การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 29 มีนาคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์หลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย

    ฉะนั้นควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ "มรรค ผล ไม่พ้นสมัย"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=175>[​IMG] </TD><TD class=just>การที่เราอยู่ร่วมกันนี้จะต้องมีระเบียบ ระเบียบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนหมู่มาก ไม่ใช่จำเป็นเฉพาะบุคคลเท่านั้นอยู่คนเดียวก็ต้องมีระเบียบ อย่างพระวินัย พระวินัยสมัยก่อนนี้มีนิดเดียว พระสงฆ์ที่มาบวชในพระพุทธศาสนามีมากขึ้น ต่างคนต่างจะทำอะไร ก็มีหลายเรื่อง บางคนอยากจะทำอย่างนั้น บางคนอยากจะทำอย่างนี้ ก็มีกันมาเรื่อยๆ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าของเราตั้งข้อกติกา คือพระวินัยขึ้นมา เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ อยู่ไปนานๆ ก็มีบางคนก็ทำเรื่องมาอีกหลายอย่าง ดังนั้นพระวินัยจึงไม่มีทางจบสิ้น หลายล้านสิกขาบท แต่ก็ยังไม่จบ พระวินัยไม่มีทางจบลงได้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรม เรื่องธรรมะนี้มีทางจบ ก็คือ "การปล่อยวาง" เรื่องพระวินัยก็คือเอาเหตุผลกัน ถ้าเอาเหตุผลกันแล้วไม่จบหรอก

    สมัยหนึ่งอาตมาไปบริหารพระ 3-4 องค์ ไปอยู่ในป่า ไฟไม่ค่อยจะมี เพราะอยู่บ้านป่า องค์หนึ่งก็ได้หนังสือธรรมะมาอ่าน อ่านอยู่ที่หน้าพระประธานที่ทำวัตรกัน อ่านอยู่ตรงนั้นก็ทิ้งตรงนั้นแล้วก็หนีไป ไฟไม่มี มันก็มืด พระองค์มาทีหลังก็มาเหยียบหนังสือนั้น จับหนังสือขึ้นมาก็โวยวายขึ้นว่า "พระองค์ไหนนี่ ไม่มีสติ ทำไมไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ" สอบสวน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถามก็ไปถึงพระองค์นั้น

    พระองค์นั้นก็รับปากว่า "ผมเอาหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่"
    พระองค์ที่เหยียบหนังสือนั้นก็ว่า "ทำไมท่านไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ ผมเดินมาผมเหยียบหนังสือนี่"

    "โอ... อันนั้นเป็นเพราะท่านไม่สำรวมต่างหากเล่า
    เห็นไหมมันมีเหตุผลอย่างนั้น จึงเถียงกัน องค์นั้นบอกว่า "เพราะท่านไม่เอาไปไว้ในที่เก็บ ท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ท่านจึงไว้อย่างนี้" องค์นี้บอกว่า "เป็นเพราะท่านไม่สำรวม ถ้าท่านสำรวมแล้วคงไม่เดินมาเหยียบหนังสือเล่มนี้" มีเหตุผลว่าอย่างนั้น มันก็เกิดเรื่องทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่จบ ด้วยเรื่องเหตุผล

    เรื่องธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล คือธรรมะมันสูงกว่านั้น ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น มันอยู่ นอกเหตุเหนือผล ไม่อยู่ในเหตุ อยู่เหนือผล ทุกข์มันจึงไม่มี สุขมันจึงไม่มี ธรรมนั้นท่านเรียกว่าระงับ ระงับเหตุระงับผล ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตาย เหมือนพระสององค์นั่น

    ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ต้องอยู่นอกเหตุเหนือผล นอกสุขเหนือทุกข์ นอกเกิดเหนือตาย ธรรมนี้มันเป็นธรรมที่ระงับ คนเราก็มาสงสัยอยู่นี่แหละ ผู้ชายยิ่งสงสัยมาก ความสงสัยนี่ตัวสำคัญ มีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะตายอยู่แล้ว (หัวเราะ) มันไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ ธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ เป็นทางเดิน เดินไปเท่านั้น ถ้ามัวคิดว่าเมื่อไปถึงนี่ ฉันนี้สุขเหลือเกิน ไม่ได้ ฉันนี้ทุกข์เหลือเกิน ไม่ได้ แต่ถ้าฉันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ นี่คือมันระงับแล้ว สงสัยไม่มี

    ตรงโน้นมันจะมีอยู่ที่ตรงไหน มันก็อยู่ที่ตรงที่ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สุขเกิดขึ้นมา ทุกข์เกิดขึ้นมา เรารู้มัยทั้งสองอย่างนี้ สุขนี้ก็สักว่าสุข ทุกข์นี้ก็สักว่าทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นมาดับไปเท่านั้น จะเอาอะไรกับมัน สงสัยทำไมมันเกิดอย่างนั้น เมื่อเกิดอีกทำไมมันไปอย่างนั้นละ สงสัยอย่างนี้มันเป็นทุกข์ ปฏิบัติไปจนตายก็ไม่รู้เรื่อง มันทำให้เกิดเหตุ ไม่ระงับเหตุของมัน

    ความเป็นจริง ธรรมที่พวกเราปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ ธรรมนี้นำเราไปสู่ความสงบ สงบจากอะไร จากสิ่งที่ชอบใจ จากสิ่งที่ไม่ชอบใจ ถ้าเราชอบสิ่งที่เราชอบใจ ไม่ชอบในสิ่งที่เราไม่ชอบใจ มันไม่หมด ธรรมนี้ไม่ใช่ธรรมระงับ ธรรมนี้เป็นธรรมก่อทุกข์ขึ้นมาให้เข้าใจอย่าง
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just vAlign=bottom>ฉะนั้น เราจึงสงสัยตลอดเวลา แหม วันนี้ฉันได้มาแล้ว พรุ่งนี้ทำไมหายไปแล้ว มันหายไปไหน ฉันนั่งเมื่อวานนี้ มันสงบดีเหลือเกิน วันนี้ทำไมมันวุ่นวาย มันไม่สงบ เพราะอะไร อย่างนี้ก็เพราะเราไม่รู้เหตุของมัน ครั้นปล่อยวางว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เห็นไหม มันเป็นอยู่ของมันอย่างนี้ วันนี้มันสงบแล้ว เออไม่แน่นอนหนอ เราต้องเห็นโทษมันอย่างนี้ สงบแล้วมันก็ไม่แน่นอน ฉันไม่ยึดมั่นไว้ สงบก็สงบเถอะ ความไม่สงบก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ฉันไม่ว่า ฉันเป็นผู้ดูเท่านั้น ที่สงบฉันก็รู้ว่าเรื่องมันสงบ ที่ไม่สงบฉันก็รู้ว่าไม่สงบ แต่ว่าฉันไม่ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ว่ามันสงบหรือไม่สงบ เห็นไหมเรื่องมันเป็นอยู่ของมันอย่างนั้น อย่างนี้มันก็ระงับ มันก็ไม่วุ่นวาย มันจะสงบ ฉันก็รู้ว่ามันเรื่องของมัน ฉันจะดูอยู่แค่นี้แหละ ดูเรื่องที่มันสงบ มันก็ไม่แน่นอน ดูเรื่องที่มันวุ่นวายมันก็ไม่แน่นอน มันแน่นอนอยู่แต่ว่า มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เราอย่าไปเป็นกับมันเลย

    ถ้าอย่างนี้ มันก็สบายและสงบ เพราะเรารู้เรื่องมัน ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้น อยากให้เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ มันสงบเพราะเรารู้เรื่องว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็มีการปล่อยวาง เราคิดดูซิว่า ถ้าทุกคนต้องพูดให้ถูกใจฉัน คนทุกคนต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ฉันจึงจะสบาย คนทั้งโลกจะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำถูกใจเราทุกคน มีไหม ไม่มี เมื่อไม่มี เรา

    </TD><TD vAlign=top align=right width=163>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง เราเกิดมาในชีวิตหนึ่ง เราจะหาความสงบว่า คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสบาย ในชีวิตหนึ่งจะได้สบายไหมคนเรา คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ถ้าไม่อย่างนั้นฉันก็ไม่สงบ คนคนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชีวิตก็ไม่มีความสงบ เพราะคนหลายคน ใครจะมาพูดถูกใจเราทุกคน ใครจะมาทำให้ดีทุกหน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นธรรมะ เราจะต้องศึกษาอย่างนี้

    ฉะนั้นเราจะต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา อย่าไปหมายมั่น อย่าไปยึดมั่น จับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสีย

    อย่างนางเตยนี่ เห็นไหม มันทำอย่างนั้น มันถูกใจเราไหม บางทีก็ไปในวัดและก็เข้าห้องน้ำเสีย ฉันจะปลงสังขารเดี๋ยวนี้ ฉันไม่หนีหรอก จะต้องไปรื้อส้วม เอามันออกมา ต่อมามันก็ทำอีก เพราะคนมันเป็นบ้าเสียแล้ว จำเป็นก็ต้องปล่อยไป นางเตยน่ะมันเป็นบ้าเสียแล้ว เราต้องรู้เรื่องกันว่ามันเป็นบ้า มันสติไม่ดี มันเสียสติ อย่าไปถือมันเลย มันจะพูดอย่างไรก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำอย่างไรก็ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบาย

    อารมณ์ก็เหมือนกันฉันนั้น ที่มันมากระทบเราอยู่ทุกวันนี้ บางทีก็ร้าย บางทีก้ดี บางทีก็ชอบใจ บางทีก็ไม่ชอบใจ คนทุกๆ คนนั่งอยู่ในนี้ก็เหมือนกัน จะทำให้ถูกใจเราทุกคนมีไหม มันไม่ได้ นอกจากเราปฏิบัติธรรมะให้รู้ว่า คนคนนี้มันเป็นอย่างนี้ นานาจิตตัง ไม่เหมือนกัน

    เราจำเป็นต้องอบรมใจของเราทุกๆ คน เมื่อมันโกรธขึ้นก็ดูความโกรธ ความโกรธนี้มันมาจากไหน เราให้มันโกรธหรือเปล่า ดูว่ามันดีไหม ทำไมเราถึงชอบมัน ทำไมเราถึงไม่ทิ้งมัน เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วไม่ดี ไม่ดีเราเก็บมันไว้ทำไม ก็เป็นบ้าเท่านั้น ทิ้งมันเสียถ้าเห็นว่ามันไม่ดี มันก็จะไปในทำนองนี้

    เมื่ออยู่ด้วยกันกับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อน ไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฏฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย ท่านก็สบายเพราะท่านเข้าใจว่าเรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ท่านยืนอยู่เฉยๆ พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย พระพุทธองค์ก็เฉย จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอาท่านไม่หนีไปไหน ไม่เหมือนพระอานนท์

    พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์ถามว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า" พระพุทธองค์ตรัสว่า "อานนท์ ตรงนี้ถ้าเรายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ" พระอานนท์ว่า "ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา" "อายทำไมอานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร" พระอานนท์บอกว่า "อาย" "อายทำไมเรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้เราก็ไปที่โน้น ถ้าไปที่โน้นแล้ว เขาไม่ให้ เราจะไปไหนอานนท์"

    "ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก" "ถ้าหากบ้านโน้นเขาก็ไม่ให้ เราจะไปตรงไหน" "ไปตรงโน้นอีก" พระพุทธองค์ตรัสว่า "เลยไปไม่มีหยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายซิ"

    พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นบาป อันนั้นท่านให้อาย อะไรที่ไม่เป็นบาปจะอายทำไม ใครอายก็โง่เท่านั้น ภาวนายังไม่เป็นเลย ถ้าอายอย่างนั้น เราจะไปอยู่ตรงไหนจึงจะมีปัญญา ถ้าไปอยู่คนเดียว ไม่มีใครพูดดีพูดชั่วให้ มันก็สบาย แต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้ มันไม่มีปัญญา ถ้าถูกอารมณ์แล้วปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ฉะนั้นเราอยู่ในโลก ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เรื่อยไปเป็นธรรมดา ไม่อยากเป็นมันก็เป็น ไม่อยากจะอยู่มันก็อยู่ เป็นไปอยู่อย่างนั้น ให้เรามาพิจารณาอย่างนั้น เราต้องกลับมาย้อนพิจารณาอารมณ์ที่ท่านตรัสว่า นินทาสรรเสริญมันเป็นคู่กันมา เรื่องนินทาเรื่องสรรเสริญเป็นธรรมดาของโลก ถ้าไม่ดีเขาก็นินทา ถ้าดีเขาก็สรรเสริญ พระพุทธองค์ท่านไม่เห็นแก่นินทา ไม่เห็นแก่สรรเสริญ จงเรียนสรรเสริญให้มันรู้จัก จงมาเรียนนินทาให้มันรู้จัก ให้รู้จักสรรเสริญกับนินทา สรรเสริญนินทามันก็มีผลมีเหตุเท่ากัน นินทาเราไม่ชอบ นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ถ้าสรรเสริญเราชอบ

    สิ่งที่เราชอบมันพาให้เราทุกข์มีไหม เช่นว่า เรามีเพชรสักก้อนหนึ่ง เราชอบมาก ชอบกว่าก้อนหินธรรมดา เอาวางไว้ ถ้ามีขโมยมาหยิบเอาก้อนเพชรไป เราจะเป็นอย่างไร นั่นของดีมันหาย ทำให้เราเป็นทุกข์ได้เหมือนกัน

    ดังน้น เราต้องอดทนต่อสู้ ให้เรามีสติคุ้มครองจิตของเรา สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว อันนี้ช่วยประคับประคองดวงใจของเราให้อยู่กับธรรมะ สติระลึกได้ว่า บัดนี้เราจะจับไม้เท้า เมื่อเราจับไม้เท้าอยู่เราก็รู้ว่าเราจับไม้เท้า นี่เป็นสัมปชัญญะ ถ้าเรารู้อยู่ในขณะนี้ ขณะเมื่อเราจะทำหรือเมื่อเราทำอยู่ก็รู้ตามความจริงของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้แหละที่จะช่วยประคับประคองใจของเราให้รู้ธรรมะที่แท้จริง

    ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวันเราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวัน เป็นอย่างนี้

    สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไรทำอะไร ต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ คล้ายๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือจะมาขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนคนนี้มันมาทำไม เราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา

    อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ทำเรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม

    เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่า เราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาทเราก็รู้จัก ไม่มีความประมาทเรารู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันรู้เรื่อง

    ยกตัวอย่างเช่น ชาวตะวันตกมาอยู่ในประเทศไทย อยู่ไปเฉยๆ อย่างนั้น ความที่อยู่ติดต่อใกล้ชิดกันไป ถึงแม้พูดภาษาไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่มันรู้เรื่องเข้าใจได้ เห็นไหม มองดูหน้ากันรู้เรื่องกัน ถึงพูดภาษาไม่รู้เรื่อง แต่ก็อยู่กันไปได้ มันรู้กันด้วยวิธีนี้ไม่ต้องพูดกัน ทำงานก็ต่างคนต่างทำ ทำอยู่ใกล้ๆ กันนั่นแหละไม่รู้จักพูดกัน มันก็ยังรู้เรื่องกัน อยู่ด้วยกันได้ รู้ได้โดยอากัปกิริยาที่ว่ารักกันหรือชอบกัน อะไรมันก็รู้ของมันอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับแมวกับสุนัข มันไม่รู้ภาษา แต่ว่ามันก็รู้จักรักเจ้าของเหมือนกัน แมวหรือสุนัขมันอยู่บ้านเรา ถ้าเรามาถึงบ้านสุนัขมันก็วิ่งไปทำความขอบคุณด้วย เห็นไหม ถ้าเรามาจากตลาดหรือมาจากที่อื่นมาถึงบ้าน แมวอยู่ที่บ้านเรา มันก็มาทำความขอบคุณ มันจะร้องว่า เหมียวๆ มันมาเสียดมาสีเรา แต่ภาษามันไม่รู้ แต่จิตมันรู้อย่างนั้น

    อันนี้เราก็อยู่ไปได้อย่างนั้น เราต้องให้เข้าใจกันอย่างนั้น เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมา มันเป็นทุกข์ พระท่านว่ามันเป็นทุกข์มาแล้ว ชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบ แล้วเอาไว้ทำไมถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปซิ ถ้าทุกข์มันเกิดล่ะ คุณชอบทุกข์หรือเปล่า ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบทุกข์แล้วยึดไว้ทำไม ก็ทิ้งมันเสียซิ ท่านก็สอนทุกวันๆ ก็รู้เข้าไปๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์มันเกิดมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์เราก็ไม่ชอบ ไม่ชอบทุกข์แต่เราไปยึดไว้ทำไม สอนอยู่เรื่อยๆ บางทีก็เห็นชัด เห็นชัดก็ค่อยๆ วาง วางไปเป็นเรื่องธรรมดาอย่างเก่า ทีหนึ่งก็ดี สองทีก็ดี สามทีก็ดี มันก็เกิดประโยชน์แล้ว เกิดรู้เรื่องขึ้นแล้ว

    เมื่อมันเกิดความรู้เฉพาะตัวของเรา เราจะนั่งอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พูดภาษาไม่เป็น แต่จิตเรารู้ภาษาธรรมะ เราปิดปากตรงนี้ไว้ ปิดปากกายแต่เปิดปากใจนี้ไว้ ใจมันพูด นั่งอยู่เงียบๆ ยิ่งพูดดี พูดกับอารมณ์ รู้อารมณ์เสมอ นี่เรียกว่า "ปากใน" นั่งอยู่เฉยๆ เราก็รู้จัก พูดอยู่ข้างใน รู้อยู่ข้างใน ไม่ใช่คนโง่ คนรู้อยู่ข้างในรู้จักอารมณ์ สั่งสอนตัวเองก็เพราะอันนี้...


    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=173>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>ชีวิตของเรานี้ มันแก่ทุกวัน เกิดมามีการยกเว้นไม่แก่บ้างไหม วันคืนของเรานี้ ตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตอนค่ำ มันยกเว้นอายุเราไหม วันนี้มันก็ให้แก่ พรุ่งนี้มันก็ให้แก่ นอนหลับอยู่มันก็ให้แก่ ตื่นอยู่ก็ให้โตขึ้นตามเรื่องของมัน เรียกว่า ปฏิปทาของมันสม่ำเสมอเหลือเกิน เราจะนอนอยู่ มันก็ทำงานของมันอยู่ เราจะเดิน มันก็ทำงาน คือความโตของเรานี่แหละกลางวันมันก็โต กลางคืนมันก็โต จะนั่งจะนอนมันมีความโตของมันอยู่ เพราะชีวิตประจำวันมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ร่างกายของเรามันได้อาหาร มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า ปฏิปทาของมัน มันจึงทำให้เราโต จนไม่รู้สึก ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไรเลย มันก็โตของมันเอง แต่สิ่งที่เราทำคือ เรากินอาหาร กินข้าว ดื่มน้ำ นั่นเป็นเรื่องของเรา เรื่องร่างกายมันจะโตจะอ้วน มันก็เป็นของมัน เราก็ทำงานของเรา สังขารมันก็ทำงานของสังขาร มันไม่พลิกแพลงอะไร นี่ปฏิปทามันติดต่อกันอยู่เสมอ

    การทำความเพียรของเราก็เหมือนกัน ต้องพยายามอยู่อย่างนั้น เราจะต้องมีสติติดต่อกันอยู่อย่างนั้นเสมอ มีความรู้ติดต่อกันอยู่เสมอ เป็นวงกลม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จะไปถอนหญ้าก็ได้ จะนั่งอยู่ก็ได้ จะทานอาหารก็ได้ จะกวาดบ้านอยู่ก็ได้ ต้องไม่ลืม มีความรู้ติดต่ออยู่เสมอ ตัวนี้มันรู้ธรรมะ มันจะพูดอยู่เรื่อยๆ ใจข้างในมันจะพูดอยู่เรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้น มีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิกบานอยู่สม่ำเสมออย่างนั้น นั้นเรียกว่าเป็นประโยชน์มาก ไม่ต้องสงสัยอะไรเลย อะไรมันเกิดขึ้นมา เราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง เท่านี้ละ เราก็รู้ของเราไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละการปฏิบัติของเรา
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์หลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย

    ฉะนั้นควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ "มรรค ผล ไม่พ้นสมัย"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=bottom width=162>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>มีคนถามว่า การทำภาวนานี้ ต้องอธิษฐานหรือไม่ว่าจะทำเวลานานเท่าไร 5 หรือ 10 นาที อาตมาเลยบอกว่า ไม่แน่นอน บางทีอธิษฐานว่าฉันจะนั่งสามชั่วโมง นั่งไปได้สิบนาทีก็เดือดร้อนแล้ว ไม่ถึงชั่วโมงก็หนีไปแล้ว เมื่อหนีไปแล้วก็มานั่งคิดว่า แหม เรานี้พูดโกหกตัวเราเอง เอาแต่โทษตัวเองอยู่ ไม่สบายใจ บางทีก็เอาธูปสักดอกหนึ่งมาจุด อธิษฐานจิตใจว่า ไฟจุดธูปดอกนี้ไม่หมด ฉันจะไม่ลุกหนี ฉันจะพยายามอยู่อย่างนี้ พอท่านพูดอย่างนี้ พญามารก็มาแล้ว นั่งเข้าไปสักนิด นั่นทุกข์หลายเหลือเกิน เดี๋ยวมดกัด เดี๋ยวยุงกัด มันวุ่นไปหมด จะลุกหนีไปก็อธิษฐานแล้ว นี่มันตกนรก นึกว่านานเต็มทีแล้ว ลืมตามองดูธูปยังไม่ถึงครึ่งเลย หลับตาอธิษฐานต่อไปอีก สามทีสี่ทีธูปก็ยังไม่หมด เลยก็มาคิด เรานี่มันไม่ดีเหลือเกิน โกหกตัวของตัวอยู่ เลยวุ่นยิ่งกว่าเก่าอีก เรานี้เป็นคนไม่ดี เป็นคนอัปรีย์จัญไร เป็นคนโกหกพระพุทธเจ้า โกหกตัวเราเอง เกิดบาปขึ้นมาอีก อาตมาเห็นว่า ต้องพยายามทำไปเรื่อยๆ พอสมควรที่จะเลิกก็เลิก เหมือนกันกับเราทานข้าว เราอธิษฐานมันเมื่อไร ทานไปทานไป มันจวนจะอิ่ใจะพอ เราก็เลิกมันเมื่อนั้น กินมากไปมันก็อาเจียรออกเท่านั้นแหละ ให้มันพอดีอย่างนั้น

    เราเหมือนพ่อค้าเกวียน ต้องรู้จักกำลังโคของเรา ต้องรู้จักกำลังเกวียนของเรา โคของเรามีกำลังเท่าไร เกวียนของเรารับน้ำหนักได้เท่าไร ต้องรู้จัก ต้องเอาตามกำลังโค ต้องเอากำลัง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เกวียนของเรา อย่าเอาตามความอยากของเราสิ เรามีเกวียนลำเดียว อยากจะบรรทุกหนักให้ขนาดรถสิบล้อ มันก็พังเท่านั้นก็ตายนะซิ มันต้องค่อยๆ ไป ค่อยๆ ทำ อย่างนี้ให้รู้จักของเราปฏิปทาเราทำไปเรื่อยๆ ก็สบาย มันวุ่นวายก็ตั้งใหม่ มันวุ่นวายไปก็ตั้งใหม่ ถ้ามันวุ่นวายนักก็ลุกเดินจงกรมเสียซิ เดินมันจนเหนื่อย พอเหนื่อยก็มานั่ง นั่งกำหนด มันเหนื่อยมันจะสงบระงับ ถ้าเดินก็พอแรง นั่งก็พอสมควรแล้ว อยากจะพักผ่อนก็พักผ่อนเสีย แต่ว่า จิตใจอย่าลืม มีสติอยู่ทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน อยู่ให้สม่ำเสมออย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
    การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องไม่ย่อหย่อน จะต้องทำความพยายามอย่างนั้น ความอยากจะเร็วของเรา อันนี้ไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำไม่ได้ ธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็กำหนดจิต ปฏิบัติตามธรรมชาติของมันอย่างนั้น อยากจะให้มันเร็วที่สุดนั้นไม่ใช่ธรรม มันคือความอยากของเรา เราจะทำตามความอยากของเรานั้นไม่จบ

    ให้รู้จักดูประวัติของพระอานนท์ พระอานนท์นั้นมีศรัทธามากที่สุด พรุ่งนี้เขากำหนดให้พระอรหันต์ทำปฐมสังคายนาแล้ว และคณะสงฆ์ ได้กำหนดพระอานนท์องค์หนึ่งว่าจะเอาไปร่วมทำสังคายนา แต่จะเอาเฉพาะพระอรหันต์ทั้งนั้น พระอานนท์เหลือเพียงคนเดียวเท่านั้น ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ไม่รู้จะทำอย่างไร พระอานนท์ก็อาศัยความอยาก นึกว่า เราจะต้องทำอะไรหนอ จึงจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พรุ่งนี้เขาจะนับเข้าอันดับแล้ว จะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา ตอนกลางคืนก็ตั้งใจนั่ง ไม่ได้นอนทั้งคืน นั่งทำอยู่อย่างนั้น อยากจะเป็นพระอรหันต์ กลัวจะไม่ทันเพื่อนเขา ทำไปทุกอย่าง คิดไปทางนี้ก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางโน้นก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางไหนก็มีแต่ปัญญาหยาบทั้งนั้น วุ่นวายไปหมด คิดไปก็จวนจะสว่าง เรานี่แย่ เราจะทำอย่างไรหนอ เพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายจะทำสังคายนาแล้ว เรายังเป็นปุถุชนจะทำอย่างไรหนอ ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านแสดงไว้ เราพิจารณาทุกอย่างไม่ขัดข้อง แต่เรายังตัดกิเลสยังไม่ได้ ยังไม่เป็นพระอริยเจ้า ทำอย่างไรหนอ เลยคิดว่าเราก็ทำความเพียรมาตั้งแต่ย่ำค่ำจนถึงบัดนี้ หรือมันจะเหนื่อยไปมากกระมัง คิดว่าควรจะพักผ่อนสักพักหนึ่ง เลยเอาหมอนมาจะทำการพักผ่อน เมื่อจะพักผ่อน ก้ปล่อยวางทอดธุระหมดเท่านั้น ศีรษะยัง ไม่ทันถึงหมอนเลย พอเท้าพ้นพื้นเท่านั้น ตอนนั้นขณะจิตเดียว พอดีจิตมันรวมได้ ที่ตั้งใจว่าจะพักผ่อน มันปล่อยวางทอดธุระ ตอนนั้นเองพระอานนท์ได้ตรัสรู้ธรรม ตอนที่ว่าอยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่มีเวลาที่จะพักผ่อน ไม่ปล่อยวาง ก็เลยไม่มีโอกาสที่จะตรัสรู้ธรรม

    ให้เข้าใจว่าการที่จะตรัสรู้ธรรมนั้น มันพร้อมกับการปล่อยวางด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะเร่งมันให้มันเป็นอย่างนั้น แต่ด้วยเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น พอพักผ่อน พอวางเข้าปุ๊บ ตรงนั้นไม่มีอะไรเข้ามายุ่ง ไม่มีความอยากเข้ามายุ่ง เลยสงบตรงนั้นเลย พอจิตตอนนั้นรวมดี ก็เป็นโอกาสพบตรงนั้น พระอานนท์เกือบจะไม่รู้ตัว รู้ตัวว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น ที่พระอานนท์อยากจะตรัสรู้ให้มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ นี่คือความอยาก แต่พอรู้จักวาง ตรงนั้นแหละคือ การตรัสรู้ธรรมะ
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just vAlign=top>คนไม่รู้จักมันก็ทำยาก เช่นว่า ตรงนั้นไม่ใช่ที่อยู่ของคน ความวิตกของปุถุชนจะไปวิตกตรงนั้นก็ไม่ได้ เช่นว่า นี่พื้น นั่นหลังคา ตรงนี้ (ระหว่างหลังคากับพื้น) ไม่มีอะไร เห็นไหม ตรงนี้ไม่มีภพ ภพคือหลังคากับพื้น ระยะกลางนี้เรียกว่าไม่มีภพ ถ้าคนจะอยู่ก็ต้องอยู่ข้างล่าง หรือข้างบน ตรงนี้ไม่มีคนที่จะอยู่ไม่มีใครที่จะอยู่ เพราะว่ามันไม่มีภพ ตรงนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวางอย่างนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวางอย่างนี้คนไม่สนใจว่า การปล่อยวางมันจะเกิดอะไรไหม เมื่อขึ้นไปถึงโน้นเป็นภพเคยอยู่ ลงมาทางนี้ก็เป็นภพเคยอยู่ ขึ้นไปข้างบนนี้หน่อยก็สุขสบาย หล่นลงมาตูมก็เจ็บ แล้วเป็นทุกข์ มีแต่ทุกขืกับสุข แต่ที่มันจะวางให้เป็นปกติไม่มี เพราะว่าที่ภพนั้นคนไม่สนใจ แต่จิตจะวิตกก็ให้วิตกไปในปกติไม่มีภพ

    </TD><TD vAlign=top align=right width=233>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ไม่มีภพไม่มีชาติ คือไม่มีอุปาทานนั่นเอง อุปาทานเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าอุปาทานนั้นเราปล่อยไม่ได้ เราอยากจะสงบมันก็ไม่สงบ คนเราอยู่กับภพ ถ้าไม่มีภพ คิดไม่ได้ เพราะนิสัยของคนมันเป็นอย่างนั้น กิเลสของคนเป็นอย่างนั้น พระนิพพานที่พระพุทธองค์ท่านว่า พ้นจากภพชาติ ฟังไม่ได้ ไม่เข้าใจ มันเข้าใจแต่ว่าต้องมีภพชาติ ถ้าไม่มีภพถ้าไม่มีที่อยู่ ฉันจะอยู่อย่างไร ยิ่งคนธรรมดาๆ อย่างเราแล้ว ฉันจะอยู่อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ อยากจะเกิดอีกแต่ก็ไม่อยากตาย มันขัดกันเสียอย่างนี้ ฉันอยากเกิดแต่ฉันไม่อยากตาย มันพูดเอาคนเดียวตามภาษาคน แต่การเกิดแล้วไม่ตายนั้นมีไหมในโลกนี้ เมื่อคนอยากเกิดก็คือคนนั้นอยากตายนั่นเอง แต่เขาพูดว่าฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันคิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาก้ไปคิดให้มันทุกข์

    ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น เพราะเขาไม่รู้จักทุกข์ เขาจึงคิดอย่างนั้น พระพุทะองค์ท่านว่า ตายนี้มาจากความเกิด ถ้าไม่อยากตายอย่าเกิดสิ แต่นี่อยากเกิดอีก แต่ว่าไม่อยากตาย พูดกับกิเลสตัณหานี้มันก็ยาก มันก็ลำบาก มันถึงมีการปล่อยวางได้ยาก มีการปล่อยวางไม่ได้อย่างนี้ กิเลสตัณหามันเป็นอย่างนั้น

    ฉะนั้นที่พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ไม่มียางต้นเสาอันนี้ อะไรไปเกาะ ไม่มีที่เกาะ ก็จึงไม่มีภพไม่มีชาติ ถ้าพูดถึงว่าเราไม่มีภพมีชาติ เราฟังไม่ได้ จนกระทั่งท่านย้ำเข้าไปถึงตัวตนนี้ว่า ไม่มีตัวมีตน ตัวตนนั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น มันจริงอยู่มันก็จริงโดยสมมุติ ถ้าพูดถึงวิมุติ ตัวตนก็ไม่มี เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมาเท่านั้น เราก้ไปสมมุติว่ามันเป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นมา เมื่อสมมุติเป็นตัวเป็นตน ก็ยึดตัวยึดตนนั้นอีก เลยเป็นคนมีตน ถ้ามี "ตน" ก็มี "ของตน" ถ้าไม่มี "ตน" "ของตน" ก็ไม่มี ถ้ามี "ตน" มันมีสุขมีทุกข์ ถ้ามี "ตน" มันก็มี "ของตน" พร้อมกันขึ้นมาเลย เราไม่รู้เรื่องอย่างนั้น ฉะนั้นคนเราจึงคิดไปว่า อยากเกิดแต่ไม่อยากตาย

    พูดถึงเรื่องกระแสพระนิพพานแล้ว ถ้าไม่รู้ปัจจัตตังแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะปรารถนาอะไร ถึงพระนิพพานนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องปรารถนาอีกด้วย พระนิพพานปรารถนาไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้มันเป้นลักษณะที่เข้าใจยาก ถึงเราจะเข้าใจในเรื่องพระนิพพาน แต่จะพูดให้คนอื่นฟัง ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน มันไม่เข้าใจ เพราะธรรมอันนี้ ถ้าแบ่งให้กันได้มันก็สบายละซิ แต่ธรรมนี้มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้เฉพาะตัวของเราเอง บอกคนอื่นได้ แต่มีปัญหาอยู่ว่าคนอื่นจะรู้ไหม

    ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" แปลว่า พระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก นั่นก็เหมือนกับเราทุกวันนี้แหละ เป็นผู้บอกไม่ใช่ผู้ทำให้ บอกแล้วให้เอาไปทำ จึงจะเกิดความมหัศจรรย์ขึ้น เกิดความเป็นจริงขึ้นเฉพาะตน เป็น "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" วิญญูชนรู้เฉพาะตัวเอง ทั้งนั้น อย่างพูดวันนี้ จะมาเชื่ออาตมานั้นก็ยังไม่ใช่ของดี มันยังไม่ใช่ของแท้ คนที่เชื่อคนอื่นอยู่ พระพุทธองค์ท่านว่ายังโง่อยู่ พระพุทธองค์ท่านให้รับรู้ไว้ แล้วไปพิจารณาให้มันเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะตัวเราเอง ธรรมนี้มันจึงเป็นปัจจัตตังอย่างนั้น
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ทีนี้ในเรื่องการฟังธรรม ก็ให้ทำความเข้าใจว่าต้องไม่ปฏิเสธ รับฟังไม่เชื่อก้พิจารณาดู ไม่เชื่อก็ไม่ว่า เชื่อก้ไม่ว่า วางไว้ก่อน เราจะรู้โดยให้เกิดปัญญา อะไรทุกอย่างถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในใจของเราเอง ก็ยังไม่ปล่อยวาง คือว่า มีสองข้าง นี่ข้างหนึ่ง นี่ก็ข้างหนึ่ง คนเรานั้นจะแอบเดินมาข้างนี้ หรือแอบเดินไปข้างนั้น ที่เดินไปกลางๆ ไม่ค่อยเดินหรอก มันเป็นทางเปลี่ยว เดี๋ยวรักก็ไปทางรัก พอชังก้ไปทางชัง จะปล่อยการรักการชังนี้ไป มันเป็นทางเปลี่ยว มันไม่ยอมไป

    เมื่อพระพุทะองค์ตรัสรู้ธรรมะ ทรงเทศน์เป็นปฐมเทศนาเลยตรงนี้ ทางหนึ่งมันเป็นทางสุขของกาม ทางหนึ่งมันเป็นทางทุกข์ทรมานตน สองอย่างนี้ไม่ใช่ทางที่สงบ ท่านพูดว่าไม่ใช่ทางของสมณะ สมณะนี้คือความสงบ สงบจากสุขทุกข์ ไม่ใช่มีความสุขแล้วมันสงบ ไม่ใช่มีความทุกข์แล้วมันสงบ ต้องปราศจากสุขหรือทุกข์ มันจึงเป็นเรื่องความสงบ ถ้าเราทำอย่างนั้นแล้วมีความสุขใจเหลือเกิน อันนี้ก็ไม่ใช่ธรรมะที่ดีนะ แต่เราต้องวางสุขหรือทุกข์ไว้สองข้าง ความรู้สึกต้องไปกลางๆ เดินผ่านมันไปกลาง เราก็มองดู สุขก็เห็น ทุกขืกเห็น แต่เราไม่ปรารถนาอะไร เดินมันเรื่อยไป เราไม่ต้องการสุข เราไม่ต้องการทุกข์ เราต้องการความสงบ จิตใจของเราไม่ต้องแวะไปหาความสุข ไม่ต้องแวะไปหาความทุกข์ ก็เดินมันไปเรื่อย เป็นสัมมาปฏิปทา เป็นมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้นแล้ว สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริวิตกวิจารมันก็ชอบทั้งนั้น อันนี้เป็นสัมมามรรคเป็นมรรคปฏิปทา ถ้าจะทำอย่างนี้ให้เกิดอย่างนั้น

    ทีนี้เราได้ฟังเราก้ไปคิดดู ธรรมะทั้งหมดนี้ท่านต้องการให้ปล่อยวาง ปล่อยวางจะเกิดขึ้นมานั้นต้องรู้ความเป็นจริง มันถึงจะปล่อยวางได้ ถ้าความรู้ไม่เกิด ก็ต้องมีการอดทน มีการพยายาม มีการปฏิบัติธรรมอยู่ มันต้องใช้ทุนอยู่เสมอทีเดียวเรียกว่าต้องปฏิบัติธรรม

    แต่ เมื่อมันรู้เห็นหมดแล้ว ธรรมะก็ไม่ได้แบกเอาไปด้วย อย่างเลื่อยคันนี้เขาจะเอาไปตัดไม้ เมื่อเขาตัดไม้หมดแล้ว อะไรก็หมดแล้ว เลื่อยก็เอาวางไว้เลย ไม่ต้องไปใช้อีก เลื่อยคือธรรมะ ธรรมะต้องเอาไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผล ถ้าหากว่ามันเสร็จแล้ว ธรรมะที่มีอยู่ก็วางไว้ เหมือนเลื่อยที่เขาตัดไม้ ท่อนนี้ก็ตัด ท่อนนี้ก็ตัด ตัดเสร็จแล้ว ก็วางไว้ที่นี่ อย่างนั้นเลื่อยก็ต้องเป็นเลื่อย ไม้ก็ต้องเป็นไม้ นี่เรียกว่าถึงหยุด แล้วถึงจุดของมันที่สำคัญแล้ว สิ้นการตัดไม้ ไม่ต้องตัดไม้ ตัดพอแล้ว เอาเลื่อยวางไว้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=left width=240>

    [​IMG]

    </TD><TD class=just vAlign=top>การประพฤติปฏิบัติต้องอาศัยธรรมะ ถ้าหากว่าพอแล้วไม่ต้องเพิ่มมัน ไม่ต้องถอนมัน ไม่ต้องทำอะไร มันปล่อยวางอยู่อย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติอันนั้น ถ้าไปยึดมั่นหมายมั่น สงสัยอันนี้เป็นอย่างนั้น มันอยู่ไกลเหลือเกิน อยู่ไกลมากทีเดียว ยังเป็นเด้กๆ อยู่ ยังเป็นเด้กอมมืออยู่นั่นแหละ ทำอะไรไม่ถูกอยู่นั่น ไม่เอาแล้วอย่างนั้น มันเป็นทุกข์ ต้องดู ต้องดูออกจากจิตใจของเรา ดูมัน ปล่อยมัน ดูว่ามันอะไรเกิดขึ้น ก็รู้ว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้เกิดไม่จริง อันนี้มันปลอม ความจริงมันก็อยู่อย่างนั้น ที่เราอยากให้อันนั้นเป็นอันนี้ อันนี้เป็นอันนั้น นั่นไม่ใช่ทาง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ก็วางมันเสีย ความสงบเกิดขึ้นได้ เราข้ามไปข้ามมามันไม่รู้เรื่อง ก็เป็นทุกข์ตลอดเวลา หายสงสัยเสีย อย่าไปสงสัยมัน เลิกมันเถอะ อย่าไปเป็นทุกข์หลาย พอแล้ว ปล่อยวางมันเสีย (หัวเราะ)

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    .............................................




