การปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 17 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย</STRONG>
    วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    <TABLE id=table4 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ถือกำเนิด (1)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table5 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พระวิสุทธิญารเถร หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๔๖๘ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ สอน นามสกุล มติยาภักดิ์ โยมมารดา ชื่อ บุญ นามสกุล มติยาภักดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีคนเล็กของ คุณหลวงเสนา ผู้นำศาสนาพราหมณ์ ในท้องถิ่นนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา เดียวกันเพียง ๒ คน คือ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๑. นายหนู มติยาภักดิ์
    ๒. หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] คุณโยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ มีอายุได้ประมาณ
    ๒ ขวบหลังจากนั้นก็ได้ตกเป็นภาระของคุณตาหรือคุณหลวงเสนาได้ให้การอุปการะ เลี้ยงดูต่อมา แต่ท่านได้อยู่กับคุณตาไม่นานนัก คุณตาก็ถึงแก่กรรมจากไปอีก
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] กล่าวถึง คุณหลวงเสนา คีอคุณตาของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย นั้น ท่านเป็นบุคคลที่มีความสำาคัญคนหนึ่ง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน ในถิ่นนั้นมาก คือท่านเป็นหัวหน้า ใหญ่ เป็นผู้นำ ศาสนาพราหมณ์ และเป็นผู้นำประกอบพิธี กรรมเกี่ยวกับการนชาเทวดาตามลัทธิศาสนา หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้ถือกำเนิด ในสกุลของศาสนาพราหมณ์วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ จะมีการแห่ต้อนรับปีใหม่ส่งท้ายปีเก่า ขบวนแห่ในปีนั้นเทพ ธิดาทรงหลังเสือ และมีวัวประจำปีฉลู มีการตั้งขบวนอยู่ที่บ้าน หัวหน้า คือบ้านคุณหลวงเสนา และจะต้องแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ปกติจะต้องเริ่มแห่ตอนเที่ยงวัน โดยบังเอิญบุตรีของท่านปวด ท้องคลอดบุตรตรงกับเที่ยงวันพอดี คุณหลวงเสนามาวุ่นอยู่ใน เรื่องคลอดบุตรทำให้เลยเวลาแห่ ตามธรรมดาแล้วเมี่อถึงกำหนดเวลาเที่ยงวัน [/FONT]
    </TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=11 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] คุณหลวงเสนาจะต้องออกไปสั่งให้ จุดพลุ ตะไล ตีฆ้อง ตีกลอง เมี่อท่านไม่ได้ ออกมาสั่ง การแห่ก็เลยหยุดแค่นั้น ปีนั้นก็เลยไม่ได้แห่ แล้วสัญลักษณ์รูปเฟัอและวัว ก็มาตั้งอยู่ที่ปลายเท้าเด็กที่คลอดออกมา ชาวบ้านทั้งหลายก็รังเกียจในตัวทารก เนื่องจากเกิดมาทำลายพิธีการแห่ครั้งนี้

    ด้วยนิมิตหมายในครั้งนี้ คุณหลวงเสนาได้พยากรณ์ ทำนายท่านไว้ว่า "เด็กคนนี้จะต้องเป็นผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูลในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน" เนี่องจากการเกิดของท่านต้องทำให้เสียพิธี จึงถือเป็นลางอย่างหนึ่งที่จะทำ ให้ศาสนาพราหมณ์ในถิ่นนั้นสิ้นสุดลง และต่อมาปรากฏว่าภาย หลังหลวงปู่สมชายู ฐิตวิริโย ได้อุปสมบทในบวรพุทธศาสนา แล้ว ไดศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมะจนเกิดความซาบซึ้งใน พระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เอาธรรมะไปอบรมสั่งสอน ประชาชนชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นให้เกิดศรัทธาปสาทะ ปัจจุบัน ประชาชนชาวบ้านในท้องถิ่นก็ได้หันมานับถือพุทธศาสนา กันจนหมดสิ้น

    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD rowSpan=8>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table6 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ภาระหน้าที่ ในการรับผิดชอบ (2)[/FONT]</TD><TD width=379></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table7 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ภายหลังจากคณหลวงเสนา ผู้เปรียบเสมือนหนึ่งร่มโพธิ์ร่มไทร หรือดวงประทีปที่เคยให้แสง สว่างและความร่มเย็น ได้ถึงแก่ กรรมลงอย่างกะทันหันด้วยอหิวาตกโรคระบาด ความรุ่งโรจน์ และแสงสว่างได้ดับวูบลงอย่างหน้าใจหาย อนาคตมีดมน มอง ไม่เห็นทิศทางว่าจะดำเนินวิถีชีวิตอย่างไรต่อไป [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]คุณแม่บังเกิดเกล้าจากไปตั้งแต่ท่านยังไม่ทราบว่า หน้าตาเป็นอย่างไรแล้วยังไม่พอ คุณตาผู้เปรียบเสมือนหนึ่งแม่ บังเกิดเกล้าแทนคุณแม่ที่จากไป ก็มาจากไปอีกเป็นคนที่สอง คุณพ่อก็ยังมาปล่อยทิ้ง๒1สนใจเลี้ยงดูท่านเลยความว้าเหว่วังเวงความสังเวชเศร้าโศก และความสลดอย่างสุดซึ้ง ได้เกิดขึ้น อย่างเหลีอวิสัยที่จะพรรณนาให้ถูกต้องตามความรู้สึกได้ใน ขณะนั้น เมี่อเหตุการณ์หรือมรสุมร้ายผ่านไปแล้ว ท่านก็ได้ไป อาศัยอยู่กับญาติผู้หนึ่ง มีศักดิ์ เป็นพี่ชาย ใน ฐานะเป็นลูกผู้พี่ ก็ ได้อยู่ร่วมกันมาด้วยดีมีความสุขและราบรื่นมาระยะหนึ่ง มรสุม ลูกใหม่ก็เกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สาม คือพี่สะใภ้ได้มาเสียชีวิต จากไปอย่างไม่มีวันกลับอีกปล่อยให้ลูกเล็ก ๆ ๔-๕ คนเป็น กำพร้า[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลวงปู่จึงต้องรับผิดชอบเป็นภาระเลี้ยงดูทำหน้าที่ เสมือนแม่บ้านและผู้ปกครองอย่างเต็มความสามารถ เพราะหลังจากพี่สะใภ้จากไปแล้ว พี่ชายก็ประพฤติตัวเกเร มั่วสุมเรื่องอบายมุขทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ หาได้สนใจต่อหน้าที่ของตนไม่ ความเป็นไปภายในครอบครัวทั้งหมดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของท่านจะต้องรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง ท่านจึงพยายาม ทุกวิถีทางเพื่อสร้างฐานะทางครอบครัวให้ขึ้นมาเทียมบ่าเทียมไหล่กับคนอื่น ท่านได้ยึดอาชีพเป็นพ่อค้า ค้าธ่งของทั่วไป ระหว่างหมู่บ้านกับตลาด วันไหนค้าขายมีกำไรมากหน่อยก็ซื้ออาหารการบริโภคมาฝากคนเฒ่าคนแก่และฝากเด็กๆในหมู่บ้าน ให้ได้รับประทานกัน นิสัยของท่านนั้นเป็นผู้เอื้อเฟื้อมาตั้งแต่ สมัยเป็นเด็กๆ แล้ว จึงติดตัวท่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ในสมัยที่ท่านกำลังดิ้นรนหาเงินสร้างูฐานะอยู่นั้น ท่านมี อายุเพียง ๑๔ ปีเศษและต้องหอบหิ้วเลี้ยงดูหลานอีก ๔-๕ คน บ้านที่จะอยู่อาศัยก็ไม่มี ต้องไปขออาศัยอยู่ใต้ถุนบ้านญาติ คนหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากผู้เป็นเจ้าของบ้านเท่าไร นัก จึงเป็นเหตุให้ท่านต้องดิ้นรนมุ่งมานะพยายามหาเงินเพื่อ ซื้อบ้านอยู่เป็นของตัวเอง ท่านได้พยายามหาเงินเก็บเงินทีละ เล็กทีละน้อย และพี่ชายก็มักจะแอบมาลักขโมยไปเป็นประจำ ทั้งเสียใจทั้งน้อยใจในตัวของพี่ชายเป็นยิ่งนัก ทั้งๆ ที่ลูกของตัวเองก็ ไม่เลี้ยงแล้วยังจะมาขโมยเงินที่ท่านหามาได้ไปใช้เสียอีก [/FONT]




    </TD><TD width=16></TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ท่านได้ดิ้นรนหาเงินสร้าง ฐานะของท่านอยู่ถึง ๒ ปีกว่า ด้วยการเป็นพ่อค้าบ้าง บางครั้งวัดใกล้บ้านมีงานมีการชกมวย ก็สมัครขึ้นชกมวยอีกด้วย หนทางใดที่จะหาเงินได้โดยสุจริต แล้ว ท่านยอมทุ่มเทกำลังกายกำลังใจทุกอย่างเพี่อแลกกับเงินที่[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]จะนำมาเลี้ยงดูครอบครัว บางครั้งยังเคยไปรับจ้างเถ้าแก่คนจีน ในตลาดร้อยเอ็ดหมุนเครื่องรถยนต์โดยสารร้อยเอ็ด-ขอนแก่น[/FONT] [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พออายุได้ประมาณ๑๗-๑๘ปีความพยายามของท่าน ก็ได้สำเร็จขึ้นมาเป็นที่น่าพอใจ ได้จัดซื้อบ้าน ๑ หลัง ราคา ๗๕ บาท เกวียน ๑ เล่ม วัวราชามัย ๑ คู่ ราคา ๗๕ บาท และธ่ง อำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ อีกหลายต่อหลายอย่าง จึงนับว่า ท่านมีนิสัยเป็นหัวหน้าและเป็นผู้นำที่ดี คือรู้จักรับผิดชอบตัว เองและส่วนรวมมาตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่นวัยหนุ่ม ท่านจึงเป็นที่ ยอมรับเป็นที่ยกย่องสรรเสริญ และเป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่ใกล้ชิด ตลอดทั้งบุคคลทั่วไปในหมู่บ้านนั้นอีกด้วย ท่านได้ใช้ ชีวิตอยู่ในทางฆราวาสวิสัยจนถึงอายุ ๑๙ ปี ด้วยความเบื่อ หน่ายต่อความเป็นอยู่ของโลกที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย และเต็มไปด้วยความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงน่าเบี่อหน่าย ท่านจึงคิด ที่จะสละเพศฆราวาสวิสัยออกบวชในบวรพุทธศาสนา เพื่อ แสวงหาความพ้นทุกข์[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เนื่องจากท่านมีอุปนิสัยในทางธรรมตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ท่านมักจะฝันอยู่เป็นประจำทุกๆ คีน เป็นระยะเวลา ๔ ปีกว่า ว่าในอดีตชาติได้เคยบวชเป็นนักพรตบำเพ็ญพรหมจรรย์ โดย ปราศจากคู่ครองมาแล้ว ๓ ชาติ ชาติแรกได้ฝันไปว่าได้เกิดเป็น ลูกของชาวประมง เป็นบุตรชายคนเดียวของพ่อแม่ ซึ่งอาศัย อยู่ในเกาะกลางทะเลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพในทางจับปลา และ มีคุณลุงซึ่งบวชเป็นหัวหน้าฤๅษีมาบิณฑบาตที่บ้านประจำ อุปนิสัยสมัยเด็กไม่ชอบทำปาณาติบาต ลุงซึ่งบวชเป็นฤๅษีชัก ชวนให้ไปอยู่ด้วยกัน เลยติดตามลุงไปบวชแล้วบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์จนได้เป็นอาจารย์ฤๅษี ชาติต่อมามีญาติเป็น หัวหน้าฤๅษีอยู่ในเขาแห่งหนึ่ง และได้มาบวชกับญาติบำเพ็ญ พรตอยู่ในเขาลูกหนึ่ง จวบจนสิ้นอายุขัยในเขาลูกนั้น ชาติที่ ๓ ได้บวชเป็นฤๅษีในป่าใหญ่ เนี่องจากมีอุปนิสัยมาแล้ว ๒ ชาติ บำเพ็ญพรตบูชายัณต์ จนได้เป็นหัวหน้าฤๅษี ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ในป่าใหญ่จนสิ้นอายุขัย[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table8 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อุปนิสัยในทางธรรม (3)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table9 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อครั้งสมัยที่คุณตาหลวงเสนายังมีชีวิตอยู่ คุณตาของท่านก็พยายามอบรมสั่งสอนทุกวิถีทางที่จะให้เกิดความรู้ความสามารถ เพื่อให้ได้เป็นผู้ดำรงวงศ์สกุลสืบไป เพราะว่าคุณหลวงเสนาท่านได้มองเห็นลักษณะพิเศษของหลานชายหลายอย่าง ซึ่งส่อแสดงให้เห็นว่าเป็น ลักษณะของบุคคลสำคัญคนหนึ่งในอนาคตข้างหน้า [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] แต่เนื่องด้วยนิสัยปัจจัยเก่าที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติ เมี่อมาประสบเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส และพอใจในเพศของนักบวช ซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ สันโดษ แสวงหาความพ้นทุกข์แต่อย่างเดียว ท่านมีความพอใจเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ สมัยที่คุณตาหลวงเสนายังมีชีวิตอยู่นั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็มีความสนใจในธรรมะทางพุทธศาสนาเป็นพื้น ฐานอยู่แล้ว ท่านจึงได้เสาะแสวงหาหนังลอที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาอ่านอยู่เสมอๆ หนังสือที่ท่านชอบอ่านมาก ที่สุดในสมัยนั้นคือ หนังสือพุทธประวัติ บางครั้งท่านก็ได้หลบหนีคุณตาไปฟังเทศน์พระกรรมฐานอีกด้วย เคยไปฟังเทศน์จากพระอาจารย์นาค โฆโส ซึ่งเป็นพระกรรมฐานสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร ที่มีชื่อเสียงอีกองค์หนึ่งในสมัยนั้น
    แต่การกระทำของหลวงปู่หาได้ทำอย่างเปิดเผยไม่ เพราะเขาถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อลัทธิและศาสนาของ บรรพบุรุษอย่างร้ายแรงทีเดียว วันไหนที่คุณตาหลวงเสนาสืบรู้เข้าท่านก็จะต้องถูกจับลงโทษทันที บางครั้งถูกเฆี่ยนตี และมัดมือไพล่หลังตากแดด อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่น และเพื่อจะให้เข็ดหลาบจะอย่างไรก็ตาม ถึง แม้ว่าจะมีการระมัดระวังแค่ไหน การกระทำของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย หาได้รอดพ้นสายตาของคุณตาหลวงเสนาไปได้ไม่ บางครั้งก็ถูกจับได้และได้ถูกลงโทษดังกล่าวมาแล้วนั้น คือถูกตีและ ถูกมัดมือไพล่หลังตากแดด ถึงแม้ว่าท่านจะถูกคุณตาลงโทษอย่างไร ท่านก็ไม่เคยร้องไห้ ไม่เคยขอความเห็นใจจากผู้ลงโทษเลยเด็ดขาดนิ่ง เงียบ เฉย ตลอดเวลา เมื่อคุณตาซักถามว่าเข็ดหรือยัง หลาบหรือยัง ท่านก็นิ่ง เงียบ เฉย อยู่อย่างนั้น

