การบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nouk, 21 พฤษภาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์


    ที่มา : http://www.navagaprom.com/oldsite/con1.php?con_id=298

    นิยามคำว่า โพธิสัตว์

    เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ๒ คำ คือ

    โพธิ หมายถึง การตรัสรู้ กับคำว่า สตฺตว แปลว่า สัตว์ ภูตผีปีศาจ ชีวิต สิ่งมีชีวิต พลัง สาระ ความเป็น ความจริง

    คำว่า โพธิสัตว์ แปลรวมความหมายถึง ความเป็นแห่งการตรัสรู้ สาระแห่งการตรัสรู้ ชีวิตเพื่อการตรัสรู้ ไม่ว่าจะแปลอย่างไร คำว่า พระโพธิสัตว์ จะมีความหมายอย่างเดียว คือ หมายถึงผู้ที่สร้างสมบารมีเพื่อที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    พระโพธิสัตว์ คือ พระอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เมื่อทรงถือกำเนิดเป็น สัตว์ มนุษย์ เทวดา หรือพรหม แต่เนื่องจากเรื่องราวของพระโพธิสัตว์เมื่อเสวยพระชาติเป็นราชสีห์ ช้าง ลิง พญา แร้ง นกกระเรียน จระเข้ และสัตว์อื่นๆ เป็นที่นิยมนำมาเล่ากันบ่อยๆ จึงทำให้เข้าใจผิดว่า คำว่า สัตว์ ในโพธิสัตว์ มีความหมายเช่นเดียวกับ สัตว์ ในคำว่าสัตว์เดรัจฉาน ที่จริงสัตว์ในโพธิสัตว์ มีความหมายถึง สาระ ความจริง ความเป็น

    การบำเพ็ญมหาบารมีโพธิสัตว์มี 3 ระดับ ดังนี้

    1. ระดับต้น หรือบำเพ็ญอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมีระดับต้น

    2. ระดับกลาง ผู้บำเพ็ญจะต้องยอมเสียเลือดเนื้อ เสียอวัยวะน้อยใหญ่ เรียกว่า อุปบารมี

    3. ระดับสูงสุด ผู้บำเพ็ญจะต้องยอมเสียสละแม้ชีวิต เรียกว่า ปรมัตถบารมี


    สภาวะแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์

    พระโพธิสัตว์นั้นไม่ได้อยู่ที่เครื่องนุ่งห่ม

    พระโพธิสัตว์นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่โดดเดี่ยว

    พระโพธิสัตว์สามารถที่จะคลุกคลีกับสิ่งชั่วร้าย

    พระโพธิสัตว์สามารถที่จะวางตัวอยู่ในสรรพสิ่งแห่งพิภพ

    พระโพธิสัตว์สามารถที่จะเข้าสู่การโปรดสัตว์ทุกสถานที่

    พระโพธิสัตว์สามารถที่จะวางตัวอยู่ทางโลกก็ไม่ใช่ อยู่ทางธรรมก็ไม่เชิง

    พระโพธิสัตว์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเครื่องแบบแห่งนักพรต

    พระโพธิสัตว์ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ตึกระฟ้า

    พระโพธิสัตว์อาจจะอยู่กับโคลนตม

    พระโพธิสัตว์อาจจะอยู่ในสำนักหญิงโสเภณี

    พระโพธิสัตว์อาจจะอยู่ในโรงเหล้า

    พระโพธิสัตว์อาจจะอยู่ในกลุ่มอันธพาล
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในสภาวะแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์นั้น เขามีวิมุตติจิตที่สำเร็จแล้ว วิมุตติจิตที่สำเร็จแล้วนั้น ก็คือ การกระทำของเขาอยู่ในสภาวะแห่งการพิสูจน์การเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่

    คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ 3 ประการ

    1. มหาปรัชญา หรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส

    2. มหากรุณา หมายความว่า จะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละความสุขและชีวิตของตนเอง เพื่อช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์

    3. มหาอุบาย หมายความว่า พระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาด ในการแนะนำอบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม

    พระโพธิสัตว์แบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม

    ๑. พระโพธิสัตว์แบบพระราชา

    พระโพธิสัตว์จะเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณก่อนแล้วจึงช่วยเหลือสัตว์โลก เหมือนกับพระราชาที่ทรงอำนาจเต็ม และมีอำนาจที่จะช่วยเหลือสัตว์โลก

    ๒. พระโพธิสัตว์แบบนายเรือ

    พระโพธิสัตว์ทำหน้าที่เหมือนนายเรือที่พาสัตว์โลกข้ามฝั่งไปพร้อม ๆ กัน กล่าวกันว่าพระศรีอาริยเมตไตรย์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประเภทนี้

    ๓. พระโพธิสัตว์แบบคนเลี้ยงแกะ

    พระโพธิสัตว์ทำหน้าที่ต้อนฝูงแกะอันได้แก่สัตว์โลก ให้บรรลุพระนิพพานก่อน และตนเองจะไม่บรรลุพระนิพพานจนกว่าสัตว์โลกตัวสุดท้ายจะบรรลุไปแล้ว กล่าวกันว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระมหาสัตว์ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์แบบนี้ ได้แก่ พระอวโลกิเตศวร พระแม่ตารา พระมัญชุศรี พระวัชรปาณี
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ดังเช่น

    - พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในหัตถ์ขวาทรงถือพระขันธ์เป็นสัญลักษณ์ในการทำลายล้างกิเลสตัณหาและอวิชาทั้งปวง และในหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์บนดอกบัว

    - พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงไว้ด้วยความกรุณา และได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกิเลสความผูกพันทั้งปวง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการรื้อสัตว์ ขนสัตว์จากนรก

    - พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกแม้กระทั่งในดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ "เจ้าแม่กวนอิม" และชาวธิเบตเชื่อว่าองค์ประมุขทไลลามะ เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้

    - พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงปัญญาเป็นเยี่ยม และทรงใช้ปัญญานี้เป็นเครื่อง บั่นทอนอวิชา

    - พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ยาก และเจาะจงช่วยโดยเฉพาะแก่เด็กและมิจฉาชน

    - พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์) เชื่อว่าเป็นองค์อนาคตพุทธเจ้า และจะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา

    ๒. มนุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญ เจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ดังนั้นโพธิสัตว์ จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2012
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    และอุดมการณ์โพธิสัตว์นี้แหละจึงเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนักระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้ (ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเป็น) เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี

    -โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต

    -มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด

    -และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์

    เมื่อเรามีพระโพธิสัตว์ เรานับถือพระโพธิสัตว์ เรานับถืออย่างไรจึงจะถูกต้อง เวลานี้ก็มีพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น อย่างที่กำลังนิยมมากคือ พระแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ที่เรียกว่ากวนอิมนี้คือใคร? มีความเป็นมาอย่างไร? บางทีก็เรียกตาม ๆ กันไปว่า พระโพธิสัตว์ แต่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าท่านมาจากไหน ไปอย่างไร มาอย่างไร เป็นพระโพธิสัตว์อย่างไร

    อย่างน้อยต้องรู้หลักก่อนว่า ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่งอย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่งสละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ เรียกว่าให้ชีวิต จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่งไม่มีระย่อท้อถอย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม นี่คือการบำเพ็ญบารมี หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง

    พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้วก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วเรานับถือพระโพธิสัตว์นั้นนับถืออย่างไร? นับถือเพื่ออะไร?

    ก็ขอตอบสั้น ๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร ?

    พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำความดีมากมาย เพียรพยายามทำมายาวนานอย่างยากลำบากมากประสบอุปสรรคมาก แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอยจนประสบความสำเร็จ ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริงๆ ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างจนกระทั่ง เราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์

    และพระโพธิสัตว์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายามและทำความดีมามากมาย เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง

    ประการที่สองก็คือเป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่ที่จะพัฒนาตัวที่จะทำความดีเพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง

    การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุดเป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉย ๆ แต่จะต้องเพียรพยายามทำ ฉะนั้นคนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง ต้องตั้งใจทำความดี คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี บำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ว่าท่านทำความดีมากมาย อย่างเข้มแข็งและเสียสละ

    เราได้เห็นตัวอย่างแล้ว เราก็มีกำลังใจที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ เมื่อไปพบกับอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผลที่ปรารถนา เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง

    คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้ ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทนที่ต้องการก็เกิดความท้อถอย แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า อ้าว คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ ทำไมได้ดี อย่างที่พูดกันว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” อะไรต่าง ๆ ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์ขึ้นมา แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย

    เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ก็จะเกิดกำลังใจว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี ท่านลำบากกว่าเราเยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้ บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้ เราก็มั่นคงในความดี สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2012
  6. ธรณัส

    ธรณัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +47
    ทำความดีเพื่อความดี เพื่อความสุขใจ เพื่อโพธิญาณ เพื่อพระนิพพาน
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร ตอนที่ 2

    ความยากพิสูจน์ศรัทธา
    วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553
    เรียบเรียงโดย.........ชยธมฺโม ภิกขุ

    พระเถระ สุภูติ ทูลถามพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในภายภาคหน้าจะมีบุคคลใดที่จะเกิดศรัทธาความเชื่ออย่างแท้จริงหลังจากได้ยินคำสอนเหล่านี้หรือไม่ ? พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ดูก่อน สุภุติ ท่านอย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลยในภายภาคหน้าเมื่อตถาคตดับขันธุ์ปรินิพพานล่วงไปแล้ว 500 ปี จะมีบุคคลผู้มีศีลตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลได้รับฟังคำสอนนี้แล้วเกิดศรัทธาความเชื่อถือแต่เธอควรรู้ว่า บุคคลเช่นนั้นมิได้บำเพ็ญบุญบารมีมาแค่เพียงกับพระพุทธองค์แต่องค์เดียว หรือ 2 พระองค์ หรือ 3 พระองค์หรือ 4 พระองค์ หรือ 5 พระองค์แต่เป็นจำนวนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว และบุญบารมีของเขาเหล่านั้นล้วนมีในทุก ๆ ด้าน และเมื่อบุคคลเช่นนั้นได้ฟังคำสอนนี้แล้วจะบังเกิดศรัทธาอันบริสุทธิ์ทันที สุภูติ แน่นอน !

    ตถาคตย่อมหยั่งรู้ว่าเขาเหล่านั้นสามารถจะเข้าใจคำสอนนี้ได้อย่างแจ่มชัดจนแจ้งต่อจิตเดิมแท้อันบริสุทธิ์และเปี่ยมด้วยคุณธรรมอันดีงามเพราะเหตุใดเล่า ? เพราะบุคคลเหล่านั้นจะไม่หลงกลับสู่ความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นเรื่องอัตตา ตัวตน สัตว์ และภพภูมิใด ๆ อีกและเขาจะไม่หลงกลับไปสู่ความยึดติดในความเห็นเรื่องสิ่งทั้งหลายล้วนมีคุณค่าความหมายในตัวมันเองหรือสิ่งทั้งหลายล้วนปราศจากคุณค่าความหมายในตัวมันเอง เพราะเหตุใด ?........เพราะเหตุว่าหากเขาเหล่านั้นปล่อยใจให้หลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ แล้วแสดงว่าเขายังยึดติดในความเห็นเรื่อง................

