การปฏิบัตินั้น ทำอย่างไรถึงจะทรงตัวและก้าวหน้าคะ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 8 สิงหาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    ถาม : การปฏิบัตินั้น ทำอย่างไรถึงจะทรงตัวและก้าวหน้าคะ ?
    ตอบ : การปฏิบัติน่ะ พวกเราลืมจุดที่สำคัญไปจุดหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็คือว่าพอภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ลุกแล้วก็ลืม รักษาอารมณ์ไม่เป็น ตัวรักษาอารมณ์ไว้สำคัญที่สุด ต้องประคับประคองอารมณ์นิ่ง อารมณ์สงบอารมณ์เย็นนั้น ให้อยู่กับเราให้นานที่สุดไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ให้แบ่งกำลังใจส่วนหนึ่งนึกถึงอารมณ์นั้นไว้เสมอ ๆ
    แรก ๆ มันอาจจะได้สักครึ่งชั่วโมงแล้วก็สลายหายไป สังเกตดูทำใหม่ ๆ แหม มันเย็นอยู่ในอก ชื่นอกชื่นใจ ลองรักษามันดูซิว่ามันจะได้นานสักแค่ไหน แล้วนาน ๆ ไป ความเคยชินที่เราประคับประคองมันไว้มันก็จะได้เป็นวัน ๒ วัน ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ครึ่งเดือน เดือนหนึ่ง หรือถ้าหากว่าใครมีความคล่องตัวมาก ๆ ก็ได้เป็นปีเลย
    ถ้าเราทำต่อเนื่องติดตามกันไปอย่างเนี้ยเรื่อย ๆ กำลังใจมันทรงตัวอยู่้ นิวรณ์ห้าเข้าไม่ได้ รัก โลภ โกรธ หลง มันกินใจเราไม่ได้ กำลังของสมาธิที่ทรงตัวอยู่นี้มันจะกดกิเลสตายไปเอง แต่ถ้าหากว่าใครไม่ชอบอย่างนี้ต้องขยันพิจารณา การพิจารณาก็มีอยู่ ๓ แบบ
    แบบแรกตามอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดูทุกข์ตัวเดียวก็พอ แต่ถ้าหากว่ารู้สึกว่ามันยากเกินไปก็ดูเหตุที่มันกิดทุกข์ แล้วก็อย่าสร้างเหตุนั้น ทุกข์มันก็จะดับ ถ้าทุกข์ดับเขาเรียกว่านิโรธ ไอ้การที่เราทำเขาเรียกว่ามรรค เพราะฉะนั้น มรรคกับนิโรธ นี่ไม่ต้องไปแตะมัน อย่างเก่งก็ดูทุกข์ตัวเดียว ถ้าเก่งน้อยหน่อยก็ดูสมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ด้วย
    เส้นทางที่สองก็คือดูตามแนวเส้นทางของไตรลักษณ์ ลักษณะความเป็นจริง ๓ อย่าง คือ ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนยึดถือมั่นหมายไม่ได้ในที่สุดก็ตายก็พังหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในลักษณะนี้หมด
    อย่างที่สามดูตามแนววิปัสสนาญาณ ๙ อย่างตามนัยวิสุทธิมรรคในคู่มือปฏิบัติกรรมฐานจะมี เริ่มตั้งแต่อุทยัพยานุปัสสนาญาณ ดูการเกิดและดับ เห็นให้มันเป็นปกติ เห็นเด็กเมื่อกี้นี้ใช่ไหม เออ ไอ้นี่เกิดแล้วนะ เดี๋ยวมันก็แก่ เดี๋ยวมันก็เจ็บ เดี๋ยวมันก็ตาย หรือไม่ก็ภังคานุปัสสนาญาณ ดูเฉพาะความดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นในที่สุดก็พังหมด ไม่มีอะไรเหลือ ไล่ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงตัวนิพพิทาญาณ คือ เบื่อหน่าย โดยเฉพาะเบื่อในร่างกายนี้ ในที่สุดก็เป็นสังขารุเปกขาญาณ คือ รู้จักปล่อยวางเห็นธรรมดาของมัน
    คำว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...