การฝึกทิพโสต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 17 ธันวาคม 2019.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    t=105&_nc_ohc=pWJI7KegDkEAQlzOODVQGE88V-isWE3cYeK-5MY5-FL1P9FtZX7ufE_Tw&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg

    การฝึกทิพโสต

    ถาม : การฝึกทิพจักขุญาณกับการฝึกทิพโสต ใช้วิธีเหมือนกันหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : ไม่เหมือนกัน วิธีฝึกทิพโสตนั้น ถึงเวลานั่งสมาธิจนใจสงบแล้ว ให้ตั้งใจกำหนดฟังสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างของเรา เริ่มจากเสียงที่ดังที่สุดก่อน พอชัดเจนแล้ว ให้กำหนดรู้เสียงที่เบากว่านั้นให้ชัดเจนขึ้น..แล้วกำหนดรู้เสียงที่เบากว่านั้นอีกให้ชัดเจนขึ้น กำหนดรู้เสียงที่เบากว่าลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสียงยุง เสียงแมลง ร้องดังเหมือนกับออกลำโพง

    หลังจากนั้นก็ขยายวงสมาธิออกไป จากที่เอาเฉพาะในห้องของเรา ก็อาจจะเป็นทั้งบ้าน พอทั้งบ้านได้แล้วก็อาจจะเป็นในเขตบริเวณของบ้าน หลังจากนั้นก็ขยายออกไปข้างบ้าน ขยายออกไปทั้งซอย ค่อย ๆ ขยับไปตามความคล่องตัวที่เกิดขึ้น ต่อไปจะเอาแบบข้ามโลก ข้ามภพ ข้ามภูมิก็จะไปได้

    ถาม : ไม่เกี่ยวกับการจับภาพพระ ?
    ตอบ : จับภาพพระให้ใจนิ่งก่อน แล้วค่อยไปฝึกการฟัง ถ้าฝึกสำเร็จแล้วอาจจะรำคาญเสียงไปเลยก็ได้

    ถาม : แล้วเป็นไปได้ไหมคะว่า วิธีฝึกระหว่างทิพจักขุญาณและทิพโสตจะต่างกัน แต่อารมณ์คล้ายกัน ?
    ตอบ : ท้ายสุดจะไปลงตรงนั้น ลงที่เดียวกัน ถ้ามีพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ก็จะไปลงของเก่าเอง เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    ตอนนี้ส่งพระที่วัดไปเรียน ป.วภ.(ประกาศนียบัตรวิปัสสนาภาวนา) ก็คือ พระครูน้อยกับอาจารย์สมพงษ์ หลังจากที่ท่านนั่งกรรมฐานผ่านไปเดือนกว่า ๆ พออาตมาไปถึงที่นั่นก็ไปเลี้ยงพระ พระครูน้อยพอฉันเสร็จท่านก็มาชวนคุย "อาจารย์ครับ..ผมท่าจะบ้าแล้ว" ถามว่าทำไม ? "วันก่อนยุงกัดผม ผมก็เลยแกล้งตบ ยุงหล่นพลั่กลงไปกับพื้น มันบ่นว่าตีกูทำไมวะ ? ผมก็เลยบอกว่า ก็มึงกัดกูก่อนนี่หว่า..ยุงก็เลยตุปัดตุป่อง สะบัดก้นบินไปเลย"

    ส่วนอาจารย์สมพงษ์อยู่เข้าอบรมกรรมฐานไปเดือนกว่า ๆ ก็คิดจะหนีกลับ พอคิดว่าจะหนีกลับ นกกางเขนที่บินผ่านมาร้องว่า "ขี้แพ้ ๆ ๆ" ท่านก็เลยต้องกัดฟันทนอยู่ต่อ

    ที่นั่นช่วงตีสามครึ่งจะต้องเตรียมพร้อม เพราะว่าตีสี่เขาจะตีระฆังเพื่อเข้าสู่วงจรในการปฏิบัติ พระครูน้อยตื่นสายไปหน่อย เกือบจะตีสี่แล้ว แต่งตัวไม่ทัน รีบเข้าห้องน้ำ คว้าขันจะล้างหน้า นกที่ตื่นแล้วร้องว่า "สายแล้ว ๆ ๆ" พระครูน้อยบอกว่า "รอกูล้างหน้าก่อนสิวะ.."

