กายในกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cap5123, 26 เมษายน 2009.

  1. cap5123

    cap5123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +85
    [​IMG]


    กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้นคือ






    ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย
    หน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
    ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้
    ต่างกันบ้างที่มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความ
    เป็นมนุษย์ชัดเจนพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
    ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพ
    ชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวย
    สดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
    ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่อง
    ประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตาย
    ไปแล้วไปเกิดเป็นพรหม
    ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกาย ก็เรียก กายของท่านประเภทนี้
    เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและ
    เป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็น
    พระอรหันต์ เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
    ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ
    หมายถึงว่าท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้าง
    กรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า
    เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก
    โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์
    ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่า
    ขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไรควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่งปรากฏ
    แก่จิต เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็น
    พิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้วควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรกต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง
    อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่าน
    ผู้ทรงฌานหนึ่งหรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบ
    ไว้ภายนอก ท่านที่ทรงฌานสองหรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่ง
    หนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็น
    แกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน
    กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก

    จิตของพระอริยะ
    ๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง
    จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณ
    ได้ผลบ้างแล้ว
    ๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
    ๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
    ๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวงจะเหลือส่วนที่ไม่เป็น
    ประกายนิดหน่อย
    ๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึก
    ลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและ
    พยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็น
    ประกาย แล้วก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมด
    ทุกข์ สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์
    ภัยเจือปนเลย
    ท่านที่ได้เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้
    และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา
    รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่นก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้า
    รู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้ แสดงว่า
    สูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์
    สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด
    ถ้าเป็นครูสอนสมณธรรมก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัย
    และจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ
    สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->กายคือจิต<!--colorc--><!--/colorc--> จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายใน
    ออกก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก
    กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรมไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็
    จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะปรากฏเป็น
    พรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่าง
    มีแสงสว่างมากร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว
    เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของ
    จิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและบาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือ
    รู้อารมณ์จิตของตนเองว่าขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วยกุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไร
    สั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็น อนุสัย คือกิเลสที่มีกำลังน้อย
    ไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนักแต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ
    เช่น อารมณ์สมถะที่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการ
    สงบแนบนิ่งมากจนความไหวทางจิตในเรื่องความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคืองความ
    สั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่าเรานี่สำเร็จมรรคผลเสียแล้วหรือ
    แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ เช่น
    ครุ่นคิดถึงความสวยสดงดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวน
    จากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวลของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น
    ในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่จิตคิดไปและจะระงับได้เพราะการพิจารณาในกรรมฐาน
    ที่มีอาการตรงกันข้าม เช่นอสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มี
    กำลังที่จะกดขี่กิเลสให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด
    เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้
    ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผลถ้าเราสำรวจตรวจจิตไว้เสมอ
    ตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่
    จะรู้ได้เพราะสีของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็น
    สีแดงสีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต
    สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่งตำหนิตนเอง
    ได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐคือเป็นการ
    แสดงออกของอุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์
    มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสีแดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยัง
    มีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลวสำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิตให้ใสสะอาด
    เป็นปกติ และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไร
    ก็เป็นประกายแพรวพราวถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่
    ปางก่อนจะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรามาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับอำนาจโทสะ
    ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ถูกด่าก็พบว่าจิต
    ใสประกายแพรวพราวแม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติ
    อย่างนี้ใช้ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔
    ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท
    เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพานในชาตินี้
    เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้นเป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิต
    ของพระอรหันต์เท่านั้น ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อ
    พระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่นท่านที่กล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถ
    คอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัยก็ยังรู้
    ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้วจงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโต-
    ปริยญาณนี้และเล่นให้คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...