    หมายเหตุปิดท้าย
    การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า "อานาปานสติภาวนา" คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่นหรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป

    อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา การทำอานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ธรรมะปฏิสันถาร
    เทศนาโปรดญาติโยมที่เดินทางมาเยี่ยมพระลูกชายจากประเทศฝรั่งเศส


    นำธรรมะมาฝาก
    อาตมาดีใจที่โยมได้มาเยี่ยมพระลูกชาย และพักอยู่ที่วัดหนองป่าพง อีกไม่กี่วันก็จะกลับไปแล้ว เลยถือโอกาสมาแสดงความดีใจ แต่ก็ไม่มีอะไรจะฝาก วัตถุสิ่งของอะไรที่ประเทศฝรั่งเศสนั้นก็มีมากมายอยู่แล้ว แต่ธรรมะที่จะบำรุงจิตใจของเราให้สงบระงับ ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีเท่าไร อาตมาไปสังเกตการณ์แล้ว เห็นมีแต่เรื่องที่จะทำให้เราวุ่นวายยุ่งยากลำบากตลอดกาลตลอดเวลา

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=180>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>เจริญไปด้วยวัตถุหลายอย่างเป็นกามารมณ์ มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยั่วยวนของบุคคลที่ไม่รู้จักธรรม ให้มีความวุ่นวายมาก ฉะนั้นจึงจะขอฝากธรรมะเพื่อไปปฏิบัติที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อจากวัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติไปแล้ว สภาวะที่ตัดปัญหาและความยุ่งยากของชีวิต

    ธรรมะนี้เป็นสภาวะอันหนึ่ง ซึ่งจะตัดปัญหาความยุ่งยากลำบากในใจของมนุษย์ทั้งหลายให้น้อยลง จนกระทั่งหมดไป สภาวะอันนี้เรียกว่าธรรม เราควรจะศึกษา เอาไปศึกษาในชีวิตประจำวันและประจำชีวิต เมื่อมีอารมณ์อันใดมากระทบกระทั่งเกิดขึ้น จะได้แก้ปัญหามันได้ เพราะปัญหานี้มีทุกคน ไม่เฉพาะว่าเมืองไทยหรือเมืองนอก มันมีทุกแห่ง ถ้าคนไม่รู้จักแก้ปัญหาแล้ว ก็มีความทุกข์ความเดือดร้อนเป็นธรรมดา เมื่อปัญหาเกิดขึ้นมาแล้ว หนทางที่จะแก้ไขมันก็คือปัญญา สร้างปัญญา อบรมปัญญา คือ ทำปัญญาให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สำหรับข้อประพฤติปฏิบัตินั้นก็ไม่มีอะไรมากอื่นไกล อยู่ในตัวของเรานี่เอง มีกายกับใจ คนเมืองนอกก็เหมือนกัน คนเมืองไทยก็เหมือนกัน มีกายกับใจเท่านั้นที่วุ่นวาย เป็นผู้วุ่นวาย ฉะนั้น ผู้สงบระงับต้องมีกายกับใจสงบ

    ความเป็นจริงนั้น ใจของเรามันเป็นปกติอยู่ เปรียบเหมือนน้ำฝน เป็นน้ำสะอาด มีความใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นปกติ ถ้าหากเราเอาสีเขียวใส่เข้าไป เอาสีเหลืองใส่เข้าไป น้ำก็จะกลายเป็นสีเขียว สีเหลืองไป จิตเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อไปถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจก็ดี ใจก็สบายเมื่อถูกอารมณ์ไม่ชอบใจแล้ว ใจนั้นก็ขุ่นมัว ไม่สบาย เหมือนกันกับน้ำที่ถูกสีเขียว ก็เขียวไป ถูกสีเหลือง ก็เหลืองไป เปลี่ยนสีไปเรื่อย

    ความเป็นจริงนั้น น้ำที่มันเขียว มันเหลือง ปกติของมันก็เป็นน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ คือ น้ำฝน ปกติของจิตเรานี้ก็เหมือนกัน เป็นจิตที่ใสสะอาด เป็นจิตที่มีปกติไม่วุ่นวาย ที่จะวุ่นวายนั้นเพราะมันเป็นไปกับอารมณ์ มันหลงอารมณ์ พูดให้เห็นชัด อย่างขณะนี้เรานั่งอยู่ในป่ามีความสงบเหมือนกันกับใบไม้ ใบไม้นั้นถ้าไม่มีลมพัดมันก็นิ่ง สงบระงับอยู่ ถ้ามีลมมาพัด ใบมันก็กวัดแกว่งไปตามลม
    จิตใจนี้ก็เหมือนกัน ถ้าอารมณ์มาถูกมันก็กวัดแกว่งไปตามอารมณ์ ยิ่งมันไม่รู้เรื่องธรรมะแล้ว ก็ยิ่งปล่อยไปตามอารมณ์ของเจ้าของไป อารมณ์สุขก็ปล่อยตามไป อารมณ์ทุกข์ก็ปล่อยตามไปวุ่นวายไปเรื่อยๆ จนชาวมนุษย์ทั้งหลายเกิดเป็นโรคประสาทเพราะไม่รู้เรื่อง ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักตามรักษาจิตของเจ้าของ จิตของเรานี้เมื่อไม่มีใครตามรักษา มันก็เหมือนคนๆหนึ่งที่ปราศจากพ่อแม่ที่จะดูแล เป็นคนอนาถา คนอนาถานั้นเป็นคนที่ขาดที่พึ่ง คนที่ขาดที่พึ่งก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากขาดการอบรมบ่มนิสัย ทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก

    กรรมฐานเป็นการทำจิตให้สงบ
    ในทางพุทธศาสนา การทำจิตให้สงบระงับนี้ ท่านเรียกว่า การทำกรรมฐาน ฐาน คือเป็นที่ตั้ง กรรม คือการงานที่เราจะต้องทำขึ้นให้มีกายเราเป็นส่วนหนึ่ง จิตเราเป็นอีกส่วนหนึ่ง มีสองอย่างเท่านั้นแหละ กายนี้เป็นสภาวธรรม เป็นรูปธรรมที่เรามองเห็นได้ด้วยตาของเรา จิตเป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง เป็นนามธรรมซึ่งไม่มีรูป มองด้วยตาไม่ได้ แต่เป็นของมีอยู่ ตามภาษาสามัญก็เรียกว่า กายกับใจ กายเรามองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ จิตมองเห็นได้ด้วยตาใน คือตาใจ มีอยู่สองอย่างเท่านั้น มันวุ่นวายกัน

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>ฉะนั้น การฝึกจิตที่จะฝากโยมวันนี้ ก็คือเรื่องกรรมฐาน ให้ไปฝึกจิต เอาจิตพิจารณากาย จิตนี้คืออะไร? จิตมันก็ไม่คืออะไร มันถูกสมมติว่า คือ ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกอารมณ์ ผู้ที่รับรู้อารมณ์ทั้งหลายในที่นี้เรียกว่าจิต ใครเป็นผู้รับรู้ ผู้รับรู้นั้นถูกเขาเรียกว่า "จิต" รับรู้อารมณ์ที่สุขบ้าง อารมณ์ที่ทุกข์บ้าง อารมณ์ดีใจบ้าง อารมณ์เสียใจบ้าง ใครมีภาวะที่จะรับรู้อารมณ์เหล่านี้ ท่านเรียกว่าจิต

    อย่างเช่น อาตมาพูดให้ฟังขณะนี้ จิตเรายังมี จิตรับรู้ว่า พูดอะไรอย่างไร มันเข้าไปทางหู รู้ว่าพูดอะไร เป็นอย่างไร ก็รู้จัก ผู้รับรู้นี้เรียกว่าจิตจิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์

    </TD><TD align=right width=205>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จิตไม่มีตัวจิตไม่มีตน จิตไม่มีรูป จิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์เท่านั้นไม่ใช่อื่น ถ้าหากว่าเราสั่งสอนจิตอันนี้ให้มีความเห็นที่ถูกต้องดีแล้ว จิตนี้ก็จะไม่มีปัญหา จิตก็จะสบาย จิตก็เป็นจิต อารมณ์ก็เป็นอารมณ์อารมณ์ไม่เป็นจิต จิตไม่เป็นอารมณ์ เราพิจารณาจิตกับอารมณ์นี้ให้เห็นชัด จิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์ที่จรเข้ามา จิตกับอารมณ์สองอย่างนี้มากระทบกันเข้า ก็เกิดความรู้สึกทางจิต ดีบ้าง ชั่วบ้าง ร้อนบ้าง เย็นบ้าง สารพัดอย่าง ทีนี้เมื่อเราไม่มีปัญญาแก้ไข ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ก็ทำจิตของเราให้ยุ่ง

    ลมหายใจเป็นมงกุฏกรรมฐาน
    การทำจิตข องเราให้มีรากฐาน คือ กรรมฐาน เอาลมหายใจเข้าออกเป็นรากฐาน เรียกว่า อานาปานสติ ทีนี้จะยกเอาลมเป็นกรรมฐานเป็นอารมณ์ การทำกรรมฐา นมีหลายอย่างมากมาย มันก็ยากลำบากเอาลมนี้เป็นกรรมฐานดีกว่า เพราะว่าลมหายใจนี้เป็นมงกุฏกรรมฐานมาแต่ครั้งดึกดำบรรพ์มาแล้ว พอเรามีโอกาสดีๆ เราเข้าไปนั่งสมาธิเอามือขวาทับมือซ้าย เอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกในจิตของเราว่า บัดนี้ เราจะวางภาระทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดไป ไม่เอาอะไรมาเป็นเครื่องกังวล ปล่อย... ปล่อยให้หมด แม้จะมีธุระอะไรอยู่มากมายก็ปล่อย ปล่อยทิ้งในเวลานั้น สอนจิตของเราว่า จะกำหนดตามลมอันนี้ ให้มีความรู้สึกอยู่แต่อารมณ์อันเดียว แล้วก็หายใจเข้าหายใจออก

    การกำหนดลมหายใจนั้น อย่าให้มันยาว อย่าให้มันสั้น อย่าให้มันค่อย อย่าให้มันแรง ให้มันพอดีๆ

    สติ คือความระลึกได้ สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวอันเกิดจากจิตนั้น ให้รู้ว่าลมออก ให้รู้ว่าลมเข้า สบาย ไม่ต้องนึกอะไร ไม่ต้องคิดไปโน่น ไม่ต้องคิดไปนี่ ในเวลา


    ปัจจุบันนี้ เรามีหน้าที่ที่จะกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ที่จะไปคิดอย่างอื่นให้มีสติความระลึกได้ตามเข้าไป และสัมปชัญญะความรู้ตัวว่า บัดนี้ เราหายใจอยู่ เมื่อลมเข้าไป ต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัยปลายลมอยู่สะดือ เมื่อหายใจออก ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัยปลายลมอยู่จมูก ให้รู้สึกอย่างนี้
    • หายใจเข้า :- ๑. จมูก ๒. หทัย๓. สะดือ
    • หายใจออก :- ๑. สะดือ ๒. หทัย ๓. จมูก
    กำหนดอยู่สามอย่างนี้ หายความกังวลหมด ไม่ต้องคิดเรื่องอื่นกำหนดเข้าไปให้รู้ต้นลม กลางลม ปลายลม สม่ำเสมอ แล้วต่อนั้นไปจิตของเราจะมีความรู้สึก ต้นลม กลางลม ปลายลม ตลอดเวลา


    เมื่อทำไปเช่นนี้ จิตอันควรแก่การงานก็จะเกิดขึ้น กายก็ควรแก่การงาน การขบเมื่อยทั้งหลายจะค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ กายก็จะเบาขึ้น จิตก็จะรวมเข้า ลมหายใจก็จะละเอียดเข้า น้อยลงๆ เราทำแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจิตมันจะสงบระงับลงเป็นหนึ่ง

    การทำจิตให้สงบเป็น "หนึ่ง"
    เป็น "หนึ่ง" คือ จิตมันจะฝักใฝ่อยู่กับลม ไม่แยกไปที่อื่นไม่วุ่นวาย ต้นลมก็รู้จัก กลางลมก็รู้จัก ปลายลมก็รู้จัก เมื่อจิตสงบระงับแล้ว เราจะรู้อยู่แต่ต้นลม ปลายลมก็ได้ ไม่ต้องตามลงไป เอาแต่ปลายจมูกว่ามันออก มันเข้า จิตเป็นหนึ่งอยู่กับลมหายใจเข้าออกอันเดียวตลอดไป

    การทำจิตเช่นนี้ เรียกว่าทำจิตให้สงบ ทำจิตให้เกิดปัญญา อันนี้เป็นเบื้องต้น เป็นรากฐานของกรรมฐาน ให้พยายามทำทุกวันทุกวัน จะอยู่ที่ไหนก็ได้ จะอยู่บ้านก็ได้ จะอยู่ในรถก็ได้ อยู่ในเรือก็ได้ นั่งอยู่ก็ได้ นอนอยู่ก็ได้ ให้เรามีสติสัมปชัญญะควบคุมอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา อันนี้เรียกว่าการภาวนา

    อิริยาบถของการภาวนา
    การภาวนานี้ ทำได้ในอิริยาบถ ทั้งนี่ไม่ใช่ว่าจะนั่งอย่างเดียว จะยืนก็ได้ จะนอนก็ได้ จะเดินก็ได้ ขอแต่ให้เรามีสติ กำหนดอยู่เสมอว่า บัดนี้จิตใจของเราอยู่ในลักษณะอย่างไร มีอารมณ์อันใดอยู่จิตเป็นสุขไหม จิตเป็นทุกข์ไหม จิตวุ่นวายไหม จิตสงบไหม ให้เรารู้เห็นอย่างนี้ หมายความว่า ให้รู้จักความรับผิดชอบของจิตอยู่ตลอดเวลา นี้เรียกว่าการทำจิตของเราให้สงบ

    เมื่อจิตสงบก็เกิดปัญญา
    เมื่อจิตสงบแล้ว ปัญญามันจะเกิด ปัญญามันจะรู้ ปัญญามันจะเห็น เอาจิตที่สงบพิจารณาร่างกายของเรา ตั้งแต่ศีรษะลงไปหาปลายเท้า ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาหาศีรษะ พิจารณากลับไปกลับมาอยู่เรื่อย ให้เห็นเกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เป็นกรรมฐาน ให้เห็นว่ารูปร่างกายทั้งหลายนี้ มีดิน มีน้ำ มีลม มีไฟ กลุ่มทั้งสี่กลุ่มนี้ ท่านเรียกว่ากรรมฐาน เรียกว่าธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มาประชุมกันเข้า เรียกว่ามนุษย์ เรียกว่าสัตว์

    พิจารณากายของเราอันประกอบด้วยธาตุ
    พระบรมศาสดาของเราท่านทรงสอนว่า อันนี้สักแต่ว่าธาตุเท่านั้น อวัยวะร่างกายของเรา สิ่งที่ข้นแข็ง เป็นธาตุดิน สิ่งที่มันเหลวไหลเวียนไปในร่างกาย ท่านเรียกว่า ธาตุน้ำ ลมพัดขึ้นเบื้องบนลงเบื้องต่ำ ท่านเรียกว่าธาตุลม ความร้อนอบอุ่นในร่างกาย ท่านเรียกว่าธาตุไฟ คนคนหนึ่ง เมื่อแยกออกแล้ว มีสี่อย่าง นี้เท่านั้น คือ มีดิน น้ำ ลม ไฟ สัตว์ไม่มี มนุษย์ไม่มี ไทยไม่มีฝรั่งไม่มี เขมรไม่มีญวนไม่มี ลาวไม่มี ไม่มีใคร มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม เท่านั้นที่เป็นอยู่แล้วสมมติว่าเป็นบุคคลเป็นสัตว์ขึ้นมา

    ชีวิต ร่างกาย เป็นอนิจจัง
    ความเป็นจริงไม่มีอะไร ดินก็ดี น้ำก็ดี ลมก็ดี ไฟก็ดี ที่ประกอบกันเรียกว่ามนุษย์นี้ เป็นไปด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเป็นของไม่แน่นอน เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของหมุนเวียนเปลี่ยนไปแปรไป อยู่อย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอยู่กับที่ แม้แต่ว่าร่างกายของเราก็ไม่แน่ไม่นอน เคลื่อนไหวไปมาอยู่เสมอ เปลี่ยนไป ผมก็เปลี่ยนไป ขนก็เปลี่ยนไป หนังก็เปลี่ยนไป สารพัดอย่างมันเปลี่ยนไป เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปหมด

    จิตใจของเรานี้ก็เหมือนกัน มันก็ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ที่คิดไปสารพัดอย่าง มันไม่แน่นอน บาทีคิดฆ่าตัวตายเลยก็ได้ บางทีคิดสุขก็ได้ บางทีคิดทุกข์ก็ได้ ถ้าเราไม่มีปัญญา เราก็ไปเชื่อจิตอันนี้ มันก็โกหกเราเรื่อยไป เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง สลับซับซ้ อนกันไป

    จิตและกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    จิตนี้มันก็เป็นของไม่แน่นอน กายนี้ก็เป็นของไม่แน่นอน รวมแล้วเป็นอนิจจัง รวมแล้วเป็นทุกขัง รวมแล้วเป็นอนัตตา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ พระบรมครูของเราท่านว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้นเอง

    เอาจิตของเราพิจารณาลงไปให้มันเห็นชัด เมื่อมันเห็นชัดแล้วอุปาทานที่ถือว่า เราสวยบ้าง เรางามบ้าง เราดีบ้าง เราชั่วบ้าง เรามีบ้าง เราอะไรๆหลายอย่าง มันก็ถอนไป ถอนไปเห็นสภาวะอันเดียวกัน เห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายเป็นอันเดียวกัน เห็นไทยเป็นอันเดียวกันกับฝรั่ง เห็นฝรั่งเป็นอันเดียวกันกับไทย เมื่อจิตเราเห็นเช่นนี้ มันก็ถอนอุปาทานความยึดมั่นออกจากจิตใจของเรา

    เมื่อจิตเห็นธรรม โลภ โกรธ หลง ก็ลดน้อยลง
    เมื่อพิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว มันก็น่าสังเวชถอนอุปาทานออกแล้ว ไม่ได้ไปยึดว่าเป็นตัว ว่าเป็นตน ว่าเป็นเรา ว่าเป็นเขา จิตใจเห็นเช่นนี้ มันก็เกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด คือเห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วจิตใจของเราก็หยุด จิตใจเราก็เป็นธรรมะ ราคะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี มันก็ลดน้อยถอยลงไปทุกทีๆ ผลที่สุดเหลือแต่ธรรม คือจิตนี้เป็นอยู่เท่านั้น นี้เรียกว่าการทำกรรมฐาน

    หนทางที่ถูกต้องที่ควรพิจารณา
    ฉะนั้น จึงขอฝากโยมเอาไปพิจารณา เอาไปศึกษาประจำวันประจำชีวิต เอาไว้เป็นมรดกติดตัวสืบไป โยมเอาไปพิจารณาแล้ว ใจก็จะสบาย ใจก็จะไม่วุ่นวาย ใจก็จะสงบระงับ กายวุ่นวายก็ช่างมัน ใจไม่วุ่นวาย เขาวุ่นวายในโลก เราไม่วุ่นวาย ถึงความวุ่นวายในเมืองนอกมากมาย เราก็ไม่วุ่นวาย เพราะจิตเราเห็นแล้ว เป็นธรรมะแล้วอันนี้เป็นหนทางที่ดี ที่ถูกต้อง ฉะนั้น จงจำคำสอนนี้ไว้ต่อๆไป

    http://www.isangate.com/dhamma/dhamma_talk.html
     
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>เปรต
    เรื่องความดีความชั่วมันไม่จบ มันยังเป็นโลกมันก็ไม่จบถ้ายังไม่จบมันก็ไม่ว่าง


    ...ถ้าอยู่บ้านแล้วก็ว่ามันยุ่ง แต่เรื่องแปลกนะ มนุษย์เราเป็นเรื่องแปลกเหมือนกัน ออกจากบ้านมาแล้วมันไม่ยุ่ง สบาย แต่ว่าคิดอยากกลับ คือไม่ใช่อะไรหรอก มันยังไปไม่ถึงที่มัน ความรู้สึกนึกคิดของเรายังไปไม่ถึงที่อยู่อย่างดี ท่านเรียกว่าวัฏฏะ ไปแล้วก็ดึงกลับมาไม่ถึงที่สุดมัน อย่างง่ายๆ อย่างย่อๆ ก็เรียกว่า เรามาอบรมในที่นี้ มีธุระอย่างนี้ แต่มาอยู่ที่นี่ก็ไม่ใช่บ้านของเราก็ทำความไม่ให้สบายอยู่ในนี้แหละ บ้านอื่นมันจะสนุกสุขตระการเท่าไรก็ช่างเถอะ ก็ยังคงคิดไปถึงบ้านเราอยู่นั่นแหละ...เป็นอย่างนี้ คือเรื่องมันยังไม่จบ




    </TD><TD vAlign=bottom align=middle width=156>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่องความดีความชั่วมันไม่จบ มันยังเป็นโลกมันก็ไม่จบถ้ายังไม่จบมันก็ไม่ว่าง ถ้าไม่ว่างเราก็ได้แบกมันไว้ ถ้าเราแบกมันไว้นะ เราหนักเราก็มองเห็นโทษมันได้ง่ายๆ เพราะเราแบกมันอยู่นะ บางคนเห็นว่าคนอื่นแบก...เราหนัก เคยมีไหม คนอื่นเขาแบก...เราหนัก ตรงนี้แหละมันน่าคิด เราแบกเองเราหนักเองมันก็คิดได้นะ พอคิดได้ อันนั้นคนอื่นเขาแบก...เราหนัก คนนั้นทำผิดแล้วมัง...ไม่สบายแล้ว คนอื่นแบก...เราหนัก เคยมีไหม...ดูดีๆนะ เราแบกเองเราหนักเอง ค่อยยังชั่วมันเห็นง่าย คนอื่นแบก...เราหนัก นี่น่ะมันไม่ค่อยจะเห็นตัวเรานะน่าจะให้คนแบกนั่นแหละหนัก หรือว่าอย่างไร ถ้าพูดตามความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น โดยมากมันเท่ากันเสียแล้วหรือจะมากกว่าก็ได้

    เราแบก...เราหนัก คนอื่นเบา...เราก็หนัก มันหนักสองต่อ เขาแบกเราก็หนัก เราแบกเราก็หนัก จะทำอย่างไรดีมันเป็นเสียอย่างนี้ เราควรย้อนคิดดูว่าชีวิตมนุษย์มันเป็นอะไรยังไง มันผสมผเสกันอยู่ เราไม่รู้จักเลือกจักถอนออก มันก็เป็นอย่างนี้แหละ ถ้าตรงไปแล้วก็เราแบก...เราหนักก็ดีกว่านะ มันสำคัญที่คนอื่นแบกเราไม่ควรจะหนักนี่ อย่างนั้นจะต้องอดทน

    เรื่องที่มันอดทนทั้งนั้นไม่มีเรื่องอะไร ทางธรรมะท่านเรียกว่า ขันติ...ความอดทน มันเป็นแม่บทของธรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกคนจะต้องอยู่ในความอดทนทั้งนั้นแหละ อดทนได้ความดี แต่เมื่อได้ความดีแล้วก็หลงดีอีก มันก็แปลก มันน่าจะจบเรื่องของมัน ได้ดีมาแล้วก็หลงดีอีก ดีก็พาเราทุกข์อีก ดีกับชั่ว รักกับเกลียดนี้มันไม่พ้น...มันน่าคิด ธรรมะนี่คิดๆในใจเจ้าของแล้วก็แก้ตัวเรานะ

    ทีนี้ถ้ามันทุกข์ก็ไปให้คนอื่นแก้ คนอื่นแก้ทุกข์ให้เราไม่ได้อธิบายทางให้เราแก้ทุกข์เท่านั้น เรื่องจะแก้จริงๆ เรื่องพ้นทุกข์จริงๆ เป็นเรื่องของตนเอง พระบรมครูของเราเรียกว่า อักขาตาโร ตถาคตา...ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก บอกให้ยกอันนั้นอันนี้ ยกอันนี้ไปโน้น...บอกเท่านี้ ว่ายน้ำจะต้องทำอย่างนั้นไมใช่ตถาคตไปว่ายให้ ถ้าตถาคตไปว่ายให้เราก็จมน้ำตายเท่านั้นแหละ มันเป็นอย่างนี้

    ความทุกข์ทั้งหลายนั้นก็เรานั่นแหละสร้างขึ้นมา...แต่ให้อดทน เห็นอยู่ว่าตรงนี้มันหนัก แต่เราอยากได้มัน ไปยกมันก็หนักจริงๆ เมื่อหนักก็ต้องอดทน มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ อย่างเราเมื่อศึกษามา เมื่อเราเป็นนักเรียน เห็นผู้ใหญ่ดูเหมือนจะสบายเห็นคนนี้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ เห็นจ้าวนายครูบาอาจารย์ ก็นึกในใจว่าจะสบาย เราก็อยากเป็นอย่างนั้นบ้าง...เลยพยายามจนเป็นขนาดนี้แล้วยังมีทุกข์อยู่ ยังมีความลำบากอยู่ คือมันยังไม่พ้น อยู่ข้างนี้ก็ยังไม่พ้นอีก ก้าวไปข้างหน้าอีกก็ดูมันจะพ้นแต่ไปอีกยิ่งหนักเข้าไปเรื่อยๆ เหมือนกับคนแก่เราน่ะมันคิดไม่มากหรอก โตขึ้นมามันคิดกว้างคิดมาก มีความฉลาดมาก ไป ช่วยเขาหมด ทั้งนั้นแหละ คนทั้งบ้านน่ะเราฉลาดคนเดียว ก็เลยทุกข์คนเดียว ความคิดของคนก็ต้องเป็นอย่างนั้นคือหมายความว่ามีมากก็ต้องแบกมากยึดมาก

    ความเป็นจริงนั้นการกระทำอะไรทุกอย่าง ถ้าให้รู้จักหน้าที่กันทุกคน แล้วมันก็ไม่มีเรื่องอะไรนะ สบาย ความสบายมันมีอยู่ แต่อยู่ในคนส่วนมากมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ สถานที่นี้ท่านเรียกว่าโลก โลกท่านแปลว่า ความมืด โลกเจริญก็คือมืดเจริญนั่นเอง แหม...โลกมันเจริญ เจริญมันก็มืดเจริญขึ้น

    อย่างวัดอาตมาแต่ก่อนไฟฟ้าไม่มี ก็ไม่เห็นว่ามันสว่างหรือมันมืดนะ ถ้ามีไฟฟ้ามาแล้วเห็นจะสบาย มีน้ำก็สบาย โอ้...ไฟฟ้ามันก็ไม่เกิดมาเองหรอกนะ ก่อนจะมีไฟฟ้ามันต้องเสียอะไรมากๆ ก่อนจะมีน้ำมันก็ต้องเสียอะไรไปมากๆ จะต้องลงทุนทั้งหมด มันก็เกิดจากความลำบาก ที่มันสว่างแล้วน่ะมันก็ยังไปปิดใจของเราให้มืดอีก ที่มันสะดวกแล้วมันก็ไปปิดใจให้เรามันมืดอีก คนเราถ้ามันสะดวกสบายแล้วยิ่งมักง่าย

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>สมัยก่อนบ้านเมืองเราก็ยังไม่เจริญ ทำส้วมอยู่โน้นในป่า...อุตส่าห์ไป เดี๋ยวนี้ไม่ได้ ที่นอนอยู่นั่น ต้องทำส้วมอยู่ที่นั้น ขนาดนั้นก็ยังไม่สบายอยู่อีก จะให้มันสบาย สะดวก มันก็ไม่สะดวกนะ มันสบายมากเกินไป ก็เลยประมาทกันเสีย อยากจะให้มันยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก มันก็ไม่พอสักที แล้วก็บ่นว่ามันทุกข์ทุกข์ใครสร้างขึ้นมามองไม่เห็น ว่ามันเป็นเพราะอันนั้นๆ มันเป็นเพราะอันนี้ (หลวงพ่อท่านเอามือชี้ที่ตัวของท่านประกอบ) ไม่เคยชี้เข้ามาเลย ต้นตออยู่ตรงนี้ไม่เคยชี้เข้ามา มันก็ไม่กระจ่างเท่านั้นแหละ ว่าแต่คนโน้นๆ ชี้ออกไปทางโน้น ก็ไปเห็นของข้างนอกโน้น ไปแต่งของข้างนอกเรื่อยๆไป อันนี้ไม่ค่อยแต่งจิตใจไม่ค่อยแต่งกัน

    บ้านสกปรกเราก็เห็นได้ ทำสะอาดบ้านเราก็ทำได้ ถ้วยจานมัน


    </TD><TD vAlign=top align=right width=255>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เลอะเทอะไม่สวยงามเราก็เห็นได้ เราล้าง...มันก็สะอาดได้ แต่ว่ามันสะอาดแต่บ้านแต่ถ้วยจาน ใจไม่สะอาดหน้าบูด หน้าเบี้ยวบ่นอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นตัวเราทุกข์ อันนี้ก็น่าสงสารตัวเองเหมือนกันนะ ถ้าคิดแล้วมันเป็นเสียอย่างนี้

    ถ้าเราพยายามกวาดพยายามเช็ดทำสะอาดเหมือนถ้วยจานบ้านเรา เราก็คงอยู่กันสบาย อันนี้เราไปเช็ดของที่ไม่รู้เรื่องถ้วยมันสกปรกก็เฉย ถ้วยมันสะอาดก็เฉย มันเฉยทั้งนั้น ของที่ไม่รู้เรื่องเราไปทำสะอาด ทำไม่ถูกจุดมันๆ จะใสขนาดไหนใจเราก็ไม่รู้ไม่เห็น มันก็สกปรกอยู่ตรงนั้นแหละ

    เราไม่พยายามดูจิต ชอบแต่จะตามใจมัน ถ้าพูดภาษาโลกแล้วก็เรียกว่า ตามอารมณ์ อารมณ์ของคนนี่จิปาถะที่มันจะเป็นไป ในครอบครัวของเราวันนี้รักกัน แต่พรุ่งนี้เกลียดเหลือเกิน ลูกเราวันนี้เรารัก พรุ่งนี้มันเกลียด ทำไมมันเป็นอย่างนั้นทำไมไม่คงที่อย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้ นี่เรียกว่าใจเราไม่ฝึกหัดจึงหาความสงบไม่ได้

    ความรักทำให้เกิดทุกข์ ความเกลียดทำให้เกิดทุกข์ ได้น้อยเกินไปก็เกิดทุกข์ ได้มากเกินไปก็ทุกข์ เราจะอยู่ที่ไหนกันโยม หาที่อยู่แล้วหรือยัง ทำไมไม่มองหาที่อยู่ของเขาล่ะ เราพยายามสร้างอะไรต่ออะไรมานี่หลายปีหลายเดือนมาแล้ว เพื่อหาความสงบเพื่อหาความสบาย ทำไมถึงขนาดนี้เราก็ยังไม่สบายกัน ไม่ใช่ว่าเราทำไม่ถูกกันหรือ

    พ่อบ้านแม่บ้านอยู่ร่วมกันมันไม่น่าจะทะเลาะกันนะ ทำไมทะเลาะกัน บางวันอยากจะลุกหนีไปตอนกลางคืนเลย แต่ว่าพรุ่งนี้กลับมาอีกแล้ว มันลำบากโยม อาตมาเห็นว่าที่อยู่ของเราจริงๆน่ะ เราไม่ค่อยจะหากัน ไปเช็ดที่อื่นไปถูที่อื่น ไปทำความสะอาดที่อื่น ไม่ทำใจเราให้มันสะอาด มันก็ยุ่งอยู่เรื่อยไปอย่างนี้แหละมันชี้ไปแต่ข้างนอก พระพุทธองค์ท่านสอนว่า โอปนยิโก...น้อมเข้ามาให้มันเห็นกับจิตของเรา น้อมเข้ามาให้เห็นใจของเรา

    แต่ทุกวันนี้มีแต่บังคับ...เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีมะม่วงหวานหรอก มะม่วงอกร่องนี่พื้นเดิมมันหวานนะ เดี๋ยวนี้เขาบังคับมันไม่แก่เฒ่าเขาเอามาบ่มเสียแล้ว...เขาต้องการเร็ว เอามาทานมันก็เปรี้ยว มะม่วงเมืองอุบลฯ นี่ไม่ค่อยหวาน...เขาบังคับมัน คือไม่ทันกับความอยากของคนเรา...ไปบีบมันเข้า ไอ้ของดีๆหวานๆก็ให้มันเปรี้ยวไป ของอะไรก็ให้มันเปรี้ยวไป ให้มันผิดปรกติของมันไป แล้วบ่นว่ามันเปรี้ยว ทำไมมันจึงเปรี้ยว มะม่วงไม่แก่เอามาบ่ม...มันก็เปรี้ยว ทำไมไม่ทำใหม่ล่ะ...มันก็เป็นอย่างนี้แหละ

    โดยมากมีแต่ของปลอม ไปยึดมั่นถือมั่นของที่มันปลอมแปลงไม่แน่นอนไปยึดว่ามันเป็นของจริง พระพุทธเจ้าให้เห็นสัจธรรมคือความจริง ของที่มันไม่ปลอมก็คือของแท้อย่างนี้ เดี๋ยวนี้แทบจะหลงกันหมดแล้ว ของจริง ของไม่จริงไม่รู้เรื่องก็เลยเป็นกันไปอย่างนั้น มันก็เกิดความรู้สึกนึกคิดหลายๆ อย่างสิ่งที่มาดัดแปลงมาปลอมแปลงให้มันเหมือนของจริงอย่างนี้มันก็เป็นไป อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า เป็นโอปนยิโก น้อมเข้ามาให้จิตของเรามันเห็น ถ้าจิตเราไม่เห็น ถ้าจิตเราไม่เป็นมันก็เป็นไปอย่างนี้แหละ ไม่มีทางที่จะสว่าง

