การฝึกสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย besensible, 16 พฤศจิกายน 2005.

  1. besensible

    besensible Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +52
    สวัสดีค่ะ
    ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่สนใจการฝึกสมาธิ เดิมทีเคยนั่งสมาธิมาระยะนึง ชอบเดินจงกลมด้วย แต่พอกลับมาจากวัดแล้วไม่เคยได้เดินอีกเลย ด้วยเหตุผลทางสถานที่ ซึ่งที่พำนักของเราไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินจงกลม ก็เลยนั่งกับนอนสมาธิล่ะกัน ดิฉันเคยชอบนั่งสมาธิแบบคลั่งใคล้เลย คืออยากนั่งและจะนั่งทุกวัน ซึ่งทราบมาว่าไม่ถูกต้อง และพอมีประสบการณ์บ้างเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ แต่ยังรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง ณ วันนี้ยังรู้สึกว่าเรายังมองหา ค้นหาการนั่งที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา และยังไม่เจอเลย หรือจะบอกว่ายังรู้สึกว่าเรายังค้นหาอะไรอยู่นะอยู่ตลอดเวลา จนหลายครั้งที่ละเลยการนั่งที่เราเคยนั่งเป็นประจำเป็นเดือนๆ ก็มี ซึ่งปกติแล้วจะนั่งเกือบทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ที่มีโอกาส แต่มาพักหลังๆ ดิฉันห่างหายไม่ได้รู้สึกอยากนั่ง ซึ่งถือว่าเราผิดปกติ แต่เรายังค้นหา ยังค้นหาตลอดเวลา นับว่าเป็นบุญของดิฉันที่มีใครคนนึงส่งเวปไซต์นี้มาให้ดิฉันรู้จัก ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้หลายๆอย่างที่อยู่ในเวปไซต์นี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ดิฉันกำลังค้นหาอยู่ก็ได้ แต่ดิฉันก็ยังต้องการท่านผู้รู้ ท่านผู้มีประสบการณ์ขอให้ท่านได้กรุณาแนะนำทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ดิฉันไม่อยากจะรู้สึกว่าเราเดินๆ มา แล้วสักพักเราก็หยุดอีก เพราะโอกาสจะเริ่มต้นใหม่ไม่ได้มีให้เราตลอดเวลา ขอเป็นพุทธทายาทด้วยคนนะคะ/
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ยินดีต้อนรับครับ โมทนาในความตั้งใจเจริญธรรม
     
  3. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    อาการของการทำสมาธิแบบทำๆหยุดๆ ช่วงขยันก็นั่งได้ทุกวัน วันละชม.หรือหลายๆ ส่วนพักไหนที่ขี้เกียจก็ไม่เอาเลย ลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับใครให้รู้ว่ากำลังบารมีเราไม่เพียงพอ ทุนตัวเองมีเท่านี้แต่ไปเร่งอยากจะให้มันได้มันดีต่อเนื่องยาวนาน นั่นแหละพอทำไปมันไม่ใช่ไม่สนุกอย่างที่หวังก็เลยกลายเป็นขี้เกียจท้อถอยไป เพราะนั่งสมาธิแล้วจิตไม่เป็นสมาธิหรืออาจจะนั่งเอาทนเอาเวลาให้ครบ เน้นปริมาณแต่ขาดคุณภาพอะไรประมาณนั้น ถ้าเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นความขี้เกียจจะเข้าแทรกทันที เพราะมันผิดคาดดั่งใจหวังไว้แต่ต้น

    ทางออกให้เปลี่ยนใหม่ ให้ทำสมาธิแบบสบายๆ สบายนี่หมายถึงสบายจิต สบายกาย ไม่เน้นว่าต้องทำนานวันละชม.ทุกวัน อย่าไปบีบมันไว้ก่อน ทำแค่พอสบายใจ พอมันสบายใจ มันจะขยันทำ ทำแล้วจิตเป็นสุขกายสบายมันไม่ขี้เกียจ จิตมันเพลินในสมาธิจากจิตเอง แบบนี้ระยะยาวได้ผลดีกว่า
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    การปฏิบัติธรรม ต้องมีกรรมฐานที่เราเลือกปฏิบัติใน 40 กรรมฐาน