    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] การสนใจอ่านหนังสือธรรมะ หรือหนังสือพุทธประวัติ ตลอดจนไปฟังเทศน์พระกรรมฐานและการไปทำบุญกับพระตามวัดต่างๆ ที่เป็นสานักปฏิบัติก็ได้ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแต่ท่านก็ทำอย่างสุขุมรอบคอบยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเกรง ใจคุณตาและกลัวคุณตาจะลงโทษอีก จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องแปลกมาก ทั้งๆ ที่ท่านก็เกิดและอยู่ในกลุ่มของศาสนาพราหมณ์ แต่ท่านมีความสนใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ข้าพเจ้าผู้เขียนเมื่อได้ยินท่านเล่าถึงประวัติตอนนี้แล้ว ก็อดคิดถึงครั้งสมัยพุทธกาลไม่ได้ ตัวอย่างสาวกของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ก็ล้วนแต่เป็นผู้นับถือศาสนาอื่นมาก่อนแทบทั้งนั้น ฉะนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่ของแปลกสหรับผู้มีวาสนาบารมี เพราะนิสัยปัจจัยเก่าดลบันดาลให้เป็นไป[/FONT] ​
    [​IMG][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table10 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บรรพชา[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พ.ศ. ๒๔๘๗ [/FONT](4)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table11 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=14 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจึงเท่ากับว่าเป็นสิ่งกระตุ้น หรือตีต้อนให้ท่านหันเข้าสู่โลกุตรธรรม เร็วขึ้นเป็นลำดับ และภายหลังจากที่พี่สะใภ้จากไป ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่ของท่านโดยสมบูรณ์ทุกประการ เมื่อเห็นว่าเป็นโอกาสอันสมควรแล้ว ท่านจึงได้พูดเรี่องการอยากบวชให้พี่ชายฟัง พี่ชายเห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้ จึงได้พูดขึ้นมาว่า ถ้าบวชได้ก็ดี ไม่ขัดข้อง เมื่อท่านเห็นว่าได้รับอนุญาตแต่โดยดีเช่นนั้นแล้ว จึงได้รีบจัดแจงเตรียมสิ่งของทันที เพราะกลัวว่าพี่ชายจะกลับใจ พอเตรียมสิ่งของต่างๆ เสร็จกะประมาณว่าเที่ยงคีน ท่านจึงได้ออกจากบ้านเดินทางผ่านทุ่งนามุ่งหน้าสู่ วัดป่าศรีไพรวัลย์ อำเภอเมีอง จังหวัดร้อยเอ็ด [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พอรุ่งเช้าก็เข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นนาคกับ ท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม (ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดเทิง เสาหิน จังหวัดเชียงราย) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น และ ได้อยู่ฝึกฝนอบรมพอสมควรแล้ว ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีวอก อายุ ๑๙ ปี และได้พำนักจำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ ๑ พรรษา
    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=14 width=371>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table12 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น พ.ศ.๒๔๘๗ (5)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    <TABLE id=table13 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในระหว่างที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์นั้น ท่านก็ได้ ยินกิตติศัพท์ว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร เป็น พระอรหันต์ ผู้หมดจดจากกิเลส จึงทำให้หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ใคร่ที่จะได้เห็นพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อออกจากพรรษาแล้ว จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม ผู้เป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะรวม ๕ รูป ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สำนักหลวงปู่มั่น ในระหว่างทางที่ผ่านไป ท่านก็ได้แวะเยี่ยมชมและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามสำนักต่างๆ เรื่อยไป เช่น สานักของ ท่านพระอาจารย์แดง วัดป่าสักวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักของ ท่านพระอาจารย์สอน วัดภูค้อ เป็นลำดับไป จนถึงเขตสาขาสานักหลวงปู่มั่น คีอ สำนักของ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว ซึ่งเป็นสำนักหน้าด่านตั้งอยู่รอบนอก[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ตามปกติแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปสู่สานักของหลวงปู่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกมารยาทให้เรียบร้อยดีเสียก่อน จึงจะปล่อยให้เข้าไปได้ สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็อยู่ในฐานะเช่นนั้นเหมีอนกัน เมื่อได้อยู่ฝึกฝนอบรมจิตใจและฝึกมารยาทพอสมควรแล้ว หลวงปู่พร้อมด้วยคณะ ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้คือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๑. ท่านพระอาจารย์ประสบ
    ๒. หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    ๓. ท่านพระอาจารย์ อินตา
    ๔. หลวงปู่ป่อง จนทสาโร
    ๕ หลวงป่สมชาย ฐิตวิริโย (สมัยนั้นยังเป็นสามเณร)
    [/FONT]​
    </TD><TD width=16> </TD><TD width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ทั้งหมดได้พากันเข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เมี่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่วัดป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นสามเณร ในลำดับ แรกเมี่อได้เข้าไปถึงสำนักหล่วงปู่มั่น ก็ได้เห็นความสะอาดสะอ้านภายในบริเวณวัดตลอดถนนหนทาง และสถานที่อยู่ของผู้ปฏิบัติธรรมทุกแห่งมีแต่ความร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้อยากภาวนา ดูประหนึ่งว่าจิตใจเริ่ม เป็นสมาธิตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมีอปฏิบัติ นอกเหนือไปกว่านั้น ก็ได้ เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมารยาทอันสวยงามของ หลวงปู่มั่น ทีได้เมตตาออกมาให้การปฏิสันถารต้อนรับ จึงยัง ความปลื้มปีติยินดีความอิ่มเอิบให้เกิดขึ้นอย่างแปลกประหลาด และไม่เคยได้รับมาก่อนจากสำนักใดๆ ที่ได้เคยผ่านมา จึงนับว่า วันนั้นเป็นวันปฐมฤกษ์แห่งความเป็นอุดมมงคลในชีวิตนี้ที่จะ ลืมลงไม่ได้เป็นอันขาด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในระหว่างที่ท่านได้พักอาศยเพี่อตกษาธรรมปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร นั้น ท่านก็ได้ใช้ความเพียร พยายามเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติสมาธิจิต เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพระศาสนา และท่านได้ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดต่อข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวง โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนี่อย การอุปถัมภ์อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ก็เป็นไปด้วยดี สม่ำเสมอไม่บกพร่อง ตอนกลางวันนั้นท่านไม่เคยพักผ่อนหรีอจำวัดเลย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    เว้นเฉยแต่อาพาธเท่านั้น เพราะกลัวเวลาไม่พอทีจะประกอบความเพียร และไม่พอที่จะศึกษาค้นคว้าธรรมะ [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table14 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ธรรมะสำคัญกว่าวัตถุ (6)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table15 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ในวันหนึ่งซึ่งเป็นฤดูหนาว และในวันนั้นบรรดาพระเถรานุเถระ พระภิกษุ สามเณร ได้เข้าไป กราบหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เป็นจำนวนมากจนเต็มกุฏิ เพี่อขอรับฟังธรรมะภาคปฏิบัติจากหลวงปู่ ส่วนหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในสมัยนั้นเป็นสามเณร) และหมู่คณะซึ่งเป็นสามเณรด้วยกัน ไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปรับฟังธรรมะบนกุฏิได้ เนื่องจากมีเหตุสองประการคือ ๑. สถานที่นั่งมีไม่เพียงพอ ๒. สามเณร มีหน้าที่ถวายการอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ และพระอาคันตุกะที่มาสู่สถานที่ เพราะตามปกติแล้วสำนักปฏิบัติ หรีอวัดพระกรรมฐาน พอถึงตอนเย็นบรรดาสามเณรทั้งหลายก็ต้องพากันต้มยาสมุนไพร เพื่อถวายพระเถรานุเถระ และถวายครูบาอาจารย์เป็นประจำ ประจวบกับในตอนนั้นท่านกับพวกสามเณรด้วยกัน ได้พากันต้มยาไว้ถวายครูบาอาจารย์หม้อหนึ่ง เมื่อได้ยินเสียงหลวงปู่มั่นเทศน์ธรรมะ ก็ได้พากันรีบมาฟัง [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อมาถึงกุฏิหลวงปู่มั่น ก็ได้เห็นพระเถรานุเถระนั่งเต็มกุฏิไปหมด เห็นว่าไม่มีโอกาสจะขึ้นข้างบนไปฟังได้แล้ว จึงได้พากันหลบเข้าไปยีนฟังอยู่ในใต้ถุนกุฏิด้วยความตั้งอกตั้งใจ บางคำหรีอบางตอนหลวงปู่พูดค่อยฟังได้ยินไม่ชัดเจน พวกสามเณรก็พากันเขย่งเท้าเงี่ยหูฟังด้วยความกระหาย จิตใจจดจ่ออยู่กับกระแสเสียงแห่งธรรมะนั้น จนเสียงธรรมะนั้นไม่ได้ผ่านเข้าหู คือผ่านเข้าทางใจโดยตรง จนทำให้ลืมนึกถึงหม้อยาที่ได้พากันต้มเอาไว้ และลืมนึกถึงความเย็นยะเยือกของอากาศในฤดูหนาว ในตอนนั้นผ้าจีวรจะห่มคลุมกายก็ไม่ได้เอาไปด้วย สิ่งที่คลุมกายก็เพียงสบงกับผ้าอังสะเท่านั้น

    ในวันนั้นหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ได้อธิบายธรรมะวิจิตรพิสดารมากกว่าทุกวัน ในระหว่างฟังธรรมะอยู่นั้น ก็มีเสียงซุบซิบให้ไปดหม้อยาที่พากันต้มไว้ ต่างองค์ต่างก็เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา และแล้วเสียงนั้นก็เกี่ยงมาถึงสามเณรสมชาย แต่เนี่องด้วยกำลังใจจดใจจ่อกับการฟังธรรมะและมีความเสียดายใน ธรรมะกลัวว่าธรรมะจะขาดตอน จึงสงบนิ่งอยู่ไม่สนใจกับเรื่องหม้อยา และก็ยังคงนิ่งฟังอยู่ต่อโป แล้วก็มีเสียงบางองค์สอดขึ้นมาว่า ถ้าคูรบาสมชายไม่ไป ครูบาต้องรับผิดชอบเรื่องหม้อยานะ ท่านก็ยังคงตั้งอกตั้งใจฟังต่อไปจนหลวงปู่มั่นเทศน์จบ เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เทศน์จบลงแล้ว สามเณรสมชายก็ได้รีบไปดูหม้อยาทันที แต่ปรากฏว่าน้ำยาที่ต้มไว้นั้นเหือด แห้งจนหม้อยาแตกก้นทะลุแลัวใช้การไม่ได้อีกต่อไป
    เมื่อหมู่คณะเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนี้ ต่างองค์ต่างก็พากันตำหนิติเตียนและกล่าวโทษว่าสามเณรสมชาย ทำให้ของ สงฆ์เสียหาย พระบางองค์ถึงกับด่าว่าจะลงโทษท่านก็มี เพราะความหวั่นเกรงต่อหลวงปู่มั่น จึงได้พากันโยนความผิดทั้งหมดมาให้ท่านรับแต่เพียงผู้เดียว สามเณรสมชาย ท่านมีนิสัยเป็นลูกผู้ชายเต็มตัวอยู่แล้ว เมื่อผิดท่านก็ยอมรับผิดแต่โดยดี จะลงโทษสถานใดท่านก็ยอมทั้งนั้น ขอแต่ได้มีโอกาสอยู่ฟัง ธรรมะจากหลวงปู่มั่นเท่านั้นก็เป็นที่พอใจแล้ว ด้วยกุศลเจตนาที่มีอยู่ ประกอบด้วยบารมีธรรม จึงทำให้ท่านไม่หวั่นไหว
    ต่อการตำหนิ หรือการลงโทษจากหมู่คณะครูบาอาจารย์ และท่านก็ไม่มีการพูดโต้เถียงหรือแถลงการณ์แก้ตัวใดๆ ทั้งนั้น นิ่ง เงียบ ยอมรับผิด ยอมรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนของครูบา อาจารย์อยู่ตลอดเวลา


