กัลยาณมิตร, โยนิโสมนสิการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 15 พฤษภาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มีผู้พูดถึงกัลยาณมิตรที่

    http://palungjit.org/threads/กัลยาณมิตรหาได้ยากเพราะอะไรครับ.549786/

    ทำความรู้จักกัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะ) ตามหลักพุทธธรรมสักเล็กน้อย

    กัลยาณมิตร (หรือปรโตโฆสะ) ซึ่งคู่ กับ โยสิโสมนสิการ ซึ่งก็มีผู้พูดถึงที่นี่พอดีเลย

    http://palungjit.org/threads/สติปัฏฐาน-4-ข้อ.549649/page-2

    เมื่อทำการศึกษาปรโตโฆสะ กับ โยนิโสมนสิการแล้วจะเห็นภาพรวมของคำสอนของพระพุทธศาสนามากขึ้น
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

    บุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา

    สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

    มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ *

    ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

    ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)

    ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา

    ๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention)

    ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา

    มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม เน้นถึงความสำคัญอย่างควบคู่กัน ดังนี้

    ๑) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าความมีกัลยาณมิตร เลย"

    ๒) "สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด มีประโยชน์มากเท่าโยนิโสมนสิการ เลย"

    ปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    สำหรับคนทั่วไป ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้

    ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้น ก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึก อบรม

    การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอนอบรมได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล

    ดังนั้น ในการศึกษาอบรม จึงจำกัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมาย ด้วยหลักที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา หรือการมีกัลยาณมิตร

    ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นตัวหลักการใช้ปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร

    เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่ากัลยาณมิตตตา เป็นองค์ประกอบภายนอก และโยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน

    ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทำให้ประสบปรโตโฆสะผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้ผลตรงข้าม คือเป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้

    ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการนี้ มีหลักการบางอย่างที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้

    (มีต่อ)
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ต้องขอบคุณท่านมาจากดิน
    ที่มาอรรถาธิบายขยายความ
    ให้เข้าใจมากขึ้น
    เมื่อเข้าใจแล้วก็ปล่อย
    เข้าใจ>ปล่อย
    เข้าใจ>ปล่อย

    คล้าย copy>paste
    Copy>paste
    ก๊อป >>วางแน่
    ก๊อป >>วางแน่
    แต่ไม่รู้ปล่อยหรือเปล่า!?!

    เช่นเดียวกับถ่อแพข้ามแม่น้ำ
    เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ต้องแบกแพ
    ขึ้นหลังไปด้วยนะฮะ อิอิ

    มาจากดินแบกแพติดหลังไปด้วยหรือเปล่าฮะ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ข้อดีของธรรมะก๊อบปี้ก็คือ
    ไม่ค่อยผิดจากต้นฉบับ
    แต้ถ้าต้นฉบับผิด
    จะผิดข้ามโลกไปเลยนะฮะ อิอิ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    เบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิ คือ ต้องรู้ถูกต้องก่อน ไม่ใช่ไปเที่ยวเก็บเอาตามข้างทาง เพราะมันผิดเพี้ยน เมื่อเห็นผิดเสียอย่างเดียว ต่อๆไปผิดหมดขอรับ ไม่อยากคิดเร๊ยจริงๆ คิกๆๆ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ข้อพึงระวัง คือ พูดเลยธง กล่าวคือเมื่อตนเองยังไม่ถึงฝั่ง ยังต้องอาศัยแพอยู่ก็ต้องเกาะแพถ่อไปเรื่อยไป จนกว่าจะถึงฝั่ง เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ผูกแพไว้ ณ ริมฝั่งนั้น ไม่ต้องแบกไปด้วย ธรรมะระดับสูงสุด ท่านอุปมาเหมือนแพฉะนั้น

    ลุงแมวก็ควรระวังไว้ด้วยจะเลยธง อย่าคิดไปก่อนทำได้
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นำหลักเทียบไว้ด้วย (ผู้ยังไม่ถึงฝั่งไม่ควรคิด เพียงศึกษาไว้)

    มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้

    "ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพาน สำหรับข้ามไปฝั่งโน้น ก็ไม่มี บุรุษนั้นพึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่ง ข้างนี้ น่าหวาดระแวง ...ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า
    ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี"

    "คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้น เขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นเทินบนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา"

    "ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นเช่นไร ? บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่?"

    (ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า)

    "บุรุษนั้นทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ? ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้... ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด"

    "ธรรม ก็มีอุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้ เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า"

    "ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ (หลักการ ความเข้าใจธรรม) ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลาย จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เราแสดงแล้ว เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ"


    พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

    วัตถุประสงค์ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญ ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้เป็นต้น


    เหมือนการเดินทางไกลที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุมๆ เพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้ เป็นต้น *

    การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

    เพราะการปฏิบัติอย่างไรจุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    อ้อ!!ฮะ
     
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ลุงแมวเข้าใจว่าท่านอริยะสงฆ์กล่าว
    สอน"ให้จำใส่ใจเพื่อการปฏิบัติในทุกระดับ"
    ไม่ได้เจตนาอย่างอื่นนะฮะ
     
  10. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    มาจากดิน ผมชักติดใจแล้วซิครับ ทำยังไงดีละ5555
    กล่าวธรรมตามสามารถจะเข้าใจ อ่านแล้วไม่สงสัย แทงตลอดไม่ติดขัด. มาจากดินทยานขึ้นสู่สิ่งที่สูงที่สุด. เยี่ยมๆๆๆ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ. สาธุ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อริยสงฆ์ ลุงแมวหมายถึงผู้ใดครับ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (ต่อนะฮะ)

    อ้างอิงก่อนหน้า *
    * องฺ.ทุก.20/371/110 ....ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ
    (อง.ทสก.24/93/201)

    ………..

    วิธีการแห่งศรัทธา


    ปรโตโฆสะ หรือเสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้ ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกิดจากความรักความปรารถนาดี

    เสียงดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหล่งที่ดี คือคนดี คนมีปัญญา คนมีคุณธรรม คนเช่นนี้ ทางธรรมเรียกว่า สัตบุรุษ * บ้าง บัณฑิตบ้าง ถ้าคนดี คือ สัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฏฐิให้แก่ผู้อื่น ก็เรียกว่าเขาทำหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

    แต่บุคคลผู้แสวงสัมมาทิฏฐิ ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตบุรุษหรือบัณฑิตมาหาตน ตรงข้าม เขาย่อมกระตือรือร้นที่จะไปหา ไปปรึกษา ไปสดับฟัง ไปขอคำแนะนำชี้แจงสั่งสอน เข้าร่วมหมู่อยู่ใกล้ ตลอดจนศึกษาแบบอย่างแนวทางจากบัณฑิตหรือสัตบุรุษนั้นเอง การกระทำของเขาอย่างนี้เรียกว่า การเสวนาสัตบุรุษ หรือคบหาคนดี *

    แต่ไม่ว่าสัตบุรุษจะมาทำหน้าที่ให้ หรือบุคคลนั้นจะไปคบหาสัตบุรุษเองก็ตาม ในเมื่อมีการยอมรับหรืออิทธิพลต่อกันเกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่าเขามีกัลยาณมิตร และเรียกภาวะนี้ว่า "กัลยาณมิตตตา" แปลว่า ความมีกัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญเท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำ เป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า *

    ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา

    ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตรควรมีความหมายครอบคลุมทั้งตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น ทั้งคุณสมบัติของผู้สอน ทั้งหลักการ วิธีการ อุปกรณ์ อุบายต่างๆ ในการสอน และการจัดดำเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาจะพึงจัดทำ เพื่อให้การศึกษาอบรมได้ผลดี ตลอดจนหนังสือ สื่อมวลชน บุคคลตัวอย่าง เช่น มหาบุรุษ หรือผู้ประสบความสำเร็จโดยธรรม และสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั้งหลายที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เท่าที่จะเป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้นได้

    ………..

