การทำจิตให้ผ่องใสบริสุทธิ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b4e0b895e0b983e0b8abe0b989e0b89ce0b988e0b8ade0b887e0b983e0b8aae0b89ae0b8a3e0b8b4e0b8aae0b8b8.jpg

    วันนี้เป็น “วันมาฆบูชา” วันสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ พระอรหันต์ 1,250 รูป ที่ได้รับการอุปสมบทจาก พระพุทธเจ้า โดยตรง ด้วยการบวชแบบ “เอหิภิกขุ อุปสัมปทา” มาชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมายกัน ในวันเพ็ญเดือน 3 ณ วัดเวฬุราวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์แคว้นมคธในวันนี้พระองค์ได้ทรงประกาศ “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระอรหันต์ 1,250 รูปนี้

    การบวชแบบ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ผู้บวชไม่ได้ปลงผมด้วยมีดโกน แต่เป็นการบวช โดย พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า “เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” คำตรัสขึ้นต้นด้วยคำว่า “เอหิภิกขุ…” จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ตอนหลังได้ทรงเปลี่ยนวิธีการบวชเป็น “ไตรสรณคมน์อุปสัมปทา” ให้น้อมรับเอา พระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้ามาไว้ในตน

    คาถาโอวาทปาติโมกข์ ที่ พระพุทธเจ้า ทรงประกาศต่อ พระอรหันต์ 1,250 รูปนี้ ถือเป็นหลักคำสอนที่เป็น “หัวใจของพระพุทธศาสนา” ประกอบด้วย พระพุทธพจน์ 3 คาถา มีใจความดังนี้

    พระพุทธพจน์คาถาแรก คือ พระนิพพาน เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะแตกต่างจากศาสนาอื่น ความอดทนอดกลั้น การมุ่งให้ถึงพระนิพพานของผู้ออกบวช ไม่พึงทำให้ผู้อื่นลำบากด้วยการเบียดเบียนทำให้เกิดความทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลาย เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

    พระพุทธพจน์คาถาที่สอง เป็นหัวใจให้พุทธบริษัทเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาโดยย่อ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี ทำกุศลให้ถึง พร้อมการทำจิตให้ผ่องใสบริสุทธิ์เป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง

    พระพุทธพจน์คาถาที่สาม เป็นหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร, การมีความสำรวมในปาติโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด และ การบำเพ็ญเพียรในอธิจิต (การพัฒนาจิตใจด้วยสมถะและวิปัสสนาเสมอ)

    โอวาทปาติโมกข์ แม้จะเป็นคาถาขั้นสูงสุดของ พระพุทธศาสนา แต่ พุทธศาสนิกชนก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อประโยชน์สุขของผู้ปฏิบัติ เช่น พระคาถาว่าด้วย การไม่ทำชั่วทั้งปวง การทำแต่กุศลความดี การทำจิตใจให้สดใสบริสุทธิ์ห่างไกลจากอกุศลจิต เช่น ความโลภ โกรธ หลง ดังที่ได้เห็นจากการเมืองไทยที่กำลังหาเสียงในเวลานี้ ปราชญ์โบราณจึงกล่าวว่า “ความดีของคนสิ้นสุดลงเมื่อเล่นการเมือง” ความชั่วแรกที่นักการเมืองมักทำทุกคนก็คือ “การพูดโกหก” หนึ่งในข้อห้ามของ “ศีล 5” และตามมาด้วยอีกข้อห้ามคือ “การลักทรัพย์” (ทุจริตคอร์รัปชัน) ของประเทศและประชาชน

    การทำดี ทำกุศล ไม่ทำบาป ไม่ทำชั่ว ผมเชื่อว่าชาวพุทธทุกคนทำได้ แล้วแต่ใครจะมากน้อยตามศรัทธา แต่การทำจิตใจให้สดใสบริสุทธิ์ปราศจากโลภโกรธหลง เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะ จิตใจคนห่อหุ้มด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอาจิณ จึงเป็นจิตที่ไม่สงบ เหมือนทะเลที่มีคลื่นลมอยู่เสมอ หาเวลาสงบได้ยาก มักตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ เมื่อชอบสิ่งใดแล้วก็มักลำเอียงไปในสิ่งนั้น

    โลภะ โทสะ โมหะ นอจากจะ ทำให้จิตใจไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นแล้ว ยังไป บังปัญญา ทำให้ไม่เกิดปัญญาความรู้อีกด้วย

    การทำจิตใจให้สงบ ในทาง พุทธศาสนา จึงกำหนดให้แสดง “กรรมฐาน” หรือ อุปกรณ์การฝึกอบรมจิต เพื่อเหนี่ยวนำจิตให้เกิดสมาธิ 2 สองอย่าง คือ สมถกรรมฐาน ซึ่งเป็น “อุบาย” เพื่อทำใจให้เป็นสมถะ สงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ และ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็น “ปัญญา” ที่ทำให้จิต เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง จิตใจก็ผ่องใสบริสุทธิ์ ปลอดจาก โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งปวง สุขสันต์วันมาฆบูชา ครับ.

    “ลม เปลี่ยนทิศ”





    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1498861
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กุมภาพันธ์ 2019

แชร์หน้านี้

Loading...