    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในขณะที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหม้อยากแตกชำรุดใช้การไม่ได้นั้น หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ก็เดินผ่านมาทางนั้นพอ ดีและได้มองเห็นหม้อยาก้นทะลุตั้งอยู่บนเตานั้น ลวงปู่ท่านจึงได้หัวเราะออกมาเบาๆ ซึ่งเป็นลักษณะเข้าใจความหมายและไม่ตำหนิกับการกระทำอันนั้น พร้อมกันนั้นหลวงปู่ท่านจึงได้ปรารภออกมาเบาๆว่าธรรมะดีกว่าวัตถุและหายากกว่าวัตถุ ภายนอก คำพูดของหลวงปู่เพียงสองประโยคเท่านั้น ก็ทำให้บรรยากาศที่กำลังตึงเครียดอยู่นั้นกลับจากหน้ามีอเป็นหลังมือทุกองค์ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น ก็มีสีหน้าเบิกบานอย่างมอง เห็นได้ชัด สำหรับสามเณรสมชาย ท่านยิ่งมีความปลื้มปีติ และ มีความซาบซึ้งในคุณธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เพิ่มขึ้น เป็นทวีคูณมาก ที่หลวงปู่ท่านสามารถเข้าใจเจตนาของท่านได้ ถูกต้อง และเป็นธรรมสมกับที่เขายกย่องสรรเสริญว่า เป็น พระอรหันต์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐจริง ๆ แต่ก็ไม่รู้จะ อธิบายอย่างไร จึงจะเหมีอนความรู้สึกภายในได้ [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] แต่ก่อนผู้เขียนเคยคิดสงสัยว่า ด้วยเหตุใดครั้งสมัยพุทธกาล พอฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้สาเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันได้รวดเร็วเหลือเกินพอหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้เล่าเรื่องการฟังเทศน์หลวงปู่มั่น เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น คือมีความตั้งใจฟังจริงๆ โดยเสียงเทศน์นั้นไม่ได้ผ่านเข้าทางโสตประสาทเลย คือ เข้าสู่ใจโดยตรง จึงทำให้ได้แง่คิดว่า ครั้งพุทธกาลที่พระสาวกทั้งหลายได้ฟัง ธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นกันเป็นจำนวนมาก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ชะรอยคงเป็นในทำนองเดียวกันนี้กระมัง เพราะในครั้งพุทธกาลมีคนสนใจธรรมะกันมาก และประกอบกับมีบารมีเป็นพื้นฐานอย่แล้ว ฉะนั้น ที่ความตั้งใจมั่นก็เป็นบารมี ส่วนหนึ่ง เป็น องค์ประกอบที่จะช่วยให้สำเร็จเร็วขึ้น พอได้ฟังธรรมะจึงสามารถเข้าใจ และสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลทันที
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลังจากสามเณรสมชายท่านได้เข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร แล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาธรรมะ และข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวง อย่างอุทิศ ชีวิตมาตลอด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [/FONT]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table16 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๙ (7)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table17 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=380>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อสามเณรสมชายมีอายุครบ ๒๑ ปี สมควรที่จะทำการญัตติจตุตถกรรมเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร ก็ได้มอบผ้าสังฆาฏิ ๑๑ ขันธ์ ให้หนึ่งผืน และช้อนซ้อมทองเหลืองอีกหนึ่งคู่ เพื่อร่วมในการอุปสมบทสามเณรสมชาย สามเณรสมชายเห็นว่าเป็นผ้าของครูบาอาจารย์ที่เคยใช้มาก่อน ลูกศิษย์ไม่ควรเอาไปใช้ เพราะจัดอยู่ในประเภทบริโภคเจดีย์ ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชาแก่ศิษยานุศิษย์มากกว่า ท่านจึงไม่กล้าที่จะนำไปใช้และเก็บไว้บูชา[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พอหลวงปู่มั่นทราบเจตนาของสามเณรสมชาย ดังนั้นแล้ว หลวงปู่มั่นจึงได้สั่งให้ คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของท่านที่สำคัญคนหนึ่ง ให้เป็นผู้จัดการหาผ้าสังฆาฏิผืนใหม่มาถวาย ด้วยแรงศรัทธาของคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เคบเกี่ยวข้องและได้อุปฐากพระกรรมฐานสายปฏิบัติมานานตั้งแต่ครั้งสมัยหลวงปู่เสาร์ กนตสีโร ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร จึงทำให้คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์เกิดความซาบซึ้งใจในคุณธรรมและเห็นความสำคัญในพระปฏิบัติมาก ดังนั้นเมื่อหลวงปู่มั่นมีความประสงค์สิ่งใด ถ้าสิ่งนั้นไม่เหลือวิสัยจริงๆ แล้วคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ จะต้องจัดหามาถวายทุกอย่างให้สมเจตนา
    สำหรับเรื่องผ้าสังฆาฏิที่จะใช้ในการอุปสมบทสามเณรสมชายในครั้งนั้นก็เหมีอนกัน ทั้งๆ ที่สมัยนั้นผ้าหายากมาก เพราะสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งจะเสร็จสิ้นลงใหม่ๆ ถึงแม้ว่าจะ ยากแสนยากเท่าไรก็ตาม คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ก็พยายามทุก วิถีทางที่จะให้ได้ผ้าสังฆาฏิมาถวายตามความประสงค์ของ หลวงปู่มั่นจึงได้ลาดตระเวนหาซื้อผ้าตามจังหวัดต่างๆ หลาย ต่อหลายจังหวัด ในที่สุดก็สำเร็จสมความปรารถนา จึงนับได้ว่า คุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการอุปสมบทสามเณรสมชายในครั้งนั้น ผ้าสังฆาฏิที่นำมาถวายในครั้งนั้นคิดเป็นมูลค่า ๔๐๐ บาท ( สี่ร้อยบาท) สมัยนั้นนับว่าเป็นผ้าที่มีราคาแพงมากพอสมควร

    [/FONT]</TD><TD width=22> </TD><TD rowSpan=19 width=368>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อจัดบริขารทุกสิ่งทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ท่านก็ได้สั่งให้

    ท่านเจ้าคณพระธรรมเจดีย์ (จม พนธุโลเถร)
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้ทำการอุปสมบทกรรม ณ พัทธสีมา วัดศรีโพนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ครูบาอาจารย์ที่ได้กล่าวนามมาทั้งหมด ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นัน้ เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อีกด้วย [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์ และเป็นเหลนศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภายหลังจากอุปสมบทกรรมแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้ ไปอยู่จำพรรษา ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ (ธาตุนาเวง) อำเภอเมีอง จังหวัดสกลนคร โดยมีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ต่อมาเมื่อนายวัน สิทธิผลซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เก็บรักษาผ้าสังฆาฏิของหลวงปู่มั่นเอาไว้ จึงได้มาขอเพื่อนำไปสักการะบูชาที่บ้าน หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็ได้มอบให้แต่โดยดี เพราะเห็นว่านายวัน สิทธิผล ก็เป็นลูกศิษย์อีกผู้หนึ่งที่มีความศรัทธาเลื่อมใสต่อหลวงปู่มั่นเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้จึงไม่ทราบว่าผ้าสังฆาฏิผืนดังกล่าวนั้น จะยังอยู่กับนายวัน สิทธิผล อีกหรือไม่[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table18 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]มูลเหตุที่ทำให้ท่านเกิดกำลังใจ (8)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table19 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เคยเล่าถวายพระภิกษุสามเณรฟังอยู่เสมอๆ ว่า สิ่งที่ทำให้ท่าน เกิดกำลังใจในการประกอบความเพียรอย่างอุกฤษฎ์ ถึงกับไม่ได้เอนกายลงนอนจำวัดเลย เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน บางครั้งเป็นเดือน สองเดือนก็เคยมี เนี่องจากในคืนวันหนึ่ง ในขณะที่ท่านได้เข้าไปอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นที่กุฏิท่านทำการบีบนวดถวายหลวงปู่เป็นเวลานานพอ สมควรแล้วก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า เราได้ประกอบความเพียรติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา ๒ วัน ๒ คืนแล้วยังไม่ได้พักเลย พรุ่งนี้ก็จะต้องออกเดินทางไปธุระที่สกลนคร เพี่อบอกลาคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ในฐานะที่เป็นโยมอุปัฏฐาก ได้จัดบริขารถวายในคราวอุปสมบท จากนั้นก็จะไปกราบลาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เพื่อจะเดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อคิดแล้วก็เกิดความอยากจะไปพักผ่อนเพื่อบรรเทาความ เหน็ดเหนี่อย และเอากำลังไว้ใช้ในการเดินทาง [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในขณะที่กำลังกังวลอยู่กับความคิดเหล่านั้น หลวงปู่มั่นก็ได้พูดสวนความคิดขึ้นมาว่า จะไปพักก็ไปได้นะ สังขาร ร่างกายอย่าไปหักโหมมันมากนัก พรุ่งนี้เราก็จะออกเดินทางไกล เราก็ไม่ได้พักมาสองวันสองคืนแล้ว

    คำพูดของหลวงปู่มั่นได้ไปตรงกับความคิดที่ท่านกำลังคิดอยู่พอดี จึงได้นึกสะกิดใจว่า หลวงปู่มั่นพูดขึ้นมาลอย ๆ หรือว่าท่านจะรู้วาระจิตของเรา และแล้วก็วิจัยวิจารณ์อยู่ขณะหนึ่งผ่านไป จิตก็ได้หวนนึกถึงเรี่องทึ่จะไปพักขึ้นมาอีก หลวงปู่มั่นก็ได้พูดขึ้นมาอีกเป็นครั้งที่สอง ซึ่งก็ตรงกับความคิดในขณะนั้นอีก จึงทำให้หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย แน่ใจว่า หลวง ปู่มั่นรู้วาระจิตของเราจริง ๆ ทำให้เกิดความอิ่มเอิบปลื้มปีติ และมีความซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย หายเหน็ดเหนื่อย หายอ่อนเพลีย ความง่วงเหงาหาวนอนหายไปจนหมดสิ้น เนื่องจากเกิดความมหัศจรรย์ในคุณธรรม และวิชชาของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ท่านจึงได้ตั้งหน้าตั้งตาบีบนวดถวายหลวงปู่มั่นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และพลางก็คิดว่า เราจะต้องเอาวิชชาอันนี้ให้ได้ และได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวถ้าไม่โด้ไม่ยอม ''หลวงปู่มั่นท่านก็มีร่างกายสังขารเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรานี่เอง เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกันกับท่าน ท่านทำได้เราจะไม่ได้อย่างท่านก็ลองดู แต่คิดว่าคงไม่เหลือวิสัย" พอท่านคิดจบ หลวงปู่มั่นท่านก็พูดสวนความคิดขึ้นมาอีกว่า ... "เอาแน่หรือ

    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมี่อท่านได้ฟังคำพูดของหลวงปู่มั่นเพียงเท่านั้น ความ ปลื้มปีติ ความอิ่มเอิบ และความมีพลังใจก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะความมหัศจรรย์ในความสามารถของหลวงปู่มั่น ที่ท่าน ได้บำเพ็ญจนบรรลุวิชชาชนิดนี้ขึ้นมาได้จนดำริรู้ภายในใจของผู้อื่นได้ เรี่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และอภิญญาสมาบัติ หรือ วิชชาในทางพระพุทธศาสนา เช่น เจโตปริญญา การกำหนดรู้ วาระจิตของคนอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์แต่ก่อนเราเข้าใจ ว่าเป็นเพียงนวนิยาย บัดนี้กลายเป็นความจริงเสียแล้ว เราได้มี โอกาสเห็นหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นสาวกสุดท้ายภายหลังยังมีความมหัศจรรย์ถึงปานนี้ถ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าหรีอได้เห็นพระอริยสงฆ์สาวกในครั้งพุทธกาลแล้ว จะมีความมหัศจรรย์สักเพียงไร[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table20 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำคำไฮและถ้ำเจ้าผู้ข้า (9)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table21 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=17 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ภายหลังจากที่เสร็จจากการอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็ได้ กลับไปสู่ที่พัก แต่แทนที่ท่านจะพักผ่อนหรีอจำวัดตามที่มีความดำริเอาโว้ตั้งแต่ตอนแรก กับเปลี่ยนมาเร่งประกอบความเพียร ในคืนวันนั้นตลอดทั้งคีน ได้ประกอบความเพียรอยู่ในอิริยาบถสาม คือ ยืน เดิน นั่ง ได้แก่การเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาตามหลักการบำเพ็ญสมาธิจิตนั่นเอง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พอรุ่งเช้าวันใหม่ก็ออกบิณฑบาตตามปกติ และภายหลังจากเสร็จสิ้นภัตกิจแล้ว ท่านก็ได้เข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เพี่อออกเดินทางไปจังหวัดสกลนคร ถึงจังหวัดสกลนครและได้ทำกิจธุระทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แทนที่ท่านจะ มุ่งหน้าไปอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตามที่ได้ตั้งใจไว้ในเบื้องแรก กลับเปลี่ยนใจเข้าไปบำเพ็ญในป่า ซึ่งมีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งเรียกว่า "ถ้ำคำไฮ" บ้านลาดกะเฌอ ท่านได้พักบำเพ็ญอยู่เป็นเวลาพอสมควร ก็ได้ย้ายไปบำเพ็ญต่อที่ "ถ้ำเจ้าผู้ข้า' อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีนายลุนและทิดไทย เป็นผู้อุปัฏฐาก ถ้ำทั้งสองแห่งอยู่ไม่ห่างจากสำนักหลวงปู่มั่นเท่าไรนักท่านได้ปักกลดบำเพ็ญมาโดยตลอด ไม่เคยลดละประมาทเลย นับตั้งแต่ได้ออกจากสำนักหลวงปู่มั่น มาเป็นระยะเวลา หนึ่งเดือนเศษ ได้บำเพ็ญเพียรอยู่ในอิริยาบถสาม และไม่เคย เอนกายลงพักผ่อนหรีอจำวัดเลยด้วยความเอิบอิ่มและปลื้มปีติ ซึ่งได้รับมาจากหลวงปู่มั่นเป็นพื้นฐานแล้ว และยังได้เดินจงกลม นั่งสมาธิ บำเพ็ญภาวนาเพิ่มเติมจนจิตสงบเข้าสู่ฐานของสมาธิ ยิ่งทำให้ความสุขความเอิบอิ่มมี
    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=17 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พลังสูงยิ่งเป็นทวีคูณ เหลีอวิสัย ที่จะพรรณาให้ถูกต้องตามความรู้สึกภายในได้ ยิ่งปฏิบัติเท่าไร รสชาติต่างๆ ของธรรมะที่เกิดขึ้นจากผลของสมาธิ ทำให้เกิด ความดูดดื่มและแปลกประหลาดมหัศจรรย์ซาบซึ้งถึงใจ ยาก ที่จะหารสชาติอะไรในโลกมาเปรียบได้ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้มีแง่คิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้ธรรมใหม่ๆ ในคำภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระองค์ได้ทรงเสวย วิมุตติสุขถึง ๗ สัปดาห์ อันนี้ไม่ต้องสงสัยเลย ของเราเพียง แค่สมาธิขั้นต่ำๆ หรีอขั้นกามาวจรกุศลชั้นละเอียดเท่านั้น ยัง ไม่ถึงวิมุตติ วิโมกข์ หรือฌาณญาณอะไรเลย ยังมีความสุขถึง เพียงนี้ ยิ่งเพิ่มความซาบซึ้งและมหัศจรรย์ในองค์สมเด็จพระผู้ มีพระภาคเจ้า และพระศาสนามากขึ้นเป็นลำดับว่าพระพุทธเจ้าท่านช่างมีความฉลาด ลึกล้ำคำภีร์ภาพจริงๆ ถ้าคนผู้นึกเดาเอาโดยไม่ได้ปฏิบัติให้เกิดความสงบแล้ว จะไม่มีความซาบซึ้ง แน่นอน ศึกษาตามตำรามากยิ่งสงสัยมาก เดามากเท่าไร ยิ่ง ไกลความจริงมากเท่านั้น แต่ถ้าใครปฏิบัติจนเกิดความสงบ คือ สงบจากบาป ก็จะเกิดความซาบซึ้งขึ้นเอง ถ้าสงบมากก็ซึ้งมาก ถ้าสงบน้อยก็ซึ้งน้อย โดยสมควรแก่การปฏิบัติ ผู้ที่มีความ ซาบซึ้งในพระศาสนาจริงๆ จะมีความรักและหวงแหนพระ ศาสนาที่สุดยิ่งกว่าชีวิต กล้ายอมเลยสละทุกอย่างเพี่อจรรโลง และเทิดทูนพระศาสนา มีความเคารพในระเบียบพระธรรม วินัยน้อยใหญ่ทั้งปวง ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญติไว้ และเข้าใจ ถูกต้องว่าพระธรรมวินัยแต่ละข้อมีความหมายสำคัญอย่างไร
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table22 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บำเพ็ญธรรมในวิเวกสถาน (10)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table23 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมี่อหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้พักบำเพ็ญอยู่ที่ถ้ำคำไฮ และถ้ำเจ้าผู้ข้า พอสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านก็ได้เดินทางออกจากสถานที่ดังกล่าว มุ่งหน้าสู่ภูมิประเทศอันเป็นดินแดนแห่งความสงบ ซึ่งนักปฏิบัติหรีอพระกรรมฐานชอบไปแสวงหากำลังใจจากความสงบวิเวกในสถานที่นั้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นองค์สำคัญๆหลายองค์ เช่นหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (ท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม (ท่านเจ้าคุณพระ อุดมสังวรวิสุทธิเถร) และ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโ ฐ เป็นต้น[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] สถานที่ดังกล่าวอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด อำเภออะไร จังหวัดอะไรท่านผู้อ่านคงนึกวาดภาพไปต่างๆ นานา ตามความเข้าใจของแต่ละท่าน ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสเล่าถึงสถานที่แห่งนี้ให้แก่ท่านผู้อ่านได้ทราบพอสมควรแก่เวลาดังต่อไปนี้คีอ
    สถานที่ดังกล่าวนี้เป็นภูเขาลูกหนึ่งมีเทือกยาวติดต่อกัน และมีลูกเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับซับซ้อนกันจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง สถานที่แห่งนี้ภาษาท้องถิ่น (อีสาน) เรียกว่า "ภูวัว" และมีหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด พอได้โคจรบิณฑบาตระยะทางห่างจากที่อยู่ประมาณ ๗ กม. หมู่บ้านดังกล่าวมีชื่อว่า บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
    สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เมื่อได้เดินทางไปถึง ท่านก็ได้ปักกลดบำเพ็ญภาวนาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายเดือน และมีโอกาสทำสมาธิได้เต็มที่ เพราะครั้งนั้นท่านได้ธุดงค์ไปเพียงองค์เดียว ท่านจึงไม่มีความกังวลใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับ เรื่องของคนอื่น มีหน้าที่บำเพ็ญสมณธรรม เพี่อความหลุดพ้น ซึ่งเป็นจุดหมายที่ได้ตั้งใจเอาไว้