    อ้างอิง *

    * ตามบาลีเป็น สัปปุริส จะเขียนเป็นอย่างลูกครึ่งเป็น สัปปุรุษ หรือ สัปบุรุษ ก็ได้ สัตบุรุษนี้ ถ้ามาคู่กับอริยะ ท่านให้อริยะ หมายถึงพระพุทธเจ้า สัตบุรุษ หมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า และตถาคตสาวก หรือพระสาวกทั้งหลาย หรือทั้งอริยะและสัตบุรุษมีความหมายเท่ากันก็ได้ ถ้าสัตบุรุษมาลำพัง ก็หมายถึงพระพุทธเจ้าลงมาทั้งหมด คำว่า "บัณฑิต" ก็ใช้ได้ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา

    ว่า โดยทั่วไป อริยะ สัตบุรุษ และบัณฑิต ใช้ในความหมายที่คาบเกี่ยวกัน บางทีก็ใช้แทนกัน แต่ถ้าจะเอาหลักตามพุทธพจน์ บัณฑิต คือผู้บรรลุอัตถะ ๒ สัตบุรุษ คือ ผู้มีคุณสมบัติดังจะกล่าวต่อไป

    * ตามบาลีเป็น สัปปุริสสังเสวะ หรือ สัปปุริสูปสังเสวะ หรือ สัปปุริสูปัสสยะ หรือ สัปปุริสูปนิสสยะ หรือสัปปุริสเสวนา หรือ บัณฑิตเสวนา ก็ได้

    * ดูวิสุทธิ. 1/123-125 (คัมภีร์นี้ แสดงตัวอย่างในกรณีของการเรียนสมาธิภาวนา)
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความสำคัญของการมีกัลยาณมิตร

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค"

    "ดูกรอานนท์ ความมีกัลยาณมิตร...เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

    "อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรม ก็พ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็พ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ก็พ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส"

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ "

    "เรา ไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย เมื่อบุคคลมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป"

    "เราไม่เล็งเห็น ธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่....ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย"

    "สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่าง อื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น"

    "ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ

    ๑) จักเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร ฯลฯ

    ๒) จักเป็นผู้ได้ (มีโอกาสสดับฟัง ได้ร่วมสนทนาอย่างสะดวกสบาย) ตามความปรารถนา ในเรื่องต่างๆ ที่ขัดเกลาอุปนิสัย ชำระจิตใจให้ปลอดโปร่ง คือ เรื่องความมักน้อย ฯลฯ เรื่องการบำเพ็ญเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ

    ๓) จักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรม และเพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม จักเป็นผู้แข็งขัน บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม

    ๔) จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นอริยะ หยั่งรู้ถึงความเกิดความดับ ชำแรกกิเลส นำไปสู่ความจบสิ้นแห่งทุกข์"

    บาลีที่ยกมาอ้างนี้ เน้นความสำคัญของความมีกัลยาณมิตรสำหรับภิกษุ เพราะเป็นพุทธพจน์ที่ตรัสกะพระภิกษุ

    ส่วนในด้านคำสอนสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวบ้าน ยังมีหลักธรรม และพุทธภาษิต ที่ย้ำถึงความสำคัญของการคบหา และการเสวนาคนดี เพิ่มจากนี้อีกมากมาย ดังเช่นว่า

    ความมีกัลยาณมิตร เป็นข้อธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อบรรลุทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์โลกนี้)

    การคบคนชั่ว เป็นอบายมุข

    การคบมิตร และปฏิบัติถูกต้องต่อมิตร เป็นหลักอย่างหนึ่งในคำสอนเรื่องทิศ ๖

    การรู้จักเลือกคบคนตามหลักมิตรแท้ มิตรเทียม เป็นหลักธรรมหมวดใหญ่ทีเดียว

    การเสวนาสัตบุรุษ เป็นข้อธรรมหนึ่ง ในจักร ๔ ในวุฒิธรรม ๔ และในโสตาปัตติยังคะ

    ความมีกัลยาณมิตร เป็นข้อธรรมหนึ่งในนาถกรณธรรม หรือธรรมที่ทำให้คนพึ่งตนได้ ๑๐ ประการ

    ในชาดก ซึงเป็นคำสอนสำหรับคนทุกชั้นทุกประเภท โดยเฉพาะชาวบ้าน ก็มีเรื่องราวและสุภาษิตแนะนำ เกี่ยวกับการคบหา หรือการเสวนา เป็นจำนวนมาก

    นอกจากนั้น ยังมีธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ กระจายอยู่ทั่วๆไปในพระสุตตันตปิฎก ขอยกมาดูเป็นตัวอย่าง

    "การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต และการบูชาคนควรบูชา นี่เป็นอุดมมงคล"

    "คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น"

    "ผู้ใด แม้มิได้ทำความชั่ว แต่เกลือกกลั้วกับผู้ทำบาป ผู้นั้น ย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว และเสื่อมเสียชื่อเสียงยิ่งๆ ขึ้น"

    "ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวลง"

    "ผู้ใดห่อปลาเน่าด้วยใบคา ใบคาย่อมเหม็นกลิ่นปลาคละคลุ้ง การเกลือกกลั้วคนพาล ย่อมมีผลอย่างนั้น

    "ผู้ใดห่อใบกฤษณาด้วยใบไม้ ใบไม้นั้น ย่อมพลอยมีกลิ่นหอมฟุ้ง การเสวนานักปราชญ์ ย่อมมีผลอย่างนั้น"

    "ปราชญ์ ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ชวนทำสิ่งไม่เป็นเรื่อง"

    "พึง มองเห็นคนมีปัญญา ที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เหมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ คนเช่นนั้น เป็นบัณฑิต ควรคบได้ คบคนเช่นนั้น มีแต่ดีขึ้น ไม่เลวลง"

    "พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ"

    "ธีรชน อยู่ร่วมด้วยเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ"

    "เดิน ร่วมกัน ๗ ก้าว ก็นับว่าเป็นมิตร เดินร่วมกัน ๑๒ ก้าว ก็นับว่าเป็นสหาย อยู่ร่วมกันสักเดือนหนึ่ง หรือครึ่งเดือน ก็นับว่าเป็นญาติ ถ้านานกว่านั้นไป ก็เหมือนเป็นตัวเอง"


    "มีญาติพวกพ้องมาก ย่อมเป็นการดี เหมือนหมู่ไม้มากหลายในกลางป่า ต้นไม้ที่ขึ้นอยูโดดเดี่ยว ถึงจะงอกงามใหญ่โตเท่าใด ลมก็พัดให้โค่นลงได้"

    "ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตน พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญาปกครองตน พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว"

    "ควรคบมิตรที่เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ผู้โอฬารด้วยความดี มีปฏิภาณ ครั้นรู้จักประโยชน์ที่มุงหมาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว จึงควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด"

    "การพังธรรมตามกาล ...การสนทนาธรรมตามกาล นี่เป็นอุดมมงคล"

    "คนขึ้นแพน้อยไปในมหาสมุทร พึงจมเสีย ฉันใด แม้แต่สาธุชน อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ย่อมจมลงได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ควรเวนห่างคนเกียจคร้าน มีความเพียรทรามอย่างนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิต ผู้สงัด ผู้เป็นอารยะ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งพินิจ ผู้เร่งระดมความเพียรเป็นนิตย์"

    สุภาษิตเหล่านี้ แม้ไม่ต้องยกมาแสดงมาก ก็พอให้ข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบได้ว่า

    - พุทธพจน์เกี่ยวกับการเสวนาที่ตรัสแก่พระภิกษุ โดยมากมีจุดหมายุม่งตรงต่อปรมัตถ์ และประสงค์จะเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิในแนวที่จะเป็นโลกุตระอย่างเด่นชัด

    - ส่วนที่แสดงสำหรับคนทั่วไป หรือชาวบ้าน เน้นประโยชน์ในขั้นทิฏฐธัมมิกัตถะ เชื่อมกับสัมปรายิกัตถะ มุ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชีวิตประจำวัน กลมกลืนไปกับการชักจูงสัมมาทิฏฐิในระดับโลกีย์ คือความเชื่อกรรม ความสำนึกรับผิดชอบเกี่ยวกับความดีความชั่ว ยังไม่เน้นสัมมาทิฏฐิแนวที่จะเป็นโลกุตระ คือ การมองโลกและชีวิตตามสภาวะ เป็นทำนองปล่อยให้แฝงอยู่ และสอนสอดแทรกไปตามโอกาส อย่างที่เรียกว่า ค่อยๆปูพื้นฐานจิตใจให้พร้อมขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะคนทั่วไปมีหลายระดับ

    (ส่วนมากตัดชื่อคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงออก)
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ไม่ได้จำว่ารูปใดนะฮะ
    ที่ท่านแสดงพระธรรมเทศนา
    ลุงแมวจำเรื่อง"แพ"นี้ได้ไม่ลืม
     
