การปล่อยวางคือ...ธรรมขั้นสูงสุด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ne_ko, 29 มีนาคม 2011.

  1. Ne_ko

    Ne_ko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +47
    การปล่อยวางคือ...ธรรมขั้นสูงสุด

    [​IMG]
    สิ่งใดก็ตามเมื่อก้าวมาถึงจุดที่สูงสุดแล้วย่อมต้องคืนกลับไปสู่ความเดิมแท้อันเป็นธรรมดาสามัญอีกครั้ง ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ที่มีภูมิความรู้ทางด้านธรรมะ ส่วนผู้ที่เพิ่งได้ธรรมะส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดมีอาการหลงโลก หลงธรรมไปบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องร้ายให้วิตกแต่อย่างใด เพราะนี่คือวิสัยปกติของปุถุชน ซึ่งพอผ่านเข้าถึงธรรมขั้นสูงสุดแล้วก็จะเกิดการปล่อยวางมายากิเลสเหล่านั้นลงได้เอง
    โดยทั่วไปผู้ปฏิบัติที่เพิ่งเริ่มเดินทางเข้าสู่เส้นทางธรรมมักจะมีไฟแรงในช่วงต้น เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติ ประกอบกับจิตใจอันดีที่อยากให้เพื่อนมนุษย์ทุกคนได้เข้าถึงความรู้แจ้งเห็นจริงและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารนี้ออกไปได้ ดังนั้นเมื่อจิตของตนได้ไปสัมผัสกับภาวะจิตเช่นใด จึงอยากแบ่งปันให้คนอื่นได้มีโอกาสมาสัมผัสกับภาวะแห่งจิตเช่นเดียวกับที่ตนสัมผัสได้ และอยากให้ทุกคนได้เข้าถึงสมาธิ เมื่อพบปะเจอะเจอใครๆ จึงมีความปราถนาที่จะถ่ายทอดและเผยแผ่ในประสบการณ์ดีๆ ทางจิตที่ตนได้สัมผัสมาจากการปฏิบัติ
    แต่บางครั้งความศรัทธาอันแรงกล้าก็อาจนำมาซึ่งความหลงโลก หลงธรรมได้เช่นกัน ด้วยเพราะภูมิปัญญาแห่งธรรมในขั้นต้นสามารถเกิดขึ้นได้ในภาวะที่ปฏิบัติยังคงมีความหลงในกิเลสโลกอยู่ ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะเป็นกิเลสในฝ่ายดีอันเป็นทางบุญทางกุศลก็ตาม แต่หากไม่เท่าทันแล้ว กิเลสฝ่ายดีนั้นก็อาจเข้าทำร้ายจิตใจของนักปฏิบติให้ได้รับความเศร้าหมองได้เหมือนกัน
    [​IMG]

    :eek: ><O:p>ในช่วงที่ได้ธรรมใหม่ๆ ผู้ปฏิบัติจะยังคงไม่เท่าทันต่อกิเลส และตกอยู่ในอำนาจมายาของกิเลสโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกิเลสที่มีความละเอียดด้วยแล้ว ทั้งความรู้สึกอยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากมีชื่อเสียง อยากเป็นที่เคารพนับหน้าถือตา อยากเป็นที่รู้จักของผู้คนในสังคมและอีกมากมายร้อยแปดประการ<O:p</O:p
    ตราบใดที่สภาวะจิตของผู้ปฏิบัติยังพัฒนาไปไม่ถึงจุดสูงสุดแห่งธรรมก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดความหลงปรากฏอยู่ภายในจิตใจได้ ต่อเมื่อภูมิแห่งจิตก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดแห่งการปฏิบัติแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถปล่อยวางมายากิเลสโลกลงได้อย่างแท้จริง ภูมิแห่งจิตจะลอยอยู่เหนือสมมติโลก เป็นโลกุตระภูมิ ไม่ใยดีต่อมายาสมมติโลกแต่ประการใด<O:p</O:p
    ผู้ที่ถึงสาภาวะเช่นนี้จึงเลือกที่จะสอนธรรมให้เฉพาะผู้ที่มีความสนใจในธรรม แต่เป็นการสั่งสอนแบบหมดซึ่งความอยาก ไม่มีความอยากหลงเหลืออยู่ภายในจิตใจเลยแม้แต่น้อย แม้กระทั่งความคิดที่จะอยากเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนใครก็ยังไม่มี อีกทั้ง
    ไม่ได้ยินดีต่อคำสรรเสริญชื่นชมในการปฏิบัติธรรมของตนว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติเก่ง เนื่องจากภาวะจิตอยู่ในขั้นเหนือโลกไปแล้ว<O:p</O:p
    ภูมิแห่งจิตเมื่อพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุด จิตจะมีอาการปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง หมดมานะ ทิฐิ อัตตาตัวตน ดูราวเสมือนเป็นมนุษย์ปกติธรรมดาที่ไม่มีดีวิเศษแต่ประการใด สูงสุดย่อมคืนสู่สามัญ<O:p</O:p
    ผู้ที่บรรลุสำเร็จทางจิตจะกลับมีสภาพเป็นเพียงคนปกติธรรมดาอย่างเราๆ เอง ไม่หลงในลาภยศสักการะ ไม่หลงในคำสรรเสริญเยินยอ ไม่หลงในเกียรติยศชื่อเสียงเงินทอง ไม่อยากโด่งอยากดัง ไม่ต้องการให้ผู้คนมาคอยนอบน้อมกราบไหว้บูชา หมดซึ่งความอยากมี อยากได้ อยากเป็น บนโลกนี้เด็ดขาด<O:p</O:p