    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นผู้เสียสละ เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ในการออกปฏิบัติธรรมจริงๆ ท่านยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพี่อแลกเปลี่ยนเอาคุณธรรม ท่านมีอุดมคติอยู่ว่า "ไม่ดีไห้ตาย ไม่ตายให้ดี" อันนี้เป็นปณิธานอันเด็ดเดี่ยวของท่าน เพราะสมัยนั้นภูวัวเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าไม่เสียสละจริงๆจะไม่มีความสามารถอยู่ได้เลย บางครั้งเวลาออกบิณฑบาต ยังเห็นรอยเสือขีดข่วนต้นไม้ตามสายทางที่ผ่านไป มีทั้งใหม่และเก่า บางครั้งน้ำยังขุ่นๆ อยู่ก็มี "ยิ่งพอตกตอนกลางคืนเสียง เสือมันร้องคำรามน่าหวาดหวั่น" พอมันร้องแต่ละที ในป่าอัน แสนสงบวิเวกดูประหนึ่งว่า สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ไปทั้ง อาณาเขตภูเขาลูกนั้น บางคืนมีทั้งช้างและเสือ คืนไหนที่ไม่ได้ ยินเสียงสิงห์สาราสัตว์ต่างๆ นั้นเป็นไม่มี จึงนับว่าเอาชีวิตไปเสี่ยงต่ออันตรายจริงๆ

    พอเขียนมาถึงตอนนี้ จึงทำไห้ผู้เขียนนึกถึงปัญหาข้อหนึ่ง ซึ่งมีผู้ถามมานานแล้วว่า จำเป็นอย่างไรการฝึกสมาธิจิต หรือการปฏิบัติธรรม จึงจะต้องเลือกสถานที่ เพราะการกระทำ ความดีทำที่ไหนก็น่าจะได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเวลาแวะตรงนี้สักนิดหนึ่ง ขอพาท่านผู้อ่านศึกษาภูมิประเทศแห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระกรรมูฐาน ท่านชอบไปภาวนากันนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนผู้เขียนก็เคยสนใจเหมือนกันว่า ทำไมคูรบาอาจารย์ที่สำคัญๆ สายหลวงปู่มั่น จึงต้องไปภาวนาที่ภูวัวกันเป็นส่วนมาก



    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เท่าที่เคยสังเกตดูสถานที่บางแห่ง พอไปถึงเรายังไม่ได้ นั่งสมาธิภาวนาอะไรเลย แต่ใจก็เกิดความสงบแปลกๆ เหมือนๆ จะเป็นสมาธิ แสดงให้เห็นว่าสถานที่อย่างนั้นมันชวนให้ขยัน ภาวนา จึงทำให้นึกถึงคำสอนของพรุะพุทธเจ้าบทหนึ่งที่มีอยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า "ปนตญจ สยนาสน อธิจิตเต จอาโยโค" ซึ่งมีความหมายว่า "อยู่ในสถานที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เหมาะแก่การประกอบเอื้อเฟื้อในอธิจิต" [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ภูวัวก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะแก่การฝึกจิต เพราะสิ่งแวดล้อมหลายอย่างเอื้ออำนวย เช่น มีลักษณะเป็นป่า เขา ทิวทัศน์สวยงาม น้ำดี อากาศดีพอสมควร ฤดูร้อนกลางวัน อาจจะร้อนจัดไม่สบาย ก็หลบเข้าไปภาวนาในถ้ำได้ และยังมี ลานหินกว้างใหญ่สะดวกแก่การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เวลา เปลี่ยนอิริยาบถมีโขดหินสวยๆ หลายแห่ง เหมาะแก่การไปนั่ง ภาวนาในบางโอกาส มองทิวทัศน์ไปข้างๆ จะเห็นผาสูงชัน ประดับไปด้วยหมู่ไม้ และภูเขาสลับซับซ้อนกัน ทำให้เกิดความ เพลิดเพลินแก่ผู้รักความสงบยิ่งนัก ในขณะนั้นอาจจะมองเห็น สมบัติในโลกทุกอย่างไม่มีความหมายในชีวิตเท่ากับความสงบ ความสงบ ความสลดสังเวช ความว้าเหว่วังเวง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ ที่เห็นว่าตัวเองจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจฉันใด เวลาไปธุดงค์ในป่าองค์เดียวสิ่งแวดล้อมไปด้วยอันตรายรอบด้าน ก็เหมีอนกันฉันนั้น การระลึกถึงความตายย่อมมีอยู่ตลอดเวลา [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งจะช่วยอบรมจิต คนเราถ้าใจแข็งกระด้าง ไม่รู้จักสลด จะเข้าใจธรรมะได้ยาก เพราะธรรมะ เป็นของละเอียดอ่อนของจิตใจ ถ้าจิตละเอียดมากก็เข้าใจ ธรรมะได้มาก ละเอียดน้อยก็เข้าใจธรรมะได้น้อย ฉะนั้นถ้าผู้ อ่านพิจารณาไปด้วยก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า "สถานที่นั้นมีความ สำคัญอย่างไรต่อการฝึกจิต"[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เคยเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ท่านได้คุณธรรมและได้กำลังใจจากสถานที่แห่งนี้เป็นส่วนมาก (หมายถึงภูวัว) จึงทำให้ท่านมีความมั่นคงในพระศาสนา ยอมมอบกายถวายชีวิตอุทิศแด่ พระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติ บูชา และยังได้ชักชวนผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสศรัทธา ให้รู้จักคุณค่า ประโยชน์ของธรรมะด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีที่ ท่านทำให้เกิดศรัทธาปสาทะต่อพระศาสนานั้น จุดสำคัญที่สุด ก็ได้แก่การฝึกทำสมาธิภาวนา ให้จิตใจมีความสงบ คือ "สงบจากบาป" เมื่อผู้ปฏิบัติได้ดื่มรสชาติของความสงบ ก็จัก มีความซาบซึ้งในธรรมะ และรู้จักคุณค่าประโยชน์ของพระ ศาสนา ฉะนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านจึงพยายามชักจูง เพี่อนสหธรรมิก ให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติภาวนา ท่านจึงได้ นำพาเพื่อนสหธรรมิก ออกธุดงค์กรรมฐานในป่าเป็นประจำทุก ปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อหมู่คณะจะมีโอกาสได้สัมผัสกับ ความสงบวิเวกบ้าง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif].[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table24 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]จำพรรษาที่วัดอรัญญวาส พ.ศ. ๒๔๙๒ (11)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table25 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้พักบำเพ็ญอยู่ที่ภูวัว เห็นว่าได้รับผลดีทางด้านจิตใจเพิ่มขึ้น เป็นลำดับได้รับความรู้ความเข้าใจในพระศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ความสุข ความสงบ ความรู้ความเห็นในสิ่งต่างๆ ก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยได้รับมาก่อนเลย ท่านจึงได้ ปักหลักบำเพ็ญอยู่ ณ ที่ภูวัวนั้น จนตลอดฤดูร้อน [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อถึงฤดูกาลพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ท่านก็ได้ออกจากที่บำเพ็ญในป่าลงมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย วัดแห่งนี้ หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล เป็นผู้สร้างไว้

    พอออกพรรษาในปีนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้รีบเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร และอยู่ฟังธรรมะจากหลวงปู่มั่นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้กราบ ลาออกหาสถานที่บำเพ็ญภาวนาต่อไป ท่านได้ปฏิบัติอยู่อย่าง นี้ตลอดมา แต่การไปภาวนาตามสถานที่ต่างๆ ของท่านนั้น ท่านไม่ได้ไปเองตามชอบใจ คีอ ท่านไปตามคำสั่งของครูบาอาจารย์ ในเมื่อครูบาอาจารย์สั่งให้ไปภาวนาที่ไหน ก็ไปที่นั่น ท่านจะให้อยู่กี่วันกี่เดือน ก็แล้วแต่ครูบาอาจารย์จะสั่ง เมื่ออยู่ครบตามกำหนดที่ท่านสั่งแล้ว ก็เดินทางกลับเข้าไปหาครูบาอาจารย์ ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้เสมอมา ผู้ปฏิบัติท่านถีอกันมาก เรื่องการเคารพครูบาอาจารย์ ถ้าใครฝืนคำสั่งครูบาอาจารย์ โดยส่วนมากมักปฏิบัติไม่เป็นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในสำนักครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณธรรม อย่างสำนักหลวงปู่มั่น เป็นต้น บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายจะให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ใครจะฝ่าฝืนไม่ได้เป็นอันขาด แม้แต่ความรู้สึกภายในยังต้องระมัดระวังไม่ให้คิดไปตำหนิติโทษท่านเป็นอันขาดเพราะ กลัวจะเป็นบาป และจะเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญ คีอจะเจริญสมณธรรมไม่ขึ้น
    ครูบาอาจารย์ เคยเล่าถึงสามเณรองค์หนึ่ง ซึ่งเคยอยู่ในสานักหลวงปู่มั่น เป็นเณรหัวดื้อว่ายากสอนยาก ครูบาอาจารย์จะว่ากล่าวสั่งสอนอะไรก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง หลวงปู่มั่นจึง ได้พูดเตีอนสติขึ้นว่า ระวังนะ...เณร...การฝืนคูรบาอาจารย์ไม่ไช่ของดีมันเป็นบาปถ้าฝืนมาก ๆเข้าอาจจะเป็นบ้าได้ หลวงปู่มั่นท่านพูดไม่กี่นาที สามเณรองค์นั้นก็ได้เสียสติวิปลาสทันที พอหลวงปู่มั่นสั่งว่า "ถ้าอยากหายให้หาดอกไม้มาขอขมา" เมี่อสามเณรปฏิบัติตาม ก็ได้หายจากการเป็นบ้าทันที เรี่องนี้หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็ได้เห็นเหตุการณ์ในขณะนั้นด้วย

    "เหตุการณ์อันเป็นตัวอย่างที่เล่ามานี้ ผู้เป็นบัณฑิตอาจตำหนิเอาได้ ผู้เขียนูร้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะเกรงว่า การใช้ภาษาอาจไม่เหมาะสมกับผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนทั่วไปแต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าผิดพลาดด้วยประการใดโปรดให้อภัยด้วยเถิด"

    สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย นับแต่ได้อุปสมบทในบวรพุทธศาสนา ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมตลอดมาโดยลำดับ ไม่เคยลดละประมาทเพื่อต้องการพิสูจน์ความจริงในทางพระศาสนา ท่านได้ขยันหมั่นเพียรในกิจวัตรน้อยใหญ่ทั้งปวง มิได้ย่อท้อ ผลแห่งการปฏิบัติก็ได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ท่านเพลิดเพลินในความรู้ ความเห็น และมีความซาบซึ้งในรสชาติต่างๆ ของธรรมะที่เกิดขึ้นจากการบำเพ็ญเพียรของท่าน




    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในระหว่างที่กำลังเพลิดเพลินอยู่กับการปฏิบัติธรรมนั้น เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนแก่ผู้ปฏิบัติก็เกิดขึ้น คือ ข่าวการ มรณภาพของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ ขณะนั้นหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นนวกภิกษุ มีอายุพรรษาได้เพียง ๔ พรรษาเท่านั้น [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ผู้เปรียบเสมีอนร่มโพธิ์ร่มไทร และเปรียบเสมือนตวงประทีปของคณะศิษยานุศิษย์ ได้สิ้นสุดลง ความเศร้าสลดรันทดใจได้เกิดขึ้นแก่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ในขณะนั้นอย่างหาที่เปรียบมิได้ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ซึ่งก็อยู่ในฐานะเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นองค์หนึ่งก็พลอยได้ รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นเดียวกับลูกศิษย์องค์อี่นๆ เพราะว่าสมัยหลวงปู่มั่น ท่านยังมีชีวิตอยู่ คณะศิษย์ทั้งหลายก็ได้ถือเอาสำนักหลวงปู่มั่น เป็นจุดรวมในการศึกษาและอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติ ฉะนั้นบรรดาลูกศิษย์ทั้ง หลายก็ได้รับความอบอุ่นและมีกำลังใจเพราะมีที่พึ่ง แต่ในเมื่อขาดที่พึ่ง ความว้าเหว่วังเวง ความเศร้าสลดย่อมเกิดขึ้นเป็น ธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังเป็นปุถุชน [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ในระหว่างเป็นนวกภิกษนั้น ท่านก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ตามสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นรุ่นพี่ ๆ ตลอดมาจนอายุพรรษาเข้าขั้นเถรภูมิ เมื่อเป็นว่าเป็นนิสัยมุตตกะได้แล้ว ท่านจึงออกบำเพ็ญภาวนาเองตามลำพังตามสถานที่ต่างๆ สมควรแก่โอกาส[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ส่วนสำนักของครูบาอาจารย์ ที่ท่านหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เคยไปศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยในสมัยนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง เท่าที่ผู้เขียนพอจะจดจำได้จากท่าน เคยเล่าสู่ฟัง ก็มีดังนี้ -[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๑. หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    ๒. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    ๓. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    ๔. หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    ๕. หลวงปู่สีลา อิสสโร
    ๖. ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] และสำนักท่านพระอาจารย์กว่า ตลอดทั้งสำนักครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ๆ อีกหลายสำนัก[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table26 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ผจญภัยกับหลวงปู่ฝั้น (12)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table27 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] นอกจากนั้นท่านก็ได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานตามป่าเพื่อแสวงหาความสงบวิเวกเป็นบางครั้ง บางโอกาส แต่โดยส่วนมากท่านชอบไปบำเพ็ญที่ภูวัวเพราะสถานที่แห่งนี้มีความเหมาะสมแก่ การเจริญสมณธรรมมาก จึงเป็นที่สนใจของนักปฏิบัติทั้งหลาย ผู้แสวงหาความพ้นทุกข์ สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใคร่ต่อการหลุดพ้น จึงได้บุกป่าฝ่าดง เผชิญกับสัตว์ร้ายนานาชนิด เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม เพราะในอดีตเมืองไทย เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ การออกธุดงค์กรรมฐานในยุคนั้น จึงหนีไม่พ้นกับการผจญภัยกับสัตว์ร้ายต่างๆ บางครั้งท่านก็ได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานองค์เดียว บางครั้งท่านก็ได้ไปกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านให้ความเคารพนับ ถือมากองค์หนึ่ง และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านอีกด้วย [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่ฝั้น กับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้เคยเผชิญ กับอันตรายร่วมกันมาหลายครั้งในการออกบำเพ็ญกรรมฐาน โดยเฉพาะที่ภูวัว ได้เคยมีเหตุการณ์บางอย่างที่น่าสนใจ โดยส่วนมากรู้สึกว่าจะนำมาเล่ากันผิดๆ พลาดๆ ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง ไหนๆ จะเล่าเรื่องจริง จึงตัดสินใจเอามาเขียนให้ ท่านผู้อ่านได้ทราบความจริงและพิจารณา
    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ฝั้น อาจาโร กับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ออกบำเพ็ญร่วมกันที่ภูวัว หลวงปู่สมชายู ฐิตวิริโย ได้ไปกางกลดอยู่ใกล้โขดหินแห่งหนึ่ง เขาเรียกตรงสถานที่แห่งนั้นว่า หินก้อนน้ำอ้อย (หินค้างหิน) ที่ตรงนั้นเป็นทางผ่านของ สัตว์ร้ายมีช้างและเสือผ่านไปมาแทบทุกคืน นับว่าเอาชีวิตไปเสี่ยงกับภัยอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เมี่อหลวงปู่ฝั้นได้ทราบเข้า จึงพูดปรารถกับหลวงปู่สมชายว่า "เมื่อคืนผมนอนไม่หลับ ผมเป็นห่วงครูบา"หลวงปู่สมชายจึงกราบเรียนถามหลวงปู่ฝั้นด้วย กริยาอันอ่อนน้อมและเคารพว่ามีเรื่องอะไรหรือครับผม"หลวงปู่ฝั้นตอบว่า "ก็ครูบาอยู่องค์เดียวและอยู่ตรงทางผ่านของมันด้วย" (หมายถึงทางผ่านของเสือและช้าง)
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG]
    [/FONT]​

    </TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลวงปู่สมชายจึงกราบเรียนหลวงปู่ฝั้นว่า"ท่านอาจารย์ไม่ต้องเป็น ห่วงกระผมมากเกินไป เพราะกระผมได้อุทิศทุกอย่างแล้ว เพื่อปฏิบัติบูชาพระรัตนตรัย" หลวงปู่ฝั้นคัดค้านว่าไม่ได้ ๆ คืนนี้ผมจะไปภาวนาอยู่เป็นเพื่อนครูบา' พอถึงตอนเย็น หลวงปู่ฝั้นก็ได้เตรียมบริขารเพี่อจะไปอยู่เป็นเพี่อน หลวงปู่ สมชายจึงได้จัดที่พักของท่านซึ่งได้อยู่เป็นประจำนั้นถวาย หลวงป่ฝั้น และได้ช่วยกางกลดถวายหลวงปู่เรียบร้อยแล้ว ท่านเองก็ได้ย้ายที่พักไปกางกลดอยู่คนละฟากคลอง ใน ระหว่างทางผ่านมีเหวลึกมาก ซึ่งไม่เหมาะแก่สัตว์ร้าย มีเสือ และช้าง ที่จะผ่านไปมาย่อมไม่สะดวก จึงแน่นอนที่สุดถ้าสัตว์ ร้ายมาจะต้องผ่านไปทางที่หลวงปู่ฝั้นพักอยู่ [/FONT] [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในคืนแรกที่หลวงปู่ฝั้นไปพักอยู่ด้วย ยังไม่ทันข้ามคืนเสียด้วย ช้างก็มาพอดี ช้างโขลงนั้นกะประมาณหลายสิบเชือก เท่าที่ผู้เขียนได้ฟังมาว่า คืนนั้นพอตกดึกเงียบสงัดฟังเสียงช้าง หลายสิบเชือกเดินมาในป่ารกชัฏ ประกอบพร้อมกับบางแห่ง เป็นลานหินบนภูเขา ฟังเสียงอยู่ไกลๆ จึงออกจะคล้ายกับเสียง ลมพายุพัดต้นไม้แรงๆ เสียงต้นไม้หักไม่ขาดระยะ และเสียงนั้น ก็คืบคลานใกล้เข้ามาๆๆ ทางด้านหลวงปู่ฝั้นทุกขณะ สำหรับผู้ ชำนาญป่าอย่างพระกรรมฐาน พอได้ยินเสียงดังนั้นก็ทราบไดั้ทันทีว่า เป็นเสียงโขลงช้างอย่างแน่นอน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อหลวงปู่สมชายเห็นว่าสถานการณ์อันหฤโหดกำลัง จะเกิดทางด้านหลวงปู่ฝั้น ด้วยนิสัยที่เด็ดเดี่ยว และมีความเป็น ห่วงครูบาอาจารย์ ท่านจึงได้รีบออกจากมุ้งกลดข้ามคลองมา หาหลวงปู่ฝั้นทันที เพื่อรับสถานการณ์ร่วมกัน พอท่านมาถึงที อยู่ของหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่สมชายก็ได้รีบกราบเรียนหลวงปู่ฝั้นทันทีว่า "ท่านอาจารย์จะทำอย่างไรดี มันจวนเข้ามาเต็มทีแล้ว'' หลวงปู่ฝั้นจึงตอบว่า "จะทำอย่างไรดีล่ะ ผมก็ไม่มีทาง แล้ว" หลวงปู่สมชายจึงได้รีบหาสถานที่เพี่อหลบภัยถวายหลวงปู้ฝั้น ในที่สุดก็ได้พบโขดหินโขดหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าถ้าขึ้นไปอยู่บนนั้นได้ก็จะเป็นที่ปลอดภัย หลวงปู่สมชายจึงได้กราบเรียนให้หลวงปู่ฝั้นทราบ พร้อมกับท่านได้ขึ้นไปอยู่ข้างบนก้อนหิน แล้วยี่นมีอลงมาให้หลวงปู่ฝั้นจับแล้วปีนป่ายขึ้นไปบนนั้น พอขึ้นไปถึงบนโขดหินแล้ว เห็นว่าอยู่ในเขตปลอดภัยพอสมควรแล้ว หลวงปู่ฝั้นจึงได้หยิบเอาหวอไม้ไผ่ในย่ามออกมาเป่า ว๊อก ก ก ว๊อก..ๆ..ๆ สองสามครั้ง พอสิ้นเสียงหวอที่หลวงปู่ฝั้นเป่า ในทันทีนั้นช้างทั้งโขลงก็แตกตื่นพากันวิ่งกลับไปด้วยความตกอกตกใจ เสียงดังสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั้งป่า ครู่ต่อมา สถานการณ์ก็คืบคลานเข้าสู่สภาพปกติ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] และในคืนนั้นหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้พักอยู่เป็นเพื่อนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จนรุ่งสว่างของวันใหม่ การออกธุดงค์กรรมฐานในครั้งนั้น หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่สมชายก็พักบำเพ็ญอยู่หลายเดือน จนเห็นว่าพอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้พากันกลับออกมา
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table28 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ผจญภัยกับหลวงปู่มุล (13)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table29 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ภายหลังจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้กลับออกมาแล้ว หลวงปู่มุล ธมมวีโร กับพระใหม่อีกรูปหนึ่งชื่อ พระบัวทั้งสองไต้มาพักบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ร่วมกับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ขอกล่าวความเป็นมาของหลวงปู่มุลให้ทราบเล็กน้อย หลวงปู่มุล ธมมวีโร เป็นน้องชายคุณย่าของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย อดีตเคยรับราชการเป็นตำรวจมาก่อน แต่ภายหลังได้ ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุราชการ และท่านมีความสนใจในการปฏิบัติธรรมมาก เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา จึงได้สละฆราวาสวิสัยออกสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ตั้งแต่ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีอายุพรรษาได้ ๕ พรรษา ภายหลังจากหลวงปู่มุลท่านได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้ออกติดตามบำเพ็ญกรรมฐานตามป่าตามเขาต่างๆ กับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย จน กระทั่งได้ติดตามขึ้นมาอยู่บนเขาสุกิม และหลวงปู่ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราที่วัดเขาสุกิม เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ รวมอายุของหลวงปู่มุลได้ ๑๐๐ ปี ๕ เดือน ๑๔ วัน หลวงปู่มุล เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยอย่างสม่ำเสมออีกรูปหนึ่ง
    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ผู้เขียนได้ขอถือโอกาสเล่าชีวประวัติของหลวงปู่มุล ธมมวีโร โดยย่อดังกล่าวมานั้นพอสมควรแก่เวลาแล้ว ต่อไปนี้ จะได้วกกลับเข้ามาถึงเรื่องการออกบำเพ็ญกรรมูฐานที่ภูวัวต่อเมื่อหลวงปู่มุลกับพระบัวได้เข้าไปร่วมบำเพ็ญ กับหลวงปู่สมชายหลวงปู่มุลท่านก็ได้พักแทนที่เก่าหลวงปู่ฝั้น ถัดออกไปพอสมควรก็เป็นที่พักของพระบัว (ไม่ทราบฉายา) ส่วนหลวงปู่ สมชาย ฐิตวิริโย ก็ยังคงพักที่เดิม สำหรับพระบัวนั้นเป็นพระบวชใหม่ ทั้งยังใหม่ต่อการออกธุดงค์กรรมฐานอีกด้วย ดังนั้น จึงหวาดๆ อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะตระหนักดีว่าตรงนั้นเป็นทางผ่านของสัตว์ร้าย ในจังหวะไหนที่ได้ยินเสียงหลวงปู่มุลไอซึ่งเป็นโรคประจำตัวของหลวงปู่มุล ก็ทำให้พระบัวอุ่นใจขึ้นมาหน่อย ตอนไหนเงียบเสียงไอ พระบัวก็แทบใจสั่นระรัว[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table30 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อาคันตุกะมาเยือน (14)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table31 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] อาคันตุกะผู้มาเยือนในคืนนั้นเป็นอาคันตุกะหน้าใหม่ และ ได้ยินเสียงดัง ...สวบ.. ๆ.. ๆ.. มาแต่ไกล ดูเหมือนว่าจะบ่ายหน้าไปทางกลดของพระบัว พระบัวซึ่งอยู่ภายในกลดพอได้ยินเสียงดัง สวบ ๆ ๆ ของอาคันตุกะที่จะมาเยือน ยังไม่ทันเห็นหน้าตากันและกันเลย พระบัวก็นึกวาดภาพไปต่าง ๆ นานา และวาดภาพขึ้นมาให้เป็นเสือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญจึงทำให้ตัวเองแทบช็อค และ แทบเป็นลมไปให้ได้ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มองเห็นว่าสถานการณ์ไม่ปกติ เกรงว่าพระใหม่จะช็อคหรือจะเป็นลมไป ท่านจึงออกจากกลดเดินข้ามคลองมาร้องเรียกหลวงปู่มุลว่า "หลวงปู่ๆ เป็นอย่างไรเล่า"..หลวงปู่มุลตอบว่า "เสียงอะไรก็ไมู่ร้ดังสวบๆ อยู่ทางด้านนี้ไม่หยุดเลย" พอพระบัวได้ยินเสียงหลวงปู่มุล และหลวงปู่สมชายพูดคุยกันแล้ว ก็ได้ออกจากมุ้งกลดมาทันที พอมาถึงก็พูดว่า .."กระผมเกือบช็อคตายให้ได้ครับท่านอาจารย์".. หลวงปู่สมชายพูดขึ้นว่า .."จะเอาอย่างไรดี นี่บำเพ็ญให้ภาวนาไปเถิด ไม่มีอะไรนั่นมันเสียงเม่นต่างหากไม่ใช่เสือ".. "..อะไรก็ตามผมก็กลัวทั้งนั้น. "พระบัวตอบ " ท่านอาจารย์อย่าหนีกระผมก็แล้วกันคืนนี้ " ด้วยการขอร้องของพระบัว หลวงปู่สมชาย หลวงปู่มุล และพระบัว ก็พากันข้าม คลองไปเอากลดและอัฎฐะบริขารของหลวงปู่สมชายกลับมาฝั่งนี้ และหลวงปู่สมชายก็ได้กางกลดอยู่ในระหว่างทางผ่านของสัตว์พอดี สำหรับพระบัวและหลวงปู่มุลอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวามือของท่าน
    อาคันตุกะผู้มาเยือนในลำดับต่อไปนั้นมีลักษณะแปลกกว่าครั้งแรก นอกจากมีเสียงดัง สวบๆ แล้วยังไม่พอ ยังมีเสียงครางอยู่ในลำคอเพิ่มขึ้นอีก เหมือนจังหวะที่แมวมันหายใจดังอยู่ในลำคอ แต่เสียงที่ได้ยินนี้ดังกว่าเสียงแมวหลายสิบเท่า สำหรับหลวงปู่สมชายนั้นท่านทราบดีว่า ..นี่คือ เสียงเสือแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย และอยู่ไม่ห่างจากกลดของท่านนัก.. ในขณะที่ท่านกำลังภาวนา จ้องฟังเสียงเสือมันหายใจอยู่นั้น ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หลวงปู่มุลก็ได้ไอออกมาด้วยเสียงอันดัง และยังไม่ทันจะขาดเสียงไอ เสียงใหม่ก็เข้ามาแทนที่คล้ายๆ กับเสียงวัตถุหนักๆ ตกลงถูกกับพื้นดิน ทางฝั่งตรงข้ามกับเสียงหายใจนั้น แผ่นดินแทบสะเทือน
    หลวงปู่มุลจึงกราบเรียนถามหลวงปู่สมชายขึ้นมาว่า "..มีอะไรเกิดขึ้นทรือครับท่านอาจารย์ "" ไม่ทราบเหมือน กันครับว่าอะไรกระโดดข้ามกลดผม' หลวงป่สมชายตอบ ทันใดนั้นพระบัวก็พรวดพราดออกมาจากมุ้งกลดพร้อมด้วยไฟฉายในมือ จึงพากันฉายไฟไปดูบริเวณรอบๆ ที่มีเสียงนั้น ปรากฏว่าพบรอยเท้าเกอรอยมหึมาขนาดคีบเขี่องๆ อยู่ข้างกลดของหลวงปู่สมชาย พระบัวเห็นดังนั้นแทบจะไม่ภาวนาเอาเสียเลย