  15. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ใช่ๆ แต่รู้แล้วต้องพยายามทำตามด้วย ไม่งั้นก็ไม่เกิดประโยชน์


    การเรียน ก็ต้องมีการทดสอบ ถ้าเราไม่มีสติ ปัญญา หลงวนไปวนมาได้สบาย
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คุณสมบัติของกัลยาณมิตร

    คนดี ว่าโดยลักษณะเฉพาะตัวของเขา ที่เรียกว่าเป็นสัตบุรุษ หรือบัณฑิต มีคุณสมบัติบางอย่างที่ควรรู้ ดังนี้

    สัตบุรุษ คือคนดี หรือคนที่แท้ มีธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ดังนี้

    ๑. ธัมมัญญุตา รู้ หลักและรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์แบบแผนหน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมที่ตนจะต้องศึกษาและปฏิบัติคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้ปกครองรู้ธรรมของผู้ปกครอง คือรู้หลักการปกครอง

    ๒. อัตถัญญุตา รู้ ความมุ่งหมาย และรู้จักผล คือ รู้ความและความมุ่งหมายของหลักธรรม หรือหลักการ กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่จะกระทำ เช่น ภิกษุรู้ว่าธรรมที่ตนศึกษาและปฏิบัตินั้นๆ มีความหมายและความมุ่งหมายอย่างไร ตลอดจนรู้จักประโยชน์ที่เป็นจุดหมายหรือสาระของชีวิต

    ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ของตน ตามเป็นจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสม และให้เกิดผลดี เช่น ภิกษุรู้ว่าตนมีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณแค่ไหน

    ๔. มัตตัญญุตา รู้จัก ประมาณ คือ รู้ความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ในการใช้จ่ายทรัพย์ ภิกษุรู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔ เป็นต้น

    ๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล เช่น รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร รู้จักเวลาเรียน เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เป็นต้น

    ๖. ปริสัญญุตา รู้จัก ชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และข้อความรู้ควรปฏิบัติ ต่อชุมชนนั้น

    ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จัก บุคคล คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่นว่า ควรจะคบหรือไม่ จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิ หรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี เป็นต้น

    บัณฑิต คือ คนฉลาด หรือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มีคุณสมบัติที่ท่านแสดงไว้หลายแบบหลายอย่าง เช่น ในพุทธพจน์ต่อไปนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด ต่างก็ปรากฏแจ่มฉายด้วยความประพฤติของตน ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงรู้ว่า เป็นพาล คือ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต...ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต คือ ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต..."

    "ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต แนวความประพฤติของบัณฑิตมี ๒ ประการ ดังนี้ กล่าวคือ บัณฑิตเป็นผู้มีปกติคิดความคิดดี มีปกติพูดถ้อยคำดี มีปกติทำการดี"

    "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต กล่าวคือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย และเมื่อคนอื่นแก้ปัญหาแยบคาย ด้วยถ้อยคำกลมกล่อม สละสลวย ได้เหตุได้ผล ก็อนุโมทนา"

    "ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ ดังนี้ คือ ผู้แบกภาระที่ไม่มาถึง ๑ ผู้ไม่แบกภาระที่มาถึง ๑....

    "บัณฑิต ๒ ดังนี้ คือ ผู้แบกภาระที่มาถึง ๑ ผู้ไม่แบกภาระที่ไม่มาถึง ๑..."

    "ภิกษุพาล ปรารถนาคำสรรเสริญที่ไม่เป็นจริง ความเด่น ออกหน้าในหมู่ภิกษุ ความเป็นใหญ่ในอาวาสทั้งหลาย และการบูชาในตระกูลคนอื่น เขาคิดว่า ขอให้คนทั้งหลาย ทั้งพวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต จงสำคัญว่า สิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว ก็เพราะอาศัยเราคนเดียว ขอให้ทั้งสองพวกนั้นจงอยู่ในอำนาจของเราเท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ ไม่ว่าอย่างใดๆ คนพาลมีความดำริดังนี้ ความริษยา และมานะ จึงมีแต่พอกพูน"

    "สัตบุรุษทั้งหลายไปในติดทุกสถาน สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะอยากได้ถาม บัณฑิตถูกสุขหรือทุกข์ก็ตามกระทบเข้า ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ

    "บัณฑิต ไม่ทำชั่วเพราะเหตุแห่งตน หรือเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น ไม่พึงปรารถนา บุตร ทรัพย์ รัฐ ความสำเร็จแก่ตน โดยไม่ชอบธรรม บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญาประกอบด้วยธรรม"

    "ผู้ใด เขาสักการะก็ตาม ไม่สักการะก็ตาม ย่อมมีสมาธิไม่หวั่นไหว เป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้นั้น ซึ่งมีปกติเพ่งพินิจ ทำความเพียรตลอดเวลา เห็นแจ้งด้วยความเข้าใจอันสุขุม ยินดีในความสิ้นอุปาทาน ท่านเรียกว่าสัตบุรุษ"

    "คนไขน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน"

    "หงส์ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี เนื้อฟานทั้งหลายก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น จะวัดที่ร่างกายไม่ได้ ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าผู้ใหญ่ แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่"

    "คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่ไปเหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาหาเจริญไม่"

    "คน จะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า ส่วนผู้ใด มีสัจจะ มีธรรม มีอหิงสา มีความบังคับควบคุมตน มีความฝึกตน ผู้นั้นแลเป็นปราชญ์ สลัดมลทินได้แล้ว เรียกได้ว่า เป็นผู้ใหญ่"

    "ห้วงน้ำน้อย ไหลดังสนั่น ห้วงน้ำใหญ่ ไหลนิ่งสงบ สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ คนพาล เหมือนหม้อมีน้ำครึ่งเดียว บัณฑิต เหมือนห้วงน้ำที่เต็ม"

    "ผู้ใดเป็นพาล รู้ตัวว่าเป็นพาล ก็ยังนับว่าเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนผู้ใดเป็นพาล สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ผู้นั้นแล เรียกว่าเป็นพาลแท้ๆ"

    "สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้น ไม่ชื่อว่าสภา ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ ละราคะ โทสะ โมหะ โมหะแล้ว พูดเป็นธรรม จึงจะเป็นสัตบุรุษ"

    "ผู้ใดเป็นธีรชน เป็นคนกตัญญูกตเวที คนหากัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำกิจเพื่อผู้ตกทุกข์ด้วยตั้งใจจริง คนอย่างนั้น ท่านเรียกว่าสัตบุรุษ"



    คนดี มีปัญญา ที่เรียกว่าบัณฑิต หรือสัตบุรุษนี้ เมื่อใครไปเสวนาคบหา หรือเมื่อเขาเองทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ หรือความดีงามแก่ผู้อื่น ชักจูงให้ผู้อื่นมีความรู้ความเห็นถูกต้อง หรือให้มีศรัทธาที่จะถือตามอย่างตน อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการสั่งสอน การแนะนำ หรือกระจายความรู้ความเข้าใจนั้นออกไปทางหนึ่งทางใดก็ตาม ด้วยความปรารถนาดี ด้วยความเมตตากรุณา ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และการประพฤติดีปฏิบัติชอบขึ้น ก็เรียกว่า เป็นกัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร ในแง่ที่เป็นผู้ซึ่งคนอื่นควรเข้าไปคบหาเสวนา นอกจากจะกำหนดด้วยคุณสมบัติต่างๆ เท่าที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจพิจารณาจากคุณธรรมหลักเพียง ๔ หรือ ๕ ประการ ที่ท่านกล่าวไว้ในความหมายของกัลยาณมิตตตา

    กัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตรนั้น ท่านแสดงความหมายว่า ได้แก่ การเสวนา สังเสวนา คบหา ภักดี มีจิตใฝ่โน้มไปหาบุคคลที่มีศรัทธา มีศีล มีสุตะ คือเป็นพหูสูต มีจาคะ และมีปัญญา

    ในบรรดาคุณธรรม ๕ อย่างนี้ บางแห่งท่านแสดงไว้เพียง ๔ เว้นสุตะ แสดงว่า สุตะมีความจำเป็นน้อยกว่าข้ออื่นอีก ๔ ข้อ และท่านขยายความเชิงแนะนำว่า เมื่อไปอยู่ในถิ่นใดก็ตาม ก็เข้าสนิทสนม สนทนา ปราศรัย ถกถ้อยปรึกษากับผู้ประกอบด้วยศรัทธา ผู้ประกอบด้วยศีล ผู้ประกอบด้วยจาคะ ผู้ประกอบด้วยปัญญา ศึกษาเยี่ยงอย่างศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ของคนที่มีคุณสมบัติอย่างนั้นๆ *

