การก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [SIZE=+1]การก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์[/SIZE] ส่วนใหญ่คนไทยทั่วไปรู้จักนครซิดนีย์มากกว่ารัฐนิวเซาธ์เวลส์ นครซิดนีย์เป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ซึ่งเป็นรัฐใหญ่อันดับสามของออสเตรเลีย ขณะนี้นครซิดนีย์มีพลเมืองประมาณ ๔ ล้านคน
    แรกเริ่มเดิมที พุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้ถือกำเนิดมาด้วยศรัทธาและความพากเพียร พยายามของชาวออสเตรเลีย ๒ คนคือ มิสแมรี่ ไบล์ส ( Miss Marie Byles ) และ มร. ลีโอ เบิกเคลี่ ( Mr. Leo Berkely )
    มิสไบล์สนั้นเกิดที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ค.ศ. ๑๙๐๐ ตอนหลังได้อพยพมาอยู่ออสเตรเลีย ชอบศึกษาเรื่องศาสนาต่าง ๆ มาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ต่อมาได้ถือเอาพระพุทธศสานาเป็นประทีปส่องทางชีวิต มิสไบล์สเป็นนักศึกษาหญิงรุ่นแรกที่จบปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ซิดนีย์ เป็นผู้คงแก่เรียน ได้รับเชิญไปบรรยายเกี่ยวกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สมาคมเทววิทยาบ่อย ๆ และได้ออกรายการพุทธศาสนาทางวิทยุด้วย
    ส่วน มร. ลีโอ เบิกเคลี่ เป็นชาวฮอลลันดา อพยพมาอยู่ออสเตรเลียภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองก่อนจะมีความสนใจจริงจัง บังเอิญในขณะที่โดยสารเรือเดินทะเลไปศรีลังกาเพื่อทำธุรกิจ ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับรัฐมนตรียุติธรรมศรีลังกาบนเรือ ท่านรัฐมนตรีผู้นั้นได้ตอบข้อซักถามของ มร. เบิกเคลี่ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจนเป็นที่พอใจ และเมื่อเดินทางถึงโคลัมโบแล้ว ท่านรัฐมนตรียุติธรรมผู้นั้นได้พาไปพบกับ พระหาเถระที่มีชื่อเสียงของศรีลังกา ชื่อนารทะ ได้ฟังคำสอนของท่านจึงได้เพิ่มพูนศรัทธาปสาทะขึ้นไปอีก พอกลับจากศรีลังกาไม่นานก็มีโอกาสได้พบกับ มิสแมรี่ ไบล์ส จึงได้พูดคุยชักชวนตั้งพุทธสมาคมขึ้น ได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์หาผู้สนใจอยู่ ๒ อาทิตย์ จึงได้สมาชิกร่วม ๑๒ คน พากันตั้งพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์ และในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ( ค.ศ. ๑๙๕๑ ) ได้พากันทำพิธีฉลองวิสาขบูชาเป็นครั้งแรก มีการอ่านธรรมะจากพระสูตรและทำสมาธิ มีมาร่วมพิธี ๘ คนเท่านั้น
    พุทธสมาคมเมื่อก่อนโน้นมีสมาชิกน้อย ไม่มีทุนไม่มีรอน ใครเป็นประธานก็เอาบ้านของคนนั้นเป็นที่ตั้งของสมาคม รู้สึกว่าท่านทั้งสองมีความเสียสละเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้บุกเบิก บัดนี้ มิสแมรี่ ไบลส์ ได้สิ้นชีพไปแล้วตามคติธรรมของสังขาร ส่วน มร. เบิกเคลี่ กำลังผจญภัยกับชราธรรมอยู่ หวังว่าท่านทั้งสองคงได้ประโยชน์จากพุทธธรรม และจะเป็นศิษย์ที่ดีของพระตถาคตเจ้าอีกในปรภพข้างหน้า
    ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ( ค.ศ. ๑๙๕๒ ) พุทธสมาคมแห่งนิวเซาธ์เวลส์ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะทางธรรมเป็นครั้งแรก ท่านอาคันตุกะทางธรรมท่านนี้เป็นชีชื่อ ธัมมทินนา เป็นชาวอเมริกันโดยกำเนิด ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาและสมาธิภาวนาจากพระมหายานนิกายเซ็น แม่ชีได้เดินทางไปเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน พบกับพระภิกษุชาวเยอรมันที่นั่น เลยขอบวชชีถือศีล ๘ ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาธรรมที่เมืองสารนาถ อินเดีย และเดินทางต่อไปยังศรีลังกา เมื่อได้ศึกษาธรรมปฏิบัติที่ศรีลังกาพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางต่อมาถึงนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย แม่ชีธัมมทินนาขณะที่อยู่ซิดนีย์ก็อายุ ๗๐ ปีแล้ว แม้กระนั้นก็ถือโอกาสไปบรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่สมาคมเทววิทยาบ่อย ครั้ง และมีการประชุมให้มีการบรรยายธรรม ณ ที่ตั้งของพุทธสมาคมที่บ้านของ มิสแมรี่ ไบลส์ บ้าง ของ มร. เบิกเคลี่ บ้าง ซึ่งแต่ละครั้งมีผู้มาฟัง ประมาณ ๑๕-๒๐ คน ในจำนวนนี้มีศิษย์ของแม่ชีอยู่ ๒ คน ซึ่งจะได้เป็นประธานพุทธสมาคมสืบต่อไป คือ มิสซิสแจ๊กสัน ( Mrs. Jackson ) และ มร. แกรม ลาลส์ ( Graeme Lyall )
    แม่ชีธัมมทินนาอยู่ที่นครซิดนีย์ ประมาณ ๑ ปี พอกลางปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ( ค.ศ. ๑๙๕๓ ) ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ( ค.ศ. ๑๙๕๘ ) ลูกศิษย์ของท่านสองคนก็ได้ไปเชิญให้ท่านหลับมาอีก คราวนี้ไม่ได้รับการต้อนรับอบอุ่นเหมือนคราวก่อน เพราะไม่ได้มาในนามของประธานพุทธสมาคม อีกประการหนึ่ง พุทธสมาคมแห่งนิวเซาธ์เวลส์ก็เริ่มมีความเห็นไม่ลงรอยกัน หลังจากอยู่ไม่นานแม่ชีก็กลับฮาวาย อยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัยในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ( ค.ศ. ๑๙๖๗ )
     

แชร์หน้านี้

Loading...