    พอรุ่งเช้าได้อรุณวันใหม่ จึงได้พากันลาดตระเวนหารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จงทราบแน่นอนว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อนตกคอกอยู่ใกล้ๆ นั่นเอง และได้พาลูกหลบหนีไปแล้ว หลวงปู่สมชายจึงได้พาหลวงปู่มุลและพระบัวย้ายที่พักไปปักกลดอยู่ อีกด้านหนึ่งและได้พักบำเพ็ญต่อมาอีกระยะหนึ่ง จนสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้พากันกลับออกมาจากสถานที่แห่งนั้นและหาสถานที่ภาวนาแห่งใหม่ต่อไป
    เรี่องที่เล่ามานี้ก็มีบางท่านเข้าใจผิดอยู่มาก ซึ่งเข้าใจว่าหลวงปู่สมชายกลัวเสือ แล้วได้ทิ้งกลดเผ่นหนีเข้าป่า โดยทิ้งให้หลวงปู่ฝั้นยืนสู้เสืออยู่แต่องค์เดียว ลูกศิษย์วิ่งหนีเอาตัวรอด อันนี้ไม่ใช่ความจริงเลย ข้าพเจ้าขอรับรองร้อยเปอร์เซ็นต์ว่านิสัยอย่างที่ว่านั้น หลวงปู่สมชายทำไม่ได้เด็ดขาด ความจริงก็เป็นอย่างที่เล่ามาแล้วนั้น ก็อาจจะมีบางครั้งหลวงปู่ฝั้นท่านมองเห็นว่าพระภิกษุ สามเณร มีความตึงเครียดต่อการปฏิบัติและเครียดต่อการงาน หลวงปู่ ฝั้นท่านอาจจะนำเรื่องขำขันมา เล่าเพื่อคลายอารมณ์ก็เป็นได้ก็เลยนำเรี่องในอดีตมาเล่าสู่ฟังว่า สมัยหนึ่งเคยออกบำเพ็ญที่ภูวัวกับหลวงปู่สมชาย บางท่านกลัวเสือถึงขนาดวิ่งเผ่นหนี บางท่านบางคนฟังไม่เข้าใจความหมายก็เลยพูดต่อปีกต่อหางออกไปว่า หลวงปู่สมชายกลัวเสือถึงขนาดทิ้งกลดวิ่งหนีหลวงปู่ฝั้น ก็เลยเล่าต่อกันไปเรื่อยๆ เล่ามาก เข้า ก็เลยเสริมเติมเอาเองบ้างเป็นลำดับไป ถึงขนาดบางคนว่าเดินไปเจอเสือในระหว่างทาง พอเสือโผล่ออกมาเจอเข้าพอดี หลวงปู่สมชายก็ได้ทิ้งกลดเผ่นหนีทันที
    การเขียนแบบยกเมฆโดยส่วนมากมักจะเข้าทำนองนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้นนี้ได้บันทึกจากปากคำของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย โดยตรง สำหรับผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยกันกับหลวงป่สมชายก็เพิ่งจะมรณภาพไป คือ หลวงปู่มุล ธมมวีโร สมัยเมื่อหลวงปู่มุลยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้มีผู้สงสัยในเรี่องนี้ แล้วมากราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ท่านก็ได้เมตตาชี้แจงให้กระจ่างแจ้งไปทุกราย
    สำหรับเรี่องชีวประวัติของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลายอย่างซึ่งบางคนยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง แต่ก็ถือว่าเป็นเรี่องธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน จะให้เข้าใจประวัติความเป็นมาของคนอี่น โดยถูกต้องหมดทุกอย่างนั้นเป็นไปไม่ได้
    ฉะนั้นผู้เขียนจึงขอออกความเห็นสักนิดหนึ่งว่า หาก ท่านผู้อ่านต้องการความเป็นธรรมโดยไม่อาศัยอคติเป็นพื้นฐานแล้ว ถ้าสงสัยอะไรเกี่ยวกับชีวประวัติความเป็นมาของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ควรไปกราบเรียนถามท่านได้ เพราะท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าอมเอาความสงสัยไว้ในใจ บางทีอาจจะเกิดโทษได้ คือเป็นบาปโดยไม่รู้ตัว
    ที่พูดนี้ก็เนื่องมาจากมีบางท่านไปถามข้าพเจ้าว่าไหนว่าหลวงปู่สมชาย เคยอยู่กับหลวงปู่ฝั้น แต่ผมอ่านชีวประวัติของหลวงปู่ฝั้นแล้ว ไม่เห็นกล่าวถึงหลวงปู่สมชายเลย ว่าได้จำพรรษากับหลวงปู่ฝั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ข้าพเจ้าจึงตอบว่า เรี่องนี้เคยพูดอยู่แล้วว่าการเขียนชีวประวัติของคนอื่น ไม่ว่าใครๆ ทั้งนั้น จะไม่มีใครสามารถเขียนราย ละเอียดถูกต้องหมดทุกแง่ทุกมุมได้ เรื่องชีวประวัติของหลวงปู่ฝั้นก็เหมือนกัน ถึงแม้ว่าไม่ถูกต้องหรือสมบูรณ์หมดทุกอย่างก็ตาม การที่สามารถรวบรวมข้อมูลตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเกี่ยว กับหลวงปู่นั้นนำมาลงตีพิมพ์เป็นเล่มได้ถึงขนาดนั้น มิใช่ของ ง่ายนักคณะผ้จัดทำจะต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการเสาะแสวงหาข้อมูล เพราะผ้ที่ทำงานเพี่อส่วนรวมนั้นต้องเป็นผู้เสียสละคือเสียสละเวลาอันมีค่าของตนแล้วยังใม่พอ แถมยังเสียสละทุนทรัพย์เพื่ออำนวยความสะดวกในระหว่างการปฏิบัติงานอีกด้วย
    เมื่อนึกถึงเหตุผลหลายๆ อย่างแล้วจึงเห็นว่าควรแก่ การยกย่องสรรเสริญและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าจึงพูด ต่อไปว่าเท่าที่ได้ฟังมา หลวงปู่สมชายไม่เฉพาะแต่จะจำพรรษา อย่างเดียวก็หาไม่ ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้น หลวงปู่ สมชายยังได้ปฏิบัติหน้าที่ของท่านอย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ทั้งภายในและภายนอกอีกด้วย