    ส่วนกัลยาณมิตร ในแง่ทำหน้าที่ต่อผู้อื่น สมควรมีคุณสมบัติพิเศษจำเพาะสำหรับการทำหน้าที่นั้นอีก ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคุณสมบัติพื้นฐาน ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังนี้ *

    ๑. ปิโย น่ารัก คือ เข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง ชวนใจผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม

    ๒. ครุ น่าเคารพ คือ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึงได้ และปลอดภัย

    ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทำให้ศิษย์เอ่ยอ้าง และรำลึกถึง ด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และภาคภูมิใจ

    ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล คือ พูดเป็น รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี

    ๕. วจนักขโม * ทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกิน และคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์

    ๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แถลง เรื่องล้ำลึกได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งซับซ้อนให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

    ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชะเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การทำหน้าที่ของกัลยาณมิตร

    เมื่อมองในแง่ของการศึกษา หรือความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม การมีมิตรทำกิจต่างๆ ร่วมกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นับว่าเป็นเพียงส่วนประกอบภายนอก สิ่งที่นับว่าสำคัญก็คือ ความมีอิทธิพลชักจูงกันในด้านความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยาม ความรู้ความเข้าใจต่างๆ ที่ท่านเรียกว่า ทิฏฐิ

    ถ้าเป็นความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยาม ความรู้ความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้อง มีโทษ ก็เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นฝ่ายที่ดีงาม ถูกต้อง เป็นประประโยชน์ ก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    มิตรใด มีอิทธิพลชักจูงให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นมิตรไม่ดี เรียกว่า ปาปมิตร มิตรใด ชักนำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นมิตรดี มิตรแท้ เรียกว่ากัลยาณมิตร

    มีบ่อยๆ มีมิตรชนิดในเรือน คือมารดาบิดา หรือแม้แต่ครูอาจารย์ มีอิทธิพลชักนำทิฏฐินี้ น้อยกว่ามิตรชนิดเพื่อนที่คบหาเที่ยวเล่นชุมนุมด้วยกัน แต่บางครั้งปรากฏว่า แม้แต่มิตรชนิดชิดใกล้นั้น กลับมีอิทธิน้อยไปกว่ามิตร ชนิดตัวอยู่ไกล ไม่ว่าโดยเทศะหรือกาละ แต่มีพลังแรงเข้าถึงใจ ได้แก่ มิตรที่มาทางสื่อมวลชน มาทางสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ตลอดจนหนังสือ รวมทั้งชีวประวัติวีรชน บุคคลสำคัญ อันเข้าหลักทิฏฐานุคติ ที่ท่านเน้น

    ตัวเชื่อมที่ทำ ให้มิตรนั้นเข้ามามีอิทธิพลชักจูงได้ หรือปัจจัยเครื่องเชื่อมต่อระหว่างมิตร กับอิทธิพลที่เกิดขึ้นในใจ ก็ได้แก่ ความเชื่อ ความเลื่อมใส ความนิยมชมชอบ ความซาบซึ้งใจ ที่เรียกว่า ศรัทธา

    เมื่อมีศรัทธาแล้ว หรือทำให้เกิดศรัทธาได้แล้ว ถึงตัวมิตรจะอยู่ไกล ไม่ได้คลุกคลี ก็มีอิทธิพลได้ ถึงตัวมิตรจะอยู่ใกล้ แต่ถ้าไม่ศรัทธา ก็หามีอิทธิพลชักจูงได้ไม่ ดังนั้น ท่านจึงถือเป็นหลักการว่า ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ชักนำสั่งสอนผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น เป็นต้น อันถูกต้อง ควรจะต้องยังศรัทธาให้เกิดแก่ผู้รับฟังคำสอนนั้นได้ พูดง่ายๆว่า หลักการเบื้องต้นข้อหนึ่งในทางการศึกษา คือ กัลยาณมิตรเป็นปัจจัยให้เกิดศรัทธา หรือจะพูดขยายออกไปอีกก็ได้ว่า การคบหาบัณฑิต หรือเสวนาสัตบุรุษ เป็นปัจจัยแห่งศรัทธา

    ผู้ใด แม้จะเป็นคนดีมีปัญญา แต่เมือยังไม่อาจให้เขาเกิดศรัทธาได้ ก็ยังไม่ได้ฐานะเป็นกัลยาณมิตร และการเสวนาหรือการคบหาก็ยังไม่เกิด เมื่อศรัทธาแล้ว ใจรับ ก็นำความคิดได้ นำพฤติกรรมได้ อาจได้เกิดการเลียนแบบ หรือชักจูงให้รู้ให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่อไป ข้อตัดสินว่า ทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้สำเร็จ คือ ทำให้ผู้เสวนาเกิดมีสัมมาทิฏฐิ


    เรื่องสัมมาทิฏฐิในแง่หลักวิชาตามแบบ หรือตามตำราเดิมแท้ ยังจะได้กล่าวต่อไปอีก แต่ในที่นี้ มีข้อควรทำความเข้าใจเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยม ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ดีงาม ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ นั้น อาจมีเนื้อหารายละเอียดมากมาย อาจบรรยายกันไปได้ต่างๆ หลายอย่างหลายแนว แต่เมื่อมองตามหลักธรรมแล้ว ก็สรุปได้เป็นเพียง ๒ ประเภท คือ

    ๑. ความเชื่อถือ ความเห็น ทัศนคติ ความ รู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับเรื่องความดีความชั่ว การทำดีทำชั่ว และการได้รับผลดีร้ายสอดคล้องกับการกระทำของตน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อมั่นในคุณธรรม เช่น คุณของมารดาบิดา ความเชื่อความเห็นสอดคล้องกับคำสอนทางศาสนา เช่นว่า โลกหน้ามี เป็นต้น รวมเรียกกันสั้นๆว่า เห็นชอบตามคลองธรรม หรือความเชื่อกรรม ซึ่งทำให้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน เรียกตามหลักวิชาคำเดียวว่า กัมมัสสกตาญาณ

    อย่างที่ว่านี้แล คือสัมมาทิฏฐิที่ได้เคยกล่าวถึงมาแล้วว่าเป็น โลกิยสัมมาทิฏฐิ หรือ สัมมาทิฏฐิขั้นโลกีย์ เกิดจากความรู้ความเข้าใจเหตุผล โดยอาศัยการอบรมสั่งสอนปลูกฝังสืบๆกันมาในสังคม ช่วยให้เกิดความประพฤติดีประประพฤติชอบ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ทำให้สังคมสงบเรียบร้อย คนอยู่ร่วมกันร่มเย็นเป็นสุข

    ๒. ความรู้ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับโลกและชีวิต หรือสังขารธรรมทั้งหลาย ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ตามสภาวะของมัน และตามความเป็นไปโดยธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งควรจะมีจะเป็น ระหว่างตนเอง กับสิ่งทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่ หรือกับโลกและชีวิต

    ดังเช่น รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นสังขารธรรม เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า เป็นไปตามความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย จึงมีสภาพไม่คงที่ ไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่ยั่งยืนอยู่ตลอดไป และมีเหตุปัจจัยต่างๆ ขัดแย้งบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นตัวของมันเองอย่างแท้จริง ไม่อาจเป็นของใครๆ และไม่ขึ้นต่อความปรารถนาของใครได้จริงจัง เมื่อสิ่งทั้งหลายมีสภาวะแท้จริงเป็นอย่างนี้ เราควรมีท่าทีและปฏิบัติต่อมันอย่างไร การมีท่าทีแห่งการยึดมั่นถือครองอย่างไม่ลืมหูลืมตา หรือยกมอบชีวิตนี้ให้แก่การแสวงหาไขว่คว้าสิ่งเหล่านี้ เป็นการถูกต้องแล้วหรือไม่ มนุษย์สัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งตัวเรา ต่างก็เป็นสังขารธรรม ตกอยู่ใต้คติธรรมดาเดียวกัน เป็นเพื่อนแก่เจ็บตาย เราควรมีท่าที และปฏิบัติต่อกันอย่างไร ดังนี้ เป็นต้น

