การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 29 มีนาคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514

    ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างไก่ป่า เราก็รู้กันทุกคนว่าไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว เมื่อมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนไก่ป่า เคยเฝ้าดูมัน แล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่าง

    ครั้งแรกมันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ก็ไม่มองมัน มันจะทำอะไรก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูก มันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มองมันก็คุ้ยเขียอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่พอมองเมื่อไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้น นานเข้าสักหน่อย มันคงเห็นความสงบของเราจิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็หนีเลย ก็ช่างมัน ก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีก แต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน เราก็ไม่ว่าอะไรกินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมันไม่ช้า มันก็ไปคุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมันแล้ว วันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก พอข้าวหมด ก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกล แล้วก็กลับมากินข้าวที่หว่านให้นั้น นี่ก็ได้เรื่องแล้ว

    ตอนแรก ไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึก เพราะมันไม่รู้จัก เพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมามันเชื่องเข้า จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสารนี่ ไม่ใช่ข้าศึก ไม่มีอันตราย มันก็มากินจนตลอดทุกวันนี้ นี่เรียกว่า เราก็ได้รับความรู้จากมัน

    เราออกมาอยู่ในป่า ก็นึกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ในบ้าน เป็นข้าศึกต่อเรา จริงอยู่เมื่อเรายังไม่รู้ มันก็เป็นข้าศึกจริงๆ แต่ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็เหมือนไก่รู้จักข้าวสารว่าเป็น ข้าวสาร ไม่ใช่ข้าศึก ข้าศึกก็หายไปเรากับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ฉันนั้น มันไม่ใช่ข้าศึกของเราหรอก แต่เพราะเราคิดผิด เห็นผิด พิจารณาผิด จึงว่ามันเป็นข้าศึก ถ้าพิจารณาถูกแล้ว ก็ไม่ใช่ข้าศึก แต่กลับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้วิชา ให้ความฉลาดแก่เราต่างหาก

    แต่ถ้าไม่รู้ ก็คิดว่าเป็นข้าศึก เหมือนกับไก่ ที่เห็นข้าวสารเป็นข้าศึกมันนั่นแหละ ถ้าเห็นข้าวสารเป็นข้าวสารแล้ว ข้าศึกมันก็หายไป พอเป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าไก่มันเกิดวิปัสสนาแล้ว เพราะมันรู้ตามเป็นจริง มันจึงเชื่อง ไม่กลัว ไม่ตื่นเต้น
    เรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ เป็นเครื่องให้เราตรัสรู้ธรรมะเป็นที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดตามเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เห็นชัด ก็จะเป็นข้าศึกต่อเราตลอดไป แล้วเราก็จะหนีไปอยู่ป่าเรื่อยๆ

    อย่านึกว่า เรามาอยู่ป่าแล้ว ก็สบายแล้ว อย่าคิดอย่างนั้น อย่าเอาอย่างนั้น อย่าเอาความสงบแค่นั้น ว่าเราไม่ค่อยได้เห็นรูป ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์แล้ว เราก็อยู่สบายแล้ว อย่าคิดเพียงแค่นั้น ให้คิดว่า เรามาเพื่อเพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้น เมื่อมีปัญญารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่ำๆ สูงๆ

    พอถูกอารมณ์ดี ก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ร้าย ก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่งถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็แสดงว่ามันยังเป็นข้าศึกอยู่ ถ้าหมดข้าศึกแล้ว มันจะเสมอกัน ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่ำๆ สูงๆ รู้เรื่องของโลกว่ามันอย่างนั้นเอง เป็นโลกธรรม โลกธรรมเลยเปลี่ยนเป็นมรรค โลกธรรมมีแปดอย่าง มรรคก็มีแปดอย่าง โลกธรรมอยู่ที่ไหน มรรคก็อยู่ที่นั่น ถ้ารู้แจ้งเมื่อใดโลกธรรมเลยกลายเป็นมรรคแปด ถ้ายังไม่รู้ มันก็ยังเป็นโลกธรรม