    เรามีลูกมีหลานก็รักลูกรักหลาน รักลูกรักหลานก็ให้วิชาความรู้มันให้คำแนะนำมัน ตอนเช้าเราก็สอนมันตอนเย็นเราก็สอนมัน สอนไปเรื่อยสอนไม่หยุด เพราะรักลูกกลัวมันจะไม่ดีสอนทุกวันสอนทุกเช้าทุกเย็น สอนนานๆ ลูกก็เข้าใจว่าพ่อแม่จู้จี้จุกจิก แต่พ่อแม่เข้าใจว่าสอนลูกให้มันดี เอาละไปคนละแง่แล้วทีนี้ ยิ่งสอนเข้าไปเถอะ ยิ่งไม่ฟังก็ยิ่งสอนมัน อยากจะให้มันดี ลูกก็ยิ่งวุ่นวายยิ่งขัดใจ บางทีหนีจากบ้านไปเลย ไม่ต้องเรียนหนังสือก็ได้ มันบอกผม...พ่อแม่จู้จี้จุกจิกเหลือเกินอยู่ไม่ได้ แต่มาถามพ่อแม่...ฉันอยากจะให้มันดี อยากจะให้มันเป็นบุตรที่ดี ได้การงานที่ดี ได้วิชาที่ดี พ่อแม่คิดไปอย่างหนึ่งไปถามลูกว่ายังไง พ่อแม่จู้จี้จุกจิกมาก มันเห็นไปคนละทางอย่างนี้

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>อย่างนั้นเราจึงหนักใจกับลูกกับหลาน กับพ่อกับแม่ก็เป็นกลุ่มเดียวกันทั้งนั้นแหละ มันเกิดรบกันทางใจ บางคนมีพ่อมีแม่ลูกคนเดียวก็รักคนละอย่าง พ่อรักเพื่อจะให้มันประหยัดให้มันอดทน แม่นั่นรักเพื่อจะป้อนอาหารให้มันสมบูรณ์อย่างนี้มันขอแล้วก็ให้มันไปเถอะ พ่อบอกหยุดๆ จะทำให้เด็กเสีย...อย่า ทำไมเป็นอย่างนั้น นานๆไปลูกไม่เป็นอะไรก็พ่อแม่ทะเลาะกันอีกเสียแล้ว มันชอบจะเป็นอย่างนี้ อันนี้ก็เหมือนกัน เราทำการงานก็ให้รู้จักหน้าที่การงานของเราทุกๆ คน

    แต่ว่าคนส่วนมากให้เหมือนกันทุกคนก็ไม่เหมือนหรอกพระท่านบอกว่าเป็นครูเป็นอาจารย์คน...อย่างอาตมานี่ อย่างโยมนี่ชอบอยาก


    </TD><TD vAlign=top align=right width=253>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>จะเป็นเปรต...เปรตอะไร...เปรตอย่างละเอียด...เปรตยังไง อาตมาจะเล่านิทานให้ฟัง ก็น่าฟังเหมือนกันนะ ไม่อยากจะเล่าหรอกมันยาว แต่ว่าควรจะเล่าก็เล่าให้ฟัง

    จะพูดสั้นๆ ให้มันคุ้มแต่มันทำไม่ได้นะ ท่านบอกว่า...มีคนๆ หนึ่ง เป็นคนที่ใจบุญสุนทร์ทาน ตั้งแต่เป็นฆราวาสอยู่อะไรจะเป็นบุญอะไรจะเป็นกุศลแกพยายามไปทำ แกก็ทำให้มันดีทำให้มันละเอียดทุกอย่างแหละ วางของที่นี่วางไว้ตรงนี้ ตรงนั้น วางไว้ตรงนั้น ถ้าลูกหลานจับมาเคลื่อนก็บ่นเสียแล้ว...ไม่สบายใจนะ ไม้กวาดต้องวางตรงนี้ กาน้ำวางตรงนั้น เมื่อใคร มาทำให้ผิดหวัง...ทุกข์เสียแล้ว

    แต่แกเป็นคนละเอียดดี ใจบุญ เป็นระเบียบ วันหนึ่งก็คิดได้ เห็นศาลาในป่าที่คนไปพักอยู่ใต้ร่มไม้ก็คิดว่าเราจะมาสร้างศาลานี่ก็ดีเหมือนกัน เราจะได้บุญ พ่อค้าพ่อขายไปมาจะได้พักผ่อนหย่อนใจ จะได้มีความสุขสบาย คิดแล้วก็ไปทำๆอย่างดีอยู่ในป่าเพื่อให้คนพัก เมื่อทำเสร็จแล้วต่อไปแกก็ตายวิญญาณไปเกาะอยู่ที่ตรงนั้น คือมันเกาะแต่เมื่อมีชีวิตอยู่น่ะเมื่อสร้างศาลาแล้วแกก็พยายามไปดู มันสกปรกที่ไหนคนมาพักนี่มันเป็นอะไรยังไง ้ถาคนทำไม่ดีแล้วแกก็ใจไม่ค่อยดี ถ้าคนทำดีแกก็ใจสบาย เพราะแกเป็นคนใจบุญสุนทร์ทาน ละเอียดเจ้าระเบียบ

    อีกวันหนึ่งพ่อค้าเกวียนมาหลายร้อยเลยมาพัก เมื่อกินข้าวแล้วก็นอนกันเป็นแถว เจ้าของศาลาเป็นเปรตก็มามองดูมันเป็นระเบียบหรือเปล่า...ย่องมาดู มาดูทางศีรษะมันก็ไม่เสมอกันเสียแล้ว บางคนสูงๆ บางคนต่ำๆ มันยุ่งหัวใจเหลือเกิน จะทำอย่างไรดี ก็มาดึงทางเท้าให้มันลงไปให้ศีรษะมันเสมอกัน ดึงไปสุดแถวพอใจแล้วเรียบร้อย ต่อมาๆดูทางเท้าอีก อ้าวไม่เสมอกันอีกแล้ว ก็ไปดึงศีรษะขึ้นไปอีกให้มันเสมอกัน เมื่อเสมอกันดีแล้ววนไปรอบๆ ไปดูทางศีรษะ อ้าวไม่เสมอกันอีก...เปลี่ยนอีก ยุ่งจนกระทั่งดึก จนทอดอาลัย มันเป็นเพราะอะไรหนอคน เท่านี้แหละ คนเรามันหลง...ไม่หลงมากหรอกหลงเท่านี้เปรตมันหลงแล้ว

    ก็เลยมานั่งคิดดูว่า อ้อ...คนมันสั้นยาวไม่เสมอกัน ความสั้นความยาวของคนไม่เสมอกัน ก็มารู้สึก เอ้อ...วางเสียมันอย่างนี้แหละคนเราเพราะมันสูงมันต่ำไม่เสมอกันอย่างนั้น แกก็เลยวาง...เพราะเห็นอะไร เพราะเห็นว่าคนมันไม่เสมอกัน แต่ก่อนเห็นคนให้มันเสมอกัน คนไม่เสมอกันทำให้เสมอกัน มันเสมอไม่ได้ แกก็เป็นทุกข์มานั่งคิด เออ..ความจริงคนมันเป็นอย่างนั้น คนมันสั้นมันยาวไม่เสมอกัน มันจึงเป็นอย่างนี้ พอเห็นได้เช่นนี้ก็สบายเลยนะ สบายใจ
    พวกเราก็เหมือนกันไปเห็นเหตุมันแล้วก็ไม่เห็นเหตุมันเป็นอย่างนั้น การจะทำให้มันเสมอกันอย่างนั้นหมดปัญญาที่จะต้องคิดแล้วเพราะมันแก้ไขไม่ได้ มันจะไปตัดแข้งตัดขาเขามันก็ไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นอย่างนั้น นี่เรียกว่าความยึดมั่นอุปาทานจะให้มันเหมือนๆกัน พวกเรานี้ก็เช่นกัน ต่างคนต่างมีธุระหน้าที่ก็คงจะไม่เสมอกันหรอกนะ บางคนก็ช้าไปบ้าง บางคนก็เร็วไปบ้างสารพัดอย่าง มันเลยเกิดยุ่งยากเหมือนเปรตนี่ เราก็ชอบอยากจะไปเป็นเปรตอย่างนั้น

    บางทีอาตมาก็เป็นเปรตเหมือนกัน แต่มันรู้สึกง่ายหรอกอ้าว...มันเป็นเปรตแล้วนี่เรา...เลิก...อย่างนี้....ทำไม...เพราะอาศัยลูกศิษย์ลูกหาน่ะ อยากจะให้เขาดีทำเป็นระเบียบเรียบร้อย บางทีก็เป็นทุกข์ ทุกข์แล้วก็รู้ว่าเออ...เราเป็นเปรตแล้วสอนเจ้าของไปเรื่อยๆ อย่างนั้นมันก็ยังเกิดเป็นเปรตอยู่บ่อยๆเหมือนกัน ไม่ค่อยยอมง่ายๆ จะต้องทำจนชำนาญๆไป ให้มันรู้เหตุรู้ผลมันจริงๆ

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=228>[​IMG] </TD><TD class=just>ดังนั้นเราจึงปล่อย คนนี้ทำอย่างนั้นคนนั้นทำอย่างนี้ก็ปล่อยก็วางไปเรื่อยๆ ทำไม...มันไม่เป็นเพราะเขามันเป็นเพราะเราเข้าใจไหม ใจเรามันไม่สะอาด นึกว่ามันเป็นเพราะคนนั้นคนนี้....ไม่ใช่ มันเป็นเพราะเรา คนไม่เสมอกัน เราอยากให้เสมอกัน เราคิดผิดอย่างนี้จะไปแก้ตรงไหน...ก็แก้เราสิ เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นแล้วก็สบาย พวกเราในกลุ่มเดียวกันนี้ก็เหมือนกันอย่างนั้น

    บางทีโดยมากก็พวกนักเรียนในโรงเรียนใหญ่ๆ เอานักเรียนมาให้หลวงพ่อสอน แหม...นักเรียน มันสอนยากเหลือเกินเจ้าค่ะ จะทำยังไง...มันดื้อ มันก็จริงอย่างนั้น อาตมาก็มาสอนนักเรียนสอนไปด่ามันไปเลยรับ...มันรับ สอนเด็กนักเรียนจบแล้วก็วกหันมาหาครูเรา ครูเราเป็นอย่างไรกันเล่ามีกี่คน...มี๕๐ คน ๓๐ คนเป็นอย่างไรสามัคคีกันดีไหม หรือเป็นอย่างไรสบายไหม ไม่ค่อยจะพูดนะ...มันเป็นอย่างนี้ ก็ไปโทษแต่เด็กนักเรียนน่ะ ก็เหมือนกับนั่งรถมอเตอร์ไซด์ล้มลง ก็นึกว่ามอเตอร์ไซด์พาเราล้ม ความเป็นจริงเรานั่นแหละพามาเตอร์ไซด์ลงถนน แต่มันพูดไม่ได้

    อาตมาเลยสรุปว่า ท่านทั้งหลายน่ะคิดๆ ให้มันดีเสียนะ อันนั้นมันเป็นเด็กแต่เราเป็นผู้ใหญ่โดยฐานะแล้วเด็กมันผิดก็ควรให้อภัย...มันไม่รู้เรื่องครูใหญ่ๆ ที่ไปทำผิดไม่ควรให้อภัยเสียแล้ว รู้อยู่ว่าผิดก็ยังไปทำให้มันผิดอยู่นี่น่ะ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่องควรรู้เรื่องเราไม่เข้าไม่รู้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า สอนไม่รู้ท่านสอนให้รู้ได้ คนรู้แล้วไม่ทำตามที่ท่านสอนไม่ได้หลักมันเป็นอย่างนี้ ในกลุ่มเราคงจะมีมากเหมือนกันใช่ไหม คนไม่รู้พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ได้ คนรู้แล้วไม่ทำตามท่านสอนไม่ได้ นี่ท่านจัดเป็นคนประมาท

    ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมพวกเราจึงเดือดร้อน มันเดือดร้อนเพราะอันนี้เองเพราะไม่ทันดูตัวเรา ไปดูแต่อย่างอื่นโน้น ไปทำที่อื่นให้มันสะมันสวยให้มันเบิกมันบาน ตัวเราไม่ขูดไม่เกลาไม่สว่างสักทีนะ มันก็ยุ่งเรื่อยไปแหละโยม

    มองไปทางไหนมันก็มืด เพราะอะไร เพราะตามันเสียมันมืดเหลือเกิน อะไรมันก็มืดไม่รับรู้สักอย่าง สีแดง สีเขียวไม่รับรู้ เลยไม่เห็น ตัด ปฏิเสธเลยว่าแสงไม่มี อย่างนี้มันก็ใช่ของคนตาบอดนะ ความเป็นจริงมันเป็นเพราะตาเราไม่สว่าง สีมันก็ไม่มี ถ้าตาเราสว่างสีมันก็เกิดขึ้นมา ถ้าเรารู้เรื่องอย่างนี้อันนี้เรามองไม่เห็นอย่างนั้น ดังนั้นเราจะไปทำอย่างอื่นเสียโดยมาก มันเป็นทุกข์

    ที่มาประชุมกันวันนี้ไม่เอามากหรอก เอามากมันก็เอาไปอย่างนั้นแหละ อาตมาก็เทศน์ความจริงให้ฟังอย่างนี้ แต่บางทีก็เหนื่อยนะ บางทีข้าราชการบางกลุ่มมาฟังกันอย่างนี้เหมือนเราฟังอยู่นี้ ฟังเสร็จแล้วก็กราบลากลับบ้านก็เดินกันคุยไป แหม...ท่านเทศน์ให้ฟังถูกทุกอย่างนะแต่เราทำไม่ได้ อันนี้อาตมาก็เกือบจะหมดกำลังใจไปเหมือนกัน คล้ายๆเราทำอะไรมามากแล้วโยนลงน้ำเสียหมด

    แต่ว่าอาศัยความอดทน อาศัยว่าคนมันไม่เสมอกัน ถ้าอาตมาจะทำความทุกข์ไว้ในใจก็กลัวมันจะเป็นเปรตก็เลยไม่ให้มันเป็น อดทนไว้ พิจารณาไว้อย่างนี้ อันนี้ก็เหมือนกัน ชีวิตของพวกเราทั้งหลายนี้ควรทำให้มันราบรื่น สิ่งที่มันราบรื่นมีอยู่ถ้าพูดถึงการใช้สอยทุกประการแล้วน่ะ โดยมากคนเราบ่นว่าเงินไม่พอใช้ จะได้เท่าไหร่มันจะพอใช้จะทำอย่างไร จะพูดแก้ปัญหาให้ฟังเสียหน่อยหนึ่ง

    การหาเงินไม่ลำบากเท่าไหร่ แต่การใช้จ่ายนี่สำคัญมากที่สุด นี่หลักของมัน ท่านสอนนะพระพุทธเจ้าท่านสอนหาเงินโดยวิธีนั้นมันเป็นสัมมาอาชีวะ มีความพากเพียรพยายาม หามาแล้วจงเก็บงำให้เป็นประโยชน์ อะไรควรใช้ไม่ควรใช้อย่าให้ฟุ่มเฟือยไปเสีย อย่างนี้ท่านสอนเหลือเกิน แต่เราไม่ค่อยฟัง ถ้าเข้ากลุ่มแล้วหมดเท่าไหร่ก็เท่ากันไปกันอย่างนั้น

    อาหารการอยู่กินน่ะสิ่งที่พอดีๆ... อาตมาไปเห็น "เซ็น" เขาที่เมืองนอก อาตมายังจับใจเลยโยมเขาทำดีกว่าอาตมาอีก เขากินข้าวนะ เขามีถ้วยหนึ่ง ภาชนะหนึ่ง ภาชนะที่สองใส่อาหาร ภาชนะที่สามใส่หวานนะ อาหารเขาก็จับมานี้คลุกเข้ากันแล้วก็ฉัน ฉันหมดแล้ว พอดีแล้ว ก็เอาน้ำเทใส่นั้นมาเทรวมนี่อีก เอาใส่ถ้วยหวาน แล้วมาเทใส่ล้างให้ดีๆ ยกใส่ลงไปหมดเลย แหม...อาตมายินดีเหลือเกิน...ไม่จน เรียบร้อยไม่มีอะไร กระโถนเขาก็ไม่ต้องใช้ ไม่มีบ้วนน้ำลาย ไม่มีอะไรเข้าไปในปากแล้วกินให้หมด แล้วก็นำกระดาษมาเช็ดเรียบร้อยมามองดูอาตมาแล้ว อาตมามันโง่มากเหลือเกินนะ บางทีใส่ครึ่งบาตรเหลือให้สุนัขกินตะพึดตะพือไปเลย มาเห็นความบกพร่องของเรา พระพุทธเจ้าให้เพียรอย่างนั้น ให้พยายาม

    ถ้าเราจะทานจริงๆ มันไม่มากหรอกโยม จานหนึ่งสองจานอย่างนี้ กาแฟสักถ้วยหนึ่งก็พอเท่านั้นแหละ เดี๋ยวนี้เราแก้วหนึ่งยังไม่พอเลย หรือมันพอแต่กินเสียครึ่งหนี่งอีกครึ่งหนึ่งเอาตั้งไว้บนโต๊ะนั้น จานข้าวก็กินเสียครึ่งเดียวแล้วเอาตั้งไว้นั่นแหละ พอเดินออกไป จะให้เขามอง...นี่คือใคร...ดีใจเสียหน่อยหนึ่งนะ จะไปกินหมดก็กลัวมันจะโกโรโกโสเกินไป อย่างนั้นเลยฟุ่มเฟือย ญาติโยมเราทำบุญก็เหมือนกัน อาตมาไปดูแล้ว ฉันบิณฑบาต...อาหารเต็ม ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ โยมทำได้...แต่มันไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร...เอาล่ะวันนี้สมควรแก่เวลาแล้ว

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/prate.html
     
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การสอนธรรมะของครูบาอาจารย์
    บางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนยากที่จะนำไปปฏิบัติ

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG] </TD><TD>ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนามาจากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติจนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร

    อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบบางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็เป็นได้
    ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    • พุทธะ หมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
    • ธรรม หมายถึงตัวความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือ คนเข้าถึงศีลสมาธิ ปัญญา นี่เอง
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวก และถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทาง เขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนามเป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอนเป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์

    ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้าน หรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมก็เหมือนกัน ทุกๆ คนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาด สว่าง สงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไป ครูบาอาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด นั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่ามัวอ่านสรรพคุณยาจนลืมกินยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้งพันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย

    เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยา ซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียจนเพลินแต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียวหรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อย เขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้ง ก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้นท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญาพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สรีรโอสถและธรรมโอสถ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยาปราบโรคทางกาย จะเรียกว่าสรีรโอสถ ก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า ธรรมโอสถ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคน ไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็นไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เข้าถึงพุทธธรรมด้วยใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พิจารณาดูเถิด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจจึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น 3 ชั้น คือ
    1. ชั้นต่ำ ได้แก่ ผู้รู้จักปฏิญาณตนเองเอาพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัย ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงายและเชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่า สาธุชน
    2. ชั้นกลาง หมายถึง ผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่านเหล่านี้เรียกว่าพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
    3. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกาย วาจา ใจ เป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก อยู่เหนือโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่า พระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศีลนั้น คือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอเพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดา เมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรกและตัวเองก็สกปรก ย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้นเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์เพราะกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมอง ขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกสมาธิ ก็คือการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบเพราะตามปกติ จิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด ดังนั้นจิตใจที่มีการกั้นการฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์" ดังนี้เป็นต้น

    เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จิตที่ฝึกดีแล้วมีคุณค่ามากมาย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวก ได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนด ก็เพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น

    จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกอานาปานสติภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า อานาปานสติ-ภาวนา คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ใช้สติกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาดีๆ แต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้ ป่า ป่าช้า ถ้ำ ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญ เหมาะที่สุด เราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่น ก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติไหลไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆ จะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ปัญญาเกิดเมื่อจิตดีแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารที่เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมาก็มีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกขเวทนา เพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆ ก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเกิดปัญญารู้ทันตามความเป็นจริง ที่จะเกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ลมหายใจกับศีล สมาธิ ปัญญา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยากมิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ผลจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 พวก ดังต่อไปนี้
    1. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
    2. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย เป็นผู้มีจิตใจผ่องใส ดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
    3. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหัตตผล ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลก อยู่จบพรหมจรรย์เปรียบเหมือนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวาน มัน และหอม
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงรีบสร้างบารมีด้วยการทำดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดี ทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย

    ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ ขอฝาก ภาษิตว่า "เที่ยวทางเวิ้งเหิงนานมันสิค่ำ เมานำต่าบักหว้ามันสิช้าค่ำทาง"

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/teach_dhamma.html
     
  10. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just>"บุญข้าวสาก"
    ประเพณีของชาวอีสานเมื่อถึงเดือนเก้า ต้องทำบุญข้าวสลากหรือบุญข้าว


    วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ ซึ่งประกอบด้วยเดือน ๑๐ เพ็ญภาษาประเพณีบ้านเราเรียกว่า "บุญข้าวสาก" (สลาก) ศัพท์เดิมมาจากคำว่า ข้าวสลากภัต ตามภาษาบ้านเราเรียกว่า "ข้าวสาก" (ภาษาท้องถิ่นอิสาน) ความเป็นจริง คำว่า "สาก" มันออกมาจาก "สลาก" สลากภัต... ประเพณีบรรพบุรุษของเราทั้งหลายนับถือกันว่าเป็นบุญในกลางพรรษา จะมีการทำบุญกันในช่วงเดือน ๙ ดับเดือนเพ็ญ ๑๐


    </TD><TD vAlign=bottom align=middle width=156>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในสมัยก่อนนั้น วันนี้จะมีเทศน์ตลอดวัน แจกหนังสือเป็นกัณฑ์ให้พระภิกษุสามเณรกันทุกปี ข้าวสลากภัต... เนื่องมาจากญาติโยมทั้งหลายถวายทาน จับสลากกัน คือญาติโยมเขียนชื่อพระภิกษุสามเณรลงในบาตร แล้วให้ญาติโยมจับสลาก ใครจับถูกพระองค์ไหนก็เอาไทยทานไปถวายพระภิกษุองค์นั้น เรียกว่า "ข้าวสลาก" เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลหาเปรตญาติทั้งหลาย ซึ่งเป็นบุพการี ระลึกถึงคุณบิดามารดา ซึ่งเป็นที่นับถือของกุลบุตรลูกกหลาน ตามประเพณีของเราเรียกว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายที่ล่วงลับไปนมนาน และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่ดับขันธ์ไปสู่ปรโลกหน้า และที่ยังมีจิตวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

    ในกลางพรรษาแต่ละคราวทำบุญครั้งหนึ่ง เรียกว่า บุญข้าวสลาก บ้านเราแต่ก่อนห่อข้าวสาก (ประเพณีชาวอิสาน) ห่อข้าวไปวางไว้ตามรอบๆ วัด หรือรอบๆ บ้านเรา เป็นประเพณีของพวกเราทั้งหลายเคยทำกันมาทุกๆ ปีมิได้ขาด แล้วก็เอาเรื่องชาดกต่างๆ มาเทศน์ เกี่ยวกับนิยายของบรรพบุรุษทั้งหลาย เอามาเทศน์สู่กันฟัง ปีหนึ่งๆ จะต้องทำกัน และมีกฎเกณฑ์ว่าวันนี้พวกเราที่เป็นชาวพุทธ เป็นลูกเป็นหลานของบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้วได้พากันมาให้ทานพ่อแม่ โบราณเขาถือว่าวันนี้ยมบาลปล่อยเปรตปล่อยสัตว์นรกมารับของแจกทาน ในศาลาโรงธรรม

    สมัยก่อนไม่เรียกว่า "ศาลาโรงธรรม" แต่เรียกว่า "หอแจก" คือหมายความว่าเป็นสถานที่เราชาวพุทธบริษัทได้มาทำบุญให้ทาน ถวายทาน ในสถานที่นั้นเรียกว่า "หอแจก" เพราะเป็นโรงทานสำหรับแจกอาหารบริโภคขบฉัน เป็นสถานที่แจกทาน ทุกวันนี้เรียกว่า "ศาลาโรงธรรม" เป็นสถานที่ฟังธรรม อธิบายธรรมะ เกี่ยวกับการแนะนำพร่ำสอนกุลบุตรลูกหลาน พวกเราทั้งหลาย เราที่ทำกันมาอย่างนี้เรื่อยๆ ตลอดมา เรียกว่าการทำบุญ รวมเป็นบุญอันเดียวกัน ชื่อของบุญต่างกัน แต่ว่ามารวมเป็นบุญอันเดียวกัน เหมือนกับคนเราถึงว่าชื่อจะแตกต่างกัน ก็ชื่อว่าเป็นคนธรรมดาอันเดียวกัน แต่ชื่ออาจจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นคนเหมือนกัน

    การทำบุญสุนทานเรียกว่า "บุญ" "บุญ" คือความดี สร้างความดี สร้างความดีเมื่อใดนั้นแหละท่านเรียกว่ามันเป็นบุญ เรียกว่าได้บุญ คนเราไม่เข้าใจเรื่องบุญ มาทำบุญก็นึกว่าได้บุญ กลับบ้านก็ไม่เอาบุญไปด้วย พระพุทธองค์ท่านสอนว่าให้เอาบุญกลับไปด้วย จึงได้มาฟังธรรมกัน ฟังธรรมแล้วก็รู้จักผิด รู้จักถูกแล้วก็จำคำนั้นไปปฏิบัติ รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจเรา อยู่ที่บ้าน เรียกว่าเป็นผู้มีบุญ ถ้าใครเป็นผู้มีบุญก็จะมีความสุขความสบายในครอบครัวตลอดถึงหมู่บ้าน ถ้าบ้านไหนมีบุญ ไม่ใช่บุญแบบบุญบ้องไฟ ซึ่งมีแต่การตีรันฟันแทงกัน อันนี้ชื่อว่าบุญแต่ว่าไม่เป็นบุญ

    คำที่ว่าบุญคือความดี พี่น้องทั้งหลายก็ว่ามาเอาบุญ กลับไปบ้านลูกหลานถามว่า "มาแต่ไหนแม่?" ตอบลูกว่า "มาจากการเอาบุญ" แล้วลูกถามต่อไปอีกว่า "บุญอยู่ไหนแม่" ตอบลูกไม่ได้ซะแล้ว ได้แต่ถ้วยเปล่ากลับบ้าน ได้แต่กล่องข้าวเปล่ากลับบ้าน พระฉันหมด เพราะพวกเราไม่รู้จักคำว่าบุญกัน จึงตอบลูกไม่ได้ เลยไม่เคยได้บุญกัน แล้วก็มีคนบางคนเคยบ่นว่าทำบุญไม่เคยเห็นได้บุญอะไร เอาข้าวไปก็หมดข้าว เอาแกงไปก็หมดแกง ไม่ได้บุญอะไร อย่างนี้เรียกว่า คนไม่รู้จักบุญ เลยไม่ได้บุญสักที

    คำว่า "บุญ" ก็ คือความดี ความดีที่เกิดจากการปฏิบัติเอาการละบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา เข้าใจแล้วก็นำไปปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะมาเอาบุญแต่ในวัด ไปบ้านเป็นพ่อบ้านแม่บ้านเป็นลูกเป็นหลานในครอบครัว ก็ทำให้ครอบครัวหมู่บ้านของเราอยู่เย็นเป็นสุข เพราะพูดกันดี ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน มีความถูกต้องสามัคคีกัน แม่บ้านก็ทำหน้าที่ของแม่บ้านให้ถูกต้องพ่อบ้านก็ทำหน้าที่ของพ่อบ้านให้ถูกต้อง ต่างคนต่างก็พยายามสร้างความดีกันทุกคน ความเลวร้ายก็ไม่เกิดขึ้นมา นี้เรียกว่าบุญบุญคือความดี ถ้าไปตั้งอยู่ที่ไหนก็สบาย

    ถ้าใจเราเป็นบุญ ความจริงต้องให้ใจของเรารับเอาบุญ รับเอาความดีไปประพฤติปฏิบัติชำระบาปคือความชั่วทั้งหลายออกจากใจของเรา อย่าให้มีราคะ โทสะ โมหะ ให้อดให้กลั้น ให้หมั่นเพียร ให้ถูกต้อง สามัคคีกลมเกลียวกันทั้งพ่อแม่ลูกหลานบ้านเมือง มันก็จะเห็นบุญได้ ทำไมจะไม่เห็น คือความดีมันตั้งขึ้น มีขึ้นอยู่ที่ไหน บ้านนั้นก็อยู่เย็นเป็นสุข นี้ชื่อว่าเราได้เอาบุญไปด้วย เอาไปประพฤติปฏิบัติถ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติด้วยกายวาจาของเราแล้ว บุญก็ไม่เกิด บุญก็ไม่มี ขึ้นชื่อว่าบุญคือความดี ความถูกต้อง ความดีที่ปราศจากโทษ มีอยู่ในใจของใคร คนนั้นก็เป็นบุญ

    ถ้าใจเป็นบุญ จะไปอยู่ที่ไหนก็มีความดีเกิดขึ้นมา ให้พากันเข้าใจคำว่าบุญ ถ้าคนไม่รู้จักบุญก็ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่รู้ว่าบุญอยู่ที่ไหน เพราะว่าบุญไม่เป็นวัตถุ คือจิตใจเรามันเป็นบุญ มีเมตตาความรักใคร่ หวังให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณา ความสงสาร มนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาร่วมโลกอันเดียวกัน เป็นญาติกัน ญาติคือความแก่ ญาติคือความเจ็บ ญาติคือความตาย

    พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์สอนให้กระทำในปัจจุบัน ให้มีบุญในปัจจุบัน อย่างเราทำบุญอุทิศไปหาพ่อแม่ของเรา ไม่รู้ว่าพ่อแม่เราอยู่ไหน ไม่มีใครพาไปดูได้ เพราะไม่รู้จัก ฉะนั้นพระพุทธองค์ของเราท่านสอนว่า อย่าไปเอาบุญเมื่อตาย... มันไม่รู้จัก ทำบุญแล้วได้รับหรือไม่ได้รับก็ไม่รู้จัก เพราะอะไร? เพราะไม่ได้ทำไว้ในปัจจุบัน ผู้ตายไปแล้วไม่รู้ว่าไปเกิดที่ไหน หรือว่าไม่เกิดก็ไม่รู้จัก ทำบุญกันไปแบบไม่รู้มันก็เกิดความสงสัย

    พระพุทธองค์ของเราสอนว่าให้ทำเมื่อมีชีวิตนี้แหละ เป็นคนใจดี เป็นคนใจงาม เป็นคนใจกว้างขวาง ไม่อิจฉาพยาบาทกัน ให้ความสุขซึ่งกันและกัน ทุกคนถ้าเข้าใจธรรมะอย่างนี้ บุญมันก็เกิดขึ้นมาเป็นบุญ ความดีที่ปราศจากโทษนั้นแหละชื่อว่า "บุญ" ถ้าใครรู้จักความดีที่ปราศจากโทษ คนนั้นก็รู้จักตัวบุญ บุญนั้นมันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา

    ฉะนั้น วันนี้ท่านจึงถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ที่จะปล่อยสัตว์นรกทั้งหลายมารับไทยทานกับลูกหลาน ก็เปรียบประหนึ่งว่าตัวเรานั้นแหละปล่อยตัวเรา คือเรามาวัดวันนี้ เป็นวันบุญข้าวสลาก ก็พยายามมากัน ถึงจะยุ่งยากก็อุตส่าห์มา ปรารภตัวพ่อแม่เราขึ้นเป็นประธานว่าทำบุญอุทิศให้พ่อแม่ เราเกิดมาจากพ่อแม่ทุกคน ถ้าพูดถึงพ่อแม่แล้วก็คิดถึง ก็เลยเป็นเหตุให้มาวัด ถึงจะมีภาระยุ่งยากที่บ้านก็อุตส่าห์มา ลาการ ลางานมา ก็เพื่อทำจิตใจของเราให้สงบระงับ เพื่อให้เป็นบุญเป็นกุศล ให้ใจดี ใจงาม ใจกว้างขวางให้ทำซะในปัจจุบันนี้ดีกว่าวันหน้า ทำวันนี้ดีกว่าวันพรุ่งนี้ ความผิดทั้งหลายที่เกิดมาในเรา เราก็รู้จักในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ ความชั่วทั้งหลายที่มันหมดไป ที่เราจะละก็รู้จักในเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ นี้เรียกว่า "ละบาป บำเพ็ญบุญ"

    พระพุทธศาสนาสอนให้พวกเราทั้งหลายกระทำกันอย่างนี้อยู่กันฉันพี่น้องไม่ให้เป็นอื่น ให้ความสุขคนอื่นก็คือให้ความสุขเราผู้อื่นได้รับความสุขก็เหมือนเราได้ความสุข ในชีวิตหนึ่งเกิดมาอย่างมากก็ ๑๐๐ ปี เป็นอายุขัยของมนุษย์ แต่ไม่ค่อยถึงหรอกในเมื่อเราเกิดมาเราไม่ได้เอาอะไรมา ไม่ได้มาเอาเรือกสวนไร่นา แต่สักว่าเราเกิดมาก็ต้องทำกิน มีถิ่นฐานบ้านเรือน มีไร่นาทำไปได้อาศัยอยู่กินไปเพื่อเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ เพื่อได้ทำบุญ เพราะว่าโลกที่เราอยู่อาศัยนี้มันไม่ใช่บ้านเรา ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่แท้จริง ถึงจะเป็นของเราก็ไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริง เป็นตัวเราก็ไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริง

    อันนี้จะเห็นได้ง่ายๆ ว่า เราเคยมีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย มีพี่น้องมันไม่ยั่งยืน เดี๋ยวก็จากหายไป ไม่รู้ว่าไปไหน ผลที่สุดก็เหลือแต่ผู้เกิดภายหลัง เหมือนกันกับผลไม้เป็นดอกแล้วก็เป็นผลเป็นผลเล็กๆแล้วก็ห่าม ห่ามแล้วก็เละ แล้วก็ร่วงหล่นไป มันเป็นไปในทำนองนี้ คนเราก็ไม่แตกต่างจากผลไม้ แต่ว่าเราไม่ค่อยรู้จัก เมื่อเกิดมาแล้วก็ไปยึดมั่นถือมั่นว่าอันนี้เป็นตัวเราอย่างแน่นอนถึงอย่างไรก็อยู่ไม่ได้ในโลกนี้ จำเป็นต้องลาโลกนี้ไปเบื้องหน้า คนเราเกิดมาจึงทุกข์มาก ทุกข์เพราะว่าไปหมายมั่นของที่ไม่ใช่ของตนว่าเป็นของตน เมื่อเกิดมาแล้วไม่อยากแก่สักคน ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากไปทางไหน แต่ก็ไม่ได้ตามปรารถนา เราจำเป็นก็ต้องไป จำเป็นต้องหนี ถึงแม้จะเรียกร้องให้อยู่ ไม่อยากหนีก็ต้องหนี ผู้ไม่อยากหนีร้องไห้อยากอยู่ก็ไม่ได้อยู่ เป็นเรื่องจำเป็นของมันอย่างนี้

    ฉะนั้นพระบรมศาสดาของเราท่านจึงบอกว่า "อย่าประมาท" เป็นหนุ่มเป็นสาวบางคนก็หลง ไม่รู้ว่ามาจากไหน จะไปไหนไม่รู้จักผลที่สุดพออายุแก่หน่อยก็พอรู้จักหรอก แต่ช่วงที่อยู่ในวัยหนุ่มๆ นี้ก็เพลิดเพลินมาก พอแก่มาสักหน่อยฟันมันโยก ฟันมันหลุด เอ้า!...ลองดูทีนี้ เดินไปตามทางเด็กมันบอกร้องเพลงให้มันฟัง ก็ไม่อยากร้องหรอก คือมันไม่เพลิดเพลินเหมือนแต่ก่อน มันไม่อยากจะเพลิดเพลิน เพราะมันไม่ใช่ที่อยู่ของเรา มันเสื่อมไปนี้แหละมันไม่ใช่ของเราแท้ๆ ถ้าไม่ใช่ของเราจะทำอย่างไร?