    ความ รู้ความเห็นความเข้าใจอย่างนี้ เกิดจากการรู้จักมอง รู้จักคิด รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะและ ตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นความรู้ความเห็นความเข้าใจที่ได้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ คือในขั้นต้นนี้ยังเป็นโลกิยะ แต่ก็อยู่ในแนวทางของโลกุตรสัมมาทิฏฐิ จะเจริญขึ้นเป็น โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ได้ต่อไป

    สัมมาทิฏฐิอย่างแรก เรียกว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ (ความรู้ภาวะที่บุคคลมีกรรมเป็นของตน หมายถึงความรู้ที่พอรู้จักแยกว่าอันใดเป็นกรรมของตนหรือมิใช่ นับเป็นความรู้ระดับที่ทำให้รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตน) ที่ชาวพุทธไทยมักเรียกกันว่า กัมมัสสกตาศรัทธา เป็นสัมมาทิฏฐิระดับธรรมจริยา หรือกุศลกรรมบถ เป็นประโยชน์หรือจุดหมายชีวิตระดับทิฏฐธัมมิกัตถะ และสัมปรายิกัตถะ แต่เป็นพื้นฐานของปรมัตถ์ต่อไป

    ส่วนสัมมาทิฏฐิอย่างที่สอง จัดเข้าในระดับวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่บาลีเรียก สัจจานุโลมิกญาณ แปลว่า ญาณคล้อยแก่สัจจะ หรือความรู้ที่เข้าแนวสัจจะ นำไปสู่การตรัสรู้ คือมุ่งตรงต่อปรมัตถ์ต่อไป

    จะเห็นว่า สัมมาทิฐิตัวแท้ที่จะให้เข้าถึงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ก็คือ สัมมาทิฐิอย่างที่ ๒ ซึ่งเป็นความรู้ที่เข้าแนวสัจจะ

    ชาวพุทธทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คิดจะเข้าถึงจุดหมายสูงสุด หรือยังไม่คิดก็ตาม ย่อมไม่ควรหยุดอยู่เพียงสัมมาทิฏฐิข้อแรก ควรจะก้าวต่อไปสู่สัมมาทิฏฐิข้อที่ ๒ ด้วย โดยพยายามปลูกอบรมพัฒนาปัญญาระดับนี้ ให้มีขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย เพราะสัมมาทิฏฐิระดับนี้ จะช่วยบรรเทาความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลง ทำให้จิตใจปลอดโปร่งผ่องใส รู้จักวางใจวางท่าทีต่อโลภ และชีวิตดีขึ้น จะมีความสุขมากขึ้น เป็นวิธีลดการเบียดเบียนแย่งชิงและความทุกข์ความเดือดร้อนของโลก ที่ได้ผลแท้ ยิ่งกว่าวิธียับยั้งบังคับหรือเหนี่ยวรั้งใจในระดับที่เรียกกันว่าศีลธรรม เป็นผลดีทั้งแก่ตนและแก่สังคม


    (ข้อกัลยาณมิตร ยาวเท่านี้ก็พอเห็นเค้าแล้ว)
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โยนิโสมนสิการ

    ความนำ

    ฐานะของความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

    คนเรานี้ จะมีความสุขอย่างแท้จริง ก็ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง คือ จะต้องปฏิบัติถูกต้องต่อชีวิตของตนเอง และต่อสภาพแวดล้อม ทั้งทางสังคม ทางธรรมชาติ และทางวัตถุโดยทั่วไป รวมทั้งเทคโนโลยี คนที่รู้จัก ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ย่อมมีชีวิตที่ดีงาม และมีความสุขที่แท้ จริง ซึ่งหมายถึงการมีความสุขที่เอื้อต่อการเกิดมีความสุขของผู้อื่นด้วย

    อย่างไรก็ตาม การ ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง หรือการปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลาย อย่าง ที่กล่าวมานี้ เป็นการพูดแบบรวมความ ซึ่งถ้าจะให้เห็นชัดเจน จะต้อง แบ่งซอยออกไปเป็นการปฏิบัติถูกต้องในกิจกรรมส่วนย่อยต่างๆ ของการดำเนิน ชีวิตนั้นมากมาย หลายแง่หลายด้าน

    ดังนั้น เพื่อ เสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงควรกล่าวถึงการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้าน ทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง นั้น หรือกระจายความหมายของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นออกไป ให้เห็น การปฏิบัติถูกต้องแต่ละแง่แต่ละด้าน ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตที่ ถูกต้องนั้น

    การดำเนินชีวิตนั้น มองในแง่หนึ่งก็คือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้อยู่รอด หรือการนำชีวิตไปให้ ล่วงพ้นสิ่งบีบคั้นตัดขัดคับข้อง เพื่อให้เป็นอยู่ได้ด้วยดี การดำเนิน ชีวิตที่มองในแง่นี้ พูดอย่างสิ้นๆก็คือ การแก้ปัญหาหรือการดับ ทุกข์ ผู้ที่แก้ปัญหาได้ถูกต้อง ล่วงพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี ก็ย่อมเป็น ผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ โดยนัย นี้ การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักแก้ ปัญหา หรือเรียกง่ายๆว่า แก้ปัญหาเป็น

    มองอีกแง่หนึ่ง การ ดำเนินชีวิตของคนเรา ก็คือ การประกอบกิจกรรมหรือทำการต่างๆ โดยเคลื่อนไหวแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ถ้าไม่ แสดงออกมาภายนอก ก็ทำอยู่ภายใน เป็นพฤติกรรมของจิตใจ พูดรวมๆ ว่า ทำ พูด คิด หรือใช้คำศัพท์ว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่มีชื่อรวมเรียกว่า กรรมทางไตรทวาร

    ในแง่นี้ การดำเนินชีวิต ก็คือ การทำกรรมทั้ง ๓ ประการ ผู้ที่ทำกรรม ๓ อย่างนี้ได้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมดำเนิน ชีวิตไปได้ด้วยดี ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักทำ รู้จักพูด รู้จักคิด เรียกง่ายๆว่า คิดเป็น พูดเป็น (หรือสื่อสารเป็น) และทำเป็น (รวมทั้งผลิตเป็น)

    ในแง่ต่อไป การ ดำเนินชีวิตของคนเรา ถ้าวิเคราะห์ออกไป จะเห็นว่า เต็มไปด้วย เรื่องของการรับรู้ และเสวยรสของสิ่งรู้หรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งผ่านเข้ามา หรือปรากฏทางอายตนะ ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งต้องกาย และรู้อารมณ์ใน ใจ หรือ หู ฟัง ดม ชิม ลิ้ม ถูกต้อง/สัมผัส และคิดหมาย

    ท่าที และปฏิกิริยาของบุคคลในการรับรู้อารมณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต จิตใจและวิถีชีวิตหรือชะตากรรมของเขา ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีของความยินดี ยินร้าย หรือชอบชัง วงจรของปัญหาก็จะตั้งต้น แต่ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีแบบบันทึกข้อมูล และเห็นตามเป็นจริง หรือมองตามเหตุปัจจัย ก็จะนำไปสู่ปัญญา และการแก้ปัญหา

    นอกจากท่าทีและปฏิบัติในการรับรู้แล้ว สิ่ง ที่สำคัญไม่น้อยกว่านั้น ก็คือ การเลือกรับรู้อารมณ์ หรือเลือกอารมณ์ ที่จะรับรู้ เช่น เลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองความอยาก หรือเลือกดู เลือกฟัง สิ่งที่สนองปัญญาส่งเสริมคุณภาพชีวิต

    เมื่อมองในแง่นี้ การ ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี จึงหมายถึงการรู้จักรับรู้ หรือรับรู้ เป็น ได้แก่ รู้จัก (เลือก) ดู รู้จัก (เลือก) ฟัง รู้จัก (เลือก) ดม รู้จัก (เลือก) ลิ้ม รู้จัก (เลือก) สัมผัส รู้จัก (เลือก) คิด เรียกง่ายๆว่า ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ชิมเป็น สัมผัสเป็น และ คิดเป็น

    ยังมีแง่ที่จะมองได้ต่อไปอีก การ ดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ในความหมายอย่างหนึ่ง ก็คือ การเข้าไป เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย เพื่อถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น