    อาการของผู้ปฏิบัติที่ถึงธรรมขั้นสูงสุดคือการปล่อยวางจากกิเลสโลก มิใช่การสะสมกิเลสโลกเอาไว้ มิใช่การสร้างให้เกิดอัตตาตัวตนเป็นพวกเขาพวกเราหรือให้เห็นว่าเราเก่งกว่าดีกว่าคนอื่น เหล่านี้เป็นการสอนที่ผิดทาง

    [​IMG]

    <O:p</O:p
    ทุกคนที่เกิดมาบนโลกล้วนยังคงมีความโง่ติดอยู่ภายในจิตด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่จะโง่มากหรือน้อยกว่ากัน แต่ดวงจิตที่หมดซึ่งอวิชชาความโง่แล้วนั้นไม่มีเลย เพราะหากหมดอวิชชาความโง่แล้วย่อมไม่ต้องมาเกิด แต่ที่ยังเห็นเกิดกันอยู่นี้ก็เพราะอวิชชายังไม่หมดสิ้นไปจากจิต มนุษย์เราทุกคนจึงไม่มีใครดีกว่าใคร หรือใครเก่งไปกว่าใคร เราต่างก็เกิดตายได้เทาเทียมกันทุก</O:p

    <O:p
    ที่มา : หนังสือ "นิพพานใกล้แค่เอื้อม" หน้า 38-41
    </O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2011
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  3. ^^leena^^

    ^^leena^^ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +6
    anumo thana satu kha
     
  4. pandablahblah

    pandablahblah Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนาสาธุค่ะ จริงด้วยค่ะ อ่านไปคิดตามไป ตอนแรกก็นึกว่าเราทำดีแล้วไม่มีกิเลส อ่านๆคิดๆไป เอ จริงๆด้วย เรายังมีกิเลสตัวที่ต้องการอยากให้คนรัก สรรเสริญ จริงๆด้วยค่ะ เศร้าเลย จะไม่คิดทำอีกแล้วค่ะ ปล่อยวางดีกว่าเนาะ เพราะถ้าทำแล้วไม่ได้อย่างใจหวังก็ทุกข์อีกล่ะ
    อนุโมทนาสาธุจริงๆค่ะที่นำมาเตือนสติกันนะคะ ^^
     
  5. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    <IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    *<!-- google_ad_section_end -->
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  6. ฝนเป็นใจ

    ฝนเป็นใจ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุคะ เพื่อนรักษ์ การเดินทางไปสู้แสงสว่างและสงบ ก็ต้องใช้กำลังใจที่พอดี ในทางสายกลางนี้ใกล้แค่เอื้อม แต่ใกลได้เช่นเดียวกับการปล่อยวางของแต่ละดวงจิตนี้เอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มีนาคม 2011
  7. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2





    สาธุ...ครับ ท่านเจ้าของกระทู้โพสใว้ถูกแล้ว ครับ
    ผู้ถึงนิพพานแล้วเป็นเช่นนั้นจริงๆ ครับ
     
  8. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน



    การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด



    เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน


    การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ



    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ



    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ"ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป้นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมาซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ" แห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ



    -การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน



    การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง



    แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ" "เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย"


    นิพพาน คือ ความไม่มีปรากฎแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับนั้น....เป็นการดับสนิทไม่มีเหลือปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน....<O:p</O:p
    การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป....นั้น เป็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแห่งอวิชชาทั้งปวง <O:p</O:p
    เมื่อจิตเราเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดต่อเครื่องขัดข้องคืออวิชชาทั้งหลาย การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปก็ย่อมไม่มีโดยสภาพแห่งธรรมนั้นแล้ว และไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ......เพราะเนื้อหาแห่งพระนิพพานคือธรรมชาติล้วนๆ....เป็นสภาพมันเองอยู่อย่างนั้นแบบนั้น......