    พระพุทธองค์ท่านว่าให้สร้างความดี สิ่งที่นำพาไปสู่ที่ดีนั้นแหละ ถ้าพูดถึงธรรมะอันสูงนั้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าให้พ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่พวกเราก็ไม่อยากจะไปกัน... ไปพระนิพพาน...ว่ามันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็ไม่อยากไป กลัวจะไม่เห็นหน้าเพื่อนฝูง กลัวจะไม่เห็นหน้าลูกหลาน เรามันติดอยู่อย่างนี้ เพราะไม่ได้ฟังธรรมะอันแท้จริง เห็นอะไรก็ห่วงใยอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา ใจเราเศร้าหมองไม่ได้ผ่องใส ไม่ได้สะอาด มันขุ่นมัว ใจขุ่นมัวเมื่อใดการพูดเราก็เป็นอกุศลกรรม การกระทำของเราก็เป็นบาป ไม่ผ่องใส เราไม่ต้องดูจากที่อื่น ดูที่ตัวของเรานี้แหละ เวลาเราโกรธทำไมมันถึงพูดไม่เพราะ ไม่น่าฟัง กรรมนี้แหละมันบังคับให้ทำความชั่วอยู่เรื่อยไป

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าของเราท่านจึงสอน สอนสิ่งที่เราเป็นอยู่นี้แหละให้รู้จักเพราะเราไม่ค่อยรู้จัก สมัยก่อนพอถึงบุญข้าวสลากบุญข้าวประดับดิน ก็เอาหนังสือชาดกมาอ่าน เทศน์ไปโน้น เทศน์ไปเรื่องของคนอื่น ไม่เทศน์เรื่องของพวกเราสักที มันก็เลยไม่รู้เรื่องของตัวเอง

    บุญข้าวสลากนี้ตามประวัติกาลมันเกิดมาจากบุคคล มันเกิดมาจากเรื่องของเมียน้อยกับเมียหลวง มีคนๆ หนึ่ง มีสามีแล้วแต่ไม่มีลูกด้วยกัน มีแต่สองสามีภรรยาอยู่ด้วยกัน ก็กลัวว่าจะไม่มีผู้สืบวงศ์ตระกูล อยากจะได้ลูกเพื่อไว้รับมรดก เมียหลวงก็เลยไปหาเมียน้อยมาให้ผัว เพราะว่าอยากได้ลูกเพื่อจะได้สืบวงศ์ตระกูล พอได้เมียน้อยมาอยู่ด้วย เมียน้อยก็ตั้งท้อง ฝ่ายเมียหลวงกลัวว่าเมียน้อยจะได้รับมรดกคนเดียว จึงคิดจะทำลายลูกของเมียน้อย คือหายามาทำลายครรภ์ของเมียน้อยให้ตกไป (แท้งลูก) ทำอยู่หลายครั้ง

    ครั้งสุดท้ายได้เอายาพิษให้เมียน้อยกินเป็นเหตุให้เมียน้อยตายทั้งลูกทั้งแม่ ก่อนที่เมียน้อยจะตายก็รู้ว่าเมียหลวงเป็นผู้ทำลายตัวและลูก จึงผูกพยาบาทอาฆาตไว้ว่า เกิดชาติไหนๆ ก็ขอให้ได้ฆ่าลูกของเมียหลวง และตัวของเมียหลวง เพื่อเป็นการแก้แค้นด้วย จึงเป็นเหตุให้เกิดการจองเวรกันขึ้น ระหว่างเมียน้อยกับเมียหลวง

    พอเกิดชาติใหม่ เมียหลวงเกิดเป็นไก่ เมียน้อยเกิดเป็นแมว แมวก็ไปกินไข่ของไก่ และกินตัวไก่ด้วย ตายจากชาตินั้นคนหนึ่งเกิดเป็นเนื้อ คนหนึ่งเกิดเป็นเสือ ผูกเวรกันไปเรื่อยๆ ตามทำลายกันอยู่ทุกๆ ชาติ ทุกๆ ภพ ครั้งสุดท้ายคนหนึ่งเกิดมาเป็นคน คนหนึ่งเกิดมาเป็นยักษ์ ลูกของคนเกิดมานางยักษ์ก็จับไปกิน หลายต่อหลายครั้ง พอดีตั้งครรภ์อีกครั้งหนึ่งก็คิดว่าจะไปคลอดลูกที่บ้านแม่ของตน ฝ่ายนางยักษ์พอทราบข่าวว่านางมนุษย์จะไปคลอดลูกที่บ้านแม่ก็เลยตามไป

    นางมนุษย์ยังไม่ถึงบ้านแม่ก็คลอดลูกในระหว่างทาง นางจึงอุ้มลูกไปที่สระน้ำ ขณะที่นางอุ้มลูกอยู่ ฝ่ายสามีก็ลงไปอาบน้ำในสระ นางยักษ์ ก็มาถึงพอดี ก็ตรงเข้าไปจะแย่งลูกของนางมนุษย์คนนั้น นางมนุษย์พอเห็นนางยักษ์มาแย่งลูกของตัวก็วิ่งหนี นางยักษ์ก็วิ่งตาม เป็นเหตุบังเอิญอย่างไรไม่ทราบ นางมนุษย์ก็วิ่งเข้าไปในวัดเชตวัน อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ขณะนั้นพระพุทธองค์กำลังแสดงพระธรรมให้พุทธบริษัทฟังอยู่ นางมนุษย์พอวิ่งเข้าไปถึงก็ เอาลูกไปวางไว้ตรงหน้าพระพุทธเจ้านางยักษ์ก็วิ่งตามไป พระองค์ก็บอกให้หยุด

    พระพุทธองค์ตรัสว่า เธอทั้งสองคนในอดีตกาลเคยจองเวรกันมาหลายภพหลายชาติแล้ว เวรจะไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรจะระงับได้ด้วยการไม่จองเวรกัน นางยักษ์พอได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าก็เกิดความกลัว เกิดความละอายต่อบาป ก็รับศีลห้าจากพระพุทธองค์ว่า จะไม่เบียดเบียนกันต่อไปอีก พระพุทธองค์ก็เลยให้นางมนุษย์เอานางยักษ์ไปเลี้ยงดูด้วย

    นางยักษ์มีความรู้พิเศษอย่างหนึ่ง คือสามารถรู้ว่าปีไหนน้ำมาก ปีไหนน้ำน้อย นางมนุษย์ก็ได้อาศัยนางยักษ์จึงรู้ว่าปีไหนน้ำมากก็ทำนาในที่ดอน ปีไหนน้ำน้อยก็ทำนาในที่ลุ่ม นางมนุษย์ทำนาไม่ผิดหวัง น้ำน้อยก็ได้ผล น้ำมากก็ได้ผล พวกชาวบ้านสงสัยจึงถาม ก็ทราบเรื่องราวทั้งหมด ที่ทำนาได้ผลดีก็เพราะนางยักษ์เป็นผู้บอกว่าฝนจะมากหรือจะน้อยประการใด ถ้าพวกชาวบ้านทั้งหลายอยากอยู่กินอุดมสมบูรณ์ ก็มาช่วยเลี้ยงดูนางยักษ์นี้ด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้มีการบนบานกันมาตามบ้านเล็กเมืองน้อย เช่นมีปู่ตา ศาลตาแฮกขึ้นมา พอถึงฤดูทำนาก็มีการเลี้ยงดูปู่ตา เลี้ยงตาแฮก เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากเรื่องเมียน้อยกับเมียหลวงนี้เอง

    พอถึงกาลของงานบุญข้าวสลากภัต ก็เอามาให้นางยักษ์กินตามสบาย อุดมสมบูรณ์ ฟ้าฝนก็ตกถูกต้องตามฤดูกาล ได้ทำไร่ทำนาไม่ผิดหวัง การทำอย่างนี้จนมาถึงเราทุกวันนี้ จึงเป็นเหตุให้มีปู่ตาย่าแฮก ทุกอย่างต้องมีการบวงสรวง เป็นประเพณีเนื่องมาจากเรื่องของนางยักษ์นี้เอง

    อันนี้เป็นนิทาน ท่านยกตัวอย่างให้เราได้เห็น พระพุทธองค์ท่านไม่สอนไปอย่างนั้น ท่านสอนว่า ให้พวกเรามีศีลธรรมให้มีธรรมะอยู่ ในใจของเราให้มี "ขันติ" ความอดทน ให้มี "วิริยะ" ความเพียรให้ มี "สมาธิ" ความตั้งใจมั่น ชำระความโลภ ความโกรธ ความหลงให้มันหายคลายจากไป ให้อ่านเข้ามาที่ตัวเรา อย่าอ่านข้างนอก

    <TABLE><TBODY><TR><TD width=162>[​IMG] </TD><TD class=just>พระพุทธองค์ท่านสอนว่าให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา สอนศีลสอนสมาธิให้ เป็นหลักของพุทธศาสนา ศีลคืออะไร? คือการไม่เบียดเบียนกัน ไม่ลักขโมยของกันและกัน ไม่อิจฉาพยาบาทกัน ความเดือดร้อนก็ไม่เกิดขึ้นมา ต่างคนต่างก็มีศีล มีกาย วาจา ใจ ข้อประพฤติปฏิบัติไม่ต้องไปเอามาจากที่อื่น ให้เอาจากตัวเรา "สมาธิ" คือความตั้งใจมั่น ไม่หวั่นไหวในทางที่ถูก มีหน้าที่การงานที่ถูกต้อง พระองค์ให้เราขยันหมั่นเพียรด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา รู้จักหน้าที่การงานของเราทุกประเภท ให้หมั่นขยัน อย่าเป็นคนหละหลวม นี้ก็เป็นสมาธิอันหนึ่ง

    "ปัญญา" ให้เป็นคนฉลาดเฉลียว สามารถสอนตัวเราให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้ เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ให้พระท่านฝึกทุกวันนี้ ฝึกญาติโยมฝึกลูกหลานให้ทำวัตรสวดมนต์ รู้จักกราบรู้จักไหว้ รู้จักนั่งสมาธิ ฝึกหัดให้มีศีลธรรม เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย เป็นพ่อเป็นแม่เขาก็ให้รู้จักสอนลูกหลาน ลูกหลานก็ให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย อยู่ในครอบครัวก็อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งเถียงกัน ให้ใจดี ใจงาม ให้อดทน แต่โดยมากไม่เป็นอย่างนี้ บางทีสามีภรรยาทะเลาะกันทุกวันก็ได้ ร้องไห้ทุกวันก็มี แต่หนีไม่ได้ มันทุกข์ยากลำบาก อยู่ด้วยกันอย่างไม่มีศีลธรรมก็เป็นอย่างนี้ มันไม่สบาย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    งามเบื้องต้นคือศีล งามท่ามกลางคือสมาธิ งามเบื้องปลายคือปัญญา คนงามถ้ากายงามมันก็งาม กายงามคือการไม่กระทำบาปทางกาย วาจาพูดไม่ตลบตะแลง พูดคำซื่อสัตย์สุจริต ใจก็ให้เป็นใจดี ใจงาม กายก็งาม วาจาก็งาม ถึงจะเอาสีทาปากแดงถ้าใจไม่ดีมันก็ไม่งามหรอก ทาปากแดง ทำเล็บแดง มันงามแต่ข้างนอก ส่วนใจเป็นเปรตเป็นผี มันก็งามไม่ได้ อันนั้นมันข้างนอกพระพุทธองค์ท่านให้ "โอปนยิโก...น้อมเข้ามา" น้อมเข้ามาใส่ใจ รู้เฉพาะตัวเรา เรื่องของเราตัดสินเอาเองก็ได้ เราทำชั่วเราก็รู้จัก เราทำดีเราก็รู้จัก เราทำผิดเราก็รู้จัก เราทำถูกเราก็รู้จัก มันรู้จักที่เราให้ฝึกเราไม่ให้ฝึกอย่างอื่น สามารถเข้าสู่ศีลธรรมได้

    พระพุทธองค์ท่านว่าให้นับถือคุณพระศรีรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นสรณะที่พึ่งของพวกเรา อย่าไปพึ่งอย่างอื่น ถ้าไปถืออย่างอื่นไม่มีอะไร ไม่เป็นแก่นเป็นสารบางคนถ้าทุกข์มาถึงก็ไปไหว้ต้นไม้ซะ ไปไหว้ภูเขา จอมปลวก สิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งไม่ได้ เป็นการพึ่งสิ่งที่ผิด ไม่ดี ไม่ต้องพูดอื่นไกล ถ้าคนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ก็ไม่ตกนรกทุกวันนี้แล้วแต่ใครจะถือ แล้วแต่ใครจะประพฤติปฏิบัติ

    ถ้าเจ็บป่วยมาก็ไปโทษแต่ข้างนอก ถ้าเจ็บป่วยมาก็ให้กินหยูกกินยา แต่ถ้าเราไปหาคนที่ถือผี... ก็มีผี ไปหาพวกไม่ถือผี... ก็ไม่มีผี อย่างพวกฝรั่งเขาไม่รู้จักผีเลย ไม่รู้ว่าผีเป็นอย่างไร นั่งอยู่กับคนตายสองต่อสองตลอดคืนเขาไม่กลัว พวกเราพ่อตายก็กลัวอันนี้ไม่ถูก เป็นพุทธบริษัทยังไม่รอบคอบอะไร

    พระพุทธองค์ท่านให้กลัวในสิ่งที่ควรกลัว ไม่ให้กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว ให้พากันเข้าสู่ศีลธรรม ให้พากันเข้าถึงพระรัตนตรัยมันก็ดีขึ้นเท่านั้นแหละ มันก็ไม่เป็นเปรตเป็นผีเท่านั้นแหละ เลิกด่าทอกัน ให้มีศีลมีธรรม

    ปีนี้อาตมาสอนคนในฤดูพรรษามาให้ปฏิบัติเอาดี ให้ว่า "ดี" ไว้ ถ้ามันโกรธมาจะด่าคนก็ว่า "ดี" ไม่ให้ว่าอย่างอื่น ให้ว่าดี มันก็ดีเท่านั้นแหละ...ลองดู ส่วนมากไม่ฝึกตัวเองสักที เวลาโกรธขึ้นมาก็พูดแต่คำเจ็บๆ แสบๆ อย่างนี้ไม่ดี เรานี้แหละเป็นพ่อเป็นแม่แทนพ่อแม่ของเราที่ล่วงลับไปแล้ว ให้พากันสร้างสมอบรมต่อๆ ไป ให้พากันมีศีลมีธรรม

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/boon_kao_salag.html
     
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>"บ้านที่แท้จริง"
    บ้านที่จริงของเราอยู่ที่ไหน บ้านที่จริงของเราคือ ที่ว่ามีความรู้สึกที่มันสงบ คือความสงบนั่นแหละเป็นบ้านจริงๆ ของเรา


    บัดนี้ขอให้โยมจงตั้งใจฟังธรรมะ ซึ่งเป็นโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคารพต่อไป

    ให้โยมตั้งใจว่า ในเวลานี้ ปัจจุบันนี้ ซึ่งอาตมาจะได้ให้ธรรมะให้โยมตั้งใจเสมือนว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้นตั้งอยู่ในที่เฉพาะหน้าของโยม จงตั้งใจให้ดี กำหนดจิตให้เป็นหนึ่ง หลับตาให้สบาย น้อมเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาไวที่ใจ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    บัดนี้ อาตมาไม่มีอะไรฝากโยมด้วยสิ่งของที่จะเป็นแก่น เป็นสาร นอกจากธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น และเป็นของฝากที่เป็นชิ้นสุดท้าย ขอให้โยมจงตั้งใจรับ

    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ให้โยมทำความเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้น ถึงแม้จะเป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีมาก ก็จะหลีกหนีความทุพพลภาพไปไม่ได้ อายุถึงวัยนี้แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราท่านก็ปลง ปลงอายุสังขาร คำว่าปลงนี้ก็คือว่าให้ปล่อยวาง อย่าไปหอบไว้ อย่าไปหิ้วไว้ อย่าไปแบกไว้ ให้โยมยอมรับเสียว่า สังขารร่างกายนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นอย่างไรๆ ก็ตามมันเถอะ เราก็ได้อาศัยสกลร่างกายนี้มาตั้งแต่กำเนิดขึ้นมา จนถึงวัยเฒ่าแก่ป่านนี้ ก็พอแล้ว

    ก็เปรียบประหนึ่งว่า เครื่องใช้ไม้สอยของเราต่างๆ ที่อยู่ในบ้านซึ่งเราเก็บกำไว้นานแล้ว เช่นถ้วยโถโอจานบ้านช่องของเรานี้ เบื้องแรกมันก็สดใสใหม่สะอาดดี เมื่อเราใช้มันมาจนบัดนี้มันก็ทรุดโทรมไป บางวัตถุก็แตกไปบ้าง หายไปบ้าง ชิ้นที่มันเหลืออยู่นี้ก็แปรไปเปลี่ยนไป ไม่คงที มันก็เป็นอย่างนั้น

    ถึงแม้ว่า อวัยวะร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกันตั้งแต่เริ่มเกิดมาเป็นเด็กเป็นหนุ่มมันก็แปรมา เปลี่ยนมาเรื่อยๆ มาจนถึงบัดนี้แล้วก็เรียกว่า "แก่" นี้คือให้เรายอมรับเสีย พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า สังขารนี้ไม่ใช่ตัวของเราทั้งในตัวเรานี้ก็ดี กายเรานี้ก็ดี นอกกายนี้ก็ดี มันเปลี่ยนไปอยู่อย่างนั้น ให้โยมพินิจพิจารณาดูให้มันชัดเจน

    [​IMG]สัจจธรรมของชีวิต
    อันนี้แหละ ทั้งก้อนที่เรานั่งอยู่นี่ ที่เรานอนอยู่นี้ที่มันกำลังทรุดโทรมอยู่นี้ นี้แหละมันคือสัจจธรรม สัจจธรรมคือความจริง ความจริงอันนี้เป็นสัจจธรรม เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แน่นอน เพราะฉะนั้นท่านจึงให้มองมัน ให้พิจารณามัน ให้ยอมรับมันเสีย มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะยอมรับ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นอย่างไร อะไร ก็ตามทีเถอะ พระพุทธองค์ท่านก็สอนว่า เมื่อเราถูกคุมขังในตะรางก็ดี ก็ให้ถูกคุมขังเฉพาะกายอันนี้เท่านั้น แต่ใจอย่าให้ถูกขัง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    เมื่อร่างกายมันทรุดโทรมไปตามวัย โยมก็ยอมรับเสียให้มันทรุดไป ให้มันโทรมไปเฉพาะร่างกายเท่านั้น เรื่องจิตใจนั้นเป็นคนละอย่างกันก็ทำจิตให้มีกำลัง ให้มีพลัง เพราะเราเข้าไปเห็นธรรมว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็เป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านก็สอนว่า ร่างกายจิตใจนี้มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น คือ เริ่มเกิดขึ้นมาแล้วก็แก่ แก่มาแล้วก็เจ็บ เจ็บมาแล้วก็ตาย อันนี้เป็นความจริงเหลือเกิน ซึ่งคุณยายก็พบอยู่ในปัจจุบันนี้ มันก็เป็นสัจจธรรมอยู่แล้วก็มองดูมันด้วยปัญญา ให้เห็นมันเสียเท่านั้น

    ถึงแม้ว่าไฟมันจะมาไหม้บ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าน้ำมันจะท่วมบ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าภัยอะไรต่างๆ มันจะมาเป็นอันตรายต่อบ้านต่อเรือนของเราก็ตาม ก็ให้มันเป็นเฉพาะบ้านเฉพาะเรือน ถ้าไฟมันไหม้ก็อย่าให้มันไหม้หัวใจเรา ถ้าน้ำมันท่วมก็อย่าให้มันท่วมหัวใจเรา ให้มันท่วมแต่บ้าน ให้มันไหม้แต่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกกายของเรา ส่วนจิตใจของเรานั้น ให้มันมีการปล่อยวางเพราะในเวลานี้มันก็สมควรแล้ว.มันสมควรที่จะปล่อยแล้ว

    ที่โยมเกิดมานี้ก็นานแล้วใช่ไหม ตาก็ได้ดูรูปสีแสงต่างๆ ตลอดหมดแล้วทิ้งอวัยวะทุกชิ้นทุกส่วน หูก็ได้ฟังเสียงอะไรทุกๆ อย่างหมดแล้ว อะไรทุกอย่างก็ได้รับมามากๆ ทั้งนั้นแหละ และมันก็เท่านั้นแหละจะรับประทานอาหารที่อร่อย อร่อยมันก็เท่านั้น รับประทานสิ่งที่ไม่อร่อยมันก็เท่านั้น ตาจะดูรูปสวย สวยมันก็เท่านั้น หรือดูรูปที่ไม่สวยมันก็เท่านั้น หูได้ฟังเสียงที่ไพเราะไพเราะจับอกจับใจมันก็เท่านั้น จะได้ฟังเสียงที่ไม่ไพเราะมันก็เท่านั้นแหละ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width=160>[​IMG] </TD><TD class=just>เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่า ทั้งคนร่ำรวยทั้งคนยากจน ทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก ตลอดทั้งเดียรัจฉานทั้งหมดด้วย ซึ่งเกิดขึ้นมาในสกลโลกอันนี้มันไม่มีอะไรจะยั่งยืน จะต้องผลัดไป เปลี่ยนไปตามสภาวะของมัน

    อันนี้เป็นสภาวะความจริงที่เราจะแก้ไขอย่างไรๆ เพื่อจะให้มันไม่เป็นอย่างนั้นไม่ได้ แต่ก็มีทางแก้ไขอยู่ว่าพระพุทธองค์ท่านให้พิจารณาสังขาร ร่างกายนี้ที่เดียวเท่านั้น ให้พิจารณาจิตใจนี้ด้วย ว่าทั้งสองอย่างนี้มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา มันเป็นของสมมติ เช่นว่า บ้านของคุณยายนี้ก็เป็นของสมมติว่าเป็นของคุณยายเท่านั้น จะเอาติดตามไปที่ไหนก็ไม่ได้ สมบัติพัสถาน มันสมมติว่าเป็นของคุณยายเท่านั้น มันก็ตั้งอยู่เท่านั้น จะเอาไปที่ไหนก็ไม่ได้ ลูกหลานบุตรธิดาทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาสมมติว่าเป็นลูกเป็นหลานของคุณยาย มันก็เรื่องสมมติทั้งนั้น

    มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ใช่ว่าเป็นเรา คนเดียว มันเป็นกันทั้งโลก ถึงแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์สาวกทั้งปวงท่านก็เป็นอย่างนี้ แต่ท่านแปลกกว่าพวกเราทั้งหลาย แปลกอย่างไร คือท่านยอมรับ ยอมรับว่า สกลร่างกายนี้มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มันจะต้องเป็นอย่างนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]รู้จักปล่อยแล้วก็วาง
    ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้พิจารณาดูสกลร่างกายตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาบนศีรษะ ตั้งแต่ศีรษะลงไปหาปลายเท้า ดูซิว่ามันมีอะไรบ้าง อะไรเป็นของสะอาดไหม เป็นของเป็นแก่นสารไหม นับว่าแต่มันจะทรุดเรื่อยมาอย่างนี้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เห็นสังขารว่าของไม่ใช่ของเรา มันก็เป็นอย่างนี้ ของที่ไม่ใช่ของเรามันก็เป็นอย่างนี้ จะให้มันเป็นอย่างไรล่ะ อันนี้มันถูกแล้วถ้าโยมมีความทุกข์ โยมก็คิดผิดเท่านั้นแหละ ไปเห็นสิ่งที่มันถูกอยู่โดยความเห็นผิดมันก็ขวางใจเท่านั้น

    เหมือนน้ำในแม่น้ำที่มันไหลลงไปในทางหลุ่ม มันก็ไหลไปตามสภาพอย่างนั้น อย่างแม่น้ำอยุธยา แม่น้ำมูลแม่น้ำอะไรๆ ก็ตามเถอะ มันก็ต้องมีการไหลวนไปทางใต้ทั้งนั้นแหละ มันไม่ไหลขึ้นไปทางเหนือหรอก ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น สมมติว่าบุรุษคนหนึ่งไปยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแล้วก็มองดูกระแสของแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวไปทางใต้ แต่บุรุษนั้นมีความคิดผิด อยากจะให้น้ำนั้นมันไหลขึ้นไปทางเหนือ อย่างนี้เป็นต้นเขาก็เป็นทุกข์ เขาคนนั้นจะไม่มีความสงบเลย ถึงแม้จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน เขาก็ไม่มีความสงบ เพราะอะไรล่ะ เพราะบุรุษนั้นคิดผิด คิดทวนกระแสน้ำ

    คิดอยากจะไปให้น้ำไหลขึ้นไปทางเหนือ ความจริงนั้นน้ำมันจะไหลขึ้นไปทางเหนือนั้นไม่ได้ มันจะต้องไหลไปตามกระแสของมัน เป็นธรรมดาอยู่อย่างนั้นเมื่อมันเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นก็ไม่สบายใจ ทำไมถึงไม่สบายใจ ก็เพราะบุรุษนั้นคิดไม่ถูก พิจารณาไม่ถูก ดำริไม่ถูก เพราะเขามีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วก็ต้องเห็นว่า น้ำก็ต้องไหลไปตามกระแสของมัน คือไหลไปทางใต้ ที่จะให้ไหลไปทางเหนือนั้นมันเป็นความเห็นผิด มันกมีความกระทบกระทั่งตะขิดตะขวงใจอยู่อย่างนั้น จนกว่าบุรุษคนนั้นจะมาพิจารณาคิดกลับเห็นว่า น้ำธรรมดามันก็ต้องไหลไปทางใต้อย่างนี้ เป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนี้

    อันนี้เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเราจะเอามาพิจารณาว่า เออ....อันนี้มันก็เป็นความจริงอย่างนั้น แม่น้ำที่มันไหลไปทิศใต้มันก็เหมือนชีวิตร่างกายของยายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เมื่อมันหนุ่มแล้วมันก็แก่ เมื่อมันแก่แล้วก็วนไปตามเรื่องของมัน อันนี้เป็นสัจจธรรม อย่าไปคิดว่าไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าไปคิดอย่างนั้น เรื่องอันนี้ไม่ใช่ว่าเราจะมีอำนาจไปแก้ไขมัน พระพุทธเจ้าท่านให้มองตามรูปมัน มองตามเรื่องของมัน เห็นตามสภาพของมันเสียว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น เราก็ปล่อยมันเสียเราก็วางมันเสีย เอาความรู้สึกนี้เองเป็นที่พึ่ง ให้ภาวนาว่าพุทโธ พุทโธ ถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยก็ตามเถอะ

    ให้โยมทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ หายใจออกยาวๆ สูดลมเข้ามายาวๆ หายใจออกไปยาวๆ แล้วก็ตั้งจิตขึ้นใหม่ แล้วก็กำหนดลมว่า พุทโธ พุทโธ โดยปกติถึงแม้ว่ามันจะเหนื่อยมากเท่าไร ก็ยิ่งกำหนดลมเข้าให้ละเอียด ละเอียดเข้าไปมากเท่านั้นทุกครั้ง เพื่ออะไรเพื่อจะต่อสู้กับเวทนาเมื่อมันกำลังเหน็ดเหนื่อยก็ให้โยมหยุดความคิดทั้งหลาย ให้โยมหยุดคิดอะไรๆ ทั้งปวงเสียให้เอาจิตมารวมอยู่ที่จิต แล้วเอาจิตให้รู้จักลมภาวนาพุทโธ พุทโธ ปล่อยวางข้างนอกให้หมด อย่าไปเกาะกับลูก อย่าไปเกาะกับหลาน อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้นให้ปล่อย ให้เป็นอันเดียว รวมจิตลงที่อันเดียว ดูลม ให้กำหนดลมเอาจิตนั่นแหละไปรวมอยู่ที่ลม คือให้รู้ที่ลมในเวลานั้น ไม่ต้องไปรู้อะไรมากมายกำหนดให้จิตมันน้อยไปๆ ละเอียดไปๆ เรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีความรู้สึกน้อยๆ มันจะมีความตื่นอยู่ในใจมากที่สุด

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>อันนี้เวทนาที่มันเกิดขึ้น มันจะค่อยๆ ระงับไปๆ ผลที่สุดเราก็ดูลมเหมือนกับญาติมาเยี่ยมเรา เราก็จะตามไปส่งญาติขึ้นรถลงเรือ เราก็ตามไปถึงท่าเรือ ไปถึงรถเราก็ส่งญาติเราขึ้นรถ เราก็ส่งญาติเราลงเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือเครื่องรถไปลิ่วเท่านั้นแหละ เราก็มองไปเถอะเมื่อญาติเราไปแล้ว เราก็กลับบ้านเรา เราดูลมก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อลมมันหยาบเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดเราก็รู้จัก เมื่อมันละเอียดไปเรื่อยๆ เราก็มองไปๆ ตามไปน้อมไปๆ ทำจิตให้มันตื่นขึ้น ทำลมให้มันละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ผลที่สุดแล้วลมหายใจมันน้อยลงๆ จนกว่าลมหายใจไม่มี มันก็จะมีแต่ความรู้สึกเท่านั้นตื่นอยู่

    นั้นก็เรียกว่า เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว เรามีความรู้ตื่นอยู่ ที่เรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเป็นเช่นนั้นเราได้อยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว เราได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว เราพบความรู้แล้ว เราพบความสว่างแล้ว มันไม่ส่งจิตใจไปทางอื่นแล้ว มันจะรวมอยู่ที่นั่น


    </TD><TD vAlign=top align=right width=232>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นั้นเรียกว่า เข้าถึงพระพุทธเจ้าของเรา ถึงแม้ว่าท่านปรินิพพานไปแล้ว นั่นเรียกว่าพระพุทธรูป เป็นรูปกาย มีรูปแต่พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ความรู้อันสว่างไสว เบิกบานอย่างนี้ เมื่อพบเช่นนี้เราก็มีอันเดียวเท่านั้น ให้มารวมที่นี้ ฉะนั้นให้วาง วาางทั้งหมดเหลือแต่ความรู้อันเดียว แต่อย่าไปหลงนะ อย่าให้ลืม ถ้าเกิดนิมิตเป็นรูปเป็นเสียงอะไรมา ก็ให้ปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องเอาอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่ต้องเอาอะไร เอาแต่ความรู้สึกอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ห่วงข้างหน้า ไม่ห่วงข้างหลัง หยุดอยู่กับที่ จนกว่าว่าเดินไปก็ไม่ใช่ ถอยกลับก็ไม่ใช่ หยุดอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีที่ยึดไม่มีที่หมาย เพราะอะไรเพราะว่าไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเราและไม่มีของของเรา...หมด

    นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า สอนให้เราหมดอย่างนี้ ไม่ให้เราคว้าเอาอะไรไป ให้เรารู้อย่างนี้ รู้แล้วก็ปล่อย ก็วาง
     
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    บัดนี้มันเป็นภาระของเราคนเดียวเท่านั้น ให้เข้าถึงธรรมะอย่างนี้ อันนี้เป็นทางที่จะทำให้เราพ้นจากวัฏฏสงสาร พยายามปล่อยวางให้เข้าใจ ให้ตั้งอกตั้งใจพินิจพิจารณา อย่าไปห่วงคนโน้น อย่าไปห่วงคนนี้ ลูกกดี หลานกดี อะไรทั้งปวงเหล่านั้นอย่าไปห่วงเลย ที่เขายังเป็นอยู่ เขาก็เป็นอยู่ อนาคตต่อไปเขาก็จะเป็นอย่างนี้เป็นอย่างคุณยายที่เป็นอยู่นี้ ไม่มีใครที่จะเหลืออยู่ในโลกได้ จะต้องเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น อันนี้คือสภาวะความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอน เพราะฉะนั้นของที่ไม่มีสาระแก่นสารจริงๆ ท่านจึงให้วาง ถ้าวางแล้วก็เห็นความจริง ถ้าไม่วางมันก็ไม่เห็นความจริง มันเป็นอยู่อย่างนี้ ใครทั้งหมดในสกลโลกนี้มันก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้นยาย โยม ไม่ควรห่วงใย ไม่ควรเกาะเกี่ยว

    ถึงแม้มันจะคิดก็ให้มันคิด แต่ว่าคิดให้อยู่กับปัญญา ให้คิดด้วยปัญญา อย่าคิดด้วยความโง่ นึกถึงลูกก็นึกถึงความปัญญา อย่านึกถึงด้วยความโง่ นึกถึงหลานก็ให้นึกถึงด้วยปัญญา อย่าให้นึกถึงด้วยความโง่อะไรอะไรทั้งหมดนั่นแหละเราก็คิดได้ เรารู้มันก็ได้ แต่เราคิดด้วยปัญญา เรารู้ด้วยปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาเราก็ต้องปล่อย รู้ด้วยปัญญาก็ต้องวาง ถ้ารู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา มันจะไม่มีทุกข์ มันจะมีความเบิกบาน มีความสำราญ มีความสงบ มีความระงับเป็นอันเดียวจิตใจเรามารวมอยู่อย่างนี้ อะไรที่เราจะต้องอาศัยอยู่ในปัจจุบันในคราวนี้ก็คือลม ลมหายใจนี่แหละ


    บัดนี้เป็นภาระของคุณยายคนเดียว ไม่เป็นภาระของคนอื่น ภาระของคนอื่นก็ให้เป็นของคนอื่นเขา ธุระหน้าที่ของเราก็เป็นธุระหน้าที่ของเรา อย่าไปเอาธุระของลูกหลานมาทำ อย่าไปเอาธุระของคนอื่นมาทำ อย่าไปเอาธุระอะไรๆ ทั้งปวงทั้งนั้นแหละมาทำ ไม่ใช่หน้าที่ของเราในเวลานี้เราควรปล่อยแล้ว เราควรจะวางแล้ว อาการที่จะปล่อยจะวางนี้ จะทำความสงบนี้ เป็นธุระของเรา เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำในปัจจุบัน ให้รวมจิตเข้ามาเป็นหนึ่ง นี้คือธุระหน้าที่ของเรา เรื่องอะไรก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องรูปก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องเสียงก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องกลิ่นเรื่องรสก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องอะไรๆ ก็ปล่อยให้เขาแล้ว เราจะทำธุระหน้าที่ของเรา


    มันจะมีอะไรเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ก็ให้นึกอยู่ในใจว่า อย่ามากวนฉัน ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของฉัน ความวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ตาม เช่นว่าเราจะกลัว กลัวในชีวิตของเราเพราะเราจะตายอย่างนี้เป็นต้น คิดถึงคนโน้นแล้วก็คิดถึงคนนี้ เมื่อมันเกิดขึ้นในจิตอย่างนั้น เราก็บอกในใจเราว่า อย่ามากวนฉัน ไม่ใช่ธุระของฉัน บอกอย่างนี้ไว้ในใจของเรา เพราะว่าเราเห็นธรรมทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นมา

    ธรรมคืออะไร ธรรมก็คือทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่มีแล้ว โลกก็คืออะไร โลกก็คืออารมณ์ที่มันมายุแหย่กวนยายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เดี๋ยวคนนั้นจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวคนนี้จะเป็นอย่างไร เมื่อเราตายไปนี่ใครจะดูแลเขา ใครจะเป็นอะไรอย่างไรไหม อย่างนี้น่ะเป็นโลกทั้งนั้นแหละ ถึงแม้ว่าเราคิดขึ้นเฉยๆ เราก็กลัวจะตาย กลัวจะแก่ กลัวจะเจ็บ อะไรทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นโลกทั้งนั้น ทิ้งโลกเสีย โลกนี้มันเป็นอย่างนั้น ถ้ามันมีขึ้นมาในใจก็เรียกว่า โลกนี้คืออารมณ์ อารมณ์นี้มันมาบังจิต ไม่ให้เห็นจิตของตน อะไรๆทุกอย่างนั่น ถ้ามันเกิดขึ้นมาให้โยมคิดว่า อันนี้ไม่ใช่ธุระของฉัน เป็นเรื่องอนิจจัง เป็นเรื่องทุกขัง เป็นเรื่องอนัตตา