    จะเห็นชัดว่า สำหรับ คนทั่วไปส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตจะมีความหมายเด่นในแง่นี้ คือ การที่ จะได้เสพหรือบริโภค คนทั่วไปส่วนมาก เมื่อจะเข้าไปเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับ สภาพแวดล้อมทางสังคมก็ตาม ทางวัตถุก็ตาม ก็มุ่งที่จะได้จะเอาประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งจากบุคคลหรือสิ่งเหล่านั้น เพื่อสนองความประสงค์ หรือ ความปรารถนาของตน พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เพื่อต้องการสนองความประสงค์หรือ ความปรารถนาของตน จึงเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคล หรือ สิ่งทั้งหลายอย่างนั้นๆ

    แม้แต่การดำเนินชีวิตในความหมายของการรับรู้ในข้อก่อนนี้ ว่า ที่จริงก็แบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านรับรู้ เช่น เห็น ได้ ยิน เป็นต้น กับ ด้านเสพ เช่น ดู ฟัง เป็นต้น ความหมายด้านที่สอง คือ การเสพที่ให้ดูเป็น ฟังเป็น เป็นต้น ก็มีนัยที่รวมอยู่ในความหมายข้อนี้ด้วย

    การปฏิบัติที่ถูกต้องในการเสพหรือบริโภคนี้ เป็น ปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะกำหนด หรือปรุงแต่งวิถีชีวิต และทุกข์สุขของมนุษย์ ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จัก เสพ รู้จักบริโภค ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทาง สังคม ก็หมายถึงการรู้จักคบหา รู้จักเสวนา ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ก็หมายถึงการรู้จักกิน รู้จักใช้ เรียกง่ายๆ ว่า กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนาเป็น คบคนเป็น

    จะเห็นว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดีนั้น ครอบคลุมถึงการปฏิบัติถูกต้องที่เป็น ส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตนั้น มากมายหลายแง่หลายด้านด้วยกัน กล่าวโดย สรุป คือ

    ก) ในแง่ของการล่วงพ้นปัญหา ได้แก่ แก้ปัญหาเป็น
    ข) ในแง่ของการทำกรรม ได้แก่ คิดเป็น พูดเป็น/สื่อสารเป็น ทำเป็น
    ค) ในแง่ของการรับรู้ ได้แก่ ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ลิ้มเป็น สัมผัสเป็น คิดเป็น
    ง) ในแง่ของการเสพหรือบริโภค ได้แก่ กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนา-คบหาเป็น

    การปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆ ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิต อย่างที่กล่าวมานี้ รวมเรียก การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือการ รู้จักดำเนินชีวิต พูดได้สอดคล้องกับถ้อยคำที่ใช้ข้างต้นว่า ดำเนิน ชีวิตเป็น และชีวิตที่ดำเนินอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นชีวิตที่ดีงาม ตามนัยแห่งพุทธธรรม

    บรรดาการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆเหล่านี้ อาจ พูดรวบรัดได้ว่า การรู้จักคิด หรือ คิดเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนิน ชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ เช่น

    ในแง่ของการรับรู้ ความ คิดเป็นจุดศูนย์รวม ที่ข่าวสารข้อมูลทั้งหมดไหลมาชุมนุม เป็นที่ วินิจฉัย และนำข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปปรุงแต่งสร้างสรรค์และไร้การต่างๆ

    ในแง่ของกรรม คือ ใน แง่ของระบบการกระทำ ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแสดงอกทาง กาย และวาจา ที่เรียกว่าการพูดและการกระทำ และเป็นศูนย์ บัญชาการ ซึ่งกำหนดหรือสั่งบังคับให้พูดจาและให้ทำการไปตามที่คิดหมาย


    ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองนั้น ความคิดเป็นศูนย์กลาง โดย เป็นจุดประสานเชื่อมต่อระหว่างระบบการรับรู้ กับระบบการทำกรรม กล่าว คือ เมื่อรับรู้เข้ามาโดยทางอายตนะต่างๆ และเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลข่าว สารมาคิดปรุงแต่งแล้ว ก็วินิจฉัยสั่งการโดยแสดงออกเป็นการกระทำทางกายหรือ วาจา คือ พูดจา และเคลื่อนไหวทำการต่างๆต่อไป

    พูดรวมๆได้ว่า การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือ คิดเป็น เป็นศูนย์ กลางที่บริหารการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นหัวหน้าที่ชี้ นำ นำทาง และควบคุมการปฏิบัติถูกต้องในแง่อื่นๆทั้งหมด

    เมื่อคิดเป็นแล้ว ก็ช่วยให้พูดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ช่วยให้ดูเป็น ฟัง เป็น กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น และคบหาเสวนาเป็น ตลอดไปทุกอย่าง คือ ดำเนินชีวิตเป็นนั่นเอง จึง พูดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำที่ชัดพา หรือ เปิด ช่องไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

    ลักษณะสำคัญที่เป็นตัวตัดสินคุณค่าของการรู้จักทำ หรือทำเป็น ก็คือความพอดี และในกรณีทั่วๆไป รู้จัก และ เป็น กับ พอดี ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกัน

    การ รู้จักทำ หรือทำอะไรเป็น ก็คือ ทำสิ่งนั้นๆ พอเหมาะพอดีที่จะให้ เกิดผลสำเร็จที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ หรือทำแม่นยำ สอดคล้อง ตรง จุด ตรงเป้า ที่จะให้บรรลุจุดหมายอย่างดีที่สุด โดยไม่เกิดผลเสียหาย หรือข้อบกพร่องใดๆ เลย

    พุทธธรรมถือเอาลักษณะที่ไร้โทษ ไร้ทุกข์ และเหมาะเจาะที่จะให้ถึงจุดหมายนี้เป็นสำคัญ จึงใช้คำว่า พอดี เป็นคำหลัก ดังนั้น สำหรับคำว่า ดำเนินชีวิตเป็น จึงใช้คำว่า ดำเนินชีวิตพอดี คือ ดำเนินชีวิตพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายแห่งการเป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์มีความสุขที่แท้จริง

    การดำเนินชีวิตพอดี หรือการปฏิบัติพอดี เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม กล่าวคือ มรรค หรือ อริยมรรค ที่ แปลสืบๆ กันมาว่า มรรคอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม ล้ำ เลิศ ปราศจากพิษภัยไร้โทษ นำสู่เกษมศานติ์ และความสุขที่สมบูรณ์

    พุทธธรรมแสดงหลักการว่า การที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง หรือมีชีวิตที่ดีงามได้นั้น จะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งได้แก่กระบวนการที่เรียกว่า การศึกษา พูดอย่างสั้นที่สุดว่า มรรคจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยสิกขา

    การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำของชีวิตที่ดีงาม หรือ มรรค ฉันใด การฝึกฝนพัฒนาความคิดที่ถูกต้อง ให้รู้จัก คิด หรือคิดเป็น ก็เป็นตัวนำของการศึกษา หรือ สิกขา ฉันนั้น

    ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน คือ การ ศึกษา เพื่อให้มีชีวิตดีงามนั้น การฝึกฝนความรู้จักคิด หรือ คิด เป็นซึ่งเป็นตัวนำ จะเป็นปัจจัยชักพาไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ความคิด เห็น ตลอดจนความเชื่อถือถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำของชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

    การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ซึ่ง เป็นแกนนำในกระบวนการของการศึกษานั้น ก็คือ สาระสำคัญของการพัฒนา ปัญญา ที่เป็นแกนกลางของกระบวนการพัฒนาคน ที่เรียกว่า การศึกษา (สิกขา) นั่นเอง


    การรู้จักคิด หรือ คิดเป็นนั้น ประกอบด้วยวิธีคิดต่างๆ หลายอย่าง การฝึกฝนพัฒนาความ รู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็คือการฝึกฝนพัฒนาตน หรือการฝึกฝนพัฒนา บุคคล ตามแนวทางของวิธีคิดเหล่านั้น หรือ เช่นนั้น
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (ต่อนะฮะ)

    ฐานะของความคิด ในกระบวนการของการศึกษา หรือ การพัฒนาปัญญา

    ก่อนจะพูดกันต่อไปในเรื่องวิธีคิด ขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของความคิดในกระบวนการของการศึกษา โดยเฉพาะในการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลางของ การศึกษานั้นก่อน

    ก) จุดเริ่มของการศึกษา และความไร้การศึกษา

    ตัวแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาตนโดยมีการพัฒนาปัญญาเป็นแกนกลาง นั้น เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปภายในตัวบุคคล แกนนำของกระบวนการแห่งการ ศึกษา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น แนวความ คิด ทัศนคติ ค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม สอด คล้องกับความเป็นจริง เรียกสั้นๆว่า สัมมาทิฏฐิ