    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371> [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ภายนอกได้แก่ การอุปถัมภ์อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้ทำเป็นอาจิณวัตรเว้นเสียแต่อาพาธ นอกจากนั้นก็ยังมี ส่วนร่วมในการก่อสร้างกุฏิของพระภิกษุสามเณร และผู้ปฏิบัติ ธรรม หรีอเมื่อมีกิจการงานอะไรเกิดขึ้นภายในวัด หลวงปู่ สมชายจะต้องมีส่วนร่วมกระทำด้วยแทบทุกอย่าง นอกเหนือ ไปกว่านั้น การสร้างสระน้ำบนภูพาน ที่วัดถ้ำขาม อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และการสร้างพระพุทธูรูปที่ ถ้าพระบนภูวัว อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ สมชายก็มีส่วนช่วยสร้างเกือบจะทุกแห่ง ที่เล่ามาเป็นเพียงบาง ส่วนที่ท่านได้มีความเกี่ยวข้องกัน เท่าที่ผู้เขียนได้ฟังมาไม่เพียง เท่านี้ยังมีอีกมาก แต่ผู้เขียนไม่สามารถนำมาเล่าสู่ฟังให้หมด ในเวลาอันสั้นนี้ได้ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ส่วนด้านภายในของหลวงปู่สมชายนั้น ได้แก่การ ปฏิบัติสมาธิจิต การเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ถึงแม้ว่าท่าน จะต้องปฏิบัติงานภายนอกช่วยครูบาอาจารย์ในบางครั้งจน แทบไม่มีเวลาว่างเลยก็ตาม แต่ท่านก็ได้ดำเนินการปฏิบัติสมาธิ จิตของท่านตลอดโดยไม่ท้อถอยหรือบกพร่อง จึงนับว่าท่านมี ความทรหดอดทนซึ่งหาได้ยากองค์หนึ่ง ที่เล่ามานี้บางท่านที่ ยังไม่ ซึ้งในความเป็นอยู่ของกันและกัน ก็อาจสงสัยหรือคัดค้าน ว่าสรรเสริญเยินยอกันเกินไป เพราะการทำงานก็เป็นเรื่อง ธรรมดา พวกนักก่อสร้างทั้งหลายเขาทำกันทุกวัน แต่ไม่เห็นมี ใครเอามาอวดอ้างกันว่าเก่ง หรือเป็นเลิศในความอดทน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ข้าพเจ้าเซึ่อเหลือเกินว่า ถ้าผู้ที่มีความยุติธรรมอยู่ในใจ เมื่อได้เห็นการปฏิบัติงานของท่านแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าท่าน มีความอดทนจริงๆ แม้แต่ในปัจจุบันนี้อายุของท่านจะล่วงเลยถึง ๗๒ ปีแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติศาสนกิจของท่านมีอยู่เป็น ประจำทุกวันมิได้ขาด แทบจะไม่มีเวลาว่างเว้นเลยแม้แต่วันเดียว เมี่อข้าพเจ้าได้เห็นการปฏิบัติงานของท่านแล้วก็น่าเห็นใจและน่าเหน็ดเหนี่อยแทนท่าน สมกับที่ท่านได้ตั้งอุดมการณ์เอาไว้ว่า อยู่ต้องมีประโยชน์ ถ้าไม่มีประโยชน์ไม่ต้องอยู่ คือหมายความว่าถ้าท่านอยู่ ณ สถานที่ใดแล้ว ต้องทำประโยชน์ ให้กับสถานที่แห่งนั้นได้ ถ้าทำประโยชน์ไม่ได้ก็ไม่ต้องอยู่ ณ สถานที่นั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ทุกวันนี้ท่านจึงยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้นถ้าจะคัดค้าน ต้องพิจารณาให้รอบคอบโดยมุ่งประโยชน์ส่วนรวม และต้อง ถูกต้องตามหลักของผู้ทรงคุณธรรม เพราะการพิจารณาให้เป็น ธรรมะจะต้องศึกษาให้เข้าใจในเหตุผลของกันและกันโตยถ่องแท้เสียก่อนจึงจะไม่เสียภูมิของนักปราชญ์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ความจริงแล้ว พวกนักก่อสร้างซึ่งเป็นฆราวาสนั้น ก็เป็นของธรรมดา ตามความรู้สึกของคนทั่วไปก็เห็นว่าการก่อสร้างไม่ใช่ของแปลก มันเป็นอาชีพของเขา และพวกเขาเหล่านั้นก็มีฤทธิ์ที่จะนำอาหารมาชดเชยกับพลังงานที่หมดไปได้ตลอดเวลา คือ หิวขึ้นมาเมื่อไร ก็รับประทานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] สำหรับพระกรรมฐานนั้น ท่านฉันจังหันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำงานตลอดวัน หิวขึ้นมาเมื่อไรก็ต้องฉันน้ำเข้าไปแทน รอจนกว่าจะถึงวันใหม่ จึงมีโอกาสแก้มือกับความหิวได้ อันนี้แหละเป็นสิ่งที่น่าคิด หรือใครยังไม่สิ้นสงสัยก็ทดลองดูได้ คือทดลองรับประทานอาหารมื้อเดียวอย่างพระกรรมฐานและต้องทำงานตลอดวัน มันจะเป็นอย่างไรเราก็จะซึ้งใจเอง ฉะนั้นการคัดค้านก่อนพิสูจน์ความจริง จึงผิดหลัก ของปัญญาชนเป็นอย่างยิ่ง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พอเขียนมาถึงตอนนี้ ก็เลยนึกถึงเรื่องในอดีต คือ เคยมีบางคนถามปัญหาผู้เขียนว่ารู้ได้อย่างไร จึงว่าหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ข้าพเจ้าจึงตอบออกไปทันทีว่า ก็รู้ได้เพราะเราเข้าใจ คือหมายความว่าเราจะรู้ได้ว่าใครเป็นคนดี เราก็ต้องรู้เรื่องของคนดีเสียก่อน ว่าคนดีมีลักษณะอย่างไร อุปมาข้อนี้เหมือนกับการดูพลอย เพราะตาม ธรรมดาพลอยนั้นมีหลายประเภท และมีหลายราคา ราคามากน้อยต่างกัน หากเราจะถามพ่อค้าพลอยทั้งหลายว่า รู้ได้ อย่างไรว่าหินประเภทไหนเป็นพลอยอะไร เขาจะตอบเราว่าเพราะศึกษาให้เข้าใจ ถ้าเราศึกษาให้เข้าใจก็จะสิ้นสงสัยเองเรื่องของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็อยู่ในลักษณะนั้นเช่นกัน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พูดถึงชีวประวัติของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย แล้วนับ ว่าเป็นประวัติที่ทรงคุณค่าประโยชน์แก่การศึกษาเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นเนติแบบฉบับอันดีงามแก่อนุชนรุ่นหลังแล้ว ยัง เป็นคติเตือนใจแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้า ต้องขออภัยท่านผู้อ่านด้วยที่ไม่สามารถรวบรวมหลักูฐานต่างๆ ได้โดยละเอียด นำมาลงตีพิมพ์เพื่อสนองเจตนาของท่านผู้อ่านให้ทันกับเวลาอันสั้นนี้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาโดยสังเขปนี้ เข้าใจว่าจักเป็นแนวทางก้าวไปสู่ ความสาเร็จที่สมบูรณ์แห่งชีวประวัติในอนาคตต่อไป [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ความจริงแล้ว การเขียนชีวประวัติของพระกรรมฐานนั้น ค่อนข้างจะลำบากมากเพราะในระหว่างที่ท่านกำลังฝึกฝนอบรมจิตใจใหม่ๆ เพื่อไต่เต้าเข้าโปสู่อันดับที่แน่นอน จนเห็นว่ามีความมั่นคงในพระศาสนา หรือสามารถปกครองจิตใจ
    ของตัวเองได้แล้ว ในระหว่างที่ท่านกำลังปีนป่านอันดับนี้แหละ ท่านไม่ชอบอยู่ประจำที่ เมื่ออยู่ ณ ที่ใดเห็นว่าจิตใจเฉื่อยชาจิตไม่สงบ เกียจคร้าน ไม่ขยันต่อการบำเพ็ญภาวนา ท่านก็หา วิธีเปลี่ยนสถานที่อยู่ เพี่อเปลี่ยนบรรยากาศ พอได้สถานที่ที่เหมาะแก่การฝึกจิต ก็เป็นเหตุทำให้เกิดความขยันต่อการทำสมาธิขึ้นมาทันที เพราะว่าสถานที่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีความ สาคัญต่อการฝึกจิตดังได้กล่าวมาแล้วนั้น [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย สมัยเมี่อท่านได้บำเพ็ญอยู่ที่ภูวัว ท่านก็มักจะเปลี่ยนสถานที่บำเพ็ญอยู่บ่อยๆ เนื่องจากภูวัว มีสถานที่น่าบำเพ็ญอยู่หลายแห่ง แต่พอใกล้จะถึงฤดูกาลพรรษาท่านก็มักจะลงจากภูวัวเข้าไปอยู่ในสำนักของครูบาอาจารย์ ท่านได้ถือปฏิบัติอยู่อย่างนี้เป็นประจำตลอดมา

    [/FONT]




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table32 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]จำพรรษาที่วัดป่าอิสรธรรม พ.ศ. 2494 (15)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table33 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=6 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ก่อนที่จะเข้าพรรษาในปีนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็ได้ลงมาจากภูวัว เพื่อแสวงหาสถานที่จำพรรษา ในปีนั้นก็ได้เข้าไปศึกษาธรรมะ และอาศัยจำพรรษากับ หลวงปู่สีลา อิสสโร วัดป่าอิสรธรรม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร อีกองค์หนึ่ง ที่มีข้อวัตรปฏิบัติอันน่าศึกษา เป็นแบบฉบับของพระกรรมฐานได้เป็นอย่างดี จนหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้ นำปฏิปทาของหลวงปู่สีลามาพูดยกย่องสรรเสริญถึงอยู่เสมอๆ [/FONT]
    </TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=6 width=371>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table34 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ไข้ป่าเป็นเหตุ (16)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table35 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในช่วงที่บำเพ็ญอยู่บนภูวัวนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้ ประกอบความเพียรอย่างอุกฤษฏ์จวบกับจะมีอาการป่วยเป็นไข้ป่าอยู่บ้างแล้ว พอมาจำพรรษา ที่วัดป่าอิสรธรรม ท่านก็ได้ประกอบความเพียรเพิ่มขึ้นอีกตลอด ๓ เดือนไม่ได้เอนกายลงนอนจำวัดเลย ท่านได้ประกอบความเพียรอยู่ในอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง ตลอดทั้งข้อวัตร กิจวัตร อาจาริยวัตร ทั้งหมดท่านก็ได้ทำอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีขาดตกบกพร่องแม้แต่น้อย พอใกล้จะออกพรรษาในปีนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้ล้มป่วยลงด้วยพิษของไข้ป่า หรือ ไข้มาลาเรียขึ้นสมองอย่างแรง ความต้านทานก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากร่างกายไม่ค่อยได้พักผ่อน และไม่ได้เอนกายลงนอนจำวัดเลยตลอด ๓ เดือนเต็ม ในช่วง ๘ วันนี้จังหันก็ฉันไม่ได้อีก ฉันอะไรลงไปก็อาเจียนออกมาหมดเพราะ พิษไข้ขึ้นสูงมาก เป็นลักษณะนี้อยู่หลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่งอาการรู้สึกว่าจะเพียบหนักกว่าทุกวัน ท่านจึงได้ยอมเอนกายลงนอนพัก ในขณะนั้นทุกขเวทนากำลังบีบคั้นอย่างรุนแรงมาก ทางด้านสังขารร่างกายนั้นรู้สึกว่ากระวนกระวายเป็นที่สุด ส่วนทางด้านจิตใจนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]