    เราจะคิดว่าอยากอยู่ไปนานๆ อย่างนี้ก็ให้เกิดทุกข์ เราอยากจะตายเสียเดี๋ยวนี้ เร็วๆ นี้อันนี้ก็ไม่ถูกทาง นะยายนะ เป็นทุกข์ เพราะว่าสังขารนี้ไม่ใช่ของเรา เราจะไปตกแต่งอะไร มันก็ไม่ได้หรอก มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ตกแต่งมันได้ก็นิดๆ น้อยๆ เป็นต้นว่าตกแต่งร่างกายของเราให้สะสวย ให้มันสะอาด ดูเด็กๆ เขาสิ ทาปาก ทำเล็บให้มันยาว ทำอะไรให้มันสะสวยเสียมันก็แค่นั้นแหละโยม เมื่อแก่มาแล้วก็รวมในกระป๋องเดียวกัน ไม่มีอะไร ตกแต่งได้แค่นั้นแหละ ตกแต่งจริงๆ ไม่ได้หรอก มันก็เป็นอย่างนั้นเรื่องของสังขาร ที่จะตกแต่งได้ก็เรื่องจิตใจของเรา

    [​IMG]บ้านที่แท้จริง
    ตึกรามบ้านช่องทั้งหลายก็สร้างขึ้นมาได้ อย่างบ้านคุณหมออุทัยนี่อาตมาก็เคยไปขึ้นบ้านใหม่ให้ สร้างขึ้นจะสวยใหญ่โตก็ได้ สร้างนั้นมันสร้างบ้านข้างนอกใครๆ ก็สร้างกันได้ทั้งนั้น แต่ว่าพระพุทธองค์ท่านเรียกว่าบ้านข้างนอก ไม่ใช่บ้านที่แท้จริง มันเป็นบ้านโดยสมมติบ้านอยู่ในโลก มันก็เป็นไปตามโลก บางคนก็ลืมนะ ได้บ้านใหญ่โตสนุกสุขสำราญ ลืมบ้านจริงๆของเขา บ้านที่จริงของเราอยู่ที่ไหน บ้านที่จริงของเราคือที่ว่ามีความ รู้สึกที่มันสงบ คือความสงบนั่นแหละเป็นบ้านจริงๆ ของเรา บ้านที่เราอยู่นี้ หรือบ้านที่ไหนก็ตามทีเถอะ บ้านก็สวยหรอก แต่อยู่กันไม่ค่อยสงบ เดี๋ยวก็เพราะอันโน้น เดี๋ยวก็เพราะอันนี้ เดี๋ยวก็ห่วงอันนั้น เดี๋ยวก็ห่วงอันนี้อยู่อย่างนี้แหละ เรียกว่าไม่ใช่บ้านเรา ไม่ใช่บ้านข้างใน มันเป็นบ้านข้างนอก อีกประเดี๋ยววันใดวันหนึ่งเราก็เลิกมันเท่านั้นแหละ บ้านนี้เราอยู่ไม่ได้หรอก มันเป็นบ้านของโลก ไม่ใช่บ้านของเรา

    สกลร่างกายของเรานี้ ก็ยังเห็นว่าเป็นตัว เป็นตนเป็นเรา เป็นเขาอีก อันนี้ก็เป็นบ้านหลังหนึ่งซึ่งติดอยู่กับตัวของเราที่เราเข้าใจว่าตัวเราหรือของเรานี้ อันนี้ก็ไม่ใชอีก อันนี้ก็เป็นบ้านของโลก ไม่ใช่บ้านของเราอย่างแท้จริงแต่คนก็ชอบแต่จะสร้างบ้านข้างนอก ไม่ชอบสร้างบ้านข้างใน บ้านที่มันสำหรับอยู่จริงๆ ที่มันสงบจริงๆ ไม่ค่อยจะสร้างกัน ไปสร้างแต่ข้างนอกก็เพราะมันเป็นอย่างนี้แหละ
    อย่างคุณยายนี่ ก็ลองคิดดูซิ เวลานี้มันเป็นอย่างไรนะ คิดดูตั้งแต่วันที่เราเกิดมาเรื่อยๆ มาจนถึงบัดนี้ คือเราเดินหนีจากความจริงเดินไปเรื่อย และเดินมาจนแก่ จนเจ็บขนาดนี้ ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนี้ ห้ามมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะให้เป็นอย่างอื่นมันก็เป็นไปไม่ได้ เหมือนกันกับเป็ดจะให้มันเหมือนไก่มันก็ไม่เหมือนเพราะว่ามันเป็นเป็ด ไก่อยากให้เหมือนกับเป็ด มันก็เป็นไปไม่ได้เพราะว่ามันเป็นไก่ ถ้าใครไปคิดอยู่ว่าอยากให้เป็ดเหมือนไก่ อยากให้ไก่เป็นเหมือนเป็ดมันก็ทุกข์เท่านั้นล่ะ ก็เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าโยมมาคิดเสียว่า เออ เป็ดมันก็ต้องเป็นของมันอย่างนั้น ไก่มันก็ต้องเป็นของมันอย่างนั้น จะให้เป็ดเหมือนไก่ จะให้ไก่เหมือนเป็ดมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นอยู่อย่างนั้น

    ถ้าเราคิดเช่นนี้แล้ว เราจะมีพละ เราจะมีกำลังเพราะว่าสกลร่างกายนี้ อยากจะให้มันยืนนานถาวรไปเท่าๆ ไรมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นอย่างนี้นี่ท่านเรียกสังขาร อนิจฺจา วตสงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปชฺฌิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสวูปสโม สุโข สังขาร คือ ร่างกายจิตใจนี้แหละมันเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่แน่นอน มีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วก็ดับไป แต่มนุษย์เราทั้งหลายอยากให้สังขารนี้มันเที่ยง อันนี้คือความคิดของคนโง่ ดูซิว่าลมหายใจของคนเรานี้มันเข้ามาแล้วมันก็ออกไป เป็นธรรมดาของลม มันก็ต้องเป็นอยู่อย่างนั้น ต้องกลับไปกลับมา มีความเปลี่ยนแปลง

    เรื่องสังขารมันก็อยู่ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ จะให้มันไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ลองคิดดูซิว่า หายใจออกอย่างเดียว ไม่ให้มันเข้ามาได้ไหม สบายไหม สูดลมเข้ามาแล้วไม่ให้มันออกดีไหม นี่ อยากจะให้มันเที่ยงอย่างนี้ มันเที่ยงไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ ออกไปแล้วก็เข้ามา เข้ามาแล้วก็ออกไป เป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกิน เกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วเจ็บและก็ตาย เป็นเรื่องธรรมดาแท้ๆ เหมือนกับลมเข้าแล้วไม่ให้ออกไม่ได้ออกแล้วไม่ให้เข้าไม่ได้ ถ้ามีการเข้าแล้วออก ออกแล้วเข้า ก็ทำให้ชีวิตเช่นมนุษย์ทั้งหลายเป็นอยู่ได้เท่าทุกวันนี้เพราะสังขารมันทำตามหน้าที่ของมันอย่างนี้แหละมันจริงอยู่แล้วไม่ใช่เป็นของไม่จริง มันจริงของมันอยู่อย่างนั้นแหละ

    [​IMG]ที่พักชั่วคราวของมนุษย์
    เมื่อเราเกิดมาแล้ว โยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเองแหละ ไอ้ความแก่กับความตาย มันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ เหมือนกับต้นไม้อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย เมื่อมีปลายมันก็มีโคน ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี มีปลายก็ต้องมีโคน มีแต่ปลายโคนไม่มีก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้นก็นึกขำเหมือนกันนะ มนุษย์เราทั้งหลายเมื่อจะตายแล้วก็โศกเศร้า วุ่นวาย นั่งร้องไห้เสียใจ สารพัดอย่าง หลงไปสิ โยม มันหลงนะ พอคนตายก็ร้องไห้พิไรรำพัน แต่ไหนแต่ไรมาไม่ค่อยได้พิจารณาให้ชัดแจ้งนะ ความเป็นจริงแล้ว อาตมาขอโทษด้วยนะอาตมาเห็นว่า ถ้าจะร้องไห้กับคนตายน่ะ ร้องไห้กับคนที่เกิดมาดีกว่า แต่มันกลับกันเสีย ถ้าคนเกิดมาแล้วโยมทั้งหลายก็หัวเราะดีอกดีใจกันชื่นบาน ความเป็นจริงเกิดนั่นล่ะคือตาย ตายนั่นล่ะก็คือเกิด ต้นก็คือปลาย ปลายก็คือต้น เราไม่รู้จัก ถึงเวลาจวนจะตาย หรือตายแล้วก็ร้องไห้กัน นี่คือคนโง่ ถ้าจะร้องไห้อย่างนั้นมาแต่ต้นก็ยังจะดีนะ เมื่อเกิดมาก็ร้องไห้กันเสียทีเถอะ ดูให้ดีซิถ้าไม่เกิดมันก็ไม่ตายเข้าใจไหม

    เพราะฉะนั้นโยม อย่านึกอะไรมากมาย ให้นึกว่ามันเป็นอย่างนั้น นี้คือธุระหน้าที่ของเราแล้ว บัดนี้ใครช่วยไม่ได้ ลูกก็ช่วยไม่ได้ หลานก็ช่วยไม่ได้ ทรัพย์สินเงินทองก็ช่วยไม่ได้ ช่วยได้แต่ความรู้สึกของโยมที่คิดให้ถูกต้องเดี๋ยวนี้นะ ไม่ให้หวั่นไหวไปมา ปล่อยมันทิ้งเสียเราปล่อยมัน ทิ้งมัน
     
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ถ้าเราไม่ปล่อยมัน ไม่ทิ้งมัน มันก็จะหนีอยู่แล้วเห็นไหม อวัยวะร่างกายของเราน่ะ มันพยายามจะหนีอยู่แล้วน่ะ เห็นไหม ดูง่ายๆว่า เมื่อเกิดมาเป็นหนุ่มเป็นสาวผมมันก็ดำเห็นไหม บัดนี้มันหมอก นี่เรียกว่ามันหนีแล้วนะ ตาเราเคยสว่างไสวดีตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว บัดนี้มันฝ้าฟางเห็นไหม นี่เรียกว่ามันหนีแล้ว เขาทนไม่ไหวเขาต้องหนี ที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา อะไรทุกชิ้นทุกส่วนเขาก็จะหนีแล้ว ฟันของเราตอนเป็นเด็กมันแน่นหนาถาวรไหมบัดนี้มันมันโยกมันคลอน แล้วจะใส่ฟันใหมเสียก็ได้ นี่มันก็ของใหม่ไม่ใช่ของเก่า สิ่งทั้งหลายในอวัยวะร่างกายของคุณยายนี้น่ะ เขาพยายามจะหนีไปแล้ว ตา หู จมูกลิ้น กาย ทั้งหมด เขาพยายามจะหนี ทำไมถึงจะหนีเพราะตรงนี้ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา เป็นสังขารอยู่ไม่ได้ อยู่ชั่วคราวเท่านั้นก็ไปไม่ว่าแต่ตัวของเรา ทั้งหมดอวัยวะนี่ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บกดี ทั้งหมดนั่น เดี๋ยวนี้เขาเตรียมหนีเขาหนีไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่หมด ยังเหลือแต่คนเฝ้าบ้านเล็กๆ น้อยๆ เฝ้าบ้านอยู่แต่ไม่ค่อยดีหรอก ตาก็ไม่ค่อยดีฟันก็ไม่ค่อยดี หูนี่ก็ไม่ค่อยจะดี ร่างกายนี้ก็ไม่ค่อยจะดีก็เพราะเขาหนีไปบ้างแล้ว

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=162>[​IMG] </TD><TD>นี่ให้ยายเข้าใจว่าที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมนุษย์โดยตรงเป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้นล่ะ เพราะฉะนั้นยายไม่ควรห่วงใยอะไรมากมาย มาอยู่ในโลกก็ให้พิจารณาโลกนี้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าแต่อะไรทั้งหลายเลย เขาเตรียมจะหนีกันแล้ว ดูซิ ดูตามสภาพร่างกายซิว่ามันมีอะไรเหมือนเดิมไหม ร่างกายเหมือนเดิมไหม หนังเหมือนเดิมไหมผมเหมือนเดิมไหม ไม่เหมือน เขาไปที่ไหนกันหมดแล้วนี่ ธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น เมื่ออยู่ครบตามวาระของเขาแล้วเขาก็ต้องไป เพราะธุระเขาเป็นอย่างนั้น ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ที่แน่นหนาถาวรอะไร อยู่แล้วก็วุ่นๆ วายๆ สุขๆ ทุกข์ๆ ไม่สงบ ระงับ
    ถ้าเป็นคนก็เป็นคนที่เดินไปยังไม่ถึงบ้าน ยังอยู่ระหว่างทาง เดี๋ยวก็จะกลับ เดี๋ยวก็จะไป เดี๋ยวก็จะอยู่ นี่คือคนไม่มีที่อยู่ เปรียบเหมือนว่าเราเดินออกจากบ้านไปกรุงเทพฯ หรือว่าไปที่ไหนก็ตามเถอะ เราก็เดินไป เมื่อเดินไปยังไม่ถึงบ้านเมื่อไร มันก็ยังไม่น่าอยู่ นั่งก็ไม่สบาย นอนก็ไม่สบาย เดินก็ไม่สบาย นั่งรถไปก็ยังไม่สบาย เพราะอะไร เพราะว่ายังไม่ถึงบ้านเรา พอเรามาถึงบ้านเราแล้วก็สบาย เพราะเราเข้าใจว่านี่เป็นบ้านเรา อันนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน่


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในโลกนี้มันเรื่องไม่สงบทั้งนั้น ถึงแม้มันจะร่ำจะรวยมันก็ไม่สงบ มันจนก็ไม่สงบ มันโตก็ไม่สงบ เป็นเด็กก็ไม่สงบ มีความรู้น้อยมันก็ไม่สงบ มีความรู้มากมันก็ไม่สงบ เรื่องมันไม สงบมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นคนที่มีน้อยก็มีทุกข์ คนที่มีมากก็มีทุกข์ เป็นเด็กมันก็เป็นทุกข์ ผู้ใหญ่ก็เป็นทุกข์ แก่แล้วมันก็ทุกข์ ทุกข์อย่างคนแก่ ทุกข์อย่างเด็ก ทุกข์อย่างคนรวย ทุกข์อย่างคนจนมันเป็นทุกข์ทั้งนั้นนั่นล่ะ ดังนั้นอวัยวะทุกส่วนเขาจึงทยอยกันไปเรื่อย

    เมื่อคุณยายพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็จะเห็นว่าอนิจจัง มันเป็นของไม่เที่ยง ทุกขัง มันเป็นทุกข์ เพราะว่าอะไร เพราะว่าอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ร่างที่ยายอาศัยอยู่เดี๋ยวนี้น่ะ ร่างกายที่นั่ง นอนเจ็บป่วยอยู่นี้ และทั้งจิตใจที่รู้ว่ามันเป็นสุขเป็นทุกข์ มันเจ็บป่วยอยู่เดี๋ยวนี้ทั้งสองอย่างนี้ท่านเรียกว่า ธรรม
    สิ่งที่ไม่มีรูป ที่มันเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น เรียกว่ามันเป็นนาม มันก็เป็น "นามธรรม" สิ่งที่มันเจ็บปวดขยายไปมาอยู่นี้อันนี้มันก็เป็น "รูปธรรม" สิ่งที่เป็นรูปก็เป็นธรรม สิ่งที่เป็นนามก็เป็นธรรม ฉะนั้นเราถึงอยู่กันด้วยธรรมะ คือ อยู่ในธรรม มันเป็นธรรมนั่นแหละ ตัวของเราจริงๆที่ไหนมันไม่มี มันเป็นธรรมะสภาพธรรมมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปๆ สภาวะธรรมมันเป็นอยู่อย่างนั้น มีความเกิดแล้วก็มีความดับ เราก็มีความเกิดดับอยู่ทุกขณะเดี๋ยวนี้น่ะมันเป็นอยู่อย่างนี้
    ฉะนั้น เมื่อเราคิดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็น่าไหว้ น่าเคารพ น่านับถือ ท่านพูดจริงท่านพูดตามความจริง มันก็เห็นจริงอย่างนั้น ถ้าเราเกิดมาพบอยที่นี่เราก็เห็นธรรมะ แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมะบางคนปฏิบัติธรรมะแต่ไม่เห็นธรรมะ บางคนรู้ธรรมะเรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ ก็ยังไม่เห็นธรรมะ ก็ยังไม่มีที่อยู่
    ดังนั้นให้เข้าใจเสียว่า ที่นี่ทุกคน แม้ปลวกหรือมด หรือสัตว์ตัวนิดๆก็ตามทีเถอะ เขาก็พยายามจะหนีกันทั้งนั้น สิ่งที่มชีวิตเขาอยู่กันพอควรแล้ว เขาก็ไปกันทั้งนั้นล่ะ ทั้งคนจน ทั้งคนร่ำรวย ทั้งเด็ก ทั้งคนแก่ทั้งสัตว์เดียรัจฉาน สิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ มันก็ย่อมแปรไปเปลี่ยนไปอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น เมื่อคุณยายรู้ว่าโลกนี้มันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็น่าเบื่อหน่าย น่าเบื่อมัน อะไรมันไม่เป็นตัวของตัวทั้งนั้น เบื่อหน่าย นิพพิทา คำว่า เบื่อหน่ายไม่ใช่ว่ารังเกียจนะ เบื่อหน่ายคือ ใจมันสว่าง ใจมันเห็นความเป็นจริง ไม่มีทางจะแก้ไขอะไรแล้ว มันเป็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ก็เลยปล่อยวางมัน ปล่อยโดยความไม่ดีใจ ปล่อยโดยความไม่เสียใจ ปล่อยไปตามเรื่องของสังขาร ว่าสังขารมันเป็นอย่างนั้น ด้วยปัญญาของเรา นี่เรียกว่า อนิจจา วต สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ที่ไม่เที่ยง คือ มันเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา อย่างนั้นแหละเรียกว่าไม่เที่ยง คือ อนิจจัง

    พูดง่ายๆ ว่า ตัวอนิจจังนั่นแหละ คือตัวพระพุทธเจ้าล่ะ ถ้าเราเข้าไปเห็นอย่างจริงๆจังๆว่า อนิจจังคือของไม่เที่ยงนั่นแหละคือตัวพระพุทธเจ้า ของที่ไม่เที่ยง ถ้าเราเห็นชัดเข้าไปมันก็เที่ยง เที่ยงอย่างไร ก็เที่ยงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้นแหละ มนุษย์สัตว์เกิดมาก็เป็นอย่างนั้น มันเที่ยงอย่างนั้น แต่ว่ามันไม่เที่ยง คือว่ามันแปรไปแปรมา คือมันเปลี่ยนเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นเฒ่า แก่ชรา เรียกว่ามันไม่เที่ยง ไอ้ความที่มันเป็นอย่างนั้นก็เรียกว่า มันเที่ยง ไม่แปรเป็นอย่างอื่น ถ้าคุณยายเห็นอย่างนี้ใจก็จะสบาย ไม่ว่าเราคนเดียวหรอก ทุกๆ คนเป็นอย่างนี้

    ดังนั้นเมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็น่าเบื่อ เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายหายความกำหนัดรักใคร่ในโลก ในกามในโลกามิสทั้งหลายเหล่านี้ มีมากก็ทิ้งไว้มาก มีน้อยก็ทิ้งไว้น้อย ทุกคนดนี่ซิ ที่คุณยายเกิดขึ้นมานี้เห็นไหม เห็นคนรวยไหม เห็นคนอายุสั้นไหม เห็นคนอายุยืนไหม มันก็มีเท่านั้นล่ะ

    เพราะฉะนั้นที่สำคัญคือ พระพุทธเจ้าท่านให้สร้างบ้านเรือนตัวเอง สร้างโดยวิธีที่อาตมาบรรยายธรรมะให้ฟังเดี๋ยวนี้น่ะ สร้างบ้านให้ได้ ปล่อยวางให้ได้ ปล่อยวางมันให้มันถึงความสงบ เรียกว่าไม่เดินไปข้างหน้า ไม่ก้าวไปข้างหลัง ไม่หยุดอยู่ นี่เรียกว่าสงบ สงบจากการเดินไป สงบจากการถอยกลับ สงบจากการหยุดอยนี่ ไอ้ความสุขก็ไม่ใช่ที่อยู่ ไอ้ความทุกข์ก็ไม่ใช่ที่อยู่ของเรา ทุกข์มันก็เสื่อม สุขมันก็เสื่อมทั้งนั้น

    พระบรมครูของเรา ท่านเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้พวกเราทั้งหลายปล่อยวาง เมื่อถึงเวลาสุดท้ายของทุกคนเพราะว่ามันเอาไปไม่ได้ จำเป็นมันก็ต้องวางอยู่นั่นเองล่ะแต่เราก็วางมันไว้ก่อนเสียจะไม่ดีกว่าหรือ เราแบกก็รู้สึกว่ามันหนัก เมื่อมันหนักแล้วเราก็ทิ้งมันเสียก่อนจะไม่ดีหรือ จะไปกวนแบกมันทำไม เราปล่อยวาง ก็ให้ลูกหลานพยาบาลเราสบายๆ

    ผู้ที่พยาบาลคนที่ป่วยก็มีคุณธรรม คนที่ป่วยก็ให้โอกาสแก่ผู้พยาบาล อย่าทำให้ลำบากแก่คนที่รักษา เจ็บตรงไหน เป็นอะไรก็ให้ได้รู้จัก ทำจิตให้มันดี คนที่รักษาพ่อแม่ก็ให้มีคุณธรรม มีความอดทน อย่ารังเกียจ อันนี้ที่จะเป็นการสนองคุณพ่อแม่ของเราก็เวลานี้เท่านั้นล่ะเบื้องต้นเกิดมา เราเป็นเด็ก พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่ เราอาศัยพ่อแม่จึงเติบโตจนถึงบัดนี้ ได้มาอยู่บัดนี้ นั่งรวมกันอยู่ที่นี่ก็เพราะคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรามาสารพัดอย่างแล้ว มีบุญคุณมากที่สุดเหลือเกินนะ

    บัดนี้ให้ลูกหลานทุกๆ คนนี้จงเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้พ่อแม่กลายเป็นลูกเราเสียแล้ว แต่ก่อนเราเป็นลูกของพ่อแม่บัดนี้พ่อแม่เป็นลูกเราเสียแล้ว เพราะอะไร เพราะแก่ไปๆ จนกลายเป็นเด็ก จำก็ไม่ได้ ตาก็มองไม่เห็น หูไม่ได้ยินสารพัดอย่าง บางทีพูดถูกๆ ผิดๆ เหมือนเด็กนั่นเองดังนั้นให้ลูกหลานทั้งหลายปล่อย คนที่รักษาคนป่วยก็ให้ปล่อย อย่าไปถือเลย ปล่อยเสียให้ตามใจทุกอย่างเหมือนเด็กๆ ที่เกิดมา อะไรที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ก็ปล่อยทุกอย่างนั่นล่ะ ปล่อยให้เด็กมันสบาย ไม่ให้เด็กมันร้องไห้ อย่าให้เด็กขัดใจอะไรเหล่านี้ พ่อแม่ของเราบัดนี้ก็เหมือนมัน สัญญามันวิปลาส บางทีเรียกลูกคนหนึ่งไปถูกคนหนึ่ง บางทีเรียกหลานคนหนึ่งไปถูกหลานอีกคนหนึ่ง จะเรียกเอาขันมาก็ได้จานมา
    มันเป็นเรื่องของธรรมดาอย่างนั้น อันนี้ก็ให้พิจารณา คนที่ป่วยก็ให้นึกถึงคนพยาบาล มีคุณธรรม ให้อดให้ทนต่อทุกขเวทนา เวทนาสารพัดอย่างที่มันเกิดขึ้นมาให้อดกลั้น ให้ทำความเพียรในใจของเรา อย่าให้มันวุ่นวาย อย่าให้มีความลำบากยากเกินไปแก่ผู้ปฏิบัติ ผู้อุปัฏฐากก็ให้มีคุณธรรมอย่ารังเกียจน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ อะไรก็ต้องพยายามเท่าที่เราจะทำได้ ลูกๆเราทุกคนให้ช่วยกันดู

    บัดนี้เรามีพ่อแม่เท่านี้แหละ เราอาศัยมาได้เกิดมาได้เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นพยาบาล เป็นหมอ เป็นอะไรมาทุกอย่างเหล่านี้ อันนี้คือบุญคุณของท่านที่เลี้ยงเรามา ให้ความรู้เรามา ให้ความเป็นอยู่ของเรามา ให้ทรัพย์สมบัติเรา นี่คือคุณของพ่อแม่ถ่ายทอดรับมรดกกันมาอย่างนี้ เป็นวงศ์ตระกูลอย่างนี้ พระพุทธองค์ท่านจึงสอนเรื่องกตัญญูกตเวที กตัญญู กับกตเวทีนี้เป็นธรรม ซึ่งสนองซึ่งกันและกัน ท่านต้องการอะไร ท่านไม่สบายท่านมีความลำบาก ท่านมีความขัดข้องประการใด เราก็ต้องเสียสละ ช่วยท่านรับภาระธุระอันนั้น นี้คือกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมที่ค้ำจุนโลกอยู่ ให้วงศ์ตระกูลของเราไม่กระจัดกระจาย ให้วงศ์ตระกูลของเราเรียบร้อยมั่นคง

    วันนี้อาตมาได้เอาธรรมะคำสอน มาฝากยายในเวลาที่เจ็บป่วยอยู่อย่างนี้ ซึ่งอาศัยคุณหมออุทัยลูกของโยมนั่นแหละ นึกถึงผู้มีพระคุณ อาตมาจะฝากอะไรมามันก็ไม่มี จะฝากวัตถุอะไรมา ที่บ้านนี่ก็เยอะแยะแล้วอาตมาจึงฝากธรรมะซึ่งมันหมดไม่ได้ มันเป็นแก่นเป็นสาร ถึงยายได้ฟังธรรมะนี้แล้ว จะถ่ายทอดให้คนอื่นเท่าไรก็ ยังไม่หมดไป สัจจธรรมคือความจริงตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ อันนี้ อาตมาก็พลอยดีใจด้วยที่ได้ฝากธรรมะมาให้คุณยาย เพื่อจะได้มีจิตใจที่เข้มแข็งต่อสู้กับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้.....

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/real_home.html
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อยู่กับงูเห่า
    เป้าหมายของการดำรงชีวิตในทางโลกและทางธรรม คุณอยู่เพื่ออะไร?

    [​IMG]

    ขอให้คำขวัญแก่โยมทั้งหลาย และลูกศิษย์ใหม่ที่เดินทางจากลอนดอนมาพักอยู่ที่วัดหนองป่าพง ขอให้ทำความเข้าใจในธรรมะที่ได้ศึกษาแล้วที่วัดหนองป่าพงนี้โดยย่อก็คือ ให้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร ขอให้โยมจำไว้ในใจว่า อารมณ์ทั้งหลายนั้น จะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตามอารมณ์ทั้งสองอย่างนี้ มันเหมือนงูเห่า งูเห่ามันมีพิษมากถ้ามันฉกคนแล้ว ก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้ อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมากอารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี ทำให้จิตใจไขว้เขว จากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

    วันนี้จึงขอให้โอวาทย่อๆ แก่โยม ขอให้เป็นผู้มีสติอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ให้นอนด้วยสติ นั่งด้วยสติ เดินด้วยสติ ยืนด้วยสติ จะพูดก็พูดด้วยสติ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีสติอยู่ด้วยทั้งนั้น

    เมื่อมีสติแล้ว สัมปชัญญะความรู้ตัวมันก็จะเกิดขึ้นมา สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน เมื่อทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว ก็จะนำปัญญาให้เกิดตามทีนี้เมื่อมีทั้งสติ สัมปชัญญะปัญญาแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

    ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนนั้น ไม่ใช่ธรรมะที่เพื่อฟังเฉยๆหรือรู้เฉยๆ แต่เป็นธรรมะที่ต้องปฏิบัติ ต้องทำให้เกิดขึ้น ต้องทำให้มีขึ้นในใจของเราให้ได้ จะไปที่ไหนก็ให้มีธรรมะ จะพูดก็ให้มีธรรมะ จะเดินก็ให้มีธรรมะ จะนอนก็ให้มีธรรมะ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีธรรมะทั้งนั้น

    คำว่า "มีธรรมะ" นี้ก็คือ จะทำอะไรก็ตาม จะพูดอะไรก็ตาม ให้ทำด้วยปัญญา ให้พูดด้วยปัญญา ให้นึกคิดด้วยปัญญา ผู้ใดมีสติ สัมปชัญญะ ควบกับปัญญาอยู่ตลอดเวลาแล้ว ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าทุกเมื่อ

    ดังนั้น แม้เมื่อโยมจากวัดหนองป่าพงนี้ไปแล้ว ก็จงเป็นผู้ปฏิบัติ ให้ธรรมะทั้งหลายมารวมอยู่ที่ใจ มองลงไปที่ใจ ให้เห็นสติ ให้เห็นสัมปชัญญะ ให้มีปัญญา เมื่อมีทั้งสามอย่างนี้แล้ว มันจะมีการปล่อยวาง รู้จักเกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ

    ที่เรียกว่า "เกิดๆ ดับๆ" นี้คืออะไร คืออารมณ์ซึ่งมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ดับแล้วมันก็เกิดขึ้นมา ในทางธรรมะเรียกว่าการเกิดดับ มันก็มีเท่านี้ ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว ทุกข์มันก็ดับไป ทุกข์ดับไปแล้ว ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา นอกเหนือจากนี้ไป ก็ไม่มีอะไรมีแต่ทุกข์เกิด แล้วทุกข์ก็ดับไป มีเท่านี้

    เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จิตของเราก็จะเห็นแต่การเกิด-ดับอยู่เสมอ เมื่อเห็นการเกิด-ดับอยู่เสมอ ทุกวันทุกเวลา ตลอดทั้งกลางวัน ตลอดทั้งกลางคืน ตลอดทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะเห็นได้ว่ามันไม่มีอะไรจริงๆ มีแต่เกิด-ดับอยู่เท่านี้เอง แล้วทุกอย่างมันก็จบอยู่ตรงนี้

    เมื่อเห็นอารมณ์เกิด-ดับอย่างนี้อยู่เสมอไปแล้วจิตใจก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเมื่อคิดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากมาย มันมีแต่การเกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ดับ มันมีอยู่เท่านี้ ฉะนั้นเมื่อคิดแล้วก็ไม่รู้จะไปเอาอะไรกับมัน พอคิดได้เช่นนี้ จิตก็จะปล่อยวางปล่อยวางอยู่กับธรรมชาติ มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็รู้มันสุขเราก็รู้ มันทุกข์เราก็รู้ รู้แล้วไม่ใช่ว่าเราจะไปเป็นเจ้าของสุขนะ หรือเมื่อทุกข์ขึ้นมา เราก็ไม่เป็นเจ้าของทุกข์เหมือนกัน เมื่อไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์มันก็มีแต่การเกิด-ดับอยู่เท่านั้น ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไร

    อารมณ์ทั้งหลายที่ว่ามานี้ เหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น

    ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมดสิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไปมันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง

    ฉะนั้น คนที่ฉลาดแล้ว เมื่อปล่อยอารมณ์ก็ปล่อยอย่างนั้น ดีก็ปล่อยมันไป แต่ปล่อยอย่างรู้เท่าทันชั่วก็ปล่อยมันไป ปล่อยไปตามเรื่องของมันอย่างนั้นแหละอย่าไปจับ อย่าไปต้องมัน เพราะเราไม่ต้องการอะไร ชั่วก็ไม่ต้องการ ดีก็ไม่ต้องการ หนักก็ไม่ต้องการ เบาก็ไม่ต้องการ สุขก็ไม่ต้องการ ทุกข์ก็ไม่ต้องการ มันก็หมดเท่านั้นเอง ทีนี้ความสงบก็ตั้งอยู่เท่านั้นแหละ

    เมื่อความสงบตั้งอยู่แล้ว เราก็ดูความสงบนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว เมื่อความสงบเกิดขึ้นความวุ่นวายก็ดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสว่านิพพานคือความดับ ดับที่ตรงไหน? ก็เหมือนไฟเรานั่นแหละ มันลุกตรงไหน มันร้อนตรงไหน? มันก็ดับที่ตรงนั้น มันร้อนที่ไหนก็ให้มันเย็นตรงนั้น ก็เหมือนกับนิพพานก็อยู่กับวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารก็อยู่กับนิพพาน เหมือนกันกับความร้อนกับความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง ความร้อนก็อยู่ที่มันเย็น ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็น มันก็ร้อน

    วัฏฏสงสารกับนิพพานนี้ก็เหมือนกัน ท่านให้ดับวัฏฏสงสารคือความวุ่น การดับความวุ่นวายก็คือการดับความร้อน ไฟทางนอกก็คือไฟธรรมดา มันร้อน เมื่อมันดับแล้ว มันก็เย็น แต่ความร้อนภายในคือ ราคะ โทสะโมหะ ก็เป็นไฟเหมือนกัน ลองคิดดูเมื่อราคะ ความกำหนัดเกิดขึ้น มันร้อนไหม? โทสะเกิดขึ้นมันก็ร้อน โมหะเกิดขึ้นมันก็ร้อน มันร้อน ความร้อนนี่แหละที่ท่านเรียกว่าไฟ เมื่อไฟมันเกิดขึ้น มันก็ร้อน เมื่อมันดับ มันก็เย็นความดับนี่แหละคือนิพพาน

    นิพพานคือสภาวะที่เข้าไปดับซึ่งความร้อน ท่านเรียกว่าสงบ คือดับซึ่งวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารคือความเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น เมื่อถึงนิพพานแล้ว ก็คือการเข้าไปดับซึ่งความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง อันนั้น เรียกว่าการดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ ก็ดับที่ใจของเรานั่นแหละ คือใจถึงความสงบ

    ในความสงบนั้น สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี แต่มนุษย์เรานั่นแหละจะอดสุขไม่ได้ เพราะเห็นว่าความสุขเป็นยอดของชีวิตแล้ว แม้พระนิพพานก็ยังมาว่าเป็นความสุขอยู่เพราะความคุ้นเคย ตามเป็นจริงแล้ว เลิกสิ่งทั้ง ๒ อย่างนี้ก็เป็นความสงบ เมื่อโยมกลับบ้าน แล้วขอให้เปิดเทปธรรมะนี้ฟังอีก จะได้มีสติ เมื่อโยมมาอยู่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ โยมร้องไห้ เมื่ออาตมาเห็นน้ำตาของโยม

    อาตมาก็ดีใจ ทำไมจึงดีใจ? ที่ดีใจก็เพราะว่า นี่แหละ โยมจะได้ศึกษาธรรมะที่แท้จริงละ ถ้าน้ำตาไม่ออกก็ไม่ได้เห็นธรรมะ เพราะน้ำนี้เป็นน้ำไม่ดี ต้องให้มันออกให้หมด มันถึงจะสบาย ถ้าน้ำนี้ไม่หมด ก็จะไม่สบาย มันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ อยู่เมืองไทยก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้ กลับไปกรุงลอนดอนก็จะร้องไห้อีก มีชีวิตอยู่ก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้แหละ เพราะน้ำนี้มันเป็นน้ำกิเลส เมื่อทุกข์ก็บีบน้ำนี้ให้ไหลออกมา เมื่อสุขมากก็บีบน้ำนี้ออกมาอีกเหมือนกัน ถ้าหมดน้ำนี้เมื่อใด ก็จะสบาย ถ้าโยมทำได้ โยมก็จะมีแต่ความสงบ ความสบาย

    ขอให้โยมรับธรรมะนี้ไปปฏิบัติ ไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ให้มันตายก่อนตาย มันถึงสบาย มันถึงสงบ

    ขอให้โยมมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมะให้พ้นจากวัฏฏสงสาร

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อยู่เพื่ออะไร
    เป้าหมายของการดำรงชีวิตในทางโลกและทางธรรม คุณอยู่เพื่ออะไร?