    เมื่อรู้เข้าใจ คิดเห็นดีงาม ถูกต้องตรงตามความจริงแล้ว การ คิด การพูด การกระทำ และการแสดงออกหรือปฏิบัติการต่างๆก็ถูกต้องดี งาม เกื้อกูล นำไปสู่การดับทุกข์ แก้ไขปัญหาได้

    ในทางตรงกันข้าม ถ้ารู้เข้าใจคิดเห็นผิด มีค่านิยม ทัศนคติ แนวความ คิดที่ผิด ที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ แล้ว การคิด การพูด การกระทำ การแสดงออก และปฏิบัติการต่างๆก็พลอยดำเนิน ไปในทางที่ผิดพลาดด้วย แทนที่จะแก้ปัญหาดับทุกข์ได้ ก็กลายเป็นก่อ ทุกข์ สั่งสมปัญหา ให้เพิ่มพูนร้ายแรงยิ่งขึ้น

    สัมมาทิฏฐิ นั้น แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ

    ๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อถือ ความนิยม ค่านิยม จำพวกที่เชื่อหรือยอมรับรู้กระทำ และผลการกระทำของตน หรือสร้างความสำนึกในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน พูดอย่างชาวบ้านว่า เห็นชอบตามคลองธรรม เรียกสั้นๆว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิระดับโลกีย์ เป็นขั้นจริยธรรม

    ๒. ทัศนะ แนวความคิด ที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันหรือตามที่มันเป็น ไม่เอนเอียงไปตามความชอบความชังของตน หรือตามที่อยากให้มันเป็น อยากไม่ให้มันเป็นความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งธรรมดา เรียกสั้นๆว่า สัจจานุโลมิกญาณ เป็น สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ เป็นขั้นสัจธรรม

    มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดหลงผิด ก็มี ๒ ระดับ เช่นเดียวกัน คือ ทัศนะ แนวความคิด ค่านิยม ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับการกระทำของตน กับความไม่รู้ไม่เข้าใจโลก และชีวิตตามสภาวะ หลงมองสร้างภาพไปตามความอยากให้เป็น และอยากไม่ให้เป็นของตนเอง


    อย่างไรก็ดี กระบวนการของการศึกษาภายในตัวบุคคล จะเริ่มต้น และดำเนินไปได้ ต้องอาศัยการติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม และอิทธิพลจากภายนอกเป็นแรงผลักดัน หรือเป็นปัจจัยก่อตัว ถ้าได้รับการถ่ายทอดแนะนำชักจูง เรียนรู้จากแหล่งความรู้ความคิดที่ถูกต้อง หรือรู้จักเลือกรู้จักมองรู้จักเกี่ยวข้องพิจารณาโลก และชีวิตในทางที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ นำไปสู่การศึกษาที่ถูกต้องหรือมีการศึกษา

    แต่ตรงข้าม ถ้าได้รับถ่ายทอดแนะนำชักจูง ได้รับอิทธิพลภายนอกที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้เท่าทันประสบการณ์ต่างๆ ก็จะทำให้เกิด มิจฉาทิฏฐินำไปสู่การศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา

    โดยสรุปแหล่งที่มาเบื้องต้นของการศึกษา เรียกว่าปัจจัย แห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ปัจจัยภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือเสียงบอกจากผู้อื่น ได้แก่การรับถ่ายทอด หรืออิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนที่คบหา หนังสือสื่อมวลชน และวัฒนธรรม ซึ่งให้ข่าวสารที่ถูกต้อง สั่งสอนอบรมแนะนำชักจูงไปในทางที่ดีงาม

    ๒. ปัจจัยภายใน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคายหมายถึงการคิดถูกวิธีความรู้จักคิดหรือ คิดเป็น

    ในทำนองเดียวกัน แหล่งที่มาของการศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา ที่เรียกว่า ปัจจัยแห่งมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ปรโตโฆสะเสียงบอกจากภายนอกที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ การทำในใจไม่แยบคาย การไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็นหรือการขาดโยนิโสมนสิการนั่นเอง

    ข. กระบวนการของการศึกษา

    ได้กล่าวแล้วว่าแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษาได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำและเป็นฐานแล้วกระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้

    กระบวนการนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆเรียกว่า ไตรสิกขา (สิกขาหรือหลักการศึกษา ๓ ประการ) คือ

    ๑.การฝึกฝนพัฒนาในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกายวาจา และอาชีวะ เรียกว่า อธิสีลสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ศีล)

    ๒.การฝึกฝนพัฒนาทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรมสร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพและสุขภาพจิต เรียกว่า อธิจิตตสิกขา (เรียกง่ายๆว่า สมาธิ)

    ๓. การฝึกฝนพัฒนาทางปัญญา ให้ เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผลรู้เท่าทันโลก และชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลส ดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา (เรียกง่ายๆว่า ปัญญา)

    หลักการศึกษา ๓ ประการนี้ จัดวางขึ้นไว้โดยอาศัยหลักปฏิบัติที่เรียกว่า วิธีแก้ปัญหาของอารยชนเป็นพื้นฐาน วิธีแก้ปัญหาแบบอารยชนนี้ เรียกตามคำบาลีว่า อริยมรรค แปลว่า ทางดำเนินสู่ความดับทุกข์ ที่ทำให้เป็นอริยชน หรือวิธีดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ

    อริยมรรคนี้ มีองค์ประกอบที่เป็นเนื้อหา หรือรายละเอียดของการปฏิบัติ ๘ ประการ คือ

    ๑.ทัศนะ ความคิดเห็น แนวคิด ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ ที่ดีงามถูกต้องมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือตรงตามสภาวะเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)

    ๒.ความคิด ความดำริตริตรอง หรือคิดการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อเป็นเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เศร้าหมองขุ่นมัวเป็นไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุข เช่น คิดในทางเสียสละ หวังดี มีไมตรี ช่วยเหลือเกื้อกูล และความคิดที่บริสุทธิ์ อิงสัจจะ อิงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความเห็นแก่ตัว ความคิดจะได้จะเอา หรือความเคียดแค้นชิงชัง มุ่งร้ายคิดทำลาย เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

    ๓.การพูด หรือการแสดงออกทางวาจาที่สุจริต ไม่ทำร้ายผู้อื่น ตรงความจริง ไม่โกหกหลอกลวง ไม่ส่อเสียด ไม่ให้ร้ายป้ายสี ไม่หยาบคาย ไม่เหลวไหล ไม่เพ้อเจ้อเลื่อนลอย แต่สุภาพ นิ่มนวล ชวนให้เกิดไมตรีสามัคคีกัน ถ้อยคำที่มีเหตุผล เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ก่อประโยชน์เรียกว่า สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

    ๔.การกระทำที่ดีงามสุจริต เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ทำให้สังคมสงบสุข คือ การกระทำหรือทำการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่เป็นไปเพื่อการทำลายชีวิตร่างกาย การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น การล่วงละเมิดสิทธิในคู่ครอง หรือของรักของหวงแหนของผู้อื่น เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (การทำชอบ)

    ๕.การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)

    ๖.การเพียรพยายามในทางที่ดีงามชอบธรรม คือ เพียรหลีกเว้นป้องกันสิ่งชั่วร้ายอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละเลิก กำจัดสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างสรรค์สิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรส่งเสริมพัฒนาสิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่เกิดมีแล้ว ให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนเพียบพร้อมไพบูลย์ เรียกว่า สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)

    ๗. การมีสติกำกับตัว คุมใจไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำในเวลานั้นๆ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน ระลึกได้ถึงสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ หรือธรรมที่ต้องใช้ในเรื่องนั้นๆ เวลานั้นๆ ไม่หลงใหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัวเผอเรอ โดยเฉพาะสติที่กำกับทันต่อพฤติกรรมของร่างกาย ความรู้สึก สภาพจิตใจ และความนึกคิดของตน ไม่ปล่อยให้อารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ มาฉุดกระชากให้หลุดหลงเลื่อนลอยไปเสีย เรียกว่า สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