    <O:p</O:p
    เป็นความอิสระอย่างเด็ดขาด “โดยที่ไม่ต้องอาศัยอะไรกับอะไร....เพื่ออะไร”<O:p</O:p
    นิพพานเป็นการแสดงออกของสภาพธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ......การแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกโดยตัวมันเองโดยโดยสภาพมันเอง......จึงไม่ควรให้มีความเห็นใดๆเข้าไปบัญญัติอีกว่านี่คือการแสดงออก.....นี่ คือ ตถตา



    นี่คือนิพพาน นี่คือธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ.....การมีความเห็นเช่นนี้ทำให้ ธรรมชาติอันแท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมนั้นหายไป และการมีความเห็นเช่นนี้กลายเป็นอวิชชาเข้ามาแทนที่<O:p</O:p
    หากจิตเราปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น......เมื่อจิตชนิดนี้ดับไปโดยตัวมันเอง.....นั่นแหละ.....ถึงจะเป็นการหลุดพ้นโดยแท้จริงโดยเนื้อหาของมันเอง.....เป็นสภาพมันล้วนๆอยู่อย่างนั้น
    <O:p</O:p
    ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง หรือแห่งการเกิดดับ ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ. นิพพานเป็นการแสดงออกของ..........ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง....แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น ก็ไม่มี ความเห็น ว่าเป็นการแสดงออก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์ แต่อย่างใด”




    ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร
    <O:p</O:p
    สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้าย ๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเมื่อเธอเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้ว (คือเป็น จิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว) เธอก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้น มิใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉย ๆ ก็แล้วกัน



    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้น คือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่าง ๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อยู่ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกับทาง ทางโน้นเสียเลย<O:p</O:p



    <O:p</O:p
    จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย การใช้จิตจองเธอให้ปรุงความคิดฝันไปต่าง ๆ นั้น เท่ากับเธอละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก



    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะทางรูปธรรมหรือพุทธะของความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าไปทีละขั้น ๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เช่นนั้นไม่



    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละ คือ พุทธะ ที่แท้จริง พุทธะ และสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย


     
  9. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    ผู้ถึงนิพพานเป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่มีความอยากหลงเหลือในจิตใจแม้แต่น้อย ขออนุโมทนา สาธุ

    ขอบคุณธรรมะของท่าน"อินทร์ธนู" เข้าใจลึกซึ้งทีเดียว มันก็เป็นเช่นนั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มีนาคม 2011
  10. rwoot

    rwoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +191
    อนุโมทนาสาธุ...ท่านเจ้าของกระทู้ที่เอื้อเฟื้อธรรมดีๆนะครับผม...
     
  11. rwoot

    rwoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +191






    อนุโมทนาสาธุบทความจากท่าน "อินทร์ธนู" ด้วยนะครับผม...ชอบมากๆ</o
    </o
    </o
    </o
    </o</o
     
  12. ํํํััYosei

    ํํํััYosei สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +0
    สิ่งใด.........ที่เป็นเช่นนั้นเสมอ สิ่งที่เป็นเช่นนั้นเสมอคือ.........สิ่งใด

    เพียงเข้าใจ "สิ่งใด"


    ดั่งคำถามที่มันมีเกิดขึ้นเสมอในจิตใจเช่นนั้น แต่ไม่จำเป็นต้องหาความหมาย หรือให้คำตอบกับจิตใจเช่นกัน
     
  13. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    ธรรมะนักปราชญ์ คมบาดใจจริงๆ ขออนุโมทนา สาธุ
     
  14. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,359
    ค่าพลัง:
    +6,493
    เราหวังทำเพื่อความถูกต้องถูกธรรมมิใช่หรือ? เรามิได้ทำเพื่อหวังจะให้ถูกใจใครมิใช่หรือ?
    การปล่อยวางคือ...ธรรมขั้นสูงสุด ไม่มีอะไรอื่น หลุดพ้นก็หมดกันเท่านั้นเอง...
     
  15. ํํํััYosei

    ํํํััYosei สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +0
    ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีเหมือนไม่มี ไม่มีแต่มี แล้วจะมี

    "เราหวังทำเพื่อความถูกต้องถูกธรรมมิใช่หรือ? เรามิได้ทำเพื่อหวังจะให้ถูกใจใครมิใช่หรือ? "

    อีกหรือ..........?