    [​IMG]


    ขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ รับโอวาทพอสมควร วันนี้มีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตมาถวายดอกไม้ตามกาลเวลา เรื่องสักการะ เรื่องคารวะ การเคารพต่อผู้ใหญ่เป็นมงคลอันเลิศ พรรษานี้อาตมาไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่สบาย สุขภาพไม่แข็งแรง จึงหลบมาอยู่บนภูเขานี้ ก็ได้รับอากาศบริสุทธิ์สักพรรษาหนึ่ง ญาติโยมสานุศิษย์ทั้งหลายไปเยี่ยมก็ไม่ได้สนองศรัทธาอย่างเต็มที่ เพราะว่าเสียงมันจะหมดแล้ว ลมมันก็จะหมดแล้ว นับว่าเป็นบุญที่เป็นตัวเป็นตนมานั่งให้ญาติโยมเห็นอยู่ นี่นับว่าดีแล้ว ต่อไปก็จะไม่ได้เห็น ลมมันก็จะหมด เสียงมันก็จะหมดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนไว้ ขะยะ วัยยัง คือ ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขาร ​


    ความเสื่อมไปแห่งสังขาร

    เสื่อมไปอย่างไร เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนมันเป็นน้ำเขาเอามาทำให้เป็นก้อน แต่มันก็อยู่ไม่นานหรอกมันก็เสื่อมไป เอาก้อนน้ำแข็งใหญ่ๆ เท่าเทปนี้ไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็งก็เหมือนสังขารนี้ มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก้อนน้ำแข็งก็จะหมด ละลายเป็นน้ำไป นี่เรียกว่าเป็นขะยะวัยยัง ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมา เราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วยไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดเราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน ​

    ดังนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า ขะยะ-วัยยัง ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย เรานั่งอยู่บนศาลานี้ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งหมดนี้ มีแต่ก้อนเสื่อมทั้งนั้นนี่ที่ก้อนมันแข็ง เปรียบเช่นก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนเป็นน้ำ มันเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วก็เสื่อมไป เห็นความเสื่อมมันไหม ดูอาการที่มันเสื่อมซี ร่างกายของเรานี่ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไปเล็บมันก็เสื่อมไป หน้ามันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น ​


    ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=170>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>ญาติโยมทุกคนเมื่อครั้งแรกคงจะไม่เป็นอย่างนี้นะ คงจะมีตัวเล็กกว่านี้ นี่มันโตขึ้นมา เจริญขึ้นมา ต่อไปนี้มันก็จะเสื่อม เสื่อมไปตามธรรมชาติของมัน เสื่อมไปเหมือนก้อนน้ำแข็ง เดี๋ยวก็หมด ก้อนน้ำแข็งมันก็กลายเป็นน้ำ เรานี่ก็เหมือนกันทุกคน มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม เมื่อมีตัวตนประกอบกันอยู่ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตั้งขึ้นเรียกว่า คน แต่เดิมไม่รู้ว่าเป็นอะไรหรอก เรียกว่าคน เราก็ดีอกดีใจเป็นคนผู้ชาย เป็นคนผู้หญิง สมมติชื่อให้นายนั่น นางนี่ตามเรื่อง เพื่อเรียกตามภาษาให้จำง่าย ใช้การงานง่าย


    แต่ความเป็นจริงก็ไม่มีอะไรมีน้ำหนึ่ง ดินหนึ่ง ลมหนึ่ง ไฟหนึ่ง มาปรุงกันเข้ากลายเป็นรูป เรียกว่า คน โยมอย่าเพิ่งดีใจนะ ดูไปดูมาก็ไม่มีคนหรอก ที่มันเข้มแข็งพวกเนื้อพวกหนัง พวกกระดูกทั้งหลายเหล่านี้เป็นดิน อาการที่มันเหลวๆ ตามสภาพร่างกายนั้น เราเรียกว่า น้ำ อาการที่มันอบอุ่นอยู่ในร่างกายเรา เรียกว่า ไฟ อาการที่มันพัดไปมาอยู่ในร่างกายของเรานี้ลมพัดขึ้นเบื้องบน พัดลงเบื้องต่ำนี้ เรียกว่า ลม ทั้งสี่ประการนี้มาปรุงกันเข้าเรียกว่าคน ก็ยังเป็นผู้หญิงผู้ชายอีก จึงมีเครื่องหมายตามสมมติของเรา



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ทุกคนนอนอยู่กับโครงกระดูก
    แต่อยู่ที่วัดป่าพง ที่ไม่เป็นผู้หญิงไม่เป็นผู้ชายก็มี เป็นนะปุง-สักลิงค์ ไม่ใช่อิตถีลิงค์ ไม่ใช่ปุงลิงค์ คือ ซากศพที่เขาเอาเนื้อเอาหนังออกหมดแล้ว เหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น เป็นซากโครงกระดูกเขาแขวนไว้ ไปดูก็ไม่เห็นว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ใครไปถามว่านี่เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ก็ได้แต่มองหน้ากัน เพราะมันมีแต่โครงกระดูกเท่านั้น เนื้อหนังออกหมดแล้ว พวกเราทั้งหลายก็ไม่รู้ ​

    ทุกคนไปวัดป่าพง เข้าไปในศาลาก็ไปดูโครงกระดูก บางคนดูไม่ได้ วิ่งออกจากศาลาเลย กลัว... กลัวเจ้าของ อย่างนั้นเข้าใจว่าไม่เคยเห็นตัวเราเองสักที ไปกลัวกระดูก ไม่นึกถึงคุณค่าของกระดูก เราเดินมาจากบ้านนั่งรถมาจากบ้าน ถ้าไม่มีกระดูก จะเป็นอย่างไร จะเดินไปมาได้ไหม เกิดมาพร้อมกันไม่เคยเห็นกัน นอนเบาะอันเดียวกันไม่เคยเห็นกัน นี่แสดงว่าเราบุญมากที่มาเห็น แก่แล้ว ๕๐ ปี ๖๐ ปี ๗๐ ปี ไปวัดป่าพงเห็นโครงกระดูกกลัว นี่อะไรไม่รู้ แสดงว่าเราไม่คุ้นเคยเลยไม่รู้จักตัวเรา กลับไปบ้านก็ยังนอนไม่หลับอยู่สามสี่วัน แต่ก็นอนกับโครงกระดูกนั่นแหละ ไม่ใช่นอนที่อื่นหรอก ห่มผ้าผืนเดียวกัน อะไรๆ ด้วยกัน นั่งบริโภคข้าวด้วยกัน แต่เราก็กลัว นี่แสดงว่าเราห่างเหินจากตัวเรามากที่สุด น่าสงสาร ไปดูแต่อย่างอื่น ไปดูต้นไม้ ไปดูวัตถุอื่นๆ ว่าอันนั้นโต อันนี้เล็ก อันนั้นสั้น อันนั้นยาว นี่ไปดูแต่วัตถุของอื่นนอกจากตัวเรา ไม่เคยมองดูตัวเราเลย ถ้าพูดตรงๆ แล้วก็น่าสงสารมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นคนเราจึงขาดที่พึ่ง ​


    เห็นร่างกายตามความเป็นจริง
    อาตมาเคยบวชนาคมาหลายองค์ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ นาคที่เคยเป็นนักศึกษาคงนึกหัวเราะว่า ท่านอาจารย์เอาอะไรมาสอน นี่ เอาผมที่มันมีอยู่นานแล้วมาสอน ไม่ต้องสอนแล้ว รู้จักแล้วเอาของที่รู้จักแล้วมาสอนทำไม นี่คนที่มันมืดมากมันก็เป็นอย่างนี้ คิดว่าเราเห็นผม อาตมาบอกว่าคำที่ว่าเห็นผมนั้น คือ เห็นตามความเป็นจริง เห็นขนก็เห็นตามความเป็นจริง เห็นเล็บ เห็นหนัง เห็นฟัน ก็เห็นตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าเห็น ไม่ใช่ว่าเห็นอย่างผิวเผิน เห็นตามความเป็นจริง อย่างไรๆ เราคงจะไม่หมกมุ่นอยู่ในโลกอย่างนี้ถ้าเห็นตามความจริง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอย่างไร ตามความเป็นจริงเป็นของสวยไหม เป็นของสะอาดไหม เป็นของมีแก่นสารไหมเป็นของเที่ยงไหม เปล่า...มันไม่มีอะไรหรอก ของไม่สวยแต่เราไปสำคัญว่ามันสวย ของไม่จริงไปสำคัญว่ามันจริง ​


    ร่างกายเป็นที่รวมของสิ่งโสโครก
    อย่าง เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง คนเราไปติดอยู่นี่ พระพุทธองค์ท่านยกมาทั้งห้าประการนี้เป็นมูลกรรมฐาน สอนให้รู้จักกรรมฐานทั้งห้านี้ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เราเกิดขึ้นมาก็หลงมันซึ่งเป็นของโสโครก ดูซิ... คนเราไม่อาบน้ำสักสองวันสิ เข้าใกล้กันได้ไหม มันเหม็นเหงื่อออกมากๆ ไปนั่งทำงานรวมกันอย่างนี้ เหม็นทั้งนั้นแหละ กลับไปบ้านอาบน้ำ ถูสบู่ออกหายเหม็นไปนิดหนึ่งก็หอมสบู่ขึ้นมา ได้ถูสบู่มันก็หอม ไอ้ตัวเหม็นก็อยู่อย่างเดิมนั่นแหละมันยังไม่ปรากฏเท่านั้น กลิ่นสบู่มันข่มไว้ เมื่อหมดสบู่มันก็เหม็นตามเคย ​


    จงรู้จักพึ่งตัวเอง
    เรามักจะเห็นรูปที่นั่งอยู่นี่นึกว่ามันสวย มันงาม มันแน่น มันหนา มันตรึงตรา มันไม่แก่ มันไม่เจ็บ มันไม่ตาย หลงเพลิดเพลินอยู่ในสากลโลกนี้ จึงไม่รู้จักพึ่งตนเอง ตัวที่พึ่งของเรา คือใจ ใจของเราเป็นที่พึ่งจริงๆ ศาลาหลังนี้มันใหญ่ก็ไม่ใช่ที่พึ่ง มันเป็นที่อาศัยชั่วคราวนกพิราบมันก็มาอาศัยอยู่ ตุ๊กแกมันก็มาอาศัยอยู่ จิ้งเหลนนี้มันก็มาอาศัยอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างมาอาศัยอยู่ได้ เราก็นึกว่าของเรา มันไม่ใช่ของเราหรอก มันอยู่ด้วยกัน หนูมันก็มาอยู่ สารพัดอย่าง นี่เรียกว่าที่อาศัยชั่วคราว เดี๋ยวก็หนีไปจากไป เราก็นึกว่าอันนี้เป็นที่พึ่งของเรา คนมีบ้านหลังเล็กๆ ก็เป็นทุกข์เพราะบ้านมันเล็ก มีบ้านหลังใหญ่ๆ ก็เป็นทุกข์เพราะกวาดไม่ไหว ตอนเช้าก็บ่น ตอนเย็นก็บ่น จับอะไรวางตรงไหนก็ไม่ค่อยได้เก็บ คุณหญิงคุณนายนี่จึงเป็นโรคประสาทกันเป็นทุกข์กัน ​


    อย่าแต่งกาย จงแต่งใจกันเถิด
    ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงให้หาที่พึ่ง คือ หาใจของเรา ใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมากคนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญ ไปมองดูที่อื่นที่ไม่สำคัญ เป็นต้นว่า กวาดบ้าน ล้างจาน ก็มุ่งความสะอาด ล้างถ้วยล้างจานให้มันสะอาด ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งความสะอาด แต่ใจเจ้าของไม่เคยมุ่งมองเลย ใจของเรามันเน่า บางทีก็โกรธหน้าบูดหน้าเบี้ยวเท่านั้นแหละ ก็ไปมุ่งแต่จานให้จานมันสะอาด ใจของเราไม่สะอาดเท่าไรก็ไม่มองดู นี่เราขาดที่พึ่ง เอาแต่ที่อาศัย แต่งบ้านแต่งช่อง แต่งอะไรสารพัดอย่าง แต่ใจของเราไม่ค่อยจะแต่งกัน ทุกข์ไม่ค่อยจะมองดู ใจนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธองค์ท่านจึงพูดว่าให้หาที่พึ่งทางใจ อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ใครจะเป็นที่พึ่งได้ ที่เป็นที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง ไม่ใช่สิ่งอื่น พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้ แต่ไม่ใช่ของที่แน่นอนเราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวของเรา เราต้องมีที่พึ่งก่อน จะพึ่งอาจารย์ พึ่งญาติมิตรสหายทั้งหลาย จะพึ่งได้ดีนั้นเราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน ​


    ให้ถามตัวเองว่าเราเกิดมาทำไม
    วันนี้ที่มากราบนมัสการทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ขอให้รับโอวาทนี้ไปพินิจพิจารณา เราทุกคนให้นึกเสมอว่า เราคืออะไร เราเกิดมาทำไม นี่ถามปัญหาเจ้าของอยู่เสมอว่า เราเกิดมาทำไม ให้ถามเสมอบางคนไม่รู้นะ แต่อยากได้ความสุขใจ มันทุกข์ไม่หาย รวยก็ทุกข์ จนก็ทุกข์ เป็นเด็กเป็นคนโตก็ทุกข์ ทุกข์หมดทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะว่ามันขาดปัญญา เป็นคนจนก็ทุกข์เพราะมันจน เป็นคนรวยก็ทุกข์เพราะมันรวยมาก ของมากๆรักษาคนเดียว ​

    ในสมัยก่อนอาตมาเคยเป็นสามเณร เคยเทศน์ให้โยมฟัง ครูบาอาจารย์ท่านให้เทศน์ พูดถึงความร่ำรวยในการมีทาส ให้มีทาสสักร้อย ผู้หญิงก็ให้ได้สักร้อยหนึ่ง ผู้ชายก็ร้อยหนึ่ง มีช้างก็ร้อยหนึ่งมีวัวก็ร้อยหนึ่ง มีควายก็ร้อยหนึ่ง มีแต่สิ่งละร้อยทั้งนั้น ญาติโยมได้ฟังแล้วก็สบายใจ ให้โยมไปเลี้ยงควายสักร้อยหนึ่งเอาไหม เอาควายร้อยหนึ่ง เอาวัวร้อยหนึ่ง มีทาสผู้หญิงผู้ชายอย่างละร้อยให้โยมรักษาคนเดียว มันจะดีไหม นี่ไม่คิดดู แต่ความอยากมีวัว มีควาย มีช้างมีม้า มีทาสสิ่งละร้อยละร้อย น่าฟัง อุ๊ย! อิ่มใจเหลือเกิน มันสบายนะ แต่อาตมาเห็นว่าได้สักห้าสักสิบตัวก็พอแล้ว แค่ฟั่นเชือกเท่านั้นก็เต็มทีแล้ว อันนี้โยมไม่คิด คิดแต่ได้ ไม่คิดถึงว่ามันจะยากจะลำบาก ​


    ไม่มีปัญญา จักพาให้เป็นทุกข์
    สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวเรานี้ ถ้าเราไม่มีปัญญา จะทำให้เราทุกข์นะ ถ้าเรามีปัญญา นำออกจากทุกข์ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาไม่ใช่ของดีนะ ถ้าเราใจไม่ดี ไปมองคนบางคน ไปเกลียดเขาอีกแล้ว มานอนเป็นทุกข์อีกแล้ว ไปมองดูคนบางคน รักเขาอีกแล้ว รักเป็นทุกข์อีกแล้ว มันไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เกลียดก็เป็นทุกข์ รักก็เป็นทุกข์เพราะมันอยากได้ อยากได้ก็เป็นทุกข์ ไม่อยากได้ก็เป็นทุกข์ ของที่ไม่ชอบใจอยากทิ้งมันไป อยากได้ของที่ชอบใจ ของที่ไม่ชอบใจได้มามันก็ทุกข์ ของที่ชอบใจได้มาแล้วกลัวมันจะหายอีกแล้ว มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าจะอยู่อย่างไร บ้านหลังใหญ่ๆ ขนาดนี้ ก็นึกว่าจะให้มันสบายขึ้น เก็บความสบาย เก็บความดีไว้ในนี้ ถ้าคิดไม่ดีมันก็ไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละ ​

    ญาติโยมทั้งหลายจงมองดูตัวของเรา ว่าเราเกิดมาทำไม เราเคยได้อะไรไว้ไหม อาตมาเคยรวมคนแก่ เอาคนแก่อายุเลย ๘๐ ปีขึ้นไปมาอยู่รวมกัน อาชีพทำนา ตามบ้านนอกของเรา ทำนามาตั้งแต่โน้น เกิดมาได้ ๑๗-๑๘ ปี ก็รีบแต่งงาน กลัวจะไม่รวย ทำงานตั้งแต่เล็กๆ ให้มันรวย ทำนาจน ๗๐ ปีก็มี ๘๐ ปีก็มี ๙๐ ปีก็มี ที่มานั่งรวมกันฟังธรรม "โยม" อาตมาถาม "โยมจะเอาอะไรไปไหมนี่เกิดมาก็ทำอยู่จนเดี๋ยวนี้แหละ ผลที่สุดจะไป...จะได้อะไรไปไหม" ​

    ไม่รู้จัก ตอบได้แต่ว่า "จังว่า จังว่า จังว่า"* นี่ตามภาษาเขาว่า กินลูกหว้า เพลินกับลูกหว้า มันจะเสียเวลา เพราะจังว่านี่แหละ จะไปก็ไม่ไป จะอยู่ก็ไม่อยู่ มันอยู่ที่จังว่า นั่งอยู่ก้างๆ อยู่ง่า นั่งอยู่คาคบนั่นแล้ว มีแต่จังว่าๆ ​


    อย่าทิ้งไม้เล็กแบกไม้ใหญ่
    ตอนยังหนุ่มๆ ครั้งแรกอยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้ เอาของสองอย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไป ไม่สบายแล้ว เอาคนสองคนมาอยู่ด้วยกัน มันก็กระทบกัน ก๊อกๆ แก๊กๆ นั่นแหละลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็กๆ พ่อแม่ก็ตั้งใจว่า ลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก ก็เลี้ยงมันไปสามคนสี่คนห้าคน นึกว่ามันโตเราจะสบาย เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่ ทิ้งท่อนเล็กแล้วแบกเอาท่อนใหญ่ นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก ​

    ลูกเราตอนเด็กๆ มันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม มันกวนถามกินข้าวกับกล้วย เมื่อมันโตขึ้นมานี่มันถามเอารถมอเตอร์ไซด์ มันถามเอารถเก๋ง เอาล่ะความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้ ก็พยายามหา มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นลูก บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน "อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลย รถนี่ มันยังไม่มีเงิน" แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากิน แต่ก็อด กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่าง ต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร เรียนไม่มีจบหรอก ทางพุทธศาสนานี่เรียนจบ ศาสตร์อื่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อยๆ เรียนไม่จบ เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน ตาย! พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น ​


    เราถูกระดูกอยู่ทุกวัน
    ความทุกข์มันเกิดมาภายหลังเราไม่เห็น นึกว่ามันจะไม่เป็นอย่างนี้ เมื่อมันมาถึงเข้าแล้วจึงรู้ว่า โอ! มันเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนั้นจึงมองเห็นยาก ทุกข์ในตัวของเรานะโยม พูดตามประสาบ้านนอกเราเรื่องฟันของเรานะโยม ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ขี้ถ่านไฟก็ยังเอามาถูฟันให้มันขาว ไปถึงบ้านก็ไปยิงฟันใส่กระจก นึกว่ามันขาวถูฟันแล้วนี่ ไปชอบกระดูก ของเจ้าของไม่รู้เรื่อง พออายุถึง ๕๐-๖๐ ปี ฟันมันโยก เออ! เอาซิฟันโยก มันจะร้องไห้ กินข้าวน้ำตามันก็ไหล เหมือนกับถูกศอก ถูกเข่าเขาอยู่ทุกเวลา ฟันมันเจ็บมันปวด มันทุกข์มันยากมันลำบากนี่ อาตมาผ่านมาแล้วเรื่องนี้ ถอนออกหมดเลย ในปากนี้เป็นฟันปลอมทั้งนั้น มันโยกไม่สลายอยู่ ๑๖ ซี่ ถอนทีเดียวหมดเลย เจ็บใจมัน หมอไม่กล้าถอนแน่ะตั้ง ๑๖ ซี่ "หมอ ถอนมันเถอะ เป็นตาย อาตมาจะรับเอาหรอก" ถอนมันออกทีเดียวพร้อมกัน๑๖ ซี่ ที่มันยังแน่นๆ ตั้งหลายซี่ ตั้ง ๕ ซี่ ถอนออกเลย แต่ว่าเต็มทีนะ ถอนออกหมดแล้วไม่ได้ฉันข้าวอยู่ ๒-๓ วัน นี่เป็นเรื่องทุกข์ ​


    จะเก็บจะตายสังขารไหลเรื่อยไป
    อาตมาคิดแต่ก่อนนะ ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาถ่านไฟมาถูให้มันขาว รักมันมากเหลือเกิน นึกว่ามันเป็นของดี ผลที่สุดมันจะหนีจากเรา จึงเกือบตาย เจ็บฟันนี้มันตั้งหลายเดือน ตั้งหลายปี บางทีมันบวมทั้งข้างล่างข้างบน หมดท่าเลยโยม อันนี้คงจะเจอกันทุกคนหรอก พวกที่ฟันไม่โยก เอาแปรงไปแปรงให้มันสะอาดสวยงามอยู่นั่นแหละ ระวังนะ ระวังมันจะเล่นงานเราเมื่อสุดท้าย ซี่ยาวซี่สั้นมันสลับกันอยู่อย่างนี้ ทุกข์มากโยม อันนี้ทุกข์มากจริงๆ ​

    อันนี้บอกไว้หรอก บางทีจะไปเจอเอาทุกข์ เพราะความทุกข์ในตัวของเรานี้ จะหาที่พึ่งอะไรมันไม่มี มันค่อยยังชั่วเมื่อเรายังหนุ่ม พอแก่เข้าก็เริ่มพัง มันช่วยกันพัง สังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน เราจะร้องไห้มันก็อยู่อย่างนี้ จะดีใจมันก็อยู่อย่างนี้ เราจะเป็นอะไรมันก็อยู่ของมันอย่างนี้ เราจะเจ็บจะปวดจะเป็นจะตายมันก็อยู่อย่างนั้นเพราะมันเป็นอย่างนั้น นี่มันหมดความรู้ หมดวิชา เอาหมอฟันมาดูฟัน ถึงแก้ไขแล้วยังไงก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ต่อไปหมอฟันเองก็เป็นเหมือนเราอีก ไปไม่ไหวอีกแล้ว ทุกอย่างมันก็พังไปด้วยกันทั้งหมด นี้เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องรีบพิจารณา ​

    เมื่อมีกำลังเรี่ยวแรงก็รีบทำจะทำบุญสุนทานจะทำอะไรก็รีบจัดทำกัน แต่ว่าคนเราก็มักจะไปมอบให้แต่คนแก่ จะเข้าวัดศึกษาธรรมะรอให้แก่เสียก่อน โยมผู้หญิงก็เหมือนกัน โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ให้แก่เสียก่อนเถอะ ไม่รู้ว่าอะไรกันคนแก่นี่มันกำลังดีไหม ลองไปวิ่งแข่งกับคนหนุ่มดูซิ ทำไมจะต้องไปมอบให้คนแก่เหมือนไม่รู้จักตาย พอแก่มาสัก ๕๐ ปี ๖๐ ปี จวนเข้าวัดอยู่แล้ว หูตึงเสียแล้ว ความจำก็ไม่ดีเสียแล้ว นั่งก็ไม่ทน "ยายไปวัดเถอะ" ​

    "โอย หูฉันไม่ดีแล้ว" ​

    นั่นเห็นไหม ตอนหูดีเอาไปฟังอะไรอยู่ จังว่า... จังว่า มันคาแต่ลูกหว้าอยู่นั่นแหละ จนหูมันหนวกเสียแล้วจึงไปวัด มันก็ไปได้นั่งฟังท่านเทศน์ เทศน์อะไรไม่รู้เรื่อง มันหมดแล้วจึงมาทำกัน ​


    ยามหนุ่มสังขารแบกเรา ยามแก่เราแบกสังขาร
    วันนี้คงจะได้ประโยชน์กับบุคคลที่สนใจเป็นบางสิ่งบางอย่าง ที่ควรเก็บไว้ในใจของเรา สิ่งทั้งหลายนี่เป็นมรดกของเราทั้งนั้น มันจะรวมมา รวมมาให้เราแบกทั้งนั้นแหละ ขานี่เป็นสิ่งที่วิ่งได้มาแต่ก่อนอย่างขาอาตมานี่จะเดินมันก็หนัก สกลร่างกายจะต้องแบกมัน แต่ก่อนนั้นมันแบกเรา บัดนี้เราแบกมัน สมัยเป็นเด็กเห็นคนแก่ๆ ลุกขึ้นก ็"โอ๊ย" นั่งลงก็ "โอ๊ย" มันทุกข์ถึงขนาดนั้น เรายังไม่เห็นโทษมัน เมื่อจะหนีจากมันเราไม่รู้จัก ที่ทำเจ็บทำปวดขึ้นมานี่ เรียกว่าสังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน มันเป็นประดง ประดงไฟ ประดงข้อ ประดงงอประดงจิปาถะ หมอเอายามาใส่ก็ไม่ถูก ผลที่สุดก็พังไปทั้งหมดอีก คือสังขารมันเสื่อม มันเป็นไปตามสภาพของมัน มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้นให้ญาติพี่น้องให้พากันเห็นถ้าเห็นแล้วก็จะไม่เป็นอะไร อย่างงูอสรพิษตัวร้ายๆมันเลื้อยมา เราเห็น เราเห็นมันก่อนก็หนี มันไม่ได้กัดเราหรอก เพราะเราได้ระวังมัน ถ้าเราไม่เห็นมัน เดินๆไปไม่เห็นก็ไปเหยียบมัน เดี๋ยวมันก็กัดเลย ​


    ไม่อยากทุกข์ต้องรู้จักทางแก้ไข
    ถ้ามันทุกข์แล้วไม่รู้จะไปฟ้องใคร ถ้าทุกข์เกิดขึ้นจะไปแก้ตรงไหน คืออยากแต่ว่าไม่ให้มันทุกข์เฉยๆ เท่านั้น อยากไม่ให้มันทุกข์แต่ไม่รู้จักทางแก้ไขมัน แล้วก็อยู่ไป อยู่ไปจนถึงวันแก่ วันเจ็บ แล้วก็วันตาย คนโบราณบางคนเขาว่า เมื่อมันเจ็บมันไข้จวบลมหายใจจะขาดให้ค่อยๆ เข้าไปกระซิบใกล้หูคนไข้ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันจะเอาอะไร พุทโธนั่นนะ คนที่ใกล้จะนอนในกองไฟจะรู้จักพุทโธอะไร ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอายุรุ่นๆ ทำไมไม่เรียนพุทโธให้มันรู้ หายใจติดบ้างไม่ติดบ้าง "แม่ๆ พุทโธ พุทโธ" ว่าให้มันเหนื่อยทำไม อย่าไปว่าเลย มันหลายเรื่อง เอาได้แค่นั้นก็สบายแล้ว​

    โยมชอบเอาแต่ต้นกับปลายมัน ตรงกลางไม่เอาหรอก ชอบอย่างนั้น บริวารพวกเราทั้งหลายก็ชอบอย่างนั้น ทั้งญาติโยมทั้งพระ ทั้งเณร ชอบแต่ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักแก้ไขภายในจิตของเจ้าของ ไม่รู้จักที่พึ่ง แล้วก็โกรธง่าย และก็อยากหลายด้วย ทำไม คือคนที่ไม่มีที่พึ่งทางใจ อยู่เป็นฆราวาส มีอายุ ๒๐-๓๐-๔๐ ปี กำลังแรงดีอยู่ พ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายก็พอพูดกันรู้เรื่องกันหน่อย นี่ ๕๐ ปีขึ้นไปแล้ว พูดกันไม่รู้เรื่องกันแล้ว เดี๋ยวก็นั่งหันหลังให้กันหรอก แม่บ้านพูดไปพ่อบ้านทนไม่ได้ พ่อบ้านพูดไปแม่บ้านฟังไม่ได้ เลยแยกกันหันหลังให้กัน เลยแตกกันเลย ​


    ความหมายของคำว่า "ครอบครัว"
    เรื่องนี้อาตมาเล่าไปหรอก ตัวเองไม่เคยมีครอบครัว ทำไมไม่มีครอบครัว คืออ่านคำว่าครอบครัว มันก็รู้แล้ว ครอบครัว คืออะไร ครอบมันก็คืออย่างนี้ ถ้าเรานั่งอยู่เฉยๆ ก็เอาอะไรมาครอบลงนี้จะเป็นอย่างไร เรานั่งอยู่ไม่มีอะไรมาครอบมันก็พอทนได้ ถ้าเอาอะไรมาครอบลงก็เรียกว่าครอบแล้ว มันเป็นอย่างไรครอบก็เป็นอย่างนั้น มันมีวงจำกัดแล้ว ผู้ชายก็อยู่ในวงจำกัด ผู้หญิงก็อยู่ในวงจำกัด อาตมาไปอ่านแล้ว ครอบครัวโอยหนัก ศัพท์ตายนี่ คำนี้ไม่ใช่ศัพท์เล่นๆ ศัพท์ที่ว่า ครอบ นี้ศัพท์ทุกข์ ไปไม่ได้มันมีจำกัดแล้ว ต่อไปอีก ครัว ก็หมายถึงการก่อกวนแล้ว ทิ่มแทงแล้ว โยมผู้หญิงเคยเข้าครัว เคยโขลกพริกคั่ว พริกแห้งไหม ไอ จาม ทั้งบ้านเลยศัพท์ครอบครัวมันวุ่น ไม่น่าอยู่หรอก อาตมาอาศัยสองศัพท์นี่แหละจึงบวชไม่สึก ​

    ครอบครัวนี่น่ากลัว ขังไว้จะไปไหนก็ไม่ได้ ลำบากเรื่องลูกบ้าง เรื่องเงินเรื่องทองบ้าง สารพัดอย่างอยู่ในนั้น ไม่รู้จะไปที่ไหน มันผูกไว้แล้ว ลูกผู้หญิงก็มี ลูกผู้ชายก็มี มันวุ่นวายเถียงกันอยู่นั่นแหละจนตายไม่ต้องไปไหนกันละ เจ็บใจขนาดไหนก็ไม่ว่า น้ำตามันไหลออกก็ไหลอยู่นั่นแหละ เออ น้ำตามันไม่หมดนะโยมครอบครัวนี่นะ ถ้าไม่มีครอบครัวน้ำตามันหมดเป็น ถ้ามีครอบครัวน้ำตามันหมดยาก หมดไม่ได้ โยมเห็นไหม มันบีบออกเหมือนบีบอ้อย ตาแห้งๆก็บีบออกให้เป็นน้ำไหลออกมา ไม่รู้มันมาจากไหน มันเจ็บใจแค้นใจสารพัดอย่าง มันทุกข์ เลยรวมทุกข์บีบออกมาเป็นน้ำทุกข์ ​

    อันนี้ให้โยมทั้งหลายเข้าใจ ถ้ายังไม่ผ่านมันจะผ่านอยู่ข้างหน้าบางคนอาจจะผ่านมาบ้างแล้วเล็กๆน้อยๆ บางคนก็เต็มที่แล้ว จะอยู่หรือจะไปหนอ โยมผู้หญิงเคยมาหาหลวงพ่อ ​

    "หลวงพ่อ แหม ถ้าดิฉันไม่มีบุตร ดิฉันจะไปแล้ว" ​

    "เออ อยู่นั่นแหละ เรียนให้จบเสียก่อน เรียนตรงนั้น อยากจะไปก็อยากจะไป ไม่อยากจะอยู่ ถึงขนาดนั้นก็ยังหนีไม่ได้" ​

    วัดป่าพงสร้างกุฏิเล็กๆ ไว้ตั้ง ๗๐-๘๐ หลัง บางทีจะมีพระเณรมาอยู่บรรจุเต็ม บางทีก็มีเหลือ ๒-๓ หลัง อาตมาถามว่า "กุฏิยังเหลือว่างไหม?" ​

    พวกชีบอก "มีบ้าง ๒-๓ หลัง" ​

    "เออ เก็บเอาไปเถอะ บางทีพ่อบ้านแม่บ้านเขาทะเลาะกัน เอาไว้ให้เขามานอนสักหน่อย" ​

    แน่ะ มาแล้ว โยมผู้หญิงสะพายของมาแล้ว ถามว่า "โยมมาจากไหน?"​

    "มากราบหลวงพ่อ ดิฉันเบื่อโลก" ​

    "โอย! อย่าว่าเลย อาตมากลัวเหลือเกิน" ​

    พอผู้ชายมาบ้าง ก็เบื่ออีกแล้ว นั่นมาอยู่ ๒-๓ วัน ก็หายเบื่อไปแล้ว โยมผู้หญิงมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ โยมผู้ชายมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ ไปนั่งอยู่กุฏิเล็กๆ เงียบๆ คิดแล้ว "เมื่อไหร่หนอแม่บ้านจะมาเรียกเรากลับ" "เมื่อไหร่หนอพ่อบ้านจะมาเรียกเรากลับ" ​

    แน่ะ ไม่รู้อะไร มันเบื่ออะไรกัน มันโกรธแล้ว มันก็เบื่อแล้วก็กลับอีก เมื่ออยู่ในบ้านผิดทั้งนั้นล่ะ พ่อบ้านผิดทั้งนั้น แม่บ้านผิดทั้งนั้น มานั่งภาวนาได้ ๓ วัน "เออ! แม่บ้านเขาถูกเว้ย เรามันผิด" "พ่อบ้านเขาถูก เราซิผิด" มันจะกลับ มันเปลี่ยนเอาเองของมันอย่างนั้น ก็กลับไปเลยทั้งนั้นแหละ นี้ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะโลกนี้ อาตมาจึงไม่วุ่นวายอะไรกันมาก รู้ต้นรู้ปลายมันแล้ว ฉะนั้น จึงมาบวชอยู่อย่างนี้ ​

    คิดและพิจารณาบ่อยๆ พลอยให้เกิดปัญญา​

    วันนี้ขอฝากให้เป็นการบ้าน เอาไปทำการบ้าน จะทำไร่ทำนาทำสวน ให้เอาคำหลวงพ่อมาพิจารณาว่า เราเกิดมาทำไม เอาย่อๆว่าเกิดมาทำไม มีอะไรเอาไปได้ไหม ถามเรื่อยๆนะ ถ้าใครถามอย่างนี้บ่อยๆมีปัญญานะ ถ้าใครไม่ถามเจ้าของอย่างนี้ โง่ทั้งนั้นแหละ เข้าใจไหม บางทีฟังธรรมวันนี้แล้วกลับไปถึงบ้านจะพบเย็นนี้ก็ได้ ไม่นานนะมันเกิดขึ้นทุกวัน เราฟังธรรมอยู่มันเงียบ บางทีมันรออยู่ที่รถ เมื่อเราขึ้นรถมันก็ขึ้นรถไปด้วย ถึงบ้านมันก็แสดงอาการออกมา อ้อ หลวงพ่อท่านสอนไว้จริงของท่านละมังนี่ ตาไม่ดี ไม่เห็นนะ ​

    เอาละ วันนี้เทศน์มากก็เหนื่อย นั่งมามากก็เหนื่อยสังขารร่างกายนี้ ​

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/goal_for_live.html
     
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ธรรมะกับธรรมชาติ
    มองดูธรรมชาติรอบตัวแล้วนำมาพิจารณาค้นหาความจริง แก่นแท้ของธรรมะคือธรรมชาติ

    บางครั้ง ต้นผลไม้ อย่างต้นมะม่วงเป็นดอกออกมาแล้ว บางทีถูกลมพัด มันก็หล่นลง แต่ยังเป็นดอกอย่างนั้นก็มี บางช่อเป็นลูกเล็กๆ ลมก็มาพัดไป หล่นทิ้งไปก็มี บางช่อยังไม่ได้เป็นลูก เป็นดอกเท่านั้น ก็หักไปก็มี

    คนเราก็เหมือนกัน บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้องบางคนคลอดจากท้องอยู่ได้สองวัน ตายไปก็มี หรืออายุเพียงเดือนสองเดือน สามเดือน ยังไม่ทันโต ตายไปก็มีบางคนพอเป็นหนุ่มเป็นสาวตายไปก็มี บางคนก็แก่เฒ่าแล้ว จึงตายก็มี

    เมื่อนึกถึงคนแล้ว ก็นึกถึงผลไม้ ก็เห็นความไม่แน่นอน แม้นักบวชเราก็เหมือนกัน บางทียังไม่ทันได้บวชเลย ยังเป็นเพียงผ้าขาวอยู่ก็พาผ้าขาววิ่งหนีไปก็มี บางคนโกนผมเท่านั้นยังไม่ได้บวชขาวด้วยซ้ำ ก็หนีไปก่อนแล้วก็มี บางคนก็อยู่ได้สามสี่เดือนก็หนีไป บางคนอยู่ถึงบวชเป็นเณรเป็นพระ ได้พรรษาสองพรรษาก็สึกไปก็มี หรือสี่ห้าพรรษาแล้วก็สึกไปก็มี เหมือนกับผลไม้เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ผลไม้ถูกลมพัดตกลงไปเลยไม่ได้สุก จิตใจคนเราก็เหมือนกัน พอถูกอารมณ์มาพัดไป ดึงไป ก็ตกไปเหมือนกับผลไม้

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=205>[​IMG] </TD><TD class=just>พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงเห็นเหมือนกัน เห็นสภาพธรรมชาติของผลไม้ ใบไม้ แล้วก็นึกถึงสภาวะของพระเณรซึ่งเป็นบริษัท บริวารของท่านก็เหมือนกัน มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ย่อมจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติถ้ามีปัญญา พิจารณาดูอยู่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูอาจารย์แนะนำพร่ำสอนมากมาย

    พระพุทธเจ้าของเรา ที่จะทรงผนวชในพระชาติที่เป็นพระชนกกุมารนั้น ท่านก็ไม่ได้ศึกษาอะไรมากมาย ท่านไปทรงเห็นต้นมะม่วงในสวนอุทยานเท่านั้น คือวันหนึ่ง พระชนกกุมารได้เสด็จไปชมสวนอุทยานกับพวกอำมาตย์ทั้งหลาย ได้ทรงเห็นต้นมะม่วงต้นหนึ่ง กำลังออกผลงามๆ มากมาย ก็ตั้งพระทัยไว้ว่า ตอนกลับจะแวะเสวยมะม่วงนั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่เมื่อพระชนกกุมารเสด็จผ่านไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันเก็บผลมะม่วงตามใจชอบ ฟาดด้วยกระบองบ้าง แส้บ้าง เพื่อให้กิ่งหัก ใบขาด จะได้เก็บผลมะม่วงมากิน

    พอตอนเย็น พระชนกกุมารเสด็จกลับ ก็จะทรงเก็บมะม่วง เพื่อจะลองเสวยว่าจะมีรสอร่อยเพียงใด แต่ก็ไม่มีมะม่วงเหลือเลยสักผล มีแต่ต้นมะม่วงที่กิ่งก้านหักห้อยเกะกะ ใบก็ขาดวิ่น เมื่อไต่ถาม ก็ทรงทราบว่าพวกอำมาตย์เหล่านั้นได้ใช้กระบอง ใช้แส้ฟาดต้นมะม่วงนั้นอย่างไม่ปรานี เพื่อที่จะเอาผลของมันมาบริโภคฉะนั้นใบของมันจึงขาดกระจัดกระจาย กิ่งของมันก็หัก ห้อยระเกะระกะ
    เมื่อพระองค์ทรงมองมะม่วงสักต้นหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็ทรงเห็นมะม่วงต้นนั้นยังมีกิ่งก้านแข็งแรง ใบดกสมบูรณ์ มองดูน่าร่มเย็น จึงทรงดำริว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? ก็ทรงได้คำตอบว่า เพราะมะม่วงต้นนั้นมันไม่มีผล คนก็ไม่ต้องการมัน ไม่ขว้างปามัน ใบของมันก็ ไม่หล่นร่วง กิ่งของมันก็ไม่หัก

    พอพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเหตุเท่านั้น ก็พิจารณามาตลอดทางที่เสด็จกลับ ทรงรำพึงว่า ที่ทรงมีความทุกข์ยากลำบาก ก็เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ ต้องทรงห่วงใยราษฎร ต้องคอยป้องกันแผ่นดินจากข้าศึกศัตรู ที่คอยจะมาโจมตีตรงนั้นตรงนี้อยู่วุ่นวาย แม้จะนอนก็ไม่เป็นสุข บรรทมแล้วก็ยังทรงฝันถึงอีก แล้วก็ทรงนึกถึงต้นมะม่วงที่ไม่มีผลต้นนั้น ที่มีใบสดดูร่มเย็น แล้วทรงดำริว่า จะทำอย่างมะม่วงต้นนั้นจะไม่ดีกว่าหรือ?