    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้น ก็เป็นดังนี้ มันพ้นทุกข์อยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่พ้นทุกข์โดยวิ่งไปที่ตรงไหน ฉะนั้นอย่าพรวดพราด การภาวนาต้องค่อยๆทำ การทำความสงบ ต้องค่อยๆทำ มันจะสงบไปบ้างก็เอา มันจะไม่สงบไปบ้างก็เอา เรื่องจิตมันเป็นอย่างนั้น เราก็อยู่ของเราไปเรื่อยๆ
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    บางครั้งปัญญามันก็ไม่เกิดก็เคยเป็นเหมือนกันเมื่อไม่มีปัญญาจะไปคิดให้ปัญญามันเกิดมันก็ไม่เกิดมันเฉยๆอยู่อย่างนั้นก็เลยมาคิดใหม่เราจะพิจารณาสิ่งที่ไม่มีมันก็ไม่ได้เมื่อไม่มีเรื่องอะไรก็ไม่ต้องไปแก้มันไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องไปแก้มันไม่ต้องไปค้นมันอยู่ไปเฉยๆธรรมดาๆอย่างนั้นแหละแต่ต้องอยู่ด้วยความมีสติสัมปชัญญะอยู่ด้วยปัญญาไม่ใช่อยู่เพลินไปตามอารมณ์อยู่ด้วยความระมัดระวังปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆถ้ามีเรื่องอะไรมาก็พิจารณาถ้าไม่มีก็แล้วไป

    ได้ไปเห็นแมงมุมเป็นตัวอย่างแมงมุมทำรังของมันเหมือนข่ายมันสานขายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆเราไปนั่งพิจารณาดูมันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนังเสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเองเงียบอยู่ตรงกลางข่ายไม่วิ่งไปไหนพอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆบินผ่านข่ายของมันพอถูกข่ายเท่านั้นข่ายก็สะเทือนพอข่ายสะเทือนปุ๊บมันก็วิ่งออกจากรังทันทีไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหารเสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันไว้ที่กลางข่ายตามเดิมไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมันพอข่ายสะเทือนมันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้นแล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่ายไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป

    พอได้เห็นแมงมุมทำอย่างนั้นเราก็มีปัญญาแล้วอายตนะทั้งหกคือตาหูจมูกลิ้นกายใจนี้ใจอยู่ตรงกลางตาหูจมูกลิ้นกายแผ่พังพานออกไปอารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆพอรูปมาก็มาถึงตาเสียงมาก็มาถึงหูกลิ่นมาก็มาถึงจมูกรสมาก็มาถึงลิ้นโผฏฐัพพะมาก็มาถึงกายใจเป็นผู้รู้จักมันก็สะเทือนถึงใจเท่านี้ก็เกิดปัญญาแล้ว

    เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้เหมือนแมงมุมที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมันไม่ต้องไปไหนพอแมลงต่างๆมันผ่านข่ายก็ทำให้สะเทือนถึงตัวรู้สึกได้ก็ออกไปจับแมลงไว้แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิม

    ไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลยอยู่ตรงนี้ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ด้วยความระมัดระวังอยู่ด้วยปัญญาอยู่ด้วยความคิดถูกต้องเราอยู่ตรงนี้เมื่อไม่มีอะไรเราก็อยู่เฉยๆแต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาทถึงเราจะไม่เดินจงกรมไม่นั่งสมาธิไม่อะไรก็ช่างเถิดต่เราอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ด้วยความระมัดระวังอยู่ด้วยปัญญาไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาทนี่เป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่เราจะนั่งตลอดวันตลอดคืนเอาแต่พอกำลังของเราตามสมควรแก่ร่างกายของเรา

    แต่เรื่องจิตนี้เป็นของสำคัญมากให้รู้อายตนะว่ามันส่งส่ายเข้ามาเป็นอย่างไรให้รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เหมือนแมงมุมที่พอข่ายสะเทือนมันก็วิ่งไปจับเอาตัวแมลงได้ทันที