    DO NOT LIVE IN WANT
     
  16. พศวีร์

    พศวีร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +29
    นิพพานคือความว่างเปล่า จึงไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถีงอะไร
    เมื่อใดที่คุณบอกว่า...บรรลุแล้ว เท่ากับว่าเมื่อนั้นคุณอวดอ้างธรรมอันไม่มีอยู่ในตน

    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  17. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น

    ไม่ต้องทำอะไรมันก็ตื่นได้เองเหรอ

    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร

    ในธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร ไม่มีอริยะมรรคมีองค์แปด ที่

    พระพุทธองค์ตรัสบอกว่าต้องกำหนดรู้ ต้องบำเพ็ญทำให้เจริญขึ้นดอกหรือจึงได้บอกว่า


    ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย

    มันไม่ใช่ดำเนินตามอริยะมรรคมีองค์แปดดอกหรือ ผลมัีนถึงจะเกิดคำว่า

    เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2011
  18. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    ................................................................................

    ไม่ต้องทำอะไรมันก็ตื่นได้เองเหรอ
    มันตื่นอยู่แล้วครับ แต่ ยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทาน มีความเป็นตัวเรา
    ตัวเขา เข้าไปคิด ไปทำ แทนมันเลยทำให้ไม่ลืมตาต่อสิ่งนี้ ที่มีอยุ่ในตัวเราทุกคน


    ในธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร ไม่มีอริยะมรรคมีองค์แปด ที่
    ในธรรมบทนี่ ทรงชี้ให้เห็นว่า ทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยง ย่อมเกิดและดับไปโดยตัวมันเอง
    พระพุทธองค์ตรัสบอกว่าต้องกำหนดรู้ ต้องบำเพ็ญทำให้เจริญขึ้นดอกหรือจึงได้บอกว่า

    กำหนดรู้ คือ การเข้าใจธรรมชาติแห่งการเกิดดับ โดยไม่มีความเป็นตัวเราเข้าไปกำหนด แล้วปล่อยวางไปสู้วิถีธรรมชาติก็เท่ากับมรรคมีองค์แปดครบบริบูรณ์โดยเนื้อหาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และ การปล่อยวางไปสู่ธรรมชาติแห่งความว่าง นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย คือ ผลของการลืมตาต่อจิตหนึ่ง(พุทธะ)
     
  19. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    มันตื่นอยู่แล้วครับ แต่ ยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทาน มีความเป็นตัวเรา

    ตัวเขา เข้าไปคิด ไปทำ แทนมันเลยทำให้ไม่ลืมตาต่อสิ่งนี้ ที่มีอยุ่ในตัวเราทุกคน

    หมายความว่าการตื่นของเราทุกคน จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทาน มี

    ความเป็นตัวเรา ตัวเขา เข้าไปคิด ไปทำ แทน มันจะเหมือนปลาที่ตื่นขึ้นมาในน้ำแต่มองไม่

    เห็นน้ำไหม? ถ้าเป็นการตื่นเช่นนี้ แล้วมีผลทำให้เราข้ามพ้น อวิชชาตัณหาอุปาทาน ข้ามพ้น

    ความเป็นตัวเรา ตัวเขา ได้ ก็คงจะดีจริงๆ เพราะเราไม่ต้องเจริญ อริยะมรรคคือสติ อริยะ

    มรรคคือสมาธิ


    กำหนดรู้ คือ การเข้าใจธรรมชาติแห่งการเกิดดับ

    คำว่ากำหนดรู้ ในความหมายนี้ มันไม่ใช่อันเดียวกับการเจริญสติดอกหรือ?

    ถ้าใช่ คำว่า
    ปฏิบัติธรรมโดยที่

    ไม่ต้องทำอะไรเลย


    ก็เป็นการสื่อที่น่าจะสุ่มเสี่่ยงต่อนักปฏิบัติไหม?