    ท่านก็พิจารณาจับดูอาการตามรู้อยู่เรี่อยไป จนที่สุดทางด้านจิตใจก็เริ่มกระวนกระวาย และก็กระวนกระวายมากเข้าทุกทีๆ จนไม่รู้ว่าจะเอาจิตใจไปวางไว้ตรงไหนดี ทั้งๆ ที่ท่านเองก็มีสมาธิอยู่ แต่เมี่อทุกขเวทนามากเข้าก็วางใจไม่ลงเอาเสียเลย เพราะ ทุกขเวทนามันมากกว่า มันทับเอาขนาดหนัก ในขณะที่กำลังกระวนกระวายอยู่นั้น ก็มีความรู้สึกว่า ความรู้สึกต่างๆ มาจับอยู่ที่ท้องมากที่สุด มากกว่าทุกส่วนของร่างกาย หลวงปู่สมชาย ท่านบอกว่ามีความรู้สึกคล้ายๆ กับมีก้อนหินขนาด ใหญ่มาวางทับอยู่บนท้อง รู้สึกว่าท้องค่อยๆ ยุบลงๆ ๆ จน กระทั่งรู้สึกว่าหายใจออกบ้าง ไม่ออกบ้าง คล้ายกับว่าไส้ข้างในท้องนั้นมันบิดตัว และลมในท้องก็ค่อยๆ อัดขึ้นมาๆ อัดขึ้นมาจุกอยู่ที่ตรงคอหอย ความเจ็บความปวดวิ่งไปทั่วสรรพางค์กายอย่างไม่มีอะไรมาเทียบเลย ทุกข์ทรมานเป็นที่สุด อาการ เป็นอยู่อย่างนี้สักครู่ใหญ่จึงมีความรู้สึกว่ากำลังจะสะอึกแล้วก็ สะอึก ... อึ๊ก ... โล่งไปหมดทั้งตัว ...เบาสบาย... [/FONT]
    </TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกขเวทนาทั้งหลายที่ม อยู่นั้นหลุดหายไปหมดแล้ว ...เอ๊ะ... นี่เราหายป่วยได้อย่างไร แล้วก็ลุกขึ้นมานั่งได้ทันที ท่านจึงแปลกใจในตัวของท่านเองว่า " เอ๊ ราป่วยมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว เมื่อสักคูร่นี้เราก็ยังป่วยอยู่นี่นา เรากำลังมีทุกขเวทนาครอบงำอยู่ กำลัง กระวนกระวายอูย่ แต่ทำไมเราสะอึกแค่ทีเดียว ทุกขเวทนาต่าง ๆ เหล่านั้นจึงหายไปได้อย่างไร เราเองป่วยมาตั้ง ๘ วัน ๘ คืนแล้ว อาทารก็ฉันไม่ได้เลย แต่พอจะหายทำไมมันช่างง่ายนัก แค่สะอึกทีเดียวก็หายได้... [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table36 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ไปเยี่ยมเณรหน่อย (17)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table37 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=17 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในเวลาขณะนั้นประมาณ ๑ ทุ่มเศษ หลังจากที่ท่านรู้กว่าตัวของท่านได้หายป่วยอย่างประ หลาดแล้ว ก็เลยนึกถึงสามเณรที่กำลังป่วยหนักอยู่อีกองค์หนึ่ง ซึ่งติดไข้ป่ามาจากภูวัวด้วยกันกับท่าน และเมื่อตอนเย็น จะมืดนี่ก็ได้มีพระมาบอกว่าสามเณรป่วยมาก พอท่านนึกขึ้นมา ได้ดังนั้นก็ตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมดูอาการไข้ของสามเณร แต่ทันใด นั้นท่านก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ทันได้ก้าวขาเลย แต่จะไปด้วยเหตุใดไม่ทราบ ปรากฏว่ามาถึงสามเณรทันที และมองเห็นสามเณรนอนหลับเป็นปกติ แต่ก็นึกว่าสามเณรคงยังตัวร้อนอยู่ จึงอยากจะเอามือไปแตะดูอาการ พอก้มตัวลงไปแล้วก็คิดได้ว่าถ้า ถูกตัวแล้วสามเณรตื่นขึ้นก็จะทำให้ไม่สบายอีก จึงได้หยุดการกระทำดังกล่าวลง และพรางคิดว่ากลับกุฏิแล้วพรุ่งนี้ตอนกลางวันจึงค่อยมาเยี่ยมใหม่ ต่อจากนั้นท่านก็เลยนึกถึงเรี่องกฐินว่าทำกันอย่างไร พอไปถึงศาลา ก็นึกได้ว่าเวลานี้เป็นตอนกลางคืน แต่เราทำไมจึงสามารถมองเห็นอะไรต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ชัดเจนจนรู้ว่ากองกฐินนั้นมีอะไรบ้าง โดยที่ไม่ต้องใช้ไฟ พอหันไปมองอีกด้านหนึ่งของศาลา ก็ได้เห็นหลวงปู่สีลา อิสสโร กำลัง ประชุมพระเณรและได้ยินพูดพาดพิงมาถึงตัวของท่านเอง ในลักษณะยกย่องว่า "...ครูบาสมชายนี่เป็นผู้ที่ทำจริง เอาจริงมีความพยายามสูงมาก ถ้าท่านไม่ตายเสียก่อน ท่านคงได้ คุณธรรมชั้นสูงอย่างแน่นอน และคงจะได้เป็นกำลังพระศาสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง แต่น่าเสียดายเหลือเกินว่าเวลานี้ท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตายเอาเสียด้วยเพราะพิษไข้ป่า ขึ้นแรงสูงมาก นอกจากท่านจะป่วยแล้วก็ยังมีความ พยายามประกอบความเพียรไม่หลับไม่นอนเอาเสียเลย เมื่อวันก่อนท่านยังสั่งไว้อีกว่าไม่ต้องเป็นห่วงท่าน ขอเพียงแต่พระเณรเอาน้ำใส่กาไปตั้งไว้ที่หน้ากุฏิก็พอ ถ้าท่านตายก็ให้ฝังเลย ไม่ต้องเผา ดูซิ ท่านไม่ต้องการให้เป็นภาระของสงฆ์เสียอีก หรือตายแล้วก็ไม่รู้..."[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=17 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในขณะที่ยืนฟังอยู่นั้นก็หวนคิดขึ้นมาได้ว่า ...การที่มา ยืนฟังคูรบาอาจารย์พูดคุยกันโดยที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในหัตถบาทด้วยนั้นเป็นอาบัติทุกกฎ และเสียมารยาทด้วย ถ้ามีใครผ่านมาเห็นเข้าจะหาว่าเรามาแอบฟังเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งอาบัติ และเสียมารยาท ก็รู้สึกไม่สบายใจ... ท่านจึงได้รีบออกจาก สถานที่แห่งนั้นทันที พอเดินลงมาถึงลานวัด ก็มาเจอกับสุนัขตัวหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ
    [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table38 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หมาเห็นผีจริงไหม (18)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table39 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=7 width=375>
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [/FONT]</TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=7 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในขณะที่หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เดินลงมาจากศาลาจะกลับกุฏินั้น ก็เจอกับหมาตัวหนึ่งเข้า จึงอยากจะเดินไปเล่นกับมัน เพราะว่าเป็นหมาที่ท่านเลี้ยงไว้เอง และเป็นหมาที่เชื่องมาก และเคยเป็นเครื่องมีอของท่าน คีอ ท่านได้ทดลองสะกดจิต ฝึกแบบจิตวิทยากับหมาตัวนี้ทุกวัน ตามปกติแล้วหมาตัวนี้ เมื่อเห็นท่านจะต้องวิ่งเข้ามาหาทันที มักชอบติดตามไปไหนมาไหนด้วยเสมอๆ แต่วันนี้ทำไมมันจึงเป็นอย่างนี้ พอเห็นปุ๊บก็วิ่งหนีทันที ทำท่าหยุดๆ มองๆ ท่านเดินตามไปก็วิ่งหนีต่อไปอีก แล้วก็วิ่งหนีหายไปทางไหนไม่รู้เลย ท่านจึงคิดว่า ..เอ๊?.. หมาตัวนี้มันเห็นผีหรีอเปล่าหนอ น่าสงสัย จริงๆ [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table40 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ไหนตัวเรากันแน่ (19)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table41 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>
    [​IMG]
    </TD><TD width=16> </TD><TD rowSpan=19 width=371>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลังจากครุ่นคิดอยู่กับหมาแล้วก็ได้เดินทางกลับกุฏิ พอเปิด ประตูกุฏิเข้าไปก็ยิ่งแปลกประหลาดกับสิ่งที่ได้พบเห็นต่อหน้าต่อตานั้นว่าอะไรกันแน่ ร่างที่นอนอ้าปากตาเหลือกอยู่บนเตียงนั่นก็ตัวเรา ที่ยืนมองอยู่นี้ก็ตัวเราอีก จึงแปลกใจมากว่า .. เอ๊ .. เกิดอะไรขึ้นนะนี่?.. ทำไมเราจึงเป็นสองคนได้ ที่ยืนอยู่นี่ก็เรา ที่นอนอ้าปากตาเหลีอกอยู่บนเตียงนั่นก็เราอีก มันอะไรกันแน่ และท่านยังคิดไปอีกว่า นี่ หรีอที่ว่าผลของสมาธิสามารถจะทำคนคนเดียวให้เป็นสองคนได้
    [/FONT] [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ขณะที่ท่านกำลังไตร่ตรองคิดอยู่นั้น ก็ได้มีชายใส่ชุดสีขาวเข้ามาหาท่าน ๒ คน พร้อมกับพูดขึ้นว่า "..ผมมาพาท่านไปเที่ยวบ้าน.." หลวงปู่จึงถามเขาว่า "..บ้านที่ร้อยเอ็ดหรือ (บ้านเกิด). " เขาตอบว่า ". ไม่ไช่.." หลวงปู่จึงถามเขาต่อไป อีกว่า "..ยังไปไม่ได้หรอก เพราะกำลังสงสัยอยู่ว่านี่มันอะไรกันแน่ นั่นก็ตัวเรา ที่ยืนอยู่นี่ก็ตัวเรา ถ้าพรุ่งนี้คูรบาอาจารย์ถามจะตอบไมู่ถก.." ชาย ๒ คนนั้นตอบว่า "..ไม่เป็นไรถ้าท่านไปกับข้าพเจ้าแล้วจะสิ้นสงสัยเอง.."หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้ย้อนถามเขาถึง ๒ ครั้ง เขาก็ตอบยืนยันว่าจะสิ้น สงสัยจริงถึง ๒ ครั้งเช่นกัน ...ถ้าอย่างนั้นก็ตกลง .. ไป .. พอตอบว่าตกลงเท่านั้นเอง ก็ปรากฏว่ามีความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าลอยตามเขาไปทันที และปรากฏว่าลอยออกไปทางทิศตะวันออกของกุฏิ ลอดกิ่งต้นกะบกออกไป หลวงปู่ได้ถามเขาอีกครั้งหนึ่งว่า ..จะพาไปที่ไหน..่' เขาชี้มือให้ดู มองเห็นคล้ายๆ กับ มีดวงดาวดวงหนึ่งลอยอยู่ข้างหน้าและกำลังจะตรงเข้าไปนั่นเอง [/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ตามความรู้สึกของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านสังเกตดูแล้วดวงดาวที่จะไปนั้น มีลักษณะคล้ายกับดาวเพชร และก็ปรากฏว่าพุ่ง .... วูบ ... เข้าไปสู่ดาวดวงนั้นทันที[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table42 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]โลกทิพย์ (20)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table43 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=12 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พอเข้าไปถึงสถานที่แห่งใหม่นี้แล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเล่าว่า มีความรู้สึกคล้าย ๆ กับโลกมนุษย์ของเรานี่เอง แปลกแต่ว่ามีต้นไม้เป็นระเบียบและสูงมาก กิ่งก้านสาขาเข้าประสานถึงกันหมด พอมองขึ้นไปข้างบน เหลืองอร่ามเหมือนสีทอง ส่วนข้าง ล่างที่พื้นเหยียบเหมือนมีหญ้าแห้วหมูปกคลุมทั่วไปหมดหรือคล้ายๆ กับปูลาดไปด้วยพรม คลุมไปหมดมองไม่เห็นพื้นดินเลยว่าเป็นอย่างไรเหยียบไปตรงไหนก็นุ่มนิ่มไปหมด ถึงตอนนี้หลวงปู่บอกว่า จิตใจนี่เปลี่ยนไปหมด หน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว จิตใจอ่อนโยนอย่างบอกไม่ถูก ถ้าใครไปเจอแล้วจะรู้เอง ว่าจิตใจมันเปลี่ยนอย่างไร เพราะว่าบางอย่างไม่สามารถเล่าให้ถูกต้องได้ อุปมาข้อนี้เหมือนกับรสชาติของผลไม้ ผู้ที่ยังไม่เคยชิมดู ถึงแม้ว่าใครจะพรรณนาเรื่องรสชาติให้ฟังเท่าไรก็ไม่สิ้นสงสัย นอกจากจะทดลองรับประทานด้วยตนเองถึงไม่ต้องพรรณนาก็สามารถรู้ได้เองฉันใด เรื่องนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อเรายังไม่ถึงก็ไม่รู้ว่าจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างไร บอกไม่ถูก แต่ถ้าถึงแล้วไม่ต้องมีใครบอกก็สิ้นสงสัยเอง [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    และอีกอย่างหนึ่งท่านบอกว่า พอก้าวเท้าเข้าไปถึงเท่านั้น ก็ได้ยินเสียงขับกล่อมอยู่ตลอดเวลา คล้าย ๆ กับเสียงดนตรี ทำให้จิตใจเยือกเย็นและอ่อนโยนเป็นลำดับ แต่ไม่รู้ว่าต้นเสียงนั้นอยู่ที่ไหน และแล้วเขาก็พาท่านไปจนถึงบ้านหลังหนึ่ง แล้วเขาก็บอกว่า "นี่แหละบ้านของท่าน ที่เราว่าจะพาท่านมา"

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลังจากนั้นเขาก็พาเข้าไปในบ้าน ท่านจึงได้เอ่ยถามเขาว่า "ใครเป็นผู้มาสร้างไว้ให้" เขาตอบว่า "ที่เราอยู่เวลานี้คือ' ... โลกทิพย์...่ ของทั้งหมดไม่ต้องมีไครสร้าง เกิดขึ้นเอง เป็นเอง ด้วยอานิสงส์ของความดีที่ทำไว้ในโลกมนุษย์" พอเขาพูดเพียงแค่นั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านจึงได้รู้ทันทีว่า "ถ้าอย่างนั้นเราก็ตายแล้วนะซี ถ้าตายอย่างนี้จะไปกลัวตายทำไม ไม่เห็นจะน่ากลัวตรงไหนเลย" และได้ ถามเขาอีกว่า "บ้านหลังนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร"
    [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE id=table44 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 bgColor=#ffffcc align=center><TBODY><TR><TD width=385>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]อานิสงส์สวดพระปาฏิโมกข์ (21)[/FONT]</TD><TD width=379> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE id=table45 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD rowSpan=19 width=375>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เขาอธิบายให้ฟังว่า "สมัยหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้จำพรรษาอูย่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นท่านได้ตั้งใจสวดปาฏิโมกข์ สวดได้ดีมาก และน้อมใจขึ้นสวดจริง ๆ จึงได้บังเกิดปราสาทหลังนี้ขึ้นเป็นอานิสงส์ตอบสนอง" พอท่านได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกซาบซึ้งใจมาก ทั้งดีใจ และเสียใจ ระคนกัน ซึ่งแต่ก่อนนึก ว่าครูบาอาจารย์หานโยบายให้ลูกศิษย์มีความขยันท่องปาฏิโมกข์ แต่พอมาเจอเข้าอย่างนี้ จึงรู้ว่าเป็นเรื่องจริง พอมองออกไปข้างนอก ด้านทิศตะวันออกของปราสาทก็มองเห็นสวน มะม่วงสวยงามขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยดีร่มรื่นและมีลานหญ้ามีน้ำตกไหลซู่ซ่าน่าสดชื่นจริงๆ มีที่นั่งที่นอนสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มองดูแล้วรู้สึกว่าเป็นสถานที่น่ารี่นรมย์เป็นอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ทำให้เพลิดเพลินจำเริญใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย จึงเอ่ยถามขึ้นอีกว่า "สวนมะม่วงแห่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร" เขาตอบว่า "เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ คือในปีเดียวกันนั่นเอง ท่านได้ไปบิณฑบาตที่บ้านธาตุนาเวง ซึ่งเป็นทางสายบิณฑบาตที่ไกลกว่าทุกสายและลำบากมาก ต้องข้ามน้ำข้ามคลอง บางแห่งก็ต้องเดินลุยขี้โคลนไป ผ้าสบงจีวรต้องเปียกเลอะเทอะแทบทุกวัน จน ไม่มีพระเณรองค์ไหนอยากจะไป เมื่อไม่มีไครไป ท่านจึงไปแต่เพียงผู้เดียวตลอดพรรษา และมีอยู่วันหนึ่ง ได้มีชาวบ้านถวายมะม่วงอกร่องใส่บาตรมาหลายลูก พอท่านเดิน กลับจากบิณฑบาตก็มีความตั้งใจว่าถ้ากลับถึงวัดแล้วก็จะเอามะม่วงที่บิณฑบาตได้มานี้ถวายคูรบาอาจารย์ให้หมดทุกองค์ เพราะว่าเป็นอาหารที่ประณีตดี พอกลับมาถึงวัดแล้ว ท่านก็ได้น้อมใจที่เต็มไปด้วยบุญกุศล เอามะม่วงใส่บาตรถวายคูรบาอาจารย์จนหมดเกลี้ยง โดยที่ตนเองไม่ได้เก็บไว้ฉันเองเลย ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการตั้งใจและน้อมใจทำบุญอย่างจริงๆ ผลของอานิสงส์นั้น จึงบังเกิดเป็นสวนมะม่วง และสถานที่แห่งนี้ขึ้นตอบสนอง"
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลังจากนั้นเขาก็เล่าอะไรต่ออะไรให้ฟังอีกเป็นลำดับ ว่าของแต่ละอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไร อยู่ที่ไหน ตลอดถึงครูบา อาจารย์ของเขา ที่นำพาประกอบบุญกุศลตั้งแต่ครั้งสมัยที่เขา ยังอยู่ในโลกมนุษย์ เขาได้นำหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เที่ยวชม สถานที่ต่างๆ อยู่บนโลกทิพย์นั้น หลวงปู่ท่านก็เกิดความเสียใจ มากว่า "อานิสงส์ของท่านทำไมมันช่างน้อยนัก ท่านเคย สร้างโบสถ์ และวิหารก็หลายหลัง ให้ทานการบริจาคด้านอื่นๆ ก็มีจำนวนมากมาย ทำไมไม่เห็นมีอานิสงส์เลย เหตุ ใดจึงมีเพียงสองอย่างเท่านั้น" จึงได้ถามเทพเจ้าเหล่านั้นต่อ ไปอีก และเขาก็ตอบว่า "นั่นท่านสักแต่ว่าทำ โดยที่ไม่มีจิตใจ น้อมลงเพื่อบุญกุศล ทำมากเท่าไรก็ไม่มีอานิสงส์ ถึงมีบ้าง ก็ยากเต็มที เหมือนโยนเข็มลงมหาสมุทร แต่ว่าอานิสงส์ ทั้งสองอย่างที่ท่านประจักษ์อยู่นี้ ท่านได้ทำด้วยใจน้อมลง เพื่อบุญกุศลจริง ๆจึงบังเกิดขึ้นเป็นอานิสงส์ดังนี้สองอย่าง"

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้เล่าให้ฟังอีกว่า อานิสงส์ของท่านนั้นถ้าเปรียบกับของคนอื่นที่ได้เห็นมาแล้วนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีวาสนาบารมีกันมากทั้งนั้น เพราะมีสิ่ง ประดับบารมีที่วิจิตรพิสดารมากมายกว่าของท่านเหลือเกิน ถ้า เปรียบแล้วท่านบอกว่า "ของท่านนั้นเปรียบเหมือนเทพเจ้า ระดับชาวบ้านธรรมดา หรือระดับขอทานเท่านั้น" "ส่วน ของเทพเจ้าองค์อื่น ๆนั้นเปรียบเหมือนเทพเจ้าระดับเศรษฐี หรือพระราชาทีเดียว" ท่านจึงเกิดความเสียใจ และคิดอยาก กลับมาสร้างบารมีใหม่ เพื่อเป็นการแก้ตัวอีกสักครั้ง [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...