การบรรลุธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กัณฑกะ, 25 พฤษภาคม 2012.

  1. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    พระอัญญาโกณฑัญญะ
    พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นท่านหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อันประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ท่านปัญจวัคคีย์เหล่านี้เฝ้าปรนนิบัติรับใช้เจ้าชายสิทธิธัตถะอยู่ระยะหนี่งตั้งแต่ตอนที่เจ้าชายสิทธิธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา แต่เมื่อเจ้าชายเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาอันเป็นความเชื่อของพราหมณ์ทั้ง ๕ ว่าจะเป็นวิธีบรรลุอมตะธรรมได้ ท่านทั้ง ๕ จึงปลีกตัวไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    [​IMG]

    ครั้นเมื่อเจ้าชาติสิทธิธัตถะได้บรรลุอมตะธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงเล็งเห็นว่าปัญจวัคคีย์นี้เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถจะบรรลุธรรมได้ พระองค์จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์เหล่านั้น
    พระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์นั้น เรียกว่า ธัมมจักกัปวัตนสูตร มีเนื้อความโดยย่อดังนี้
    [​IMG]

    ขั้นแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า นักบวชไม่ควรทำกิจ ๒ อย่างคือ การหมกมุ่นในกามสุข (กามสุขัลลิกานุโยค) และการทรมานตนเองให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) พระองค์เรียกอาการนี้ว่าความประพฤติสุดโต่ง ากนั้นทรงแสดงเหตุผลว่า การหมกมุ่นอยู่กับกามสุขนั้นเป็นของต่ำ เป็นกิจของปุถุชนผู้ครองเรือน เป็นที่สุดข้างความหย่อนยานส่งเสริมให้เกิดความหลุ่มหลงในกามคุณ ส่วนการทรมานตนเองให้ลำบากเป็นกิจที่ทำให้ตนเองเหน็ดเหนื่อย เป็นที่สุดโต่งข้างความตึงเครียดเปล่าประโยชน์
    ขั้นต่อมา ทรงชี้ให้ดำเนินทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตา (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าทางสายกลางนี้ พระองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นทางดำเนินไปถึงความสงบ และทำให้ได้รู้แจ้งอริยสัจ
    ขั้นสุดท้ายทรงอธิบายให้ทราบว่า อริยสัจ คือ ความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วทำให้ละกิเลสได้ ความจริงดังกล่าวมี ๔ ประการ คือ
    ๑.ทุกข์ทรงชี้ให้เห็นว่า ความเกิด ความแก่ ความตาย การได้พบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การไม่ได้ดังใจปรารถนา ความทุกข์โทมนัส ความร่ำไรรำพัน เหล่านี้ล้วนเป็นทุกข์ ซึ่งบีบคั้นให้ชีวิตต้องตึงเครียดและทรมาน เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
    ๒.ทุกขสมุทัย เห็นให้เกิดทุกข์ ทรงชี้ให้เห็นว่า ความทุกข์นั้นมาจากเหตุ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหาความอยาก ความเพลิดเพลินยินดี ใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความอยากในกาม (กามตัณหา) ความอยากในภพ (ภวตัณหา) ความอยากพ้นไปจากภพ (วิภวตัณหา) เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะทำให้ต้องแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนา นี้เป็นสิ่งที่ต้องละ
    ๓.ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ทรงชี้ให้เห็นว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความดับไม่เหลือซึ่งราคะ ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ความสละคืนไม่พัวพัน เหล่านี้คือความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
    ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้แก่ มรรค พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า การจะดับความอยากได้นั้นต้องดำเนินไปตามทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น ทางสายกลางนี้ทำให้ไม่ยึดติดในกามสุข และทำให้ไม่หลงผิดทรมานตนเองให้ลำบาก เป็นทางตรงมุ่งสู่ความสงบสูงสุด ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงเป็นสิ่งที่ต้องเจริญทำให้มาก
    ท่านโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้จบลง ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมเกิดความเข้าใจว่า “สิ่งหนึ่งสิ่งใด มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”(วินัย. มหา. ๔/๑๓-๑๗/๑๓-๑๖ มหาจุฬาเตปิตกํ)
    พระพุทธองค์ทรงเกิดปิติโสมนัส ด้วยทรงเห็นว่ามีผู้สามารถรู้แจ้งตามพระองค์แล้ว ทรงเปล่งอุทานว่า
    “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ”

    “โกณฑัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ”
    โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุทานขึ้นต้นด้วยคำว่า “อัญญาสิ” ท่านโกณฑัญญะจึงได้มีชื่อนำหน้าว่า “อัญญา” เป็น “อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่นั้นมา
    เมื่อท่านได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ท่านอัญญาโกณฑัญญะก็หมดความสงสัยในพระพุทธเจ้า จึงทูลขอบวชกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงประทานการบวชให้โดยการตรัสว่า
    “จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปโดยชอบเถิด”

    เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงขอบวชกับพระพุทธเจ้า
    [​IMG]

    อีก ๕ วันต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ให้แก่พระปัญจวัคคีย์ฟัง หลังจากฟังพระธรรมเทศนานี้จบลงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทุกท่าน อนัตตลักขณสูตร มีเนื้อความโดยย่อดังนี้
    “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เพราะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จึงควรหรือจะมาเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา แม้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตและอนาคตก็เป็นอนัตตา บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จึงควรเห็นหรือว่า นั่นของเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา”
    ข้อพิจารณา
    ๑.พระอัญญาโกฑัญญะ ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เมื่อได้ข่าวว่าพระองค์เสด็จออกผนวชก็บวชตามไปเฝ้าอุปัฏฐากในตอนที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยา แต่พอเจ้าชายเลิกบำเพ็ญทุกขกิริยาก็หนีไปเสีย เพราะมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า การทรมานร่างกายที่เรียกว่า ทุกรกิริยาเท่านั้นเป็นหนทางที่จะบรรลุอมตธรรม ดังนั้นพระธรรมเทศนาแรกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์จึงต้องแก้ความเห็นผิดอันนี้เสียก่อน พระองค์จึงทรงแสดงที่สุดโต่งสองทางเพื่อแก้ความเห็นผิดอันนั้น เป็นการชำระความสะอาดของจิตที่หลงผิดเสียก่อนที่จะนำน้ำย้อมใหม่ คือ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) มายิ้มจิตลงไป จนได้ดวงตาเห็นธรรม คือ ความเข้าใจในหลักธรรอันแท้จริงได้
    ๒.การบรรลุธรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานคู่ไปกับเจริญสมถกรรมฐาน คือ ในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนาจิตจะมีใจจดจ่ออยู่กับเสียง พร้อมทั้งมีสติกำหนดพิจารณาใคร่ครวญไปตามพระธรรมเทศนาด้วย องค์แห่งโพชฌงค์ ๗ (สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิริยะสัมโพชฌงค์ วิรยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์) ก็ดำเนินไปเป็นลำดับจนมีสมาธิตั้งมั่น ความเข้าใจ ความรู้ทั่วถึงธรรมจึงเกิดขึ้น จนจิตเข้าสู่อุเบกขาว่างเฉยในธรรมทั้งปวง หมดความยึดมั่นถือมั่น จิตก็หลุดพ้นบรรลุอรหัตตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะฟังธรรมนั่นเลย
    ซึ่งการบรรลุธรรมของพระสามวกในขณะฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นมีเป็นอันมาก เนื่องจากการพิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นเป็นทั้งวิปัสสนากรรมฐานและสมถกรรมฐานพร้อมกันเลย

    ศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ
    www.facebook.com/ศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ


    เวปศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ
    http://dhammakuntraka.blogspot.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2012
  2. keamcau

    keamcau Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +36
    สาธุครับการบรรลุธรรมเป็นสิ่งที่ควรทำให้ได้ในชาตินี้
     
  3. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    [​IMG]
     
  4. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG]

    กราบโมทนา สาธุ ท่านผู้มีใจบุญใจกุศล เสียสละเวลาหาบทความ นำบทความที่ดี มีสาระประโยชน์ ให้ผู้อ่านได้ศึกษา อันก่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณา เมื่อปัญญาพิจารณาแล้ว จิตจะเป็นผู้กำหนด เป็นผู้เลือกความถูกต้อง ถือว่าเป็น จาคะ คือการให้และการให้นั้น ให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้ง ถือว่าการให้นั้น เป็นธรรมทาน เป็นบุญใหญ่ สมดั่งพระธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า “การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง ผู้ใดให้ธรรมะเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย“ ขอโมทนาสาธุ
     
  5. ทางสวรรค์

    ทางสวรรค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +347
    บทสวดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ผมเคยท่องอยู่บ้างครับ พึ่งจะมาเข้าใจถ่องแท้นี่เองถึงที่มา ขอขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ และขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  6. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    สาธุ โมทนาครับ

    ด้วยความไม่รู้ในอริยสัตย์ชีวิตจึงเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบรู้สิ้น
     
  7. sukh_anand

    sukh_anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +731
    ท่านคือประจักษ์พยานองค์แรกของโลกที่พิสูจน์ว่าธรรมมีจริง ขอสาธุการ่ต่อการเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ของพระรัตนตรัยในโลกนี้ ขออนุโมทนาต่อผู้นำเสนอด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...