    สุ่มเสี่ยง ที่จะทำให้นักปฏิบัติละเลยต่อความสนใจที่จะศึกษา

    และปฏิบัิติตามแนวทางอริยะมีองค์แปด

    ไหม?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2011
  20. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    อัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์แปด

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาหรือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ก็ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรค คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ อัฏฐังคิกมรรคนี่แหละเป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ได้จริงๆ ขอให้รับทราบไว้ในเบื้องแรกอย่างนี้ให้ดี

    ที่ว่า อัฏฐังคิกมรรคๆ นั้นเป็นประการใด?
    อัฏฐังคิกมรรคหรือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฐิ = ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ = มีสมาธิชอบ


    อัฏฐังคิกมรรค อริยมรรค มีองค์ ๘ สำนวนเดิม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร หมวด ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สัจจะปัพพัง

    (คัดมาให้อ่านเทียบเคียง กับสำนวนผู้รจนาหนังสือ โพธิธรรมทีปนี เฉพาะ บางส่วน ถ้ามีความประสงค์จะอ่านทั้งหมดให้หาอ่านในมหสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฏกทุกๆฉบับ )
    ๑. สัมมาทิฐิ = ความเห็นชอบ
    กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
    ยํ โข ภิกฺขเว ทุกฺเข ญา๊ณํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์
    ทุกฺขสมุทเย ญาณํ ความรู้ในเหตุที่เกิดทุกข์
    ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์
    ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณํ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับทุกข์ฺ อันใดแล
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ


    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ ดำริ=คิดตรึกตรอง

    กตโม จ ภิกฺขโว สมฺมาสํกปฺโป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปโป เป็นไฉน?
    เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ความดำริในการออกจากกามารมฌ์
    อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ความดำริในความไม่พยาบาท
    อวิหึสาสงฺกปฺโป ความดำริในการไม่เบียดเบียน
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสังกัปโป


    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ วาจา=คำพูด ถ้อยคำ

    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาวาจา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นไฉน?
    มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากการกล่าวเท็จ
    ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา ส่อเสียด
    ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา หยาบคาย
    สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา สำราก เพ้อเจ้อ
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาวาจา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวาจา


    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?
    ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์
    อทินาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมากัมมันโต


    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว อริสาวโก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยะสาวกในธรรมวินัยนี้
    มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย ละความเลี้ยงชีพผิดเสีย
    สมฺมาอาชีเวนํ ชีวิกํ อปฺเปติ ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ



    ๖. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ

    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาวายาโม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อนุปาทาย เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อุปปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ เพื่อจะละอกุศลธรรมที่เป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ อุปาทาย เพื่อจะยังกุสลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ ฐิติยา อสมฺโมสายภิยฺโญภาวาย เวปุลฺลาย ภาวนาย ปาริปูริยา เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบศูนย์ เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้

    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวายามะ




    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ



    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย เนืองๆอยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนา เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นจิตในจิต เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสติ



    ๘. สัมมาสมาธิ = มีสมาธิชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    วิวิจฺเจว วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามารมฌ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็น อกุศล
    สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก และ วิจาร มีปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวก


    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา เพราะความที่วิตก และ วิจาร ระงับลง
    อชฺฌชฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธึชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใจ ณ.ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และ สุข อันเกิดจากสมาธิ


    ปีติยา จ วิราคา อนึ่ง เพราะความที่ ปีติวิราศไป
    อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และ มีสติ สัมปชัญญะ
    สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อจิกฺขนฺติ อุเบกฺขโก สติมา สุขวิหรีติ เสวยสุขด้วยกาย อาศัยคุณคือ อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข


    ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหาน ทุกฺขสฺส จ ปหาน เข้าถึงตติยฌาน เพราะ ละสุขเสียได้ ละทุกข์เสียได้
    ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถํคมา เพราะความที่ โสมนัส และ โทมนัสในกาลก่อนอัศดงค์ดับไป
    อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึง จตุตฺถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา


    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ

    คัดลอกมาจากลิ๊งนี้ครับ
    http://palungjit.org/posts/4141972

    การปล่อยวางคือธรรมขั้นสูงสุดจริงแท้
    แต่ส่วนที่เป็นเหตุที่นำไปสู่การปล่อยวาง คืออะไร ได้แก่อริยะมรรคมีองค์แปดใช่หรือไม่?

    ถ้าผู้หวังความพ้นทุกข์เห็นว่าใช่ ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย อย่าได้ละเลยในการศึกษาอริยะ

    มีองค์แปดนี้ และ กระทำให้มีขึ้นเถิด เพราะเป็นคำสอนของพระสัมมาสัีมพุทธเจ้าโดยตรง

    ซึ่งมีมาตั้งแต่เทศน์ครั้งแรกคือ ธรรมจักรกัปปวัฏนสูตรตามอ้าง ด้วยความปราถนาดีต่อผู้

    ปฏิบัติเพื่อ ความหลุดพ้นทุกๆท่าน

    ส่วนผู้ที่ท่านบรรลุธรรมโดยฉับพลันทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาด้วย นิพพานังปะระมัง

    สูญญัง นิพพานัง ปะระมัง สุขัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...