    ๘. ความมีจิตตั้งมั่น จิตใจดำเนินอยู่ในกิจในงาน หรือในสิ่งที่กำหนด (อารมณ์) ได้สม่ำเสมอ แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวกหวั่นไหว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว นุ่มนวล ผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่กระด้าง เข้มแข็ง เอางาน ไม่หดหู่ท้อแท้ พร้อมที่จะใช้งานทางปัญญาอย่างได้ผลดี เรียกว่า สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)

    หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหาหรือ มรรคแห่งความดับทุกข์) คือเป็นการฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงามใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับจนถึงที่สุด กล่าวคือ

    ๑. อธิสีลสิกขา คือการศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เจริญ งอกงามขึ้นจนบุคคลมีความพร้อมทางความประพฤติ วินัย และความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงมาตรฐานของอารยชน เป็นพื้นฐานแก่การสร้างเสริมคุณภาพจิตได้ดี

    ๒. อธิจิตสิกขา คือการศึกษาด้าน หรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เจริญ งอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางคุณธรรม มีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิตพัฒนาถึงมาตรฐานของอารยชนเป็นพื้นฐานแห่งการพัฒนาปัญญาได้ดี

    ๓.อธิปัญญาสิกขา คือการศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เจริญ งอกงามขึ้นจนบุคคลมีความพร้อมทางปัญญาถึงมาตรฐานของอารยชน สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตใจผ่องใส เบิกบาน ไร้ทุกข์หลุดพ้นจากความยึดถือมั่นต่างๆ เป็นอิสรเสรีด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

    แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นแกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษานั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ

    ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ ๒ ประการ

    ค. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการศึกษา

    เมื่อได้ทำความ เข้าใจคร่าวๆเกี่ยวกับกระบวนการของการศึกษา พอเห็นตำแหน่ง แห่งที่ หรือฐานะของความคิดในกระบวนแห่งการศึกษานั้นแล้ว ก็จะได้กล่าว ถึงเรื่องความคิดโดยเฉพาะต่อไป

    อย่างไรก็ดี โดยที่ความคิดเป็นอย่างในบรรดาจุดเริ่ม หรือแห่ง ที่ มา ๒ ประการ ของการศึกษา เมื่อจะพูดถึงความคิดที่เป็นจุดเริ่มอย่าง หนึ่ง ก็ควรรู้จุดเริมอื่นอีกอย่างหนึ่งนั้นด้วย เพื่อจะได้ขอบเขตความ เข้าใจที่กว้างขวางชัดเจนยิ่งขึ้น

    ก่อนอื่น พึงพิจารณาพุทธพจน์ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ"

    "โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภาย นอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย"

    "โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"

    ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ได้แสดงความหมายในที่นี้ว่า เป็นจุด เริ่ม หรือแหล่งที่มาของการศึกษา หรือ อาจจะเรียกว่า บุพภาคของการ ศึกษา เพราะเป็นบ่อเกิดของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำ เป็นต้นทาง และเป็นตัวยืนของกระบวนการแห่งการศึกษา ทั้งหมด ที่ตรัสว่า มี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ปรโตโฆสะ แปล ว่า เสียงจากผู้อื่น หรือการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่ การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา ข่าวสาร คำชี้แจงอธิบายจาก ผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้ เลียนแบบ จากแหล่งต่างๆภายนอก หรือ อิทธิพลจากภายนอก

    แหล่งสำคัญของการเรียนรู้ประเภท นี้ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เพื่อน คนแวดล้อมใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับ บัญชา และผู้ไต้บังคับบัญชา บุคคลมีชื่อเสียง คนโด่งดัง คนผู้ได้ รับความนิยมในด้านต่างๆ หนังสือ สื่อมวลชนทั้ง หลาย สถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่แนะนำในทางถูกต้องดีงาม ให้ความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะสามารถช่วยนำไปสู่ปัจจัยที่ ๒ ได้

    ปัจจัยข้อนี้ จัดเป็นองค์ประกอบภายนอก หรืออาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม

    บุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถ ทำหน้าที่ปรโตโฆสะที่ดี มีคุณภาพสูง มีคำเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร ตามปกติกัลยาณมิตร จะทำหน้าเป็นผลดี ประสบความสำเร็จแห่งปรโตโฆสะได้ ต้องสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ เล่าเรียน หรือผู้รับการฝึก สอนอบรม จึงเรียกวิธีเรียนรู้ในข้อนี้ว่า วิธีการแห่งศรัทธา

    ถ้าผู้มีหน้าที่ให้ปรโตโฆสะ เช่น ครู อาจารย์ พ่อแม่ ไม่สามารถทำ ให้เกิดศรัทธาได้ และผู้เล่าเรียน เช่น เด็กๆ เกิดเมีศรัทธาต่อ แหล่งความรู้ความคิดอื่นมากกว่า เช่น ดาราใน สื่อมวลชน เป็นต้น และถ้าแหล่งเหล่านั้นให้ปรโตโฆสะที่ชั่วร้ายผิด พลาด อันตรายย่อมเกิดขึ้นในกระบวนการแห่งการศึกษา อาจเกิดการศึกษาที่ ผิด หรือ ความไร้การศึกษา

    ๒. โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หรือคิดถูกวิธี แปลง่ายๆ ว่าความรู้จักคิด หรือคิดเป็น หมายถึงการคิดอย่างระเบียบหรือคิดตามแนว ทางของปัญญา คือการรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตาม สภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้าสืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และความคิดสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วย ตัณหา อุปาทานของตนเข้าจับ หรือเคลือบคลุมทำให้เกิด ความดีงามและแก้ปัญหาได้

    ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล และอาจเรียกตามองค์ธรรมที่ใช้งานว่า วิธีการแห่งปัญญา

    บรรดาปัจจัย ๒ อย่างนี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ คือโยนิโสมนสิการ เป็น แกนกลาง หรือ ส่วนที่ขาดไม่ได้ การศึกษาจะสำเร็จผลแท้จริงบรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็ เพราะปัจจัยข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ อาจให้เกิดการศึกษา ได้ โดยไม่มีข้อที่ ๑ แต่ปัจจัยข้อที่ ๑ จะต้องนำไปสู่ปัจจัยข้อที่ ๒ด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลของการศึกษาที่แท้ การค้นพบต่างๆความคิดริ เริ่ม ความก้าวหน้าทางปัญญาที่สำคัญๆ และการตรัสรู้สัจธรรมก็สำเร็จด้วย โยนิโสมนสิการ

    อย่างไรก็ตาม แม้ความจริงจะเป็นเช่นนี้ ก็ไม่พึงดูแคลนความสำเร็จของปัจจัยข้อแรก คือปรโตโฆสะ เพราะ ตามปกติ คนที่จะไม่ต้องอาศัยปรโตโฆสะเลย ใช้แต่โยนิโสมนสิการ อย่างเดียว ก็มีแต่อัจฉริยบุคคลยอดเยี่ยม เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีน้อยท่านอย่างยิ่ง ส่วนคนทั่วไปที่เป็นส่วนใหญ่ หรือ คนแทบทั้งหมดในโลก ต้องอาศัยปรโตโฆสะเป็นที่ชักนำชี้ช่องทางให้

    กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดกันอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งดำเนิน การกันเป็นระบบ เป็นงานเป็นการ การถ่ายทอดความรู้และศิลปะวิทยาการต่างๆ ที่เป็น ของสุตะ ก็ล้วนเป็นเรื่องของปรโตโฆสะทั้งสิ้น การสร้างปรโตโฆสะที่ ดีงามโดยกัลยาณมิตร จึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความเอาใจใส่ตั้งใจจัดเป็นอย่างยิ่ง

    จุดที่พึงย้ำเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ ก็ คือ เมื่อดำเนินกิจการในทางการศึกษา อำนวยปรโตโฆสะที่ดีอยู่ นั้น กัลยาณมิตรพึงระลึกอยู่เสมอว่า ปรโตโฆสะที่จัดสรรอำนวยให้นั้น จะต้องเป็นเครื่องปลูกเร้าโยนิโสมนสิการ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เล่าเรียน รับการศึกษา

    เมื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็หันมาพูดจำกัดเฉพาะเรื่องความคิดต่อไป
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    [​IMG]

    กรรมเก่า คือ จักขุ (ตา) โสต (หู) ฆาน (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (กาย) มโน (ใจ) (สํ.สฬ. 18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัย ปรโตฆสะ ซึ่งมีคติว่า “คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น” และ โยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า “ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...