    วิสัยเดิมของท่านมีอยู่ คือความเป็น นิรุกติปฏิสัมภิทา ถ้าจิตสงบได้ที่ จะสามารถฟังภาษาคน ภาษาสัตว์รู้เรื่อง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะปรากฏขึ้นเอง แต่ถ้าหากคนที่ไม่มีพื้นฐานเก่าลักษณะอย่างนี้ ทำไปเป็นแสนชาติก็ยังไม่ได้เลย

    ถาม : แล้วที่บอกว่า ปฏิบัติไปแล้วจะมีสัมผัสความเป็นทิพย์มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่หนูไม่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างคนอื่นเขา นี่แสดงว่าไม่มีพื้นฐานเก่า ?
    ตอบ : เราลองมานึกดูว่า แม้แต่ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าท่านก็ตั้งพระที่มีความสามารถต่างกัน ตอนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระที่อยู่กับพระพุทธเจ้าตอนนั้นเป็นพัน ๆ รูป ก็มีแค่พระอนุรุทธองค์เดียว ที่สามารถติดตามได้ว่าตอนนี้พระพุทธเจ้าดำรงจิตอยู่ในสภาวะไหน ก็แปลว่าไม่ใช่จะได้กันทุกคน

    แม้กระทั่งพระโมคคัลลาน์เห็นกากเปรตและอหิเปรต ท่านก็ยิ้ม พระลักขณะถามว่า "ท่านยิ้มอะไรหรือ ?" พระโมคคัลลาน์ท่านก็บอกว่า "ให้ไปถามเราต่อเบื้องพระพักตร์พระพุทธเจ้า"

    เมื่อเข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่กราบไหว้ปฏิสันถารกันเรียบร้อยแล้ว พระลักขณะก็ถามว่า "ดูก่อน..โมคคัลลาน์ ที่ท่านกล่าวตอนอยู่ที่เขาคิชฌกูฏว่า ให้ถามต่อเบื้องพระพักตร์พระพุทธเจ้า ว่าท่านยิ้มเพราะอะไร บัดนี้เราขอถามว่าท่านยิ้มเพราะอะไร ?" พระโมคคัลลาน์จึงได้กล่าวว่า "เพราะเห็นเปรตที่อยู่ในร่างของอีกา กับเปรตที่อยู่ในร่างของงูโดนไฟลุกท่วมอยู่"

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองว่า "ที่โมคคัลลานะกล่าวมานั้นถูกต้องแล้ว เปรตทั้งสองนี้ แม้ในวันที่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตถาคตก็เห็นแล้ว แต่ที่ไม่ได้กล่าวถึงเพราะไม่มีพยาน ในเมื่อโมคคัลลานะได้กล่าวถึงเป็นพยานได้ ตถาคตขอรับรองว่าสิ่งที่โมคคัลลานะกล่าวมานั้นถูก"

    จะเห็นว่าไม่ใช่ทุกคนทั้งหมดจะเห็น แต่ว่าที่ทุกคนเป็นเหมือนกันหมดก็คือความเป็นพระอริยเจ้า โดยเฉพาะความเป็นพระอรหันต์ ก็แปลว่าจบปริญญามาเหมือนกัน แต่คนนี้อาจจะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คนนี้ได้เกียรตินิยมอันดับสอง คนนั้นไม่ได้อะไร แค่จบเฉย ๆ ส่วนคนนั้นอาจารย์ต้องถีบให้จบด้วย เราต้องเห็นว่า ความสามารถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จงยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ แล้วจะมีความสุข

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ณ บ้านอนุสาวรีย์

    ที่มา : www.watthakhanun.com
    #๖๐ปีพระครูวิลาศกาญจนธรรม
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

    [​IMG]
    ทิพยโสตญาณ
    [๓๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ. เธอย่อม
    ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอัน
    บริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
    กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
    เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
    เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
    ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
    เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
    และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการ
    หนึ่ง.
    เจโตปริยญาณ
    [๓๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ.
    เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต
    ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
    ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก
    โมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
    หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิต
    ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
    ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนใน
    กระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า
    ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
    จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
    ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
    หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
    โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่น
    ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
    ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
    หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
     

แชร์หน้านี้

Loading...