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD width=155>[​IMG] </TD><TD class=just>พอถึงพระราชวัง ก็ทรงพิจารณาอยู่แต่ในเรื่องนี้ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยออกทรงผนวช โดยอาศัยต้นมะม่วงนั้นแหละ เป็นบทเรียนสอนพระทัย ทรงเปรียบเทียบพระองค์เองกับมะม่วงต้นนั้น แล้วเห็นว่าถ้าไม่พัวพันอยู่ในเพศฆราวาส ก็จะได้เป็นผู้ไปคนเดียว ไม่ต้องกังวลทุกข์ร้อน เป็นผู้มีอิสระ จึงออกผนวช

    หลังจากทรงผนวชแล้ว ถ้ามีผู้ใดทูลถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน? พระองค์ก็จะทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" ใครเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน? พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" พระองค์ไม่ต้องการคำพร่ำสอนอะไรมากมาย เพียงแต่ทรงเห็นต้นมะม่วงนั้นเท่านั้น ก็ทรงน้อมเข้าไปในพระทัย เป็นโอปนยิกธรรม สละราชสมบัติทรงเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ อยู่ในความสงบผ่องใส

    นี้คือในสมัยที่พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรมเช่นนี้มาโดยตลอดอันที่จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเตรียมพร้อมที่จะสอนเราอยู่เสมอ ถ้าเราทำปัญญาให้เกิดนิดเดียวเท่านั้น ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในโลก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เหล่านั้น มันแสดงลักษณะอาการตามความจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้ามีปัญญาเท่านั้นก็ไม่ต้องไปถามใคร ไม่ต้องไปศึกษาที่ไหน ดูเอาที่มันเป็นอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ก็ตรัสรู้ธรรมได้แล้ว เหมือนอย่างพระชนกกุมาร

    ถ้าเรามีปัญญา ถ้าเราสังวร สำรวม ดูอยู่ รู้อยู่เห็นอยู่ตามธรรมชาติอันนั้น มันก็ปลงอนิจจัง ทุกขังอนัตตาได้เท่านั้น เช่นว่า ต้นไม้ทุกต้นที่เราเห็นอยู่บนพื้นปฐพีนี้ มันก็เป็นไปในแนวเดียวกัน เป็นไปในแนวอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่เป็นของแน่นอนถาวรสักอย่าง มันเหมือนกันหมด มีเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น แปรไปในท่ามกลาง ผลที่สุดก็ดับไปอย่างนี้

    เมื่อเราเห็นต้นไม้เป็นอย่างนั้นแล้ว ก็น้อมเข้ามาถึงตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวเราหรือบุคคลอื่นก็เหมือนกันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นในท่ามกลางก็แปรไป เปลี่ยนไป ผลที่สุดก็สลายไป นี่คือธรรมะ

    ต้นไม้ทุกต้นก็เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน เพราะว่ามันเหมือนกันโดยอาการที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็แปรไป แล้วมันก็เปลี่ยนไป หายไป เสื่อมไปดับสิ้นไปเป็นธรรมดา

    มนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้มีสติอยู่รู้อยู่ ศึกษาด้วยปัญญา ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเห็นธรรมอันแท้จริง คือเห็นมนุษย์เรานี้ เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไปแล้วก็เปลี่ยนไป สลายไป ถึงที่สุดแล้วก็จบ ทุกคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น คนทุกคนในสากลโลกนี้ ก็เป็นอันเดียวกัน ถ้าเราเห็นคนคนเดียวชัดเจนแล้ว ก็เหมือนกับเห็นคนทั้งโลก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

    ทุกสิ่งสารพัดนี้เป็นธรรมะ สิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตา คือใจของเรานี้ เมื่อความคิดเกิดขึ้นมา ความคิดนั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไป เมื่อแปรไปแล้ว ก็ดับสูญไปเท่านั้น นี้เรียกว่า "นามธรรม" สักแต่ว่าความรู้สึกเกิดขึ้นมา แล้วมันก็ดับไป นี่คือความจริงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น ล้วนเป็นอริยสัจจธรรมทั้งนั้น ถ้าเราไม่มองดูตรงนี้ เราก็ไม่เห็น

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา เราก็จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงไหน?
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม
    พระธรรมอยู่ที่ตรงไหน?
    พระธรรมอยู่ที่พระพุทธเจ้า อยู่ตรงนี้แหละ
    พระสงฆ์อยู่ที่ตรงไหน?
    พระสงฆ์อยู่ที่พระธรรม

    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ในใจของเราแต่เราต้องมองให้ชัดเจน บางคนเก็บเอาความไปโดยผิวเผิน แล้วอุทานว่า "โอ! พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจของฉัน" แต่ปฏิปทานั้นไม่เหมาะไม่สมควร มันก็ไม่เข้ากันกับการที่จะอุทานเช่นนั้น เพราะใจของผู้ที่อุทานเช่นนั้น จะต้องเป็นใจที่รู้ธรรมะ

    ถ้าเราตรงไปที่จุดเดียวกันอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าความจริงในโลกนี้มีอยู่ นามธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดเป็นของไม่แน่นอน มีความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ความโกรธตั้งอยู่แล้ว ความโกรธก็แปรไป เมื่อความโกรธแปรไปแล้ว ความโกรธก็สลายไป


    </TD><TD align=right width=155>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อความสุขเกิดขึ้นมาแล้ว ความสุขนั้นก็ตั้งอยู่เมื่อความสุขตั้งอยู่แล้ว ความสุขก็แปรไป เมื่อความสุขแปรไปแล้ว ความสุขมันก็สลายไปหมด ก็ไม่มีอะไร มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ทุกกาลเวลา ทั้งของภายในคือ นามรูปนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งของภายนอก คือต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์เหล่านี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ นี่เรียกว่าสัจจธรรม

    ถ้าใครเห็นธรรมชาติก็เห็นธรรมะ ถ้าใครเห็นธรรมะก็เห็นธรรมชาติ ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ เห็นธรรมะผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่อยู่ไกล

    ฉะนั้น ถ้าเรามีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ผู้รู้ทั้งหลายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้ ให้เห็นธรรมะตามเป็นจริงทุกกาลเวลา

    พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านยังไม่ตาย แต่คนมักเข้าใจว่าท่านตายไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นท่านไม่นิพพาน ท่านไม่ตายท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ทุกเวลา พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะนั่นเอง ใครทำดีต้องได้ดีอยู่วันหนึ่ง ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว นี่เรียกว่าพระธรรมพระธรรมนั้นแหละเรียกว่า พระพุทธเจ้า และก็ธรรมะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธเจ้าของเรา เป็นพระพุทธเจ้า

    ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็คือพระธรรม และพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำก็จะเห็นน้ำไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งไปทำให้น้ำมีขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกลงไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว

    อันนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน ท่านไม่ได้ไปแต่งธรรมะ ท่านไม่ได้บัญญัติธรรมะ บัญญัติก็บัญญัติสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ธรรมะคือความจริงที่มีอยู่แล้ว ท่านพิจารณาเห็นธรรมะ ท่านเข้าไปรู้ธรรม คือรู้ความจริงอันนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่าพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้ธรรม และการตรัสรู้ธรรมนี่เองจึงทำให้ท่านได้รับพระนามว่า พระพุทธเจ้า

    เมื่อพระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ก็ทรงเป็นเพียง "เจ้าชายสิทธัตถะ" ต่อเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว จึงได้ทรงเป็น "พระพุทธเจ้า" บุคคลทั้งหลายก็เหมือนกันผู้ใดสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ผู้นั้นก็เป็นพุทธะ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=180>[​IMG] </TD><TD class=just>ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงยังมีอยู่ ยังเมตตากรุณาสัตว์ทั้งหลาย ยังช่วยมนุษย์สัตว์ทั้งหลายอยู่ ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความประพฤติปฏิบัติดี จงรักภักดี พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ผู้นั้นก็จะมีคุณงามความดีอยู่ตลอดทุกวันฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา ก็จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้อยู่ห่างพระพุทธเจ้าเลย เดี๋ยวนี้เราก็ยังนั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าเราเข้าใจธรรมะเมื่อใด เราก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ผู้ใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน อยู่ ณ ที่ใด ผู้นั้นย่อมได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

    ในการปฏิบัติธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่ในที่สงบ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต นี้เป็นหลักไว้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ไม่เกิดที่อื่นความดีทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ ความชั่วทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ พระพุทธเจ้าจึงให้สังวรสำรวมให้รู้จักเหตุที่มันเกิดขึ้น

    ความจริง พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกทรงสอนไว้หมดทุกอย่างแล้ว เรื่องศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดีตลอดจนข้อประพฤติปฏิบัติทุกประการก็ทรงพร่ำสอนไว้หมดทุกอย่าง เราไม่ต้องไปคิด ไปบัญญัติอะไรอีกแล้วเพียงให้ทำตามในสิ่งที่ท่านทรงสอนไว้เท่านั้น นับว่าพวกเราเป็นผู้มีบุญ มีโชคอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบหนทางที่ท่านทรงแนะทรงบอกไว้แล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมไว้ให้เรา แล้วก็เชิญให้พวกเรา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>ทั้งหลายไปกินผลไม้ในสวนนั้น โดยที่เราไม่ต้องออกแรงทำอะไรในสวนนั้นเลย เช่นเดียวกับคำสอนในทางธรรม ที่พระองค์ทรงสอนหมดแล้ว ยังขาดแต่บุคคลที่จะมีศรัทธาเข้าไปประพฤติปฏิบัติเท่านั้น

    ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่

    ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า

    ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้

    ถ้าหากเราคิดไม่ถูก ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็จะกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นยักษ์ เป็นผี เป็นสารพัดอย่าง มันจะเป็นไปได้อย่างไร? ก็ขอให้มองดูในจิตของเราเอง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น มันเป็นอย่างไร? นั่นแหละ!

    เมื่อความหลงเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร? นั่นแหละ!
    เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร? นั่นแหละ!
    สภาวะทั้งหลายเหล่านี้แหละ มันเป็นภพ แล้วก็เป็นชาติ เป็นความเกิดที่เป็นไปตามสภาวะแห่งจิตของตน

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/dhamma_nature.html
     
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การทำจิตให้สงบ
    การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน

    การทำจิตให้สงบ คือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินไปมากมันก็เลยไป ปล่อยเกินไปมันก็ไม่ถึง เพราะขาดความพอดี ธรรมดาจิตเป็นของไม่อยู่นิ่ง เป็นของมีกิริยาไหวตัวอยู่เรื่อย ฉะนั้นจิตใจของเราจึงไม่มีกำลัง

    การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลัง ทำกายบริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง การทำจิตใจให้มีกำลังก็คือทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>การทำสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บัดนี้เราจะทำสมาธิ ก็ตั้งใจ ให้เอาความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป ก็ไม่พอดี ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบเหมือนกันกับเราเย็บจักร ผู้เย็บจักรมีมือมีเท้าเราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อน ให้รู้จักให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อนจึงเอาผ้ามาเย็บ

    การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆ กำหนดรู้ไว้ จะพอดีขนาดไหน ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหน แรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน จะสั้นก็ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดีเอาแรงพอดี นั่นชื่อว่าความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้องแล้วก็ปล่อย หายใจดูก่อนไม่ต้องทำอะไร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG] </TD><TD>ถ้าหากว่าจิตสบายแล้ว จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูกกลางลมอยู่หทัยคือหัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลม เมื่อหายใจออกต้นลมจะอยู่สะดือกลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก นี่มันสลับกันอย่างนี้ กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่านหทัย ผ่านสะดือ พอสุดแล้วก็จะเวียนกลับมาอีกเป็นสามจุดนี้ ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้ พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้น

    เมื่อหากว่าเรากำหนดจิตของเรา ให้รู้จักต้นลมกลางลม ปลายลมดีแล้วพอสมควร เราก็วาง เราจะหายใจเข้าออกเฉยๆ เอาความรู้สึกของเราไว้ปลายจมูก หรือริมฝีปากบนที่ลมผ่านออกผ่านเข้า เอาแต่ความรู้สึกเท่านั้นไว้ที่นั่น ไม่ต้องตามลมออกไป ไม่ต้องตามลมเข้ามา เอาความรู้สึกหรือผู้รู้นั่นแหละไว้เฉพาะหน้าเราที่ปลายจมูก ให้รู้จักลมผ่านออก ผ่านเข้า ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพียงแต่ให้มีความรู้สึกเท่านั้นแหละ ให้มีความรู้สึกติดต่อกัน ลมออกก็ให้รู้ลมเข้าก็ให้รู้ ให้รู้อยู่แต่ที่นั่นแหละ รู้แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องคิด เอาเพียงเท่านั้นเสียก่อนในเวลานี้ หน้าที่การงานของเรามีแค่นั้น ไม่ได้มีมาก กำหนดลมเข้าออกอยู่อย่างนั้นแหละ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>ต่อไปจิตก็สงบลมก็จะละเอียดเข้าไป น้อยเข้าไปกายก็จะเบาเข้าไป จิตก็จะสงบไป ความเบากายเบาใจนั้น ก็จะเกิดขึ้นมา จะเป็นกายควรแก่การงาน และจะเป็นจิตควรแก่การงานต่อไป นี่คือการทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไรมาก ให้กำหนดเท่านั้น ต่อไปนี้ให้ตั้งใจทำกำหนดไป.....

    จิตเราละเอียดเข้าไป การทำสมาธินั้นจะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้ทันเอาไว้ ให้เรารู้จักมัน มันก็มีทั้งอารมณ์ มีทั้งความสงบคลุกคลีกันไป มันมีวิตก วิตกคือการจะยกจิตของตนนึกถึงอันใดอันหนึ่งขึ้นมา ถ้าสติของเราน้อยก็จะวิตกน้อย แล้วก็มีวิจารณ์คือ การตรวจดูตามเรื่องที่เราวิตกนั้น แต่ข้อสำคัญนั้นต้องพยายามรู้ให้ทันอยู่เสมอ แล้วก็พิจารณาให้ลึกลงไปอีก ให้เห็นว่า มีทั้งสมาธิและมีทั้งความรู้รวมอยู่ในนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>องค์ประกอบของความสงบ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำว่า "จิตสงบ" นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรมันต้องมี มีความสงบครอบอยู่ ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมีวิตก ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา แล้วก็มีวิจารณ์ คือพิจารณาตามอารมณที่เกิดขึ้นมา ต่อไปก็จะมีปีติคือ ความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้น ในสิ่งที่เราวิจารณ์ไปนั้น จะเกิดปีติ คือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมันแล้วกมีสุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตก สุขอยู่ในการวิจารณ์ สุขอยู่กับความอิ่มใจ สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบ วิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ วิจารณ์ก็วิจารณ์อยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบ สุขก็อยู่ในความสงบ ทั้งสี่อย่างนี้เป็นอารมณ์อันเดียว อย่างที่ห้า คือ เอกัคคตา ห้าอย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ แตมีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารณ์ก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกัน

    คำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น ทำไมจึงมีหลายอย่างหมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ช่างมัน เพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้น จะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกันไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ เหมือนกับว่ามีคน ๕ คน แต่ลักษณะของคนทั้ง ๕ คนนั้นมีอาการเดียวกัน คือจะมีอารมณ์ทั้ง ๕ อารมณ์ เมื่ออารมณ์อันนั้นอยู่ในลักษณะ นี้ ท่านเรียกว่า "องค์" องค์ของความสงบ ท่านไม่ได้เรียกว่าอารมณ์ ท่านเรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นอารมณ์ตามธรรมดาท่านจึงจัดว่าเป็นองค์ของความสงบมีอาการอยู่ ๕ อย่าง คือวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ไม่มีความรำคาญ วิตกอยู่ก็ไม่รำคาญ วิจารณ์อยู่ก็ไม่รำคาญมีปีติก็ไม่รำคาญ มีความสุขก็ไม่รำคาญ จิตจึงเป็นอารมณ์เดียวอยู่ในสิ่งทั้ง ๕ นี้จับรวมกันอยู่ เรื่องจิตสงบขั้นแรกจึงเป็นอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปัญหาของการทำสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทีนี้บางอย่างอาจถอยออกมา ถ้ากำลังใจไม่กล้าสติหย่อนไปแล้ว มันจะมีอารมณ์มาแทรกเข้าไปเป็นบางครั้ง คล้ายๆ กับว่าเคลิ้มไป แล้วมีอาการอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกตอนที่มันเคลิ้มไป แต่ไม่ใช่ความง่วงตามธรรมดา ท่านว่ามีความเคลิ้มในความสงบ บางทีก็มีอะไรบางอย่างแทรกเข้ามา เช่นว่า บางทีมีเสียงปรากฏบ้าง บางทีเหมือนเห็นสุนัขวิ่งผ่านไปข้างหน้าบ้าง แต่ว่าไม่ชัดเจนและก็ไม่ใช่ฝัน อันนี้จัดเป็นฝันไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะกำลังทั้ง ๕ ดังกล่าวแล้วไม่สม่ำเสมอกัน มันอ่อนลง อ่อนเคลิ้มลง จึงเกิดอารมณ์เข้าแทรก อันนี้เป็นอาการของจิต

    ถ้าหากว่าเรามีความสงบมันก็มีสิ่ง ๕ สิ่งนี้เป็นบริวารอยู่ แต่เป็นบริวารในความสงบ อันนี้เป็นเบื้องแรกของมัน ขณะที่จิตเราสงบอยู่ในขั้นนี้ ชอบมโนนิมิตทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางจิต มันชอบเป็นแต่ผู้ทำสมาธิจับไม่ค่อยถูกว่า "มันหลับไหม? ก็ไม่ใช่""มันฝันไปหรือ? ก็ไม่ใช่" ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น มันเป็นอาการเกิดมาจากความสงบครึ่งๆ กลางก็ได้ บางทีก็แจ่มใสเป็นธรรมดา บางทีก็คลุกคลีไปกับความสงบบ้าง กับอารมณ์ทั้งหลายบ้าง แต่อยู่ในขอบเขตของมัน

    อย่างไรก็ตามบางคนทำสมาธิยาก เพราะอะไรเพราะจริตแปลกเขา แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่น ไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิ แต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา เพราะปัญญาความคิด เห็นความจริงของมันแล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง เป็นประเภทปัญญาวิมุต ไม่ใช่เจโตวิมุต* มันจะมีความสบายทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้นเป็นหนทางของเรา เพราะปัญญาสมาธิมันน้อย คล้ายๆ กับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา "อันนั้นเป็นอะไรหนอ" แล้วแก้ปัญหาอันนั้นได้ทันที เลยสบายไป เลยสงบลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น

    ทำสมาธินี้ไม่ค่อยได้ง่ายและไม่ค่อยดีด้วย มีสมาธิแต่เพียงเฉพาะเลี้ยงปัญญาให้เกิดขึ้นมาได้ โดยมากอาศัยปัญญา เช่นสมมติว่า ทำนากับทำสวน เราอาศัยนามากกว่าสวน หรือทำนากับทำไร่ เราจะได้อาศัยนามากกว่าไร่ ในเรื่องของเรา อาชีพของเรา และการภาวนาของเราก็เหมือนกัน มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา แล้วจะเห็นความจริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกัน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>หลุดพ้นด้วยปัญญาสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บางคน แรงในทางปัญญา สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆ กับว่านั่งสมาธิ ไม่ค่อยสงบ ชอบมีความปรุงแต่ง มีความคิดและมีปัญญาชักเรื่องนั้นมาพิจารณาชักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง อันนั้นจะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริงของบางคนเป็นอย่างนั้น แม้จะ ยืน เดิน นั่ง นอนก็ตามความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญา สามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้

    ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลยก็ละไปเลย สงบไปเลย ได้ความสบายเพราะอันนั้นมันเห็นชัดมันเห็นจริง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้ นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้ แต่จะอย่างไรก็ช่างมันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออก เหลือแต่ความเห็นถูก ทำลายความฟุ้งซ่านออก เหลือแต่ความสงบ มันก็จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน

    บางคนปัญญาน้อย นั่งสมาธิได้ง่าย สงบ สงบเร็วที่สุด ไวแต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลาย ไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลาย แก้ปัญหาไม่ค่อยได้ พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้ ก็คู่กันเรื่อยไป แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้งกันไม่ได้ คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้

    ทีนี้ถ้ามันชัดแจ้งในความสงบ เมื่อมีอารมณ์มาผ่าน มีนิมิตขึ้นมาผ่าน ก็ไม่ได้สงสัยว่า "เคลิ้มไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "หลงไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "ลืมไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "หลับไปหรือเปล่าเมื่อกี้นี้?"จิตขณะนี้สงสัย "หลับก็ไม่ใช่ ตื่นก็ไม่ใช่" นี่มันคลุมเครือเรียกว่า มันมั่วสุมอยู่กับอารมณ์ ไม่แจ่มใสเหมือนกันกับพระจันทร์เข้าก้อนเมฆ มองเห็นอยู่แล้ว แต่ไม่แจ่มแจ้งมัวๆ ไม่เหมือนกับพระจันทร์ออกจากก้อนเมฆนั้นแจ่มใสสะอาด จิตเราสงบมีสติสัมปชัญญะรอบคอบสมบูรณ์แล้วจึงไม่สงสัยในอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นจะหมดจากนิวรณ์จริงๆ รู้ว่าอันใดเกิดขึ้นมาเป็นอันใดหมดทุกอย่าง รู้แจ้งรู้เรื่องตามเป็นจริงไม่ได้สงสัย อันนั้นเป็นดวงจิตที่ใสสะอาด สมาธิถึงขีดแล้วเป็นเช่นนั้น
    ระยะหลังๆ มาก็เป็นไปในรูปอย่างนี้ทำนองนี้ ป็นเรื่องธรรมดาของมัน ถ้าจิตแจ่มแจ้งผ่องใสแล้ว ไม่ต้องไปถามว่าง่วงหรือไม่ง่วง ใช่หรือไม่ใช่ ทั้งหลายเหล่านี้มันก็ไมมีอะไรถ้ามันชัดเจน ก็เหมือนเรานั่งธรรมดาอย่างนี้เอง นั่งเห็นธรรมดา หลับตาก็เหมือนลืมตา เห็นในขณะหลับตาก็เหมือนลืมตามาเห็นทุกอย่างสารพัด ไม่มีความสงสัย เพียงแต่เกิดอัศจรรย์ขึ้นในดวงจิตของเราว่า"เอ๊ะ! สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นของมันไปได้ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ มันก็เป็นของมันได้" อันนี้จะวิพากษ์วิจารณ์มันเองไปเรื่อยๆ ทั้งมีปีติ ทั้งมีความสุขใจ มีความอิ่มใจ มีความสงบเป็นเช่นนั้น ต่อนั้นไปจิตมันจะละเอียดไปยิ่งกว่านั้นมันก็จะทิ้งอารมณ์ของมันไปด้วย วิตกยกเรื่องขึ้นมาก็จะไม่มี และเรื่องวิจารณ์มันก็จะหมด จะเหลือแต่ความอิ่มใจ อิ่มไม่รู้ว่าอิ่มอะไร แต่มันอิ่ม เกิดความสุขกับอารมณ์เดียว นี่มันทิ้งไป วิตกวิจารณ์มันทิ้งไป ทิ้งไปไหน? ไม่ใช่เรื่องทิ้ง จิตเราหดตัวเข้ามาคือมันสงบ เรื่องวิตกวิจารณ์มันเป็นของหยาบไปแล้ว มันเข้ามาอยู่ในที่นี้ไม่ได้ก็เรียกว่า ทิ้งวิตก ทิ้งวิจารณ์ ทีนี้จะไม่มีความวิตก ความยกขึ้นวิจารณ์ ความพิจารณาไมมี มีแต่ความอิ่ม มีความสุขและมีอารมณ์เดียวเสวยอยู่อย่างนั้น

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>ที่เขาเรียกว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เราไม่ได้ว่าอย่างนั้น เราพูดถึงแต่ความสงบวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ต่อไปนี้ก็ทิ้งวิตกวิจารณ์ เกิดขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไป เหลือแต่ปีติกับสุข เอกัคคตา ต่อไปก็ทิ้งปีติเหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ต่อไปก็มีเอกัคคตากับอุเบกขา มันไม่มีอะไรแล้วมันทิ้งไป เรียกว่า จิตมันสงบๆ ๆ ๆ จนไปถึงอารมณ์มันน้อยที่สุดยังเหลืออยู่แต่โน้น...ถึงปลายมัน เหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา เฉยอย่างนี้ อันนี้มันสงบแล้วมันจึงเป็น นี่ เรียกว่ากำลังของจิต อาการของจิตที่ได้รับความสงบแล้วถ้าเป็นอย่างนี้มันไม่ง่วง ความง่วงเหงาหาวนอนมันเข้าไม่ได้นิวรณ์ทั้งห้า มันหนีหมด วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลอิจฉาพยาบาท ฟุ้งซ่าน รำคาญหนี เหล่านี้ไม่มีแล้ว นี่มันค่อยเลื่อนไปเป็นระยะอย่างนั้น นี่อาศัยการกระทำให้มากเจริญให้มาก


    </TD><TD align=right width=155>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>สติ : สิ่งที่ช่วยรักษาสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้ คือสติ สตินี้เป็นธรรมเป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สตินี้ก็คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท ในระหว่างขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือสตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด

    ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายนั้นไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุม การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ไมใช่แต่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แม้เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอมีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น เมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี นี่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนี้ เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ในจิตของตัวเอง มันไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่ หรือทำมาแล้ว หรือกำลังจะกระทำอยู่ ในปัจจุบันนี้เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก ให้เรารู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีทุกเมื่อ เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่ เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว

    เมื่อรวบยอดเข้ามา มันจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา คือ การสังวรสำรวมที่มีอยู่ในกิจการของตนนั้น ก็เรียกว่าศีล ศีลสสังวร ความตั้งใจมั่น อยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น ก็เรียกว่ามันเป็นสมาธิ ความรอบรู้ทั้งหลายในกิจการที่เรามีอยู่นั้น ก็เรียกว่าปัญญา พูดง่ายๆก็คือ จะมีศีล จะมีสมาธิ จะมีปัญญา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เมื่อมันกล้าขึ้นมามันก็คือมรรค นี่แหละหนทาง ทางอื่นไม่มี

    <TABLE width="80%" align=center bgColor=#ccffcc><TBODY><TR><TD>*
    ปัญญาวิมุต คือ บุคคลผู้หลุดพันเพราะปัญญา คือ ปัญญาเป็นกำลังสำคัญ หรือปัญญานำหน้า
    เจโตวิมุต คือ บุคคลผู้หลุดพ้นเพราะสมาธิ คือ สมาธิเป็นกำลังสำคัญ หรือสมาธินำหน้า
    วิมุต หมายถึง บุคคลผู้หลุดพ้น
    วิมุติ หมายถึง ความหลุดพ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/mind_peaceful.html
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปุจฉา วิสัชชนา
    นานาสาระจากความสงสัยของญาติโยม ที่หลวงพ่อได้สนทนาธรรมด้วยจนเกิดความสว่างในดวงใจ

    แพทย์หญิง - ปุจฉา, หลวงพ่อซา - วิสัชนา

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>วันหนึ่งลูกได้ไปอ่านหนังสือที่ฝรั่งเขาเขียน เรื่องพุทธศาสนา เขาเขียนอยู่ตอนหนึ่งว่า ศาสนาฮินดูเขาเชื่อว่า มีการเกิดใหม่ขึ้น โดยที่ว่าวิญญาณเดิมหรือว่าจิตเดิม เพียงแต่ว่าเปลี่ยนร่างกายใหม่เท่านั้น ส่วนในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น คือชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ท่านให้เรียกว่า เป็นสภาวะ.....การเปลี่ยนชีวิตนี้ ไม่ใช่เปลี่ยนร่างใหม่ แต่ว่าเปลี่ยนจากสภาวะหนึ่ง เป็นอีกสภาวะหนึ่ง ส่วนจะนั้นก็ยังเป็นจิตเดิม แล้วเขาให้คำในวงเล็บไว้ว่า (อนัตตา).......เขาบอกว่า การที่เปลี่ยนจากสภาวะหนึ่ง เป็นอีกสภาวะหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่าชีวิตใหม่นี้ กรรม.....ทำไว้อย่างไร ก็จะส่งผลให้เป็นอย่างนั้น เหมือนกับว่าลูกบิลเลียดลูกที่หนึ่ง ที่วิ่งไปถูกลูกที่สอง จะทำให้ลูกที่สองวิ่งไป แล้วก็วิ่งไปในทิศทางที่ลูกแรกไปกระทบถูกค่ะ ทำให้ลูกมาคิดว่า ถ้าอย่างนั้น.....ถ้าเราหยุดกรรมได้.....ก็แสดงว่าสภาวะต่อไป จะไม่เกิดขึ้น แต่ว่าไม่เข้าใจว่า จิตที่ว่าเป็นจิตเดิมนี่น่ะ เป็นยังไงค๊ะ ? และก็อนัตตานี่ เป็นสภาวะอย่างไร ? ขอกราบเรียนอธิบายค่ะ.....ถ้าว่า ไม่ต้องสนใจเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง.....อะไรทั้งนั้นถ้าเรารู้อย่างเดียวว่า เราสามารถจะหยุดกรรมได้ ก็จะไม่มีสภาพต่อไปเกิดขึ้น อันนี้ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>ปัญหานี้ต้องแยกตอบ ปัญหานี้มันก็มีสองแง่ แง่หนึ่ง.....เรื่องมันจบแล้ว แง่หนึ่ง.....ก็เรื่องมันไม่จบ เรื่องที่มันจบไปแล้ว ก็ไม่ต้องถามถึงมันหรอก มันจบไปแล้ว มันจะไปอะไรที่ไหน.....ก็คือเรื่องทุกอย่าง.....มันจบ เรื่องเปลวของไฟที่ดับไป มันจะไปที่ไหนนั้น ก็ไม่เป็นปัญหา ที่จะต้องถามแล้ว.....มันเป็นอย่างนี้.......อันนั้นเรียกว่า เรื่องที่มันจบไป และมันคงเหลือแต่เรื่องที่ไม่จบเรียกว่า "สภาวะ" สภาวะเรื่องมันไม่จบนี้ ก็จะพูดว่าเป็น "กรรม" ก็ได้ แต่ว่าไอ้ที่มันไม่จบนี่เรียกว่า "วิบาก" มันเกิดขึ้นจากกรรมที่กระทำนั้น เป็นสภาวะอันหนึ่ง ถ้าหากว่าเรื่องวิบาก มันจบไปแล้วนั้น ก็ไม่มีปัญหา ท่านพูดย้อนกลับมา ถึงวิบากที่มันเป็นปัจจัย เทียบง่าย ๆ ว่า มีความรู้สึกนึกคิดขึ้นเดี๋ยวนี้ ที่มันมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นเดี๋ยวนี้ เช่นว่า คุณหมด อยากจะถามให้รู้เรื่อง ทำไมมันถึงมีความรู้สึก ออกปากมาถามอย่างนี้ ก็เพราะมันมีปัจจัย มันจึงเกิดความรู้สึกขึ้นอย่างนี้ นี่เรียกว่า.......เรื่องมันยังไม่จบ.......เรียกว่าปัจจัย เหตุปัจจัย.....เป็นสภาวะอันหนึ่ง ถ้าหากว่าคุณหมอเข้าใจ ในเรื่องเหล่านี้ดีแล้ว ก็หมดปัจจัย ไม่มีปัจจัยที่จะต้องถาม ที่จะสงสัย อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    เรื่องที่เป็นอนัตตาอันนั้น อนัตตานี้พูดศัพท์ง่ายๆ ก็เรียกว่า ของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่ว่ามันอาศัยอาการตัวตนอยู่ อาศัยอาการของอัตตาอยู่ อนัตตานั้นจึงมี เป็นอนัตตาที่ถูกต้องด้วยถ้าอัตตานี้ไม่มีแล้ว อนัตตาก็ไม่ปรากฎขึ้นมา เช่นว่าคุณหมอ ไม่มีกระโถนใบนี้อยู่ในบ้าน เรื่องของกระโถนใบนี้ ก็ไม่กวนกับคุณหมอเลย มันจะแตก มันจะร้าว หรือขโมยมันจะขโมยไป.....อย่างนี้ก็ไม่มากวนจิตใจของคุณหมอเลย เพราะมันไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย คืออะไร ?.....ก็คือว่า.....กระโถน ไม่มีในบ้านเรา

    ถ้าหากมีกระโถนขึ้นมาในบ้านเรา มันก็เป็นตัวอัตตาขึ้นมาแล้ว เมื่อกระโถนมันแตก มันก็กระทบเมื่อกระโถนมันหาย.....มันก็กระทบ เพราะกระโถนนี้.....มีเจ้าของแล้ว อันนี้เรียกว่า "อัตตา" มันมีสภาวะอยู่อย่างนี้ ส่วนสภาวะที่ว่า "อนัตตา" นั้น คือสภาวะที่ว่า กระโถนในบ้านเราไม่มี จิตใจจะคอยพิทักษ์รักษากระโถนนั้นก็ไม่มี จะกลัวขโมย มันจะขโมยไป มันก็ไม่มี อันนั้นมันหมดสภาวะแล้ว เรียกว่า " สภาวะธรรม" มันมีสภาวะ.....มีเหตุ มีปัจจัย แต่เพียงมันยังเหลืออยู่เท่านั้น