    จขกท ควรเลือกปฏิบัติให้ตรงตามกรรมฐาน 40 ในพุทธศาสนา ที่เราเลือกออกมา หนึ่งในสี่สิบกรรมฐาน

    มีคำภาวนาในกรรมฐาน บริกรรมไม่ให้ขาดสาย จนจิตสงบลงสู่สมาธิ ผลของกรรมฐานกองนั้นๆ ที่เราปฏิบัติ ครับ

    ลองดูตัวเอง ว่า ทำอะไรอยู่ ปฏิบัติกรรมฐานกองไหนอยู่ จิตสงบลง จนจิตเข้าสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วหรือยัง จิตเป็นผู้รู้ เข้าถึงผลของกรรมฐานกองที่เราปฏิบัติแล้วหรือยัง หรือแค่ ได้นั่ง นั่งทน ปฏิบัติทนจนหมดเวลา

    แล้วเทียบผลการปฏิบัติกรรมฐานกองนั้น ว่าตรงตามผลกรรมฐานหรือไม่ ก็จะได้คำตอบครับ
     
  5. แนน จันทบุรี

    แนน จันทบุรี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +82
    อันดับแรกจากที่กล่าวมานั้นให้หาวิธีกรรมฐานจากพ่อแม่ครูอาจารย์คือหาฟัง หาอ่าน ลองดูก่อน ว่าเราทำถูกต้องรึไม่ถูกต้อง การภาวนา กล่าวได้เลยว่าคือการพิจารณา การพิจารณา คือต้องมีผู้รู้ก่อน ผู้รู้คือรู้ความรู้สึกปัจจุบันของเรานี้ล่ะก่อน รู้แล้วถึงพิจารณาได้ อย่างอะไรๆ มากระทบ ตาหูจมูกลิ้นกายเรารู้รึเปล่า รู้สึก ชอบใจ ไม่ชอบใจอะไร ต่อเมื่อพิจารณาไปๆ ทุกข์นี่มันก็ไม่เที่ยง สุขนี่มันก็ไม่เที่ยง ก็ปล่อย ไว้ที่มันอย่างนี้ เป็นต้น ปล่อยวาง รู้ สมาธินี้ คือ สติเราไม่ให้ขาดจากผู้รู้ เป็นสมาธิกล่าวคือตั้งใจมั่นเพ่งมัน อย่างนั้นหรอก กล่าวคือสติ สมาธิ เมื่ออะไรมากระทบ เราก็รู้ รู้เดี๋ยวนั้น พิจารณาความไม่เที่ยงอย่างนั้นน้ะทั้งที่มันอยู่ตรงนั้น ทำไมมันมากระทบเราตรงนี้ ดู ดู ความรู้สึกเราตรงนี้น้ะ สมาธิก็ดี ปฎิบัติให้มันสงบ บ่อยๆเข้า เราก็รู้ความสงบ เหมือนเรียนหนังสือ เรียนผ่านมาประถมนี้แล้วเราเข้าใจแล้วเราก็ไม่ต้องไปทบทวนมันซ้ำมากนักมันก็รู้อยู่ในทีอย่างนั้นล่ะว่าความสงบยังไง ทีนี้ปัญญา เราจะทิ้งสุขทิ้งทุกข์อย่างไร เราก็เริ่มแต่ซะตอนนี้ เราก็ใช้สตินั่นล่ะเริ่ม รู้มันว่าทุกข์อย่างไร อย่างไรปล่อยวางได้อย่างไร มันก็เป็นปัญญา ถึงแม้การปฎิบัติเรื่อยๆจะเจอสุขเจอทุกข์แต่มันยังไม่คลาย คือยังยึดทุกข์ ยึดสุขอยู่ก็ให้รู้ ทำสมาธิให้มันกระจ่างแจ้ง คือเป็นพยานตัวเองรู้เอง เท่านั้นก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...