผ่ไป

    กัลยณมิตร หมายถึง ผู้ที่มีใจเป็นเพื่อนที่มุ่งดี ปรารถนาดีเป็นพิเศษแผ่ไป

    กัลยาณมิตร จึงหมายถึง ผู้ที่หวังดีให้ความช่วยเหลือ ว่ากล่าวตักเตือน แนะนำ ไม่ปล่อยให้คิดผิดพูดผิดทำผิด ทั้ง ๆ ที่รู้ ไม่ปล่อยให้มีภัยมีความเสื่อมเสียเกิดขึ้น แม้ป้องกันได้

    แม้มีคุณสมบัติดังกล่าวมา จะเป็นเพื่อนหรือไม่ใช่เพื่อน ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป ก็เป็นกัลยาณมิตรได้ คือแม้จะเป็นผู้ที่ไม่รู้จักมักคุ้นเคย แม้ที่อยู่ห่างไกล ไม่เคยพบเห็น แต่เมื่อมีใจมุ่งดีปรารถนาดีจริงใจต่อผู้ใด คิดพูดทำทุกอย่างเพื่อป้องกันช่วยเหลือผู้นั้นเต็มสติปัญญาความสามารถ ให้พ้นความเสื่อมเสียทุกประการ ไม่ว่ามากน้อยหนักเบา ก็นับได้ว่าป็นกัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตรหาได้ไม่ง่าย หาไม่ได้สำหรับคนทั่วไป ไม่ใช่ภริยาทุกคนเป็นกัลยาณมิตรของสามี ไม่ใช่สามีทุกคนเป็นกัลยาณมิตรของภรรยา ไม่ใช่เพื่อนทุกคนเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน ผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้นมีคุณสมบัติเป็นหลักสำคัญที่สุด คือ ความดี มีคุณธรรมประจำใจ พร้อมด้วยสติและปัญญา

    ภรรยาสามี บุตรธิดา และมิตรสหาย หรือผู้หนึ่งผู้ใด ที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวมา จึงไม่อาจเป็นกัลยาณมิตรได้

    ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ แม้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร แต่ปฏิเสธที่จะรับเป็นกัลยาณมิตร แม้มีกัลยาณมิตร จึงเหมือนไม่มี ไม่ได้รับประโยชน์โดยควร

    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7575
     

แชร์หน้านี้

Loading...