    ฉะนั้นเมื่ออารมณ์มากระทบอายตนะมันก็มาถึงจิตทันทีเมื่อไปจับผ่านทุกข์ก็ให้เห็นมันโดยรวมเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาแล้วจะเอามันไปไว้ที่ไหนล่ะอนิจจังทุกขังอนัตตาเหล่านี้ก็เอาไปไว้เป็นอาหารของจิตของเราถ้าทำได้อย่างนี้มันก็หมดเท่านั้นแหละ

    จิตที่มีอนิจจังทุกขังอนัตตาเป็นอาหารเป็นจิตที่กำหนดรู้เมื่อรู้ว่าอันนั้นเป็นอนิจจังมันก็ไม่เที่ยงทุกขังเป็นทุกข์อนัตตาก็ไม่ใช่เราแล้วดูมันให้ชัดมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันไม่เป็นแก่นสารจะเอามันไปทำไมมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่ของเราจะไปเอาอะไรกับมันมันก็หมดตรงนี้

    ดูแมงมุมแล้วก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรามันก็เหมือนกันเท่านั้นถ้าจิตเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตามันก็วางไม่เป็นเจ้าของสุขไม่เป็นเจ้าของทุกข์อีกแล้วถ้าเห็นชัดได้อย่างนี้มันก็ได้ความเท่านั้นแหละจะทำอะไรๆอยู่ก็สบายไม่ต้องการอะไรอีกแล้วมีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น

    ถ้าทำอย่างนี้อยู่ด้วยความระมัดระวังก็เป็นการที่เราจะพ้นจากวัฎสงสารได้ที่เรายังไม่พ้นจากวัฎสงสารก็เพราะยังปรารถนาอะไรๆอยู่ทั้งนั้นการไม่ทำผิดไม่ทำบาปนั้นมันอยู่ในระดับศีลธรรมเวลาสวดมนต์ก็ว่าขออย่าให้พลัดพรากจากของที่รักของที่ชอบใจอย่างนี้มันเป็นธรรมของเด็กน้อยเป็นธรรมของคนที่ยังปล่อยอะไรไม่ได้นี่คือความปรารถนาของคนปรารถนาให้อายุยืนปรารถนาไม่อยากตายปรารถนาไม่อยากเป็นโรคปรารถนาไม่อยากเป็นอย่างนี้นี่แหละความปรารถนาของคน

    "ยัมปิจฉังนะละภะติตัมปิทุกขัง" ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์นี่แหละมันสับหัวเข้าไปอีกมันเป็นเรื่องปรารถนาทั้งนั้นไม่ว่าใครก็ปรารถนาอย่างนั้นทุกคนไม่เห็นมีใครอยากหมดอยากจนจริงๆสักคน

    การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งละเอียดผู้มีกิริยานุ่มนวลสำรวมปฏิบัติไม่เปลี่ยนแปลงสม่ำเสมออยู่เรื่อยนั่นแหละจึงจะรู้จักมันจะเกิดอะไรก็ช่างมันเถิดขอแต่ให้มั่นคงแน่วแน่เอาไว้อย่าซวนเซหวั่นไหว

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ทางสายกลาง
    จุดมุ่งหมายของธรรม

    พระพุทธโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นท่านทรงเตือนให้เราละความชั่วประพฤติความดีเมื่อละความชั่วประพฤติความดีแล้วที่สุดก็ทรงสอนให้ละสิ่งทั้งสองนี้ไปเสียด้วยฉะนั้นวันนี้จึงขอให้คติในเรื่องทางสายกลางคือให้ละให้ได้หรือหลีกให้พ้นจากสิ่งทั้งสองนั้นทั้งดีทั้งชั่วทั้งบุญทั้งบาปที่เป็นสุขเป็นทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้แหละ

    จุดมุ่งหมายปลายทางของการอธิบายธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้นที่จริงก็คือให้พ้นจากทุกข์นั่นเองแต่ก่อนที่จะพ้นจากทุกข์ได้นั้นเราต้องมาทำความเข้าใจกันให้มันตรงให้มันแน่นอนถ้าเข้าใจไม่ตรงไม่แน่นอนแล้วก็จะลงสู่ความสงบไม่ได้

    ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาท่านตรัสรู้แล้วท่านประกาศศาสนานั้นเบื้องแรกท่านยกทางทั้งสองขึ้นมาว่าเลยคือกามสุขัลลิกานุโยโคและอัตตกิลมถานุโยโคทางทั้งสองอย่างนี้เป็นทางที่ลุ่มหลงเป็นทางที่พวกเสพกามหลงติดอยู่ซึ่งย่อมไม่ได้รับความสงบระงับเป็นหนทางที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร

    สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในทางทั้งสองไม่เห็นทางสายกลางของธรรมะท่านจึงทรงยกทางทั้งสองขึ้นมาแสดงให้เห็นโทษในทางทั้งสองนั้นถึงเช่นนั้นพวกเราทั้งหลายก็ยังพากันติดพากันปรารถอยู่ร่ำไปฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่าทางทั้งสองอย่างนั้นเป็นทางที่ลุ่มหลงไม่ใช่ทางของสมณะคือไม่ใช่ทางที่สงบระงับ

    อัตตกิลมถานุโยโคและกามสุขัลลิกานุโยโคก็คือทางตึงและทางหย่อนนั่นเองถ้าเราน้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นในปัจจุบันทางตึงก็คือความโกรธอันเป็นทางเศร้าหมองท่านเรียกอัตตกิลมถานุโยโคเดินไปแล้วก็เป็นทุกข์ลำบาก


    กามสุขัลลิกานุโยโคก็คือความดีใจพอใจความดีใจนี้ก็เป็นทางไม่สงบทางทุกข์ก็เป็นทางไม่สงบเราจะเห็นได้ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาท่านว่าเมื่อได้เห็นความสุขแล้วให้พิจารณาความสุขนั้นท่านไม่ให้ติดอยู่ในความสุขคือท่านให้วางทั้งสุขและทุกข์การวางทั้งสองได้นี้เป็นสัมมาปฏิปทาท่านเรียกว่าเป็นทางสายกลาง
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ทางสายกลาง
    คำว่า
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    จะยกตัวอย่างให้เห็นสักอย่างหนึ่ง สมมติว่าเราเดินไปทำงาน ระหว่างทางก็มีบุรุษผู้หนึ่งคอยต่อว่าเราอยู่เป็นประจำ ตอนเช้าก็ด่า ตอนเย็นก็ด่า เมื่อได้ยินคำด่าเช่นนี้ จิตใจก็หวั่นไหว ไม่สบายใจ โกรธ น้อยใจ เศร้าหมอง บุรุษผู้นั้นก็เพียรด่าเช้าด่าเย็นอยู่เช่นนั้นทุกวัน ได้ยินคำด่าเมื่อใด ก็โกรธเมื่อนั้น กลับถึงบ้านแล้วก็ยังโกรธอยู่ ที่โกรธที่หวั่นไหว เช่นนี้ก็เพราะความไม่รู้จักนั่นเอง


    วันหนึ่ง เพื่อนบ้านก็มาบอกว่า
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ถ้าเรารู้เท่าตามความเป็นจริง เราก็จะรู้ว่าเราไม่สามารถควบคุมสังขารเหล่านี้ ให้เป็นไปตามอำนาจของเรา เพราะธรรมชาติเหล่านี้ มันจะต้องเป็นไปตามเรื่องของมัน เพราะธรรมชาติเหล่านี้ มันจะต้องเป็นไปตามเรื่องของมัน เราจะบังคับให้ตรงนี้เป็นอย่างนั้น ตรงนั้นเป็นอย่างนี้ตามอำนาจของเรา ย่อมจะเป็นไปไม่ได้เปรียบง่ายๆ ก็อย่างว่า เราไปนั่งอยู่ที่กลางถนนซึ่งมีรถวิ่งไปมาขวักไขว่ แล้วเราจะไปโกรธรถที่วิ่ง หรือจะไปห้ามรถที่กำลังวิ่งอยู่ว่า
     
  7. Gearknight

    Gearknight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +234
    ดีมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...