    อัตตา ตัวตน บุคคล สัตว์ และภพภูมิ และถ้าเขายึดมั่นถือมั่นในความคิดเรื่องสิ่งทั้งหลายล้วนมีคุณค่าความหมายในตัวมันเอง เขาก็ย่อมยึดติดในความเห็นเรื่องอัตตา ตัวตน บุคคล สัตว์ และภพภูมิด้วย หรือในทำนองเดียวกันหากเขายึดมั่นถือมั่นในความคิดเรื่องสิ่งทั้งหลายล้วนปราศจากคุณค่าความหมายในตัวมันเอง เขาก็ย่อมยึดติดในความเห็นเรื่องอัตตา ตัวตน บุคคล สัตว์ และภพภูมิด้วยอีกเช่นกัน ดังนั้น....เธอจึงไม่ควรยึดติดในสิ่งทั้งหลายว่ามีหรือปราศจากคุณค่าความหมายในตัวมันเอง นี่เป็นเหตุว่าทำไมเรา ตถาคตจึงมักสอนพวกเธออยู่เสมอว่าธรรมคำสอนของเราเปรียบเหมือนแพ ไม่ว่าจะมีคุณค่าหรือความหมายมากเพียงใดที่สุดจะต้องละวางเสียนับประสาอะไรกับคำสอนผิด ๆ ที่มีอยู่มากมาย

    การเรียนรู้ที่แท้อยู่นอกเหนือคำพูด

    สุภูติ.....เธอมีความคิดเห็นอย่างไร? ตถาคตได้บรรลุถึงธรรมอันสูงสุด อนุตรสัมโพธิญาณหรือไม่ ตถาคตได้เทศนาประกาศคำสอนเหล่านั้นหรือไม่

    พระเถระ สุภูติ ทูลตอบว่า ตามที่ข้าพระองค์เข้าใจในความหมายของพระพุทะองค์มันมิได้มีรูปแบบที่แน่นอนของสัจจะความจริงที่เรียกว่าบรรลุธรรมอันสูงสุด อนุตรสัมโพธิญาณเลยยิ่งกว่านั้น ตถาคตมิได้วางรูปแบบที่แน่นอนในการสอนธรรมใด ๆไว้ด้วยเพราะเหตุใดเล่า ?เพราะ ตถาคตตรัสไว้ว่า สัจจะธรรมความจริงนั้นไร้ขอบเขตจำกัดกว้างขวางไร้ประมาณและไม่.........................

    สามารถจะแสดงได้ด้วยคำพูดใด ๆ มันไม่ได้มีความหมายว่าอย่างนี้ หรือไม่ใช่ อย่างนี้ หลักแห่งการไร้รูปแบบที่แน่นอนนั้นเป็นรากฐานเดียวกันในระบบของผู้รู้ทั้งหลาย

    ผลแห่งกุศลอันยิ่งใหญ่

    สุภูติ.....เธอมีความเห็นอย่างไร? ถ้าบุคคลเติมเต็มดวงดาวทุกดวงอันนับไม่ถ้วนในอนันตจักวาลด้วยสมบัติทั้งเจ็ด แล้วเสียสละสมบัตินั้นเป็นเมตตาทาน เขาจะได้รับบุญกุศลมากมายมหาศาลไหม?

    พระเถระ สุภูติทูลตอบว่า มากมายมหาศาลพระเจ้าข้าเพราะเหตุใดเล่า ? เพราะบุญกุศลอันยิ่งใหญ่มหาศาลที่ตถาคตได้แสดงไว้ก็คือ กุศลที่ไร้กุศล(ไร้การยึดติดในกุศลนั้น)
    พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อไปว่า อนึ่ง.....บุคคลใดเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและคงรักษาคำสอนในพระสุตรนี้ไว้แม้เพียงคาถาเดียวแล้วนำไปสอน สาธยาย ถ่ายทอดแก่บุคคลอื่น ๆ ต่อไป บุญกุศลที่เขาจะได้รับกลับยิ่งใหญ่มหาศาลกว่ามากเพราะเหตใดเล่า?

    สุภูติ....เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ล้วนถือกำเนิดมาจากคำสอนเหล่านี้และคาถาในพระสูตรนี้ก็ล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์อันจะนำไปสู่วิมุตติภาวะอันยิ่งด้วย สุภูติ.....สิ่งที่เรียกว่า หลักธรรมที่แสดงโดยพระพุทธเจ้าแท้จริงแล้ว หาใช่หลักธรรมของพระพุทธเจ้าไม่.............จบตอนที่ 2 วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร

    ที่มา : วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร ตอนที่ 2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...