    ฉะนั้นอนัตตานี้ อันที่ไม่ใช่ตัวใช่คนนี้ อะไรบอกมัน มันถึงรู้จักว่า ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ก็คือตัวตนนี้แหละ มันบอกขึ้นมา อันนี้ธรรมมีหลักเปรียบเทียบ ธรรมะที่ไม่มีตัวตน มีหลักเปรียบเทียบ เช่นว่าอนิจจัง.....มันของไม่เที่ยง อย่างนี้เป็นต้น ไม่เที่ยงไปทุกอย่างรึ.....ของเที่ยงมีไม๊ ?.....ของเที่ยงมันก็มีเหมือนกัน มันมาจากไหน ?.....ตัวอนิจจังนี้แหละ.....มันคลอดออกมาเป็นนิจจัง มันเป็นจริงอยู่อย่างนั้น มันเที่ยง.....เที่ยงยังไง ?.....ไอ้ความเที่ยงมันคลอดออกมา จากสิ่งที่ไม่เที่ยง ไอ้ความไม่เที่ยงนั่นแหละ เรียกว่า มันเป็นนิจจัง นิจจังนี่ออกมาจากอนิจจัง

    อนิจจังมีที่ไหน นิจจังมีที่นั้น นิจจังมีที่ไหน อนิจจังมันก็มีอยู่ที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นของคู่เคียงกันอย่างนี้ ฉะนั้นอัตตาหรืออนัตตานี่ ก็เหมือนกันฉันนั้น อนัตตาจะมีขึ้นมา จะปรากฏขึ้นมา ก็เพราะมีอัตตา อัตตาจะปรากฎขึ้นมา ก็เพราะมีอนัตตา

    อันหนึ่งมันเป็นสภาวะที่หยาบ อันหนึ่งมันเป็นสภาวะที่ละเอียด แต่มันติดกันอยู่อย่างนี้ จะพูดง่ายๆ ก็เรียกว่า ไอ้ตัวเรานี้มันมีสองคน ตัวรูปร่างอันนี้ มันเป็นตัววัตถุ แต่เงาของเรามันเป็นสิ่งละเอียดเข้าไปอีก มันแฝงอยู่อย่างนี้.....อันนี้เป็นสภาวะ ความเป็นจริงแล้วก็ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นอุบายเท่านั้น ที่จะให้เรามองเห็นอย่างนั้น.....เท่านั้น อันนี้ก็ไม่ต้องสงสัยอะไรมันแล้ว

    ถ้าอนัตตาไม่มีตัวมีตนแล้ว จะไปอยู่ยังไง ก็คือทุกข์เราหมดไปแล้ว มันจะไปอยู่ยังไง ของเราไม่มีแล้ว จะไปอยู่ยังไง ไอ้ความคิดในเวลาต่อไป มันยังไม่เกิดขึ้น จะไปอยู่ที่ไหน ? ก็เพราะมันเกิดความคิดขึ้น เราถึงรู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ แต่ก่อนเรายังไม่คิด ไอ้ความคิดเช่นนี้ มันไปอยู่ที่ไหน ? เป็นต้น มันอยู่ที่เหตุปัจจัย มากระทบขึ้นมา อย่างแก้วใบนี้กับพื้นนี้ มันจะมีเสียงเกิดขึ้น ก็เพราะมีการกระทบเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้ มันก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่มันมีเหตุมีปัจจัยอยู่เฉยๆ แต่เสียงนั้นมันยังไม่มี แต่เหตุจะใหเกิดเสียงนั้น มันมีอยู่ แต่บัดนี้มันยังไม่ปรากฎ อันนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>หมายความว่า ถ้าเราจะวางเหตุทั้งหลายได้ ไม่ให้มันมีเหตุขึ้นมา ตัวสภาวะอันนี้ มันก็จะแตกดับไปเลยใช่ ไหมค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>คือไม่ใช่ว่าไม่ให้มีเหตุ แต่ว่าให้รู้จักเหตุ คือเรื่องเหล่านี้ มันจะเป็นไปอยู่อย่างนั้น มันมีเหตุอยู่อย่างนี้ ห้ามไม่ได้เหตุนี้ แต่ว่าเมื่อเราเกิด "ความรู้" เหตุอันนั้น เหตุอันนั้น......มันก็หมดเหตุหมดปัจจัย เพราะความที่ "รู้" เหตุอันนั้น อย่างเหตุที่เกิดทุกข์ มันมีอยู่ทุกขณะ แต่เรารู้เหตุทุกข์จะเกิดขึ้น ทุกข์มันก็หายสลายไป เรารู้จักเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยยังมีอยู่ แต่เรารู้เหตุปัจจัยเราก็ปล่อย มันก็หมดไปอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าหากว่าเรารู้ว่า เหตุเกิดขึ้นเพราะอะไรแล้ว เรายังไปยึดเหนี่ยวมันอยู่ อย่างนี้เราก็จะไม่พ้นทุกข์ใช่ไหมค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....แต่ให้รู้น๊ะ.....รู้ไม่ยึด พูดง่าย ๆ ซ๊ะ.....รู้ไม่ยึด มันก็เกี่ยวกับภพชาติ อย่างแก้วใบนี้มันมีอยู่แต่ว่าไม่ใช่ภพ ถ้าแก้วใบนี้มันแตก เราก็เกิดทุกข์.....เกิดชาติ ไม่สบายใจ มันเป็นทุกข์อย่างนี้ เรียกว่า.....ชาติ มันไปเกิดในภพ ภพนั้นคืออุปาทาน.....มั่นหมายในแก้วใบนั้น ถ้าเราไม่มั่นหมายในแก้วใบนั้น เมื่อมันแตก.....ความทุกข์ก็ไม่มีๆ ก็คือชาติไม่เกิดในที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น คือมันหมดเหตุ หมดปัจจัย เพราะว่าอะไร ? เพราะเรารู้แล้วว่า แก้วใบนี้แตก มันจะเป็นทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่เรารู้ว่าสภาวะของแก้วใบนี้ เป็นของไม่แน่นอนอยู่แล้ว เราชัดเจนแล้ว เราก็ดับเหตุอันนี้ ทุกข์มันก็เกิดขึ้นไม่ได้.....อย่างนี้ เหตุผลมันก็มีอยู่เรื่อยๆ ไป แต่ไอ้ความรู้แจ้งนี้น่ะ สำคัญมากเรื่องนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าเรายังมีชีวิตเป็นฆราวาสอยู่ และต้องผูกพันอยู่กับการงาน ซึ่งทำให้เราต้องบังเกิด ความพัวพันกับการงาน การหวังผลประโยชน์แบบนี้น๊ะค๊ะ แต่ว่าใจของเรารู้อยู่ว่า อันเหตุเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว แต่โดยหน้าที่แล้ว จำเป็นจะต้องปฏิบัติต่อไปอย่างนี้เราควรจะทำอย่างไรดีค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>เราจะต้องรู้จักภาษา.....คำพูดอันนี้ คำที่ว่า "ยึด" นี้ ยึดเพื่อไม่ยึด ถ้าคนไม่ยึดแล้ว ก็พูดไม่รู้เรื่องกัน ไม่รู้จักทำงานอะไรทั้งนั้น "เหมือนกับมีสมมติ มันก็มีวิมุติ" ถ้าไม่มีเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรที่จะทำกันจึงให้รู้จัก"สมมติ" และ "วิมุตติ" คำที่ว่า "ยึดมั่น" หรือ "ถือมั่น" นี่น่ะ เราถอนตัวออก อันนี้เป็นภาษาที่พูดกัน เป็นคำที่พูดกัน แต่ตัวอุปทาน.....คือสิ่งทั้งหลาย เช่นว่า เรามีแก้วอยู่ใบหนึ่งน๊ะ เราก็รู้อยู่แล้วว่า จำเป็น เราจะต้องใช้แก้วใบนี้ อยู่ตลอดชีวิต แต่ให้เรามาเรียนรู้ว่า แก้วใบนี้น่ะ ให้มันชัดเจนซ๊ะ สำหรับแก้วใบนี้จนจบเรื่องของแก้ว จบยังไง....ก็คือเห็นว่า แก้วใบนี้ "มันแตกแล้ว" ถึงแก้วที่ไม่แตกเดี๋ยวนี้ เราก็เห็นว่า "มันแตกแล้ว" เมื่อปัญญาเห็นว่ามันแตกแล้ว เราก็ใช้แก้วใบนี้ไป ใส่น้ำร้อน น้ำเย็น แต่ว่าเมื่อแก้วใบนี้ มันแตกเมื่อไรเป็นต้น ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้....ทำไม? .....เพราะว่าเราเห็นความแตกของแก้วใบนี้ก่อนแตกแล้ว ไอ้ที่มันแตกเดี๋ยวนี้มัน "ของทีหลัง" เพราะปัญญาเรารู้ว่ามันแตกแล้ว แตกปัจจุบันนี้ เป็นของแตกทีหลัง เราเห็นแตกก่อนแตกเสียแล้ว แก้วใบนี้มันก็แตกไป ปัญหาอะไรก็ไม่มีเกิดขึ้นเลย ทั้งๆ เราใช้แก้วใบนี้อยู่......อย่างนี้ เข้าใจอย่างนั้นไม๊ ?

    นี่.....มันเป็นอย่างนี้ มันหลบกันใกล้ๆ เลย ทุกอย่างที่เราใช้ของอยู่ ก็ให้มีความรู้อย่างนี้ไว้ มันก็เป็นประโยชน์ เรามีไว้มันก็สบาย ที่มันจะหายไป มันก็ไม่เป็นทุกข์ คือไม่ลืมตัวของเรา เพราะรู้ท่านสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ นี่เรียกว่า ไอ้ความรู้ที่มันเกิดขึ้นในที่นี้ มันคุมสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ อยู่ในกำมือของมัน เราก็ทำไปอย่างนี้แหละ ถ้าว่าความดีใจ หรือความเสียใจ มากระทบอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ เราก็รู้อารมณ์ว่า ไอ้ความดี.....มันไปถึงแค่ไหน มันก็ "ไปถึง" เรื่องอนิจจังเท่านั้นแหละ.....เรื่องไม่แน่นอน ถ้าเราเห็นเรื่องไม่แน่นอนอันนี้ เรื่องสุข.....เรื่องทุกข์นี้ มันก็เป็นเพียง เศษ.....เป็นกากอันหนึ่งเท่านั้น ในความรู้สึกนึกคิดของเรา เป็นธรรมดาของมันเสียแล้ว เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็จักว่า มันก็ "อย่างนั้นเอง" เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมา หรือสุขเกิดขึ้นมา มันก็ "อย่างนั้นเอง" ไอ้ความที่ว่า....อย่างนั้นเอง มันกันตัวอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่คนไม่รู้น๊ะ ไม่ใช่คนเผลอน๊ะ เพราะว่าเรามีสติ

    รอบคอบอยู่เสมอ ในการงานทุกประเภท.....ทุกอย่างบางแห่ง เคยเข้าใจว่า มันเป็นฆราวาสอยู ฉันได้ทำงานอยู่ ประกอบกิจการงาน เป็นพ่อบ้าน แม่บ้านอยู่อย่างนี้ ฉันไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นคำที่เข้าใจผิด ของบุคคลที่ยังไม่รู้ชัด ความเป็นจริงนั้น ถ้าหากว่าเราปฏิบัติหน้าที่การงานอยู่ มีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่มีความรู้ตัวอยู่......อย่างนี้กาารงานมันยิ่งจะเลิศ ยิ่งจะประเสริฐ ทำการงาน จะไม่ขัดข้องจะมีความสงบ มีความจริญงอกงาม ในการงานอันนั้นดีขึ้น

    เพราะว่า.......การปฏิบัตินี้ อาตมาเคยเทียบให้ฟังว่า เหมือนกับลมหายใจเรา ทีนี้เราทำงานทุกแขนงอยู่ เราเคยบ่นไหมว่า เราไม่ได้หายใจ มันจะยุ่งยากสักเท่าไร ก็ต้องพยายามหายใจอยู่เสมอ เพราะมันเป็นของจำเป็นอยู่อย่างนี้ การประพฤติปฏิบัตินี่ก็เหมือนกัน เมื่อเรามีโอกาสหายใจอยู่ ในเวลาที่เราทำงาน เราก็มีโอกาสที่จะประพฤติปฏิบัติ อยู่ทั้งนั้น ในชีวิตฆราวาสของเรา ก็เพราะว่าการประพฤติปฏิบัตินั้น คือความรู้สึกในใจของเรา ความรู้ในใจของเรา ไม่ต้องไปแยกที่ไหน ทำอยู่เดี๋ยวนี้ ก็รู้เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น มันก็เหมือนกันฉันนั้น ลมหายใจกับชีวิต กับคุณค่าการปฏิบัตินี้มันเท่ากัน ถ้าเราไปคิดว่า เราทำงานอยู่เราไม่ได้ปฏิบัติ ก็เรียกว่า.....เราขาดไป ก็เพราะว่าการปฏิบัตินั้น อยู่ที่จิด ไม่ใช่อยู่ที่การงาน ไม่ใช่อยู่ที่อื่น เราลอดทำความรู้สึกเข้าแล้วเป็นต้น มันก็มีไปทางตา หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางจิตหมด เป็นฆราวาสอยู่ก็ได้ แต่ว่าทำปัญญาให้รู้เรื่องของมัน.....รู้เหตุทุกข์จะเกิด

    ดูเหมือนว่า ในครั้งพุทธกาลนั้น ฆราวาสที่ประพฤติธรรม ก็ไม่ใช่น้อย.....เยอะเหมือนกันน๊ะ อย่างนางวิสาขา ประวัติของท่านน่ะ เป็นโสดาบันบุคคล มีครอบมีครัวอยู่น๊ะ.....นี่เป็นต้น มันคนละตอนกันอย่างนี้ อันนี้ก็ไม่ต้องสงสัย แต่ว่ากิจการงานของเรานั้น ต้องเป็นสัมมนาอาชีวะ นางวิสาขานั้น อยู่ในบ้าน ก็ไม่เหมือนเพื่อนเค๊า ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนเพื่อน มันเป็นสัมมาอาชีวะ มีความเห็นที่ถูกต้องอยู่ การงานมันก็ถูกต้องเท่านั้น

    ถ้าจะเอาแต่พระจะได้หรือ พระมีกี่องค์ในเมืองไทยนี้ ถ้าโยมไม่เห็นบุญ.......ไม่เห็นกุศล เห็นเหตุ.....เห็นปัจจัยแล้ว มันก็ไปไม่ได้ ฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติของพระ และฆราวาสนั้น มันจึงรวมกันได้ แต่ว่ามันยากสักนิดหนึ่ง กับบุคคลที่ยังไม่เข้าใจ เป็นฆราวาสก็คือ มันไม่เป็นทางที่จะปฏิบัติโดยตรง แต่ว่าพระออกบวชมาแล้วน่ะ มุ่งโดยตรง ไม่มีอะไรมาขัดข้องหลายอย่าง แต่ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ก็เท่ากันน่ะแหละ ถึงไปอยู่ในที่สงบ มันก็ทำตัวเราให้สงบไม่ได้ ถึงอยู่ในที่คนหมู่มาก ว่ามันไม่สงบ ผู้มีปัญญาก็ทำความสงบก็ได้ มันเป็นอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าอย่างนั้นตลอดชีวิต เราปฏิบัติตัวอย่างที่หลวงพ่อให้ธรรมะ มีสติอยู่ตลอดไป ว่าของทุกอย่างมันเกิดได้ และก็ดับได้ เตรียมใจไว้ เมื่อถึงเวลาที่ชีวิตเราสิ้นสุดลง เราก็สามารถที่จะผ่อนคลาย สภาวะใหม่ที่จะเกิดขึ้น ใช่ไหมค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....ยังงั้น การปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นเรื่องบรรเทากิเลส บรรเทาความหลงทั้งนั้น คือบรรเทาให้มันน้อยลง มันน้อยลงก็เรียกว่า มันไม่มาก ไอ้ผลที่ว่ากิเลสทั้งหลาย มันน้อยลงมันก็จะปรากฎแก่เราอยู่เสมอ อันนั้นเป็นวิบาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>ในบางขณะที่จิตของเรา บังเกิดบังหมองขึ้น แต่เราก็รู้ตัวของเราเอง เช่นบางครั้งเราเกิดโทสะ.....โมฆะ และโลภะค้น เราก็รู้ว่ามันเป็นของที่น่ารังเกียจ แต่มันบังเกิดขึ้น โดยที่เราห้ามไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เรารู้อย่างนี้จะเรียกว่า เป็นเครื่องให้เรายึดเหนี่ยวมากขึ้น หรือดึงกลับไปสู่ที่เดิมมากขึ้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>นั่นแหละ.....ต้องรู้มันไว้ ตรงนั้นแหละ.....คือข้อปฏิบัติ ละ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>คือทั้ง ๆ ที่รู้แล้ว และก็รังเกียจด้วยค่ะ แต่ไม่สามารถจะหักห้าม มันพลุ่งออกมาเสียแล้ว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนั้น มันเหลือวิสัยของมันแล้ว ตรงนั้นต้องปรับพิจารณาอีกต่อไป อย่าไปทิ้งมันตรงนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นบางคนก็เสียใจ ไม่สบายใจ เมื่อเห็นขึ้นมาเช่นนั้น ก็เรียกว่า.....อันนี้มันก็ไม่แน่ เพราะว่าเราเห็นความผิดมันอยู่ แต่เรายังไม่พร้อม คือมันเป็นของมัน คือกรรมที่มันเหลือเศษอยู่มันปรุงแต่งขึ้นมา เราไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างนั้น อันนี้เรียกว่า "ความรู้" เรายังไม่พอ.....ไม่ทัน จะต้องทำสตินี้ให้มาก ให้รู้ยิ่งขึ้น มันจะเศร้าหมองก็ช่างมัน เมื่อมันเกิดขึ้นมา เราก็พิจารณาว่า อันนี้มันก็เป็นของไม่เที่ยง.....ไม่แน่นอน พิจารณาอยู่ทุกขณะที่มันเกิดขึ้นนานไปๆ เราก็เห็นของไม่เที่ยง ในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น อันนั้นมันจะค่อย ๆ หมดราคาเรื่อยไป เพราะมันเป็นอย่างนั้น ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นในความเศร้าหมดงอันนั้น มันก็น้อยลง ๆ ทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ปรับปรุงได้อีก แต่อย่าทิ้งมัน ต้องให้ติดต่อ พยายามให้รู้เท่าทันมัน ก็เรียกว่ามรรคของเรา มันยังมีกำลังไม่พอ มันสู้กิเลสไม่ได้ เมื่อทุกข์ขึ้นมาก็ขุ่นมัว ไอ้ความรู้เรื่องขุ่นมัว เราก็พิจารณามันอยู่อย่างนี้

    ฉะนั้นเราก็จับเอาอันนั้น มาพิจารณาอีกต่อไปว่า เรื่องทุกข์.....เรื่องไม่สบายใจนี่ มันก็ไม่แน่หรอกน๊ะ มันเป็นของไม่เที่ยง....เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาทั้งสิ้น เราจับจุดนี้ไว้ เมื่อหาว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาอีก

    ที่เรารู้มันเดี๋ยวนี้ก็เพราะ.....เราได้ผ่านมันมาแล้ว กำลังอันนี้เราจะค่อย ๆ เห็นทีละน้อย ๆ เข้าไป

    ต่อไป....เรื่องอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา ก็หมดราคาเหมือนกันจิตเราก็รู้ ก็วาง ที่เรารู้.....มันวางได้ง่าย ๆ ก็เรียกว่า "มรรค" มันกล้าขึ้นมาแล้ว มันจึงข่มกิเลสได้เร็วมากที่สุด ต่อไปก็.....ตรงนี้มันเกิดขึ้นมา.....ตรงนี้ก็รับ เหมือนกันกับน้ำทะเลที่กระทบฝั่ง เมื่อขึ้นมาถึงแค่ฝั่ง มันก็ละลายเท่านั้น คลื่นใหม่มาอีก ก็ต่อไปอีก มันจะเลยฝั่งไปไม่ได้ อันนี้มันจะเลยความรู้เราไปไม่ได้เหมือนกัน เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะพบกันที่ตรงนั้น มันจะแตกร้าวอยู่ที่ตรงนั้น มันจะหายก็อยู่ที่ตรงนั้น เห็นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาคือฝั่งทะเล อารมณ์ทั้งหลายผ่านเข้ามา มันก็เป็นอย่างนั้น ไอ้ความสุขมันก็ไม่แน่ มันเกิดาหลายครั้งแล้ว ไอ้ความทุกข์มันก็ไม่แน่ มันเกิดมาหลายทีแล้ว มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ

    ในใจเรารู้ว่า เออ.....มันก็อย่างนั้นแหละ มันก็เท่านั้นแหละ อย่างนี้มันจะมีอาการอยู่ในใจของเราอันนั้นก็ค่อย ๆ หมดราคาไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นอย่างนี้ อันนี้พูดเรื่องอาการจิต มันจะเป็นอย่างนั้นทุกคนแม้พระพุทธเจ้า และสาวกทั้งหลาย ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้ามรรคมันกล้าขึ้นมา มันก็ไม่ต้องการอะไร มันเป็นอัตโนมัติ เมื่อเกิดขึ้นมา มันก็รู้ทัน มันทำลายไปเลย อันนั้นเรียกว่ามรรคมันยังไม่กล้า และก็ข่มกิเลสยังไมได้รวดเร็ว.....อย่างนี้มันต้องเป็น ใครก็ต้องเป็นทุกคน แต่ว่าเอาเหตุผลที่ตรงนั้นน่ะ อย่าได้ไปคว้าอย่างอื่นเลยอย่าไปแก้ตรงอื่น แก้ตรงนี้แหละ แก้ตรงที่มันเกิด และมันก็ดับ สุขเกิดแล้วมันดับไปไม๊ ? ทุกข์เกิดแล้วมันดับไปไม๊ ? มันก็เห็นเรื่องเกิด-ดับ ความดี ความชั่วอยู่เสมอ อันนี้เป็นสภาวะที่เป็นอยู่อย่างนี้ของมันเอง อย่าไปยึดมั่น หมายมั่นมันเลย ถ้าเรามีความรู้อันนี้ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ แม้กระทบกันอยู่ แต่ว่าไม่มีเสียง.....มันหมดเสียง เรียกว่าเรามาเห็นธรรมดาเกิดแล้วดับเห็นมันเกิดแล้วมันก็ดับ เห็นความเกิดดับในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เรื่องธรรมะมันจะเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เมื่อเราเห็นของแค่นี้ มันก็อยู่แค่นั้น ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่มี อุปาทานทั้งหลายพอจะรู้สึก มันก็หายไป เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น อันนี้มันก็สงบ ไอ้ที่มันสงบไม่ใช่ว่า ไม่ได้ยินอะไรน๊ะ.....ได้ยินอยู่ แต่ว่ามันรู้เรื่อง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในเรื่องเหล่านั้น เรียกว่า....มันสงบ เรื่องอารมณ์ทั้งหลาย ก็มีอยู่ในใจเรานี่แหละ แต่ว่ามันไม่ตามอารมณ์นั้น เรื่องจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง เรื่องอารมณ์มันเป็นอย่างหนึ่ง เรื่องกิเลสนี้มันก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่ออารมณ์มากระทบเราไปชอบมัน ๆ ก็เกิดกิเลสขึ้นมา เมื่อไม่ชอบมันก็เกิดกิเลสขึ้นมา ถ้าหากเราเห็นความเกิด-ดับ ของมันอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นมาแล้ว มันหมดแค่นั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>ในการพิจารณาธรรม เบื้องต้นจะต้องฝึกสมาธิให้ได้เสียก่อนใช่ไหมค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนี้เราจะพูดอย่างนั้นก็ถูกไปแง่หนึ่ง ถ้าพูดถึงด้านปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ปัญญามันมาก่อนน๊ะ.....ปัญญามาก่อน แค่ตามแบบ ต้องศีล......ต้องสมาธิ.....ต้องปัญญา ถ้านักปฏิบัติธรรมะจริงๆ แลัว ปัญญามาก่อน ถ้าปัญญามาก่อน รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักความสงบ รู้จักความวุ่นวาย แต่พูดตามหลักปริยัติแล้ว ก็ต้องเรียกว่า การสังวร สำรวมนี้ ให้เกิดความละอาย ให้เกิดความกลัวความผิดทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นมา เมื่อกลัวความผิด ไม่ทำความผิดแล้ว ไอ้ความผิดก็ไม่มี เมื่อความผิดไม่มี ก็เกิดอาการความสงบขึ้นมาในที่นั้น ความสงบอันนั้น เป็นสมาธิไปพลาง ๆ.......เป็นฐาน

    เมื่อจิตสงบขึ้นมาแล้ว ไอ้ความรู้ทั้งหลาย ที่มันเกิดมาจากความสงบนั่นแหละ ท่านเรียกว่า "วิปัสสนา" ความรู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนี้ มันมีอาการอยู่ในนี้ ถ้าหากพูดให้มันลงอันเดียวกันซ๊ะ มันจะเป็นศีล จะเป็นสมาธิ มันจะเป็นปัญญา ถ้าพูดให้มันรวม ก็ว่าธรรมสามอย่างนี้ เป็นก้อนเดียวกัน ไม่แยกกัน แต่ว่าพูดถึงลักษณะของมัน มันเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาอย่างนี้ถูกแล้ว แต่ว่าคนเรา ถ้ามีการกระทำผิดอยู่ จิตใจก็สงบไปไม่ได้ ถ้าหากว่าดูไปแน่นอนแล้ว มันจะไปพร้อมๆ กัน จะว่าจิตสงบ.......อย่างนี้ มันก็ถูก การทำสมาธิ......ถ้าพูดตามเรื่องมันก็รักษาศีล รักษากาย วาจา ไม่ให้มีความเดือนร้อน ไม่ให้มีความผิดเกิดขึ้นมาในวงนี้ อันนี้เป็นฐานความสงบ.....แต่มันเกิดขึ้นตรงนั้นนี่ เมื่อฐานความสงบมีอยู่ ก็จะเป็นฐานรองรับให้ปัญญา.....คือความรู้ให้เกิดในที่นั้น

    ถ้าหากว่าสอนไปตามแบบของท่านแล้ว ก็เรียกว่า ศีล.....ศีลนี้น่ะสำคัญมาก อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานกัลยาณัง ให้งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด มันเป็นอย่างนี้ เคยทำแล้วยังล่ะสมาธิ.......เคยทำแล้วยัง ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>กำลังเรียนอยู่ค่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>เออ.....กำลังเรียน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD class=just vAlign=top>วันนั้นไปหาหลวงพ่อ ๆ ที่เขื่อน (วัดเขื่อนสิรินธร สาขาวันป่าพงที่ 8) พอวันรุ่งขึ้นคุณน้า เอาหนังสือโอวางของหลวงพ่อไปให้ที่บ้าน ตอนเช้านั่งทำงานอยู่ในร้าน ก็หยิบขึ้นมาอ่าน มีคำถามของพระที่ถามหลวงพ่อปัญหาต่าง ๆ หลวงพ่อบอกว่า ข้อสำคัญให้จิตเฝ้าดูอยู่ว่า อะไรจะเกิด อะไรต่าง เฝ้าดูอยู่เฉย ๆให้รู้ไว้ ตอนบ่ายได้ไปเรียนสมาธิ ก็ปรากฏว่า มีอาการว่านั่งแล้วรู้สึกว่า ตัวมันหายไปเฉยๆ มือ.....มันก็ไม่รู้สึก ขา.....ก็ไม่รู้สึก รู้สึกว่ามันไม่มีตัว แต่รู้ว่าเรายังมีตัวอยู่ แต่ว่ามันไม่รู้สึกค่ะ ตอนเย็นได้มีโอกาส ไปกราบนมัสการ ท่านอาจารย์เทสก (หลวงปู่เทสก์) และเล่าอาการให้ท่านฟัง ท่านบอกว่าทำต่อไป อันนั้นเรียกว่า "จิตรวมค่ะ" แต่ก็เป็นอยู่หนหนึ่ง หนหลัง ๆ บางครั้งก็เหมือนกับว่า เราไม่รู้สึกมือของเรา แต่ก็ยังรู้สึกส่วนอื่น ๆ บางทีมานั่งนึกว่า.....ถ้าเรามานั่งอยู่อย่างนี้ ให้จิตปล่อยวางเฉย ๆ....ถูกหรือ หรือเรามานั่งครุ่นคิดถึงปัญหาธรรม ที่เรากำลังข้องใจอยู่.....อะไรคือที่ถูก ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนั้นไม่ต้องไปซ้ำเติมมันน๊ะ ที่ท่านอาจารย์เทสก์ท่านบอกน่ะ.....อย่าไปซ้ำเติมมัน ไอ้ความรู้คือความสงบนั้น ให้ดูความสงบนั้นอยู่ แต่ความรู้สึกของเรา มันจะรู้สึกไม่มีตัว ไม่มีตนอะไร ก็ช่างมันเถอะ.....อันนี้ ให้มันอยู่ในนี้......ความรู้สึก นี่เรียกว่า.....ความสงบจิตที่มันรวม เมื่อมันรวมอยู่นาน ๆ ครั้งหรือสองครั้งนั่นน่ะ แล้วมันจะมีอาการเปลี่ยนแปลงคือ เรียกว่า.....มันถอนออกมามันเป็นอัปปนาสมาธิ แล้วมันจะถอนออกมา คือ.....ไม่ใช่ถอน.....จะพูดถอนก็ถูก เรียกว่า มันพลิกก็ได้มันเปลี่ยนแปลงก็ได้ แต่ในลักษณะครูบาอาจารย์ท่านสอน ก็ว่า.....เมื่อมันสงบแล้ว มันจะถอนออกมา ถ้าหากพูดภาษาไม่ถูกกันนี้ มันก็ยากเหมือนกันน๊ะ เอ.....จะไปถอนมันยังไงน้อ.....ไอ้เรื่องถอนนี่ มันก็ไปงมงายในภาษานี้ลึก แต่ว่าให้เข้าใจว่า ให้ดูอาการนั้นอยุ่ ด้วยมีสติสัมปชัญญะ ลักษณะที่จิตที่มันไม่แน่นี่ มันก็พลิกออกมา มันเป็นอุปจาระ.....ถอนออกมา ถ้ามันถอนออกมาอยู่ตรงนี้......ตรงนั้น มันไม่รู้เรื่อง.....ถอนมาตรงนี้.....มันจะรู้เรื่อง ถ้ามันรู้เรื่องตรงนี้ มันก็คล้าย ๆสังขาร หรือจะเหมือนกับเป็นคนสองคน ปรึกษาสนทนากัน อันนี้คนไม่เข้าใจ ก็เสียใจว่า จิตเราไม่สงบ เมื่อความเป็นจริงแล้ว มันจะสนทนาปราศรัยกันอยู่ ในความสงบระงับอันนั้นอันนี้มันเป็นลักษณะที่มันถอนออกมาแล้ว เป็นอุปาจาระ รู้เรื่องอะไรต่าง ๆ เมื่อระบบนี้อยู่ซักพักหนึ่ง มันจะเข้าของมันไป คือมันจะพลิกกลับ เข้าไปในสถานที่เดิม.....สงบอย่างเก่า หรือมันจะมีกำลังที่ใสสะอาด สงบยิ่งกว่าเก่าก็มี ถึงกำลังอันนั้นเราก็กำหนดไว้เท่านั้น ถึงเวลามันจะถอนออกมาอีก ถอนออกมาแล้ว มันจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นมา ตรงนี้รู้เรื่องต่าง ๆตรงนี้คือมาสอบถาม มาสอบสวนเรื่องคดีต่าง ๆ ให้รู้เรื่อง เมื่อจบเรื่องแล้ว มันค่อยเข้าไปตรงนั้นอีก เข้าไปบ่มไว้ ไม่มีอะไร......มีความรู้อย่างเดียวเท่านั้นแหละ ให้เรามีสติเต็มที่ไว้ เมื่อถึงเวลามันก็จะออกมาอีก

    มันจะมีอาการออก หรือเข้าอย่างนี้ อยู่ในจิตของเรานี่น่ะ แต่เราพูดยากอันนี้ อันนี้ไม่เสียหายนานไป ๆ ไอ้ตรงที่มันมาปรึกษาข้างนอกน่ะ มันจะเป็นสังขารปรุงแต่ง ถ้าคนไม่รู้จักอันนี้ว่าเป็นสังขาร ก็นึกว่า มันเป็นปัญญา นึกว่าปัญญามันเกิด ถ้าเราเห็นว่า ไอ้ความปรุงแต่งนี้น่ะให้เห็นความสำคัญของความปรุงแต่งนี้ว่า อันนี้ก็ของไม่เที่ยง.....นี่....บังคับไว้เสมอ อย่าไปปล่อยใจมันว่า มันปรุงไปอย่างไร ก็เชื่อไปอย่างนั้น อันนั้นมันเป็นสังขารนี่ มันไม่เกิดปัญญา อารมณ์ที่จะให้เกิดปัญญานี่ มันจะปรุงไปที่ไหน เราก็ฟังมัน รู้มันเถอะ.....เอ้อ.....อันนี้มันก็ไม่แน่นอน....อันนี้ก็ไม่เที่ยง จึงเป็นเหตุที่จะให้จิตเรา ปล่อยตรงนี้ได้ เมื่อจิตปล่อยวางตรงนี้ จิตก็สงบเข้าไป ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปเถอะ มันเข้าไป.....แล้วก็ถอนออก นี่.....ปัญญาจะเกิดขึ้นมาในที่นั้น มันจะแก้ปัญหาอะไรต่างๆ ทุกอย่างในสกลโลกอันนี้ ปัญญามันจะตามตอบคำถาม จะนั่งที่ไหน คิดที่ไหน อะไรที่ไหนน่ะ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้นมา ถ้ามันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ก็อย่าไปหลงมันว่า อันนี้มันเป็นสังขารน๊ะ เมื่อพวกว่าเราเอาอารมณ์ไปเข้ากันซ๊ะว่า.....อันนี้มันก็ไม่เที่ยง มันก็ไม่แน่นอน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันเลย สภาวะอันนี้น่ะ ถ้าเราแทนเข้าไป จิตมันจะยิ้มขึ้นมาอยู่ตรงกลางอันนี้ รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จิตของเราจะเดินไปได้ถูกต้อง ตามทางการภาวนาของเรา มันจะไม่หลงมันจะเป็นอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>ถ้าสมมติว่าจิตมันนิ่งอย่างนี้น่ะ แต่เรายังได้ยินอยู่.....นี่จะเรียกว่าอะไรค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>มันจิตก็เป็นจิต เสียงก็เป็นเสียง มันก็ได้ยินซี่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>เรียกว่า สงบใช่ไม๊ค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>สงบ ๆ ได้ยิน....แต่ไม่ฟุ้ง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>มันลบมันละเอียด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....มันก็ได้ยิน มันไม่ได้ยิน ก็เสียคนเท่านั้นแหละ มันก็ไม่รู้เรื่องอะไร มันทิ้งความรู้แล้วจะเกิดอะไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>แต่ในใจมันหยุดล่ะฮ่ะ.....แต่ว่าไอ้เลียง มันเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>ก็ช่างมันเถอะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>แต่มันไม่ปนกันล่ะฮ่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....แต่เราไม่ยึด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>แต่ว่าพอมันนิ่งแล้ว มันก็ไม่เกิดปัญญาซีน๊ะ มันเฉย ๆ .......


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>เออ.....อย่าเพิ่งไปบังคับ ให้มันเกิดปัญญาเถอะ มันจะหล่อเลี้ยงของมันเองหรอก


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>แต่มันก็หยุดล่ะฮ่ะ.....ลมมันก็ละเอียด มันนิ่งเฉย ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD vAlign=top>เออ....ช่างมันเถอะ นิ่งเฉย ๆอย่างนี้ก่อน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ถาม : </TD><TD vAlign=top>และก็......สงสัย.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตอบ : </TD><TD class=just vAlign=top>นี่แหละคนเรา.....มันเป็นอย่างนี้ ไอ้ความหลงของคนน่ะ คือคนอยากจะรู้ ที่ครั้งแรกจิตเราไม่เคยสงบ ก็มาถามอาจารย์เรื่องจะให้มันสงบ จะทำยังไง.....อยากให้มันสงบ......แน่ะเราว่า เออ.....ทำๆไปเถอะ พยายามไป ก็ยังไม่อยู่ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...